วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 20:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมลอกคุณมหาราชันย์ ไปต่อนะ :b8:
2012 เยอะครับ ปะไปรอบนึงแล้วเมื่อเที่ยง :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 16:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่



[เห็นกายในกาย]

[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่



[เห็นเวทนาในเวทนา]

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นจิตในจิต]

ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นธรรมในธรรม]

ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานเกิดก่อน สติปัฏฐานมีภายหลัง



[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นอกจากนี้ วิธีการทำกรรมฐานในยุคปัจจุบัน แทบทุกแห่งล้วนแต่ปฏิเสธการได้ฌานทั้งนั้น สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้เกิดฌานได้ เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา - One Way) ฌานจึงจะเกิดได้


อย่างนี้ ไม่เรียกว่า นั่งใช้สติหรอกครับ
เป็นการเจริญนิวรณ์ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32: :b32: :b32: smiley
ยิ่งเฝ้ายิ่งฟุ้ง :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 00:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อย่างนี้ ไม่เรียกว่า นั่งใช้สติหรอกครับ
เป็นการเจริญนิวรณ์ครับ


หมายถึงท่อนนี้รึเปล่าคะ..

อ้างคำพูด:
.... สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู้ ....


หรือว่า...ท่อนนี้ด้วยคะ

อ้างคำพูด:
เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา - One Way) ฌานจึงจะเกิดได้


:b8: :b8: รบกวน...นะคะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ ....

มีก่อน แล้ว นำมา ตามรู้ ตามดู กาย และใจ เพื่อ เจริญ สติ...ได้ ดี..เรียกว่า สมาธิ นำปัญญา

แต่ ฌาณ จิต ไม่เกิด ก้อ สามารถ นำ มาดู กายและใจ ได้.ตาม แต่ สภาวะที่เกิด..ปัจจุบัน...เรียกว่า ปัญญา นำสมาธิ

เรื่องนี้ พระอานนท์ ได้เทศนา สั่งสอนไว้ แล้ว..
มีใน พระไตรปิฎก.....
( อีกแบบครับ ลอกมาให้ดู ) :b6: :b32: :b30: :b22: :b5:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 12:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน

ตัมหิ ฌานัญจะ ปัญญัญจะ นิพพานะสันติเก


คำแปล


ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ปัญญาก็ไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน

ผู้ใดมีฌานและปัญญา ผู้นั้นได้อยู่ใกล้นิพพาน




ฌาน ที่ไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา ... ที่เป็นเหตุให้ใกล้พระนิพพาน นั้น....เป็น ฌานที่เป็นไปในทางโลกุตระ หรือ ฌานที่เป็นโลกียะ ?


คำว่า ปัญญา ที่ถ้าปราศจากแล้ว จะไม่เกิดฌานแบบนี้ขึ้น.... คือ องค์ธรรมใด?



ลองหาอ่าน ในพระสูตรที่แสดงว่า สติปัฏฐานเป็นนิมิตแห่งสัมมาสมาธิ (จำได้ว่าเป็นภาษิตพระภิกษุณี ที่เป็นเอตทัคคะทางปัญญา)

ลองอ่าน ทันตภูมิสูตรที่๕ ที่ทรงแสดง รูปฌาน๑-๔ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ดูน่ะครับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สอนแต่เพียงให้ผู้ปฏิบัตินั่งใช้สติเฝ้าจับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง 6 เป็นการไล่จับอารมณ์ไปตามอายตนะต่างๆ ที่รับรู้ .... เพราะฌานจะเกิดได้จิตจะต้องนิ่งอยู่ในใจอย่างเดียว พยายามตัดการรับรู้อารมณ์ภายนอกทั้งหมดทิ้ง จิตจะนิ่งอยู่กับอารมณ์ทางใจอย่างเดียว(เอกัคคตา - One Way) ฌานจึงจะเกิดได้


สวัสดีครับ คุณมังกรน้อย
การปฏิบัติธรรม เป็นการทำเหตุ เพื่อผลคือความสุข ความสงบระงับจากกิเลส และอกุศลธรรม เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
การปฏิบัติธรรม เป็นการทำเหตุ พร้อมด้วยปัญญาในระดับต่างๆ กันไป

แต่.... ถึงกระนั้น
นิวรณ์ อันเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิต ปิดกั้นจิตนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมแรกเริ่มต่างก็คิดไปเองว่าเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้นิ่งๆบ้า่ง หรือเป็นผลพลอยได้จากการไล่ตามดูอารมณ์ และพิจารณาคิดไปเห็นความเกิดดับของอารมณ์ที่ปรากฏบ้าง,โดยขาดองค์ความรู้(ซึ่ง ก็คือญาณ) ว่า นิวรณ์ทุกประการ ล้วนแล้วต้องดับในปฐมฌาน (เพราะฌาน คือคุณภาพจิตอันเป็นสัมมาสมาธิ ที่ยังอาศัยสัญญา มีวิตก มีวิจาร).

นิวรณ์ จึงไม่ใช่ตัณหา นิวรณ์ก็ไม่ใช่กิเลส
การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบันเฉพาะหน้า ขณะที่อบรมจิตแรกเริ่มคือ การเห็นแจ้งปฐมฌานอันเจริญด้วยอริยมรรคเพื่อปหาน นิวรณ์

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ อันเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิต ปิดกั้นจิตนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมแรกเริ่มต่างก็คิดไปเองว่าเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้นิ่งๆบ้า่ง หรือเป็นผลพลอยได้จากการไล่ตามดูอารมณ์ และพิจารณาคิดไปเห็นความเกิดดับของอารมณ์ที่ปรากฏบ้าง,โดยขาดองค์ความรู้(ซึ่ง ก็คือญาณ) ว่า นิวรณ์ทุกประการ ล้วนแล้วต้องดับในปฐมฌาน (เพราะฌาน คือคุณภาพจิตอันเป็นสัมมาสมาธิ ที่ยังอาศัยสัญญา มีวิตก มีวิจาร).

นิวรณ์ จึงไม่ใช่ตัณหา นิวรณ์ก็ไม่ใช่กิเลส
การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบันเฉพาะหน้า ขณะที่อบรมจิตแรกเริ่มคือ การเห็นแจ้งปฐมฌานอันเจริญด้วยอริยมรรคเพื่อปหาน นิวรณ์

เจริญธรรม[/quote] :b8: :b8: :b8: :b16: smiley [*]


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 12:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3443 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue

รูปภาพ สาธุ


เช่นนั้น เขียน:
การปฏิบัติธรรม เป็นการทำเหตุ เพื่อผลคือความสุข ความสงบระงับจากกิเลส และอกุศลธรรม เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
การปฏิบัติธรรม เป็นการทำเหตุ พร้อมด้วยปัญญาในระดับต่างๆ กันไป

แต่.... ถึงกระนั้น
นิวรณ์ อันเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิต ปิดกั้นจิตนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมแรกเริ่มต่างก็คิดไปเองว่าเป็นผลพลอยได้จากการทำจิตให้นิ่งๆบ้า่ง หรือเป็นผลพลอยได้จากการไล่ตามดูอารมณ์ และพิจารณาคิดไปเห็นความเกิดดับของอารมณ์ที่ปรากฏบ้าง,โดยขาดองค์ความรู้(ซึ่ง ก็คือญาณ) ว่า นิวรณ์ทุกประการ ล้วนแล้วต้องดับในปฐมฌาน (เพราะฌาน คือคุณภาพจิตอันเป็นสัมมาสมาธิ ที่ยังอาศัยสัญญา มีวิตก มีวิจาร).

นิวรณ์ จึงไม่ใช่ตัณหา นิวรณ์ก็ไม่ใช่กิเลส
การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบันเฉพาะหน้า ขณะที่อบรมจิตแรกเริ่มคือ การเห็นแจ้งปฐมฌานอันเจริญด้วยอริยมรรคเพื่อปหาน นิวรณ์

เจริญธรรม


Quote Tipitaka:

ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ ลอมฟางเถิด
ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง และลอมฟาง

เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง
ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้

ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูตอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้

ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้

ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้

ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ


เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ
อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว


จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่




ดูกรพราหมณ์
ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้


ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น
ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ สัมปชัญญะ ฯ




รูปภาพ สาธุ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร