วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3907_resize_resize.JPG
100_3907_resize_resize.JPG [ 48.67 KiB | เปิดดู 3351 ครั้ง ]
tongue

ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา



เมื่อไหร่ปัญญานำหน้าเมื่อนั้นเป็นวิปัสสนาภาวนา

เมื่อไหร่ สติ สมาธิ นำหน้า เมื่อนั้น เป็นสมถะภาวนา

แต่ทั้งสมถะและวิปัสสนาเป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกัน จะไปยกย่องสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสำคัญกว่าอีกสิ่งหนึ่งย่อมเป็นความเห็นสุดโต่ง ไม่เป็นการสมควรสำหรับพุทธสาวก

ปัญญานำหน้า เพราะผู้นั้นมีปัญญาดีมาก่อน

สติ สมาธินำหน้า เพราะผู้นั้น สร้างสมมาอย่างนั้น

จะถกเถียงเอาชนะคะคานกันให้มากไปใย ลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามพื้นฐานและต้นทุนที่มีมาของแต่ละท่านแต่ละคนเถิด จักประเสริฐและสุขเย็น

อย่ากีดขวางธรรมทัศนะที่ไหม่เหมือนท่าน

แต่จงพิจารณาธรรมทัศนะทั้งหลาย ให้เป็นความรู้ที่ผ่านหู ผ่านตา เป็น อารมณ์ธรรม ปล่อยทิ้งไว้ให้ชาวโลกเขาวินิจฉัย ตัดสินด้วยปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านเถิด :b8:
cool

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่กลัวคือคนที่ศึกษาแล้วเห็นโทษ เลยไม่อยากข้องแวะ คนที่ไม่กลัวอาจจะรู้โทษและไม่รู้ พอใจจะข้องแวะไม่แตกต่างกับเรื่องของสิ่งเสพติด เช่นบุหรี่ คนที่เห็นโทษ ยอมไม่อยากข้องแวะ คนที่พอใจกับมันหรือออกจากมันไม่ได้ยอมข้องแวะมันไปตลอด จึงเป็นเรื่องนานาจิตตัง ไม่เห็นจะต้องมาพูดไรมากไปเลยกว่านี้ หากไม่ที่จะจบภพจบชาติ หลุดพ้นง่าย ก็ ทรง ดำรงฌาณต่อไปใครจะว่าใครได้ มันไม่ผิดไม่ถูก อยู่แล้วเรื่องแบบนี้ แค่เราบอกกล่าวถึงความเป็นจริงของมันก็พอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อพยากฤต :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา




สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า
เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น.


พระโยคาวจรย่อมเจริญสติปัฏฐานอันเป็นที่ตั้งของโลกุตตระฌานดังนี้


[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


[เห็นกายในกาย]
[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นเวทนาในเวทนา]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นจิตในจิต]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


[เห็นธรรมในธรรม]
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน



เจริญในธรรมครับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา




สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่าการตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร.....





[๔๘๓] สัมมัปปธาน ๔ คือ.
๑. ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น
๒. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
๔. ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว


[เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น].

[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น


[เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว].

[๔๙๐] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว



[เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น].

[๔๙๒] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น



[เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม].

[๔๙๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นอย่างไร

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว




[๕๐๑] ในบทเหล่านั้น สัมมัปปธาน เป็นไฉน.

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมัปปธาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมัปปธาน



เจริญในธรรมครับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา




สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่าเข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ .




[๕๑๘] อิทธิบาท ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร].

[๕๑๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร


[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร].

[๕๒๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร].

[๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธารสังขาร



[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร].

[๕๒๘] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขารเป็นอย่างไร ??

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร




คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท



เจริญในธรรมครับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา






ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ล้วนเป็นธรรมตัวเดียวกัน แต่แตกต่างกันเพียงบัญญัติที่เรียก


สมถะกับวิปัสสนานี่ ถกกันไม่รู้จบนะ
จริงๆแล้วเป็นเรื่องของการยึดติดในบัญญัติกันเท่านั้นเอง
อย่างขณิกสมาธิ ก็ถือว่าเป็นสมถะ เพียงแต่บางที่ไม่ยอมจัดเข้าสมถะเท่านั้น
บางที่จะจัดสมถะไว้ที่ อุปจารสมาธิกับอัปนาสมาธิเท่านั้น

คงจะลืมไปกันกระมังว่า แม้เป็นเพียงขณิกสมาธิ ก็ยังขึ้นชื่อได้ว่า " ธรรม "
ซึ่งเกิดจากการ " ทำ " ไม่ใช่แค่นำมาพูดๆ
อย่างน้อยขณิกสมาธิเมื่อเจริญให้มาก ทำให้มากขึ้น ย่อมสะสมเป็นอัปนาสมาธิได้


แล้วทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ล้วนประกอบไปด้วยเหตุแห่งการกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลของสมถะและวิปัสสนา
ไม่ใช่ผลแค่วิปัสสนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา




สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??



พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่ .



โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๔

[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อัญญินทรีย์ ฯลฯ. มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา





สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??




พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่.
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว


โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ. อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล





โลกุตตรกุศลจิต
[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้




สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ

[๒๒๔] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์ กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ กำลังคือความเพียร สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๖] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ กำลังคือสติ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๗] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๘] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค มีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๒๙] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย กิริยาที่ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น.

[๒๓๐] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว กิริยาที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 18:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา





สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??




พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่าเข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้.




[๕๕๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



" ธรรม " ทุกอย่าง ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม
ล้วนสำเร็จได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา





สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??




พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่าเข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้.




[๕๕๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์


ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณหิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์
๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีในสมัยนั้น


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ทั้งหมดนี้แหละคือ วิปัสสนาภาวนา





สวัดสครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


มาดูกันต่อนะครับว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิดอย่างไร ??




พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก.

นำออกจากอะไร ??
นำออกจากโลกียะ นำออกจากวัฏฏะ

สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า นำออกจากอวิชชา
สัมมาสังกัปปะ ชื่อว่า นำออกจากเครื่องกังวล
สัมมาวาจา ชื่อว่า นำออกจากความตรึกและความรำคาญ
สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า นำออกจากบาปเวร
สัมมาอาชีวะ ชื่อว่า นำออกจากทุจริต
สัมมาวายามะ ชื่อว่า นำออกจากอกุศลและโลกียะกุศล
สัมมาสติ ชื่อว่า นำออกจากความหลงในขันธ์ 5
สัมมาสมาธิ ชื่อว่า นำออกจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย.



อัฏฐังคิกวาร

[๕๙๑] มรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา
๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ
๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ
๘. สัมมาสมาธิ
ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

" ธรรม " ทุกอย่าง ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม
ล้วนสำเร็จได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔


โจรปล้นร้านทอง..... ก็คงสำเร็จด้วยสติปัฏฐาน สิครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:

" ธรรม " ทุกอย่าง ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรม
ล้วนสำเร็จได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔


โจรปล้นร้านทอง..... ก็คงสำเร็จด้วยสติปัฏฐาน สิครับ




ลองพิจรณาดูสิคะว่าจริงไหม?

เลือกเอานะกุศลหรืออกุศล
มันก็แค่บัญญัติที่ใช้ในการเรียกเท่านั้นเอง

เพียงแต่เราต้องมีบัญญัติไว้เพื่อให้รู้ ไว้สำหรับใช้ในการสื่อสารไปในทางเดียวกัน
แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อยึด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร