วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 18:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

จุ ด มุ่ ง ห ม า ย แ ห่ ง ก า ร ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม

การปฏิบัติธรรมนั้น มิใช่เพื่อความได้ความมีหรือความเป็นใดๆทั้งสิ้น
จุดหมายแท้เพื่อความไม่ทุกข์ใจอย่างเดียวเท่านั้น


ในที่สุดของการปฏิบัติคือ

• อยู่กับกิเลส โดยใจไม่เป็นทาสของกิเลส
• อยู่กับทุกข์กายโดยไม่ทุกข์ใจ
• อยู่กับงานวุ่นโดยใจไม่วุ่น
• อยู่กับการรีบด้วยใจสบาย
• อยู่กับความสมหวัง และความผิดหวังได้โดยใจไม่ทุกข์อีกต่อไป
• อยู่กับโลกได้ด้วยใจเป็นธรรม กายส่วนกาย ใจส่วนใจ แต่อาศัยกันอยู่เท่านั้น
• อยู่กับหน้าที่โดยไม่ยึดหน้าที่
เพียงแต่จะทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุดเท่าที่ตนจะทำได้ในปัจจุบันเท่านั้น
ที่ทำไม่ได้ก็ปล่อยไป


ธรรมแท้ๆ จะต้องมีสติรู้อยู่ภายในกายภายในตนเท่านั้น จึงจะใช่
และ “รู้” นั้น จะต้องเป็นรู้ของปัจจุบันด้วย


การเฝ้ารู้กายรู้ใจภายในตนอยู่เสมอในทุกอิริยาบถทุกการกระทำ พูด คิด
ในขณะปัจจุบันที่ตนรู้ตนอยู่เสมอนั่นแหละ คือ การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง

จุดมุ่งหมายแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น
เพียงเพื่อฝึกจิตให้รู้เท่าทันสภาพความจริงแท้ของอุปทาน
ในความหลงยึดถือรูปร่างกาย และสิ่งต่างๆในโลกนี้
อันเป็นธาตุ ๔ ว่าเป็นตัวเราของเรา ออกมาให้หมดสิ้นเท่านั้นเอง

มิใช่เพื่อความมีความเป็นใดๆทั้งสิ้น
ผลคือเพื่อความไม่ทุกข์ใจอีกต่อไปเท่านั้นเอง
เพราะการมีตัวเราของเราเกิดขึ้นในจิตเมื่อไร
ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที


เช่น สิ่งของผู้อื่นหาย ใจเราเฉยๆ
แต่พอของเราหาย ใจเราจะเกิดทุกข์ขึ้นทันที จริงไหม
เพราะมี “ของเรา” เกิดขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น จุดมุ่งหมายแท้ของการปฏิบัติธรรม
เพื่อออกจากทุกข์ใจให้หมดสิ้นเท่านั้น
ส่วนทุกข์ทางกายเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารอันไม่เที่ยงนั่นเอง


ธรรมแท้ๆ คือความปกติพอดีของใจ
ธรรมแท้ๆเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความถูก ผิด ดี ชั่ว ตัว ตน
ธรรมแท้ๆ คือความเป็นกลางๆ เท่านั้น

แต่ธรรมแท้ๆแห่งความหลุดพ้นนั้น
อยู่ที่ภายในกาย ภายในใจของทุกคนที่ตนเองเห็นตนเองจริงๆ


เพราะการปฏิบัติที่แท้จริงนั้น
เอากายตนเป็นสถานที่ทำ
เอาใจตนเป็นผู้ทำเท่านั้น


ธรรมที่แท้จริงนั้น มิใช่ทิ้งหน้าที่
แต่ให้ทิ้งความยึดถือจิตตน
ต่อส่งที่ผ่านมาและผ่านไปต่างหาก


การเห็นทุกข์มากๆ จะทำให้เราเบื่อหน่าย
และปล่อยวางในในสิ่งต่างๆที่หลงยึดได้เร็วขึ้น
ในทางธรรมบุคคลใดเห็นทุกข์มาก
บุคคลนั้นคือผู้โชคดีในแดนธรรม

เมื่อบุคคลใดมีความตั้งใจปฏิบัติจริง
เขาย่อมมีโอกาสทำได้จริงในที่สุด
โดยพยายามรู้สึกตัวในขณะปัจจุบันอยู่เสมอ
ว่ากายเรานี้กำลังทำอะไรอยู่
กายอยู่ที่ไหนใจอยู่ทั่น
ใช้ใจเฝ้าสังเกตดูกายในทุกอิริยาบถ
ทุกการกระทำ พูด คิด ยินดียินร้าย
ก็ให้รุ้เท่าทันปัจจุบันขณะนั้นอยู่เสมอ


ธรรมแท้ๆ เป็นเรื่องของจิตภายในเท่านั้น
ข้างนอกเป็นส่วนประกอบ
หากจิตไม่ทุกข์ ทุกอย่างก็ไม่ทุกข์
ปัญหาข้างในไม่มี ปัญหาข้างนอกก็ไม่มี


:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก “ความมหัศจรรย์แห่งใจ”, พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โดยคุณเยาวภาณี-คุณประสิทธิ์ เจียรไนสกุล เพื่ออุทิศถวายคืนแด่พระอาจารย์เกริกพงษ์ เตชธัมโม)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 19 ก.พ. 2010, 14:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดหมายของชาวพุทธคือ นิพพาน นอกเหนือนั้นเป็นผลพลอยได้ ผมกล่าวอย่างนี้ได้หรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: คนที่ปฏิบัติธรรม ในวิชาที่ดีที่สุดโลกนี้มี ๒ วิชาคือ

๑ สมถะ คือ อุบายที่ทำให้จิตเราสงบ มีร้อยแปดทำอย่างไรก็ได้ หายใจเข้าพุธโธ ,ยุบหนอ พองหนอ ,สัมมา อาระหัง ,หรือยกมือเคลื่อนไหวสุดแท้แต่ กสิณก็ได้ ครับ อุบายต่างๆ เหล่านั้นทำให้จิตสงบ
๒ กรรมฐาน

หลายคนปฏิบัติไม่สำเร็จเพราะจะติดด่านจิตไม่สงบ ไม่มีสมาธิ

ถ้าอยากได้ธรรมะสัจจธรรมของพระพุทธองค์ไม่ยากครับ เพี่ยงแต่ท่านต้องยอมตายถวายชีวิตครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อายะ เขียน:
จุดหมายของชาวพุทธคือ นิพพาน นอกเหนือนั้นเป็นผลพลอยได้
ผมกล่าวอย่างนี้ได้หรือไม่ครับ


:b4: :b1: :b4:

มนุษย์ในฐานะที่จัดตัวเองว่า
เป็นสัตว์สังคม และเป็นสัตว์โลกอันประเสริฐ..นั้น
เกิดมาพร้อมกับศักยภาพ ๕ ประการ คือ

๑. การพึ่งพาผู้อื่น
๒. การพึ่งพาตนเอง
๓. การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
๔. การเป็นที่พึ่งของผู้อื่น
๕. การทำพระนิพพานให้แจ้ง


ดังนั้น หากมีโอกาสพัฒนาศักยภาพเหล่านี้
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทแล้ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสุดท้าย
ซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา
แม้ยังไม่อาจไปถึงได้ในชาติภพนี้
แต่หากเพียรสั่งสมเหตุปัจจัยไป
ย่อมไม่เสียทีที่ได้เกิดมาด้วยอัตภาพความเป็นมนุษย์แล้วในชาตินึง...นะคะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาสาธุการครับ..คุณโรส :b17:

:b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45: :b45:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงสอนบุคคล
๓ ระดับสติปัญญา คือ

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง สำหรับบุคคลที่ยังต้องการมีความสุขอยู่ในปัจจุบันชาติไม่เชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ ให้สร้างกุศลที่เป็น กามาวจรกุศล คือกุศลกรรมบถ ๑๐
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม สำหรับบุคคลที่ต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และปรารถนามีความสุขในภพหน้า จึงต้องสร้าง กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศลไปพร้อมๆกัน
๓. การทำจิตของตนให้ขาวรอบ สำหรับ ผู้มีปัญญามาก เห็นทุกข์จากการเวียนตายเวียนเกิดวนไปมาในโลกทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ และ อรูปภพ จึงสร้างโลกุตตรกุศลโดยการเจริญ มรรคมีองค์ ๘ ย่อลง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน
ธรรมอย่างมีอุเบกขา เห็นขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ละอุปทานขันธ์ แล้วละทิ้ง
สมมุติบัญญัติเสีย ชีวิตจึงเป็น นิรันดร์ ไม่กลับมาเกิดอีก แต่ก็ไม่สูญ อายตนะนั้นยังมีอยู่
แต่ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดอีก

นี่น่าจะเป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ใช่ไหมครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


สวัสดีค่ะ คุณ B้honprot :b8:

ขออนุญาตเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "โอวาทปาติโมกข์" ที่ท่านได้นำเสนอมา
เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านยิ่งขึ้น ดังนี้นะคะ


อ้างคำพูด:
เนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์
คนส่วนมากมักจำกันแค่ ๓ ข้อคือ ไม่ ทำชั่ว, ทำดี, ทำจิตให้ผ่องใส
เพราะโบราณไทยท่านบัญญัติให้เป็น “หัวใจ” ของพระพุทธศาสนา

ความจริงโอวาทปาติโมกข์มีถึง ๑๓ หัวข้อ คือ

๑. ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นเครื่องเผากิเลสที่ยอดเยี่ยมที่สุด
๒. พระนิพพาน ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นยอด (เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต)
๓. ผู้ที่ฆ่าหรือทำร้ายคนอื่นอยู่ มิใช่บรรพชิต
๔. ผู้เบียดเบียนคนอื่นอยู่ มิใช่สมณะ
๕. ไม่ทำบาปทั้งปวง
๖. ทำความดีให้พร้อม
๗. ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
๘. ไม่ว่าร้ายคนอื่น
๙. ไม่เบียดเบียนคนอื่น
๑๐. เคร่งครัดในระเบียบข้อบังคับ
๑๑. อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด
๑๒. รู้จักประมาณในอาหารการกิน
๑๓. ฝึกจิตให้มีสมาธิขั้นสูง

พระโอวาทนี้จะเรียกว่า
เป็นการปัจฉิมนิเทศแก่คณะธรรมทูตที่สั่งไปเผยแผ่ครั้งแรก
และเป็นปฐมนิเทศแก่คณะที่สองที่จะส่งต่อไปก็ได้
เนื้อหาสรุปลงได้ ๓-๔ ประเด็น ดังนี้

๑. เน้นถึงอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา

คือ พระนิพพาน (ข้อ ๒)

๒. พูดถึงหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนา

คือ ไม่ทำชั่ว, ทำดี, ทำใจให้ผ่องใส (ข้อ ๕, ๖, ๗)

๓. พูดถึงวิธีการเผยแผ่

คือให้ใช้ขันติ รู้จักประสานประโยชน์ ไม่ว่าร้ายเขา ไม่เบียดเบียนเขา
(ข้อ ๑, ๓, ๔, ๘, ๙, ๑๐)

๔. พูดถึงคุณสมบัติของผู้เผยแผ่

จะต้องเป็นคนเคร่งครัดในพระวินัย คือ มีศีล, มีความประพฤติดีงาม,
อยู่เรียบง่าย, ชอบที่สงบสงัด, ไม่เห็นแก่กิน และฝึกจิตจนได้สมาธิขั้นสูง
(ข้อ ๑๐, ๑๑, ๑๒, ๑๓)

อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีมากถึง ๑๓ ข้อ
แต่ถ้าพูดถึงหลักการทั่วไปเพียง ๓ ข้อ
(ไม่ทำชั่ว, ทำดี, ทำใจให้ผ่องใส)
ก็ครอบคลุมเนื้อหาของพระพุทธศาสนาแล้ว


โบราณท่านจึงนำเอา ๓ หัวข้อนี้มาเป็น
“หัวใจ” หรือแก่นพระพุทธศาสนา

เพราะเหตุไรจึงว่าครอบคุลม

เพราะพระอรรถกถาจารย์
(อาจารย์ผู้อธิบายพระไตรปิฎก)
ได้บอกเราว่า

การไม่ทำความชั่วทั้งปวงนั้น หมายเอา ศีล
การทำความดีให้พร้อม หมายเอา สมาธิ
การทำจิตของตนให้ผ่องใส หมายเอา ปัญญา

ศีล สมาธิ และปัญญา ก็คือ ไตรสิกขา
(หลักแห่งการฝึกฝนอบรม 3 ประการ)
อันเป็นสรุปความแห่งอริยมรรค มีองค์แปดนั้นเอง

ในความหมายที่สูงสุด
การมีศีลสมบูรณ์ทุกข้อ ไม่บกพร่อง ไม่ด่างพร้อยเลย
จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการไม่ทำความชั่วทั้งปวง


การฝึกสมาธิจนถึงขั้นแน่วแน่ สามารถระงับนิวรณ์
(เครื่องปิดกั้นความงอกงามในธรรม) ทั้ง ๕ ได้ ได้บรรลุฌาน ๔ ขั้น
จึงนับว่า เป็นการทำความดีสมบูรณ์

การฝึกวิปัสสนากรรมฐานจนเกิดญาณหยั่งรู้
อย่างต่ำตั้งแต่ธัมมจักขุ (ดวงตาเห็นธรรม)
ซึ่งเป็นภูมิธรรมของพระโสดาบันขึ้นไป จนถึงพระอรหัตผล
จึงจะเรียกว่า การทำจิตให้ผ่องใส...


อ่านเพิ่มเติมได้จากที่นี่ค่ะ :b1:

:b8: :b8: :b8:

(คััดลอกบางตอนมาจาก : วันมาฆบูชา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก )
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14840


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 13:22
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ
:b43: :b43: :b43:

.....................................................
ทำไมต้องปล่อยว่าง
เพราะทุกอย่างมี ความว่าง มาแต่เดิม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาด้วยคร้า ><

"บุญคือ ความสุขจากการชำระใจ"
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร