วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 15:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 11:50
โพสต์: 25

แนวปฏิบัติ: ดูลมหายใจ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ ถักโครเชต์ ฟังธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีเยอะจนบอกไม่ได้
อายุ: 0
ที่อยู่: somewhere over the rianbow

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คือว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติค่ะ
เพิ่งจะเริ่มปฏิบัติแบบจริง ๆ จัง ๆ ได้ไม่นาน ราว ๆ สี่เดือน
การปฏิบัติก็คือ จะใช้วิธีกำหนดจิต คือรู้สภาพของจิตตัวเอง รู้ลมหายใจเข้าออก
จะทำเกือบตลอดเวลาเลยค่ะ เพราะว่าพอดีป่วย ไม่สามารถออกไปจากบ้านได้
ไม่ว่าจะกินข้าว นั่ง นอน อาบน้ำ แปรงฟัน เรียกได้ว่าทำเกือบจะตลอดเวลา
พอจิตส่งออกนอก ก็จะดึงจิตเข้ามาอยู่กับตัว ทำแบบนี้เป็นประจำเสมอ ๆ
ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยคิดว่าปฏิบัติดีกว่า ทีแรกก็คิดแค่ว่า ปฏิบัติแล้วใจสบายดีก็เท่านั้นเอง


เมื่อไม่นานมานี้เท่าที่สังเกตตัวเอง มีอยู่สองสามครั้งที่มีอาการแบบนี้
คืิอระหว่างที่กำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่นั้น อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการเหมือนลมหายใจจะขาด
รู้สึกเหมือนตัวเองจะหายใจไม่ได้ ก็เลยรีบดึงลมหายใจตัวเองกลับมา
เล่าให้คุณแม่ฟัง ท่านบอกว่า จิตกำลังรวมเป็นหนึ่ง คราวหน้าถ้าเป็นอีกก็ปล่อยให้เป็นไปเลย
ทีแรกก็คิดว่าเป็นเพราะเราเหนื่อยง่ายหรือเปล่านะ คือว่ามีโรคประจำตัวอยู่ ปอดไม่ดี ปอดเสื่อม
ทำให้เหนื่อยง่าย ไม่ว่าจะทำอะไรแค่นิดหน่อยก็เหนื่อยแล้ว
แต่ช่วงที่มีอาการแบบนี้คือเป็นตอนที่นั่งอยู่เฉย ๆ แล้วกำหนดจิตให้ตัวเองหลับไป
แต่พอตอนเกิดอาการเหมือนอยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น จะว่าหลับก็ไม่ใช่ ตื่นก็ไม่เชิง
รู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เกือบตลอดเวลา มีสติรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นอะไร
อยากจะทราบว่าอาการแบบนี้คืออะไรคะ ใช่แบบที่คุณแม่หนูบอกรึเปล่า คือว่ามันสงสัยจริง ๆ ค่ะ




อีกคำถามหนึ่งก็คือ
เวลาไม่สบาย คือนอกจากอาการเหนื่อยง่าย ก็จะมีหายใจไม่ทัน เป็นแล้วทรมานมาก ๆ
เวลาเกิดทุกขเวทนา ควรจะกำหนดอย่างไรดีคะ ตอนนี้ใช้วิธีนึกคำบริกรรมเอาค่ะ
เป็นต้นว่า พุท โธ เพื่อไม่ให้จิตไปกังวลกับอาการทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย ปฏิบัติแบบนี้ได้หรือไม่คะ





กราบขอบพระคุณพี่ ๆ ทุกท่านที่กรุณาเมตตาแนะนำหนูนะคะ
อนุโมทนา สาธุค่ะ ^ ^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...ขออนุโมทนาในบุญกุศล ขอให้ปฏิบัติต่อไปไม่หยุด...
...ลักษณะการเกิดดับของจิตในแต่ละครั้งที่ปฏิบัติ...
...จะไม่เกิดซ้ำในสิ่งเดิมที่เคยเกิดอีกให้สังเกตการเปลี่ยนแปลง...
...และไม่ต้องคาดหวังอะไรแต่กำหนดรู้จิตขณะปัจจุบัน...
...โดยไม่ต้องไปกังวลว่าลมหายใจจะหมดไปอย่างไรค่ะ...
...เพราะสภาวะจริงๆที่เกิดขึ้นลมหายใจจะละเอียดมาก...
...จนจิตหลอกร่างกายให้คิดไปว่าจะขาดอากาศแล้ว...
...จึงมีผู้ถอนออกจากสมาธิเพราะกลัวว่าจะขาดอากาศ...
...ไม่ขาดแน่นอนค่ะ...ขอรับรองด้วยเกียรติยศลูกผู้หญิง...
...ไม่ขาดอากาศ+ยังโปร่งโล่งเหมือนหายใจทางผิวหนังเลยอ่ะค่ะ...
...ขอให้เจริญในธรรมของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นค่ะ...
:b20:
:b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 15:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่แบบที่คุณแม่หนูบอกเลยละครับ ยังงั้นถูกต้องเลย การที่จิตรวมได้ ก้เพราะเกิดความสงบในจิตใจ
จิตเริ่มเกิดสมาธิ มีสมาธิจิตมันก้รวมผนึกเข้าเป็นจุดเดียว ทำให้ความร้สึกว่าหายใจอยู่ขาดช่วงหายไป
และถือเป็นสิ่งที่ดีด้วย ตามหลักของสมถะภาวนาแต่เท่านี้ถือเป็นขั้นธรรมดาๆ ไม่ต้องตกใจอะไร ไม่ได้แปลกพิสดารอะไรหรอก น้องกลับไปทำให้ได้แบบนี้บ่อยๆก้แล้วกัน

อ้างคำพูด:
เวลาเกิดทุกขเวทนา ควรจะกำหนดอย่างไรดีคะ

ถ้าให้กำหนดจิตได้ดีขึ้น ก้ควรลองกำหนด"ไม่สบายหนอๆๆ.." หรือ "เหนื่อยหนอๆๆๆ" จะรู้เท่าทัน
เวทนาทางกายได้ชัดเจนขึ้นไปอีก กำหนด เหนื่อยหนอ สักห้าครั้ง หรือสิบครั้งไป กำหนดหรือท่องในใจไป จิตก้มีสติรู้เท่าทันหรือพิจารณาในขณะที่เราอึดหรือเหนื่อยในกายนั้นไปในตัว เรียกว่ามีสติควบคุมความปวดที่จิต และดูความปวดทางกายคือหายใจอึดอัดไปพร้อมๆกัน แล้วเมื่อกำหนดได้ทัน และไม่หวั่น
ไหวต่อความปวด จิตจะเป็นสมาธิแล้วสติก็จะดีขึ้น(เมื่อจิตเริ่มรวม)ทำให้ความปวดหรือความเหนื่อยค่อยทุเลาและหายไปในที่สุด

บางครั้งเป็นเด็ก อายุน้อยๆ ก็ฝึกได้ดีกว่า หรือดีไม่แพ้ผู้ใหญ่เลยแหละ เพราะไม่ค่อยมีไรให้กังวลและคิดมาก สมาธิจึงเกิดได้เร็ว


แก้ไขล่าสุดโดย อินทรีย์5 เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 20:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร