วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b30: :b30:

รอผู้มาแสดงความเห็น

:b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 23:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 11:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ พอดีตอนที่ตั้งกระทู้
ใจระลึกไปถึง สิ่งนี้น่ะ แต่นึกคำพูดไม่ออก
อิอิ
แต่ หลับไปคืนหนึ่ง ตื่นมาก็หยิบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา
พอกรีดแบบเร็ว ๆ ก็ไปหยุดที่นี่น่ะ


Quote Tipitaka:
สิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป
ภิกษุ ท.! ธรรมสี่อย่างเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ตถาคตไม่ต้องสำรวมรักษา (ด้วยเจตนางดเว้นอีกต่อไป). สี่อย่างเหล่าไหนเล่า?

(๑) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางกาย บริสุทธิ์สะอาด, กายทุจริตที่ตถาคตต้องรักษา (คือปิดบัง) ว่า "ใครๆ อื่น อย่าล่วงรู้ถึงกายทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

(๒) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางวาจา บริสุทธิ์สะอาด, วจีทุจริตที่ตถาคตต้องรักษาว่า "ใครๆ อื่นอย่าล่วงรู้ถึงวจีทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

(๓) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีมรรยาททางใจ บริสุทธิ์สะอาด, มโนทุจริตที่ตถาคตต้องรักษาว่า "ใครๆ อื่นอย่าล่วงรู้ถึงมโนทุจริตข้อนี้ของเรา" ดังนี้ย่อไม่มีแก่ตถาคต.

(๔) ภิกษุ ท.! ตถาคต มีการเลี้ยงชีพ บริสุทธิ์สะอาด, มิจฉาชีพที่ตถาคตต้องรักษาว่า "ใครๆ อื่น อย่าล่วงรู้ถึงมิจฉาชีพข้อนี้ของเรา" ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคตเลย.

บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.


http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... /3-27.html

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทรงทราบทิฏฐิวัตถุที่ลึกซึ้ง(ทิฏฐิ ๖๒)


ภิกษุ ท .! มีธรรมที่ลึก ที่สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม
เป็นธรรมเงียบสงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็น
ของละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย, ซึ่งเราตถาคตได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง,เป็นคุณวุฒิเครื่องนำไปสรรเสริญ ของผู้ที่เมื่อจะพูด
สรรเสริญเราตถาคตให้ถูกต้องตรงตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่านั้นเป็น
อย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ฯลฯ (ต่าง
ก็บัญญัติ):

๑. เพราะระลึกชาติของตนเองได้หลายแสนชาติ จึงบัญญัติตนและโลกว่า เที่ยงทุกอย่าง.
๒. เพราะ ,, ,, ๑๐ สังวัฏฏกัปป์-วิวัฏฏกัปป์ (เป็นอย่างสูง) ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง.
๓. เพราะ ,, ,, ๔๐ ,, ,, ( ,, ) ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง.
๔. เพราะอาศัยความตริตรึกเสมอ แล้วคะเนเอา ,, ,, เที่ยงทุกอย่าง
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกสัสสตวาม - เที่ยงทุกอย่าง)
๖. เพราะ “ “ เคยเป็นเทพพวกขิฑฑาปโทสิกา “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
๗. เพราะ “ “ มโนปโทสิกา “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
๘. เพราะอาศัยความตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคะเนเอาเอง “ “ เที่ยงแต่บางอย่าง.
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเอกัจจสัสสตวาท - เที่ยงแต่บางอย่าง)
๙. เพราะอาศัยความเพียรบางอย่างบรรลุเจโตสมาธิ ทำความมั่นใจแล้วบัญญัติตนและโลกว่ามีที่สุด.
๑๐. เพราะ “ “ “ ไม่มีที่สุด.
๑๑. เพราะ “ “ “ มีที่สุดบางด้าน, ไม่มีบางด้าน.
๑๒. เพราะอาศัยความหลงใหลของตนเองแล้วบัญญัติส่ายวาจาว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่เชิง.
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอันตานันติกวาท - เกี่ยวด้วยมีที่สุดและไม่มีที่สุด)
๑๓. เพราะกลัวมุสาวาท จึงส่ายวาจา พูดคำที่ไม่ตายตัว แล้วบัญญัติว่า ข้าพเจ้าเห็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่,
--อย่างนี้ก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เกี่ยวด้วยกุศล, อกุศล).
๑๔. เพราะกลัวอุปาทาน “ “ ฯลฯ “ “ “
๑๕. เพราะกลัวการถูกซักไซ้ “ “ ฯลฯ “ “ “
๑๖. เพราะหลงใหลฟั่นเฟือนในใจเอง จึงส่ายวาจาไม่ให้ตายตัว (เกี่ยวกับโลกิยทิฏฐิ เช่น
--โลกหน้ามี ฯลฯ ผลกรรมมี เป็นต้น).
(๔ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอมราวิกเขปิกวาท - พูดไม่ให้ตายตัว)
๑๗. เพราะระลึกได้เพียงชาติที่ตนเคยเป็นอสัญญีสัตว์ แล้วต้องจุติเพราะสัญญาเกิดขึ้น--
--จึงบัญญัติตนและโลกว่า เกิดเองลอย ๆ.
๑๘. เพราะอาศัยการตริตรึกอยู่เสมอ แล้วคาดคะเนเอา “ “ เกิดเองลอย ๆ.
(๒ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอธิจจสมุปปันนิกวาท - เกิดเองลอย ๆ )

(ทั้ง ๕ หมวด มีรวมทั้งหมด ๑๘ ทิฏฐิ ข้างบนนี้ จัดเป็นพวกปรารภขันธ์ในอดีตกาล)
๑๙. บัญญัติอัตตาว่า อัตตาที่มีรูป, เป็นอัตตตาที่ไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา.
๒๐. “ “ ที่ไม่มีรูป “ “ “ มีสัญญา.
๒๑. “ “ ที่มีรูปและไม่มีรูป “ “ “ มีสัญญา.
๒๒. “ “ ที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ “ “ “ มีสัญญา.
๒๓. “ “ ที่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๔. “ “ ที่ไม่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๕. “ “ ที่มีที่สุดและที่ไม่มีที่สุด “ “ “ มีสัญญา.
๒๖. “ “ ที่มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ มีสัญญา

๒๗. บัญญัติอัตตาว่า อัตตามีสัญญาเดียวกัน, เป็นอัตตาไม่มีโรค หลังจากตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญา.
๒๘. “ “ ที่มีสัญญาต่างกัน “ “ “ มีสัญญา.
๒๙. “ “ ที่มีสัญญาน้อย “ “ “ มีสัญญา.
๓๐. “ “ ที่มีสัญญามากไม่มีประมาณ “ “ “ มีสัญญา.
๓๑. “ “ ที่มีสุขอย่างเดียว “ “ “ มีสัญญา.
๓๒. “ “ ที่มีทุกข์อย่างเดียว “ “ “ มีสัญญา.
๓๓. . “ “ ที่ทั้งมีสุขและทุกข์ “ “ “ มีสัญญา.
๓๔. “ “ ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข “ “ “ มีสัญญา.
(๑๖ อย่างข้างบนนี้ เป็นพวกสัญญีวาท - มีสัญญา)
๓๕. บัญญัติอัตตาว่า อัตตาที่ มีรูป, เป็นอัตตาไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์ ไม่มีสัญญา.
๓๖. “ “ ไม่มีรูป “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๗. “ “ มีรูปและไม่มีรูป “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๘. “ “ มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๓๙. “ “ มีที่สุด “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๐. “ “ ไม่มีที่สุด. “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๑. “ “ มีที่สุดและไม่มีที่สุด “ “ “ ไม่มีสัญญา.
๔๒. “ “ มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ “ ไม่มีสัญญา.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอสัญญีวาท - ไม่มีสัญญา)
๔๓. ฯลฯ อัตตาที่มีรูป เป็นอัตตาไม่มีโรค ตายแล้ว เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๔. “ ไม่มีรูป “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๕. “ มีรูปและไม่มีรูป “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๖. “ มีรูปก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๗. “ มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๘. “ ไม่มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๔๙. “ มีที่สุดและไม่มีที่สุด “ “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
๕๐. “ มีที่สุดก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ” “ มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่.
(๘ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท - มีสัญญาก็ไม่เชิง)
๕๑. บัญญัติว่า กายที่เกิดด้วยมหาภูตรูป ตายแล้วขาดสูญ.
๕๒. “ กายทิพย์ พวกกามาวจร ตายแล้วขาดสูญ.
๕๓. “ “ พวกสำเร็จด้วยใจคิด ตายแล้วขาดสูญ.
๕๔. “ สัตว์พวก อากาสานัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๕. “ “ วิญญาณัญจายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๖. บัญญัติว่า สัตว์พวก อากิญจัญญายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
๕๗. “ “ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตายแล้วขาดสูญ.
(๗ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกอุจเฉทวาท - ตายแล้วสูญ)
๕๘. บัญญัติว่า ความอิ่มเอิบด้วยกามคุณห้า เป็น นิพพานในปัจจุบัน.ชาติ
๕๙. “ ความสุขของ ปฐมฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๐ “ “ ทุติยฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๑. “ “ ตติยฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
๖๒. “ “ จตุตถฌาน เป็น นิพพานในปัจจุบันชาติ.
(๕ อย่างข้างบนนี้ เป็น พวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท - นิพพานในปัจจุบัน)
[ทั้ง ๕ หมวดมีรวมทั้งหมดอีก ๔๔ ทิฏฐิข้างบนนี้ เป็นพวกปรารถขันธ์ในอนาคตกาล]

ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์ก็ดี เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
ส่วนอนาคตก็ดี หรือทั้งอดีตอนาคตก็ดี มีความเห็นดิ่งเป็นส่วนหนึ่งแล้ว กล่าว
คำแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ประการ, ทั้งหมดทุกเหล่า ย่อมกล่าวเพราะอาศัยวัตถุใด
วัตถุหนึ่ง ในวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ ไม่นอกจากนี้ไปได้เลย--- เขาเหล่านั้น ถูกวัตถุ
๖๒ อย่างนี้ครอบทับทำให้เป็นเหมือนปลาติดอยู่ในอวน ถูกแวดล้อมให้อยู่ได้เฉพาะ
ภายในวงนี้ เมื่อผุด ก็ผุดได้ในวงนี้ เช่นเดียวกับนายประมง หรือลูกมือนายประมง
ผู้ฉลาด ทอดครอบห้วงน้ำน้อยทั้งหมดด้วยอวนโดยตั้งใจว่า สัตว์ตัวใหญ่ทุก ๆ ตัว
ในห้วงน้ำนี้ เราจักทำให้อยู่ภายในอวนทุกตัว ฯลฯ ฉะนั้น.

ภิกษุ ท.! เราตถาคตรู้ชัดวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ชัดเจนว่า มันเป็นฐานที่ตั้ง
ของทิฏฐิ, ซึ่งเมื่อใครจับไว้ ถือไว้อย่างนั้น ๆ แล้ว, ย่อมมีคติ มีภพเบื้องหน้า
เป็นอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้เห็นเหตุนั้นชัดเจนยิ่งกว่าชัด, เพราะรู้ชัดจึงไม่ยึดมั่น,
เพราะไม่ยึดมั่นย่อมสงบเยือกเย็นในภายในเฉพาะตน, เพราะเป็นผู้รู้แจ้งความเกิด
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งยั่วใจ ความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นไปได้
แห่งเวทนาทั้งหลาย ตถาคตจึงเป็นผู้หลุดพ้น ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.


บาลี สี.ที. ๙/๑๖/๒๖. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่สวนอัมพลัฏฐิกา.

ทิฏฐิวัตถุ คือต้นเหตุเดิมอันจะให้เกิดทิฏฐิต่าง ๆ ขึ้น มีอยู่ ๖๒ วัตถุ. แต่เรา เรียกกันว่าทิฏฐิ ๖๒ เฉย ๆ.
ในที่นี้ย่อเอามาแต่ใจความ จากพรหมชาลสูตร สี.ที.


http://www.pobbuddha.com/tripitaka/uplo ... index.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg12206


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 13:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถยานิก วิปสฺสนายานิก
เป็นไปแล้วโดยสองส่วนๆ ด้วยความอ่อนและความเฉียบแหลม.

:b6: เอกอนเป็น เวไนยสัตว์ ดังนั้น ศึกษาได้ ศึกษาได้

:b17: :b17: :b17:

:b6: ขึ้นสังเวียนมาเป็น คู่ :b6:

rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 14:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
....
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สุขํ เวทนํ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุขํ เวทนํ สุขเวทนา ได้แก่ สุขเวทนาทางกายหรือทางจิต.
ทุกขเวทนาก็อย่างนั้น.
ส่วนบทว่า อทุกฺขมสุขํ เวทนํ ได้แก่ อุเบกขาเวทนาทางจิตเท่านั้น.

บทว่า สามิสํ สุขํ เวทนํ สุขเวทนาเจืออามิส คือโสมนัสเวทนา อาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ สุขํ เวทนํ สุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่โสมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทว่า สามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ ทุกขเวทนาเจืออามิส ได้แก่โทมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ ทุกขํ เวทนํ ทุกขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่โทมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทว่า สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส ได้แก่อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖.
บทว่า นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส ได้แก่อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
บทมีอาทิว่า สราคํ จิตฺตํ จิตมีราคะมีอรรถดังกล่าวแล้วในญาณกถา.

บทว่า ตทวเสเส ธมฺเม ในธรรมที่เหลือจากนั้น คือในธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือจากกาย เวทนาและจิตเท่านั้น.
อนึ่ง ในบททั้งปวงบทว่า เตน ญาเณน คือ ด้วยอนุปัสสนาญาณ ๗ อย่างนั้น.
อนึ่ง บทเหล่าใดมีอรรถมิได้กล่าวไว้ในระหว่างๆ ในกถานี้ บทเหล่านั้นมีอรรถดังได้กล่าวแล้วในกถานั้นๆ ในหนหลังนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสติปัฏฐานกถา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 14:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุ ท.! สมณะหรือพราหมณ์ก็ดี เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
ส่วนอนาคตก็ดี หรือทั้งอดีตอนาคตก็ดี มีความเห็นดิ่งเป็นส่วนหนึ่งแล้ว กล่าว
คำแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ประการ, ทั้งหมดทุกเหล่า ย่อมกล่าวเพราะอาศัยวัตถุใด
วัตถุหนึ่ง ในวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ ไม่นอกจากนี้ไปได้เลย
--- เขาเหล่านั้น ถูกวัตถุ
๖๒ อย่างนี้ครอบทับทำให้เป็นเหมือนปลาติดอยู่ในอวน ถูกแวดล้อมให้อยู่ได้เฉพาะ
ภายในวงนี้ เมื่อผุด ก็ผุดได้ในวงนี้ เช่นเดียวกับนายประมง หรือลูกมือนายประมง
ผู้ฉลาด ทอดครอบห้วงน้ำน้อยทั้งหมดด้วยอวนโดยตั้งใจว่า สัตว์ตัวใหญ่ทุก ๆ ตัว
ในห้วงน้ำนี้ เราจักทำให้อยู่ภายในอวนทุกตัว ฯลฯ ฉะนั้น.

ภิกษุ ท.! เราตถาคตรู้ชัดวัตถุ ๖๒ อย่างนี้ชัดเจนว่า มันเป็นฐานที่ตั้ง
ของทิฏฐิ, ซึ่งเมื่อใครจับไว้ ถือไว้อย่างนั้น ๆ แล้ว, ย่อมมีคติ มีภพเบื้องหน้า
เป็นอย่างนั้น ๆ ตถาคตรู้เห็นเหตุนั้นชัดเจนยิ่งกว่าชัด, เพราะรู้ชัดจึงไม่ยึดมั่น,
เพราะไม่ยึดมั่นย่อมสงบเยือกเย็นในภายในเฉพาะตน, เพราะเป็นผู้รู้แจ้งความเกิด
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ความเป็นสิ่งยั่วใจ ความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นไปได้
แห่งเวทนาทั้งหลาย ตถาคตจึงเป็นผู้หลุดพ้น ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.



บาลี สี.ที. ๙/๑๖/๒๖. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่สวนอัมพลัฏฐิกา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 14:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
เพราะเพื่อเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ เพราะเมื่อตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถยานิก วิปสฺสนายานิก
เป็นไปแล้วโดยสองส่วนๆ ด้วยความอ่อนและความเฉียบแหลม.

:b6: เอกอนเป็น เวไนยสัตว์ ดังนั้น ศึกษาได้ ศึกษาได้

:b17: :b17: :b17:

:b6: ขึ้นสังเวียนมาเป็น คู่ :b6:

rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 14:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วย

อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท

เพราะถึงแล้วซึ่งคำตอบที่
จิตไม่น้อมไปใน ทิฐิ ใด ๆ คร๊าบบบบบบป๋ม


rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย บ่นอะไร? :b6: :b6:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 17:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย บ่นอะไร? :b6: :b6:


:b12:

ไม่รู้ แต่รู้สึกถึงโยงใย
มันเห็นเคล้าร่าง แต่อธิบายไม่ถูก

เช่นว่า
ตัณหา - ทิฏฐิ
สมถะ -วิปัสสนา

วิปัสสนา ไม่ใช่สิ่งที่จะใช้หยุด ตัณหาได้
สมถะ ไม่ใช่สิ่งที่จะใช้แทงทิฏฐิ ออกไปได้ หง่ะ

ต้องใช้ สมถะ เข้ามาเพื่อต่อกรกับ ตัณหา
และ ใช้ วิปัสสนาเข้ามา เมื่อตัณหาถูกสมถะจับไว้อยู่มือแล้ว
ก็ใช้วิปัสสนา เข้ามาเพื่อทำให้เห็นชัดในทิฏฐิ
แล้ว จะเห็น การตัดหัวฉับ หง่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย บ่นอะไร? :b6: :b6:


:b12:

ไม่รู้ แต่รู้สึกถึงโยงใย
มันเห็นเคล้าร่าง แต่อธิบายไม่ถูก

เช่นว่า
ตัณหา - ทิฏฐิ
สมถะ -วิปัสสนา

วิปัสสนา ไม่ใช่สิ่งที่จะใช้หยุด ตัณหาได้
สมถะ ไม่ใช่สิ่งที่จะใช้แทงทิฏฐิ ออกไปได้ หง่ะ

ต้องใช้ สมถะ เข้ามาเพื่อต่อกรกับ ตัณหา
และ ใช้ วิปัสสนาเข้ามา เมื่อตัณหาถูกสมถะจับไว้อยู่มือแล้ว
ก็ใช้วิปัสสนา เข้ามาเพื่อทำให้เห็นชัดในทิฏฐิ
แล้ว จะเห็น การตัดหัวฉับ หง่ะ


สมถะ และวิปัสสนา ทำงานกันด้วยกัน คนละหน้าที่ และเกื้อกูลกันจ้ะ
สมถะ ถอนจิตออกจาก ความกำหนัดยินดี
วิปัสสนา ทำให้จิตรู้แจ้งแทงตลอด ดับอวิชชา

การปฏิบัติโดยมรรคมีองค์ 8 จึงเป็นสัมมาปฏิปทา เพรียบพร้อมทั้ง สมถะและวิปัสสนา ถึงจะทำให้จิตวิมุตติหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารได้จ้ะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

การปฏิบัติโดยมรรคมีองค์ 8 จึงเป็นสัมมาปฏิปทา เพรียบพร้อมทั้ง สมถะและวิปัสสนา ถึงจะทำให้จิตวิมุตติหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารได้จ้ะ



การปฏิบัติโดยมรรคมีองค์ 8

ท่านเช่นนั้นบอกเขาด้วยดิว่า "การปฏิบัติโดยมรรคมีองค์ 8" น่ะทำยังไง :b1: ให้เขาเริ่มต้นตรงไหนยังไงปฏิบัติโดยมรรคมีองค์ 8 อะไรนั่นน่า :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2011, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย บ่นอะไร? :b6: :b6:


และยังเห็นเคล้าร่างว่า การอาการต่าง ๆ ที่คนเรานั้นยังติดอยู่ หง่ะ
ความโยงใยของธรรมต่าง ๆ
ทิฎฐิ
เรือน 6
ฌาณ
ทำให้ผู้ปฏิบัติต่างมีความเห็นในธรรมต่างกัน และแสดงความน้อมไปในธรรมต่างกัน
เมื่อมาสนทนากัน ก็สนทนากันไปตามความเห็นของตน
แต่สำหรับผู้ที่เป็น สมถะ-วิปัสสนาจารย์ที่ทรงภูมิธรรมครบถ้วนอย่างแท้จริง
จะมองเห็น ธรรม ความยึด ความน้อม ความยังติดอยู่ในธรรม

และจริง ๆ แล้ว ทุกความยึดติด ความน้อมไปในธรรม ทุกอย่าง ล้วนแก้ไขได้
เพราะมันมีธรรมที่เป็นคู่ปรับกันอยู่ ที่จะแก้กันเป็นจุด ๆ ตามระดับ ตามความเหมาะสม
ถ้าผู้เป็น สมถะ-วิปัสสนาจารย์ที่ทรงภูมิธรรมอย่างแท้จริงแล้ว
ย่อมเห็นชัดในโครงสร้างจิตอันเป็นไปทั้งหมด
และ เมื่อเห็นอาการของศิษย์ ย่อมรู้อาการของศิษย์ว่ายังติดอยู่ที่ ทิฏฐิใด อย่างไร
และ จะแก้ด้วยการเจริญองค์ธรรมอย่างไร หง่ะ

คือ เอกอนเห็นเคล้าร่างเช่นนั้น ปรากฎโยงใยขึ้นลาง ๆ
จากพระสูตรต่าง ๆ ที่หยิบมา แต่ยังเห็นไม่ชัดเจน หง่ะ
และยังอธิบายไม่ถุกด้วย ก็เลย บ่นมุมมิบ มุมมิบ ไปพลาง ๆ ก่องงง หง่ะ

เพราะเอกอนก็มีปัญญาเพียงกระจิ๊ดริด
ก็ต้องอาศัยหลาย ๆ ท่านที่มีความรู้ทางธรรมมากกว่าเอกอน
เมื่อใครผ่านมา แล้วเห็นแง่ที่โยงใยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้นได้
และนำไปกล่าวอย่างมีความชัดเจนขึ้นได้ ก็จะเป็นประโยชน์ หง่ะ

:b41: :b41: :b41:

อยากให้มี สมถะ-วิปัสสนาจารย์ ผู้ชาญฉลาด ผู้มีภูมิธรรมชัดแจ้งปรากฎขึ้นเยอะ ๆ น่ะ
:b8:
ถ้าเป็นเช่นนั้นได้ นักปฏิบัติชาวพุทธเป็นจำนวนมาก จะได้รับประโยชน์
และจะได้ช่วยเหลือกัน และช่วยเหลือเพื่อน ๆ เวไนยสัตว์ ได้อีกเป็นจำนวนมาก
ผู้ปฏิบัติแม้จะต่างแหล่งที่มา ต่างสำนัก
แต่ถ้าความเห็นในธรรมมีความชัดเจนมากขึ้น และโนม้ไปในทางเดียวกัน
ตรงสู่ความรู้แจ้งในสัจจธรรม ตรงสู่ความหลุดพ้น
ผู้ปฏิบัติแม้จะต่างสำนักกัน แต่ต่างก็ไม่เป็นอุปสรรค์ขวางทางแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หง่ะ

:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณ ลานธรรม(ในทุก ๆ ลาน)ดี ๆ ที่ทำให้นักปฏิบัติได้มาชุมนุมแลกเปลี่ยน
ปรับกระบวนธรรมให้ซึ่งกันและกัน
:b8: :b8: :b8:



แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร