วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 02:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 2782 ครั้ง ]
รวมลิงค์อธิบายความหมายระหว่างตัณหา กับ ฉันทะ ซึ่งคำแปลว่า อยาก ยินดี รักใคร่ ฯลฯ เหมือนกัน

แต่มีอารมณ์(กิจ)ต่างกัน

มีบางราย ได้ยินคำบอกว่า อยากปฏิบัติธรรม อยากเดินจงกรม ฯลฯ ก็เข้าใจว่าเป็นตัณหา

อยากไม่ได้ อยากปฏิบัติธรรมไม่ได้ เป็นตัณหา พระพุทธเจ้าให้ละตัณหา ละความอยาก ซึ่งเป็นเหตุ

แห่งทุกข์ว่างั้น

จึงมีความข้องขัดในการทำกรรมฐานในการปฏิบัติธรรม รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวันด้วย คือไม่กล้าคิด

อยากทำอะไรๆ ไม่กล้านึกอยากปฏิบัติธรรม เพราะกลัวจะเป็นตัณหา

ตามหลักฐานในคัมภีร์ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างไร พึงศึกษาจากลิงค์เหล่านี้แล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 18 มิ.ย. 2010, 07:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (1)

viewtopic.php?f=2&t=28859

คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (2)

viewtopic.php?f=2&t=28861

คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (3)

viewtopic.php?f=2&t=28882

คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (4)

viewtopic.php?f=2&t=28904

คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (5)

viewtopic.php?f=2&t=28945&p=171527#p171527

คิดอยาก...ที่เป็นตัณหา กับ อยากที่เป็นฉันทะ ต่างกันตรงไหน (6)

viewtopic.php?f=2&t=26554

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจง่าย ดูคำแปล ตัณหา กับ ฉันทะ สั้นๆนำร่องก่อน

-ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่เกื้อกูล เป็นอกุศล

เรียกว่า ตัณหา

-ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล

เรียกว่า ฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหา แปลว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความรน ความร่าน

ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ไม่รู้อิ่ม


หลักสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับตัณหา คือ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหา เกิด จากเวทนา เป็นปัจจัย

โดยมีอวิชชาเป็นมูลราก

กล่าวคือเมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น เห็นรูปสวย

หรือน่าเกลียด ได้ยินเสียงไพเราะ หรือ หนวกหู เป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆขึ้น

ในเวลานั้น ตัณหาก็จะเกิดขึ้น ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ

ใฝ่รัก อยากได้ เรื่อยเฉื่อยไป

(ตรงข้าม ถ้ามีความรู้ความเข้าใจ หรือ ใช้ความคิดแทรกเข้ามาในเวลานั้น เช่น รู้ว่า รูปที่น่าเกลียดนั้น

เป็นสิ่งมีประโยชน์ หรือ รู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณอันตราย หรือ เกิดสำนึกทางจริยธรรม หรือ วัฒนธรรม

ประเพณีว่า สิ่งนั้นไม่เหมาะสมกับภาวะ หรือฐานะของตน เป็นต้น ตัณหาอาจถูกตัดตอน กระบวนการไม่ไหล

ต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิดพฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไปแทน)


พูดอย่างง่ายๆว่า ตัณหาอิงอาศัยเวทนา โดยมีอวิชชาเป็นตัวหนุน หรือ ตัณหาแอบอิงเวทนาอยู่บนฐาน

แห่งอวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบกับตัณหา


ฉันทะ หมายถึง กุศลธรรมฉันทะ ที่เรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ

กุศลธรรมฉันทะ * ฉันทะในกุศลธรรม คือ ความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งดีงาม

กุศลฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศล

กุศล แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูล

แก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลดีเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ส่วนธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในธรรม หรือ ความต้องการธรรม

คำว่า ธรรม ที่มาในคำว่า กุศลธรรม มีความหมายกลางๆคือแปลว่า สิ่ง หรือ หลัก

แต่เมื่อแยกออกมาใช้ลำพังเดี่ยวๆ ก็อาจแปลความหมายได้กว้างขึ้น

ความหมายหลักของธรรมในกรณีนี้มี ๒ อย่าง คือ ความจริง (สภาวธรรม หรือ คำสอนที่แสดงสภาว

ธรรมนั้น ตรงกับที่บัดนี้ใช้คำว่า สัจธรรม)

และความดีงาม สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม (คุณธรรม ปัจจุบัน ดูเหมือนนิยมเรียกส่วนหนึ่งของความ

หมายนัยนี้ว่า จริยธรรม)

ธรรมฉันทะ จึงแปลได้ว่า ฉันทะในความจริง ฉันทะในความดีงาม หรือความต้องการความจริง

ความต้องการสิ่งดีงาม ความต้องการความจริงเล็งไปถึงความรู้ คือ เท่ากับพูดว่า ต้องการรู้ความจริง

ต้องการเข้าถึงตัวธรรม คือตัวจริง ตัวแท้ ความหมายที่แท้ เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นแท้ ภาวะที่แท้จริง

ของสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความดีงาม ที่เป็นคุณค่าอันแท้จริงของสิ่งนั้นๆ


ส่วนความต้องการความดีงามก็เล็งถึงการกระทำ คือ ต้องการทำให้สิ่งดีงามเกิดมีขึ้น


โดยนัยนี้ ธรรมฉันทะก็แปลได้ว่า ความใฝ่ความจริง หรือความรักความจริง ความใฝ่ในสิ่งดีงาม

หรือรักความดีงาม (ใฝ่ดี รักดี) และกินความถึงความอยากรู้ อยากทำ หรือใฝ่รู้ใฝ่ทำ

ฉันทะ สัมพันธ์กับการกระทำ คือ การกระทำเพื่อให้รู้ความจริง และการกระทำเพื่อสร้างภาวะที่ดีงาม

หรือทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น

ตามกฎแห่งกระบวนธรรม ท่านจึงกล่าวว่า ฉันทะนำไปสู่อุตสาหะ

พูดง่ายๆว่า ฉันทะ ทำให้เกิดการกระทำ

พร้อมกันนั้น ท่านก็กล่าวถึงมูลฐานของฉันทะว่า มีโยนิโสมนสิการเป็นสมุฏฐาน

หมายความว่า ฉันทะเกิดจากโยนิโสมนสิการ (การคิดแยบคาย คิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น)

ฉันทะอยู่ในกระบวนธรรมฝ่ายปัญญา

ฉันทะ ตั้งต้นเมื่อเริ่มมีการใช้ปัญญา (เทียบกับตัณหา ซึ่งอาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัว)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* พึงเทียบกับ กุศลธรรมอสันตุฏฐี (อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ) คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญเกื้อหนุนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรมีคู่กับ

ความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย

(ที.ปา.11/227/227 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 มิ.ย. 2010, 21:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron