วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


บทสวดอิติปิโสฯ
จาก วิกิซอร์ซ
ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น
บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ.

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.

คำแปล บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ) อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ) วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ) สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ) อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ) สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ) พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ) สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ) อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ) เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ) โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว ) อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว ) ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ) สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ) ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ ) จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ ) เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ) อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ) ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ ) ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณา อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ) อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

.....สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ).....
.....โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ) ... :b8: :b8: :b8: Onion_L :b16: smiley


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 10:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5797_resize.JPG
100_5797_resize.JPG [ 121.37 KiB | เปิดดู 2807 ครั้ง ]
tongue เรียนคุณหลับอยู่ มีธรรมคุณ 6 ประการ แปลอีกสำนวนหนึ่งโดย ชาวพุทธบ้านนอก รู้สึกจะมีความหมายตรงกับสภาวธรรมดีมาก ถือเป็นหลักหรือเคล็ดลับการปฏิบัติธรรมได้เลยทีเดียว ลองพิจารณาดูนะครับ


ธัมมาภิคีติง
(ธรรมคุณ 6 ประการ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั้น.(คืออะไร)
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ ผู้มีความเห็นถูกต้อง จึงจักรู้ได้ด้วยตนเอง;
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล;( เวลา, สถานที่, บุคคล, เชื้อชาติ,เผ่าพันธุ์,วรรณะ,ศาสนา,ระดับการศึกษา,เพศ,วัย,การแต่งกาย)
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ;
โอปะนะยิโก, (ความเห็นธรรมนั้น)เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดขึ้นในตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป (แล้วจะส่งให้ถึงความสงบเย็น คือ มรรค - ผล - นิพพาน)
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.




คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย
อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น
อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)
ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าพิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)
พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามพิจารณานั้น)
อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

:b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley cool smiley
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ :b8:
ควรยึดstep โบราณดั้งเดิมครับ
อันนี้ความคิดเห็น :b16:
คือ...
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ).....
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ) โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ) :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 16:20, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาแบบบ้านๆเลยครับ
แฟชั่นความคิด ที่ผมกล่าว ไว้แล้ว พอผมถามว่า เห็นกายในกาย คือ เห็นจริงๆ แบบพุทธพจน์ ก็ไม่มีใคร มาออกตัวว่า เห็นตามพุทธพจน์ จริงๆ(ที่จริงผมก้ไม่รู้ว่าเห็นแบบไหน)
เพราะอะไร??
เพราะฌาณเขาไม่มีครับ ไปเล่นตัวรู้ๆคิดๆ ทำทัศนะวิสัยให้กว้างมองให้เห็นอนัตตา??? ประมาณนั้น คำว่านิพพาน กลับกลายเป้นแค่สุขใจ เล็กๆน้อยๆ เผลอๆแค่คิดว่าร่างกายโสโครกดันเป็นเห็นกายในกาย เห้นธรรมในธรรมแล้ว???
พุทธศาสตร์ เป็นแค่ ฟีโลโซฟี่ ไปซะแล้ว อันนี้ผมไม่ได้ว่าคุณ อโศกะนะครับ อย่าเข้าใจผิดนะ
แล้วครูบาอาจารย์ ของผม ท่านไม่ธรรมดา แต่ท่านไม่เกินพระพุทธเจ้าหรอกครับ
ท่านยังสอนให้ผมกำหนดอานาปานสติก่อนเลยครับ แล้ว ให้เข้าไปในปฐมฌาณให้ได้ก่อน ขั้นอื่นค่อยคุย
แต่ผมก้ยังมาเล่นเน็ต อยุ่ ยังประมาท ไม่ได้ฝึกสมาธิอะไรหรอกครับ :b16:
หากผมกล่าวไม่ตรง พระคัมภีร์ เป๊ะๆขออภัยครับ :b8:
ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ
สมาธิเป็นต้นของปัญญาครับ :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 16:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นกายในกาย ไม่เกี่ยวอะไรกับสมาธิหรอกค่ะ จะมีหรือไม่มีก็ได้
ไปหาอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรนะคะ เขาจะมีเขียนไว้
เห็นกายในกาย อยู่ในหมวดสัมปชัญญะปรรพค่ะ

คือหมายถึง การกำหนดรู้ในการเคลื่อนไหวอริยาบทต่างๆของกาย
ถ้าต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ พรุ่งนี้จะนำมาให้อ่านนะคะ

แล้วก็การเห็นร่างกายโสโครกนั่นมันอีกเรื่องหนึ่งนะคะ คนละหมวดกัน
ส่วนครูบาฯท่านไหน สอนแบบไหน นั่นคือ สิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติผ่านมาค่ะ

อย่างครูบาฯบางท่านจะสอนพองหนอยุบหนอไม่ได้ เพราะท่านไม่เคยปฏิบัติมา
จริงๆแล้ว พองหนอ ยุบหนอ ก็อยู่ในหมวดของอานาปนสติเหมือนกัน
เพียงแต่คนเราไปยึดติดกับบัญญัติกันมากเกินไป
เลยฝังใจว่า อานาปนสติต้องดูลมหายใจทางจมูกเท่านั้น
ลมหายใจที่กระทบภายในท้อง ( โผฏฐัพพะ ) ก็ถือว่าคือ ลมหายใจนะคะ

ตรงนี้ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะคะ เรื่อง สมาธิ
คนที่เจริญอานาปนสติหรือกรรมฐานกองอื่นๆ ให้สังเกตุดูนะคะ
พอจับลมหายใจไปเรื่อยๆ เวลาจิตรวมเข้าสู่สมาธิ
ลมหายใจมันจะละเอียดมากจนจับไม่ได้ เหมือนไม่ได้หายใจแล้ว
ตรงนี้โยคีส่วนมากจะไปต่อไม่ถูก เลยติดอยู่กับความสงบ

เมื่ออยู่ในความสงบ ตรงนี้แหละที่กิเลสทำงาน รู้จักนิกันติมั๊ยคะ ความพอใจ
นี่แหละคือ กิเลสตัวเอ้บเลยค่ะ เพราะเมื่อจิตสงบ เราก็จะรู้สึกสุข
นี่กิเลสนะคะ ไม่ใช่ของดี แต่หลายๆคนมองว่าเป็นของดี

เวลาลมหายใจจับไม่ได้เลยนี่ ยังมีอีกที่ของกายที่เคลื่อนไหวอยู่นะคะ
ท้องพองขึ้น ยุบลงค่ะ ตามลมหายใจเข้าออก

ให้ย้ายที่จากจับลมที่จมูก มาจับพองยุบแทน อย่าปล่อยให้จิตนิ่ง ปัญญาจะไม่เกิด
บางคนบอกว่า จับพองยุบไม่ได้เลย อันนั้นไม่ใช่ปัญหา ให้มารูอยู่กับกายแทน
รู้กับกายนั่งก็ได้ รู้แขน ขา รู้ส่วนไหนๆของกายก็ได้

ตรงจุดนี้แหละค่ะ วิธีดึงสมาธิระดับอัปนามาใช้
ไม่ใช่พอลมหายใจหายไปจับไม่ได้ ปล่อยให้ดิ่งแล้วดับไปเลย

แต่ก็นะคะ ....
บอกได้แต่เพียงว่า ไม่มีใครถูกหรือผิดหรอกค่ะ
ใครเชื่อใคร ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุที่เขาเคยกระทำมาร่วมกัน
ทำไปเถิดค่ะ แบบไหนเราทำแล้วมีสติ ทำไปเถอะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านปฏิจจสมุทบปาท แล้วผม รู้สึกว่า......เบื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




WATER_10.BMP
WATER_10.BMP [ 109.05 KiB | เปิดดู 2756 ครั้ง ]
tongue สวัสดีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ฝั่ง นะครับ คุณหลับอยู่และกัลยาณมิตรทุกท่าน

หลับอยู่ เขียน

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ :b8:
ควรยึดstep โบราณดั้งเดิมครับ
อันนี้ความคิดเห็น :b16:
คือ...
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ).....
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด ) โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )


อโศกะ ชี้แจง

แสดงว่าคุณหลับอยู่ไม่ได้ลองพิจารณาตาม ธรรมคุณ 6 ประการ แปล สำนวนใหม่ จึงไม่ได้รับอรรถรสของธรรมคุณ 6 ประการเท่าที่ควร โดยความเป็นจริงแล้วธรรมคุณ 6 ประการเป็นสุดยอด สรุปความหมายของพุทธธรรมและเป็นสุดยอดเคล็ดลับการปฏิบัติธรรมเลยที่เดียว

ธรรมคุณ 6 ประการ มีข้อความ 6 ท่อนหรือ 6 บันทัด

บรรทัดหรือท่อนที่ 1 นั้นมีความหมายให้ชาวพุทธทุกคนถามตนเองว่า "ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น คืออะไร

คุณหลับอยู่ ลอง ตอบซิว่า "ธรรมมะ ๆ ที่พระพุทธว่านั้น คืออะไร

ท่อนที่ 2 สันทิฐิโก นี้เป็นคำตอบของคำว่า "ธรรมมะ" มีความหมายว่า

ธรรมมะ คือสิ่งที่ ผู้มีความเห็น หรือผู้ที่ทำความเห็นให้ถูกต้อง สมบูรณ์แล้ว จักเห็นเอง
ความเห็นที่ถูกต้องสมบูรณ์คือเห็น อนัตตา ดังพระวาจาว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา"
ใครเห็นอนัตตา ยอมรับอนัตตา ผู้นั้นเห็นธรรม

ท่อนที่ 3 อะกาลิโก ความหมายคือ ความเห็นธรรมนั้น ไม่จำกัด กาล เวลา แต่แปลโดยพิสดารแล้ว ความเห็นธรรมหรือถึงธรรมนั้น ไม่จำกัด กาล เวลา สถานที่ บุคคล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วรรณะ ศาสนา เพศ วัย(เกิน 7 ขวบ) การแต่งกาย

ท่อนที่ 4 เอหิปัสสิโก ธรรมมะ ๆ ที่ว่านั้น เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เรา (จิตรู้) เข้าไปดูอยู่เสมอ พิสูจน์ดูได้ ด้วยการนั่งนิ่งๆ เฉยๆ ท่านจะเฉยได้ไม่ถึง แม้ครึ่งนาฑี เพราะจะมีอารมณ์และความรู้สึกจากผัสสะของทวารทั้ง 6 มาเรียกจิตไปรู้ ไปดู ไปสังเกต พิจารณา

ถ้าไปแปลว่า ธรรมมะ ๆ ที่ว่านั้น เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว นั่นย่อมแสดงว่า ในตัวไม่มีธรรมมะ ต้องน้อมมาจากที่อื่น ซึ่งไม่จริง ธรรมมะที่พรพุทธองค์ทรงสอนล้วนเป็นธรรมมะที่มีอยู่ในตัวใน รูป นาม กาย ใจ นี้ทั้งสิ้น แสดงว่าผู้แปลเป็นนักสมถะ เพราะนักสมถะทั้งหลายเขาจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก ทุกขเวทนาธรรมดา ๆ ในกายและจิต มาพิจารณา เพราะทุกขเฟล่านั้นถูกอำนาจ สมาธิและฌาณ กลบบังไว้หมด ต้องไปหานิมิตรและรูปภายนอกมาพิจารณาแทน

ท่อนที่ 5 โอปนยิโก มีความหมายว่า ความเห็นธรรม คือเห็น อนัตตา นั้น เป็นสิ่งที่ควรน้อมพอกพูนให้เกิดมากขึ้นๆในจิต เมื่อพอกพูนมากพอ ถึงที่แล้ว จะส่งให้เกิด เป็น มรรค ผล นิพพาน ในที่สุด มีอุปมาอุปมัยที่น่าฟัง เหมือนการเติมน้ำใสสะอาด คือสัมมาทิฐิ ลงไปในโอ่งน้ำ หรือโอง่ใจ ซึ่งมีน้ำมันเครื่องดำๆ อันเปรียบเหมือน มิจฉาทิฐิ หรือสักกายะทิฐิ ลอยบังหน้าน้ำใสๆอยู่

ท่อนที่ 6 ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ ท่อนนี้แปลเหมือนกัน คือ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้ เฉพาะตน

คุณหลับอยู่ลองพิจารณาตามใหม่ให้ลึกๆนะครับ จะเห็นคุณ อันลึกซึ้งของ ธรรมคุณ 6 ประการ อันประดุจสุดยอดเคล็ดลับกำลังภายในในหนังสือบู้ลิ้มทีเดียวครับ

หลับอยู่เขียน

เอาแบบบ้านๆเลยครับ
แฟชั่นความคิด ที่ผมกล่าว ไว้แล้ว พอผมถามว่า[color=#BF0000] เห็นกายในกาย คือ เห็นจริงๆ แบบพุทธพจน์ ก็ไม่มีใคร มาออกตัวว่า เห็นตามพุทธพจน์ จริงๆ(ที่จริงผมก้ไม่รู้ว่าเห็นแบบไหน)
เพราะอะไร??

เพราะ ฌาณเขาไม่มีครับ ไปเล่นตัวรู้ๆคิดๆ ทำทัศนะวิสัยให้กว้างมองให้เห็นอนัตตา??? ประมาณนั้น คำว่านิพพาน กลับกลายเป้นแค่สุขใจ เล็กๆน้อยๆ เผลอๆแค่คิดว่าร่างกายโสโครกดันเป็นเห็นกายในกาย เห้นธรรมในธรรมแล้ว???[/color]

ท่อนนี้อโศกะขอชี้แนะก่อนว่า

เห็นกายในกายนั้น ที่สำคัญคือเห็นมหาภูตรูปทั้ง 4 กายนี้ ประกอบขึ้นมาจากมหาภูตรูปทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

การเห็น ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้น มิใช่เห็นเป็น ก้อนดิน กองไฟ น้ำไหล หรือลมพัดซู่ๆ

การเห็นนั้นเห็นด้วยความรู้สึกดังนี้

หนัก เบา แข็ง อ่อน นิ่ม กระด้าง เป็นความเห็น หรือ รู้ ธาตุ ดิน

ซึมซับ เอิบอาบ ไหล หยดย้อย แตกแยก เกาะกุมกันเข้า เป็นความเห็นหรือรู้ ธาตุน้ำ

เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง เป็นความเห็นหรือ รู้ ธาตุ ลม

เย็น ร้อน อุ่น หนาว เป็นความเห็นหรือ รู้ ธาตุ ไฟ

สภาวธาตุทั้ง 4 นั้นที่สุดจะไปแล้วที่ เวทนา ความรู้สึกที่ตอบโต้กับสภาวธาตุนั้นๆ

อย่างไฟ ถ้าอบอุ่น พอดี จะได้ สุขเวทนา ชอบใจ เกิด กามฉันทะ ราคะ กามตัณหา ภวตัณหา

ถ้าร้อนจัด เกินพอดี จะได้ ทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ เกิด ปฏิฆะ โทสะ พยาบาท วิภวตัณหา

ถ้าไฟพอดีๆ ไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่อุ่น ไม่เกิดความรู้สึกตอบโต้ รูแล้วก็เปลี่ยนไป ผ่านไป เกิด อุเบกขาเวทนา คือ เฉยๆ

ชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นงานของสติปัฏฐาน 4 ที่จะต้อง วิเนยยะ โลเก อภิชฌาและโทมนัสสัง ดังนี้

เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็ทำนองเดียวกัน จะไปลงท้ายที่ ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆ

ชอบใจ ไม่ชอบใจก็เป็นงานของสติปัฏฐาน 4 ที่จะต้อง วิเนยยะ โลเก อภิชฌาและโทมนัสสัง เช่นกัน

จะ วิเนยยะ โลเก อภิชฌาและโทมนัสสัง ได้นั้น ก็ต้องเห็นความจริงถึงที่สุดของความจริงคือเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนเกิด นิพพิทาญาณ จึงจะปล่อยวางยินดียินร้ายได้ ครับ


ธรรมมะเป็นอย่างนี้ครับ ไม่ใช่ตื้นๆ อย่างที่คุณหลับอยู่ สรุปเอาเองนะครับ

หลับอยู่เขียน

พุทธศาสตร์ เป็นแค่ ฟีโลโซฟี่ ไปซะแล้ว อันนี้ผมไม่ได้ว่าคุณ อโศกะนะครับ อย่าเข้าใจผิดนะ
แล้วครูบาอาจารย์ ของผม ท่านไม่ธรรมดา แต่ท่านไม่เกินพระพุทธเจ้าหรอกครับ
ท่านยังสอนให้ผมกำหนดอานาปานสติก่อนเลยครับ แล้ว ให้เข้าไปในปฐมฌาณให้ได้ก่อน ขั้นอื่นค่อยคุย
แต่ผมก้ยังมาเล่นเน็ต อยุ่ ยังประมาท ไม่ได้ฝึกสมาธิอะไรหรอกครับ
หากผมกล่าวไม่ตรง พระคัมภีร์ เป๊ะๆขออภัยครับ
ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ
สมาธิเป็นต้นของปัญญาครับ


อโศกะชี้แจง

พุทธศาสตร์ไม่ใช่แค่ Phylosophy แต่เป็น Science เป็นทั้ง PureScience และ Applied Science

ว่าด้วยเรื่องของ กาย จิต และ ระบบสังคม



เห็นคุณหลับอยู่สารภาพว่ายังทำฌาณไม่ได้ ไม่เป็น ไม่ลองไปอ่านหินลับมีดปัญญาดูอีกสัก 2 - 3 รอบดูซิครับ อาจได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ จ๊าบๆ มาพัฒนา สมาธิและฌาณของคุณก็ได้ หรือจะไปหาอ่านหนังสือ มโนมยิทธิ ของหลวงวิจิตรวาทการ ดู จะพบทางลัดทำให้ถึงฌาณ 4 ได้ในนั้นนะครับ ผมทดลองมาแล้วได้ผลเร็วมากครับ

สวัสดีปีใหม่ ไม่ซีเรียส ไม่เบียนเบียด ผู้ใดให้เศร้าหมอง

เพ่งโทษตน พัฒนาตน ให้เรืองรอง

ไปกับพี่ และน้อง ชาวลานธรรม (จักร์)


.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานครับอานาปาน ในพระไตรปิฏกมีบอกไว้แล้วครับ :b16:
หรือ วิชาธรรมกายแบบหลวงพ่อสด วิชามโนมยิทธิ แบบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ การกำหนดลมหายใจ มี บอกไว้แล้วทั้ง2แบบ :b16:
คือ ปฏิบัติธรรม ผมยังไม่ได้ก็คือยังไม่ได้ครับจะมาบอกว่าได้ ไม่ดีกระมังครับ :b7:
ท่อนที่ผ่านมา ผมหมายเอาความ ถึงพวก2012ครับท่านอโศกะ Onion_L smiley


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 02:13, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ดูจากภาพแล้วเข้าท่า แต่ความนิ่งสงบของจิตแต่ละระดับนี่จะไปลับสติปัญญาให้คมได้อย่างไรหนอ
tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร