วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
คุณกรุณาอย่าไปยุ่งกับท่านพุทธทาสเลยนะงับ

เพราะท่านพุทธทาส พ้นไปแล้ว

คุณจะว่าใครก็ตาม ผมไม่ได้เข้าข้างพุทธทาส แต่การเอาความเห็นต้น ไปวิจารณ์ พระอริยเจ้า

ก็เหมือนการขัดขวางธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศไว้

ระวัง จะจมปทุมนรกไม่รู้ตัวนะงับ



คุณขงเบ้งฯ ครับ อย่าได้เอานรกมาขู่ผมเลยครับ :b5:

นรก ในความหมายของท่านพุทธทาส คือ ความเร่าร้อนใจของคนเรานี้เองครับ ไม่ได้เกี่ยวกับภพภูมิหลังจากการตายของคนเลย

เป็น สวรรค์ในอก นรกในใจเท่านั้น

เมื่อก่อนเป็นวัยรุ่น ผมก็เชื่อตามทิฏฐิของท่านพุทธทาสนี้แหละครับ ว่า นรก สวรรค์ ที่เป็นภพภูมินั้น เขาเขียนขึ้นมาหลอกให้คนกลัว ที่มีมาปรากฏใน พระไตรปิฏก อรรถกถา ก็เพื่อให้เข้ากับความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น เพราะไปคัดค้านไม่ไหว

อ้างคำพูด:
นรก - สวรรค์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994

ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

ผมได้อ่านบทความของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่า สวรรค์ อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ น่าจะเป็นแก่นหรือสาระสำคัญในแง่ของศาสนาพุทธที่แท้จริง

ใครสนใจบทความของท่านพุทธทาส สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/heaven92.html

---------------------------------------------

ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การกล่าวตู่ พระพุทธพจน์

การกล่าวตู่ พระอริยสงฆ์ อย่าง อรรถกถาจารย์, พระโบราณาจารย์, พระพุทธโฆษาจารย์, พระอนุรุทธาจารย์ ฯลฯ ที่ร่วมกันสืบทอด พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

ของท่านพุทธทาส จะมีวิบากกรรมเช่นไร

คุณขงเบ้ง ฯ ช่วยพยากรณ์ให้ด้วยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน
สวัสดีครับคุณchalermsak

ผมว่าเอาให้แคบลงดีกว่านะครับ
เรามาพูดถึงประเด็นคุณไวโรจนมุเนนทระ ยกอรรถกถาที่มาสนับสนุนความคิดเห็นตนเองดีกว่าครับ
แล้วบังเอิญว่าอรรถกถาที่คุณไวโรจนมุเนนทระ ยกมานั้น มันขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ ยังไม่ต้องไปไกลถึงคนอื่นเช่นท่านพุทธทาส หรือใคร ๆ หรอกครับ เอาแค่คุณไวโรจนมุเนนทระ ก่อนดีกว่าครับ จะได้สนทนากันรู้เรื่องเป็นเรื่อง ๆ ไปครับ


ผมมีคำถามว่าคุณไวโรจนมุเนนทระ เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉท กับเรียนจบอถิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นคุณchalermsakมีความเห็นว่าอย่างไรครับ เป็นอภิธรรมเหมือนกันหรือต่างกันครับ ??



เจริญในธรรมครับ


คุณมหาราชันย์ครับ ขอเชิญศึกษา ประวัติพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่

http://www.abhidhamonline.org/SamgahaPali.htm

http://abhidhamonline.org/aphi/p0/start.html

http://www.buddhism-online.org/Section01_07.htm

ประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาว กาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรม อยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉาน และได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอาราธนา จากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายก ให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียด ลึกซึ้งมากนั้น ให้สั้นและง่าย เพื่อสะดวกแก่การศึกษา และจดจำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์ แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๗ คัมภีร์มาเป็นหลัก ในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อ และเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความ ของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน)

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริง ว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิต ต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้า ก็จะสามารถประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด


----------------------------------------

จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมมูลนิธิ ส่วนหนึ่งของคำนำ กล่าวไว้ว่า

เป็นการแสนยากยิ่งที่ผู้ใดจะศึกษาโดยตรงจากคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ให้บังเกิดความเข้าใจโดยมิต้องอาศัยพระอภิธัมมัตถสังคหะซึ่งรจนาขึ้นโดยท่านอนุรทธาจารย์ให้เป็นพื้นฐานรองรับเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือในฐานะเป็นพระคันถรจนาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ อันท่านผู้ศึกษาที่มีความเข้าใจได้เหตุผลจะเว้นกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความซาบซึ้งเสียมิได้

------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ผมเองเคยมีวาสนาได้เรียนบาลีจนจบหลักสูตรคณะสงฆ์ไทย เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉทของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มีโอกาส เรียนภาษาสันสกฤต ปรากฤต พุทธศาสนามหายาน เพิ่มเติม ในมหาวิทยาลัย ทั้งยังมีวาสนาเคยสอนบาลีหลายปี สันสกฤต ๑ ปี ยังมีความรู้สึกว่าปัญญาผมยังน้อย ยังไม่มั่นใจ ในการตีความพุทธพจน์



อ้างคำพูด:
ผมมีคำถามว่าคุณไวโรจนมุเนนทระ เรียนจบอภิธรรม ๙ ปริเฉท กับเรียนจบอถิธรรมในพระไตรปิฎกนั้นคุณchalermsakมีความเห็นว่าอย่างไรครับ เป็นอภิธรรมเหมือนกันหรือต่างกันครับ ??


การเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉทนั้น เป็นพื้นฐานที่จะศึกษา พระอภิธรรมปิฏก ต่อไปครับ และการศึกษาที่ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย สุดท้ายแล้ว ก็จะมีการศึกษาพระอภิธรรมปิฏกเช่นกัน องค์ธรรม หรือ สภาวะธรรม ใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท และ พระอภิธรรมปิฏก เหมือนกันครับ

สำหรับผมได้มีโอกาศสอบผ่านเพียงชั้นอนุบาล คือ จูฬอาภิธรรมมิกะตรี หลังจากนั้นก็ก็ไม่ได้มีโอกาสศึกษาต่อครับ แต่ก็มีคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไว้เป็นพื้นฐานครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์ cool
ขออนุญาติเสริมนิดนะคะ



ถ้าคุณไม่อยากให้ใครๆตำหนิติติงคุณ ติติงครูบาฯของคุณ เช่น อจ.แนบ
คุณน่าจะเลิกติติงผู้อื่นและครูบาฯท่านอื่นๆด้วยนะคะ



สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เคยได้ยินไหมคะ กรรมมันยุติธรรมค่ะ
ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินว่า ใครทำถูกหรือผิด
กรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของการกระทำแต่ละคนต่างหาก
เป็นตัวตัดสินและให้ผลยังผู้ได้ลงมือกระทำค่ะ




การตีความของแต่ละครูบาฯ ท่านทั้งหลายก็ไม่แตกต่างจากเราๆท่านๆหรอกค่ะ
คือ ครูบาฯทั้งหลายนั้น ท่านรู้แค่ไหน ท่านย่อมตีความได้แค่นั้น จะให้รู้ไปมากกว่านั้นมันเป็นไปไม่ได้

ส่วนใครเชื่อใคร ไม่ว่าใครๆก็ตาม ทุกอย่างล้วนมีเหตุมาก่อนค่ะ
คือ เขาเหล่านั้นเคยสร้างเหตุมาร่วมกัน เขาจึงได้มาเชื่อกัน

แล้วการที่จะมาพูดว่า อันนั้นถูก อันนี้ผิด มันก็แค่ความคิดของแต่ละคนเท่านั้นเองค่ะ
แต่ไม่ใช่ถูกผิดตามความเป็นจริง ที่มีอยู่จริง ก่อนที่จะมามีเราๆท่านๆทั้งหลาย

ที่เรามาถกๆกันนี่ ก็เป็นเพียง " รู้ " ของแต่ละคนที่มีกันอยู่เท่านั้นเอง
รู้แค่ไหน ก็ตีความได้แค่นั้นเองค่ะ ไม่มีใครถูกหรือผิดหรอกค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 08:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คุณมหาราชันย์ครับ ขอเชิญศึกษา ประวัติพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่



สวัสดียามบ่ายครับคุณchalermsak


เรื่องนี้ผมทราบดีอยู่แล้วครับ






chalermsak เขียน:
เป็นการแสนยากยิ่งที่ผู้ใดจะศึกษาโดยตรงจากคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ให้บังเกิดความเข้าใจโดยมิต้องอาศัยพระอภิธัมมัตถสังคหะซึ่งรจนาขึ้นโดยท่านอนุรทธาจารย์ให้เป็นพื้นฐานรองรับเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือในฐานะเป็นพระคันถรจนาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ อันท่านผู้ศึกษาที่มีความเข้าใจได้เหตุผลจะเว้นกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความซาบซึ้งเสียมิได้



ข้อความนี้ของคุณไม่เป็นความจริงครับ
พระอภิธรรมในพระไตรปิฎกมีคำศัพท์คำแปลให้พร้อมอยู้แล้วครับ มีการบ่งบอกสภาวะธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติที่ถูกต้องประกอบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเปรียบเทียบสภาวะที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากครับ ง่ายแก่การศึกษาและการปฏิบัติตามครับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำของยากให้เป็นของง่ายไว้แล้วครับ ทรงเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ ทรงตามประทีปในที่มืด ทรงบอกทางแก่ผู้หลงทาง งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดอยู่แล้วครับ


ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ




chalermsak เขียน:
การเรียนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉทนั้น เป็นพื้นฐานที่จะศึกษา พระอภิธรรมปิฏก ต่อไปครับ และการศึกษาที่ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย สุดท้ายแล้ว ก็จะมีการศึกษาพระอภิธรรมปิฏกเช่นกัน องค์ธรรม หรือ สภาวะธรรม ใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท และ พระอภิธรรมปิฏก เหมือนกันครับ

สำหรับผมได้มีโอกาศสอบผ่านเพียงชั้นอนุบาล คือ จูฬอาภิธรรมมิกะตรี หลังจากนั้นก็ก็ไม่ได้มีโอกาสศึกษาต่อครับ แต่ก็มีคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไว้เป็นพื้นฐานครับ


จากข้อความนี้ของคุณแสดงว่าคุณไม่เคยได้ศึกษาพระอภิธรรมจากพระไตรปิฎกมาเลยครับ
พระอภิธรรมจากพระไตรปิฎก และอภิธัมมัตถสังคหะ แตกต่างกันอย่างมากครับ ไม่เหมือนกันครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ศีลวิบัติ ๑ จิตตวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมักโลภ
มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฐิ-
วิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่
ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรม
ที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์
พวกที่ผุดเกิดไม่มี(โอปปาติกะ - เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม) สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลวิบัติเป็นเหตุ
สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
หรือว่าเพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าเพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกาย
ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่าง
นี้แล
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติพระอภิธรรม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔

บทย่อพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โดย พระครูศรีโชติญาณ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/abhi7book.doc

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
คำย่อพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ สํ. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. ป.
คำเต็มพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือ
๑. สํ. หมายถึง คัมภีร์พระธรรมสังคณี
๒. วิ. หมายถึง คัมภีร์พระวิภังค์
๓. ธา. หมายถึง คัมภีร์พระธาตุกถา
๔. ปุ. หมายถึง คัมภีร์พระปุคคลบัญญัติ
๕. ก. หมายถึง คัมภีร์พระกถาวัตถุ
๖. ย. หมายถึง คัมภีร์พระยมก
๗. ป. หมายถึง คัมภีร์พระมหาปัฎฐาน

คัมภีร์ที่ ๑ พระธรรมสังคณี
พระบาลี คำแปล
กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลาย
อพฺยากตา ธมฺมา ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต
กตเม ธมฺมา กุสลา? ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศาล เป็นไฉนเล่า?
ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ กามาวจรกุศลจิต สหรคตแล้วด้วยโสมนัส
จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ สัมปยุตแล้วด้วยญาณปรารภเอารูปารมณ์หรือ
โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ, หรือว่าสัททารมณ์ คันธารมณ์หรือ หรือว่า
รูปารมฺมณํ วา สฺททารมฺมณํ วา รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์หรือ หรือว่าธัมมา-
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา รมณ์ ก็หรือว่าอารมณ์ใด ๆ เป็นจิตที่เกิดขึ้น
โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ แล้ว ในสมัยใด,
วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ,
ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิด, อวิกเขปคือ
อวิกฺเขโป โหติ, เย วา ปน สมาธิย่อมเกิด, ก็หรือว่า นามธรรมเหล่าใด
ตสฺมึ สมเย, อญฺเญปิ อตฺถิ แม้เหล่าอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้น
ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺนา, อรูปิโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นกุศลฯ
ธมฺมา, อิเม ธมฺมา กุสลา.



ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้
๑. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล หมายเอา กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
๒. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล หมายเอา อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
๓. อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤต หมายเอา วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ รูป ๒๘ นิพพาน ๑
๔. อารมณ์ ๖ หมายเอา รูป ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีก ๓ รวมเป็น ๗ เรียกว่า วิสัยรูป ๗
๕. ธัมมารมณ์ ๖ หมายเอา ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑ และบัญญัติ
๖. ปโรปัณณาสธรรม ๕๖ คือ
ก. ผัสสปัญจกะ ๕ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิตฯ
ข. วิตักกปัญจกะ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาฯ
ค. อินทรีย์อัฏฐกะ ๘ คือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมสัสสินทรีย์ และชีวิตนทรีย์ฯ
ฆ. สัมมาทิฐิปัญจกะ ๕ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ
ง. สัทธาพลสัตตกะ ๗ คือ สัทธาพละ วีริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละฯ
จ. อโลภติกะ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะฯ
ฉ. อนภิชฌาติกะ ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฐิ ฯ
ช. หิริทุกะ ๒ คือ หิริ โอตตัปปะ ฯ
ฌ. ปัสสิทธิทุกะ ๒ คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสิทธิ ฯ
ซ. กายลหุตาทุกะ ๒ คื กายลหุตา จิตตลหุตา ฯ
ญ. กายมุทุตาทุกะ ๒ คือ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ฯ
ฎ. กายกัมมัญญตาทุกะ ๒ คือ กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ฯ
ฎ.กายปาคุญญตาทุกะ คื ๑ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฐ. กายุชุกตาทุกะ ๒ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ
ฑ. สติทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ฒ. สมถทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ
ณ. ปัคคาหทุกะ ๒๑ คือ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ



๗. เย วา ปน ธรรมที่เกิดร่วมในจิตตุปบาทนั้นอีก ๙ คือ มนสิการ อธิโมกข์ ฉันทะ วิรตี ๓ และ อัปปมัญญา ๒ (รวม ๙)
หมายเหตุ ปโรปัณณธรรม ๕๖ มีปรากฎอยู่ในพระธรรมสังคิณีบาลี หน้าต้น และเยวาปนธรรม ๙ มีปรากฎอยู่ในอรรถสาลินี ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗๖ แม้ปโรปัณณาสกธรรม ๕๖ ท่านก็ได้แสดงไว้เหมือนกัน
รวมคัมภีร์นี้แล้วมี ๔ กัณฑ์ คือ
๑. จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของจิตทั้งหมด
๒. รูปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของรูปทั้งหมด
๓. นิกเขปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของติกะ ทุกะ และสุตตันติกะทั้งหมด
๔. อรรถกถากัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของเนื้อความในติกะ ทุกะ และนิคมกถา ฯ

จบคัมภีร์พระธรรมสังคณี
!
!
!
คัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน
บาลี
เหตุปจฺจโย, อารมฺมณปจฺจโย, อธิปติปจฺจโย, อนนฺตรปจฺจโย, สมนนฺตรปจฺจโย, สหชาตปจฺจโย, อญฺญมญฺญปจฺจโย, นิสฺสยปจฺจโย, อุปนิสฺสยปจฺจโย, ปุเรชาตปจฺจโย, ปจฺฉาชาตปจฺจโย, อาเสวนปจฺจโย, กมฺมปจฺจโย, วิปากปจฺจโย, อาหารปจฺจโย, อินฺทริยปจฺจโย, ฌานปจฺจโย, มคฺคปจฺจโย, สมฺปยุตฺตปจฺจโย, วิปฺปยุตฺตปจฺจโย, อตฺถิปจฺจโย, นตฺถิปจฺจโย, วิคตปจฺจโย, อวิคตปจฺจโย.
คำแปล
ธรรมที่มีเหตุหกเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีอารมณ์หกเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอธิบดีสองประเภทเป็น ปัจจัย, ธรรมที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างขั้นมิได้เป็นปัจจัย. ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างคั่นมิได้โดยลำดับเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นที่อาศัยสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมอาศัยกันอย่างมีกำลังแรงสามประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีรูปธรรมที่เกิดก่อนสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ซึ่งเกิดในภายหลังเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอาเสวนชวนะเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีเจตนากรรมสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีมรรถเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีวิบากเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์สมปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามรูปเป็นวิปปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีรูปนามที่กำลังมีอยู่เป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ไม่มีแล้วเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปแล้วเป็นปัจจัย, และธรรมะที่มีนามรูปที่ยังไม่ดับไปเป็นปัจจัย ฯ
อธิบายโดยย่อ ในคัมภีร์ปัฏฐานมหาปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้อย่างกว้างขวางวิจิตรพิสดารอย่างเหลือเกิน ซึ่งก็พอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปร่างย่อ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ธรรมะทั้งหมดที่มีปรากฎอย่างในปัจจัย ๒๔ นี้ ถ้าจะจัดเข้าเป็นตอน ๆ แล้วจัดเป็น ๓ ตอน คือ
๑. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจัย คือ ผู้อุปการะ
๒. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจยุบัน คือ ผู้ได้รับอุปการะหรือที่เกิดมาจากปัจจัย
๓. ธรรมที่นกเหนือออกไปจากธรรมที่เกิดจากปัจจัย เช่น อย่างอารัมมณปัจจัยเป็นตัวอย่าง
รูปารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น รูปารมณ์เป็นตัวปัจจัย ส่วนการเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมอีก ๗ ผัสสะ เป็นต้น ก็เป็นปัจจยุบัน คือ เป็นธรรมที่เกิดจากรูปารมณ์เป็นปัจจัยให้ ส่วนปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก และรูปที่เหลือซึ่งไม่ได้มีปรากฎอยู่ในปัจจุบันธรรมนั้น ก็เป็นปัจจนิกไปเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยก็คือเป็นผู้ให้อุปการะ ธรรมะที่เป็นปัจจยุบันที่เกิดจากปัจจัยก็คือผู้รับ ส่วนธรรมะที่ไม่ได้รับ อุปการะก็ตกเป็นปัจจนิกธรรมไป จากนั้นก็ทรงแสดงไว้ถึง ๗ วาระ และแสดงไปตามติกาะ ๒๒ ทุกะ ๑๐๐ แสดงอนุโลม ๑ เป็นปฏิโลม ๑ อนุโลมปฏิโลม ๑ เป็นต้น ฯ
จบคัมภีร์มหาปัฏฐาน


----------------------------------------------------------------

เป็นการแสนยากยิ่งที่ผู้ใดจะศึกษาโดยตรงจากคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ให้บังเกิดความเข้าใจโดยมิต้องอาศัยพระอภิธัมมัตถสังคหะซึ่งรจนาขึ้นโดยท่านอนุรทธาจารย์ให้เป็นพื้นฐานรองรับเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือในฐานะเป็นพระคันถรจนาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ อันท่านผู้ศึกษาที่มีความเข้าใจได้เหตุผลจะเว้นกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของท่านด้วยความซาบซึ้งเสียมิได้

มหาราชันย์ เขียน
ข้อความนี้ของคุณไม่เป็นความจริงครับ
พระอภิธรรมในพระไตรปิฎกมีคำศัพท์คำแปลให้พร้อมอยู้แล้วครับ มีการบ่งบอกสภาวะธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติที่ถูกต้องประกอบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเปรียบเทียบสภาวะที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากครับ ง่ายแก่การศึกษาและการปฏิบัติตามครับ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำของยากให้เป็นของง่ายไว้แล้วครับ ทรงเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ ทรงตามประทีปในที่มืด ทรงบอกทางแก่ผู้หลงทาง งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดอยู่แล้วครับ

ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ


คุณมหาราชันย์ ที่คุณอ้างว่าศึกษาพระอภิธรรม มาอย่างดีแล้ว จนตัดสินว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ ผิด

คุณมหาราชันย์ ลองช่วยย่อสรุป ตามที่ท่านพระครูศรีโชติญาณ สรุปไว้ด้านบนด้วยครับ

ท่านพระครูศรีโชติญาณ นี้ ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก ทรงพระบาลี เป็นอาจารย์สอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก

ท่านพระครูศรีโชติญาณ และ อาจารย์พระอภิธรรมท่านอื่น ๆ ก็ ไม่มีทิฏฐิ เช่นคุณเลย

อย่าได้เอาทิฏฐิ ตนเองไปเที่ยวตัดสินอะไรง่าย ๆ เลย คุณมหาราชันย์ บาปกรรมเปล่า ๆ
(ถ้าคุณย่อสภาวะธรรม องค์ธรรมไม่ได้ ก็อย่าไปตัดสินอะไรเลย)

หลวงพ่อที่สอนพระอภิธรรมแก่ผมนั้น ท่านซาบซึ้งในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก และท่านก็ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านตั้งอธิษฐานในชาติต่อไป ขอได้เกิดในเขตพุทธศาสนา ได้บวชเรียน ตั้งแต่ อายุ ๗ ขวบ ได้เรียน พระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระไตรปิฏก อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้อยเที่ยว พันเที่ยว

และผมก็ได้อธิษฐาน ขอตามไปเรียนกับท่านอีก :b8:

แต่ วาสนา บุญ บารมี จะมีพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะออกนอกทางเรื่อยเลย :b12:

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิมศักดิ์
ขออนุญาติเสริมนิดนะคะ


ถ้าคุณไม่อยากให้ใครๆตำหนิติติงคุณ ติติงครูบาฯของคุณ เช่น อจ.แนบ
คุณน่าจะเลิกติติงผู้อื่นและครูบาฯท่านอื่นๆด้วยนะคะ


สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เคยได้ยินไหมคะ กรรมมันยุติธรรมค่ะ
ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินว่า ใครทำถูกหรือผิด
กรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของการกระทำแต่ละคนต่างหาก
เป็นตัวตัดสินและให้ผลยังผู้ได้ลงมือกระทำค่ะ



คุณ วลัยพร ครับ กรรมใดอันน่าติเตียน ก็ติไปเลยครับ ให้วิจารณ์โดยอิสระ

แต่การติเตียนของท่านพุทธทาส ใน

พระพุทธเจ้า (ทรงเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ ภพภูมิต่าง ๆ เพราะพิสูจน์ไม่ได้)

พระธรรม ( พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ไม่น่าเชื่อถือ)

พระสงฆ์ ( พระอรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอนุรุทธาจารย์ ถ่ายทอดและแปลพระไตรปิฏกเถรวาท มาแบบผิด ๆ ไม่เข้าใจภาษาธรรม )

ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

ผมขอทำหน้าที่ชี้แจง ไม่ได้โกรธท่านพุทธทาสแต่อย่างใด เพียงออกมาชี้แก้ไขในสิ่งที่ท่านสอนมาแบบผิด ๆ ครับ

ส่วนวิบากกรรมใด ๆ ย่อมส่งผลตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่แล้วครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
หลวงพ่อที่สอนพระอภิธรรมแก่ผมนั้น ท่านซาบซึ้งในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก และท่านก็ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านตั้งอธิษฐานในชาติต่อไป ขอได้เกิดในเขตพุทธศาสนา ได้บวชเรียน ตั้งแต่ อายุ ๗ ขวบ ได้เรียน พระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระไตรปิฏก อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้อยเที่ยว พันเที่ยว

และผมก็ได้อธิษฐาน ขอตามไปเรียนกับท่านอีก :b8:

แต่ วาสนา บุญ บารมี จะมีพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะออกนอกทางเรื่อยเลย :b12:


อ๋อ..ชอบความยาวไกลนี้เอง..ชอบอย่างนี้..เกาะตำราได้..ก็นับว่าดีแล้วครับ :b8: :b8:

..จะมาคุยกับพวกปฎิบัติ..คุยกันไม่รู้เรื่องหรอก :b12:

คุณ Walaiporn ก็ต้องทำใจหน่อย..ละนะ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณเฉลิมศักดิ์
ขออนุญาติเสริมนิดนะคะ


ถ้าคุณไม่อยากให้ใครๆตำหนิติติงคุณ ติติงครูบาฯของคุณ เช่น อจ.แนบ
คุณน่าจะเลิกติติงผู้อื่นและครูบาฯท่านอื่นๆด้วยนะคะ


สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เคยได้ยินไหมคะ กรรมมันยุติธรรมค่ะ
ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินว่า ใครทำถูกหรือผิด
กรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของการกระทำแต่ละคนต่างหาก
เป็นตัวตัดสินและให้ผลยังผู้ได้ลงมือกระทำค่ะ



คุณ วลัยพร ครับ กรรมใดอันน่าติเตียน ก็ติไปเลยครับ ให้วิจารณ์โดยอิสระ

แต่การติเตียนของท่านพุทธทาส ใน

พระพุทธเจ้า (ทรงเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ ในเรื่อง นรก สวรรค์ ภพภูมิต่าง ๆ เพราะพิสูจน์ไม่ได้)

พระธรรม ( พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ไม่น่าเชื่อถือ)

พระสงฆ์ ( พระอรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอนุรุทธาจารย์ ถ่ายทอดและแปลพระไตรปิฏกเถรวาท มาแบบผิด ๆ ไม่เข้าใจภาษาธรรม )

ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187

ผมขอทำหน้าที่ชี้แจง ไม่ได้โกรธท่านพุทธทาสแต่อย่างใด เพียงออกมาชี้แก้ไขในสิ่งที่ท่านสอนมาแบบผิด ๆ ครับ

ส่วนวิบากกรรมใด ๆ ย่อมส่งผลตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่แล้วครับ






ไม่ว่าจะเป็นครูบาฯท่านใดๆ ในการเริ่มต้นของการปฏิบัติ
ท่านเหล่านั้น ล้วนไม่มีความแตกต่างจากเราท่านทั้งหลายหรอกค่ะ
ท่านก็เริ่มจากความไม่รู้ ก่อนที่จะมารู้


แล้วข้อความของท่านพุทธทาสนั้น ที่นำมาแปะๆกันน่ะ
เหตุจากความไม่รู้ของน้องชายท่าน ที่เลือกนำมาบางส่วนมาถ่ายทอด

ท่านพุทธทาส ท่านก็ใช้วิธีบันทึกสภาวะแต่ละสภาวะที่ท่านได้เจอและได้ผ่าน
เพียงแต่ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องสภาวะ ได้เลือกนำเอาเฉพาะส่วนที่ตัวเองอ่านแล้วเข้าใจ
นำเฉพาะส่วนนั้นมาถ่ายทอด ถ้าสภาวะที่สูงกว่าในสิ่งที่ตัวเองรู้
ตัวเองอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยไม่นำมาถ่ายทอด

เหมือนเรื่อง ฌาน ที่คุณเฉลิมศักดิ์กับเรา เคยนำมาเป็นประเด็นในการสนทนากัน
ซึ่งคุณได้นำการบันทึกของครูบาฯมาอ้างอิง

และได้มีบางส่วนที่เราได้บอกคุณไปว่า ครูบาฯท่านนั้น ท่านไม่ได้ผ่านสภาวะนั้นจริง
ท่านแค่อาศัยการศึกษาจากตำราและอนุมานคาดเดาสภาวะเอา

เราชื่นชมคุณนะ ในเรื่องการพยายามศึกษา
เพียงแต่คุณควรจะเดินสายกลาง เพื่อวิบากจะได้ลดน้อยลง

ถ้าไม่เห็นด้วยกับข้อความตรงไหน ควรจะนำหลักฐานมาอ้างอิงว่าทำไมถึงไม่เห็นด้วย
แต่ไม่ใช่มาละเมิดกัน ซึ่งมีผลทั้งการปฏิบัติและชีวิตของเรา

เป็นการก่อภพก่อชาติให้ยืดยาวออกไปเรื่อยๆ
ขึ้นชื่อว่า " อกุศลกรรม " เราอย่าทำมันสะเลยดีกว่าค่ะ

ครั้งนี้ ถือว่า พูดเรื่องนี้กับคุณเป็นครั้งสุดท้ายในเรื่องการละเมิดครูบาฯและท่านอื่นๆ
ต่อไปถ้าเห็นคุณกระทำเหมือนเดิม ก็จะไม่พูดอีกต่อไปแล้วค่ะ
เพราะในเมื่อคุณยืนยันว่า คุณยินดีเสวยวิบากกรรมนี้


chalermsak เขียน:

ส่วนวิบากกรรมใด ๆ ย่อมส่งผลตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่แล้วครับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คุณมหาราชันย์ ที่คุณอ้างว่าศึกษาพระอภิธรรม มาอย่างดีแล้ว จนตัดสินว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ ผิด

คุณมหาราชันย์ ลองช่วยย่อสรุป ตามที่ท่านพระครูศรีโชติญาณ สรุปไว้ด้านบนด้วยครับ

ท่านพระครูศรีโชติญาณ นี้ ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก ทรงพระบาลี เป็นอาจารย์สอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก

ท่านพระครูศรีโชติญาณ และ อาจารย์พระอภิธรรมท่านอื่น ๆ ก็ ไม่มีทิฏฐิ เช่นคุณเลย

อย่าได้เอาทิฏฐิ ตนเองไปเที่ยวตัดสินอะไรง่าย ๆ เลย คุณมหาราชันย์ บาปกรรมเปล่า ๆ
(ถ้าคุณย่อสภาวะธรรม องค์ธรรมไม่ได้ ก็อย่าไปตัดสินอะไรเลย)


ผมมหาราชันย์ครับ ย่อมสรุปแบบมหาราชันย์ครับไม่เลียนแบบผู้เดินทางผิดครับ
นักปราชย์เขาจะสรุปพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกดังนี้ครับ


เมื่อเราเป็นปุถุชนอยู่
ถ้ามีบุญวาสนาอินทรียแก่กล้าแล้วไซร้ ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอรหัตตมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอนาคามีมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญสกทาคามีมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญโสดาปัตติมัคคจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอากิญจัญญายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญวิญญานัญจายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอากาสานัญจายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญจตุตถฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญตติยฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญทุติยฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญปฐมฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกถึงไตรสรณคมณ์ และสมาทานศีล 5 มีกามาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

อย่างนี้จึงจะเรียกว่าสรุปครับ


ถ้าแตกฉานในพระอภิธรรมจริง บัณฑิตเขามีข้อสรุปในใจที่จะฉลาดเลือกครับคุณchalermsak
ฉลาดที่จะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นครับ


บัณฑิตย่อมแข่งกันยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นครับ ไม่แข่งกันแสดงความเขลาหรอกครับคุณchalermsak







chalermsak เขียน:
หลวงพ่อที่สอนพระอภิธรรมแก่ผมนั้น ท่านซาบซึ้งในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก และท่านก็ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านตั้งอธิษฐานในชาติต่อไป ขอได้เกิดในเขตพุทธศาสนา ได้บวชเรียน ตั้งแต่ อายุ ๗ ขวบ ได้เรียน พระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระไตรปิฏก อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้อยเที่ยว พันเที่ยว

และผมก็ได้อธิษฐาน ขอตามไปเรียนกับท่านอีก :b8:

แต่ วาสนา บุญ บารมี จะมีพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะออกนอกทางเรื่อยเลย :b12:



สรุปได้อย่างนี้ครับ


ราตรีของผู้ตื่นอยู่ นาน
โยชน์ของคนล้าแล้ว ไกล
วัฏฏะสงสารของผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ย่อมยาว




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 13:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕

[color=#0000FF]๕. พาลวรรควรรณนา

๑. เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง [๔๕]
ข้อความเบื้องต้น

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=15&p=1

พระศาสดาทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า
ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน,
โยชน์ของคนบางคนเป็นของไกล,
ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว.
เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ
ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน, โยชน์ของคนล้าแล้ว ไกล,
สงสารของคนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว. [/color]

------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
หลวงพ่อที่สอนพระอภิธรรมแก่ผมนั้น ท่านซาบซึ้งในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระอภิธรรมปิฏก และท่านก็ปรารถนาพุทธภูมิ ท่านตั้งอธิษฐานในชาติต่อไป ขอได้เกิดในเขตพุทธศาสนา ได้บวชเรียน ตั้งแต่ อายุ ๗ ขวบ ได้เรียน พระอภิธัมมัตถสังคหะ และ พระไตรปิฏก อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ร้อยเที่ยว พันเที่ยว

และผมก็ได้อธิษฐาน ขอตามไปเรียนกับท่านอีก

แต่ วาสนา บุญ บารมี จะมีพอหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะออกนอกทางเรื่อยเลย



อ้างคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน
สรุปได้อย่างนี้ครับ


ราตรีของผู้ตื่นอยู่ นาน
โยชน์ของคนล้าแล้ว ไกล
วัฏฏะสงสารของผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ย่อมยาว


--------------------------------------------------

คุณมหาราชันย์ครับ วัฏฏะสงสาร สำหรับ ผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ตามพระพุทธพจน์นั้น

คงเหมาะกับผม ผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ย่างแท้จริง สังสารวัฏ คงจะอีกยาวนานจริง ๆ ครับ

แต่สำหรับหลวงพ่อนั้น ท่านมีเป้าหมาย เพื่อปรารถนาพุทธภูมิ ครับ

"ทำไมจึงต้องอธิษฐานพุทธภูมิ ก็เพราะว่า ความที่เคยฝึกฝนเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอาไว้ในอดีตชาติปางก่อนเป็นพลังทำให้เกิดในปัจจุบันชาติที่อธิษฐานนั้นมีกำลังแก่กล้า เห็นสัตว์โลกทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเหมือนกัน ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ต้องกิน ต้องขับถ่าย ต้องดิ้นรน ต้องแก้ไขดูแล เป็นทุกข์ ในเมื่อรู้ว่าทุกอย่างเป็นทุกข์จึงมีกำลังของพรหมวิหารเข้ามาร่วมทันที เพราะว่าจะทิ้งไปโดยตามลำพังก็จะเสียประโยชน์ส่วนใหญ่ นั่นแหละคือการกระทำของผู้ที่เห็นคนอื่น มองคนอื่น ให้ความสำคัญกับคนอื่นมาก แล้วมองเห็นคุณค่าความดีของเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายแล้ว เห็นว่าเขายังมีโอกาสถ้าตนเป็นผู้ให้ นั่นคือเจตนาของผู้ที่จะหวังพุทธภูมิ ต้องมีกำลังของเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา มั่นคง "

หลวงพ่อท่านทั้งสอน พระอภิธรรม พระสูตร อรรถกถา ต่าง ๆ สอนการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อกำหนดรู้ในทุกข์ เพื่อจะได้พ้นทุกข์ ให้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ผมก็ยังไม่เห็นภัยเลยครับ

ยังมีตัณหา ทำให้เหตุให้เกิด อีกต่อไป :b12:

ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร ?

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์ แม้จะเกิดในภพภูมิของมนุษย์ก็ตาม และการเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าชีวิตในภพชาติต่อๆไป จะไม่พลาดถลำลงต่ำไปเกิดในทุคติภูมิ นอกจากบุคคลผู้นั้นได้ปฏิบัติตนเข้าถึงพระอริยสัจธรรมนำชีวิตเข้าสู่พระอริยบุคคลแล้ว เพราะว่าบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้นที่อบายภูมิจะปิดสนิทสำหรับชีวิตของท่าน และการเวียนว่ายตายเกิดที่จะมีต่อไปในสุคติภูมินั้น ย่อมมีได้ไม่เกิน ๗ ชาติ จึงนับได้ว่าพระโสดาบัน ท่านเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่สร้างหลักประกันภัยในการเวียนว่ายตายเกิดให้กับชีวิตได้แล้ว แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนทุกคนต้องยอมรับว่าอนาคตชาติในการเวียนว่ายตายเกิดของตนนั้นต้องมีต่อไปเป็นอนันตังไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปุถุชนคือบุคคลที่ยังหนาแน่นด้วยกิเลส และ กิเลส นี่เองที่เป็นตัวการ ผลักพาให้เกิดการกระทำกรรม เมื่อมีกรรมย่อมเป็นที่แน่นอนว่า วิบาก คือ รูปขันธ์ และนามขันธ์ ย่อมต้องเกิด ฉะนั้นวัฏฏะทั้งสาม คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ ที่หมุนวน ย่อมทำให้สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่อาจสิ้นสุดหยุดลงได้ และทุกภพชาติที่เกิด กำเนิดของสัตว์ย่อมวิจิตร เพราะจิตย่อมวิจิตรในการสั่งสมกรรม และกิเลส

-------------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน

ส่วนการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจอรรถธรรมจากพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกผิดได้ รู้อรรถธรรมผิดได้ครับ เมื่อเริ่มต้นผิด ย่อมไม่อาจเข้าใจปลายที่ถูกต้องได้ครับ

-----------------------------


ผมมหาราชันย์ครับ ย่อมสรุปแบบมหาราชันย์ครับไม่เลียนแบบผู้เดินทางผิดครับ
นักปราชย์เขาจะสรุปพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกดังนี้ครับ


เมื่อเราเป็นปุถุชนอยู่
ถ้ามีบุญวาสนาอินทรียแก่กล้าแล้วไซร้ ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอรหัตตมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
!
!
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกถึงไตรสรณคมณ์ และสมาทานศีล 5 มีกามาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

อย่างนี้จึงจะเรียกว่าสรุปครับ


ถ้าแตกฉานในพระอภิธรรมจริง บัณฑิตเขามีข้อสรุปในใจที่จะฉลาดเลือกครับคุณchalermsak
ฉลาดที่จะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นครับ



คุณมหาราชันย์ครับ อย่าได้เอาทิฏฐิของตนเองเป็นใหญ่ ไปตัดสิน พระไตรปิฏก อรรถกถา และคัมภีร์ ของเถรวาท ดังตัวอย่าง พระอภิธัมมัตถสังคหะสอนเป็นมิจฉาทิฏฐิเลยครับ

นี้ถ้าใครอ่านพระอภิธรรมปิฏก แล้วไม่ อธิษฐาน เหมือนคุณ ก็ถือว่า ผิดหมด หรือเปล่าเนี่ย ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณวลัยพร เขียน
แล้วข้อความของท่านพุทธทาสนั้น ที่นำมาแปะๆกันน่ะ
เหตุจากความไม่รู้ของน้องชายท่าน ที่เลือกนำมาบางส่วนมาถ่ายทอด

ท่านพุทธทาส ท่านก็ใช้วิธีบันทึกสภาวะแต่ละสภาวะที่ท่านได้เจอและได้ผ่าน
เพียงแต่ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องสภาวะ ได้เลือกนำเอาเฉพาะส่วนที่ตัวเองอ่านแล้วเข้าใจ
นำเฉพาะส่วนนั้นมาถ่ายทอด ถ้าสภาวะที่สูงกว่าในสิ่งที่ตัวเองรู้
ตัวเองอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยไม่นำมาถ่ายทอด

เหมือนเรื่อง ฌาน ที่คุณเฉลิมศักดิ์กับเรา เคยนำมาเป็นประเด็นในการสนทนากัน
ซึ่งคุณได้นำการบันทึกของครูบาฯมาอ้างอิง

และได้มีบางส่วนที่เราได้บอกคุณไปว่า ครูบาฯท่านนั้น ท่านไม่ได้ผ่านสภาวะนั้นจริง
ท่านแค่อาศัยการศึกษาจากตำราและอนุมานคาดเดาสภาวะเอา


----------------------------------------

คุณวลัยพร ครับ แล้วท่านพุทธทาส ท่านผ่านสภาวะ อะไรมาแล้วหรือครับ ?

จึงได้กล่าวตู่ พระพุทธเจ้าว่า ทรงตรัสสอน เรื่อง ภพภูมิต่าง ๆ เทวดา เปรต อสุรกาย (โอปปาติกะ) เพราะ คนในสมัยนั้นเป็นคนโง่ นับถือศาสนาพราหมณ์ เป็นส่วนใหญ่ การจะไปคัดค้านคงทำได้ยาก จึงต้องตรัสเอออวย

และคิดว่าตนเองเข้าใจภาษาธรรมดีแล้ว จึงต้องการปรับปรุงแก้ไข พระไตรปิฏก บางส่วน รวมทั้งยกเลิก อรรถกถา

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท(ชุดลอยปทุม) หน้า ๒๑ โดยท่านพุทธทาส

ดังที่พระองค์ตรัสเรียกสูตรที่ ๓ ปปาตวัคค์ สัจจสังยุตต์ว่า นรกชื่อมหาปริฬาหะ และในสูตรที่ ๒ เทวทหวัคค์ สฬายตนสังยุตต์ว่า ฉผัสสายตนิกนรก(๑๘/๑๕๘/๒๑๔)เป็นต้น ซึ่งเป็นนรกจริง หรือน่ากลัวยิ่งกว่านรกใต้ดินของพวกสัสสตทิฏฐิและในพระสูตรตอนนี้ถัดไป ได้ตรัสถึงสวรรค์ ชื่อ ฉผัสสายตนิกสวรรค์ ซึ่งเป็นสวรรค์แท้หรือสวรรค์จริงยิ่งกว่าสวรรค์บนฟ้าของพวกสัสสตทิฏฐินั่นเอง ถ้าเวทนาหรือความทุกข์นั้นเต็มไปด้วยความกลัว ก็เป็นอสุรกาย, ถ้าเต็มไปด้วยความหิวดังใจจะขาด ก็คือเปรต, โง่ก็คือสัตว์เดรัจฉาน, ทุกข์พอประมาณอย่างมนุษย์ก็เป็นมนุษย์, อร่อยด้วยกามารมณ์นานาชนิด นานาระดับ ก็คือสวรรค์ชั้นต่าง ๆ กัน, และเมื่ออิ่มอยู่ด้วยสุขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ในรูปฌาน และอรูปฌานนานาชนิด ก็คือความเป็นพรหมนานาชนิดอีกนั่นเอง, เป็นของจริงยิ่งกว่าที่กล่าวว่าจะได้ถึงต่อเมื่อเข้าโลงแล้ว, ทั้งนี้เพราะตีความหมายของคำว่า โอปปาติกะ ในพุทธศาสนาผิดไปนั่นเอง
----------------------------------------------------------------------

http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดา มีจริงหรือ ?

“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่


-----------------------------------------------------------

นี้หรือครับ คุณวลัยพร ทิฏฐิของผู้ที่ผ่าน สภาวะ หรือ พ้นแล้ว ของคุณ

อ้างคำพูด:
แล้วข้อความของท่านพุทธทาสนั้น ที่นำมาแปะๆกันน่ะ
เหตุจากความไม่รู้ของน้องชายท่าน ที่เลือกนำมาบางส่วนมาถ่ายทอด


คุณวลัยพรครับ อย่าได้กล่าวโทษน้องชายท่านหรือ ลูกศิษย์ที่เชื่อตามท่านเลยครับ แท้ที่จริงท่านก็สอนผิด ๆ แบบนี้มานานแล้วครับ

อ้างคำพูด:
เหมือนเรื่อง ฌาน ที่คุณเฉลิมศักดิ์กับเรา เคยนำมาเป็นประเด็นในการสนทนากัน
ซึ่งคุณได้นำการบันทึกของครูบาฯมาอ้างอิง


สำหรับเรื่อง ฌาน และ การเจริญวิปัสสนา นั้น

ผมก็ได้อ้างอิง จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ซึ่งผมมั่นใจว่า ผ่านสภาวะธรรมนั้น มาอย่างแท้จริง



28365.จะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องทำสมาธิ(ฌาน)ให้เกิดก่อนเท่านั้นหรือ
viewtopic.php?f=2&t=28365

ส่วนคุณวลัยพร จะอ้างว่า ผลการปฏิบัติของตนเอง ( นักปฏิบัติ) ถูกต้องกว่า ตำรา (พระไตรปิฏก อรรถกถา) ก็ระวังทิฏฐิของตนเองให้ดี นะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ตามสบายนะจ๊ะ :b12:


walaiporn เขียน:

ครั้งนี้ ถือว่า พูดเรื่องนี้กับคุณเป็นครั้งสุดท้ายในเรื่องการละเมิดครูบาฯและท่านอื่นๆ
ต่อไปถ้าเห็นคุณกระทำเหมือนเดิม ก็จะไม่พูดอีกต่อไปแล้วค่ะ
เพราะในเมื่อคุณยืนยันว่า คุณยินดีเสวยวิบากกรรมนี้[/color]

chalermsak เขียน:

ส่วนวิบากกรรมใด ๆ ย่อมส่งผลตามเหตุ ตามปัจจัยอยู่แล้วครับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ผมมหาราชันย์ครับ ย่อมสรุปแบบมหาราชันย์ครับไม่เลียนแบบผู้เดินทางผิดครับ
นักปราชย์เขาจะสรุปพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกดังนี้ครับ


เมื่อเราเป็นปุถุชนอยู่
ถ้ามีบุญวาสนาอินทรียแก่กล้าแล้วไซร้ ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอรหัตตมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอนาคามีมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญสกทาคามีมัคคจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญโสดาปัตติมัคคจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอากิญจัญญายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญวิญญานัญจายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญอากาสานัญจายตนฌานอรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญจตุตถฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญตติยฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญทุติยฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน
ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกเจริญปฐมฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

ถ้าไม่ได้อย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเลือกถึงไตรสรณคมณ์ และสมาทานศีล 5 มีกามาวจรกุศลจิตเป็นปัจจุบัน

อย่างนี้จึงจะเรียกว่าสรุปครับ


ถ้าแตกฉานในพระอภิธรรมจริง บัณฑิตเขามีข้อสรุปในใจที่จะฉลาดเลือกครับคุณchalermsak
ฉลาดที่จะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นครับ


บัณฑิตย่อมแข่งกันยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นครับ ไม่แข่งกันแสดงความเขลาหรอกครับคุณchalermsak



chalermsak เขียน:
คุณมหาราชันย์ครับ อย่าได้เอาทิฏฐิของตนเองเป็นใหญ่ ไปตัดสิน พระไตรปิฏก อรรถกถา และคัมภีร์ ของเถรวาท ดังตัวอย่าง พระอภิธัมมัตถสังคหะสอนเป็นมิจฉาทิฏฐิเลยครับ

นี้ถ้าใครอ่านพระอภิธรรมปิฏก แล้วไม่ อธิษฐาน เหมือนคุณ ก็ถือว่า ผิดหมด หรือเปล่าเนี่ย ?



สวัสดียามบ่ายครับคุณchalermsak

ข้อความทั้งหมดของผมก็ไม่มากเท่าพระอภิธรรมเลย
คุณยังไม่มีปัญญาทำความเข้าใจที่ถูกต้องได้เลย
ข้อความของผมแสดงถึงการเอาความรู้ที่คุณchalermsakอ้างว่าแตกฉานนั้นนั่นแหละ
มาลงมือทำลงมือปฏิบัติในปัจจุบันครับ ไม่ใช่ทิฏฐิครับ ไม่ใช่การร้องขอครับ
อธิษฐานในพระพุทธศาสนาหมายถึง ความมุ่งมั่นลงมือปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นในกาลปัจจุบันครับ


มีความรู้แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติตามที่รู้เลย คุณchalermsakว่าเป็นการฉลาดที่จะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นในปัจจุบันอยู่หรือเปล่าครับ ??



อ่านทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะอวดภูมิความรู้ครับ
ถ้าอาจารย์คุณเก่งจริง คุณต้องเอาคุณวิเศษของอาจารย์คุณมาอวด มาเผยแผ่ครับ

เช่นท่านปราถนาพุทธภูมิ ปัจจุบันนี้ท่านบรรลุอภิญญา 5 สมาบัติ 8

ถ้าอย่างนี้สิผู้อ่านเขาจะได้อนุโมทนาสาการด้วยครับ
ผมก็รออนุโมทนาด้วยครับ
เพราะพระโพธิสัตว์นั้นต้องประกอบด้วยองค์คุณ 8
และ 1ใน 8 นั้นได้แก่คุณคือบรรลุอภิญญา 5 สมาบัติ 8 ครับ

ยังเป็นปุถุชนอยู่แล้วบอกว่ามีปัญญาแตกฉานพระไตรปิฎก แต่ทำอะไร ปฏิบัติอะไรไม่ได้เลย ไม่ได้แม้แต่ปฐมฌานในรูปฌาน อายเขาครับ เพราะคุณภาพจิตอย่างนี้ยังเป็นกามาวจรอยู่ ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับคนไม่ได้เรียนอภิธัมมัตถสังคหะครับ

คนเก่งนั้นเขาเอาดีที่ตนทำได้มาอวดครับ
ยืนยันมาหน่อยครับว่าบรรลุฌานสมาบัติแล้ว
ผมกำลังเตรียมสาธุครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 13:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คือความวิปริตของการเสวนาธรรมอย่างยิ่ง

แทนที่จะแสดงแลกเปลี่ยนธรรมะกัน

กลับแสดงความวิปลาสกล่าวร้ายพระที่ละโลกไปแล้ว

อนาถจริงๆ

อย่างนี่เรียกว่าเป็นอกุศล

เป็นการตบหน้าชาวธรรมจักรและชาวพุทธ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร