วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 29  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งโดยกำหนดรู้ลมหายใจอย่างเดียวได้ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น
ต่อจากนั้นสมาธิรู้สึกวูบเข้าไป อาการ 32 ออกมาในความคิดเลย ต่อด้วย
กรรมฐาน 5 ตามที่เคยนึกคิดขณะนั่งสมาธิตลอดมา ครั้งแรกคิดว่าจะฝืน
กำหนดรู้ลมอย่างเดียวต่อไปไหมแต่ในความคิดก็คิดว่าอย่าฝืนเลยปล่อยไป
ตามที่จิตต้องการเถอะ สมาธิก็วูบเข้าไปวูบที่ 2 ภาพปรากฎออกมาเลยค่ะ

ภาพนิมิตเป็นภาพคนผู้ชายยืนเต็มตัวผมยาวรุงรังประมาณเอว
หนังติดกระดูก เป็นกายสังขารของคนอายุมากๆ ประมาณ 100 - 200 ปี
แต่ภาพนิมิตไม่ได้แสดงว่าเขาเหนื่อยเขาทุกข์นะคะ สิ่งที่มากระทบใจก็คือ

สังขารเป็นไปได้อย่างนี้เชียวหรือไม่น่ารักน่าใคร่แต่อย่างใดเลย
มองดูเฉยๆ ความรู้สึกเริ่มเบื่อสังขารของตัวเองด้วย กายของเรานี้น่าเบื่อจังเลย
นะ เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นกับมันเลย ก็เลยนิ่งกับจิตที่รู้สึกเช่นนั้นอย่างเดียว

ขณะนั้นตัวดิฉันเองมองดูภาพอย่างเดียวและรับรู้ในสิ่งที่รู้สึก
เท่านั้น และไม่กลัวภาพนิมิตแล้วค่ะแม้ภาพนิมิตจะไม่สวยงามเพียงใด
สงสัยเริ่มชินกับมันน่ะค่ะ ผลการปฎิบัติเท่าที่ทำได้ตามคำแนะนำทำได้เพียง
เท่านี้เองค่ะ ขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยนะคะ และท่านอาจารย์
มหาราชันย์สบายดีหรือเปล่าคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
ภาพนิมิตเป็นภาพคนผู้ชายยืนเต็มตัวผมยาวรุงรังประมาณเอว
หนังติดกระดูก เป็นกายสังขารของคนอายุมากๆ ประมาณ 100 - 200 ปี
แต่ภาพนิมิตไม่ได้แสดงว่าเขาเหนื่อยเขาทุกข์นะคะ สิ่งที่มากระทบใจก็คือ

สังขารเป็นไปได้อย่างนี้เชียวหรือไม่น่ารักน่าใคร่แต่อย่างใดเลย
มองดูเฉยๆ ความรู้สึกเริ่มเบื่อสังขารของตัวเองด้วย กายของเรานี้น่าเบื่อจังเลย
นะ เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นกับมันเลย ก็เลยนิ่งกับจิตที่รู้สึกเช่นนั้นอย่างเดียว



สวัสดียามเย็นครับคุณศรีวรรณ์ ไคร้งาม


ขออนุโมทนาสาธุการกับผลการปฏิบัติที่ดีขึ้นครับ

ลำดับต่อไปให้อบรมจิตด้วยคาถาบทนี้นะครับ
ท่องบ่อย ๆ ตลอดวัน นึกได้เมื่อใดก็ท่องเมื่อนั้น ครั้งละ 2-3 เที่ยว พอมีปีติสุขตั้งมั่นก็ไม่ต้องท่อง ถ้าปีติสุขเสื่อมไปให้ท่องใหม่ดังนี้ครับ


ดูก่อนพราหมณ์
เราเห็นธิดาของเธอเป็นเสมือนถังใส่คูถ
เรามิปรารถนาจะแตะต้องแม้ด้วยเท้า




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองทำสมาธิแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่า... จะไม่มีอาการ 32 หรือกรรมฐาน 5 ปรากฎอีก และนั่งไปเรื่อยๆ จนกว่า... จะไม่มีอาการวูบ
จะใช้เวลามากน้อยเพียงใด คงตอบไม่ได้

ส่วนนิมิตผู้ชายนั้น จริงๆ เรามีคำตอบบางอย่าง แต่ยังไม่อยากฟันธง... แต่ไม่มีอะไรต้องกังวลหรอกนะ สเบยๆ :b4: :b4: :b4:

เพิ่มเติม: ไม่ใช่ว่ากรรมฐาน 5 มันไม่ดีนะ แต่มันเป็นเบื้องต้น การวิปัสสนาแบบแท้ๆ นั้น เขาทำในระดับวิญญาณ คือมุ่งเข้าที่ จิต แล้ว ไม่ใช่ร่างกาย


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 23 ธ.ค. 2009, 19:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอาจารย์มหาราชันย์ และท่านอาจารย์ murano

ขอบพระคุณค่ะ จะพยายามนำไปปฎิบัติค่ะ


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศรีวรรณ cool
ได้เดินจงกรม ก่อนที่จะ นั่งหรือเปล่าคะ
ถ้าเดิน เดินกี่นาที และ นั่งกี่นาทีคะ
ทำต่อเนื่องทุกวันหรือเปล่าคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b13.jpg
b13.jpg [ 48.9 KiB | เปิดดู 6321 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณศรีวรรณ

อ้างคำพูด:
นั่งโดยกำหนดรู้ลมหายใจอย่างเดียวได้ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น
ต่อจากนั้นสมาธิรู้สึกวูบเข้าไป อาการ 32 ออกมาในความคิดเลย ต่อด้วย
กรรมฐาน 5 ตามที่เคยนึกคิดขณะนั่งสมาธิตลอดมา ครั้งแรกคิดว่าจะฝืน
กำหนดรู้ลมอย่างเดียวต่อไปไหมแต่ในความคิดก็คิดว่าอย่าฝืนเลยปล่อยไป
ตามที่จิตต้องการเถอะ สมาธิก็วูบเข้าไปวูบที่ 2 ภาพปรากฎออกมาเลยค่ะ

ภาพนิมิตเป็นภาพคนผู้ชายยืนเต็มตัวผมยาวรุงรังประมาณเอว
หนังติดกระดูก เป็นกายสังขารของคนอายุมากๆ ประมาณ 100 - 200 ปี
แต่ภาพนิมิตไม่ได้แสดงว่าเขาเหนื่อยเขาทุกข์นะคะ สิ่งที่มากระทบใจก็คือ

สังขารเป็นไปได้อย่างนี้เชียวหรือไม่น่ารักน่าใคร่แต่อย่างใดเลย
มองดูเฉยๆ ความรู้สึกเริ่มเบื่อสังขารของตัวเองด้วย กายของเรานี้น่าเบื่อจังเลย
นะ เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นกับมันเลย ก็เลยนิ่งกับจิตที่รู้สึกเช่นนั้นอย่างเดียว

ขณะนั้นตัวดิฉันเองมองดูภาพอย่างเดียวและรับรู้ในสิ่งที่รู้สึก
เท่านั้น และไม่กลัวภาพนิมิตแล้วค่ะแม้ภาพนิมิตจะไม่สวยงามเพียงใด
สงสัยเริ่มชินกับมันน่ะค่ะ ผลการปฎิบัติเท่าที่ทำได้ตามคำแนะนำทำได้เพียง
เท่านี้เองค่ะ ขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยนะคะ และท่านอาจารย์
มหาราชันย์สบายดีหรือเปล่าคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม

:b27:
อโศกะ เขียน

คุณศรีวรรณ กำลังเจริญอยู่ในสมถะภาวนา ผสมด้วยวิปัสสนากรรมฐานนิดๆ
เส้นทางเดินของสมถะภาวนาจะมีเหตุและผลรับกันไปเป็นลำดับอย่างนี้นะครับ


1.บริกรรมนิมิตร จิตติดอยู่ในคำบริกรรม คำสวด หรือกรรมฐานที่นำมาเจริญ อย่างเช่นการกำหนดลมหายใจ การสวดท่องอาการ 32 การกำหนดคำบริกรรม หนอ ฯลฯ ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่กับคำสวดหรือกรรมฐานได้ดีแล้ว สมาธิจะมีกำลังมากขึ้น จะเกิดผลของสมาธิเป็นนิมิตหรือ อาการต่างๆขึ้นมา เช่นตัวยืดตัวยาว ตัวเบาใจเบา ตัวหาย อวัยวะหาย ปีติซาบซ่าน สงบกาย จิต เข้าภวังค์ ลืมตัว เห็นภาพนิมิตต่างๆ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นธาตุขันธ์แยก เน่าเปื่อย เปลี่ยนแปลง เป็นต้น

2.อุคคหนิมิตร กรรมฐาน หรือนิมิตรต่างๆที่เหมาะควรกับจริต เคยสร้างสมมาก่อนแต่อดีตชาติ จะชัดเจนเด่นขึ้นมากว่าเพื่อน อย่างคุณศรีวรรณนี้อดีตชาติเคยทำอานาปานสติมาก่อน แล้วมาได้ อสุภกรรมฐาน จึงได้นิมิต ภาพต่างๆ ดังบันทึกที่เล่ามา

เมื่อนิมิตรชัดเจนอย่าางนี้แล้ว ถ้าจะยกขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน ก็เพียงแต่ยกเอานิมิตรที่ชัด ติดใจ นั่งสมาธิเมื่อไหร่ก็เห็นนั้น มา สังเกต พิจารณา เป้าหมายของการพิจารณาก็คือ ให้เห็นรูปนิมิตรนั้นเป็น

อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา

เป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง

เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

เป็นอสุภ ไม่ดี ไม่งาม น่าเกลียด น่าสพึงกลัว ฯลฯ

เมื่อน้อมพิจารณาได้อย่างนี้บ่อยๆ นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในธาตุขันธ์ จะเกิดขึ้น แรงขึ้นเรื่อยๆ จนคลายความยึดมั่นถือมั่นในธาตุขันธ์ กาย ใจ นี่คือทางรอด ทางก้าวหน้า


เมื่อเกิดอุคหนิมิตบ่อยๆ ชำนาญและเลือกสรรนิมิตได้ตามใจ มากขึ้นเรื่อยๆแล้ว จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งคือ

3.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเป็นไปได้ดั่งใจ สั่งได้ อยากยกเอานิมิตใดขึ้นมาพิจารณาก็เรียกเอามา นึกขึ้นมาได้ดั่งใจ ย่อให้เล็ก ขยายให้ใหญ่ ทำให้ชัด หรือจางลง หายไป ดับไป ปรุง ชำแหระ หรือประกอบขึ้นมาใหม่ก็ได้ ถึงตอนนี้จะมีผลพลอยได้ เช่น รู้ใจคน รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เห็นเลขหวย ฯ ลฯ นี้เป็นสิ่งล่อหลอก ถึงระดับนี้จิตจะตั้งมั่นมาก หยุดความคิดนึก คือละวิตกวิจารณ์ได้บ้าง เริ่มเข้าสู่ระดับฌาณ 1 - 2 - 3 จนถึง 4 เป็นเอกัตคตาจิต

4.อัปนาฌาณ เมื่อสมาธิมีกำลังจนเป็นฌาณถึงฌาณ 4 ได้แล้วก็อาจสามารถ สั่ง บอก หรือ อธิษฐาน เข้าฌาณสมาบัติได้ เช่นอธิษฐานดับลมหายใจ เข้าภวังค์นั่งตัวแข็งทื่อหมดความรู้สึกรับรู้ต่างๆ ไปชั่วขณะเวลาที่กำหนด ถ้าจะเจริญต่อไปสู่อรูปฌาณ ก็ มาจับอรูปกรรมฐาน เช่น อากาศ ความว่าง แสงสว่าง ฯลฯ เจริญต่อไป

สมถะนำวิปัสสนาอย่างนี้ ถ้าจะเอามรรค ผล นิพถพาน ก็ต้องไปอยู่ที่ อุคคหนิมิต และฌาณที่ 1 ให้ความคิดนึก วิตกวิจารณ์ทำงานได้ แล้วพิจารณากรรมฐานต่างๆ ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ช้า มรรค ผล นิพพานก็จะเกิดได้ ดังนี้


ทั้งหมดเป็นการอธิบายแบบรวบย่อ ลัด ๆ เอา ถ้าต้องการรายละเอียดในส่วนต่างๆ ก็ต้องศึกษาหาความรู้เจาะลึกลงไปเป็นเรื่องๆครับ ต้องไปหาอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตร รู้จริง ทำได้จริง สนทนาขอความรู้จากท่าน สมัยนี้ยิ่งง่าย มีโทรศัพท์มือถือ ทำความรู้จักท่าน รู้เบอร์โทรท่านแล้วโทรคุยเลย จะง่ายและรู้เร็วกว่า เคาะคีย์บอร์ดคุยกันอย่างนี้

มีข้อเตือนนิดหนึ่งว่า ถ้าจะปฏิบัติแบบเอาสมถะนำหน้าวิปัสสนาภาวนาอย่างนี้ ต้องมีพี่เลี้ยงกำกับ ใกล้ชิด เพราะทำงานกับนิมิตอย่างนี้ มักมีโอกาส หลง ได้ง่าย ทั้งหลงนิมิต หลงฤทธิ์ หรือหลง ปีติ ปัสัทธิ สุข ต่างๆ อันเป็นผลพลอยได้ของสมาธิ

ต่างกับการเจริญวิปัสสนาภาวนา นำหน้าสมถะ จะไม่ค่อยเสี่ยง เพราะทำงานกับสภาวะจริง
ๆ ในกายและจิต ทำงานกับปัจจุบันอารมณ์ ทำงานกับเวทนา

วิปัสสนาเป็น อนิมิตตัง ไม่ค่อยมีนิมิตต่างๆ มาเกี่ยวข้อง ให้หลงทาง ครับ

ยาวไปหน่อยไหมครับคุณศรีวรรณ ขออภัย พยายามอ่านดูและพิจารณาไป วิธีที่ดี ต้องพิมพ์ข้อความออกไปอ่านจะง่ายขึ้นครับ ทุกความเห็นที่ชอบใจนะครับ

ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมโดยเร็ววันนี้เทอญ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณWalaiporn เดินจงกลมประมาณครั้งละ 20 นาที เดือนหนึ่ง
มีโอกาสและเวลาว่างเดินประมาณ 10 กว่าครั้งเองค่ะ นอกนั้นไม่สะดวกนีค่ะ
สำหรับการนั่งไม่แน่นอนบางวันนั่งเพียง 10 นาที ไปจนถึง 1 ชั่วโมงค่ะ
ส่วนใหญ่จะใช้เวลานั่งประมาณ 50 นาทีค่ะ ขอขอบพระคุณมากนะคะ
สำหรับความใส่ใจ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณอโศกะ ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับข้อแนะนำที่ตั้งใจมอบให้
ทั้งหมด พยายามอ่านและพยายามทำความเข้าใจอยู่ค่ะเพราะอาการไข้ยังไม่
หายยังทานยาอยู่และยังง่วงอยู่น่ะค่ะไว้อีก 1-2 วันจะเขียนมาเรียนถามข้อสงสัย
ทั้งหมดนะคะ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ ขอบพระคุณในนำใจที่ให้มาทั้งหมดค่ะ
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม
(ยังมีต่อค่ะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่านอาจารย์มหาราชันย์ และท่านอาจารย์ murano ค่ะ

รายงานผลการปฎิบัติวันที่ 23 ธันวาคม 52 ค่ะ
เวลา 23.30 น. นั่งโดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้า- ออก อย่างเดียว
ปรากฎเวทนาคือเหน็บชา กับคัน บริเวณขา ก็ไม่สนใจคิดว่า สักเพียง
เวทนา สักเพียงเหน็บชา สักเพียงคัน ก็นั่งได้กำหนดรู้ลมหายใจไป
เรื่อยๆ เวลา 24.00 น. มีคนมาเรียกลุกไปทำภาระกิจแป๊บหนึ่ง ปรา
กฎเหน็บชาลุกแทบไม่ได้ กลับมานั่งใหม่ในห้านาทีต่อมา ก็กำหนด
คิดเวทนาอย่างเดิมก็นั่งไปได้ วันนี้ไม่มีภาพปรากฎแต่มีกลุ่มแสงสี
เหลืองลอยเป็นกลุ่มอยู่ระดับสายตาข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา กลุ่มแสง
ไม่เคลื่อนไหวแต่อยู่ใด ไม่สนใจอะไรกำหนดรู้เพียงอย่างเดียวค่ะจนกระทั่ง
ออกจากสมาธิ เวลา 24.45 น.ค่ะ ผลการปฎิบัติๆ ได้เพียงนี้ค่ะ

สำหรับคาถาที่ท่านอาจารย์มหาราชันย์ให้มาท่องได้ตั้งแต่เมื่อคืนแล้วค่ะ
เพราะเคยอ่านเรื่องนี้มาก่อนครั้งหนึ่งค่ะ ท่องมาเรื่อยๆ จนถึงเวลานี้แต่
ประสบปัญหาอย่างหนึ่งค่ะเวลาท่องไปเรื่อยๆ ทำให้ลืมหน้าที่ประจำวันซึ่ง
มีอยู่มากไปหมดค่ะ เอาไว้ท่องตอนว่างจริงๆ เพียงวันละ 10-20 นาที
ได้ไหมคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ วันนี้มึนๆอยู่ขอเขียนรายงาน
แค่นี้นะคะอาจารย์
ขอบพระคูณที่เมตตาอีกครั่งค่ะ
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ดูก่อนพราหมณ์
เราเห็นธิดาของเธอเป็นเสมือนถังใส่คูถ
เรามิปรารถนาจะแตะต้องแม้ด้วยเท้า



สวัสดีครับคุณศรีวรรณ์ ไคร้งาม

มาคันทยะพราหมณ์ และมาคันทยะพราหมณีปฏิบัติตามคาถาบทนี้ แล้วบรรลุอนาคามีผลครับ
คาถบทนี้จึงน่าขะเหมาะกับคุณศรีวรรณ์ ไคร้งามที่ชอบเจริญอาการ 32 ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
สวัสดีค่ะ คุณWalaiporn เดินจงกลมประมาณครั้งละ 20 นาที เดือนหนึ่ง
มีโอกาสและเวลาว่างเดินประมาณ 10 กว่าครั้งเองค่ะ นอกนั้นไม่สะดวกนีค่ะ
สำหรับการนั่งไม่แน่นอนบางวันนั่งเพียง 10 นาที ไปจนถึง 1 ชั่วโมงค่ะ
ส่วนใหญ่จะใช้เวลานั่งประมาณ 50 นาทีค่ะ ขอขอบพระคุณมากนะคะ
สำหรับความใส่ใจ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณอโศกะ ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับข้อแนะนำที่ตั้งใจมอบให้
ทั้งหมด พยายามอ่านและพยายามทำความเข้าใจอยู่ค่ะเพราะอาการไข้ยังไม่
หายยังทานยาอยู่และยังง่วงอยู่น่ะค่ะไว้อีก 1-2 วันจะเขียนมาเรียนถามข้อสงสัย
ทั้งหมดนะคะ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ ขอบพระคุณในนำใจที่ให้มาทั้งหมดค่ะ
ศรีวรรณ์ ไคร้งาม
(ยังมีต่อค่ะ)






คุณจะชอบอริยาบทนั่งมากกว่าเดิน
จริงๆแล้ว อริยาบทเดิน สามารถใช้ได้ทุกเวลาทุกโอกาส ทุกสถานที่
การที่นั่งอย่างเดียว กำลังของสมาธิย่อมแรง สติย่อมไม่ทัน
ข้างล่างนำมาให้อ่านนะคะ



bbby เขียน:
คุณน้ำ ขอถามคำถามที่ออกจะแปลกหน่อยน่ะค่ะ คือสงสัยมานานแล้วค่ะคือ
เวลาเดินจงกลมนี่ เค้าเดินแล้วหลับตาหรือปล่าวค่ะ
แล้วเท้าล่ะค่ะ ค่อยๆก้าวช้าๆ หรือว่าแบบปกติค่ะ




เดินจงกรมลืมตาเดินค่ะ เหมือนเราเดินทำงานนี่แหละค่ะ
ส่วนมือจะเอากุมมือไว้หน้า หรือไขว้ไว้หลัง หรือปล่อยแกว่งตามสบาย ทำได้ทั้งนั้นค่ะ

คำว่า เดินจงกรม มันเป็นเพียงคำศัพท์เท่านั้นแหละค่ะ
การเดินจงกรม คือ การมีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่กับการเดิน

จริงๆ ในชีวิตของเรา ทุกลมหายใจของเรา ตั้งแต่เราลืมตาตื่นขึ้นมา จนกระทั่งเข้านอน
มันก็คือการปฏิบัติน่ะค่ะ เพียงแต่เราอาจจะไปยึดติดในรูปแบบว่า
การปฏิบัติคือการเดินจงกรมกับการนั่งสมาธิ เท่านั้น

การเดินจงกรมก็เช่นเดียวกัน ขณะที่เราทำงานหรือทำอะไรอยู่ก็ตาม
ในอริยาบทเดิน ขอให้เรามีสติรู้อยู่กับทุกย่างก้าวที่เดิน
เมื่อเราสามารถรู้ลงไปทุกย่างก้าวที่เดินได้ สติ สัมปชัญญะเราย่อมเกิดมากขึ้น

เพียงแต่รูปแบบในการเดินจงกรมที่มีเกิดขึ้นมานั้น เพื่อให้เหมาะสมแต่ละคน
คนแต่ละคนล้วนมีสติ สัมปชัญญะไม่เท่ากัน ตามแต่เหตุที่กระทำกันมา
ทำไมต้องใช้หนอ ทำไมต้องใช้จิตรู้ ทำไมต้องใช้ตัวเลข ทำไมแค่รู้
ทุกอย่างล้วนเป็นอุบายในการแนะนำหรือการสอน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเลือกรูปแบบเอาเอง
ตามที่ตัวเองทำแล้วถนัด ทำแล้วสะดวก ทำแล้ว ทำให้รู้อยู่กับเท้าทุกย่างก้าวได้

ลองอ่านดูนะคะ นี่อีกคนที่มาปรึกษา บางคนจะติดศัพท์ ติดคำเรียก
เลยทำให้ไม่ยอมเดินก่อนที่จะนั่ง จริงๆแล้วควรจะเดินก่อนที่จะนั่ง
เพื่อสติจะได้ดีขึ้น ทำให้ความคิดน้อยลง สมาธิตั้งมั่นได้ง่ายขึ้น
ยิ่งเดินมากยิ่งดี เดินหลายๆชม.ได้ยิ่งดี




หรอ says: ทำไมเวลานั่งสมาธิไป สักพัก มันก็คล้ายกับอยู่ในห้องว่างๆ ไม่มีอะไร
แต่จู่ๆ มันดันคิกดเรื่องโน้นเรื่องนี้ขึ้นมาเองอ่ะพี่ พอเริ่มรุ้สึกว่ามันคิด มันก็หยุดคิดเอง
แต่ถ้ารุ้สึกไม่ทัน มันก็จะคิดๆไป แล้วมีอาการเหมอนวุบด้วย ทำไมอ่ะพี่

สุขที่แท้จริง says: เดินจงกรมก่อนนั่งป่ะ

หรอ says: ป่าว นั่งอย่างเดียว ไม่ได้เดินเลย

สุขที่แท้จริง says: ควรจะเดินจงกรมก่อนที่จะนั่ง

หรอ says: ยังไม่ถนัด ยังบอกอาการยากเวลา เดิน

สุขที่แท้จริง says: แค่เดินๆนี่นะ ทุกคนมีใครมั่งที่ไม่เดิน ไปทำงานก็ต้องเดิน

หรอ says: เดินครับ

สุขที่แท้จริง says: แล้วถ้าจะต้องนั่งสมาธิ แค่เราเดินเหมือนเราทำงานนี่แหละ
แต่ต้องตั้งเวลาไว้ว่า จะเดินสักกี่นาที มันแตกต่างจากกันตรงไหน มันก็แค่คำเรียกน่ะ เดินจงกรม แค่ศัพท์

หรอ says:ก็จะลองพยายามก่อนนะพี่ คราวหน้าคงมีไรมาพูดคุยสอบถามบ้าง
ว่าแต่ไออาการที่ผมบอกน่ะคือไรอ่ะ

สุขที่แท้จริง says: ไม่มีอะไรค่ะ ความคิดมันย่อมมีเป็นเรื่องธรรมดา

หรอ says: จำเป็นต้องรุ้ทันมันไหม๊

สุขที่แท้จริง says: เดินก่อนนั่งค่ะ แล้วจะดีขึ้น ถ้าเดินก่อนสักชม.ยิ่งดี
มันจะไม่ค่อยเกิดความคิดเวลานั่ง

หรอ says: แต่เมื่อก่อนเดินไปๆ มันมีอาการตึงๆแน่นๆอ่ะ

สุขที่แท้จริง says: มันตึงมันแน่น มันก็เรื่องธรรมดา มันเกิดแล้วก็หาย

หรอ says:บางทีก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนไม่รุ้อะไรไปเลย เช่น 10 - 9 เหลือเท่าไหร่หน้อ
ต้องตั้งสติแล้วคิดใหม่

สุขที่แท้จริง says: แล้วจะไปรู้อะไรล่ะนั่น เดินก็รู้เท้าที่เดินแค่นั้นเอง

หรอ says:หมายถึงเดินไปเดินมา ก็มีอาการอย่างว่า พอเลิกกำหนด
จะขายของ ดันคิดเลขไม่ออกดิ่พี่ ทอนตังค์ไม่ถุก

สุขที่แท้จริง says:ไปกำหนดอะไรล่ะนั่น

หรอ says:ตึกๆๆๆ

สุขที่แท้จริง says: แค่ให้รู้เท้าที่กำลังเดิน

หรอ says:ครับ ผมไปนะพี่

สุขที่แท้จริง says: อย่าลืมเดินจงกรมก่อนนั่งนะคะ เดินๆๆๆธรรมดานี่แหละ
ไม่ต้องไปกำหนดตึกๆอะไร แค่ให้รู้ที่เท้ากำลังเดินพอ


ตรงนี้เป็นรูปแบบของการเดินจงกรมที่มีไว้ให้เปลี่ยนอริยาบท

การเดินจงกรม 6 ระยะ เราสามารถนำมาพลิกแพลงได้ โดยจะใช้การกำหนด " หนอ " เข้ามาช่วย
หรือ จะใช้ นับแบบเป็นจังหวะโดยใช้ตัวเลขมาใช้ หรือ จะใช้จิตรู้ลงไปในการเคลื่อนไหวก็ได้
เพียงแต่ควรยึดหลักเอาไว้เท่านั้นเอง

สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ ควรจะเดินระยะหนึ่งให้คล่องก่อน จึงค่อยๆเพิ่มระยะอื่นๆ

ระยะที่ 1

ใช้ หนอ ขวา ( ยกส้นเท้าขวา ปลายเท้ายังแตะอยู่ที่พื้น ) ย่าง ( ย่างเท้าไปข้างหน้า )
หนอ ( วางเท้าลงบนพื้น ) ซ้าย ย่าง หนอ

ใช้ตัวเลข 1 ( ใช้แทนกำหนดเท้า ) 2 ( ย่างเท้าไปข้างหน้า ) 3 ( วางเท้าลงกับพื้น )

ใช้จิตรู้ รู้ลงที่เท้าขวาพร้อมๆกับยกส้นเท้า รู้ลงไปกับเท้าที่ย่างไปข้างหน้า รู้ลงในเท้าที่วางลงกับพื้น

RIGHT GOES THUS LEFT GOES THUS



ระยะที่ 2

ใช้ หนอ ยกหนอ ( ท่าเตรียมคือ ยกส้นเท้ารอ กำหนดยกหนอ กระดกส้นเท้าขึ้น
ยกปลายเท้าลอยขึ้น แล้วย่างเท้าไปข้างหน้า ) เหยียบหนอ ( วางเท้าลงบนพื้น )

ใช้ตัวเลข 1 และ 2 การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

LIFTING TREADING



ระยะที่ 3

ใช้หนอ ยกหนอ ( ท่าเตรียมคือ ยกส้นเท้ารอ ปลายเท้าแตะพื้น พอกำหนดยกหนอ คือ
กระดกส้นเท้าขึ้น ยกปลายเท้าลอยขึ้นจากพื้น ) ย่างหนอ ( เท้าที่ยื่นไปข้างหน้า )
เหยียบหนอ ( วางเท้าลงบนพื้น )

ใช้ตัวเลข ใช้ 1 2 3 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

LIFTING MOVING TREADING


ระยะที่ 4

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าราบธรรมดา แล้วยกเท้าพร้อมๆกับคำกำหนด

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING TREADING


ระยะที่ 5

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ เหยียบหนอ

ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าราบธรรมดา แล้วยกเท้าพร้อมๆกับคำกำหนด

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 5 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของจังหวะเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING LOWERING TOUCHING


ระยะที่ 6

ใช้หนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ

ท่าเตรียมตัว ยืนเท้าเรียบธรรมดา ลงหนอ คือ หย่อนเท้าลง ถูกหนอ ปลายเท้าแตะพื้น
แต่ส้นเท้ายังไม่แตะ กดหนอ กดส้นเท้าลงเหยียบพื้น

ใช้ตัวเลข 1 2 3 4 5 6 แทนการใช้กำหนดหนอ ตามการเคลื่อนไหวของจังหวะเท้า

ใช้จิตรู้ การเคลื่อนจังหวะเท้า เหมือนกับใช้กำหนดหนอ แต่ใช้จิตรู้ลงไป

HEEL UP LIFTING MOVING LOWERING TOUCHING PRESSING



นำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar2089_30.gif
avatar2089_30.gif [ 16.26 KiB | เปิดดู 6279 ครั้ง ]
คุณศรีวรรณ์เป็นไข้เป็นอะไรมากไหมขอรับ :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีวรรณ์ ไคร้งาม เขียน:
ปรากฎเวทนาคือเหน็บชา กับคัน บริเวณขา ...วันนี้ไม่มีภาพปรากฎแต่มีกลุ่มแสงสี
เหลืองลอยเป็นกลุ่มอยู่ระดับสายตาข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา...


ก็ดูกลุ่มแสงไปเรื่อยๆ แหล่ะนะ จนกว่าจะไม่มีอะไรปรากฎอีก

เพื่อความเข้าใจ จะอธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อย...
ที่แนะนำให้ทำสมถะ จุดมุ่งหมายคือ เพื่อให้รู้ว่า ความสงบ เป็นอย่างไร

การพิจารณาทั้งหลายที่ทำมานั้น เป็นเบื้องต้นที่จะนำจิตให้เข้าสู่สมาธิ และยังเป็นการละกิเลสอย่างหยาบ (ในความหมายว่า ความรู้สึกอยากได้ใคร่มีที่รุนแรงและเด่นชัด) เมื่อสามารถเข้าสมาธิได้ดีแล้ว และลดละกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว ก็สมควรจะใช้วิธีอื่นเพื่อก้าวต่อไป

พึงสังเกตไว้ว่า การลดละกิเลสอย่างหยาบ คือการสร้างอารมณ์เบื่อหน่าย หรือสลดสังเวช ส่วนการลดละกิเลสอย่างละเอียด ต้องใช้การเห็นจริง และจะ ไม่มีอารมณ์หดหู่หรือเบื่อหน่าย แต่อย่างใด (เป็นอุเบกขา) คุณอาจจะกลับมาแต่งตัวสวยๆ อีก แต่จะไม่มีความรักสวยรักงามแบบเดิมๆ อีกต่อไป
(กิเลสอย่างละเอียดนี้ เราหมายความถึง อารมณ์ที่ไม่เด่นชัด หรืออีกนัยหนึ่ง แทบจะแฝงมาเป็นเนื้อเดียวกับความคิด)

การจะเข้าถึงการเห็นจริงนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำใจให้สงบ ไม่อย่างนั้นจะแยกแยะสิ่งที่ไม่สงบไม่ออก...

เรื่องนิมิตนั้น... เพราะว่าคุณศรีวรรณ์ ยังมีนิมิตที่สร้างเอง ก็เลยยังไม่อยากฟันธง แต่บางที... อาจเป็นโอปปาติกะ (เทวดา) ที่เขามาดูเราภาวนา และเขาจะปรากฎในลักษณะที่เราต้องการ สิ่งหนึ่งที่พอจะแยกได้คือ เราจะเห็นเหมือนเขามาดูเฉยๆ ไม่มีเรื่องราวอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (เหมือนเห็นคนอื่นน่ะ)
อีกอย่างที่ไม่ได้บอกตอนแรก เพราะเกรงว่า จะติดใจอยากเห็นอีก ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เป็นไร เห็นบ่อยๆ ก็จะชินไปเอง พอเฉยๆ เขาก็เฉยๆ ไม่มาให้เห็นบ่อยๆ อีก

เรื่องอาการป่วยนั้น เราคิดว่า ด้วยสมาธิระดับนี้ น่าจะเพียงพอต่อการรักษาตนเองได้บ้าง ลองนั่งสมาธิ แล้วกำหนดดวงสว่างในตัว ที่หน้าอกก็ได้ แล้วค่อยๆ เลื่อนมาที่ศรีษะ ทำซ้ำไปซ้ำมาจนกว่าจะพอใจ ตื่นเช้ามา ก็น่าจะดีขึ้น

ปล. อย่าเรียกอาจารย์เลย ฟังดูจั๊กกะจี้ดี เป็นธรรมทานแล้วกันนะ :b4: :b4: :b4:
ปล.2 แล้วก็... ถ้าไม่จำเป็น อย่าพยายามแช่งหรือด่าว่าใคร คนที่มีสมาธิระดับสูงๆ จะมีพลังมากกว่าคนทั่วไป


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 19:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

เข้ามาให้กำลังใจค่ะ

:b35:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอาจารย์ อโศกะ
ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่เมตตาเขียนเส้นทางเดิของสมถะภาวนาตามลำดับตั้งแต่
1. บริกรรมนิตมิตร 2. อุคคหนิมิตร 3. ปฎิภาคนิมิต และ 4. อัปนาฌาณ ทำให้เข้าใจการปฎิบัติ
ของตัวเอง ดังที่อาจารย์ว่าเป็นการเจริญอยู่ในสมถะภาวนา ผสมด้วย วิปัสสนากรรมฐาน นิดๆ นะค่ะ
ขอขอบพรุคุณอย่างมากค่ะ
การศึกษาหาความรู้เจาะลึกลงไปเป็นเรื่องๆ โดยจะต้องไปหาอาจารย์ที่เป็นกลัยาณมิตร รู้จริง
ทำได้จริงนั้น ท่านอาจารย์อโศกะ พอจะแนะอาจารย์และวัดที่จะไปพบท่านได้บ้างไหมค่ะ ขอบพระคุณ
อย่างยิ่งค่ะ และข้อเตือนที่ท่านอาจารย์เป็นห่วงในการปฎิบัติที่เอาสมถะนำหน้าวิปัสสนาภาวนา
ที่มีข้อเสี่ยงนั้น ขอความกรุณา อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ถ้าการปฎิบัติของลูกศิษย์คนนี้ผิดพลาด
อย่างไร ดิฉันจะพยายามเปลี่ยนการปฎิบัติเป็นการเจริญวิปัสสนาภาวนานำหน้าสมถะ แต่ขอเวลานะค่ะ
เพราะขณะนี้กำลังศึกษาความต่างของสมถะกับวิปัสสนาถ้าอย่างไรอาจารย์ จะกรุณาช่วยชี้แนะเพิ่มเติม
จะขอบพระคุณมากค่ะ (มีต่อค่ะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 17:47
โพสต์: 58

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอาจารย์ Walaiporn ขอขอบพระคุณสำหรับคำสอนเรื่องการเดินจงกลม
การเดินจงกลมของดิฉัน ดิฉันอ่านเอาจากการปฎิบัติของพระอาจารย์มั่น
ตามที่ปรากฎใน web นี้นะค่ะ เดินครั้งแรก 20 นาที พอวันที่2 เดินอีก 20 นาที
ปรากฎว่าเกิดปิติเย็นไปทั่วกายขณะกลับมานั่งเลยทันทีที่ค่ะ เลยเห็นอนุภาพของ
การเดินจงกลมมากค่ะ แต่เนื่องจาการทำงานไม่สะดวกที่จะปฎิบัติ จึงไม่ค่อยมี
โอกาสปฎิบัตินัก ทั้งๆ ที่อยากเดินมากค่ะ เคยแอบไปดูคำสอนของท่านอาจารย์
กรัชกราย และแอบเอามาปฎิบัติก็มีค่ะ ขณะนั้นยังไม่รู้จักท่านอาจารย์ Walaipron
นะค่ะ ถ้าอย่างไรอาจารย์จะกรุณาสอนเพิ่มเติมด้วยก็ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ




ปล.ขอบพระคุณท่านอาจารย์แมวขาวมณี ที่มาให้กำลังใจด้วยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
ศรีวรรณ ไคร้งาม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 29  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร