วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แรงจูงใจในพุทธธรรม


จุดเริ่มต้นสำหรับทำความเข้าใจกันในตอนนี้ คือ ให้ถือว่าแรงจูงใจในการกระทำของมนุษย์

แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้



๑. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่เกื้อกูล เป็นอกุศล

เรียกว่า ตัณหา

๒. ความพอใจ ชอบใจ ยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล

เรียกว่า ฉันทะ


ตัณหา แปลว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความรน ความร่าน

ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย ไม่รู้อิ่ม *(* ผู้ต้องการอาจดูความหมายที่ อุ.อ.53;

อิติ.อ.75,259 ฯลฯ)

หลักสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับตัณหา คือ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ตัณหา เกิด จากเวทนา เป็นปัจจัย โดยมีอวิชชาเป็นมูลราก
กล่าวคือเมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น เห็นรูปสวยหรือน่าเกลียด

ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู เป็นต้น

แล้วเกิดความรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆขึ้น ในเวลานั้น ตัณหาก็จะเกิดขึ้น ในลักษณะ

อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ถ้ารู้สึกสุข ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้

เรื่อยเฉื่อยไป

อาการอย่างนี้ มันเป็นไปของมันได้เอง โดยไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอะไรเลย


(ตรงข้าม ถ้ามีความรู้ความเข้าใจ หรือ ใช้ความคิดแทรกเข้ามาในเวลานั้น เช่น รู้ว่า รูปที่น่าเกลียด

นั้น เป็นสิ่งมีประโยชน์ หรือ รู้ว่าเสียงไพเราะนั้น เป็นสัญญาณอันตราย หรือ เกิดสำนึกทางจริยธรรม

หรือ วัฒนธรรมประเพณีว่า สิ่งนั้นไม่เหมาะสมกับภาวะ หรือฐานะของตน เป็นต้น

ตัณหาอาจถูกตัดตอน กระบวนการไม่ไหลต่อเนื่องเรื่อยไปอย่างเดิม แต่เกิดพฤติกรรมรูปอื่นรับช่วงไปแทน
)


จึงอาจพูดอย่างง่ายๆว่า ตัณหาอิงอาศัยเวทนา โดยมีอวิชชาเป็นตัวหนุนหรือตัณหาแอบอิงเวทนา

อยู่บนฐานแห่งอวิชชา

ในเมื่อตัณหาใฝ่ หรือ ผูกพันมุ่งหมายเวทนาอย่างนี้

ตัณหาจึงร่านรนหันไปหาสิ่งที่จะให้เวทนาแก่มันได้ และสิ่งที่ตัณหาต้องการ ก็คือสิ่งใดก็ตามที่จะอำนวยเวทนา

อันอร่อยซึ่งตัณหาชอบ

สิ่งทั้งหลายที่อำนวยเวทนาได้ เมื่อจัดรวมเข้าเป็นประเภทแล้ว ก็มีเพียง ๖ อย่าง เรียกว่า อารมณ์ ๖ คือ

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) และธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ)

เฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์จำพวกที่เด่นชัดกว่าเป็นรูปธรรม คือ ๕ อย่างแรก ซึ่งเรียกว่ากามคุณ ๕

(ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ)

อารมณ์ ๖ โดยเฉพาะกามคุณ ๕ นี้ เป็นสิ่งที่ตัณหาต้องการ และเป็นที่เกิดของตัณหา

โดยนัยนี้ จึงขยายความหมายของตัณหาออกไปได้ว่า ตัณหา คือ ความกระหายอยากในสิ่งที่ให้เวทนา

หรือ ความกระหายอยากในอารมณ์ที่ชอบใจ หรือในกามคุณทั้งหลาย * หรือความกระหายอยากได้

อารมณ์ที่ชอบใจมาเสพเสวยเวทนาอันอร่อย

พูดสั้นๆว่า ว่าอยากได้ หรืออยากเอา

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

สารัตถะข้อความที่ขีดเส้นใต้ในวงเล็บ เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม คือ การกำหนดรู้อารมณ์แต่ละขณะๆเป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มี *)

* ที่ว่า ตัณหาเกิดในอารมณ์ ๖ หรือกามคุณ ๕ นี้ เป็นการพูดกันสั้นๆ อย่างรวบรัด

ถ้าจะพูดขยายให้เต็มความก็ว่า ในปิยรูป สาตรูป ซึ่งมี ๑๐ หมวด ๆละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖

อารมณ์ ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ และวิจาร ๖

มีพุทธพจน์ตรัสว่า ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในปิยรูป สาตรูปเหล่านี้

เมื่อจะตั้งหลักลง ก็ย่อมตั้งหลักลงที่ปิยรูป สาตรูปเหล่านี้

และเมื่อจะถูกละ เมื่อจะดับ ก็ย่อมถูกละได้ ดับได้ที่ปิยรูป สาตรูปเหล่านี้

(ที.ม.๑๐ /297-8/343-8 สํ.นิ.16/258/131 ขุ.ปฏิ.31/83/57

อภิ.วิ.35/159/131; 161/133)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.พ. 2012, 18:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกต ความรู้สึกว่ามี ”อัตตา” “ตัณหา” จากคำอธิบาย



อย่างไรก็ตาม เรื่องของตัณหายังไม่จบเพียงเท่านั้น การเสพเสวยเวทนาจากอารมณ์เช่นนี้

ได้สร้างเสริมความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่สั่งสมขึ้นด้วยความหลงผิด คือ ความรู้สึกว่า มีตัวตน

หรือ อัตตา ผู้เสพเสวยเวทนา


เมื่อเข้าใจอย่างนั้นแล้ว ก็ต้องมีความเห็นต่อเนื่องไปอีกว่า การที่จะได้เสพเสวยเวทนาอยู่เรื่อยไป

ก็ต้องมีตัวตน ผู้เสพเสวยที่เที่ยงแท้ถาวร

คราวนี้ ความกระหายอยากในความมีอยู่ เป็นอยู่เที่ยงแท้ถาวรของอัตตา ก็เกิดมีขึ้นควบคู่ไปกับความเห็น

ว่า มีตัวตนที่คงอยู่เที่ยงแท้ถาวรได้

แต่เมื่อความเข้าใจเช่นนี้ เป็นเพียงความเห็นที่ยึดถือเอาเอง และ เมื่อความเห็นนั้นเอียงไปข้าง

หนึ่งแล้ว ก็ย่อมมีความเห็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเอียงไปในทางตรงข้าม เกิดขึ้นมาซ้อนเป็นคู่คอยแย้งกันไว้ว่า

ตัวตนนั้นมีอยู่เพียงชั่วคราว แล้วก็จะดับสิ้นพินาศขาดสูญไป ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ถาวร

ความเห็น หรือ ความยึดถือนี้ กลับไปสัมพันธ์กันอีก กับการเสพเสวยเวทนา กล่าวคือ ความมีอยู่คงอยู่

แห่งตัวตนนั้น จะมีความหมายก็เพราะได้เสพเสวยเวทนาที่ชื่นชอบใจ

เมื่อใดได้เสพสม เมื่อนั้น ความกระหายอยากในความเที่ยงแท้ถาวรของอัตตาก็ยิ่งได้รับการเสริมย้ำให้

แรงกล้า

แต่เมื่อใด ไม่ได้เสพสม ความดำรงอยู่ของตัวตน ก็ดูจะไร้ความหมาย เมื่ออาการที่ไม่สมนั้นเป็นไป

อย่างรุนแรง ก็ถึงกับเบื่อหน่ายเกลียดชัง ไม่ปรารถนาความดำรงคงอยู่แห่งตัวตน อยากให้ตัวตนพราก

ขาดสูญสิ้นไปเสียจากภาวะเช่นนั้น ซึ่งเรียกว่าเป็นความกระหายอยากในความขาดสูญแห่งอัตตา

เกิดเป็นตัณหาขึ้นอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นควบคู่ไปกับความเห็นที่คอยรอให้โอกาสอยู่แล้วว่า มีตัวตนชั่วคราว

ซึ่งดับสิ้นขาดสูญไปได้

ตัณหาในความพินาศขาดสูญของอัตตานี้ เกิดขึ้นมาเคียงซ้อนเป็นคู่แย้งคอยขัดกันกับตัณหาในความคงอยู่

เที่ยงแท้ถาวรของอัตตา

ส่วนตัณหาอย่างแรกนั้น ถึงตอนนี้ก็มิใช่มีความหมายเพียงว่า ความกระหายอยากในสิ่งที่ได้ให้เวทนา

เท่านั้น แต่ควรขยายออกไปให้ชัดเจนขึ้นอีกว่า เป็นความกระหายอยากที่จะได้สิ่งอำนายเวทนามาปรนปรือ

อัตตา หรือ อยากให้อัตตาได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยจากอารมณ์ที่น่าชื่นชม

เป็นอันว่า ตัณหาทุกอย่าง มีศูนย์รวมมุ่งมาที่ตัวตน หรือ เพื่ออัตตาทั้งสิ้น

บทบาทและการทำหน้าที่ ของตัณหาเหล่านั้น ได้เป็นตัวกำกับการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ของมนุษย์

ผู้คอยพะนอหล่อเลี้ยงมันไว้ และเทิดทูนให้มันเป็นผู้บังคับบัญชาที่ตนจงรักเชื่อฟัง พร้อมกันนั้น

ความระแวง ความเคียดแค้นชิงชัง ความมัวเมาลุ่มหลงและความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ

รวมความว่าตัณหาแยกออกได้เป็น ๓ อย่าง หรือ ๓ ด้าน คือ

๑. ความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่าชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือความทะยานอยากในกาม

เรียกว่า กามตัณหา

๒. ความกระหายอยากในความมั่นคง มีอยู่คงอยู่ตลอดไป (รวมถึงใหญ่โตโดดเด่น) ของตนหรือความ

ทะยานอยากในภพ เรียกว่า ภวตัณหา

๓. ความกระหายอยากในความสิ้นขาดสูญ (รวมทั้งพรากพ้น บั่นรอน) แห่งตัวตน

หรือความทะยานอยากในวิภพ เรียกว่า วิภวตัณหา*

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี *


* ตัณหา ๓ นี้ อาจเทียบกับ libido, life-instinct และ death-instinct

ของ Freud ได้ในบางแง่ แต่ไม่ใช่ตรงกันทีเดียว

กามตัณหา จะจำกัดความว่า ตัณหาในกามคุณ ๕ ก็ได้

(สงฺคณี อ.522) ว่า ตัณหาในแง่ของความชื่นชอบกาม ในอารมณ์ ๖ ก็ได้ -

(ปญฺจ.อ.312)

ภวตัณหา คือ ความอยากความใคร่ที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิ (คือ สัสสทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง)

วิภวตัณหา คือ ความอยากความใคร่ที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)

กามตัณหา คือตัณหานอกจากนั้น

(ดู อภิ.วิ.35/933/494 อิติ.อ.260 ฯลฯ)

พึงสังเกตว่า เมื่อพิจารณาตามหลักพุทธศาสนา ความผูกพันในกามเป็นสิ่งลึกซึ้ง และเป็นพื้นฐานยิ่งกว่า

ความยึดถือตัวตน หรือ ความเห็นเกี่ยวกับอัตตา เช่น ในสังโยชน์ ๑๐ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นเกี่ยวกับ

อัตตา) ถูกละได้ตั้งแต่เป็นโสดาบัน

กามราคะละได้ต่อเมื่อเป็นพระอนาคามี และเมื่อบรรลุอรหัตผล จึงจะละรูปราคะ และอรูปราคะได้

ในอุปาทาน ๔ อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน = สักกายทิฏฐิ – อภิ.

สํ.34/784/307, วิสุทธิ.3/182) ละได้ในชั้นโสดาบัน

ส่วนกามุปาทาน (ความยึดมั่นในกามซึ่งรวมถึงรูปราคะและอรูปราคะ) จะละได้ต่อเมื่อบรรลุอรหัตผล

(เช่น วิสุทธิ.3183,338)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามกฎแห่งกระบวนธรรม ตัณหานำไปสู่การแสวงหา ที่เรียกเป็นคำศัพท์ว่า ปริเยสนา *

(จะเรียกสั้นๆว่า เอสนา ก็ได้) คือ ไปหา ไปเอา หรือรับเอา หรือ หาทางอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะให้ได้สิ่ง

ที่ต้องการนั้นๆ มาเสพเสวย

ผลสนองการแสวงหานั้น ก็คือการได้ เมื่อได้สิ่งที่ต้องการนั้นมาให้ตนเสพเสวยแล้ว ก็เป็นอันตัดตอนได้

ถือว่า จบไปช่วงหนึ่ง

มีสิ่งที่ขอย้ำไว้เพื่อให้กำหนดไว้ในใจเป็นสิ่งเตือนความสังเกตอย่างหนึ่งในตอนนี้คือ การแสวงหา

ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการกระทำ
และอาจจะไม่เกี่ยวข้อง หรือ ไม่ต้องใช้การกระทำเลยก็ได้

ดังจะพิจารณากันต่อไป

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

(ขยายความข้างบนที่มี *)

* ตัณหํ ปฏิจฺจ ปริเยสนา = อาศัยตัณหา จึงมีการแสวงหา,

ปริเยสนํ ลาโภ = อาศัยการแสวงหา จึงมีการได้

(ที.ม.10/59/69 องฺ.นวก.23/227/413 ฯลฯ

ท่านแบ่งตัณหาออกเป็น ๒ อย่าง คือ เอสนาตัณหา (ตัณหาในการแสวงหา) และเอสิตตัณหา

(ตัณหาในสิ่งที่แสวงหามาแล้ว)

ใน ขุ.ม.29/457/314; ที.อ.2/423 กล่าว ถึงฉันทะว่ามี ๕ อย่างคือ

ปริเยสนฉันทะ (ฉันทะในการแสวงหา) ปฏิลาภฉันทะ (ฉันทะในการได้)

ปริโภคฉันทะ (ฉันทะในการบริโภคหรือใช้) สันนิธิฉันทะ (ฉันทะในการสะสม)

และวิสัชชนฉันทะ (ฉันทะในการแจกจ่าย หมายถึงหว่านเงินหรือเลี้ยงคนเพื่อเอาเป็นบริวาร)

และว่าฉันทะทั้ง ๕ นี้ เป็นเพียงตัณหาเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดตอนเกี่ยวกับศัพท์ ปริเยสนา การแสวงหาไว้ช่วงหนึ่งก่อน


อาจมีผู้สงสัยว่า ในเมื่อการแสวงหาเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากตัณหา ผู้ไม่ใช้ตัณหาก็เป็นอันไม่ต้องแสวงหา

อาหารหรืออย่างไร

พึงเข้าใจว่า คำว่าปริเยสนา หรือการแสวงหาที่กล่าวข้างต้น เป็นคำที่ใช้อย่างศัพท์เฉพาะเพื่อแยกความหมาย

ให้ต่างจากคำว่า กระทำ โดยให้หมายถึงวิธีการต่างๆที่จะให้ได้สิ่งที่ต้องการมา อันเป็นความหมายที่กว้าง

จะมีการกระทำหรือไม่ก็ได้

แต่ในกรณีใด การแสวงหาเป็นเหตุโดยตรงของผลที่จะเกิดขึ้น

ในกรณีนั้น การแสวงหาก็เป็นเพียงการกระทำอย่างหนึ่งในความหมายอย่างปกติธรรมดา เหมือนอย่างใน

กรณีร่างกายต้องการอาหาร จะต้องกินอาหารจึงจะดำรงชีวิตอยู่หรือมีสุขภาพดีได้

การแสวงหา เป็นเหตุโดยตรงแห่งการเกิดมีของอาหารที่จะต้องกินนั้น

การแสวงหาจึงเป็นการกระทำเพื่อผลของมันเอง จุดที่จะตัดสินความแตกต่างว่าเป็นอะไรแน่ อยู่ที่กินเพื่อ

อะไร

ถ้ากินเพื่อเสพรส คือการกินเป็นเงื่อนไขสำหรับการได้เสพรสอร่อย ระบบแห่งความเป็นเหตุเป็นผลก็คลาด

เคลื่อนเสียไป

แต่ถ้ากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย ความเป็นเหตุเป็นผลก็ต่อเนื่องกันไปตลอดระบบ

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการด้วยตัณหา เริ่มต้นพฤติกรรมในกรณีอย่างนี้ ด้วยความคิด ความรู้เข้าใจ หรือความสำนึก

เหตุผลว่า อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต -(ที่จะดำรงอยู่ด้วยดี สามารถทำกิจหน้าที่บำเพ็ญคุณ

ประโยชน์ต่างๆได้) จึงจะต้องหาอาหารมากินเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย

ถ้าความเป็นเหตุเป็นผลดำเนินไปโดยมีความคิด หรือ ความสำนึกอย่างนี้เป็นฐานทางธรรม ถึงกับกำหนด

ให้การแสวงหาอาหารโดยทางชอบธรรม เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่จะต้องทำทีเดียว และให้เพียรพยายามในการ

แสวงหานั้นด้วย

แม้แต่พระภิกษุ ซึ่งควรมีชีวิตที่ขึ้นต่ออาหารน้อยที่สุด ท่านก็ให้มีอุตสาหะในการแสวงหาตามวิธีที่เป็นแบบ

แผนของตน -

(ดู วินย.4/87/106; 143/193

เรื่องในที่มานี้ อาจช่วยให้เห็นความต่างอีกแง่หนึ่ง ระหว่างการแสวงหาที่เป็นการกระทำ

และเป็นหน้าที่ กับการแสวงหาที่เป็นเพียงการหาทางให้ได้มาเสพเสวยโดยไม่ต้องทำ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209060.jpg
m209060.jpg [ 128.62 KiB | เปิดดู 5485 ครั้ง ]
พักสายตาหน่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หันไปพูดถึงฉันทะบ้าง

ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า ฉันทะในที่นี้ หมายถึง กุศลธรรมฉันทะ ที่เรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ

หรือ ธรรมฉันทะ

กุศลธรรมฉันทะ* แปลว่า ฉันทะในกุศลธรรม คือ ความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม

กุศลฉันทะ แปลว่า ฉันทะในกุศล

ถึงแม้จะตัดคำว่า ธรรมออก ก็มีความหมายเท่าเดิม คือตรงกับกุศลธรรมฉันทะนั่นเอง

กุศล แปลว่า ดีงาม ฉลาด เกื้อกูล คล่อง สบาย ไร้โรค เอื้อต่อสุขภาพ

ได้แก่ สิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ สิ่งที่เป็นผลเกื้อกูลแก่ความเจริญงอกงามในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

ทั้งแก่ตนและคนอื่น *

ส่วนธรรมฉันทะ แปลว่า ฉันทะในธรรม หรือความต้องการธรรม

คำว่า ธรรม ที่มาในคำว่า กุศลธรรม มีความหมายกลางๆ คือแปลว่า สิ่ง หรือ หลัก

แต่เมื่อ แยกออกมาใช้ลำพังโดดๆ ก็อาจแปลความหมายได้กว้างขึ้น


ความหมายหลักของธรรมในกรณีนี้มี ๒ อย่าง คือ ความจริง (สภาวธรรมหรือคำสอนที่แสดงสภาวธรรมนั้น

ตรงกับที่บัดนี้ใช้คำว่า สัจธรรม)

และความดีงาม สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม (คุณธรรม ปัจจุบันดูเหมือนนิยมเรียกส่วนหนึ่งของความหมาย

นัยนี้ว่า จริยธรรม)

ธรรมฉันทะ จึงแปลได้ว่า ฉันทะในความจริง ฉันทะในความดีงาม หรือ ความต้องการความจริง

ความต้องการสิ่งที่ดีงาม

ความต้องการความจริงเล็งไปถึงความรู้ คือ เท่ากับพูดว่า ต้องการรู้ความจริง ต้องการเข้าถึงตัวธรรม

คือตัวจริง ตัวแท้ ความหมายที่แท้ เนื้อหาสาระที่เป็นแก่นแท้ ภาวะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย

ตลอดจนความดีงามที่เป็นคุณค่าอันแท้จริงของสิ่งนั้นๆ


ส่วนความต้องการความดีงามก็เล็งถึงการกระทำ คือต้องการทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น

โดยนัยนี้ธรรมฉันทะก็แปลได้ว่า ความใฝ่ความจริง หรือความรักความจริง ความใฝ่ในสิ่งดีงาม

หรือรักความดีงาม (ใฝ่ดี รักดี) และกินความถึงความอยากรู้ อยากทำ หรือใฝ่รู้ใฝ่ทำ

อาจใช้คำสั้นๆ คำเดียวว่า ความใฝ่ธรรม แล้วให้เข้าใจร่วมกันไว้ว่า คลุมถึงความหมายที่กล่าวมา

ทั้งหมด

เมื่อนัดหมายรู้กันอย่างนี้แล้ว จะแปลฉันทะเดี่ยวๆล้วนๆว่า ความใฝ่ธรรมก็ได้


เป็นอันว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ ก็คือ ธรรม หรือกุศล (ธรรม)

พูดอย่างไทยแท้ว่า สิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริง และสิ่งที่ดีงาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ม.ค. 2010, 13:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี * ตามลำดับพร้อมที่อ้างอิง


* พึงเทียบกับ กุศลธรรมอสันตุฏฐี (อสนฺตุฏฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ) คือความ ไม่สันโดษในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญเกื้อหนุนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติธรรมควรมีคู่กับความ

เพียรพยายาม ไม่ท้อถอย

(ที.ปา.11/227/227 องฺ.ทุก.20/251/64; 422/119 ฯลฯ)



* ความหมายหลักของกุศล มี ๓ คือ

อาโรคยะ (ความไม่มีโรค มีสุขภาพ)

อนวัชชะ (ไร้โทษ)

และ โกลัสสสัมภูต (เกิดจากความฉลาดหรือเกิดจากปัญญา)

นอกจากนี้แปลว่า มีผลเป็นสุข (สุขวิบาก) เกษม (เขมะ) เป็นต้นก็ได้

ดู ปฏิสํ.อ.156,246 สงฺคณี อ. 103,134 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่าสิ่งที่ฉันทะต้องการ ก็คือ ธรรม หรือกุศล (ธรรม)

พูดอย่างไทยๆ ว่าสิ่งที่ฉันทะต้องการ คือ ความจริง และสิ่งที่ดีงาม

แล้วมีความหมายขยายออกไปอีกว่า ต้องการรู้ความจริง

ต้องการทำให้สิ่งที่ดีงาม หรือ ภาวะที่ดีงามเกิดมีขึ้น

อยากทำให้สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์สำเร็จผลเป็นจริงขึ้น

ความหมายที่ขยายออกไปนี้ส่องให้เห็นว่า ฉันทะสัมพันธ์กับการกระทำคือ การกระทำเพื่อให้รู้ความจริง

และการกระทำเพื่อสร้างภาวะที่ดีงาม หรือ ทำให้สิ่งที่ดีงามเกิดมีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ตามกฎแห่งกระบวนธรรม ท่านจึงกล่าวว่า ฉันทะนำไปสู่อุตสาหะ -(1)

หรือไม่ก็กล่าวไว้นำหน้าวายามะ หรือ วิริยะ - (2)

พูดง่ายๆว่า ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ (เทียบกับตัณหาซึ่งทำให้เกิดการแสวงหา) พร้อมกันนั้นท่านก็กล่าว

ถึงมูลฐานของฉันทะว่า มีโยนิโสมนสิการเป็นสมุฏฐาน- (3)

หมายความว่า ฉันทะ เกิดจากโยนิโสมนสิการ * ความข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ฉันทะอยู่ในกระบวนธรรม

ฝ่ายปัญญา

ฉันทะตั้งต้นเมื่อเริ่มมีการใช้ปัญญา (เทียบกับตัณหาซึ่งอาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัว)


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

(1) ม.ม.13/238/233; 659/606

(2) ดูที่มาในฉันทะ ข้อที่ ๒ กัตตุกัมยตาฉันทะ ที่ผ่านมาแล้ว

(3) วิสุทธิ.ฎีกา. 3/110

* โยนิโสมนสิการ (พิจารณาโดยแยบคาย) คิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 21:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




moon.jpg
moon.jpg [ 21.77 KiB | เปิดดู 5449 ครั้ง ]
พักสายตาอีกหน่อย....อิ อิ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 5435 ครั้ง ]
ไบกอนๆ ลุกๆๆขึ้นบริหารลูกกะตาหน่อยแล้วดูต่อ ยังไม่จบนะ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปความเท่าที่กล่าวมาเพื่อเป็นฐานสำหรับทำความเข้าใจกันต่อไป ดังนี้


๑.ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา และจะต้องการสิ่งสำหรับเอามาเสพเสวยเวทนา หรือสิ่งที่ปรน ปรือตัวตน

ตัณหาอาศัยอวิชชาคอยหล่อเลี้ยงและให้โอกาส พัวพันเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องตัวตน เอาอัตตา

เป็นศูนย์กลาง และนำไปสู่ปริเยสนา หรือ การแสวงหา


๒ . ฉันทะ มุ่งประสงค์อัตถะคือตัวประโยชน์ (หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต คล้ายกับ

ที่ปัจจุบันเรียกว่าคุณภาพชีวิต) และจึงต้องการความจริง สิ่งที่ดีงาม หรือภาวะที่ดีงาม

ฉันทะก่อตัวขึ้นจากโยนิโสมนสิการ คือ ความรู้จักคิด หรือ คิดถูกวิธี คิดตามสภาวะ

และเหตุผล เป็นภาวะกลางๆของธรรมไม่ผูกพันกับอัตตา และนำไปสู่อุตสาหะ หรือ วิริยะ คือ ทำให้เกิด

การกระทำ

ขอย้ำในตอนนี้มี ๒ อย่างคือ

ก. เพื่อแยกให้ชัดว่าเมื่อใครคิดพูดทำอะไร จะเป็นตัณหาหรือไม่ ถึงตอนนี้จะเห็นชัดว่า ความต้องการ

หรือกิจกรรมใด ไม่เกี่ยวกับการหาสิ่งมาเสพเสวยเวทนา ไม่เกี่ยวกับการปกป้อง รักษาหรือเสริมขยายความ

มั่นคงถาวรของอัตตา (ลึกลงไปแม้แต่การที่จะบีบคั้นลิดรอนอัตตา) ความต้องการหรือกิจกรรมนั้น ไม่ใช่เรื่อง

ของตัณหา

ข. ข้อความว่า ตัณหานำไปสู่การแสวงหา ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ

นี้เป็นจุดสำคัญที่จะให้เข้าใจ ความแตกต่างระหว่างตัณหา กับ ฉันทะได้ชัดเจน

เป็นขั้นออกสู่ปฏิบัติการ และเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีผลในทางจริยธรรมเป็นอย่างมาก

จึงจะหันมาพิจารณากันที่จุดนี้ต่อไป

ดังได้กล่าวแล้วว่า ตัณหาต้องการสิ่งที่จะเอามาเสพเสวยเวทนา

ความสมประสงค์ ของตัณหา อยู่ที่การได้สิ่งนั้นๆมา วิธีการใดๆก็ตาม ที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา เรียกเป็นคำ

เฉพาะ ในที่นี้ว่าการแสวงหา หรือ ปริเยสนา ในการได้สิ่งเสพเสวยมาอย่างหนึ่ง

วิธีการที่จะได้อาจมีหลายวิธี

บางวิธีไม่ต้องมีการกระทำ (เช่น มีผู้ให้)

บางวิธี อาจต้องมีการกระทำ แต่ในกรณีที่ต้องมีการกระทำ สิ่งที่ตัณหาต้องการจะไม่เป็น

เหตุเป็นผลกันกับการกระทำนั้นโดยตรง

ยกตัวอย่าง (บุคลาธิษฐาน พิจารณาสาระเรื่องนี้จากตัวละคร)


นาย ก. กวาดถนน ได้เงินเดือน 6000 บาท

ถ้าหนูหน่อยอ่านหนังสือเล่มนี้จบ คุณพ่อจะพาไปดูหนัง

หลายคนคิดว่า การกวาดถนนเป็นเหตุให้ได้เงินเดือน จึงสรุปว่า การกระทำคือ

การกวาดถนนเป็นเหตุ เงินเดือนเป็นผล การได้เงินเดือนเป็นผลของการกระทำคือ

การกวาดถนน

แต่ตามความจริงแท้ ข้อสรุปนี้ผิด เป็นเพียงระบบความคิดแบบสะสมเคยชินและ

หลอกตัวเองของมนุษย์

ถ้าจะให้ถูก ต้องเติมสิ่งที่ขาดหายไปแทรกเข้ามาด้วย ได้ความใหม่ว่า การกระทำคือ

การกวาดถนน เป็นเหตุให้ถนนสะอาด ความสะอาดของถนนจึงเป็นผลที่แท้ของการกระทำ

คือการกวาดถนน

ส่วนกวาดถนนแล้วได้เงินเดือน เป็นเพียงเงื่อนไขที่มนุษย์กำหนดวางกันขึ้น

หาได้เป็นเหตุเป็นผลกันแท้จริงไม่- (เงินไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการกวาดถนน

บางคนกวาดถนนแล้วไม่ได้เงิน หรืออีกหลายคนได้เงินเดือนโดยไม่ต้องกวาดถนน)

คำพูดที่เคร่งครัดตามหลักเหตุผลในกรณีนี้จึงต้องว่า การกวาดถนนเป็นการกระทำที่เป็นเหตุ

ให้ถนนสะอาด แต่เป็นเงื่อนไขให้นาย ก. ได้เงินเดือน 6000 บาท


ในตัวอย่างที่สองก็เช่นเดียวกัน หลายคนคงคิดว่า การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุ และการได้ไปดูหนัง กับคุณพ่อ

เป็นผล

แต่ความจริง การอ่านหนังสือเป็นเพียงเงื่อนไขให้ได้ไปดูหนัง

ส่วนที่เป็นเหตุเป็นผลแท้จริงก็คือ การอ่านหนังสือจบเป็นเหตุให้ได้ความรู้ในหนังสือนั้น

การกระทำ คือ การอ่านเป็นเหตุ และการได้ความรู้เป็นผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามตัวอย่างทั้งสองนี้ ถ้าพฤติกรรมของนาย ก. และหนูหน่อย เป็นไปตามตัณหา

นาย ก. ย่อมต้องการเงินเดือน หาได้ต้องการความสะอาดของถนนไม่

และเขาก็ย่อมไม่ต้องการทำการกวาดด้วย แต่ที่ต้องกวาด ก็เพราะจำต้องทำ

เพราะเป็นเงื่อนไขที่จะให้ได้เงิน

ส่วนหนูหน่อย ก็ย่อมต้องการดูหนัง หาได้ต้องการความรู้จากหนังสือนั้นไม่

และโดยนัยเดียวกัน ก็มิได้ต้องการที่จะกระทำการอ่านหนังสือ

แต่ที่กระทำคืออ่านหนังสือ ก็เพราะเป็น เงื่อนไขที่จะให้ได้สิ่งที่ตัณหาต้องการ คือ การดูหนัง

โดยนัยนี้ พูดตามกฎธรรมชาติ หรือตามกระบวนธรรมแท้ๆ

ตัณหาไม่ทำให้เกิดการกระทำ และไม่ทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ

การกระทำเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งตามเงื่อนไข ที่จะช่วยให้การแสวงหาสิ่งเสพเสวยสำเร็จลุล่วง

ตามความต้องการของตัณหา


ตัวอย่างทั้งสองนั้น แสดงความหมายของฉันทะชัดเจนอยู่ด้วยแล้ว

ฉันทะ ต้องการกุศล หรือ ต้องการตัวธรรม ต้องการภาวะดีงามหรือความรู้เข้าใจในความจริงแท้


ถ้ามีฉันทะ นาย ก. ย่อมต้องการความสะอาดของถนน

และหนูหน่อย ก็ต้องการความรู้ในหนังสือนั้น

ความสะอาดเป็นผลของการกระทำ คือ การกวาดถนน

ความรู้ ก็เป็นผลของการอ่านหนังสือ ทั้งสองคน ต้องการผลของการกระทำโดยตรง

ผลเรียกร้องเหตุ คือ ชี้บ่งหรือกำหนดการกระทำ เมื่อกระทำ ผลก็เกิดขึ้น

การกระทำ คือ การก่อผล หรือ การกระทำคือการเกิดผล

เมื่อนาย ก. กวาด ความสะอาดก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นทุกขณะที่กวาด

เมื่อหนูหน่อยอ่านหนังสือ ความรู้ก็เกิดขึ้น และเกิดเรื่อยไปพร้อมกับที่อ่าน

การกระทำ คือ การได้ผลที่ต้องการ

ฉันทะต้องการภาวะดีงามที่เป็นผลของการกระทำ และจึงต้องการการกระทำที่เป็นเหตุของผลนั้นด้วย

โดยนัยนี้ ฉันทะทำให้เกิดการกระทำ และทำให้เกิดความต้องการที่จะทำ หรือทำให้อยากทำ


ความข้อนี้ ย้อนหลังที่อ้างไว้ข้างต้น คือ ทำให้มองเห็นเหตุผลว่า ทำไมท่านจึงจัดรวมฉันทะ

ประเภทที่สอง (กัตตุกัมยตาฉันทะ= ความต้องการที่จะทำ หรืออยากทำ) เข้าเป็นข้อเดียวกับกุศลฉันทะ

หรือ ธรรมฉันทะ *


ถ้าพฤติกรรมเป็นไปโดยฉันทะ นาย ก. ก็มีความตั้งใจกวาดถนนที่เป็นส่วนต่างหากจากการได้เงินเดือน

หนูหน่อย ก็อ่านหนังสือได้โดยคุณพ่อไม่ต้องล่อด้วยการพาไปดูหนัง

และมิใช่เพียงเท่านั้น ผลทางจริยธรรมยังมีมากยิ่งกว่านี้

แต่ตอนนี้ จำไว้ง่ายๆก่อนว่า ตัณหา คือ ต้องการเสพ

ฉันทะ คือ ต้องการธรรม และต้องการทำ

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

* อ้างหลักฐานเพิ่มอีกแห่งหนึ่งว่า “กตฺตุกมฺยตาลกฺขโณ กุสลฉันฺโท” แปลว่า กุศลฉันทะมีความ

ต้องการจะกระทำเป็นลักษณะ หรือ แปลอย่างง่ายๆ ว่า ลักษณะของกุศลฉันทะ คืออยากทำ

(วินย.ฎีกา 2/291)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การมีตัณหา หรือ มีฉันทะเป็นแรงจูงใจในการกระทำ ก่อให้เกิดผลในทางจริยธรรม หรือผลในทางปฏิบัติ

แตกต่างกันออกไปได้มาก

เมื่อบุคคล มีตัณหาเป็นแรงจูงใจ การกระทำเป็นเพียงเงื่อนไข สำหรับการได้สิ่งเสพเสวยมาปรนเปรอตน

เขาไม่ต้องการทั้งการกระทำ และผลของการกระทำนั้นโดยตรง

จุดมุ่งประสงค์ของเขาอยู่ที่การได้สิ่งเสพเสวยนั้นมา

ในหลายกรณี การกระทำที่เป็นเงื่อนไขนั้น เป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ

ดังนั้น ถ้าเขาสามารถหาวิธีการอื่นที่จะให้ได้โดยไม่ต้องทำ เขาก็จะหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น เสีย

หันไปใช้วิธีที่จะได้โดยไม่ต้องทำแทน เพราะถ้าเป็นไปได้ การได้โดยไม่ต้องทำ ย่อมตรงกับความ

ต้องการของตัณหามากที่สุด

และถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเงื่อนไขนั้นได้ เขาก็จะทำด้วยความรังเกียจ จำใจ ไม่เต็มใจ

และไม่ตั้งใจจริง

ผลเท่าที่พอเห็นได้ ก็คือ

-ในเมื่อเขาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นเงื่อนไข เขาอาจหันไปใช้วิธีลัดหรือวิธีอื่นใดซึ่งง่ายที่จะให้ได้

สิ่งที่เสพเสวยมาโดยไม่ต้องทำ ผลอย่างแรงคือการทุจริตในรูปต่างๆ เช่น นาย ก. อยากได้เงิน

ไม่มีฉันทะ และอุตสาหะในงานเสียเลย

เขาทนทำงานรอเวลาอยู่ไม่ได้ จึงหันไปหาเงินด้วยวิธีลักขโมยแทน

หรือหนูหน่อยอยากไปดูหนัง ทนอ่านหนังสือไม่ได้ อาจขโมยเงินผู้ปกครองไปดูเอง

โดยไม่ต้องรอให้พ่อพาไป

-ในเมื่อเขามีแต่ตัณหาที่อยากได้ แต่ไม่มีฉันทะที่อยากทำ

เขาจึงทำงานที่เป็นเงื่อนไขอย่างชนิดสักว่าทำ หรือทำพอให้เสร็จ หรือทำคลุมๆพอให้เขาเห็นว่าได้ทำ

ผลคือไม่ได้ความประณีตหรือความดีเลิศของงาน และผู้ทำก็เพาะนิสัยไม่ดีให้แก่ตนเอง

กลายเป็นผู้ขาดความใฝ่สัมฤทธิ์ มักง่าย จับจดเป็นต้น เช่น นาย ก. สักว่ากวาดถนนไปวันๆ พอครบเดือนๆ

เพื่อได้เงิน

หนูหน่อย อ่านหนังสือพอให้พ่อเห็นว่าจบแล้ว โดยไม่ได้ความรู้ความเข้าใจ หรืออาจคดโกงหลอกลวง

เช่น ไม่ได้อ่านเลย หรืออ่านหน้าแรก หน้ากลาง หน้าหลัง รอพอเวลาผ่านไปพอควร มาบอกพ่อว่า

อ่านจบแล้ว

-ในเมื่อเงื่อนไขหลักมีช่องโหว่ เกิดความย่อหย่อน หละหลวม เลี่ยงหลบ หลอกได้เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้ต้อง

สร้างเงื่อนไขรองต่างๆ เข้ามากระหนาบ เพื่อป้องกัน กวดขัน และอุดทางรั่ว ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ

ทำให้ระบบต่างๆซับซ้อน สับสน นุงนัง ยืดหยาดยิ่งขึ้น เช่น ต้องหาคนมาคุม นาย ก. ทำงาน

ตั้งผู้ตรวจงาน สำรวจเวลาทำงาน

หรือให้พี่มาคอยดูหนูหน่อยอ่านหนังสือ คุณพ่อซักถามปัญหาเกี่ยวกับเนื้อเรืองในหนังสือที่อ่านเป็นต้น

ครั้นตัณหาเข้าไปครอบงำพฤติกรรมในการปฏิบัติเงื่อนไขรองนั้นได้อีก ความทุจริตหละหลวมย่อหย่อนทั้งหลาย

ก็เกิดแทรกซ้อนมากมาย จนอาจทำให้ระบบทั้งหมดฟอนเฟะ หรือเน่าเละไป


-ในเมื่อสิ่งที่ผู้กระทำต้องการเป็นอย่างหนึ่ง แต่สิ่งที่เป็นผลของการกระทำนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ผลของการ

กระทำก็ไม่อาจเป็นตัวกำหนด หรือบ่งชี้ปริมาณและคุณภาพของการกระทำได้ เพราะการกระทำไม่เป็นเพื่อผล

ของมันเอง แต่กลายเป็นเพียงทาสสำหรับรับใช้สิ่งอื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเกิดความไม่พอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำ กับผลที่พึงประสงค์ กล่าวคือ

เมื่อตามความจริง ภาวะดีงามที่ควรจะมีควรจะเป็น คืออย่างนี้ อยู่ตรงนี้ และจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ

เท่านี้ แต่การกระทำของผู้ทำกลับเกินเลยมากไปเสียบ้าง ขาดหย่อนน้อยไปเสียบ้าง

ไม่พอดีที่จะให้เกิดภาวะซึ่งเป็นผลดีอันประสงค์นั้น

ทั้งนี้ เพราะการกระทำนั้นไปมุ่งรับใช้ความต้องการสิ่งเสพเสวยที่เป็นผลตามเงื่อนไข การได้สิ่งเสพเสวย

จึงกลายเป็นตัวกำหนดหรือบ่งชี้การกระทำ


สูตรสัมพันธ์สำหรับการกระทำที่เป็นเงื่อนไขของการได้สิ่งเสพเสวย หรือสูตรของตัณหามีว่า “ยิ่งได้สิ่งเสพ

เสวย ก็ยิ่งทำๆ” หรือ “ยิ่งได้เวทนาอร่อย ก็ยิ่งทำๆ” ซึ่งเป็นสูตรเปิดท้าย ทำไม่รู้จบ

และถ้ามองกลับด้านก็กลายเป็นว่า “ถ้าไม่ได้สิ่งเสพเสวย ก็ไม่ทำ” หรือ “ถ้าไม่ได้เวทนาอร่อย ก็ไม่ทำ”

เมื่อการกระทำไม่เป็นไปเพื่อผลของมัน และไม่พอดีกับผลที่เป็นภาวะพึงประสงค์

นอกจากผลดีนั้นจะบกพร่องแล้ว ยังจะก่อให้เกิดโทษหรือผลร้ายต่างๆได้มากมายอีกด้วย

ตัวอย่างเห็นง่ายๆ ก็คือ การกินอาหาร เมื่อกินด้วยตัณหาล้วนๆ คราวอร่อยก็กินจนอืดเกิดอิ่ม

ครั้นไม่อร่อยอย่างใจ ก็กินน้อยจนท้องร้องครวญ ไม่พอดีกับความต้องการของร่างกาย

ทำให้เจ็บป่วย เกิดโรค (การกระทำ คือ การกินเป็นเหตุของผล คือ ร่างกายได้รับอาหารพอแก่

สุขภาพ และเป็นเงื่อนไขของการได้เสพรสอร่อย) ผลร้ายในข้อนี้มีได้อย่างซับซ้อน ตั้งแต่ในชีวิต

ของบุคคล จนถึงปัญหาสังคมในวงกว้าง

ดังจะพิจารณาตัวอย่างต่อๆไปอีก


-ในเมื่อการกระทำกับสิ่งที่ตัณหาต้องการไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันโดยตรง ตัณหาจึงรังเกียจการกระทำ คือ

ไม่ต้องการกระทำ ตัณหาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำ โดยพยายามให้ได้โดยไม่ต้องทำ และเมื่อจำเป็น

ต้องทำ ก็ทำโดยจำใจ ดังกล่าวแล้ว

ผู้กระทำด้วยตัณหา (ตามระบบเงื่อนไข) จึงย่อมไม่ได้รับความสุข ความพึงพอใจในการกระทำนั้น

และแม้ในผลสำเร็จของการกระทำที่เกิดมีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการกระทำ

มองอีกแง่หนึ่งว่า สิ่งที่ตัณหาต้องการคือของเสพเสวยนั้น ตั้งอยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันกับการกระทำ

ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้สิ่งเสพเสวย ความกระหายอยากต่อสิ่งนั้นก็ไม่เปลี่ยนแปลง ยิ่งกว่านั้น

ความเป็นไประหว่างกระทำตามเงื่อนไขนั้นแหละ อาจกลายเป็นตัวเร่งเร้าหรือกดดันให้ตัณหาตื่นเต้นหวั่นไหว

หรือหวั่นหวาดยิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ ภาวะของจิตของผู้เป็นอยู่หรือกระทำด้วยตัณหา จึงได้แก่ความร้อนรน กระวนกระวาย

ความฟุ้งซ่าน ความเครียด ความกระสับกระส่าย พ่วงด้วยอกุศลธรรมอื่นๆ อันอาจเกิดตามมาก เช่น

ความหวาดกลัว ความระแวง ความริษยา เป็นต้น

ความไม่สมคาดในระหว่างก็ดี การไม่ได้สมหวังในบั้นปลายก็ดี ล้วนนำไปสู่ผลร้ายทางจิตใจที่รุนแรง ใ

ห้เกิดความข้องคับใจ ตลอดถึงโรคทางจิต

ผลร้ายทางจิตข้อนี้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเป็นสิ่งก่อปมปัญหาทางจิตใจ ที่ระบายขยายออกไปเป็นปัญหา

ชีวิต ปัญหาสังคมที่กว้างขวาง

พึงเทียบกับผลดีของฉันทะด้วย เพื่อความชัดเจนเพิ่มขึ้นในบางแง่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร