วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 24.35 KiB | เปิดดู 4641 ครั้ง ]
:b12: :b13: :b32: อิอิ จารย์ตกม้า เจ็บม๊ะ..อิอิ

พระอรหันต์ คงไม่ตาย...แต่กิเลสอาสวะ หน๊ะตาย
:b12: :b13: :b32:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


มิลินทปัญหา
http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=160

พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร พระอรหัตจะร้อน
หามิได้ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำไม่ควรที่จะทรงภูมิพระอรหัตอันบริสุทธิ์ อนึ่งโสด เปรียบเหมือนโภชนะ
อายุปาลกํ อันจะรักษาอายุสัตว์ ชีวิตรกฺขกํ เป็นของเลี้ยงชีวิต เมื่อเตโชธาตุในกายสัตว์สำหรับที่

จะเผาอาหารในลำไส้ให้ย่อยยับวิกลอ่อนไป สัตว์บริโภคอาหารโภชนะเข้าไปตกลงถึงลำไส้แล้ว
เตโชธาตุมิอาจเผาอาหารให้ย่อยยับไปได้ สัตว์ที่บริโภคนั้นก็ถึงซึ่งชีวิตตักษัยกระทำกาล-
กิริยาตาย จะเหมาว่าโภชนะกินตายหรือ อติทุพฺพลตา เหตุทั้งนี้เพราะเตโชธาตุทุพพลภาพอ่อน
ไปฉันใด ดูรานะบพิตร พระอรหัตเล่าเมื่อคฤหัสถ์ได้ไม่บรรพชาเสียในวันนั้นจะเข้าพระนิพพาน
คีหิทุพฺพลตาย ด้วยภูมิคฤหัสถ์ทุพพลภาพ จะเหมาว่าพระอรหัตจะร้อนกระไรได้ อุปไมย
เหมือนบุคคลบริโภคโภชนะ เตโชธาตุอ่อนเผาไม่ได้ ไม่ควรจะเหมาเอาโภชนะว่ากินตายฉะนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง เปรียบดังกำหญ้าอันน้อย
บุคคลปักไว้ที่ภูมิภาคแผ่นดิน ยังมีบุคคลผู้หนึ่งเอาศิลาใหญ่มาทับลง กำหญ้าน้อยมิอาจทาน
ศิลาใหญ่ไว้ได้ ย่อมจะบี้แบนย่อยยับไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระอรหัตสิสมควรจะทรงได้แต่ภูมิ
บรรพชาเป็นภูมิใหญ่ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำนักมิอาจทรงได้ อุปไมยเหมือนกำหญ้านั้น อีกประการหนึ่ง
ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ถ้ามิฉะนั้นเปรียบดุจบุรุษอันเป็นหินชาติต่ำโคตรต่ำวงศ์พงศ์พันธุ์
ต่ำตระกูล ปริตฺตปุญฺโญ มีบุญอันน้อยถอยทั้งสติปัญญา ครั้นราชสมบัติมาถึงเข้าได้เป็นเจ้า
จอมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติก็มิอาจเสวยได้นาน มักจะต้องประหารถึงแก่กาลกิริยา ด้วยเหตุ
ว่าบุญนั้นน้อย ชาติต่ำไม่สมควรที่จะทรงความเป็นใหญ่ไว้ได้ฉันใดก็ดี เพศภูมิคฤหัสถ์นี้ ต่ำช้า
มิอาจสามารถที่ว่าจะทรงไว้ซึ่งพระอรหัตไว้นาน ปานดุจบุรุษหินชาติมิอาจเสวยราชสมบัติบวร
เศวตฉัตรนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนาฉะนี้ก็ชื่นชมปรีดา
สาธุการ สรรเสริญพระนาคเสนต่างๆ ในกาลบัดนั้น

--------------------------------------------------------------------
คฤหัสถ์ที่เป็นพระอรหันต์
http://larndham.org/index.php?showtopic=24797&st=1
โดย พระธัมมานันทะ (วัดท่ามะโอ / ลำปาง ๙ ตุลาคม ๒๕๓๓)
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ 74 ฉบับที่ 7 ประจำเดือน พฤศจิกายน ๒๕๓๓
*********

คฤหัสถ์ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว ต้องบวชภายในวันนั้น ถ้าไม่บวช ก็ต้องปรินิพพานภายในวันนั้น ส่วนคำพูดที่กล่าวว่า คฤหัสถ์ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว มีชีวิตอยู่ได้ภายใน 7 วัน เป็นคำพูดลอยๆ ปราศจากหลักฐาน
๑.เขมาเทวี และ อุคคเสนเศรษฐีบุตร เป็นพระอรหันต์แล้วก็บวชภายในวันนั้น. (เขมาเทวีวัตถุ อังคุตตรอัฏฐกถา เอกนิบาต, อุคคเสนเศรษฐีบุตร ธรรมบท อัฏฐกถา ตัณหาวรรค)
๒.สันตติมหาอำมาตย์ เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ปรินิพพานในวันนั้น (ธรรมบท อัฏฐกถา ทัณฑวรรค สันตติมหามัตตวัตถุ)
หลักฐานทั้งหลายที่แสดงสาเหตุดังมีมาในคัมภีร์อัฏฐกถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
๑.ตตฺถ มนุสฺเสสุ คิหิภาเว ิตาเยว โสตาปนฺนาปิ โหนฺติ, สกทาคามิผลมฺปิ อนาคามิผลมฺปิ อรหตฺตผลมฺปิ ปาปุณนฺติ. เตสุ โสตาปนฺนาทโย ยาวชีวํ ติฏฺนฺติ, ขีณาสวา ปน ปรินิพฺพายนฺติ วา ปพฺพชนฺติ วา กสฺมา, อรหตฺตํ นาม เสฏฺคุโณ, คิหิลิงฺคํ หินํ, ตํ หินตาย อุตฺตมํ คุณํ ธาเรตุ น สกฺโกติ. ตสฺมา เต ปรินิพฺพากามา วา ปพฺพชิตุกามา วา โหนฺติ.
(สมฺโมหวิโนทนี อฏฺฐกถา,505 ฉบับพม่า)
ในเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พระโสดาบันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นคฤหัสถ์ ในมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุสกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง บรรดาพระอริยะเหล่านั้น พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมดำรงอยู่ตลอดชีวิต, ส่วนพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมปรินิพพาน หรือว่าย่อมบวช. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะว่า ธรรมดาว่าพระอรหัตต์ เป็นคุณอันประเสริฐที่สุด แต่คฤหัสถ์ถ์เป็นเพศต่ำ เพศแห่งคฤหัสถ์ จึงไม่อาจทรงคุณอันสูงสุดนั้น เพราะความเป็นเพศต่ำ เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงใคร่เพื่อปรินิพพาน หรือว่า เพื่อจะบวช.
๒.คิหิลิงฺคํ นาเมตํ หีนํ, อุตฺตมคุณํ ธาเรตุ น สกฺโกติ. ตสฺมา ตตฺถ ิโต อรหตฺตํ ปตฺวา ตํทิวสเมว ปพฺพชติ วา ปรินิพฺพาติ วา.
(มชฺฌิมปญฺญาส อฏฺฐกถา, ๑๓๖ ฉบับพม่า)
ชื่อว่า เพศคฤหัสถ์นี้ต่ำ ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้น บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.
๓.อคารมชฺเฌ วสนฺตา หิ โสตาปนฺนาทโย ยาวชีวํ คิหิพฺยญฺชเนน ติฏฺนฺติ. ขีณาสโว ปน อรหตฺตํ ปตฺวา ว มนุสฺสภูโต ปรินิพฺพาติ วา ปพฺพชติ วา.
(ปาฏิกวคฺค อฏฺฐกถา, ๙๗ ฉบับพม่า)
จริงอยู่ พระอริยะมีพระโสดาบันเป็นต้น อยู่ ณ ท่ามกลางเรือน ย่อมตั้งอยู่ด้วยเพศของคฤหัสถ์ตลอดชีวิต แต่พระขีณาสพบรรลุพระอรหัตแล้วเป็นมนุษย์ย่อมปรินิพพาน หรือบวช.
๔.อคารมชฺเฌ วสนฺเตน นาม อรหตฺตํ ปตฺเตน ตํทิวสเมว ปรินิพฺพายิตพฺพํ วา ปพฺพชิตพฺพํ วา โหติ.
(องฺคุตฺตร อฏฺฐกถา, เอกนิบาต, เขมาเถรีวตฺถุ, อํ.ฐ. ๑/๒๖๖ ฉบับพม่า)
ธรรมดาว่า ผู้อยู่ครองเรือนบรรลุพระอรหัต จำต้องปรินิพพานหรือบวชเสียในวันนั้นนั่นแหละ.

การเสด็จปรินิพพานของพระเจ้าสุทโธทนะ
๕.อนฺตรวีถิยํ ิโตว –
อุตฺติฏฺเ นปฺปมชฺเชยฺย ธมฺมํ สุจริตํ จเร,
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จาติ
อิมํ คาถมาห, คาถาปริโยสาเน ราชา โสตาปตฺติผลํ สจฺฉากาสิ.
ธมฺมํ จเร สุจริตํ น นํ ทุจฺจริตํ จเร,
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จาติ
อิมํ ปน คาถํ สุตฺวา สกทาคมิผเล ปติฏฺาสิ, ธมฺมปาลชาตกํ สุตฺวา อนาคามิผเล ปติฏฺาสิ, มรณสมเย เสตจฺฉตฺตสฺส เหฏฺา สิริสยเน นิปนฺโนเยว อรหตฺตํ ปาปุณิ.
(วินยมหาวคฺค อฏฺฐกถา, มหาขนฺธก ราหุลวตฺถุกถา,๒๘๙. ชาตกฏฺฐกถา, สนฺติเกนิทานกถา, ๑๐๕-๖ ฉบับพม่า)
พระศาสดาประทับยืนในระหว่างถนนนั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า –
บุคคลไม่ควรประมาทในบิณฑบาต อันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ด้วยว่าบุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ในเวลาจบคาถา พระราชาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, และได้สดับคาถานี้ว่า
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ด้วยว่า ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.
ได้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, ได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล, ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่บรรทมอันประกอบด้วยสิริภายใต้เศวตฉัตร ได้บรรลุพระอรหัต

------------------------------------------
ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/krasae.doc

คำถาม ฆราวาสได้เป็นพระอรหันต์ต้องตายในวันนั้นถ้าไม่ได้บวชถูกหรือไม่
คำตอบ เป็นคำพูดที่ถูก เป็นคำสั่งสอนและเล่าต่อจากพระอริยบุคคลสู่ผู้รู้และผู้รู้สู่อนุชนรุ่นต่อมา ถูกต้องว่าผู้ที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ทนอยู่ในชีวิตฆราวาสไม่ได้ ต้องอกแตกตายภายใน ๗ วัน ถ้าไม่บวชเราก็ฟังๆ มา จึงต้องขอติว่าเป็นคนไทยเสียเปล่าทุกคนเราทั้งพ่อด้วยในอดีต เป็นคนไทย ใช้ภาษาไทยแต่ไม่รู้จักภาษาไทย

คำว่า “บวช” คืออะไร พอบวชแล้วเราไม่เคยรู้เลยว่าบวชแปลว่าอะไร ภาษาไทยไม่แตกฉานก็เป็นอย่างนี้ พูดผิดๆ ถูก ๆ เพราะการที่เราบอกว่าบวชเราจะนึกถึงการโห่ฮิ้วแล้วก็เข้าโบสถ์ เข้าสีมาแล้วก็โปรยทาน โกนหัวใส่ผ้าเหลือง ไม่ต้องนุ่งของข้างใน ถือบาตรออกบิณฑบาต ห้ามกินข้าวเย็น เราฝังหัวเอาไว้ว่านี่เขาเรียกว่าการบวช เป็นเด็กหน่อยก็เรียกว่าเณร แก่หน่อยก็พระ รู้แค่นี้ เพราะไม่แตกฉานในภาษาไทย เป็นผู้ไม่รู้และไม่ยอมรับรู้ไม่แสวงหา จึงรู้แต่ว่าเข้าไปยืนหน้าเสมา ปวารณาตนเองตาม อุปัชฌาย์หรือพี่เลี้ยงแล้วก็เดินเข้าโบสถ์ไปมีคู่สวด โกนหัวโกนคิ้ว บิณฑบาต อย่าใส่สีอื่นนะ ต้องสีเหลือง ๆ หรือสีกรัก รู้อยู่แค่นี้ เพราะไม่รู้ว่าการบวชตามหลักของพระพุทธศาสนาคืออะไรกันแน่

บวช มาจากคำว่า ปวช (ปะ-วะ-ชะ) แปลว่า ออกจาก ไม่ได้แปลว่าโกนหัวเลย ไม่ได้แปลว่าห่มเหลืองเลย ไม่ได้แปลว่าเที่ยวขอเลย แล้วชีวิตของเราถ้าไม่ออกจากจะคลุกคลีอยู่กับอะไร อยู่กับ โลภ โกรธ หลง อยากได้ อุปาทาน ยึดมั่นแสวงหาที่เกิด แต่ผู้ออกจาก คือออกจากโลภ โกรธ หลง และการเสวงหาการเกิด แล้วอะไรที่เป็นตัวการให้อยู่กับพวกนี้ ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผู้ที่ออกบวชจึงเป็นผู้ปวารณาตัว ออกจากกามตัณหา ความยินดีติดใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปวารณาออกจากความยึดมั่นในเรื่องไร้สาระ เช่น ลาภยศต่าง ๆ ออกจากความยึดมั่นในอารมณ์อันเป็นสุขเป็นทุกข์

ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนามีกิจอย่างเดียวเท่านั้นเอง คือกิจที่ต้องพยายามออกจากการพัวพันชีวิตไว้กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่มีชิวิตเนื่องด้วยตัณหา อุปาทาน จึงจะเป็นนักบวชที่แท้จริง ดังนั้น พระอรหันต์จึงครองชีวิตอยู่ในความยึดมั่นหรือครองเรือนอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะรู้ว่าเป็นภัยเป็นโทษ เปรียบเสมือนไฟกำลังไหม้บ้าน ควันก็เข้าตา ร้อนก็ร้อน ใครจะทน มีใครทนไหม ร้องหาทางหนี อยู่ไปก็ตายแน่ เพราะรู้ว่านี่ก็เป็นกิเลส ทำให้ต้องมีการเกิด นี่ก็เป็นโทษ นี่ก็เป็นภัย เมื่อเป็นผู้กลัวภัย จึงต้องพาตนเองออกจากภัยนั้น บวชจึงเท่ากับออกจาก ไม่ใช่ว่าจะต้องโกนหัว เพราะว่าพระอรหันต์ไม่ได้สำเร็จในเพศชาย ผู้หญิงก็สำเร็จได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ คุณพงพัน กับเรื่องราวจากพระไตรปิฏก มิลินทปัญหา

แต่ การนำอัตตโนมติไปอธิบายเพิ่มเติม อาจจะคลาดเคลื่อนได้



อ้างคำพูด:
ลองพิจาณาเรื่องของพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินท์

กับเรื่องนี้ก็เหมือนกันเป็นเรื่องแต่งภายหลังจากสังคายนาพระไตรปิฎก แต่หนักกว่าที่พระเจ้ามิลินท์ไม่ได้นับถือพุทธศาสนามาก่อน แถมเป็นชาวกรีก การหาอุบายเพื่อให้เข้าใจยิ่งยากยิ่งลำบาก บางอย่างที่ท่านรู้จึงไม่จำเป็นต้องอธิบายโดยละเอียด และถ้าสภาพความเป็นอรหันต์เป็นดังที่ท่านนาคเสนเปรียบเทียบจริง ก็ควรจะดับขันธ์ตายลงตั้งแต่ตอนที่ได้ความเป็นอรหันต์ ”เหมือนกับบุคคลยกเอาก้อนหินหนักๆวางบนฟ้อนหญ้าเล็กๆฟ้อนหญ้าเล็กๆนั้นก็ต้องจมลงไปเพราะกำลังไม่พอฉันใดข้อนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น.” .........ฟ้อนหญ้าเล็กๆมันไม่รอให้ตัวเองจมอยู่เป็นวัน เป็นคืน หรือ 7 วัน 7 คืนหรอก ถ้าคนจะตายเพราะได้วิมุติ มันก็ควรจะตายตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว

เพราะฉะนั้น คำตอบมันเหมือนปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติ น้ำไม่สามารถเข้ากับน้ำมันฉันใด น้ำที่กลิ้งบนใบบัวไม่ซึมลงใบบัวฉันใด .....ขันธ์กับจิตของพระอรหันต์ก็ฉันนั้น.....ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริง จิตไม่ติดขันธ์ ขันธ์ไม่ติดจิต ...แต่ก็ยังคงมีอยู่ เหมือนน้ำกับน้ำมันที่เข้ากันไม่ได้ แต่ก็ไม่มีฝ่ายไหนทำลายซึ่งกันและกัน ยังคงอยู่เพื่อรอวันดับตามธรรมชาติ เมื่อน้ำระเหยออกไปก่อนน้ำมันจึงระเหยตามโดยธรรมชาติ.......เมื่อขันธ์ของพระอรหันต์ถูกทำลายด้วยความแก่ เจ็บ ตาย ไปก่อน จิตจึงเสวยความเป็นนิพพานอย่างแท้จริง เป็นธรรมชาติและสัจธรรมความจริงของผู้ได้วิมุติเช่นกัน......ไม่เกี่ยวกับเพศและเครื่องแต่งกาย.....


ผมเห็นว่า ความเป็นพระอรหันต์นั้นเป็นคุณวิเศษอย่างยิ่ง ไม่เหมาะกับเพศฆารวาสที่ครองเรือน


คิดง่าย ๆ ครับ เหมือนให้ผู้ที่ยินดีในการปฏิบัติธรรม ไปอยู่ในดิสโก้เธค อ่ะครับ คงจะอึดอัดใจ อยากจะหนีเต็มที

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 13:41
โพสต์: 57

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อือ...เป็นปริศนาธรรม ล้อปุจฉาธรรมที่น่าระรึกดีครับ
พระอรหันต์ อริยบุคคล ปุถุชน เหล่าสัตว์ทั้งมวล
ล้วนแต่ต้องตายกันทั้งหมดทั้งสิ้น ล้วนต้องตายภายในเจ็ดวันด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ปุจฉา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
อาทิตย์
จันทร์
อังคาร
พุธ
พฤหัสบดี
ศุกร์
เสาร์
อนิจจาอันว่าตัวข้าพเจ้าเองก็ต้องตายภายในเจ็ดวันนี้เช่นท่านทั้งมวล
จึงได้วิสัชชานา มาดังนี้แล


แก้ไขล่าสุดโดย ด.ช. ฉันทะ เมื่อ 28 พ.ค. 2010, 11:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้เรื่องเป็นพระอรหันต์แล้วจะต้องตายภายใน๗วันจริงๆก็ต้องปฏิบัติจิตให้แจ่มแจ้งชัดเจนภายในจิตใจแล้วจะหายสงสัยจะรู้เองเห็นเอง(สันทิฏฐิโก) อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์ (หรือนิพพานนั่นเอง)
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee

this nation is last our nation , we don't come back to are born again time stump
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เราไม่กลับมาเกิดอีกตลอตอนันตกาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกเราหลายคนคงได้อ่านหนังสือของคุณลุงหวีด บัวเผื่อน แล้ว และอาจทราบมานานแล้วถึงคุณธรรมของท่าน ผู้เป็นวิสุทธิบุคคล ในเพศฆราวาส และเป็นหนึ่งในพยานบุคคล ที่พิสูจน์ว่า ฆราวาสที่สิ้นกิเลสแล้ว แม้ไม่ได้บวช ก็สามารถทรงสังขารไว้ได้เกิน 7 วัน

เมื่อวานหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นำเรื่องราวบางส่วนจากหนังสือ "จิตที่พ้นจากทุกข์" ของคุณลุงหวีดไปลงเผยแพร่ด้วย ขออนุโมทนากับทุกคนที่มีส่วนร่วมในการพิมพ์หนังสือนี้เผยแพร่ครับ



หวีด บัวเผื่อน...จิตที่พ้นทุกข์
• 26 กันยายน 2553 เวลา 18:30 น. |
• เปิดอ่าน 112 |
• ความคิดเห็น 1
หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อ ว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”.....
โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
ตอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แข็งแรงอยู่ หลังฉันแล้วท่านมักจะเทศน์อบรมฆราวาสและตอบปัญหาธรรมที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย มีจดหมายไปกราบเรียนถาม เช้าวันที่ 4 พ.ย. 2546 ท่านตอบจดหมายหน้าเดียว ซึ่งถามมาเพียงข้อเดียวว่า
“กระผมได้ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว กระผมจิตว่างอยู่หลายปี ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งหลายจนจิตว่างไปหมด เหลือแต่ผู้รู้ แต่ก็ยังมาติดผู้รู้อีก เมื่อพิจารณาผู้รู้อย่างจริงจัง ก็เหมือนมีสปริงดีดผู้รู้นั้นกระเด็นหายไปทันที เหลือแต่ผู้รู้ที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด ในขณะนั้นสมมติทั้งสามแดนโลกธาตุปรากฏเกิดขึ้นที่ใจ อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย กระผมขอกราบเรียนถามหลวงตาว่า ที่กระผมเข้าใจว่าธาตุผู้รู้นี้ไม่ดับไม่สูญ เป็นรู้ที่อยู่ในรู้ตลอดชั่วนิรันดรใช่ไหมครับ แม้สังขารนี้จะดับไปแล้วก็ตาม ขอความกรุณาหลวงตาช่วยตอบกระผมด้วยครับ”
ผู้อ่านจดหมายกราบเรียนท่านว่า ผู้ถามนามว่า นายหวีด บัวเผื่อน มา จาก อ.เมือง จ.จันทบุรี
หลวงตามหาบัวตอบว่า “ถ้าธรรมดาแล้วปัญหาเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็หมดปัญหาไปในตัว ไม่จำเป็นต้องถาม แต่ที่ถามนั้นเขาก็มีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นด้วย สำหรับคนผู้ถามปัญหาเราก็เชื่อเขาแล้วว่าเขาไม่มีปัญหา...อันนี้เราให้ สนฺทิฏฺฐิโก เป็นสมบัติของคุณเอง รับรองคุณเองก็แล้วกัน”
บางถ้อยคำในการตอบคำถามครั้งนั้นมี ว่า “ที่เขาเล่ามานี้ไม่มีที่ต้องติ หมดปัญหาไป”
“นี่คือผลแห่งการปฏิบัติ นิยมไหมว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เพศหญิง เพศชาย กิเลสกับธรรมไม่มีเพศ จิตผูกได้ด้วยกันทั้งนั้น แก้ได้ด้วยกัน นี่ผลแห่งการแก้ การบำเพ็ญ จะเป็นฆราวาสก็ตามก็เป็นอย่างให้เห็นอยู่นี้แหละ นี่เป็นอยู่ที่จิต ผู้ปฏิบัติต่อจิตเป็นอย่างนี้ และผู้ไม่เป็นอย่างงั้นก็ค่อยเป็นมาโดยลำดับ ขอให้ได้รับการบำรุงรักษาเถอะ จะค่อยเป็นค่อยไปของมันอยู่นั้นละ” (อ่านเทศน์อบรมฆราวาส วันที่ 4 พ.ย. 2546 เรื่องพื้นฐานแห่งความสำเร็จในธรรมที่ http://www.luangta.com หรือ ที่http://www.luangta.c...D=2432&CatID=0)
หลายปีต่อมา หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อ ว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”
การปฏิบัติของคุณลุงหวีดเริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ

ท่านว่าถึงจะออกมาจากการภาวนาแล้วก็ “ต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจ ของตนอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึกหรือรู้ตัวทั่วพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาโดยมีความเพียรเป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์...”
แรกๆ ก็ทำไม่ได้แต่อาศัยความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น ให้จงได้ จึงมีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเอง
ด้วยวิธีนี้ “จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึ้นจากนาที เป็นสองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เป็นวันโดยใช้เวลาไม่นานปีนัก”
ที่ทำได้เพราะท่านมุ่งมั่นโดยตั้ง ปฏิญาณไว้กับตนเองว่า ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย เพราะถ้าเราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้วจะเอาชนะสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร...คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้วก็เหมือนกับเรือที่ขาด หางเสือ
ท่านคอยเตือนตัวเอง คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน
“ให้จิตเป็นปกติ คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นธาตุแห่งอารมณ์ดีหรือชั่วทั้งหลาย พยายามไม่พูดในจิต ไม่คิดในใจ เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น เช่น เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ มีสติอยู่กับสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบใดๆ ทั้งสิ้น
วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา ให้จิตใจอยู่อย่างสบาย ไม่กังวล หยุดโกรธ หยุดโลภ หยุดปรารถนา”
ผลของการปฏิบัติเช่นว่า ในที่สุด จิตของก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์
กล่าวคือ ภายในจิตใจไม่มีสังขารความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ มาก่อกวนเลย...บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง แต่จิตกลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ออกทำงานเลย ติดว่างอยู่อย่างนั้น ถึงกับต้องบังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา...”
ท่านว่าตอนนั้นนอนใจคิดว่าที่เป็น อยู่ถูกต้องแล้ว ไม่รู้ว่า นี่คือการติดสมาธิ ผลคือ ติดความว่างอยู่ถึง 2 ปีเต็มๆ
แม้จะส่งผลเช่นนั้น แต่คุณลุงก็ยืนยันว่า “อย่างไรก็ดี การปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธินั้นเป็นทางเดินเบื้องต้นที่ถูกต้อง ท่านให้ชี่อว่า สมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ”
ท่านว่า การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิตจิตใจไม่ท้อถอย ปฏิบัติดังนี้แล้ว จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น ความภาคภูมิใจและความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก
จากสมถะก็เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณากายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง
ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะ “จิตที่ติดอยู่สมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ ยากจะออกมาพิจารณาจึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็นผลนักในตอนแรก แต่ก็จำเป็นต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว...”
ท่านแก้โดย ลองเอากรรไกรตัดผมตัวเองออกมาพิจารณาดู ตัดเล็บที่ปลายนิ้วทั้งสิบออกมาวางไว้กับพื้นแล้วพิจารณาดู
“พิจารณาวนเวียนไปวนเวียนมา ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเราไปได้...หากเราลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อ เปิดเผยความจริง เหมือนเราลอกหนังเป็ดหนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนื้อแดงๆ เลือดไหลซึม ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ ผีเปรต...”
ความรู้นี้แจกแจงลงไปเป็นธาตุ 4 ค่อยๆ เห็นความจริงขึ้นว่า “...กาย คือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็นความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา...”
ท่านพิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน “จนบางครั้งจิตเป็นคนที่เดินไปเดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้ม อยู่ เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ ที่เดินไปเดินมาจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกันไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของจิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ...”
ท่านว่า เมื่อถึงการพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ไปติดอยู่ที่การพิจารณาเวทนาอยู่นานมาก แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสไว้ว่า เวทนาก็ไม่ใช่เรา แต่พิจารณาอย่างไร จิตก็ไม่ยอมรับ เพราะรู้สึกอยู่กับตัวว่า ความปวดเมื่อยจากการทำสมาธินั้น “เราเป็นผู้ปวดเมื่อยทุกครั้งไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังคิดว่า “เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เป็นเนื้อเดียวกันหมด”
บัดที่จะทะลุขึ้นนี้ไปได้จู่ๆ มันก็เกิดขึ้นดังนี้
“วันหนึ่งขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่ พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมาอยู่หลายรอบ เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่ ขณะนั้นเอง คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต เห็นเวทนาได้ลอยออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เวทนานี้ขาดออกจากจิตโดยสิ้นเชิง รู้สึกชัดเจนมาก เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วยขาดกระเด็นออกจากกัน เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเวทนา เพราะเวทนา ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกันกับธาตุรู้หรือจิต...”
คุณลุงจึงเปรียบเทียบไว้ว่า ธาตุรู้หรือจิตเป็น กระจก เวลาเวทนาเกิดขึ้น กระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร เพราะธาตุรู้หรือจิตเป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ กระจกกับเวทนามันคนละอัน
ท่านว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ ความเจ็บมันมาจากสัญญาจำได้ ถ้าเราเป็นกระจก หากเวทนา เหมือนเม็ดพริกขี้หนู เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้เลยว่าตัวเองเผ็ด เพราะไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจ และไม่มีเจตนาที่จะทำให้ใครเผ็ด ความเจ็บความปวด ก็ไม่มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้
“หากไม่เข้าใจความจริงนี้ความเจ็บความปวดนั้นก็จะเป็นเรา คือเราเจ็บ โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่หากเข้าใจความจริงนี้แล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริงอันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และธาตุรู้หรือจิตก็เป็นผู้รู้ซึ่งเป็นความจริงอีกอันหนึ่งเช่นกัน ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเราเป็นของเราแต่อย่างใด”
สัญญา ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา
สัญญาก็เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็นของตาย คือ เกิดๆ ดับๆ แล้วจะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน สิ่งที่ติดตาติดใจ ก็คงจำได้นานหน่อยถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ติดใจก็ดับเร็วลืมเร็ว
สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง
สังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการและความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน คือคิดแล้วดับไป ปรุงแล้วดับไป
ปัญหาของคุณลุงในข้อนี้ก็คงเหมือน กับนักปฏิบัติทั่วไปที่เข้าวัดแล้วบางทีก็อดตำหนิติเตียนครูบาอาจารย์อยู่ใน ใจ แม้จะห้ามไม่ให้คิดแล้วบางทียิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เมื่อนำปัญหานี้ไปปรึกษาครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้แก้ไขปัญหาด้วยประโยคเดียว
ทันทีที่ครูบาอาจารย์ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอกโยม เพียงแต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน” คุณลุงว่า “ความรู้สึกของข้าพเจ้าในขณะนั้นเหมือนยกภูเขาออกจากอกโล่งไปหมด เข้าใจได้ในทันทีว่า สังขารความคิด มีอาการและความจริงเช่นนี้ บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น”
เรื่องของวิญญาณ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้รับการสัมผัส ใจสัมผัสอารมณ์ เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะทั้ง 6 ดังกล่าวข้างต้น อาการของวิญญาณก็จะรับทราบการกระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบครั้งหนึ่งแล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า “ขันธ์ 5 ทั้งหมดมิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียงอาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ 5 เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ และเราเป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้เท่านั้น”
เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเราของเรา ปัญหาสำคัญตามมาคือ แล้วเราคืออะไรล่ะ?
คุณลุงว่าค้นอยู่นาน ที่สุดเมื่อถามครูบาอาจารย์ก็ได้คำตอบว่า “เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้”
“ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่ เราเรียนมาจากหนังสือไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สัมผัสด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น และสัมผัสด้วยกาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด จึงไม่ใช่ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว เท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดไม่ใช่ธาตุรู้ แม้แต่อารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยใจของเรานี้ ก็ยังไม่ใช่ธาตุรู้ แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำ เป็นจะต้องพิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้ เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา
ธาตุรู้หรือจิตนี้ เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน แต่กลับไม่เคยเห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม”
“จากนั้นมาข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับ ธาตุรู้ ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ หายๆ อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ในที่สุดด้วยความเพียรอย่างยิ่งของข้าพเจ้าทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มาก ขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ได้ครบ 100% และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
ท่านว่า ติดอยู่กับผู้รู้เป็นเวลาสองปีเต็มๆ ในที่สุดพระอาจารย์ของคุณลุงก็มาเทศน์โปรดให้ปล่อยธาตุรู้
“โยมจะจับไว้ทำไมกันปล่อยไปเสียนะ โยม ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว โยมจะจับไว้ทำไมกัน”
พอว่า “ผมปล่อยไม่เป็นหรอกครับอาจารย์ ปล่อยไม่ได้ ไม่รู้จะปล่อยอย่างไร” พระอาจารย์ก็หยิบหนังสือขึ้น แล้วก็ปล่อยลงมา “ปล่อยอย่างนี้แหละโยม ปล่อยได้ไหม”
แม้ครูบาอาจารย์จะช่วยโปรดหลายหนมา ที่บ้านถึง 7 ครั้ง ไปกราบที่สำนัก 3-4 หนก็ไม่ได้ผล เพราะปรารภกับตัวเองว่า “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้วเราจะปล่อยวางได้อย่างไร”
ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2536 ขณะที่คุณลุงเตรียมตัวออกจากสำนักพระอาจารย์กลับบ้านในเวลา 4 โมงเย็น โดย “คิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่าชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้ ทันใดนั้นอาจารย์ได้กล่าวขึ้นว่า “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มากระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอาอย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย”
“เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง สะดุ้งขึ้นในใจและขณะเดียวกันนั้น ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่างรุนแรงธาตุรู้ และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที และเกิดธาตุรู้อีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่ต้องประคองไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด
“ธาตุรู้นี้ไม่มีหาย ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของเหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก สมมติที่ฝังจมอยู่ในจิต คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่นอยู่ในจิตนานแสนนานได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น อวิชชาดับไปโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลาย อย่างขาวสะอาด ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นกลับตัวเป็นธรรมพร้อมกันหมดทั้งภายในและภายนอก
“ความเป็นกลาง ความสะอาด ความบริสุทธิ์นั้น ก็หมายถึงจิตดวงนี้เอง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือ จิตดวงนี้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ซึ่งก็คือ การเห็นจิตที่บริสุทธิ์ ณ ปัจจุบันนั่นเอง
“จิตที่บริสุทธิ์จึงเป็นจิตที่อยู่ นอกเหตุเหนือผล เหนือสมมติ เหนือบัญญัติ เหนือเกิด เรียกว่า เป็นวิมุตติ หมดภาระ หมดสิ้นการงาน หมดคำพูด จึงหยุดแล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ‘ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ’ นั่นหมายความว่า สมมติทั้งหลายที่เคยติดแน่นในจิตเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป”
คุณลุงหวีด บัวเผื่อน เพิ่งละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพิธีประชุมเพลิง ณ วัดเขากระแจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ทิ้ง “จิตที่พ้นจากทุกข์” ไว้เป็นหลักไมล์และป้ายบอกทางให้แก่ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ไว้ข้างหลังได้ ศึกษา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 23:01
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่ทราบเหมือนกัันค่ะ เข้ามาดูความเห็นของแต่ละท่าน ขอบคุณมากค่ะ tongue

.....................................................
ชวนเพื่อน ๆ มา ดูหนัง ดูหนังฟรี ดูหนังใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2012, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร