ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=28059
หน้า 4 จากทั้งหมด 9

เจ้าของ:  อโศกะ [ 31 ธ.ค. 2009, 12:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

สัมมาสมาธิ หนุน สัมมาทิฐิ

สัมมาสติ หนุน สัมมาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะ กลับมาหนุน สัมมาสติ


ไฟล์แนป:
2.jpg
2.jpg [ 103.42 KiB | เปิดดู 4468 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 12:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

ท่านเช่นนั้นอะโป๊ะ เอาตัวเดียวพอ ลองบอกดิว่า "ปฏิจจสมุปบาท" คือ อะไร แปลว่าอย่างไร

ได้แก่อะไร เอาเลยงับบบๆ :b1: :b32:

อ้อ ...หรือไม่กล้าพูดไม่กล้าแปล ไม่กล้าแยก กลัวไม่เป็นพุทธพจน์ :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 13:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

คูคำแปล

1. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

3. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

4. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

7. เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

8.ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ

ทำลาย

9.อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว

10.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

11.ชาติ การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท

ความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

12.ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัว

ได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ

หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความ

ทุกข์ อันเป็น ของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบาย

ออกมา เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 13:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

โสกะ ความแห้งใจ

ปริเทวะ ความร่ำไร

ทุกข์ โทมนัส ความเสียใจ

อุปายาส ความผิดหวัง คับแค้นใจ


เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ในจิตสันดาน ที่เรียกว่า

อาสวะ (ซึ่งก็เป็นเชื้อของอวิชชา)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 13:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

(อาสวะ<= =>) อวิชชา => สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตนะ=>ผัสสะ=>เวทนา=>

ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ...โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส = ทุกขสมุทัย....ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ

คร่ำครวญ หวนให้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์

อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปม

ก่อปัญหาต่อๆไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฏฏะหรือวงจร ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ไม่มีเบื้องต้นเบื้อง

ปลาย

ส่วนฝ่ายดับ หรือทุกขนิโรธ ก็ดำเนินไปตามหัวข้อเช่นเดียวกันนี้

(อวิชชาดับ = วิชชา... = ทุกขนิโรธ

ไฟล์แนป:
gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 4454 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 14:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ นิยมเรียกว่า “ภวจักร” แปลว่า วงล้อแห่งภพ

หรือ สังสารจักร แปลว่า วงล้อแห่งสังสารวัฏ


อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลส คือ ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่างๆ เรียกว่า

กิเลสวัฏฏ์

สังขาร (กรรม) ภพ เป็นกรรม คือ กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิต

ให้เป็นไปต่างๆ เรียกว่า กรรมวัฏฏ์

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นวิบาก คือ สภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่ง

ของกรรม และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไปได้อีก เรียกว่า วิปากวัฏฏ์


วัฏฏะ ทั้ง ๓ นี้ หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่กัน ทำให้วงจรแห่งชีวิตดำเนินไปไม่ขาดสาย



(....เมื่อมีกิเลสอยากได้จึงทำกรรมให้ได้สิ่งนั้นมาเสพเสวย ได้รับวิบาก คือ เวทนาที่เป็นสุข

จึงเกิดกิเลสอยากได้ยิ่งขึ้นไป แล้วทำกรรมและได้รับวิบากต่อไปอีก

หรือ เมื่ออยากได้ และทำกรรมให้ได้มาแต่ไม่สมใจ ได้วิบากคือเวทนาที่เป็นทุกข์

ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะ จึงทำกรรมแล้วได้รับวิบากไปอีกแบบหนึ่ง ฯลฯ)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 31 ธ.ค. 2009, 20:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

อาสวะ แปล ตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว หรือ อีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมม หรือหมักดอง

หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ไหลซ่านไปอาบย้อมจิตใจ

เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด

อาสวะเหล่านี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพล ย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา และ ความนึกคิดนั้นๆ

แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้

ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์ ก่อปัญหาเรื่อยไป

อาสวะอย่าง

ที่ 1 เรียกว่า กามาสวะ (กาม+อาสวะ)

ที่ 2 เรียกว่า ภวาสวะ (ภว+อาสวะ)

ที่ 3 เรียกว่า ทิฏฐาสวะ (ทิฏฐิ+อาสวะ)

ที่ 4 เรียกว่า อวิชชาสวะ (อวิชชา+อาสวะ)

อาสวะต่างๆ เหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์บุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด

มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาขั้นพื้นฐานที่สุด

แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว

เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิด แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชา ด้วยสังขาร ที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น

เจ้าของ:  อโศกะ [ 04 ม.ค. 2010, 10:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

tongue
อนุโมทนาสาธุกับเมตตา มหากุศลจิตของท่านกรัชกาย ที่กรุณามาขยายความปฏิจจสมุปบาท สู่ชาวลานธรรมจักรและชาวโลกได้รู้ได้ฟังครับ
tongue
onion onion onion onion

ไฟล์แนป:
bluetit5_jpg_resize.jpg
bluetit5_jpg_resize.jpg [ 69.93 KiB | เปิดดู 4401 ครั้ง ]

เจ้าของ:  อโศกะ [ 10 ม.ค. 2010, 08:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

tongue
ดูปฏิจจสมุปบาทอีกรูปหนึ่งครับ

ไฟล์แนป:
.jpg
.jpg [ 90.85 KiB | เปิดดู 4394 ครั้ง ]

เจ้าของ:  อโศกะ [ 10 ม.ค. 2010, 08:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

tongue

แล้วนี่ก็อีกรูปหนึ่ง จาก portee.in.th ครับ

ไฟล์แนป:
.jpg
.jpg [ 78.05 KiB | เปิดดู 4392 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 ม.ค. 2010, 08:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

ด้วยความเคารพ ขออนุญาตถามคุณอโศกะหน่อยครับ เพราะยังกำกวมที่ว่า

ปฏิจจสมุปบาท

เหตุ ปัจจัยแห่งการเวียนว่าย และทางออก


เช่น "เวียนว่าย" (บอกว่าเวียนว่ายในอะไร หรือ ออกไปจากการเวียนว่ายในอะไรประมาณเนี่ยครับ เอาชัดๆ โดยไม่ต้องตีความ)

และคำว่า "ทางออก" หมายถึงอะไรครับ คือ ออกจากอะไรแลว้ไปไหน

ด้วยความเคารพ

เจ้าของ:  เอรากอน [ 10 ม.ค. 2010, 09:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

กรัชกาย เขียน:
ด้วยความเคารพ ขออนุญาตถามคุณอโศกะหน่อยครับ เพราะยังกำกวมที่ว่า

ปฏิจจสมุปบาท

เหตุ ปัจจัยแห่งการเวียนว่าย และทางออก


เช่น "เวียนว่าย" (บอกว่าเวียนว่ายในอะไร หรือ ออกไปจากการเวียนว่ายในอะไรประมาณเนี่ยครับ เอาชัดๆ โดยไม่ต้องตีความ)

และคำว่า "ทางออก" หมายถึงอะไรครับ คือ ออกจากอะไรแลว้ไปไหน

ด้วยความเคารพ


จานป้อ... จานป้อ... จานป้อ วันนี้ขี้เกี้ยมสงสัย... s006
สงสัยว่า....
เมื่อเรารู้ ปฏิจจ....แล้ว เข้าใจความหมายตามที่อธิบายแล้ว...
แล้วเราจะ... ได้รับผล...ตามที่เราเข้าใจว่าเราจะต้องได้รับผลตามที่เข้าใจแล้วนั้นโดยทันทีรึเปล่า...
หรือจริง ๆ แล้ว... เราต้องเอาความเข้าใจที่เราเข้าใจแล้วนั้น...
มาลงมือปฏิบัติ...จน...จน...จน...จนกว่า... จนกว่า... จนกว่า...
จนกว่าอะไรหว๋า... ใช้คำพูดไม่ถูก...หง่ะ เหมือนกับว่าจนกว่าจะเป็นการรู้ ไม่ใช่ความรู้...หง่ะ

หงุ หงิ หงุ หงิ แบบว่า...สงสัยเป็น แต่ตั้งคำถามไม่ค่อยเป็น...หง่ะ

s004 s004 s004

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 ม.ค. 2010, 09:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

รู้ เข้าใจ เข้าถึง หมดความสงสัย มีศรัทธายิ่งกว่าศรัทธา = ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ

= อัสสัทธา

หลักศรัทธาและอัสสัทธาที่

viewtopic.php?f=7&t=28007

ไฟล์แนป:
1%20(510).gif
1%20(510).gif [ 67.65 KiB | เปิดดู 4368 ครั้ง ]

เจ้าของ:  mes [ 10 ม.ค. 2010, 15:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

ถามท่านเช่นนั้น

ที่ว่าขณะจิตเดียวเป็นอย่างไร

นานแค่ไหน ใช้เวลาอะไรเทียบ

และจิตที่ว่าเป็นรูปธรรมอย่างไร เป็นต้นว่า เป็นพลังงาน หรือวัตถุ

ถ้าไม่เป็นตัวตนประกอบด้วยอะไร

และเมื่อไร้ร่างกายมีแต่จิต จะเกิดเวทนา สัญญา ยังขาร อย่างไร

เมื่อขาดอายตนะจะรับรู้ทางใด หรือจิตรับรู้ได้เอง

ถ้าเป็นเช่นนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งสอนมาผิด

วานท่านชี้แจงให้ความรู้แก่ผู้น้อยด้วยเทอญ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 10 ม.ค. 2010, 21:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาปฏิจจสมุปบาทด้วยภาพ

สวัสดี คุณ mes

การทำความเข้าใจ ปฏิจจสมุปปาท เกี่ยวกับเหตุปัจจัยของธรรม

ปฏิจจสมุปปาท ไม่ใช่การอธิบาย เหตุปัจจัยขององค์ธรรมโดยลำดับแห่งกาล ว่าอันไหนเกิดก่อนเกิดหลังโดยลำดับกาลเวลา

แต่ปฏิจสมุปปาท อธิบายความเป็นเหตุเป็นปัจจัยขององค์ธรรม

จิตแต่ละขณะ ไม่ว่าจะเกิดดับรวดเร็วเท่าไหร่ก็ตาม เจตสิกธรรมที่เกิดร่วมเกิดพร้อมไปกับจิต ก็อธิบายโดยความเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เช่น ตราบใดที่ยังไม่สิ้นตัณหา จิตขณะที่ยังไม่สิ้นตัณหา ย่อมเป็นทุกข์
ปฏิจสมุปปาท ย่อมอธิบายถึงเหตุปัจจัย อันเกิดเป็นทุกข์ของจิตดวงนั้น

การคิดเองเออเองว่า มีการตัดวงจร ของปฏิจจสมุปปาทในระหว่าง ย่อมเป็นความเพ้อเจ้อของนักคิดที่มองปฏิจสมุปปาท โดยลำดับแห่งกาลเวลา

เจริญธรรม

หน้า 4 จากทั้งหมด 9 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/