วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




G1 หินลับมีดปัญญา 85kb.jpg
G1 หินลับมีดปัญญา 85kb.jpg [ 85.1 KiB | เปิดดู 6404 ครั้ง ]
G1 หินลับมีดปัญญา 85kb.jpg
G1 หินลับมีดปัญญา 85kb.jpg [ 85.1 KiB | เปิดดู 6401 ครั้ง ]
tongue
ประสิทธิภาพการทำงานของ สติ ปัญญา จะขึ้นอยู่กับระดับความนิ่งและความตั้งมั่นของจิต(สมาธิ)

แผ่นภาพที่ท่านได้เห็นนี้ เป็นการแสดงระดับความนิ่งของจิต ซึ่งจะมีตัวชี้วัดตามธรรมชาติในกายให้สังเกตเห็นได้

การ ทำจิตให้นิ่งจนถึงแต่ละระดับ แล้วรักษาความนิ่งของจิตให้ทรงอยู่ได้(ตั้งมั่น) ในแต่ละระดับนานๆ จะเปรียบเหมือนการลับมีด สติปัญญา ให้คมกล้า มีประสิทธิภาพมากขึ้น ๆ ไปตามลำดับความนิ่ง จนถึงระดับคมกริบที่สุด

การทำจิตให้นิ่งเราเรียกตามภาษาเดิมว่า "การทำสมาธิ หรือการทำสมถะภาวนา"

การ ทำสมถะภาวนาที่นิยมทำกันมาแต่ดั้งเดิมคือการทำกรรมฐาน 40 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจริต นิสัย ความชอบ ความถนัดของผู้ฝึกหัด ผู้ปฏิบัติ

:b8:
การทำสมาธิ หรือสมถะภาวนา กับ หินลับมีดปัญญา 4 หรือ 5 ก้อนตามแผ่นภาพนี้ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ท่านได้มาจากการสังเกต พิจารณา และนำมาแนะนำให้ทดลองปฏิบัติ

ข้อดีของการทำสมาธิวิธีนี้คือ

1. ทำง่าย เพราะมีอุปกรณ์ คือสภาวธรรม อันได้แก่ ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร ความสั่นสะเทือนในร่างกาย และความนิ่งรู้ (สังขารุเปกขาญาณ) อยู่ในกายก้อนนี้แล้ว

2.ไม่ทำให้ติดหลงในสมาธิสุขได้ง่าย ไม่ใช้บริกรรมหรือรูปนิมิต กรรมฐานต่างๆ

3.เชื่อมโยงต่อยอดไปสู่การเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ทันที

4.สามารถตรวจสอบและวัดระดับความนิ่ง ความสะอาด บริสุทธิ์ ความพร้อมของจิต ความควรแก่งานของจิต ต่อการเจริญธรรม เจริญวิปัสสนาภาวนา

5.สามารถใช้หินลับมีดปัญญาทั้ง 5 ก้อนนี้ ชำระนิวรณ์ ชำระจิต ให้สะอาดขึ้นได้

คำอธิบายเพิ่มเติม

:b8:
ปัญญาจะทำงานได้ดีเมื่อมีสติ สมาธิ มาหนุน สติ สมาธิจะสมบูรณ์เมื่อมีปัญญากำกับ ปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1.สุตมยปัญญา ปัญญาจากการฟัง การอ่าน การศึกษาแล้วจดจำเก็บไว้เป็น สัญญา (เป็นบัญญัติ)

2.จินตมยปัญญา ปัญญาจากการคิดค้น พิจารณา สังเกต สิ่งที่ดู เห็น ฟัง อ่าน ศึกษา สัมผัส (เป็นบัญญัติบ้าง ปรมัตถ์บ้าง)

3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการลงมือประพฤติ ปฏิบัติ จนได้สัมผัสความจริง รู้ขึ้นที่ใจ เกิดผลลัพท์ขึ้นที่กายและใจ สิ่งที่อธิบาย บอกได้ เรียกว่า “สมมุติ บัญญัติ” สิ่งที่อธิบายบอกไม่ได้เรียกว่า “ปรมัตถ์”

การเจริญมรรค 8 โดยเอาปัญญามรรคนำหน้า ศีลมรรค และ สมาธิมรรค ตามหนุนนั้น

สัมมาทิฐิ คือปัญญาที่ไปเห็น ไปดู ไปรู้

สัมมาสังกัปปะ คือปัญญาที่ไปสังเกต เป็นส่วนของปรมัตถ์ เพราะไม่มีความคิด นึก มาประกอบ


ส่วน ปัญญาสัมมาสังกัปปะที่ไปพิจารณา อันนี้เป็นบัญญัติล้วนๆ เพราะ การพิจารณา วิมังสา คิด ใคร่ครวญ วิจารณ์ วิจัยธรรมนั้น จะต้องอาศัยความคิดนึก สัญญาความจำมาช่วยชี้บอกว่าสิ่งใดเป็นบัญญัติ ส่วนใดเป็นปรมัตถ์ บัญญัติจะชี้ปรมัตถ์ แล้วปัญญาจะเข้าไปพิสูจน์ปรมัตถ์ธรรมนั้นๆ จนเกิดเป็น รู้ ขึ้นมาที่ใจ

หมายเหตุ: ปรมัตถ์ = สัจจะ ความจริง สิ่งที่รู้ที่ใจโดยตรง เอาสมมุติบัญญัติมาตั้งชื่อได้ เรียกว่า
“ปรมัตถบัญญัติ” แต่ไม่สามารถบอกบรรยายอาการได้ เช่นความเค็ม ความเจ็บปวด ความสบาย สุข ทุกข์ ร้อน หนาว หนัก เบา แข็ง อ่อน มรรค ผล นิพพาน จิต เจตสิก รูป เป็นต้น


บัญญัติ = สิ่งต่างๆที่สมมุติตั้งชื่อบอกชื่อว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น คน สัตว์ เทวดา พรหม นาย ก นาง ข สวย สูง ต่ำ ดำ ขาว ร้อน หนาว แข็ง อ่อน

การ จะทำให้ปัญญาเฉียบแหลม คม ละเอียด ลึกซึ้งนั้น ต้องอาศัย สติและสมาธิมาช่วยกำกับ หินที่จะช่วยลับมีดปัญญาก็คือ ความนิ่ง อันจักเกิดขึ้นได้ด้วยการตั้งสติกำหนดให้จิตหยุดรู้อยู่กับที่ กับอาการ หรือกรรมฐานต่างๆ

จิตนิ่งอยู่ กับกรรมฐานที่เป็นบัญญัติ หรือสภาวทีเป็นปรมัตถ์ เป็นสมถะภาวนา

จิตนิ่งรู้ กับอาการและสภาวะที่เป็นปรมัตถ์ ณ ปัจจุบันขณะเป็นวิปัสสนาภาวนา

ใน ร่างกายเรานี้มีสภาวะ อาการ ที่แสดงอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจุบันซ้อนปัจจุบันอยู่เป็นชั้นๆจากหยาบ ตื้นไปสู่ความ ลึก ละเอียด สภาวะหยาบ จะบังสภาวะละเอียดไว้อยู่ มีอยู่ 5 ชั้น มีเครื่องชี้วัด5อย่างคือ

1.ลมหายใจ

2..หัวใจเต้น

3.ชีพจร

4.ความสั่นสะเทือนในร่างกายอันเกิดจากอัฐกลาปะ

5.ความหยุดเฉยนิ่งรู้(สังขารุเปกขาญาณ) ให้ดูรูปวิเคราะห์ระดับการทำงานของปัญญาที่นำมาประกอบ

วิธีลับมีดปัญญา

1.นั่งหรือยืนนิ่งๆ ตั้งใจ ทำตัวทำใจให้นิ่งที่สุดเท่าที่จะนิ่งได้

2.กำหนดจิตตัวรู้ คือปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะ ดูเข้าไป สังเกตพิจารณาเข้าไปในร่างกาย สติกำกับกายใจให้นิ่งเข้าไป ๆ ๆ เมื่อนิ่งถึงระดับที่ 1 แล้ว ลมหายใจจะชัดขึ้นมาเอง เมื่อเห็นหรือรู้สึกการกระทบของลมหายใจชัดที่ผนังจมูก ชัดแล้ว ให้กำหนดสติ จับจ้อง เลี้ยงการรู้ลมหายใจไว้อย่างนั้นให้นานที่สุด อย่าให้ความรู้ลมเลือนหาย มีอะไรเกิดขึ้นมารบกวนเอาสติปัดทิ้งให้หมด เลี้ยงการรู้ลมไว้ได้นานเท่าไรมีดปัญญาก็จะคมมากเท่านั้น แต่ยังจะไม่คมกริบ นี่คือหินลับมีดปัญญาก้อนที่ 1

3.ปล่อยการกำหนดลมหายใจ ทำกายและใจให้นิ่งยิ่งๆขึ้นไปอีก เมื่อนิ่งได้ที่ หัวใจเต้นจะชัดขึ้นมา เอาสติกำหนดรู้และเลี้ยงการรู้หัวใจเต้นให้นานที่สุดอย่าให้จางหาย พอสมควรแล้วให้ปล่อยหัวใจเต้น สังเกตให้ดี ชีพจร จะชัดขึ้นมา ให้เลี้ยงการเห็นชีพจร เต้น ณ จุดต่างๆในร่างกายซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนชัดทั่วร่าง จนเห็นร่างกายทั้งก้อนนี้สั่นกระเทือนเป็นจังหวะเท่ากับชีพจร เลี้ยงอาการเช่นนี้ไว้ให้นานที่สุด คล้ายการเลี้ยงลมหายใจและหัวใจเต้น ปัญญาจะลึกละเอียด คมยิ่งขึ้น นี่คือ หินลับมีดปัญญาก้อนที่ 2

4.ปล่อยวางการกำหนดชีพจร ทำกายและใจให้นิ่งยิ่งๆขึ้นไปอีก เมื่อนิ่งได้ที่ กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายจะชัดขึ้นมา อาการสั่นสะเทือนนี้จะมีความถี่สูงมากมีจังหวะการสั่นเร็วกว่าชีพจรเต้นหลาย เท่า เมื่อเห็นหรือรู้สึกอาการสั่นสะเทือนชัดแล้ว จงเลี้ยงการรู้อาการสั่นสะเทือนนั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ทำได้ถึงระดับนี้ ปัญญาจะคมกริบมาก จะนำไปใช้ ดู ใช้สังเกตพิจารณาอะไร ก็จะเห็นชัด รู้แจ้งแทงตลอดไปหมด

วิธีลัดเข้าไปดูอาการสั่นสะเทือนในร่างกายง่ายๆ ท่านให้นั่งตัวตรง หลับตา เอานิ้วก้อยทั้งคู่ อุดหูทั้ง 2 ข้างให้แน่น สังเกตที่บริเวณหูที่นิ้วมืออุดแน่นนั้น สักพักเดียว จิตก็จะสัมผัสรู้อาการสั่นสะเทือนที่แปลงออกมาขยายให้รู้เป็นเสียงดังและ สั่นสะเทือนถี่ๆ เมื่อรู้และจำจังหวะการสั่นสะเทือนได้ดีแล้วให้ลองย้ายจิตไปกำหนดรู้ที่ กลางกระหม่อม ในสมอง จะสัมผัสรู้อาการสั่นสะเทือนถี่ๆในนั้น เบาๆก่อน ถ้าเพ่งพิจารณาไปนานๆ กระแสสั่นสะเทือนนั้นจะชัดขึ้น ๆ เมื่อชัดดีแล้วให้เอามือลง นั่งนิ่งๆ เฝ้าดู จะกำหนดจิตไปไว้ ณจุดใดของร่างกายก็จะสัมผัสรู้ความสั่นสะเทือนนี้ได้หมดทุกแห่งนี่คือหินลับ มีดปัญญาก้อนที่ 3

5.ปล่อยอาการสั่นสะเทือน ทำตัวทำใจให้นิ่งกว่านั้น นิ่งลงไปอีก จะสังเกตเห็นว่า ลมหายใจแทบจะไม่มี หรือเหมือนหยุดหายใจ กายและใจจะนิ่งที่สุด ความคิดจะหยุดทำงาน จิตจะนิ่งอยู่ เย็นอยู่ รู้อยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่ ไม่ทำงานอะไร ถึงระดับนี้ ความนิ่งจะสมบูรณ์ที่สุด เรียกว่า

“อุเบกขาที่สมบูรณ์ (EQUANIMITY)” จิตจะถึงความสมดุลย์ สูงสุด ภาษาธรรมเรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” จิตหยุดปรุงแต่ง เฉยอยู่ ที่นี่เป็นที่พักจิตของนักวิปัสสนา เป็นด่านสุดท้าย ก่อนจะถึงประตูพระนิพพาน
:b8:
แต่ “สังขารุเปกขาญาณ” ที่เกิดขึ้นโดยการฝึกบังคับเอาด้วยสติอย่างนี้มีค่าเท่ากับ อุเบกขา ธรรมดา เพราะ อัตตา กิเลส ตัณหา ยังไม่ถูกชำระ ขุด ถอน เป็นเพียงแต่การลัดเข้าไปสู่สภาวะด้วยกำลังของสติและความตั้งใจเป็นช่วง สั้นๆ เป็นการฝึกหัด เป็นการลับ สติ สมาธิ ปัญญา นี่เป็นหินลับมีดปัญญาก้อนที่ 4
:b8:
ใครที่ไม่สามารถทำใจให้นิ่งได้จนถึงที่สุดทั้ง 4 ระดับนี้ ก็อย่าพึ่งท้อแท้ จงเพียรฝึกฝนไปเหมือนการลับมีด มีดสติ ปัญญาของเราทื่อมากก็ต้องขยันลับมากๆ ใช้หินก้อนหยาบก้อนแรก คือลมหายใจ ลับไปก่อน ไม่ช้าไม่นาน ปัญญาค่อยคมขึ้น สติ สมาธิมีกำลังมากขึ้น ก็จะสามารถยกระดับตนเองไปใช้หินลับมีดปัญญาก้อนที่ลึกละเอียดขึ้นไปได้จนถึง ที่สุด ส่วนใครที่ทำได้ 2 -3 หรือ4 ระดับแล้ว ก็ขออนุโมทนา
:b1:
เมื่อปัญญามีความคม สติ สมาธิมีกำลัง แม้เพียงระดับที่ 1 คือนิ่งรู้ลมหายใจชัด หรือระดับที่ 2 คือรู้ชีพจรชัด ก็อาจสามารถนำมาใช้เจริญวิปัสสนาภาวนา เจริญปัญญาค้นหาเหตุทุกข์ทำลายเหตุทุกข์ได้ แต่อาจจะยากและใช้เวลามากกว่าผู้ที่มี สติ ปัญญาคมกล้ามากกว่า แต่ถ้ามีความเพียรพยายามทำต่อเนื่องไม่ย่อท้อก็จะเข้าถึงที่หมายได้เช่นกัน
:b16:
หินลับมีดปัญญาทั้ง 4 ก้อนนี้เป็นอีกวิธีหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสริมการทำวิปัสสนาภาวนาอีกแบบหนึ่งเท่านั้น อย่ายึดติด ให้เอามาใช้ช่วยลับมีดปัญญาเป็นครั้งคราวเมื่อเห็นว่า ปัญญา สติ สมาธิ มันทื่อลงเท่านั้น
:b8:
ผลพลอยได้จาการฝึกลับปัญญาด้วยหิน 4 ก้อนนี้คือ

1.จะช่วยชี้วัดว่าปัญญาของเราคมหรือไม่ โมหะหรือความมืดมัวในจิตของเรา มากน้อยเพียงไร

2.ถ้าฝึกทำบ่อยๆ จะช่วยชำระโมหะของใจให้เบาบางลง ทำให้จิตสะอาด สว่าง ควรแก่งาน สติ สมาธิ ปัญญาพร้อมทำงาน คือจะแยกรูปแยกนามได้ง่าย เพราะวิปัสสนาภาวนา หรือปัญญามรรคจะเดินเข้าทาง เมื่อ นาม – รูปแยกจากกันได้ (นาม-รูป ปริเฉทญาณ) ผู้รู้ แยกออกมาดู สิ่งที่ถูกรู้ จนเห็นความจริงของรูป-นาม
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


แก้ไขล่าสุดโดย อโศกะ เมื่อ 02 ธ.ค. 2009, 08:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณอโศกะ

การแสดงธรรมของคุณอโศกะยังคงเป็นสัทธรรมปฏิรูป
แสดงความคิดเห็นของตนเอง แล้วมากล่าวตู่ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
กล่าวตู่ว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา

ผมกำลังสงสัยว่าคุณอโศกะจะตั้งตัวเป็นศาสดาเองแล้วหรือครับ ??



เพราะเห็นพยายามแสดงสิ่งผิด ๆ ออกมาเสมอ
ความคิดอันบรรเจิดของคุณ
กับพระธรรมคำสั่งสอนของพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมันคนละเรื่องกันครับ


อย่าไปตีความว่าความคิดที่คุณเข้าใจว่าดี ๆ ของคุณนั้นเป็นพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยครับ
บาปกรรม ๆ คุณกำลังเพียรทำลายพระพุทธศาสนาแล้วครับ



เตือนมาด้วยความหวังดีครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ประสิทธิภาพการทำงานของ สติ ปัญญา จะขึ้นอยู่กับระดับความนิ่งและความตั้งมั่นของจิต(สมาธิ)

แผ่นภาพที่ท่านได้เห็นนี้ เป็นการแสดงระดับความนิ่งของจิต ซึ่งจะมีตัวชี้วัดตามธรรมชาติในกายให้สังเกตเห็นได้

การ ทำจิตให้นิ่งจนถึงแต่ละระดับ แล้วรักษาความนิ่งของจิตให้ทรงอยู่ได้(ตั้งมั่น) ในแต่ละระดับนานๆ จะเปรียบเหมือนการลับมีด สติปัญญา ให้คมกล้า มีประสิทธิภาพมากขึ้น ๆ ไปตามลำดับความนิ่ง จนถึงระดับคมกริบที่สุด

การทำจิตให้นิ่งเราเรียกตามภาษาเดิมว่า "การทำสมาธิ หรือการทำสมถะภาวนา"

การ ทำสมถะภาวนาที่นิยมทำกันมาแต่ดั้งเดิมคือการทำกรรมฐาน 40 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามจริต นิสัย ความชอบ ความถนัดของผู้ฝึกหัด ผู้ปฏิบัติ



ข้อความนี้คุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ
จิตที่นิ่งไม่มีจริงในโลก และเป็นไปไม่ได้ครับ
เพราะจิตคือนามขันธ์ 4 ประกอบด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
จิตหรือนามขันธ์นี้นั้น ถ้านิ่งได้จริงจิตนั้นจะกลายเป็นของเที่ยง ตั้งอยู่และเป็นตัวตน

แต่จิตนี้ไม่เที่ยงคือเกิดและดับตามกรรมและวิบากกรรม วิบากกรรมให้ผลตามกาลเวลา กรมใดหนักให้ผลก่อน
พระพุทธศาสนาไม่ได้นิยามศัพท์สมาธิว่าเป็นจิตที่นิ่งครับ


สมาธิในพระพุทธศาสนาคือกุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
การทำกัมมัฏฐาน 40 ไม่เรียกว่าสมถะในพระพุทธศาสนา แต่เรียกโดยพระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค ตำรานี้ทำให้คนเข้าใจสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนาผิดเพี้ยนไป
ผลจากการทำกัมมัฏฐาน 40 ในพระพุทธศาสนาเรียกว่าบรรลุรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 หรือฌานสมาบัติ 8 ครับ


สมถะที่เป็นโลกียะธรรม
[๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.




สมถะที่เป็นโลกุตตระธรรม
[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสมถะ มีในสมัยนั้น.



หวังว่าคุณอโศกะจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องนะครับ และนำความรู้ที่ถูกไปเผยแผ่นะครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
การทำสมาธิ หรือสมถะภาวนา กับ หินลับมีดปัญญา 4 หรือ 5 ก้อนตามแผ่นภาพนี้ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ครูบาอาจารย์ท่านได้มาจากการสังเกต พิจารณา และนำมาแนะนำให้ทดลองปฏิบัติ

ข้อดีของการทำสมาธิวิธีนี้คือ

1. ทำง่าย เพราะมีอุปกรณ์ คือสภาวธรรม อันได้แก่ ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร ความสั่นสะเทือนในร่างกาย และความนิ่งรู้ (สังขารุเปกขาญาณ) อยู่ในกายก้อนนี้แล้ว



สังขารุเปกขาญาณที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา

ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ

สังขารุเปกขาญาณ = ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง และวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณอย่างไร ฯ

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเกิดขึ้น ทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉยอยู่
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความเป็นไป ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจาก สังขารนิมิต ฯลฯ .....
.....จากกรรมเครื่องประมวลมา
.....จากปฏิสนธิ
.....จากคติ
.....จากความบังเกิด
.....จากความอุบัติ
.....จากชาติ
.....จากชรา
.....จากพยาธิ
.....จากมรณะ
.....จากความโศก
.....จากความรำพัน
ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสียจากความคับแค้นใจ ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทาง แลวางเฉยอยู่ว่า.....
..... ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์
..... ความเป็นไปทุกข์
..... สังขารนิมิตเป็นทุกข์ ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจเป็นทุกข์

ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปเสีย ทั้งพิจารณาหาทางและวางเฉยอยู่ว่า.....
..... ความเกิดขึ้นเป็นภัย
..... ความเป็นไปเป็นภัย ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจเป็นภัย

..... ความเกิดขึ้นมีอามิส
..... ความเป็นไปมีอามิส ฯลฯ
..... ความคับแค้นใจมีอามิส

..... ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร
..... ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ
..... ความ คับแค้นใจเป็นสังขาร

ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ฯลฯ
.....นิมิตเป็นสังขาร
.....กรรมเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร
.....ปฏิสนธิเป็นสังขาร คติเป็นสังขาร
.....ความบังเกิดเป็นสังขาร
.....ความอุบัติเป็นสังขาร
.....ชาติเป็นสังขาร
.....ชราเป็นสังขาร
.....พยาธิเป็นสังขาร
.....มรณะเป็นสังขาร
.....ความโศกเป็นสังขาร
.....ความรำพันเป็นสังขาร
.....ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขา ก็เป็นสังขาร ญาณวางเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ฯ





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๒ คือปุถุชน...
.....ย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๓ คือ พระเสขะ...
.....ย่อมยินดีสังขารุเปกขา ๑
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
.....พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมมีได้ด้วย อาการ ๓ คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ...
.....ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา ๑
.....พิจารณาแล้วเข้าผลสมาบัติ ๑
.....วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ ๑

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เป็น อย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งความยินดีอย่างนี้
......ปุถุชนยินดีสังขารุเปกขา มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนา มีอันตรายแห่งปฏิเวธ มีปัจจัยแห่งปฏิสนธิต่อไป
.....พระเสขะยินดีสังขารุเปกขา ก็มีจิตเศร้าหมอง มีอันตรายแห่งภาวนามีอันตรายแห่งปฏิเวธในมรรคชั้นสูง มีปัจจัย แห่งปฏิสนธิต่อไป

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ เป็นอย่างเดียวกันโดยสภาพแห่งการพิจารณาอย่างนี้
.....ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
.....พระเสขะก็พิจารณาเห็นสังขารุเปกขาโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
.....ท่านผู้ปราศจากราคะ ก็พิจารณาเห็น สังขารุเปกขาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพเป็นกุศลและ อัพยากฤตอย่างนี้
.....สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล
.....สังขารุเปกขาของพระเสขะก็เป็นกุศล
.....สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ปรากฏและโดยภาพที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
.....สังขารุเปกขาของปุถุชน ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย (ในเวลาเจริญ วิปัสสนา) ไม่ปรากฏดีในกาลนิดหน่อย
.....สังขารุเปกขาของพระเสขะ ก็ปรากฏ ดีในการนิดหน่อย
.....สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ปรากฏดีโดยส่วนเดียว

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ยังไม่เสร็จกิจและโดยสภาพที่เสร็จกิจแล้วอย่างนี้
..... ปุถุชนย่อมพิจารณา เพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
..... พระเสขะก็พิจารณาเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา
..... ท่านผู้ปราศจาก ราคะย่อมพิจารณาเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะและ ของท่านผู้ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพที่ละกิเลสได้แล้วและโดยสภาพที่ยังละ กิเลสไม่ได้อย่างนี้
.....ปุถุชนย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อจะละสังโยชน์ ๓ เพื่อต้องการ ได้โสดาปัตติมรรค
..... พระเสขะย่อมพิจารณาสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูง ขึ้นไป เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว
.....ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมพิจารณา สังขารุเปกขา เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง ได้แล้ว

การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขา ของพระเสขะและของท่านผู้ ปราศจากราคะ มีความต่างกันโดยสภาพ แห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
.....พระเสขะยังยินดีสังขารุเปกขาบ้าง ย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง
.....ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้างพิจารณา แล้วเข้าผลสมาบัติบ้าง วางเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้ว ย่อมอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อม เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

สังขารุเปกขา ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยนิวรณ์ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิตกวิจาร เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยปีติ เพื่อต้องการได้ ตติยฌาน
..... ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยสุขและทุกข์ เพื่อต้องการได้จตุตถฌาน
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา (และ) นานัตตสัญญา เพื่อต้องการได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ว วางเฉยอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
.....ปัญญาที่พิจารณา หาทางแล้ววางเฉยอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ


สังขารุเปกขา ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ฯ

ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉยความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเครื่องประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ความโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
.....เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
..... เพื่อต้องการได้สกทาคามิผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
.....เพื่อต้องการได้อนาคามิผล สมาบัติ
.....เพื่อต้องการได้อรหัตมัค
.....เพื่อต้องการได้อรหัตผลสมาบัติ
.....เพื่อต้องการสุญญตวิหารสมาบัติ
..... เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ

สังขารุเปกขาเป็นกุศล ๑๕ เป็นอัพยากฤต ๓ เป็นอกุศลไม่มี ฯ
ปัญญาที่พิจารณาหาทางแล้ววางเฉย ...
.....เป็นโคจรภูมิของสมาธิ-จิต ๘
.....เป็นโคจรภูมิของปุถุชน ๒
.....เป็นโคจรภูมิของพระเสขะ ๓
.....เป็นเครื่องให้จิตของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป ๓
.....เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๘
.....เป็นโคจรแห่งภูมิแห่งญาณ ๑๐

สังขารุเปกขา ๘ เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ นี้ พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา

พระโยคาวจรผู้ฉลาดใน สังขารุเปกขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ ฉะนี้แล ฯ

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไปทั้งพิจารณา หาทางและวางเฉย เป็นสังขารุเปกขาญาณ ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
2.ไม่ทำให้ติดหลงในสมาธิสุขได้ง่าย ไม่ใช้บริกรรมหรือรูปนิมิต กรรมฐานต่างๆ


เมื่อเจริญกุศลจิตสมถะและวิปัสสนาย่อมเกิดขึ้นเสมอ กุศลให้ผลเป็นปีติ สุข และอุเบกขาเสมอ ต้องกหรือไม่ต้องการปีติ สุข และอุเบกขาย่อมเกิดขึ้นมาในจิตเสมอ เมื่อแสดงอาการไม่เอาสุขปฏิฆะย่อมมีได้
คำสอนนี้ของคุณจึงเป็นคำสอนที่ผิด





อโศกะ เขียน:
3.เชื่อมโยงต่อยอดไปสู่การเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ทันที


สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันเสมอ




อโศกะ เขียน:
4.สามารถตรวจสอบและวัดระดับความนิ่ง ความสะอาด บริสุทธิ์ ความพร้อมของจิต ความควรแก่งานของจิต ต่อการเจริญธรรม เจริญวิปัสสนาภาวนา


ต้องเรียกว่าตรวจสอบความเป็นกุศลจิตจึงจะถูกต้องครับ เพราะจิตนิ่งไม่มี




อโศกะ เขียน:
5.สามารถใช้หินลับมีดปัญญาทั้ง 5 ก้อนนี้ ชำระนิวรณ์ ชำระจิต ให้สะอาดขึ้นได้


สมถะและวิปัสสนาทำหน้าที่ละนิวรณ์ 5 และกิเลสสังโยชน์ได้อยู่แล้ว




อโศกะ เขียน:
คำอธิบายเพิ่มเติม


ปัญญาจะทำงานได้ดีเมื่อมีสติ สมาธิ มาหนุน สติ สมาธิจะสมบูรณ์เมื่อมีปัญญากำกับ ปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1.สุตมยปัญญา ปัญญาจากการฟัง การอ่าน การศึกษาแล้วจดจำเก็บไว้เป็น สัญญา (เป็นบัญญัติ)

2.จินตมยปัญญา ปัญญาจากการคิดค้น พิจารณา สังเกต สิ่งที่ดู เห็น ฟัง อ่าน ศึกษา สัมผัส (เป็นบัญญัติบ้าง ปรมัตถ์บ้าง)

3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการลงมือประพฤติ ปฏิบัติ จนได้สัมผัสความจริง รู้ขึ้นที่ใจ เกิดผลลัพท์ขึ้นที่กายและใจ สิ่งที่อธิบาย บอกได้ เรียกว่า “สมมุติ บัญญัติ” สิ่งที่อธิบายบอกไม่ได้เรียกว่า “ปรมัตถ์”

การเจริญมรรค 8 โดยเอาปัญญามรรคนำหน้า ศีลมรรค และ สมาธิมรรค ตามหนุนนั้น

สัมมาทิฐิ คือปัญญาที่ไปเห็น ไปดู ไปรู้

สัมมาสังกัปปะ คือปัญญาที่ไปสังเกต เป็นส่วนของปรมัตถ์ เพราะไม่มีความคิด นึก มาประกอบ


[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ


[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
2.ไม่ทำให้ติดหลงในสมาธิสุขได้ง่าย ไม่ใช้บริกรรมหรือรูปนิมิต กรรมฐานต่างๆ


เมื่อเจริญกุศลจิตสมถะและวิปัสสนาย่อมเกิดขึ้นเสมอ กุศลให้ผลเป็นปีติ สุข และอุเบกขาเสมอ ต้องกหรือไม่ต้องการปีติ สุข และอุเบกขาย่อมเกิดขึ้นมาในจิตเสมอ เมื่อแสดงอาการไม่เอาสุขปฏิฆะย่อมมีได้
คำสอนนี้ของคุณจึงเป็นคำสอนที่ผิด





อโศกะ เขียน:
3.เชื่อมโยงต่อยอดไปสู่การเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ทันที


สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันเสมอ




อโศกะ เขียน:
4.สามารถตรวจสอบและวัดระดับความนิ่ง ความสะอาด บริสุทธิ์ ความพร้อมของจิต ความควรแก่งานของจิต ต่อการเจริญธรรม เจริญวิปัสสนาภาวนา


ต้องเรียกว่าตรวจสอบความเป็นกุศลจิตจึงจะถูกต้องครับ เพราะจิตนิ่งไม่มี




อโศกะ เขียน:
5.สามารถใช้หินลับมีดปัญญาทั้ง 5 ก้อนนี้ ชำระนิวรณ์ ชำระจิต ให้สะอาดขึ้นได้


สมถะและวิปัสสนาทำหน้าที่ละนิวรณ์ 5 และกิเลสสังโยชน์ได้อยู่แล้ว




อโศกะ เขียน:
คำอธิบายเพิ่มเติม


ปัญญาจะทำงานได้ดีเมื่อมีสติ สมาธิ มาหนุน สติ สมาธิจะสมบูรณ์เมื่อมีปัญญากำกับ ปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

1.สุตมยปัญญา ปัญญาจากการฟัง การอ่าน การศึกษาแล้วจดจำเก็บไว้เป็น สัญญา (เป็นบัญญัติ)

2.จินตมยปัญญา ปัญญาจากการคิดค้น พิจารณา สังเกต สิ่งที่ดู เห็น ฟัง อ่าน ศึกษา สัมผัส (เป็นบัญญัติบ้าง ปรมัตถ์บ้าง)

3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการลงมือประพฤติ ปฏิบัติ จนได้สัมผัสความจริง รู้ขึ้นที่ใจ เกิดผลลัพท์ขึ้นที่กายและใจ สิ่งที่อธิบาย บอกได้ เรียกว่า “สมมุติ บัญญัติ” สิ่งที่อธิบายบอกไม่ได้เรียกว่า “ปรมัตถ์”

การเจริญมรรค 8 โดยเอาปัญญามรรคนำหน้า ศีลมรรค และ สมาธิมรรค ตามหนุนนั้น

สัมมาทิฐิ คือปัญญาที่ไปเห็น ไปดู ไปรู้

สัมมาสังกัปปะ คือปัญญาที่ไปสังเกต เป็นส่วนของปรมัตถ์ เพราะไม่มีความคิด นึก มาประกอบ


[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน

ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
หมายเหตุ: ปรมัตถ์ = สัจจะ ความจริง สิ่งที่รู้ที่ใจโดยตรง เอาสมมุติบัญญัติมาตั้งชื่อได้ เรียกว่า
“ปรมัตถบัญญัติ” แต่ไม่สามารถบอกบรรยายอาการได้ เช่นความเค็ม ความเจ็บปวด ความสบาย สุข ทุกข์ ร้อน หนาว หนัก เบา แข็ง อ่อน มรรค ผล นิพพาน จิต เจตสิก รูป เป็นต้น



แบบนี้ในพระพุทธศาสนาเรียกว่าสภาวะธรรมครับ ไม่ใช่ปรมัตถ์
ปรมัตถธรรมได้แก่มัคคจิต 4 ผลจิต 4 และนิพพาน


คุณอโศกะพยายามแสดงธรรมผิดครั้งแล้วครั้งเล่า
บาปกรรมมีจริงนะครับคุณอโศกะ





อโศกะ เขียน:
บัญญัติ = สิ่งต่างๆที่สมมุติตั้งชื่อบอกชื่อว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น คน สัตว์ เทวดา พรหม นาย ก นาง ข สวย สูง ต่ำ ดำ ขาว ร้อน หนาว แข็ง อ่อน


อย่างนี้เรียกว่า นิรุติครับ
นิรุติกล่าวถึงชื่อเรียกสภาวะธรรมครับ

อย่าเผยแผ่สิ่งผิด ๆ ต่อไปอีกเลยครับ


ยอมรับความจริงได้แล้วครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด กำลังเผยแผ่สิ่งผิด ๆ ให้กับท่านผู้อ่าน
คุณกำลังทำลายพระพุทธศาสนาอยู่นะครับ ยุติอนันตริยะกรรมนี้เสียเถิดครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2009, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3594_resize_resize.JPG
100_3594_resize_resize.JPG [ 44.45 KiB | เปิดดู 6278 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณอโศกะ

การแสดงธรรมของคุณอโศกะยังคงเป็นสัทธรรมปฏิรูป
แสดงความคิดเห็นของตนเอง แล้วมากล่าวตู่ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
กล่าวตู่ว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา

ผมกำลังสงสัยว่าคุณอโศกะจะตั้งตัวเป็นศาสดาเองแล้วหรือครับ ??



เพราะเห็นพยายามแสดงสิ่งผิด ๆ ออกมาเสมอ
ความคิดอันบรรเจิดของคุณ
กับพระธรรมคำสั่งสอนของพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมันคนละเรื่องกันครับ


อย่าไปตีความว่าความคิดที่คุณเข้าใจว่าดี ๆ ของคุณนั้นเป็นพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยครับ
บาปกรรม ๆ คุณกำลังเพียรทำลายพระพุทธศาสนาแล้วครับ



เตือนมาด้วยความหวังดีครับ

อ้างอิงคุณมหาราชันย์

tongue สวัสดี มีความสุขครับท่านมหาราชันย์ การมาเฝ้าคอยจับผิด มองผิดผู้อื่นอยู่ เป็นอกุศลจิต ทำให้เศร้าหมองใจนะครับ ผมเคยถามท่านแล้วว่าเอาหลักเกณฑ์อะไรมาเป็นเครื่องชี้วัดความ ผิด ถูก การเอาปริยัติที่ท่านบันทึกไว้ในสัญญา มาตัดสินนั้น ยังไม่เหมาะสมดีนะครับ เพราะธรรมมะในตัวหนังสือยังอาจผิดพลาดได้จากการแปลความหมาย

จะให้ดีต้องเอาธรรมมะ ในกายและจิตนี้มาพิจารณาประกอบการตัดสิน ผิด ถูก น่าจะดีกว่า เพราะสัจธรรม ปรมัตถธรรม สภาวธรรมต่างๆ ที่แสดงอยู่ ใน กาย และจิตนี้ ไม่มีหลอกหลอน มีแต่ของจริง พิสูจน์ได้ รู้ได้ ทุกยุค ทุกสมัย

สิ่งที่ผมนำมาแสดงนั้นเป็นเรื่องของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ในกายและจิต เรื่องของหินลับมีดปัญญาทั้ง 5 ก้อนนั้น เขามีสภาวะ รองรับ และแสดงอยู่ทุกเมื่อจริงๆ พิสูจน์ได้และท้าให้พิสูจน์เสมอ

แต่ท่านมหาราชันย์ติดยึดแน่นในปริยัติและสมมุติบัญญัติมากเกินไป จึงปิดกั้นโอกาสที่ดีของท่านไปเสีย
ลองพิสูจน์ดูก่อนซิครับแล้วจึงค่อยตัดสิน


ในข้อธรรมทั้งหมด ที่ผมยกมากล่าวนั้น ไม่มีคำสรุปว่า "นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า" ผมไม่อ้างอย่างนี้
คุณมหาราชันย์กล่าวหาผิดแล้ว


ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนั้น ไม่ได้เป็นของพระพุทธเจ้า แต่เป็นสิ่งที่มีมาอยู่คู่จักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าเพียงแต่ไปค้นพบสัจจธรรมความจริงทั้งหลายในกายและจิต จนที่สุดทรงค้นพบอริยสัจจ ทั้ง 4 ประการ พิสูจน์จนจบสิ้นแล้ว พระองค์ทรงถอนสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ออกเสียได้จนหมดสิ้น เกิดผลพลอยได้จากการพิสูจน์ธรรมครั้งนี้คือ สุขที่เป็นอมตะ พระนิพพาน สิ้นสุดความเวียนว่ายตายเกิด แล่วทรงมีพระเมตตาและมหากรุณาธิคุณเผยแผ่ความรู้และวิธีปฏิบัติอันวิิเศษนี้แก่ชาวโลก

ปุถุชน คนธรรมดาทั่วโลก ทุกยุค ทุกสมัย ใครได้เรียนรู้ เทคนิและวิธีการปฏิบัติ ตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงทำตัวอย่างไว้ ก็จะได้รับผล ไปถึงที่เดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์เจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านไปถึง

ปริยัติเพื่อการปฏิบัตินั้นไม่ต้องเเอามากมายจนต้องจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ อย่างที่คุณมหาราชันย์กำลังพยายามทำอยู่ เอาแค่ 2 - 3 สูตรที่เป็นหัวใจหลักของคำสอน กับอีกไม่กี่บทของสวดมนต์แปล ก็น่าจะเพียงพอแล้ว จับหลัก จับประเด็นคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ แล้วลงมือปฏิบัติตามทันที จะได้ไม่ฟุ้งอยู่ในบัญญัติ ปริยัติอย่างที่กำลังเป็นและกำลังนิยมกันอยู่ขณะนี้

สัจจธรรมความจริงที่ผมนำมาแสดงนี้ เป็นความจริงของโลก ผมได้เข้าไปรู้ไปสัมผัส มีประสบการณ์จริงโดยอาศัยเทคนิคปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ เมื่อ เห็นว่ามีอะไรดีๆ น่าจะมีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นธรรมทัศนะ เพื่อประกอบการพัฒนา สติ ปัญญา ของผู้ที่สนใจศึกษา ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้เข้าใจเทคนิคการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 ได้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง พิสูจน์ธรรม จนได้รับผลสำเร็จในทางธรรมในที่สุด

การที่คุณมหาราชันย์มาตั้งหน้าทำตัวเป็น Inspector คอยชี้ผิด ชี้ถูก โดยเอาปริยัติเป็นหลักแต่เะพียงอย่างเดียวเท่านี้ โดยไม่พิจารณาให้ดีๆละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เป็นบาปนะครับ เศร้าหมองนะครับ บังธรรมนะครับ ปิดกั้นมรรค ผลนะครับ ระวังด้วยครับ

มีเรื่องต้องสนทนากันอีกมากในกระทู้นี้และกระทู้อื่นด้วย ค่อยว่ากันต่อไปนะครับ ตามเวลาและโอกาสที่อำนวย

สุขกาย สุขใจ ไม่ติดหลงในสมาธิสุขเกินไปตามแบบฤาษี จนลืมงานและหน้าที่ที่แท้จริงของชาวพุทธนะครับ สาธุ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
การมาเฝ้าคอยจับผิด มองผิดผู้อื่นอยู่ เป็นอกุศลจิต ทำให้เศร้าหมองใจนะครับ ผมเคยถามท่านแล้วว่าเอาหลักเกณฑ์อะไรมาเป็นเครื่องชี้วัดความ ผิด ถูก การเอาปริยัติที่ท่านบันทึกไว้ในสัญญา มาตัดสินนั้น ยังไม่เหมาะสมดีนะครับ เพราะธรรมมะในตัวหนังสือยังอาจผิดพลาดได้จากการแปลความหมาย


สวัสดีครับคุณอโศกะ

ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณอโศกะครับ ผมมีปีติสุขในฌานเป็นปกติครับ ปราศจากมลทินในจิต ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการตอบคำถาม การกระทำของผมประกอบด้วยเมตตาธรรม จิตผ่องใสเป็นกุศลครับ
ผมเห็นสภาวะธรรมตรงตามปริยัติแล้วจึงสามารถบอกได้ว่าการแสดงธรรมของคุณ และการปฏิบัติของคุณอโศกะไม่ใช่การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาครับ ผมไม่ได้เกิดมาเพื่อจับผิดใครครับ แต่เห็นสิ่งใดผิดผมกล่าว่าผิด เห็นสิ่งใดถูกผมกล่าวว่าถูกด้วยปัญญาและการนำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นว่า สิ่งที่คุณอโศกะแสดงมานั้นผิดจริง ๆ คุณอโศกะทำตัวไม่เมหาะสมจริง ๆ ครับ





อโศกะ เขียน:
จะให้ดีต้องเอาธรรมมะ ในกายและจิตนี้มาพิจารณาประกอบการตัดสิน ผิด ถูก น่าจะดีกว่า เพราะสัจธรรม ปรมัตถธรรม สภาวธรรมต่างๆ ที่แสดงอยู่ ใน กาย และจิตนี้ ไม่มีหลอกหลอน มีแต่ของจริง พิสูจน์ได้ รู้ได้ ทุกยุค ทุกสมัย


กายใจของคุณเป็นเป็นโลกียะเป็นกามสัญญา จิตเป็นกามาวจร ปัญญาก็กามาวจร คุณจึงไม่รู้จัก ปรมัตถธรรมที่ถูกต้องครับ การรู้ผิด การเข้าใจผิดของคุณอโศกะ ไม่เป็นสิ่งแน่นอนครับ

ปรมัตถธรรมได้แก่มัคคจิต 4 ผลจิต 4 และนิพพาน




อโศกะ เขียน:
สิ่งที่ผมนำมาแสดงนั้นเป็นเรื่องของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ในกายและจิต เรื่องของหินลับมีดปัญญาทั้ง 5 ก้อนนั้น เขามีสภาวะ รองรับ และแสดงอยู่ทุกเมื่อจริงๆ พิสูจน์ได้และท้าให้พิสูจน์เสมอ


สภาวะธรรมผิดทางมัคคผล เอามาอ้างอิงการปฏิบัติไม่ได้หรอกครับ คุณอโศกะยังไม่รู้จักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องครับ ว่าปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่าการปฏิบัติธรรม ข้อนี้จึงเป็นการหลงของคุณอโศกะครับ




อโศกะ เขียน:
แต่ท่านมหาราชันย์ติดยึดแน่นในปริยัติและสมมุติบัญญัติมากเกินไป จึงปิดกั้นโอกาสที่ดีของท่านไปเสีย
ลองพิสูจน์ดูก่อนซิครับแล้วจึงค่อยตัดสิน


โอกาสในการศึกษาและปฎิบัติตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตผมครับ ส่วนคุณอโศกคิดค้นคำสอนขึ้นมาเอง แล้วคัดค้านคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณอโศกะเสียโอกาสในการเจริญในศาสนาพุทธครับ





อโศกะ เขียน:
ในข้อธรรมทั้งหมด ที่ผมยกมากล่าวนั้น ไม่มีคำสรุปว่า "นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า" ผมไม่อ้างอย่างนี้
คุณมหาราชันย์กล่าวหาผิดแล้ว


ยิ่งคุณยืนยันไม่ยอมรับว่าสิ่งที่คุณแสดงมาเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมยิ่งแสดงถึงว่าคำสอนของคุณที่แสดงมาไม่ใช่อรรถ ธรรม ที่ถูกต้อง ไม่น่าเชื่อถือเลยแม้แต่น้อย




อโศกะ เขียน:
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนนั้น ไม่ได้เป็นของพระพุทธเจ้า แต่เป็นสิ่งที่มีมาอยู่คู่จักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าเพียงแต่ไปค้นพบสัจจธรรมความจริงทั้งหลายในกายและจิต จนที่สุดทรงค้นพบอริยสัจจ ทั้ง 4 ประการ พิสูจน์จนจบสิ้นแล้ว พระองค์ทรงถอนสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ออกเสียได้จนหมดสิ้น เกิดผลพลอยได้จากการพิสูจน์ธรรมครั้งนี้คือ สุขที่เป็นอมตะ พระนิพพาน สิ้นสุดความเวียนว่ายตายเกิด แล่วทรงมีพระเมตตาและมหากรุณาธิคุณเผยแผ่ความรู้และวิธีปฏิบัติอันวิิเศษนี้แก่ชาวโลก


พระพุทธเจ้าเป็นพระธรรมราชา เป็นเจ้าของธรรมครับ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงใช้พระปัญญาความสามารถจึงได้มาครับ




อโศกะ เขียน:
ปริยัติเพื่อการปฏิบัตินั้นไม่ต้องเเอามากมายจนต้องจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ อย่างที่คุณมหาราชันย์กำลังพยายามทำอยู่ เอาแค่ 2 - 3 สูตรที่เป็นหัวใจหลักของคำสอน กับอีกไม่กี่บทของสวดมนต์แปล ก็น่าจะเพียงพอแล้ว จับหลัก จับประเด็นคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้ แล้วลงมือปฏิบัติตามทันที จะได้ไม่ฟุ้งอยู่ในบัญญัติ ปริยัติอย่างที่กำลังเป็นและกำลังนิยมกันอยู่ขณะนี้


ข้อนี้เป็นการรู้ผิดเป็นการเข้าใจผิดของคุณอโศกะครับ
ผมไม่ได้พยายามจำพระไตรปิฎกแม้แต่น้อยครับ แต่พยายามปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาบทต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วครับ การลงมือปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาบ่อย ๆ ย่อมชำนาญเป็นวสีและจำได้เองครับ
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมบทใด ผมพยายามปฏิบัติให้รู้แจ้งแทงตลอดพระธรรมเทศนาเหล่านั้น
พยายามเข้าใจในอรรถธรรมของพระธรรมเทศนาเหล่านั้น เพราะผมเข้าใจอรรถธรรมที่ถูกต้อง จึงสามารถบอกได้ไงครับ ว่าสิ่งที่คุณอโศกะนำมาแสดงไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คำสอนในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง





อโศกะ เขียน:
สัจจธรรมความจริงที่ผมนำมาแสดงนี้ เป็นความจริงของโลก ผมได้เข้าไปรู้ไปสัมผัส มีประสบการณ์จริงโดยอาศัยเทคนิคปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ เมื่อ เห็นว่ามีอะไรดีๆ น่าจะมีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นธรรมทัศนะ เพื่อประกอบการพัฒนา สติ ปัญญา ของผู้ที่สนใจศึกษา ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้เข้าใจเทคนิคการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา หรือการเจริญมรรค 8 ได้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง พิสูจน์ธรรม จนได้รับผลสำเร็จในทางธรรมในที่สุด


ข้อนี้เป็นความหลงของคุณอโศกะครับ สิ่งที่คุณอโศกะคิดว่าดีเหล่านั้นไม่ใช่ทางสู่มัคคผลของพระพุทธศาสนิกชนครับ การปฏิบัติที่ผิดทางของคุณอโศกะ ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วหวังที่จะได้มัคคผลเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ




อโศกะ เขียน:
การที่คุณมหาราชันย์มาตั้งหน้าทำตัวเป็น Inspector คอยชี้ผิด ชี้ถูก โดยเอาปริยัติเป็นหลักแต่เะพียงอย่างเดียวเท่านี้ โดยไม่พิจารณาให้ดีๆละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เป็นบาปนะครับ เศร้าหมองนะครับ บังธรรมนะครับ ปิดกั้นมรรค ผลนะครับ ระวังด้วยครับ


ข้อนี้แสดงถึงความอ่อนด้อยทางปัญญาในการคิดวิเคราห์ของคุณอโศกะครับ ข้อความที่ผมนำมาแสดง คุณอโศกะไม่อาจเข้าใจได้ บางข้อความคุณก็ไม่อ่านผ่านเลยไป แล้วจะวิเคราห์ วินิจฉัยถูกต้องได้อย่างไร?
ข้อนี้จึงเป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณอโศกะครับ ผมไม่ได้ใช้ตัวผมเป็นปทัฏฐานแม้แต่น้อยครับคุณอโศกะ สิ่งที่ผมนำมาเป็นปทัฏฐานชี้ผิด ชี้ถูกทางการปฏิบัติ คือนำพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎกมาแสดงเปรียบเทียบครับ





อโศกะ เขียน:
ไม่ติดหลงในสมาธิสุขเกินไปตามแบบฤาษี จนลืมงานและหน้าที่ที่แท้จริงของชาวพุทธนะครับ สาธุ



แม้ข้อนี้ก็เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดของคุณอโศกะครับ
ผมไม่ได้มีความสุขแบบฤๅษีครับ
แต่มีความสุขแบบผู้มีจิตเป็นกุศล และเสวยกุศลวิบากจิตครับ ผมจึงมีความสุขเพราะทำเหตุมาดีและถูกต้องตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมมพุทธเจ้าครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 20:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2009, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ดีนะคะ ... คือ มองว่าดีนะคะ ...
บอร์ดไม่เงียบเหงาดี ....
ความรู้หลากหลายดีค่ะ :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอโศก...คุ...เอ้ย...คะ :b14: :b14:

(..ทำไม...ชอบเปิ่นเหลือเกินนะ เรานี่... :b34: :b9: )

หินลับมีด...ปัญญา...

คำนี้ฟังแล้ว เก๋ดีจังเลยค่ะ....

คุณอโศกได้ idea คำนี้มายังไงคะ...ไม่...คุ...อิ อิ



:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 07 ธ.ค. 2009, 21:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3725_resize_resize.JPG
100_3725_resize_resize.JPG [ 75.29 KiB | เปิดดู 6203 ครั้ง ]
tongue เจริญสุข เจริญธรรมครับคุณเอรากอน และทุกๆท่าน สวัสดีมีความสุข สบายๆ ครับท่านมหาราชันย์

วันนี้ขอเริ่มสนทนาพาทีกับคุณเอรากอนก่อนนะครับ

หินลับมีดปัญญา (หินลับมีด สติ ปัญญา) เป็นผลการสังเกตการณ์ (สังกัปปะ)จากการปฏิบัติจริง โดยการเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เป็นเวลานานๆ ต่อเนื่องกันมาหลายปี ทดสอบใช้กับผู้ศึกษา นักปฏิบัติมาเป็นจำนวนมาก หลายซ้ำ จนมีนัยยะ ทางสถิติ ว่ามีประโยชน์จริง ๆ สำหรับผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จึงนำมาแสดง ไว้ในลานธรรมจักรแห่งนี้ เพื่อเป็นธรรมทัศนะ
พร้อมกันนั้นจะได้ดูปฏิกิริยาตอบโต้ของสังคมว่าเป็นอย่างไรด้วยครับ


ประโยชน์ที่แท้จริง เห็นชัดมากคือ ใคร ผู้ใดก็ตามสามารถสำรวมจิตให้นิ่ง จนตั้งมั่นและสัมผัสรู้อาการเต้นตอดของชีพจรได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาที เขาผู้นั้นจะสามารถเริ่มต้นการเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ทันทีต่อจากนั้นไป

ประเด็นสำคัญคือเมื่อ สติ สัมปชัญญะ หรือปัญญา มีความคมละเอียดระดับที่รู้ชีพจรชัดได้ทันทีนั้น รูปและนาม จะแยกออกจากกัน นี่เป็นญาณแรก ของวิปัสสนาญาณ 16 วิปัสสนาปัญญาจะต้องเริ่มต้นจากญาณนี้ หาก รูป - นามยังไม่แยกจากกัน การสังเกต พิจารณา หรือ ปัญาสัมมาสังกัปปะ จะยังทำงานไม่ได้ดี อุปมาเหมือนเราเอาสิ่งของที่เราจะพิจารณา สมมุติว่าเป็นดินก้อนหนึ่งมาวางไว้ติดๆกับลูกตา เราจะพิจารณาดินก้อนนั้นไม่ได้ แต่ถ้าเราเอาดินก้อนนั้นวางไว้ห่างตาในระดับพอดี เราจะสามารถสังเกต พิจารณาลักษณะและส่วนประกอบของดินก้อนนั้นได้ง่าย เห็นชัด ดังนี้

ถ้า รูป - นาม ไม่แยกจากกัน การภาวนานั้นจะเป็น "วิปัสสนึก" ทันที มิใช่ "วิปัสสนาภาวนา"

ผู้ที่เรียนรู้ปริยัติมาเยอะๆ มักจะติดหลง และสำเร็จธรรมแบบวิปัสสนึกนี้เยอะมาก เพราะใช้จินตมยปัญญา คิด นึกไปตามข้อธรรม ในพระสูตร หรือตำราของครูบาอาจารย์ จนเกิดสมาธิ ปีติ ปัสสัทธิ จิตดับลงภวังค์ แล้วสำคัญผิดว่าถึงนิพพานแล้วก็มีเยอะ

อ้าว ! เลยว่ามาเสียยาวยืดเลย ขออภัยนะครับ เชิญสังเกตการณ์ไปเรื่อยๆนะครับ เดี๋ยวจะมีอะไรที่แปลกๆใหม่ๆเพิ่มมาให้ดูอีกครับ คัดสรรเอาแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ไว้ สิ่งใดไม่เข้าท่าก็ทิ้งไปนะครับ

ขอให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ทัน ในปัจจุบันชาตินี้ ทุกท่าน ทุกคนเทอญ :b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ถ้า รูป - นาม ไม่แยกจากกัน การภาวนานั้นจะเป็น "วิปัสสนึก" ทันที มิใช่ "วิปัสสนาภาวนา"


รูป ที่เรียกว่า เป็นท่าน "อโศกะ"........... คืออะไร
อาศัยอะไร จึงเกิดรูปนั้น

นาม ที่เรียกขานว่า เป็นท่าน "อโศกะ" ......... คืออะไร
อาศัยอะไร จึงเกิด นามนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร