วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ คุณอโศกะ ที่มาแสดงความรู้เพิ่มเติม

การที่ท่านอโศกะ วิปัสสนาเห็นธรรมตามความเป็นจริง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านอโศกะ อาศัยธรรมอะไร และเห็นในธรรมอะไร จึงเห็นธรรมที่ปรากฏว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และ เมื่อสัพเพธมฺมาอนัตตา อัตตาเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 ธ.ค. 2009, 00:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




citronfjaril_resize.jpg
citronfjaril_resize.jpg [ 88.69 KiB | เปิดดู 2968 ครั้ง ]
tongue เจริญปัญญา เจริญสุขครับ ท่านเช่นนั้น และกัลยาณมิตรทุกท่าน

ขอบคุณครับ คุณอโศกะ ที่มาแสดงความรู้เพิ่มเติม

การที่ท่านอโศกะ วิปัสสนาเห็นธรรมตามความเป็นจริง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านอโศกะ อาศัยธรรมอะไร และเห็นในธรรมอะไร จึงเห็นธรรมที่ปรากฏว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

และ เมื่อสัพเพธมฺมาอนัตตา อัตตาเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่


อโศกะ ตอบ

อาศัยธรรมอะไร และเห็นในธรรมอะไร จึงเห็นธรรมที่ปรากฏว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อาศัย สติ สมาธิ และปัญญานั่นแหละครับเป็นหลัก มีศีล เป็นฐานรองรับและหนุนไว้

ถ้าพิจารณาตามสภาวธรรมแล้ว การจะเข้าไปเห็น ไปรู้ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานั้น สภาวะ เขาจะเป็นอย่างนี้ครับ

เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รู้ และจำหลักได้ดีว่า เขาจะต้องเจริญมรรค 8 โดยเอาปัญญามรรค 2 ข้อ ศีลมรรค 3 ข้อ สมาธิมรรค 3 ข้อ มาทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เป็นเหตุ ปัจจัย ซึ่งกันและกัน สนับสนุนกันอย่างมีสมดุลย์แล้ว

การเริ่มต้น ก็ดังหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่เคยแสดงไว้แล้วว่า

วิปัสสนาภาวนาจะเริ่มต้นด้วยการที่ ผู้เจริญจะ มนสิการ ตั้งใจ โยนิโส ตั้ง สติ ปัญญา ขึ้นมา นั่ง (หรืออิริยาบถอื่น) เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์


หลังจากนั้น เทคนิคปฏิบัติคือ "นั่งเฉย ๆ" ไม่ต้องบริกรรม ไม่ต้องกำหนด สั่งการอะไรอื่นอีก ให้มีแต่สติ ปัญญา สังเกตการณ์ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์

ธรรมชาติต่าง ๆ ของขันธ์ 5 เขาจะทำงานไปตามปกติ ผู้ปฏิบัติจะเแยอยู่ได้ไม่นาน ธรรมมะ หรือเอหิปัสสิโกธรรม จะเกิดขึ้น มาเรียกจิต เรียก สติ ปัญญา ไปดู ไปรู้ ไปสังเกต พิจารณาสภาวธรรมนั้นเอง เมื่อปัจจุบันธรรมมาเรียกจิต สติ ปัญญา ไปดู ไปรู้ ไปสังเกต พิจารณา ก็จงดู จงสังเกต พิจารณาให้ดี ถ้าสมาธิมีกำลังพอ สติ ปัญญามีความ คม ละเอียด เฉียบแหลม ผู้ปฏิบัติจะได้สังเกตเห็นว่า สภาวธรรมทั้งหลายนั้น เกิดขึ้นให้รู้----ทนตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง) -----แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไป (อนิจจัง) ------บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา) ทันที

จิตทีฝึกใหม่ ไม่มีดอกาสจะได้เห็นความตั้งอยู่ของขณะจิตแต่ละขณะหรอก จะเห็นได้แต่ความตั้งอยู่ของ สันตติแห่งอารมณ์ คือความ เกิดขึ้น ดับไป ซ้อนกันถี่ๆ ของอารมณ์นั้น จนเห็นเหมือนว่าอารมณ์นั้น ตั้งอยู่นาน ตัวอย่างเช่น ความเจ็บปวด ความคิดฟุ้งซ่าน

:b27:
อารมณ์ที่จะเห็นความเกิด - ดับ ได้ชัดกว่า เช่น เสียงต่างๆที่มากระทบ ประสาทหู เสียงกังสะดาร หรือระฆังเล็กๆข้างโบสถ์ เสียงระฆังปลุก เหล่านี้ จิตที่ฝึกใหม่ๆ จะพอสังเกตเห็นหรือ รู้ คลื่นเสียงที่เกิด - ดับ ต่อเนื่องกันถี่ ๆ ได้

ถ้าจะเอาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขณะจิตแต่ละขณะทันที ก็ต้องเป็นอย่างที่ว่านี้

แต่ผู้ฝึกใหม่ส่วนใหญ่ จะไม่เห็นอย่างนี้ ต้องเรียนรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับสภาวะ ที่หยาบกว่านี้
เช่น เห็นว่า เสียงนกตัวที่ 1 เกิดขึ้น - ดับไป เสียงรถมอเตอร์ไซด์ เกิดขึ้นมาแทน แล้วก็ดับไป ตามมาด้วยเสียงสุนัขเห่า แล้วดับไป

ความคิดเรื่องที่ 1 เกิดขึ้น แล้วดับไป เปลี่ยนมาใหม่เป็นความคิดที่ 2 แล้ว ดับไป ผัสสะของทวารอื่นๆ ก็เช่นกัน

ทั้งเสียงหลายเสียง ความคิดหลายความคิด และผัสสะ อารมณ์ทั้งหมด ล้วนเกิดขึ้ และ ก็ดับไปหมดแล้ว ไม่เหลือหลักฐานอะไรทิ้งไว้เลย นอกจากสัญญา ความทรงจำ บังคับบัญชาสั่งการอะไรไม่ได้เลย
นี่คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างหยาบ


ส่วนทุกขังทีเป็นความทุกข์ใจนั้น เขาจะเกิดตอนที่ อามรมณ์ทั้งหลาย ไม่ เกิด - ดับ ๆ ไปตามปกติธรรมดา เนื่องจากมีสิ่งแปลกปลอมคืออุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู เข้ามาแทรก ทุกผัสสะ ทุกอารมณ์ เกิดเป็น กูได้ยิน กูคิด กูนึก กูยินดี กูยินร้าย กูเฉย ความเจ็บของกู ความสบายของกู ฯลฯ

ตัณหา ความทะยานอยากด้วยอำนาจความยินดี ยินร้าย หรือแม้เฉยๆก้ตาม จึงเกิดขึ้น เมื่อตัณหาเกิด อุปาทานก็ติดแน่นยิ่งขึ้น ปรุงแต่งเป็น มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ไปตามลำดับ เกิดกัมมภวะ คือกุศลกรรม อกุศลกรรม เลือกภพภูมิที่จะไปเกิด ให้กับจิตดวงที่กระทำกรรมนั้น เกิด ชาติ ในภพภูมิต่างๆ หมดวิบาก ก็ตายดับ จากภพภูมินั้นๆ ส่งต่อไปสู่ภพภูมิใหม่ ตามวิบากแห่งกรรมของจิตดวงนั้น

ถึงตอนนี้ นี่คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขนาดใหญ่ สรุปลงมามี เกิด --- ตาย หรือ เกิด - ดับ ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เช่นกันครับ

มีเรื่องที่ผมเคยอธิบายไว้จะยกมาให้อ่านใน คห.ถัดไป ลองพิจารณาดูนะครับ

ส่วนคำถามที่ว่า และ เมื่อสัพเพธมฺมาอนัตตา อัตตาเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่

ตอบว่า ชัวร์อยู่แล้วครับ อัตตาก็เป้นธรรม หรือธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากอุปาทาน ความเห็นผิด ยึดผิด มิจฉาทิฐิ อวิชชา ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายอกุศลนั้นเองครับ จะเป็นจิตหรือเจตสิกดวงใดก้คงต่องปรึกษาท่านผู้เชี่ยวชาญในอภิธรรมมาช่วยตอบนะครับ

สาธุ กับคำถามอันนิ่มนวล ข้อวิจารณ์อันสร้างสรรค์ ไม่ค้าน ไม่บอกว่าผิดเสียหมดตะพึดตะพืออย่างบางคนบางท่านนะครับ (ขออภัยทีมีปิสุณาวาจานิดๆ ครับ ถือว่าเป็นการใส่พริกลงไปในแกงให้รสแซบขึ้นอีกหน่อย แก้หนาวนะครับ)

Lips sad

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1563_resize.JPG
100_1563_resize.JPG [ 80.42 KiB | เปิดดู 2966 ครั้ง ]
tongue

ถ้าเพิ่มความสังเกต พิจารณา(สังกัปปะ) เข้าไปให้ดี ทุกการกระทบสัมผัส เราจะได้เห็นหรือรู้ว่า ธรรมชาติเหล่านี้ มีอยู่และทำงานอยู่เป็นปกติธรรมดาโดยอัตโนมัติ

สติ ทำหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์

ปัญญาสัมมาทิฐิ ทำหน้าที่ ดู เห็น รู้ ตัวรู้นี้มี 2 อย่าง

1.รู้ตามสัญญา คือสิ่งที่ได้รู้จักมาแล้วในอดีต

2.รู้ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่สังกัปปะ คือสังเกต พิจารณา ค้นหา จนได้คำตอบ มาเก็บไว้ในสัญญา

ปัญญาสัมมาสังกัปปะ ทำหน้าที่ สังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบ

สติ กับ ปัญญาทั้ง 2 นี้เขาทำงานควบคู่กันไปเสมอ เป็นปกติ โดยธรรมชาติ และเป็นสมดุลย์อยู่ตลอดเวลา

แต่มนุษย์จะสูญเสีย การทำงานโดยธรรมชาติของ สติและปัญญาไปเมื่อ

1.ศีล 5 ด่างพร้อย ทำให้จิตไม่นิ่ง ไม่สงบเย็น ไม่ตั้งมั่น โมหะ อวิชชาจะมาลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของสติและปํญญา

2.มีตัวการมาเบี่ยงเบน ปิดกั้น ทำให้การทำงานของสติ ปัญญา เสียสมดุลย์ ตัวการนั้นคือ ความเห็น (ทิฐิ) ที่เกิดจากความรู้ผิด เห็นผิด เห็นไม่เป็นไปตามธรรม

ตัวอย่างเช่น คำสอนว่า สติเน้อ ๆ ๆ เน้นสติมากเกินไป จนละเลยการให้ความสำคัญกับปัญญา ทำให้เสียสมดุลย์

อีกตัวอย่างเช่น ศีลต้องดีมาก่อน สติ สมาธิ ปัญญา จึงจะดีมาตาม คำพูดเพียงแค่นี้ ก็จะทำให้เกิดการยึดติดวิธีการ ที่บัญญัติ การทำงานร่วมกันของ สติ กับปัญญาจึงเสียสมดุลย์

ถ้าหากจะให้สติกับปัญญา เขาทำงานร่วมกันไปอย่างมีสมดุลย์ ต้องไม่มีการกำหนด กฏเกณฑ์อะหรือสั่งการอะไรขึ้นมาในจิตว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้

วิธีเริ่มต้นก็คือ นั่ง ยืน หรือ นอน เฉยๆ ให้ทวารทั้ง 6 เปิดและทำงานไปตามธรรมชาติ สิ่งที่จะต้องเพิ่มเติมไปนิดหนึ่งคือ ความใส่ใจ หรือความตั้งใจ (มนสิการ)ซึ่งจริงๆแล้วความตั้งใจนี้เขาก็เป็นเองโดยธรรมชาติ แต่ใหม่ๆ ครั้งแรกๆ ต้องใส่เจตนาช่วยนำนิดหนึ่ง ต่อไปเขาจะเป็นเองโดยธรรมชาติ

ที่ต้องใส่เจตนาช่วยในตอนแรก เพราะจิตปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป มีโมหะอวิชชาครอบงำอยู่ สติปัญญาทำงานแบบเสียสมดุลย์มานานแล้วจนเห็น เป็นปกติวิสัย การใส่เจตนาโดย ตั้งใจ(มนสิการ) จึงจะทำให้จิต คือ สติและปัญญา แหวกม่านมืดมัว ของโมหะ อวิชชา มาทำงานตามธรรมชาติที่แท้จริงได้

เมื่อ สติ ปัญญาหลุดจากม่านโมหะมาได้ เขาจะทำงานอย่างนี้

สติ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์----สัมมาทิฐิ เห็น---ดู อารมณ์----สัมมาสังกัปปะ สังเกต(ไม่ใช้ความคิด)----- พิจารณาอารมณ์(ใช้ความคิด ตั้งโจทย์และค้นหาเหตุหาผล) ได้คำตอบโดยสัญญาหรือโดยปัญญา------รู้--- จึงเกิดขึ้นตามมา จากนั้นความที่ปัญญาคอยสังเกตอยู่ เมื่อมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้น สติ จึงรู้ทันปัจจุบันของอารมณ์ใหม่ เป็นลักษณะ ปัญญาหนุนสติ สติหนุนปัญญา หมุนเวียน เกิด - ดับ สืบต่อกันไปเป็นสันตติอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา

แต่จิตปุถุชน จะไม่มีแต่เพียงความเกิดขึ้น - ดับไปอยู่อย่างนี้ เพราะ จิตปุถุชน มีอุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู ครอบงำจิตอยู่ จึงทำให้เกิดการยึดถืออารมณ์ จนเกิดเป็นเวทนาความยินดี ยินร้าย ดูดดึง ผลักต้าน กับอารมณ์ หรือผัสสะอยู่ตลอดเวลา ตัณหา จึงเกิด เมื่อตัณหาเกิด มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมก็จึงเกิด กรรมครบองค์ 3 วิบาก คือการที่จะต้องเสวย แบกรับผลของกรรม ก็จึงเกิด สืบต่อ หมุนเวียนกันไปไม่หยุดยั้งดั่งกงล้อ กงจักร ตรงนี้แหละที่เรียกว่า วัฏสงสาร ความเวียนตาย เวียนเกิดที่ไม่รู้จบสิ้น

:b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเช่นนั้น


[๓๑] บุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน ?

บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ

บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่แล้วในผล




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:

เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา รู้ และจำหลักได้ดีว่า เขาจะต้องเจริญมรรค 8 โดยเอาปัญญามรรค 2 ข้อ ศีลมรรค 3 ข้อ สมาธิมรรค 3 ข้อ มาทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เป็นเหตุ ปัจจัย ซึ่งกันและกัน สนับสนุนกันอย่างมีสมดุลย์แล้ว

เทคนิคปฏิบัติคือ "นั่งเฉย ๆ" ไม่ต้องบริกรรม ไม่ต้องกำหนด สั่งการอะไรอื่นอีก ให้มีแต่สติ ปัญญา สังเกตการณ์ เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์


สวัสดีครับ ท่านอโศกะ ความเห็นทุกอย่างล้วนเป็นความรู้ สิ่งใดถูกต้อง ก็เก็บขี้นไป สิ่งใดไม่ถูกต้อง ก็เก็บขึ้นไป เช่นกัน ทุกความเห็นล้วนมีประโยชน์

ท่านอโศกะพิจารณา รูป - นามที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเฉพาะหน้า เพื่อให้เห็นสภาพตามเป็นจริง ใช่หรือไม่ครับ
ท่านอโศกะ เจริญมรรค 8 เป็นธรรมในขณะพิจารณารูป-นาม ใช่ไม้ครับ
ท่านอโศกะ ละ นิวรณ์ด้วยวิปัสสนา ใช่ไม้ครับ
ท่านอโศกะ เห็นอะไรเป็นธรรมที่เป็นปัจจุบันเฉพาะหน้าในขณะละนิวรณ์ครับ

การเห็นแจ้งในธรรมเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้า ของท่านอโศกะ คืออะไรครับ

อโศกะ เขียน:
อนัตตา เป็นคู่ปรับของ อัตตา

ส่วนคำถามที่ว่า และ เมื่อสัพเพธมฺมาอนัตตา อัตตาเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่

ตอบ ว่า ชัวร์อยู่แล้วครับ อัตตาก็เป็นธรรม หรือธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดจากอุปาทาน ความเห็นผิด ยึดผิด มิจฉาทิฐิ อวิชชา ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายอกุศลนั้นเองครับ


เมื่ออัตตาก็เป็นธรรม ดังนั้นอัตตาจึงเป็นอนัตตาด้วย เพราะสัพเพธัมมาอนัตตา ถูกหรือเปล่าครับ
ถ้าถูก อนัตตา จะเป็นคู่ปรับของอัตตา อย่างไรครับ
ถ้าผิด อัตตา ก็ไม่ใช่ธรรม ดังที่ท่านอโศกะเข้าใจหรือเปล่าครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 14 ธ.ค. 2009, 12:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3840_resize_resize.JPG
100_3840_resize_resize.JPG [ 60.97 KiB | เปิดดู 2889 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับท่านเช่นนั้น และทุกๆท่าน

ท่านเช่นนั้น ถาม

เมื่ออัตตาก็เป็นธรรม ดังนั้นอัตตาจึงเป็นอนัตตาด้วย เพราะสัพเพธัมมาอนัตตา ถูกหรือเปล่าครับ
ถ้าถูก อนัตตา จะเป็นคู่ปรับของอัตตา อย่างไรครับ
ถ้าผิด อัตตา ก็ไม่ใช่ธรรม ดังที่ท่านอโศกะเข้าใจหรือเปล่าครับ

:b12:
อโศกะ ตอบ

ท่านเช่นนั้นครับ ถ้าคิดเอาตามหลักทฤษฏี ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างท่านคิดและเข้าใจ ผมได้แสดงไว้แล้วดังข้อความที่ยกมาให้อ่านอีกทีนี้

ส่วนทุกขังทีเป็นความทุกข์ใจนั้น เขาจะเกิดตอนที่ อามรมณ์ทั้งหลาย ไม่ เกิด - ดับ ๆ ไปตามปกติธรรมดา เนื่องจากมีสิ่งแปลกปลอมคืออุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู เข้ามาแทรก ทุกผัสสะ ทุกอารมณ์ เกิดเป็น กูได้ยิน กูคิด กูนึก กูยินดี กูยินร้าย กูเฉย ความเจ็บของกู ความสบายของกู ฯลฯ

ถ้ามาพิจารณาตามสภาวะจริงๆ ที่เกิดขึ้นในกายและจิต ของปุถุชนธรรมดาทั่วไปแล้ว
มันมีความรู้สึกเป็น กู เป็นเรา เป็นตัวตนอยู่จริงๆ ในจิต พิสูจน์ได้ง่ายๆ ท่านเช่นนั้น ลองให้ใครเอาก้อนหินขว้างใส่หลังคาบ้านของท่านสักก้อนหนึ่ง หรือให้ใครมายืนด่าพ่อ ล้อแม่ของท่าน หรือจะลองให้ผมเขียนคำสบประมาทท่านแรงๆ สักประโยคหนึ่งบนกระทู้นี้ ท่านจะได้เห็น ได้รู้สึกถึง อัตตา ตัวตน ความเป็นกู เป็นเรา หรือ มานะทิฐิ ที่ฝังลึกอยู่ในจิตของท่าน โผล่ผุดขึ้นมา


ในหลักทฤษฏีนั้น อัตตา ไม่มีตัวตนอยู่จริงๆ ค้นหาอย่างไรก็ไม่เจอ ไม่ใช่ ชี้ บอก ตรงไหนก็ไม่มีตัวตน
แต่ในจิตปุถุชน อุปาทาน ความผูกยึดตัวนี้มันมีอยู่จริงๆ โผล่ ผุดขึ้นมาแทบจะทุกการกระทบสัมผัส



พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นธรรมอันสำคัญยิ่ง เป็นวันที่ 2 รองจาก ธัมมจักกัปปวัตนสูตรในวันปฐมเทศนา อันเป็นการแสดงขอบเขตแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

:b8:
อัตตา บัง อนัตตาไว้

มิจฉาทิฐิ บัง สัมมาทิฐิไว้

ความมืด บังความสว่างไว้

บัญญัติ บัง ปรมัตถ์ไว้

อวิชชา บัง วิชา ไว้

ปลดเปลื้องสิ่งที่ปิดบังไว้ ก็ จักเห็นความจริง

อนัตตา เป็นความจริง อัตตา เป็นความเท็จ

เมื่อยังไม่บรรลุถึงปรมัตถ์ ก็ต้องอาศัย สมมุติ บัญญัติทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องอยู่ไปก่อน

เอาบัญญัติ ชี้ ปรมัตถ์

เอาปริยัติ ชี้ ปฏิบัติ เพื่อให้ถึง ปฏิเวท

อย่าสุดโต่งในธํรรมใด

สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ดังนี้

สาธุ :b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อัตตา บัง อนัตตาไว้



สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ


ขอถามคำถามที่คุณอโศกะเข้าใจนะครับ

อัตตา บัง อนัตตาไว้อย่างไรครับ ??

ละอัตตาได้แล้วได้อะไรครับ ??

เห็นอนัตตาแล้วได้อะไรครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3442_resize.JPG
100_3442_resize.JPG [ 108.68 KiB | เปิดดู 2871 ครั้ง ]
tongue สาธุ อนุโมทนา มายามค่ำ ยังมีน้ำใจเข้ามาเยี่ยม และหยอดคำถามสั้นๆ ไว้ จากท่านมหาราชันย์ และ สุขสบาย กายใจ ใกล้ปีใหม่ สู่กัลยาณมิตรทุกๆท่านครับ

:b1:
อ้างคำพูด:
อโศกะ เขียน:
อัตตา บัง อนัตตาไว้

มหาราชันย์ ถาม

สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ

ขอถามคำถามที่คุณอโศกะเข้าใจนะครับ

อัตตา บัง อนัตตาไว้อย่างไรครับ ??

ละอัตตาได้แล้วได้อะไรครับ ??

เห็นอนัตตาแล้วได้อะไรครับ ??


อโศกะตอบ

ละอัตตาได้ ได้ความเห็นถูกต้อง(สัมมาทิฐิเต็ม 100 % และยอมรับ อนัตตา)

เห็นอนัตตาแล้ว ได้กุญแจไขประตูนิพพาน

:b8:

ถ้าพอกพูนความเห็นอนัตตา (โอปนยิโกธรรม) ให้มากเข้าๆจนถึงที่ จะได้ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณ นิพพาน และปัจจเวกขณญาณ ในที่สุด นี่เป็นการถึงฝั่งครั้งแรก ถึงสถานีที่ 1 ยังเหลืออีก 2 สถานี ผ่าน 2 สถานีนี้แล้ว จึงจะได้ถึงบ้านที่แท้จริง สิ้นสุดการเดินทางอันยาวนาน ในโอฆะและวัฏสงสาร โดยสมบูรณ์

อรรถาธิบาย

อัตตา อุปาทาน ความเห็นผิด มิจฉาทิฐิ เพราะมีโมหะ ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง เป็นอวิชชา ความมืดบอด ดุจคนเดินในถ้ำมืด ไม่มีแสงสว่าง ความเป็นจริงที่แสดงอยู่ภายในกายและจิต คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลับไม่รู้ เห็นว่าธาตุขันธ์นี้เป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา

เวลานั่งปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่จริงๆ จะขอยกตัวอย่างสภาวธรรม ที่หยาบ รู้ง่าย ให้พิจารณาและลองทดสอบดู จะได้รู้ด้วยภาวนามยปัญญาว่า อัตตา บังอนัตตาไว้อย่างไร เมื่อเปลื้องอุปาทาน ตัวนี้ออกได้แล้ว จะได้อะไรเป็นผล


ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัตินั่งภาวนาอยู่นาน ผู้ใหม่ก็ประมาณ 15 นาฑี ถึง ครึ่งชั่วโมง ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ผู้เก่านั่งมานาน อาจใช้เวลานานกว่านั้น ผู้ทรงฌาณอย่างท่านมหาราชันย์ อาจจะหลายชั่วโมงแล้วไม่ยอมเจ็บปวด

ความเจ็บปวดในร่างกาย เช่นที่ ขา ที่ก้น หรือที่แผ่นหลัง อาจจะเกิดขึ้น ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องคงอยู่นาน (สันตติ บังอนิจจัง) เป็นทุกขเวทนา เป็นอนิษฐารมณ์ เป็นโทมนัสสัง จะก่อให้เกิดวิภวตัณหา เกิดปฏิฆะและโทสะ ถ้าผู้ปฏิบัติท่านนั้น ไม่เอา สติ สมาธิ มาบังทุกขเจ็บปวดนี้ไว้(ใช้บริกรรม หรือหลบเข้าไปหากรรมฐาน หลบเข้าไปอยู่กับฌาณ)

แต่กลับเอาสติ ปัญญา นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณาต่อไป นามปัญญาของเขาจะได้เห็น นามอุปาทาน ว่าอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ผุดขึ้นมารู้สึกว่า ขากูเจ็บ หลังฉันเจ็บ ก้นฉันปวด ถ้าเห็นอย่างนี้ อตตาครอบจิตแล้ว บังอนัตตา ไม่เห็นอนัตตา แน่ๆ (ฆนะ ความเห็นเป็นก้อน แก่น สาร ตัวตน บังอนัตตา) ยิ่งวิภวตัณหา ไม่อยากเจ็บเกิด ภวตัณหา อยากพ้นเจ็บจะเกิดขึ้นในอีกข้างหนึ่งทันที แต่เจ็บไม่ยอมหาย ปฏิฆะ โทสะ ก็จะเกิดขึ้น ปัญญายิ่งจะมืดมิดลงไปอีก คำสั่งที่จะเกิดขึ้นในจิตตอนนั้นอาจจะคือ ลุกซิ เลิกซิ เปลี่ยนท่าซิ ฯลฯ


เปลี่ยนอิริยาบถ กลบบังทุกขัง นี่เป็นสามัญสำนึกของปุถุชน คนธรรมดาสามัญ (อิริยาบถ 4 บังทุกขัง)

หลบไปหาคำบริกรรมเช่น เจ็บหนอ ๆ ๆ พุทโธ ๆ ๆ หลบไปหากรรมฐาน หลบเข้าไปอยู่กับฌาณ เป็นวิธีหลบทุกข์ของนักสมถะ

:b27:
เผชิญหน้าทุกข์จากความเจ็บปวด แล้วเอาสติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ทุกขเวทนานั้นต่อไป ไม่ยอมทำตามคำสั่งของ อัตตา กู ที่สั่งให้ลุก ให้เปลียนท่า ไม่ช้าปัญญาจะได้เห็นอุปาทานความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา ดับลงไปต่อหน้า ด้วยกฏแห่งไตรลักษณ์ เมื่ออัตตา กู ดับลง อนัตตา สภาวะที่จิตไม่มีกูครอง จักเกิดขึ้นมาแทนที่ทันทีโดยธรรม ความรู้ซึ้งถึงอนัตตา ความยอมรับอนัตตา จักเกิดขึ้นในจิตของคนผู้นั้น ด้วยภาวนามยปัญญา คือเกิดประสบการณ์จริงด้วยการปฏิบัติ มิได้คิดเอาเอง จะเกิดขึ้นในจิตของคนผู้นั้น

ณ จุดนี้ท่านเรียกว่าผู้ปฏิบัตินั้นเกิดดวงตาเห็นธรรม คือเห็นอนัตตา เข้าถึงอนัตตาอย่างแท้จริง อันจะเป็นเหตุส่งต่อให้เกิดผลอันยิ่งใหญ่ต่อไป ทันที หรือถ้าสะสมความเห็นอนัตตานี้ให้มากขึ้น ๆ จนมีกำลังพอ

อนัตตา เป็นเหมือน กุญแจไขประตู หรือสะพานทอดข้ามเข้าสู่พระนิพพาน ผู้ที่จะเข้าถึงโสดาปัตติมรรค จะต้องมาถึงตรงนี้ทุกคน แต่สภาวะจะชัดหรือไม่ชัดก็ขึ้นแล้วกับฐานการฝึกหัดของโยคีแต่ละคน

บางคนฝึกดูอนิจจังมา เขาเห็นอนิจจัง ซึ้งอนิจจัง จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ปล่อยวาง อัตตาได้ ก็เข้าถึงนิพพานได้โดยทางประตู อนิมิตตนิพพาน

บางคนฝึกดูทุกขัง มา เขาเห็นทุกขังชัด ซึ้งในทุกขัง จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ปล่อยวาง อัตตาได้ ก็เข้าถึงนิพพานได้โดยทางประตู อัปนิหิตตะนิพพาน

บางคน (และผู้คนส่วนใหญ่ ควรจะเดินเข้าประตูนี้ เพราะเข้าง่าย) ฝึกดูอนัตตา ค้นหาอนัตตา พิสูจน์ อนัตตา
เขาเห็นอัตตาชัด เกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ปล่อยวาง อัตตาได้ เข้าถึงอนัตตา ก็เข้าถึงนิพพานได้โดยทางประตู สุญญตนิพพาน


ถามสั้นตอบสั้นอยู่ข้างบน แต่อธิบายยาวไปหน่อย เป้นการอธิบายสภาวะ ด้วยภาษาสามัญของชาวบ้านธรรมดา ที่พอรู้บาลีและคำสอนของพระพุทธเจ้านิดหน่อย แค่พอเลี้ยงตัวเลี้ยงใจ ไม่ยิ่งใหญ่อะไร ขออภัยนะครับ

อดรนทนไม่ได้นิดหนึ่งเรื่อง คำว่า "จิตนิ่ง" ที่ท่านมหาราชันย์ทักท้วง จิตนิ่ง เป็นภาษาสามัญ เข้าใจง่ายในหมู่ชาวบ้านครับ ถ้าภาษาทางการ ก็น่าจะเป็นจิตั้งมั่น หรือถ้าเป็นภาษาพระพุทธเจ้าคงต้องเขียนว่า สมาธิจิต
อย่างนี้ละกระมังครับ


ข้อสังเกต คำวิพากษ์วิจารณ์อื่นๆ กับข้อเขียนคำถามของท่านมหาราชันย์ ที่ผมคิดๆไว้จะตอบ ยุบหายไปเลยครับ เมื่อเห็นคำถามสั้นๆของท่านมหาราชันย์ในวันนี้ ไว้ได้โอกาสค่อยว่ากันใหม่นะครับ


สาธุ อนุโมทนากับทุกๆท่าน ที่ใฝ่ใจศึกษาธรรมและเกิดดวงตาเห็นธรรม

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ท่านอโศกะ

ท่านอธิบาย อัตตา อนัตตา โดยสัจจะ หรือโดยทฤษฏี ครับ?

ถ้าการเห็นอนัตตนาของท่าน ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ธรรมนั้นๆ ก็จะดับไปเอง จริงหรือครับ?

การเห็นแจ้งในธรรม อันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้าจากการปฏิบัติ ของท่านอโศกะ คือ เห็นแจ้งอะไรครับ?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อัตตา บัง อนัตตาไว้

มิจฉาทิฐิ บัง สัมมาทิฐิไว้

ความมืด บังความสว่างไว้

บัญญัติ บัง ปรมัตถ์ไว้

อวิชชา บัง วิชา ไว้



อโศกะ เขียน:
ละอัตตาได้ ได้ความเห็นถูกต้อง(สัมมาทิฐิเต็ม 100 % และยอมรับ อนัตตา)

เห็นอนัตตาแล้ว ได้กุญแจไขประตูนิพพาน



สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ

ผมว่าคุณอโศกะคงสับสนแล้วละครับ


1.ต้องเห็นอนัตตาก่อน ยอมรับอนัตตาก่อนหรือครับจึงจะละอัตตาได้ ??

หรือ 2.ต้องละอัตตาก่อน จึงจะเห็นอนัตตาครับ ??



ไหนคุณอโศกะบอกว่าอัตตา บัง อนัตตาอยู่ไงครับ ??
ตอนนี้คุณอโศกะยังมีอัตตา แล้วคุณอโศกะจะเห็นอนัตตาได้อย่างไรครับ ??
ถ้าอัตตาบังอนัตตา แล้วคุณอโศกะเห็นอนัตตาได้ตอนไหนครับ ??
เพราะถ้าเห็นอนัตตาได้ก่อนละอัตตาได้แสดงว่าไม่บังสิครับ จริงมั๊ยครับ ??


ผมว่าคำตอบแต่ละครั้งมันขัดแย้งกันเองนะครับ


ตอบผิดตอบใหม่ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3744_resize_resize.JPG
100_3744_resize_resize.JPG [ 67.74 KiB | เปิดดู 2828 ครั้ง ]
tongue เจริญปัญญา ศีล วิริยะ สติ สมาธิ แล้วเจริญธรรมธรรมครับ ท่านเช่นนั้น ท่านมหาราชันย์และเพื่อนกัลยาณมิตรทุกท่าน


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับ ท่านอโศกะ

ท่านอธิบาย อัตตา อนัตตา โดยสัจจะ หรือโดยทฤษฏี ครับ?

ถ้าการเห็นอนัตตนาของท่าน ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ธรรมนั้นๆ ก็จะดับไปเอง จริงหรือครับ?

การเห็นแจ้งในธรรม อันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้าจากการปฏิบัติ ของท่านอโศกะ คือ เห็นแจ้งอะไรครับ?


:b8:
อโศกะตอบ

ผมอธิบาย อัตตา อนัตตา โดยสัจจะ ความจริง โดยใช้ปรมัตถบัญญัติ ครับ เป็นการแสดงธรรมในแง่วิเคราะห์ธรรมเชิงปฏิบัติ มิใช่การแสดงธรรมจากสัญญาในเชิงปริยัติหรือหลักทฤษฎี ไปเสียทั้งหมด

การเห็นอนัตตานั้น มีลำดับขั้นจากหยาบไปหาละเอียด ส่วนใหญ่มิใช่เห็นปุ๊บ ให้ผลเป้นมรรค ผลปั๊บทันทีแต่กรณี ละอัตตาได้ เห็นอนัตตา จิตยอมรับอนัตตา มรรค ผลเกิดขึ้นได้ทันที ก็มีอยู่เหมือนกันนะครับแต่นานๆ พบเจอสักที ถ้าจะอธิบายให้ละเอียดเข้าไป การเห็นอนัตตา หรือละอัตตาได้จะมีลำดับอย่างนี้ครับ

1.หมดอัตตา ถึง อนัตตา โดยความคิดนึก เห็นอัตตา อนัตตา โดย จินตมยปัญญา คิด นึก พิจารณาไปตามข้อธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟังจากปริยัติในคัมภีร์(สุตตมยปัญา)

2.กูหลบ หรืออุปาทานความยึดถือว่าเป็น อัตตา ยอมถอยไปเป็นพักๆ เพราะปัญญา สู้ ไม่ถอย ชั้นนี้ เป็นภาวนามยปัญญา กำลังเจริญเหตุ ผลเริ่มเกิด แต่ยังไม่เต็มสมบูรณ์ ส่วนนี้เป็นเรื่องของโอปนยิโกธรรม
คือน้อมให้เห็นอนัตตาพอกพูนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เวลา จนกว่าความเห็นอนัตตา หรือสัมมาทิฐิจะเต็ม 100% นี้คือลักษณะเข้าถึงธรรมไปตามลำดับแห่งธรรม

3.กูตาย สักกายทิฐิ หรืออัตตทิฐิ ดับขาด ตายสนิทไปจากใจ เพราะ ความเห็นอนัตตา หรือสัมมาทิฐิเต็ม 100 % พอดี

ตรงช่วงต่อระหว่าง มิจฉาทิฐิ หมดสิ้นทั้ง 100 % สัมมาทิฐิเต็ม 100 % นั้นเรียกว่า "มรรคญาณ"

ความเห็นชัด อนิจจังและทุกขังนั้น จะทำให้เกิดนิพพิทาญาณได้รุนแรง


แต่การละวางจางลง ผอมลง หมดกำลังไปของอัตตา จนเห็นและเข้าถึงอนัตตานั้น นิพพิทาญาณไม่จำเป็นต้องรุนแรงมาก เขาปหาณกันเองโดยธรรม ในทางตรงกันข้ามแล้ว วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สัมโภชฌงค์ น่าจะมีกำลังแข็งแรงมากกว่า จนส่งให้ อัตตา หรือสักกายทิฐิดับขาดโดยสิ้นเชิงได้เร็ว

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะผู้ที่เกิดดวงตาเห็นธรรม เห็นอนัตตา ยอมรับอนัตตาโดยภาวนามยปัญญา เขาจะได้สัมผัสสภาวะที่ทุกข์เบาบางลง จึงได้ปีติยินดี เพราะพบทางออกจากทุกข์แล้ว จึงแน่วแน่ ตรงสู่พระนิพพานถ่ายเดียว ที่ท่านกล่าวว่า "ตกอยู่ในกระแสแห่งพระนิพพาน"


การเห็นแจ้งในธรรม อันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้าจากการปฏิบัติ ของอโศกะ คือ

เห็นความเกิด - ดับ ของสสภาวะ (อนิจจัง)

เห็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของสภาวะ (ทุกขัง)

ความบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีแก่นสาร สาระ กลวง ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ของสภาวะ (อนัตตา)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปัญญาได้พัฒนาไปจนเจริญสูงสุดแล้ว ได้เห็นและรู้ว่า ทั้งอนิจจัง และ ทุกขัง ล้วนแล้วแต่มารวมลงที่ อนัตตา ดังคำสรุปที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา"


ความที่จะ เห็นแจ้งชัดอนัตตา ยอมรับอนัตตา จนเต็มร้อยอย่างนี้ มันเป็นผลมาจาก ความปล่อยวางความยึดถือว่าเป็นอัตตา ไปตามลำดับจนหมด ผลต่อเนื่องคือ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ผลสุดท้ายที่จะได้รับก็คือ นิพพาน ความสุขเย็นที่เป็นอมตะ ดังนี้

พูด เขียน วิเคราะห์ธรรม แยกแยะธรรมเช่นนี้ ทำให้เห็นเหมือนว่าจะใช้เวลายาวนาน และจะเห็นชัดละเอียดเป็นลำดับเช่นนี้ทุกคน หาใช่ไม่ ต้องอาศัยจดจำเอาข้อมูลจากปัญญาของพระพุทธบิดาและครูบาอาจารย์ที่ท่านค้นพบแล้วลอกเลียนนำมาเล่าต่อ เวลาธรรมเกิดและให้ผลนั้น มันเป็นเวลาเพียงชั่วพริบตาเดียว

คงตอบปัญหาของท่านเช่นนั้นได้ อรรถาธิบายที่ขยายความก็คงเป็นประโยชน์กับผู้สนใจใฝ่ธรรมทุกท่านเช่นกันนะครับ

พบสุขในธรรมทุกท่านครับ สาธุ

:b27: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee204_resize.jpg
ee204_resize.jpg [ 69.65 KiB | เปิดดู 2826 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับท่านมหาราชันย์ และกัลยาณมิตรทุกๆท่าน

มหาราชันย์ เขียน

อ้างคำพูด:
สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ

ผมว่าคุณอโศกะคงสับสนแล้วละครับ

1.ต้องเห็นอนัตตาก่อน ยอมรับอนัตตาก่อนหรือครับจึงจะละอัตตาได้ ??

หรือ 2.ต้องละอัตตาก่อน จึงจะเห็นอนัตตาครับ ??

ไหนคุณอโศกะบอกว่าอัตตา บัง อนัตตาอยู่ไงครับ ??

ตอนนี้คุณอโศกะยังมีอัตตา แล้วคุณอโศกะจะเห็นอนัตตาได้อย่างไรครับ ??

ถ้าอัตตาบังอนัตตา แล้วคุณอโศกะเห็นอนัตตาได้ตอนไหนครับ ??

เพราะถ้าเห็นอนัตตาได้ก่อนละอัตตาได้แสดงว่าไม่บังสิครับ จริงมั๊ยครับ ??

ผมว่าคำตอบแต่ละครั้งมันขัดแย้งกันเองนะครับ

ตอบผิดตอบใหม่ได้ครับ


อโศกะ ตอบ

ท่านมหาราชันย์นี้ละเอียดละออดีนะครับ ขอบคุณที่กรุณาทักท้วง

คำตอบส่วนใหญ่ผมได้ตอบไว้ในคห. ที่ตอบท่านเช่นนั้น ก่อน คห.นี้นะครับ ลองกลับไปอ่านแล้วพิจารณาดูให้ดีๆนะครับ

โดยธรรมแล้ว อัตตา บังอนัตตา ท่านมหาราชันย์พิสูจน์ได้ง่ายๆ ลองเดินไปเปิดประตูตู้เย็นในบ้านของท่านดู สังเกตให้ดี มีสังกัปปะให้มากๆก่อนนะครับ

ฝาและประตูตู้เย็น บังของที่อยู่ในตู้เย็นไว้ อยากเห็นของในตู้เย็นว่ามีอะไรบ้างก็จงไปเปิดประตูตู้เย็นดูนะครับ

ถ้าท่านมหาราชันย์เคยเปิดประตูตู้เย็น เห็นของในตู้เย็นแล้ว ไม่ต้องเดินไปเปิดประตู้ นึกมโนภาพอยู่ตรงนี้ก็จะรู้ว่ามีอะไรอยู่ในตู้เย็น

อุปมาเหมือนกับคนที่เคยเห็นอนัตตาแล้ว ไม่มีอะไรต้องอธิบายมาก ดังนี้ครับ

ส่วนการละอัตตาได้ เห็นอนัตตา มาก น้อย เพียงใดแล้วนั้น เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
อธิบายให้ท่านมหาราชันย์ฟังได้ยาก อธิบายแล้วท่านมหาราชันย์อาจฟังไม่รู้เรื่อง หรือวิเคราะห์เจาะลงไม่ลึกถึงรายละเอียดไม่ได้ ถ้าท่านมหาราชันย์ไม่เคยได้สัมผัสสภาวะอนัตตาด้วยจิตด้วยใจของท่านจริงๆ

ท่านมหาราชันย์มีคุณธรรมทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติมามากพอสมควรแล้ว เพิ่มประสิทธิภาพของปัญญาสัมมาสังกัปปะของท่านให้มากขึ้น ๆ คือเพิ่มสังเกต พิจารณา ต่อไปให้ดี ท่านจะสังเกตเห็นได้จากข้อคิดข้อเขียนของของอโศกะ ซึ่งคงจะพอแสดงให้ รู้ เห็นได้ ว่าอโศกะ มีอัตตาหนาหนัก หรือเบาบางลงมากน้อยเพียงไร หรือหมดอัตตทิฐิแล้ว คงพอคืบลามอนุมาณเอาได้นะครับ

หรือว่าท่านมหาราชันย์ได้อิทธิวิธีมีเจโตปริยญาณแล้ว ก็วินิจฉัยเอาตามเจโตของท่านเถิดครับ จะวินิจฉัยได้ผลอย่างไร อโศกะ ก็ยังเป็นอโศกะ ตามเหตุ ปัจจัย เป็นมาของอโศกะ พัฒนากาย จิต เหตุ และ ผลของอโศกะไปอยู่อย่างนี้ "มันเป็นเช่นนั้นเอง"

วันนี้ ยังจะขอเตือนสติของท่านมหาราชันย์ว่า

จึตยึดมั่นในวิธีการ ยึดฌาณ 2 จะทำให้ท่านหยุดอยู่กับที่ ไม่เจริญก้าวหน้า

จงวางความยึดของท่านไว้ให้ถูกที่ คือวางไว้ที่ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ที่นั่นท่านจะพบกับความใหม่และเจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา เพราะที่ปัจจุบันอารมณ์ เป็นฐานที่เกิดแห่งสติปัฏฐาน 4 อันจะเป็นเหตุเป็นผลต่อให้มรรค 8 หรือโพธิปักขิยธรรม เจริญก้าวหน้าไปสู่ที่หมาย ปัจจุบันอารมณ์ แสดง อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอยู่ตลอดเวลา ท่านจะได้ไม่ล้าสมัยอยู่กับวิชาโบราณ ของพราหมณ์ ฤาษี นะครับ

มีเรื่องต้องทำความเข้าใจกันอีกมาก ในมรรค 8 และอริยสัจ 4 กับท่านมหาราชันย์และพุทธสาวก พุทธบริษัททั้งหลาย เพื่อให้ถึงความเป็นชาวพุทธที่ถูกต้องแท้จริง ไว้ค่อยๆสนทนากันต่อไปนะครับ



เจริญปัญญาสัมมาสังกัปปะ เจริญธรรมครับ สาธุ

tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อัตตา บัง อนัตตาไว้




มหาราชันย์ เขียน:
สวัสดียามค่ำครับคุณอโศกะ


ขอถามคำถามที่คุณอโศกะเข้าใจนะครับ



ละอัตตาได้แล้วได้อะไรครับ ??





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ท่านมหาราชันย์พิสูจน์ได้ง่ายๆ ลองเดินไปเปิดประตูตู้เย็นในบ้านของท่านดู สังเกตให้ดี มีสังกัปปะให้มากๆก่อนนะครับ

ฝาและประตูตู้เย็น บังของที่อยู่ในตู้เย็นไว้ อยากเห็นของในตู้เย็นว่ามีอะไรบ้างก็จงไปเปิดประตูตู้เย็นดูนะครับ

ถ้าท่านมหาราชันย์เคยเปิดประตูตู้เย็น เห็นของในตู้เย็นแล้ว ไม่ต้องเดินไปเปิดประตู้ นึกมโนภาพอยู่ตรงนี้ก็จะรู้ว่ามีอะไรอยู่ในตู้เย็น


อโศกะ เขียน:
วันนี้ ยังจะขอเตือนสติของท่านมหาราชันย์ว่า

จึตยึดมั่นในวิธีการ ยึดฌาณ 2 จะทำให้ท่านหยุดอยู่กับที่ ไม่เจริญก้าวหน้า



สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ

ผมพอใจอยู่แค่ฌานสมาบัติ 8 และบทอรหัตตมัคคแค่นี้แหละครับ
ไม่หวังความก้าวหน้าอีกต่อไปครับ

ผมไม่ปรารถนาบ้าน ไม่ปรารถนาตู้เย็นแบบคุณอโศกะครับ




เรายังมองไม่เห็นความสวัสดี
จักมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
นอกจากปัญญาและความเพียร
นอกจากความสำรวมอินทรีย์
และความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
จงวางความยึดของท่านไว้ให้ถูกที่ คือวางไว้ที่ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ที่นั่นท่านจะพบกับความใหม่และเจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา เพราะที่ปัจจุบันอารมณ์ เป็นฐานที่เกิดแห่งสติปัฏฐาน 4 อันจะเป็นเหตุเป็นผลต่อให้มรรค 8 หรือโพธิปักขิยธรรม เจริญก้าวหน้าไปสู่ที่หมาย ปัจจุบันอารมณ์ แสดง อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอยู่ตลอดเวลา ท่านจะได้ไม่ล้าสมัยอยู่กับวิชาโบราณ ของพราหมณ์ ฤาษี นะครับ



วางความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์นั้นใช่ครับ
แต่วางฌานนั้นวางไม่ได้หรอกครับ เพราะฌานคือคุณภาพจิตที่แปรเปลี่ยนไปจากจิตกามสัญญา ฌานจิตคือขันธ์ 4 ประกอบด้วยเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ผมยังไม่ตายยังมีจิตอยู่ครับ



คุณอโศกะมีชีวิตอยู่ได้ไงโดยไม่มีจิตล่ะครับ ??
ที่แนะนำให้ผมละฌานนั้น คุณอโศกะละอุปาทานขันธ์หรือละขันธ์กันแน่ครับ ??



ปัจจุบันอารมณ์ของผมคือจิตฌานสมาบัติ 8 และบทอรหัตตมัคคไงครับ
ปัจจุบันอารมณ์ของจิตผลที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย


ผมคงไม่เพิ่มตัณหาในความก้าวหน้าแบบคุณอโศกะอีกแล้วครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 17 ธ.ค. 2009, 16:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 84 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร