วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๐] วิญญาณทราม วิญญาณประณีต เป็นไฉน


อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณประณีต
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทรามวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต
วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต


หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน


อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ และอัพยากตวิญญาณ
กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ
กุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ
อกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ
อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ
กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ
วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

นี้เรียกว่าวิญญาณไกล



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณใกล้ เป็นไฉน


อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ
กุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ
อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากตวิญญาณ
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

นี้เรียกว่าวิญญาณใกล้




หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง.....

ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณอย่างไร ฯ

.....ขันธ์ ๕

......อายตนะ ๑๒

********************************

อายตนะ ๑๒ เพราะอรรถว่า ......
.....เป็นที่อยู่
.....เป็นบ่อเกิด
.....เป็นที่ประชุมลง
.....เป็นถิ่นที่เกิด
.....เป็นการณะ ได้แก่
(สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ ประกอบด้วยอายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖)

“อายตนะภายใน ๖”
.....๑. จักขายตนะ (จักขุ = ตา)
.....๒. โสตายตนะ (โสต = หู)
.....๓. ฆานายตนะ (ฆาน = จมูก)
.....๔. ชิวหายตนะ (ชิวหา = ลิ้น)
.....๕. กายายตนะ (กายะ = กาย)
.....๖. มนายตนะ (มโน = ใจ)

“อายตนะภายนอก ๖”
.....๗. รูปายตนะ (รูป)
.....๘. สัททายตนะ (เสียง)
.....๙. คันธายตนะ (กลิ่น)
.....๑๐. รสายตนะ (รส)
.....๑๑. โผฏฐัพพายตนะ (สัมผัสทางกาย)
.....๑๒. ธัมมายตนะ (ธรรมที่เกิดทางใจ)



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๙๗] อายตนะ ๑๒ คือ
๑. จักขายตนะ
๒. รูปายตนะ
๓. โสตายตนะ
๔. สัททายตนะ
๕. ฆานายตนะ
๖. คันธายตนะ
๗. ชิวหายตนะ
๘. รสายตนะ
๙. กายายตนะ
๑๐. โผฏฐัพพายตนะ
๑๑. มนายตนะ
๑๒. ธัมมายตนะ


[๙๘] จักขุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
โสตะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
สัททะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ฆานะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
คันธะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ชิวหา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
รส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
โผฏฐัพพะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
มโน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๙๙] อายตนะ ๑๒ คือ
๑. จักขายตนะ
๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ
๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ
๖. มนายตนะ
๗. รูปายตนะ
๘. สัททายตนะ
๙. คันธายตนะ
๑๐. รสายตนะ
๑๑. โผฏฐัพพายตนะ
๑๒. ธัมมายตนะ


[๑๐๐] ในอายตนะ ๑๒ นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ

โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ

มนายตนะ เป็นไฉน
มนายตนะหมวดละ ๑ คือ มนายตนะเป็นผัสสสัมปยุต. มนายตนะหมวดละ ๒ คือ มนายตนะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. มนายตนะหมวดละ ๓ คือมนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ มนายตนะหมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ

รูปายตนะ เป็นไฉน
รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ

สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ

ธัมมายตนะ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ

ในธัมมายตนะนั้น เวทนาขันธ์เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์

สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์


สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์

รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ

อสังขตธาตุ เป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธัมมายตนะ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง.....

ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณอย่างไร ฯ


.....ขันธ์ ๕
......อายตนะ ๑๒
......ธาตุ ๑๘

********************************

ธาตุ ๑๘ หมายถึง สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ ได้แก่
....๑. จักขุธาตุ
....๒. รูปธาตุ
....๓. จักขุวิญญาณธาตุ
....๔. โสตธาตุ
....๕. สัททธาตุ
....๖. โสตวิญญาณธาตุ
....๗. ฆานธาตุ
....๘. คันธธาตุ
....๙. ฆานวิญญาณธาตุ
....๑๐. ชิวหาธาตุ
....๑๑. รสธาตุ
....๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
....๑๓. กายธาตุ
....๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
....๑๕. กายวิญญาณธาตุ
....๑๗. ธรรมธาตุ
....๑๘. มโนวิญญาณธาตุ




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 20:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๑- นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ


รูปธาตุ เป็นไฉน
รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปธาตุ


จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน
โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ


สัททธาตุ เป็นไฉน
เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ


โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและสัททารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน
ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ


คันธธาตุ เป็นไฉน
กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ


ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและคันธารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ


รสธาตุ เป็นไฉน
รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ


ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและรสารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน
กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่างบ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ


โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ


กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏฐัพพารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ


ธรรมธาตุ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ


ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์


สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์


สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือสังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์


รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ


อสังขตธาตุ เป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ


มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง.....

ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ เป็นอรรถสันทัสสนญาณอย่างไร ฯ


.....ขันธ์ ๕
......อายตนะ ๑๒
......ธาตุ ๑๘
......กุศลธรรม

********************************


“กุศลธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่ กุศลในภูมิ ๔ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ)

....กุศลมูล ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ)
....นามขันธ์ ๔ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) อันสัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น
....กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลธรรมได้แก่
1.กามาวจรกุศล....เหตุให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา
2.รูปาวจรกุศล......เหตุให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา หรือรูปพรหมแล้วแต่ความปรารถนา
3.อรูปาวจรกุศล......เหตุให้ไปเกิดเป็น อรูปพรหม
4.โลกุตตระกุศล
.....โสดาปัตติมัคค......เหตุให้ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกไม่เกิน 7 ครั้ง แล้วบรรลุอรหัตตผล
.....สกทาคามีมัคค......เหตุให้ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว แล้วบรรลุอรหัตตผล
.....อนาคามีมัคค......เหตุให้ไปเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาส ไม่หวลกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีก แล้วบรรลุอรหัตตผลในพรหมโลกนั้น
.....อรหัตตมัคค......เหตุแห่งดับสิ้นอาสาวกิเลส ดับขันธ์ปรินิพพาน จุติแล้วขันธ์ 5 ดับแล้วไม่เกิดอีก



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 85 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร