ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ฌาณ น่ากลัวหรือ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=28043
หน้า 2 จากทั้งหมด 9

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 27 ธ.ค. 2009, 22:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑

โรหิตัสสวรรคที่ ๕
สมาธิสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน





สมาธิภาวนาประเภทที่1นี้ น่าจะเป็น จุดที่สนทนากัน



ขอเสนอ บทธรรม ที่บรรยาย ประเด็นนี้ เอาไว้อย่างชัดเจน


บางส่วน จาก

วิธีตั้งจิตให้สงบเป็นสมาธิ

โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔


ๆลๆ

ทีนี้เวลามันสงบลงไป ถอนขึ้นมา หลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคง ภายในตัวของมันขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

จากความสงบที่สั่งสมกำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อยๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแน่นหนามั่นคง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

เวลาสงบแล้วถอนขึ้นมาๆ นั้นเรียกว่าจิตสงบ หรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมาไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋งๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น

พอจิตเป็นสมาธิ มีความสงบ มันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่างๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ

จิตขั้นนี้ เวลามันสงบมีกำลังมากๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิด การปรุงต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่วมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่า เป็นความสะดวกสบาย ไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิ จึงมักติดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี

เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้ว จะติดได้

ทีนี้ พอจิตมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว มันอิ่มอารมณ์แล้วที่นี่ เมื่อจิตอิ่มอารมณ์แล้ว พาออกทางด้านปัญญา

ถ้าจิตไม่อิ่มอารมณ์ ยังหิวอารมณ์อยู่แล้ว ออกทางด้านปัญญา จะเป็นสัญญาไปเรื่อยๆ คาดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ กลายเป็นสมุทัยไปหมด เลยไม่เป็นปัญญาให้

เพราะฉะนั้น ท่านถึงสอนให้อบรมทางสมาธิเสียก่อน
สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา คือสมาธิมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว สมาธิมีความอิ่มตัวแล้ว ก็หนุนปัญญาได้ พิจารณาทางด้านปัญญาก็คล่องตัวๆ เป็นปัญญาจริงๆ ไม่ได้เป็นสัญญาอารมณ์ เพราะจิตอิ่มอารมณ์แล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ยกเอาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก กระทั่งถึงร่างกายทุกสัดทุกส่วน ให้เป็นเหมือนไฟได้เชื้อ เชื้อนั้นคือร่างกายทุกส่วนนี้แล ไฟคือสติปัญญา ตปธรรม หนุนเข้าไปพิจารณาเข้าไป

ๆลๆ


นี่การพิจารณาภาวนา เบื้องต้นก็อย่างที่พูดให้ฟังแล้ว ต้องตั้งจิตตั้งใจเอาให้จริงจัง

ถ้าว่าบริกรรมก็เอาให้จริงแล้วจะเข้าสู่ความสงบ
จากความสงบแล้วเข้าเป็นสมาธิ
จากสมาธิแล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา เป็นขั้นเป็นตอน เป็นเวล่ำเวลา


เวลาที่มันหมุนทางด้านปัญญานี้ มันหมุนจริงๆ นะจนไม่มีวันมีคืน ต้องพัก จิตอันนี้ถึงขั้นมันหมุนติ้วเสียจริงๆ แล้วเจ้าของเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะสังขาร ปัญญาเอาสังขารความปรุงนี้ออกใช้ แต่เป็นความปรุงฝ่ายมรรค ไม่ได้เหมือนความปรุงของกิเลสที่เป็นฝ่ายสมุทัย

เมื่อทำงานมากๆ มันก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ให้เข้าพักสมาธิเข้าสู่ความสงบ อย่ายุ่งเวลานั้น บังคับเข้าให้ได้ มันเพลินนะ จิตเวลาถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมเข้าพักสมาธิ มันเห็นสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ

ปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส แล้วการฆ่ากิเลสไม่รู้จักประมาณ มันก็เป็นสมุทัยอีกเหมือนกัน ไม่รู้จักประมาณ เพราะฉะนั้นจึงเวลาเข้าพักให้เข้าพัก พักความสงบของจิต ถ้ามันพักไม่ได้จริงๆ ก็อย่างที่ผมเคยพูดให้ฟัง เอาพุทโธบริกรรมเลยก็มี ผมเคยเป็นแล้วนะ มันไม่ยอมจะเข้าพัก มันจะหมุนแต่ทางด้านปัญญา ฆ่ากิเลสถ่ายเดียวๆ ทั้งๆ ที่กำลังวังชาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอแล้ว เราจึงต้องเอาพุทโธบังคับไว้ให้อยู่กับพุทโธ สติตั้งอยู่นั้น ไม่ยอมให้ออกปัญญาหมุนไว้ สักเดี๋ยวก็ลงสู่ความสงบแน่วเลย นั่นเห็นไหมล่ะ พอจิตเข้าสู่ความสงบนี่ โอ๋ย เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามนะ

เวลาออกทางด้านปัญญามันเหมือนชุลมุนวุ่นวาย เหมือนนักมวยเข้าวงในกัน ทีนี้เวลาเข้ามาสู่สมาธินี้ มันเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม เพราะได้พักผ่อนหย่อนจิต ตอนนี้บังคับเอาไว้นะ ไม่อย่างนั้นมันจะออกอีก เพราะกำลังของด้านปัญญามันหนักมากกว่าสมาธิเป็นไหนๆ

ถ้าว่าเราเผลอนี้ ผมไม่อยากพูด ถ้าว่ารามือ พอพูดได้ เพราะมันไม่เผลอนี่ พอเราอ่อนทางนี้ รามือสักนิดหนึ่ง มันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับไว้ให้อยู่กับสมาธิแน่วอยู่นั้น จนเห็นว่าเป็นที่พอใจ มีกำลังวังชาทางด้านสมาธิ แล้วค่อยถอนออกมา พอถอนออกมามันจะดีดผึงเลยทางด้านปัญญา

ให้ทำอย่างนี้ตลอดไปสำหรับนักปฏิบัติ อย่าเห็นแก่ว่าปัญญาดี ปัญญาฆ่ากิเลส แล้วเตลิดเปิดเปิงทางด้านปัญญา นี้เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ที่แทรกจิต โดยการพิจารณา ไม่รู้จักประมาณ เลยกลายเป็นเรื่อง หลงสังขารทางด้านปัญญาไป สังขารทางด้านปัญญา กลายเป็นสมุทัยไปได้ เพราะเราไม่รู้จักประมาณ

เวลาพิจารณาให้พิจารณาเต็มที่ ไม่ต้องบอกพอ ถึงขั้นปัญญาขั้นนี้แล้ว มันจะหมุนของมันเอง แต่เวลาพักให้พักเต็มที่ อย่างนั้นถูก ถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมพัก มันจะหมุนทางด้านปัญญา เพราะเพลินในการฆ่ากิเลส

หมุนเข้ามาทางสมาธิ เรียกว่าพักเอากำลัง เหมือนเราพักผ่อนนอนหลับ รับประทานอาหารมีกำลังวังชา ถึงจะเสียเวล่ำเวลาในการพักก็ตาม สิ้นเปลืองไปเพราะอาหารการกินก็ตาม แต่สิ้นเปลืองไปเพราะผลอันยิ่งใหญ่ในกาลต่อไปโน้น ประกอบการงานมีกำลังวังชา

นี่จิตของเราพักสมาธินี้จะเสียเวล่ำเวลา แต่เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ในสมาธินี้ จะหนุนปัญญาให้ก้าวเดินสะดวก คล่องแคล่ว นั่น ให้เป็นอย่างนั้น พิจารณาอย่างนั้น

ผู้ปฏิบัติจับไว้ให้ดีนะที่สอนนี้ ผมไม่ได้สอนด้วยความลูบคลำนะ สอนตามหลักความจริงที่ได้ผ่านมาอย่างไร อย่าเหลาะๆ แหละๆ นะการภาวนา เอาให้จริงจัง เรื่องมรรคผลนิพพานไม่ต้องถาม ขอให้ก้าวเดิน นี่คือทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ไปที่ไหน ขอให้ก้าวเดินตามนี้ให้ถูกต้องเถิด จะเข้าถึงมรรคผลนิพพานโดยไม่ต้องสงสัย สำคัญอยู่ที่การดำเนิน ถ้าผู้แนะไม่เข้าใจนี้ทำให้ผิดพลาดได้ นี้เราแนะด้วยความแน่ใจ เพราะเราดำเนินมาแล้วอย่างช่ำชอง ไม่มีอะไรสงสัยแล้ว

ในการแนะนำสั่งสอนหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะสมถะ ไม่ว่าจะสมาธิ ไม่ว่าจะปัญญา ปัญญาขั้นใด ตั้งแต่สติปัญญาอัตโนมัติไปเรื่อย จนกระทั่งมหาสติมหาปัญญา มารวมอยู่ที่หัวใจนี้ทั้งหมด มีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ประจักษ์หัวใจตลอดเวลา แล้วจะไปสงสัยสติปัญญา และสติปัญญาอัตโนมัติ ตลอดมหาสติ มหาปัญญาไปได้ยังไง ก็มันเป็นอยู่กับหัวใจ พากันจำให้ดี ให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 27 ธ.ค. 2009, 22:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

ปัจจุบัน ในเรื่องนี้ ชาวพุทธ จะมีความเห็นที่หลากหลายกันมาก



เสนอ พิจารณา ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ที่ ทำให้ เกิดลักษณะ ความเห็นที่แตกต่างกันนี้ขึ้น


1.สุขจากสมาธิ ติดยาก หรือ ติดง่าย?

2.หากเกิดการติดสุขจากสมาธิขึ้นแล้ว จะสามารถระวังและแก้ไขได้เมื่อเกิดขึ้น หรือ ไม่สามารถระวังและแก้ไขได้เลย ?

3.สุขจากสมาธินี้ สามารถใช้สนับสนุนการเจริญปัญญาได้จริงไหม?



เช่น


บางสำนัก เชื่อว่า สุขจากสมาธินั้น
A.ติดง่าย
B.ไม่สามารถระวังและแก้ไขได้เลย เมื่อติดเข้า
C.สุขจากสมาธินี้ ไม่สามารถใช้สนับสนุนการเจริญปัญญาได้เลย
ถ้าปัจจัยพื้นฐานเป็นเช่นนี้....รับรองได้ว่า ท่านอาจารย์สำนักนั้น ต้องห้ามลูกศิษย์เจริญสมาธิภาวนา



บางสำนัก เชื่อว่า สุขจากสมาธินั้น
A.ติดง่าย
B.แต่ สามารถระวังและแก้ไขได้ เมื่อติดเข้า
C.สุขจากสมาธินี้ สามารถใช้สนับสนุนการเจริญปัญญาได้
ถ้าปัจจัยพื้นฐานเป็นเช่นนี้....ท่านอาจารย์สำนักนั้น ก็จะสอน ลูกศิษย์เจริญสมาธิภาวนา แบบมีข้อเตือนระวัง(ครูบาอาจารย์ของผม ก็สอนในลักษณะนี้)


ๆลๆ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 27 ธ.ค. 2009, 22:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

มันมี เส้นบางๆ ที่ คั่นแบ่ง

ระหว่าง



A.ความเป็นห่วงว่า ผู้อื่นจะเจริญภาวนาผิดทาง :b20:

กับ

B.การสำคัญตนว่า แนวทางของตนถูก-ผู้อื่นผิด ของตนใช่-ผู้อื่นไม่ใช่ ของตรงตรง-ของผู้อื่นไม่ตรง ๆลๆ :b5:



เส้นบางๆนี้ .... บางท่านไม่ทันระวัง... และ ข้ามเขตจาก A ไป B เข้า... และ เกิดปัญหาร้าวฉานมากมายตามมา อย่างที่เห็นกันอยู่

บ่อยครั้งที่เลยเถิดไปถึงลักษณะ การเหยียดสมถะ-ผูกขาดวิปัสสนา.... ก็เห็นกันบ่อยๆ

ถ้าเป็นที่ระดับลูกศิษย์ ปัญหาจะไม่ใหญ่ เพราะ ครูบาอาจารย์จะคอยกระตุกเตือน

แต่... ถ้าอาจารย์ก็เผลอเป็นแบบนี้ไปด้วย...ปัญหาจะใหญ่มากๆ

เจ้าของ:  moddam [ 27 ธ.ค. 2009, 23:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

ทำให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาคิดว่าจะติดดีไหมจะดีกว่า

cool

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ธ.ค. 2009, 23:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

เมื่อกี้ ผมไปอ่านซ้ำ แต่ขอไม่บอกนะว่า ท่านไหน เอาว่า ดังก้แล้วกันครับ
อ่านแล้วคือ ผมไม่ใช่อริยะบุคคลหรอกนะ แต่ อ่านแล้ว ภายใต้ ฟีโลโซฟี่อันไพเราะ อ้างปฏิบัติ แต่ ไม่ใช่ครับ เปี่ยมไปด้วย การปฏิเสธ ความสงบทางจิตแบบเนียนๆครับ จะโลกียะ ก้ดี จะโลกุตระก้ดี แทงกั๊กหมด
ในฟีโลโซฟี่อันไพเราะเหล่านั้น มีทั้งขู่โดยไพเราะ มีทั้ง(หลายประโยคผมเดาว่าสะกัดกั้นการทำสมาธิครับ
แต่ไม่ขอบอกครับ ไม่ต้องหลังไมค์ )
สอนให้มองความเป็นจริงแบบกว้างๆ(55555)ทัศนะกว้างแล้วจะหลุดพ้นเป็นอิสระอย่างแท้จริง :b10: :b10: :b10: เอาพระบาลีมาโยงได้ดีด้วยครับ :b6: :b6: :b6:

ปริพาชก 2012 Onion_L Onion_L Onion_L แฉ แค่นี้พอนะครับ เดี่ยวผิด concept ลานธรรมจักร :b6: เดาอีกว่ามีคนเชื่อแนวสอนแบบนี้มากด้วยสิ :b5: :b5: :b5:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ธ.ค. 2009, 23:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

อาจารย์สิครับที่คิดแบบนั้น คุณตรงประเด็น :b5: :b5: :b5:
ส่วนตัวผมอยากมีฌาณนะแต่ไม่มีปัญญาที่จะทำ ให้ได้แบบหมอผีแกตินิดๆหน่อยบ้างก็ยังดี :b13: :b32:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 27 ธ.ค. 2009, 23:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?


เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 02:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

500 ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออก บ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) เหล่านี้แล”


ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )
ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ : ๓๖๐-๓๖๑
ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒

เจ้าของ:  walaiporn [ 28 ธ.ค. 2009, 07:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?


เพราะขาดการเจริญสติปัฏฐาน สมาธิระดับฌาณ ( อัปนาสมาธิ )
เลยกลายเป็นสมาธิหัวตอไป ( ขาดความรู้ตัว) เรียกว่า สมาธิตัวแข็ง

การจะสนทนาเรื่องฌานด้วย ต้องรู้ก่อนว่าลักษณะของฌานนั้นเป็นอย่างไร
ทั้งๆที่ก็มีคำสอนอยู่แล้วว่า ฌาน 4 ให้ทำยิ่งๆขึ้น

สนทนาเรื่องฌาน กับ คนที่ไม่เคยผ่านฌาน หรือไม่เคยสัมผัสฌานมาเลย
นี่สนทนากันยากนะ ยิ่งมีการติดบัญญัติยิ่งไปกันใหญ่ ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากตามตัว
เราปฏิบัติเพื่อละ ไม่ใช่เพื่อยึด แต่ส่วนมากจะไปยึดติดกัน

บางทีนำไปสนทนาทำนองว่า ผู้ได้ฌาน 4 ต้องเป็น อริยะ ว่ากันไปโน่น
กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน

ทำไมบางคนทำได้ ทำไมบางคนทำไม่ได้
บางคนติดสมาธิ ไปรู้นอกตัว มากกว่าในตัว จิตส่งออกนอก

รู้นอกตัวคืออะไร ไปรู้เรื่องชาวบ้าน ไปรู้โน่นรู้นี่
เรื่องรู้นอกตัวนี่เป็นผลของการทำสมาธินะ

เช่นรู้ล่วงหน้า รู้ภาษาสัตว์ รู้เรื่องของคนอื่นๆทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันเลย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลเกิดจากสมาธินะ ไม่ใช่อำนาจวิเศษอะไรเลย
แต่เพราะความไม่รู้ คนเลยหลงนึกว่า เป็นสิ่งวิเศษไป
เช่นเรื่อง สแกนกรรม ที่ฮือฮากัน

ที่ว่าให้ดูในตัวนั้นคือดูอะไร ให้ดูกิเลส กิเลสในจิตในใจเรานี่แหละ
ไม่ใช่ไปรู้นอกตัวแบบนั้น

ลักษณะฌานน่ะดูง่ายนะ ถ้าโยคีไม่ได้ฝึกเจริญสติปัฏฐานมา
เวลาเกิดสมาธิ จะขาดความรู้สึกตัว คือ เหมือนคนหลับไปเลย
ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น ให้เสียงดังแค่ไหนก็ไม่ได้ยิน

อุปจารสมาธิ จะมีนิมิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นนิมิตเสียง นิมิตสี นิมิตภาพ

ส่วนฌาน 1 - 4 จะเป็นไปทีละฌานนะ
ไม่ใช่ว่า จากฌาน 1 แล้วอารมณ์ไปฌาน 4 แบบนั้นไม่ใช่
ฌานแต่ละฌาน บ่งบอกถึงสติ สัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติ

ฌาน 1 ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
วิตก คือ คำบริกรรมภาวนา
วิจาร คือ การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับองค์บริกรรมภาวนา
ปีติ
สุข
เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

แนวทางการปฏิบัติ เมื่อเข้าถึงอกัคคตาหรืออัปนาสมาธิ จะขาดความรู้สึกตัว
หรือที่เรียกว่า มันดิ่งแล้วดับหายไป
สภาวะตรงนี้ ต้องอาศัยการเจริญสติให้มาก เช่น เดินจงกรมให้มากกว่านั่ง
เวลาจิตรวมจะได้มีความรู้สึกตัว สามารถถอยออกมาจากอัปนาสมาธิได้
แต่สมาธิจะไม่ตกไปที่อุปจาร เพราะสมาธิตรงนี้จะตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารและไม่มีนิมิต
ไม่ต้องรอให้สมาธิคลายตัว ให้ทำให้ชำนาญ คือ เข้าออกให้ชำนาญ


ฌาน 2 ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
ตรงฌาน 2 จะไม่มีคำบริกรรมภาวนา เช่น เคยใช้พุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ
คำบิรกรรมเหล่านี้จะไม่มี แต่จะมารู้ที่ลมหายใจเข้าออก หรือท้องพองยุบแทน
อาจจะหายใจสักสองสามครั้ง จิตสามารถรวมเป็นหนึ่งได้ทันที
แต่ยังคงมี ปีตี สุข เกิดอยู่ ก็ทำให้ชำนาญ เข้าออกให้ชำนาญ

ฌาณ 3 ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
ตรงฌาน 3 จะไม่มีปีติเกิดแล้ว เนื่องจากกำลังของสติมากขึ้นตามลำดับ
แต่ยังคงมีสุขจากความสงบอยู่ ให้เข้าออกให้ชำนาญ

ฌาน 4 ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

ลักษณะของฌาน 4 ถ้าผู้เข้าออกจนชำนาญแล้ว
จะสามารถกำหนดเข้าออกสมาธิตอนไหนก็ได้
ฌาน 4 จะมี สติดี สมาธิดี

คือ ถ้าเป็นรูปแบบ เรียกว่า หลังจากเดินจงกรมแล้ว พอมานั่ง
อาจจะหายใจแค่ครั้งเดียว จิตสามารถเข้าสู่ สมาธิได้ทันที
ไม่ต้องบริกรรมหรือภาวนาใดๆทั้ง มีสติรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก
ท้องพองยุบ จะมีความรู้สึกตัวตลอดเวลา
แม้จิตรวมตัวก็รู้ จิตคลายตัวออกจากสมาธิก็รู้



ส่วนเรื่องที่ว่า ทำแล้วไปรู้โน่นรู้นี่ นั่นคือ รู้นอกตัว ครูบาฯท่านให้ตัดออกให้หมด
การตัดออกคือ เจริญสติให้มากขึ้น ให้เดินจงกรมให้มากกว่านั่ง
แล้วค่อยๆปรับอินทรีย์ไปเรื่อยๆ

ยกเว้นคนที่ชอบส่งจิตออกนอก คือชอบไปรู้นอกตัว
อันนั้นก็แล้วแต่เหตุที่เคยกระทำกันมา

ถ้าเป็นวิปัสสนา ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
คือ ให้เอาจิตจดจ่ออยู่กับองค์กรรมฐาน คือ รู้อยู่กับกาย

ส่วนฌาน 5 - 8 เมื่อเข้าออกฌาน 4 ได้ชำนาญแล้ว
ฌาน 5 - 8 จะทำง่ายขึ้น ไม่ต้องมานั่งบิรกรรมแต่อย่างใด


ถ้าถามว่า จำเป็นต้องเรียงลำดับของฌานเลยไหม
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะกุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน
บางคนสามารถเข้าสู่ฌาน 4 ได้ทันที โดยไม่ต้องเริ่มจากฌาน 1- 3

แต่เมื่อไปพบครูบาฯ ท่านจะให้เริ่มจากฌาน 1 ใหม่ คือ ท่านให้ฝึกสติ
ฝึกเข้าออกให้ชำนาญ ให้รู้ไปทีละของอารมณ์ฌานนั้นๆ เข้าออกจนชำนาญ

อันนี้เรานำมาเล่าสู่กันฟังนะ ให้แค่รู้กัน จะได้ไม่มากังวลเรื่องฌานกัน
ส่วนคำว่า ตัวรู้ ที่เจ้าของกระทู้นำมาพูดน่ะค่ะ
ไม่ใช่แฟชั่นแต่อย่างใดนะคะ มันเป็นตัวสัมปชัญญะ
เป็นผลของการเจริญสติปัฏฐานค่ะ


หลับอยุ่ เขียน:

ส่วนตัว ผมว่า แฟชั่นเดี๋ยวนี้ไปเล่นตัว รู้ บางคนเข้าใจไปว่า คือ ปัญญา :b10:
แต่ ไม่มีศีล สมาธิ เลย ครับ คงไม่งงนะ :b10: ผมเข้าใจพวกเขานะ แต่ ก้อยากให้พวกเขาเข้าใจ พุทธพจน์
ครูบาอาจารย์ของผม ท่านยังบอกให้ เข้าปฐมฌาณให้ได้เลยง่ะ :b34:




มีคนอีกจำนวนมากที่พยายามหาว่า " ผู้รู้ " ครูบาฯกล่าวถึงนี่คือใคร ..
บ้างก็นำมาถกเถียงกัน บ้างก็นำมาเอ่ยอ้างกัน แต่ไม่มีใครขยายใจความเลยสักคนเดียว
แล้วผู้รู้คือใครกันล่ะ ผู้รู้นี่ก็คือ จิตเรานี่เอง แต่มีหลายสถานะตามกำลังของสติ สัมปชัญญะ
ลองไล่ดูว่าจริงไหม


ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา จนกระทั่งปิดเปลือกตาลง

จะมีสองสิ่งที่เกิดขึ้น ... ลองดูกันว่าจริงไหมคะ?

เมื่อเราลืมตาขึ้น .. จะมี ผู้ดู เกิดขึ้น ... และ สิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมันมี

มันเป็นของมันแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ดูหรือไม่มีผู้ดูก็ตาม


พอลืมตาได้สักพัก ... เริ่มมองเห็นสภาพรอบๆตัวชัดเจน ตอนนี้เริ่มมี ผู้รู้ เกิดขึ้น

กับ สิ่งที่ถูกรู้ ทำไมถึงเรียกว่าผู้รู้ เพราะเขารู้ว่า สิ่งที่เขาเห็นมันเรียกว่าอะไร

และ สิ่งที่เขาเห็นแล้วเรียกนั้น เป็น สิ่งที่ถูกรู้

ต่อมา มี ตัวผู้รู้ เกิดขึ้น .. ตัวผู้รู้ เกิดขึ้นจากอะไร เกิดจากเอาตัวตน

ที่ตัวเองคิดว่าตัวเองมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกเห็น

แล้วสิ่งที่ถูกรู้จะเปลี่ยนสภาพเป็น ใช่ และ ไม่ใช่ ถูก และ ผิด พอใจ และ ไม่พอใจ ..

เลยเป็นการก่อภพก่อชาติ ก่อเหตุขึ้นมาใหม่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น


เมื่อคนๆนี้ ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 ย่อมมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ...

ตัวผู้รู้ ที่มีอยู่ ย่อมลดน้อยลงไป สุดท้ายเหลือเป็นเพียงแค่ ผู้รู้

ส่วนสิ่งที่มีคำว่า ใช่ และ ไม่ใช่ ถูก และ ผิด พอใจ

และ ไม่พอใจ ย่อมแปรสภาพกลับมา เป็น สิ่งที่ถูกรู้


ต่อมาเมื่อ มีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ผู้รู้ ย่อมหายไป จะเปลี่ยนเป็น ผู้ดู

และ สิ่งที่ถูกรู้จะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น

และสิ่งที่เกิดขึ้นจะแสดงเป็นไตรลักษณ์ให้เห็น ซึ่งมันมีของมันอยู่แล้ว

เพียงแต่เรายังมองไม่เห็นเท่านั้นเอง เพราะตราบใด ที่ยังมีเราเขา( ตัวผู้รู้ )

เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่สามารถมองเห็นตามความเป็นจริงได้เลย



ผู้ดู ... สิ่งที่เกิดขึ้น .. ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล

ผู้รู้ ... สิ่งที่ถูกรู้ ... มีเหตุนิดๆคือความคิด ผลย่อมมีแน่นอน

( กรรมคือการกระทำ วิบากคือผล ถึงจะเป็นเพียงความคิด ก็ต้องรับผลแน่นอน มากน้อยอยู่ที่คิด )

ตัวผู้รู้ ... สภาวะเปลี่ยนไป เป็น ชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูก ผิด ทุกข์ สุข ตามความคิดของตัวเอง

ตัวนี้แหละสำคัญก่อภพก่อชาติไม่รู้จบ

นำมาแลกเปลี่ยนในการสนทนากันนะคะ :b12:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 07:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

ความเพียรผมยังเลว ทรามอยู่ครับ หรือว่า ผมอาจจะเข้าใจผุ้ปฏิเสธ ฌาณ สำนักนั้นผิดไปก้ได้นะผมเป็นปุถุชน แต่ สายที่ผมกล่าวไปอาจารย์นั้น หากผมเดาและยอมรับ ว่าบรรลุอรหันต์สุขวิปัสโก จริงๆเราไม่รู้หรอกครับ ใจผมคงยอมรับไม่ได้เพราะ ผมกล่าวไว้แล้ว ว่า ผม เดาว่า เป็น โรคปริพาชก 2012 (ฌาณ โลกีย์ หรือโลกุตระ ดูแล้วกั๊กๆ (ปฏิเสธ))
:b22: :b22: :b22:
ปล มีหลังไมค์ หาผมจาก เวป อื่น ว่าให้ผมเปิดใจกว้างไปศึกษา พระอาจารย์นั่นด้วย
ผมอ่านมาแล้ว ปัญญาแบบนั้น ผมเรียกว่า ความคิด มันไม่ได้ มาจาก step โบร่ำโบราณ ครับ
แค่ทำความคิด ทัศนะคติ ให้กว้าง ก็ หลุดพ้นเป็นอิสระ ???:b6: นี่นัยยะที่ผมอ่าน แล้วสรุป ผมไม่ลอกมาหรอกครับ
หรือบางที มันอาจจะเป็นอธรรมะ ชั้นสูง ที่ผมเข้าไม่ถึงก้ได้นะ :b9:
ผมยอมสุดโต่ง ในทิฐิของผมก่อนดีกว่า ครับ
ขอบคุณครับ smiley

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 08:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

ประเด้นก้คือ ที่คุณ เช่นนั้น กล่าวมา ว่า เป้นเข้าใจผิด ว่าฌาณ เป้นอุปสรรคในการขวางปัญญา
นั่นแหละ สำคัญนักครับ
และที่คุณ ตรงประเด็น ทิ้งท้ายไว้ ผมเดาว่าตัวพระอาจารย์สายนั่นแล สอนแบบนั้น(ปริพาชก2012) :b6: :b6: :b6:
จะว่าผม เป็นมารก้ได้นะ ไม่ว่ากัน :b13: :b13: :b13:

เจ้าของ:  walaiporn [ 28 ธ.ค. 2009, 08:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?


เรายังเป็นผู้ไม่รู้อยู่ค่ะ เราจึงต้องมาเจริญสติปัฏฐานกันเพราะสาเหตุนี้



หลับอยุ่ เขียน:
ความเพียรผมยังเลว ทรามอยู่ครับ หรือว่า ผมอาจจะเข้าใจผุ้ปฏิเสธ ฌาณ สำนักนั้นผิดไปก้ได้นะผมเป็นปุถุชน แต่ สายที่ผมกล่าวไปอาจารย์นั้น หากผมเดาและยอมรับ ว่าบรรลุอรหันต์สุขวิปัสโก จริงๆเราไม่รู้หรอกครับ ใจผมคงยอมรับไม่ได้เพราะ ผมกล่าวไว้แล้ว ว่า ผม เดาว่า เป็น โรคปริพาชก 2012 (ฌาณ โลกีย์ หรือโลกุตระ ดูแล้วกั๊กๆ (ปฏิเสธ))
:b22: :b22: :b22:
ปล มีหลังไมค์ หาผมจาก เวป อื่น ว่าให้ผมเปิดใจกว้างไปศึกษา พระอาจารย์นั่นด้วย
ผมอ่านมาแล้ว ปัญญาแบบนั้น ผมเรียกว่า ความคิด มันไม่ได้ มาจาก step โบร่ำโบราณ ครับ
แค่ทำความคิด ทัศนะคติ ให้กว้าง ก็ หลุดพ้นเป็นอิสระ ???:b6: นี่นัยยะที่ผมอ่าน แล้วสรุป ผมไม่ลอกมาหรอกครับ
หรือบางที มันอาจจะเป็นอธรรมะ ชั้นสูง ที่ผมเข้าไม่ถึงก้ได้นะ :b9:
ผมยอมสุดโต่ง ในทิฐิของผมก่อนดีกว่า ครับ
ขอบคุณครับ smiley




อย่าว่าตัวเองแบบนั้นอีกเลยนะคะ ส่วนดีของแต่ละคนมี เพียงว่า
เรารู้ไหมว่าเรามีส่วนดีตรงไหน บางทีเราก็มองไม่เห็นมันหรอกค่ะ
เพราะเรามัวส่งจิตออกนอก นำไปเปรียบเทียบกัน ผลมันก็เลย
มาละเมิดหรือมาเพ่งโทษกัน บัญญัติก็คือบัญญัติ
สุดแต่คนจะเรียกกันไปค่ะ

เราว่าเขา เขาก็ว่าเรา เราไม่ว่าเขา เขาย่อมไม่ว่าเรา
ธรรมะ ไม่มีสูง ไม่มีต่ำหรอกค่ะ เราไปให้ค่าให้ความหมายกันเองว่านี่สูง นี่ต่ำ
เจริญสติดีกว่าค่ะ

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 08:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

ต่อมาได้ดี ครับ ผมขอย้ำอีกครั้ง สายปริพาชก2012 นั่น ตอบอธรรมะปฏิบัติว่า ส่งจิตเข้าใน เป็น.....
วิปัสสนูปกิเลสครับ (จะเข้าลึกจะเข้าตื้น มีปัญญาเข้าได้กันหรือเปล่า :b32: :b32: :b32: )
อันนี้ ทิฐิส่วนตัวผมครับ ผมเชื่อเรื่อง ภพ3 โลกันต์ สาวกสายนั้นผมดูแล้ว เดาเอาว่า เป็นแค่อุปมาอุปมัย
:b6: :b6: :b6:
ลามปามครับสายนี้ ปฏิเสธฌาณสมาธิ อันนี้ ผมเดาความหมายของเขานะครับ
นิพพานเป็นแค่ทำใจร่มๆ :b22: :b22: :b22:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 12:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน

ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก


คำแปล


ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน

ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน



พราหมโณ ฌายี ตะปะติ

นักพรตผู้มีฌานจึงรุ่งเรือง มีตบะกล้าในหมู่สมณะ



ถ้าท่านปฏิเสธฌาน ญาณจะเกิดได้อย่างไร

เพราะฌานเป็นเหตุ ญาณเป็นผล

นั่นคือสมถะเป็นเหตุ วิปัสสนาเป็นผล

เย ธัมมา เหตุปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต.


ผลทุกอย่างเกิดจากเหตุ เมื่อต้องการผลก็ต้องสร้างที่เหตุ

ถ้าค้นหาสาเหตุเจอ สถานการณ์ต่างๆ ก็แก้ไขได้



นอกจากนี้ วิธีการทำกรรมฐานในยุคปัจจุบัน แทบทุกแห่งล้วนแต่ปฏิเสธการได้ฌานทั้งนั้น สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้เกิดฌานได้ เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา - One Way) ฌานจึงจะเกิดได้



ถ้าหากว่าการใช้กรรมฐานซึ่งเป็นวิธีการฝึกจิตที่เป็นระบบตามหลักการของพระพุทธศาสนาจริง ๆ เรื่องของฌานสมาธิก็ไม่ได้เกินวิสัยของมนุษย์ที่จะทำได้



ในข้อนี้พวกเราในยุคหลังก็ควรท่องคติพจน์ของพระพุทธองค์ตอนที่ไปศึกษายังสำนักอาจารย์สองท่านจนทำให้ได้ฌาน 8 ระดับไว้ในใจด้วย เผื่อจะเป็นกำลังใจในการลงมือปฏิบัติดู เพื่อให้เกิดฌานจริงๆ โดยพระพุทธองค์ตั้งคติประจำใจว่า



ท่านเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์

ท่านมีความเพียร เราก็มีความเพียร

ดังนั้น ถ้าท่านทำได้ เราก็ต้องทำได้



ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้พูดถึงเรื่องฌานที่มีผลต่อการบรรลุธรรมและทำให้เกิดอานุภาพต่างๆ ไว้หลายอย่าง เพื่อความเข้าใจกระจ่างในเรื่องนี้ จะขอนำความหมายและผลที่ได้จากสมาธิมาอธิบายให้ฟัง ดังนี้



ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถึงภิกษุผู้ได้ฌานแม้ได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ชั่วดีดนิ้วมือครั้งหนึ่งว่า การได้ฌานเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ขนาดนั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ห่างไกลจากฌาน ที่จะทำได้ในกาลต่อไป ชื่อว่าได้ทำได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา ได้ปฏิบัติตามโอวาทของพระศาสดาแล้ว ถ้าผู้นั้นเป็นพระภิกษุก็จะฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า นี้พูดถึงการปฏิบัติได้ชั่วเวลาสั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผู้ที่ทำได้นาน ๆ หรือทำได้มากกว่านี้



นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังตรัสต่อไปอีกว่า ฌานสมาธินี้สามารถที่จะทำให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ ตั้งแต่ฌานขั้นแรกขึ้นไปก็สามารถปราบนิวรณ์ให้สงบระงับได้แล้ว แม้จะไม่หมดไปทีเดียวแต่ก็สามารถปราบได้เป็นคราวๆไป ไม่จำเป็นต้องพูดไปจนถึงฌานระดับที่สูงกว่านี้ ซึ่งแต่ละฌานล้วนมีหน้าที่ในการเผากิเลสเหมือนกันทั้งหมด


(ลอกจากพระท่านหนึ่งมา ส่วนนึง)

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 28 ธ.ค. 2009, 12:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ฌาณ น่ากลัวหรือ?

นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน :b8:

ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก :b8:


คำแปล


ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน :b8:

ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน :b8:

นัตถิ ฌานัง อะปัญฺญัสสะ แปลว่า ฌานไม่มีกับคนที่ไม่มีปัญญา :b8:

นัตถิ พราหมโณ ฌายี ตะปะติ :b8:

นักพรตผู้มีฌานจึงรุ่งเรือง มีตบะกล้าในหมู่สมณะ :b8:


(ลอกพระท่านหนึ่งมา และตัดต่อมาอีกที)

หน้า 2 จากทั้งหมด 9 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/