วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ไม่เห็นด้วยเลยคุณมหา


ฌาน เป็นสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา

สิ่งล้างกิเลสคือปัญญา ไม่ใช่สมาธิ


ปุถุชน ต้องมีโกรธสิ
ปุถุชนทรงฌาน จะไม่มีกิเลสได้ยังไง
ก็ปุถุชนนั่นแหละแปลว่าเป็นคนมีกิเลสครบทั้ง 10 อย่าง รวมถึงความโกรธ

แต่ไม่แปลกนะ ถ้าผู้ทรงสมาธิ เก่งในสมาธิ วันหนึ่งจะพูดว่าไม่เห็นกิเลสในตน
มันเป็น"เรื่องเก่า"ที่มีมา"นานมาก"

แต่พึงมีธัมวิจัยบ้างสักนิดเถิด
ว่าสังโยชน์นั้นมันเป้นของที่"เป็นลำดับ"
จะลัดไปลัดมานั้น เป็นไปไม่ได้
ผู้หมดโกรธ คืออริชนชั้นไหนจงพิจารณาดูเอาเถิดพ่อคุณ
ถ้าละโกรธได้จริง อย่างน้อยๆชัดๆ ต้องละสักกายทิฐิได้ก่อน




สวัสดีครับคุณชาติสยาม

นี่แสดงว่าคุณชาติสยามแยกไม่ออกระหว่างสังโยชน์ กับกิเลสนะครับ
คุณชาติสยามยังแยกไม่ออกระหว่างการไม่มีกิเลสจิตบริสุทธิ์ กับการหมดสิ้นสังโยชน์


ถ้าคุณชาติสยามกล่าวอย่างคำตอบข้างบนนี้แสดงว่า..
คุณชาติสยามมีความกำหนัดด้วยราคะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??
คุณชาติสยามมีความโกรธพยาบาทด้วยโทสะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??
คุณชาติสยามมีความฟุ้งซ่านด้วยโทสะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??

คุณชาติสยามจะยอมรับในข้อนี้ ว่าตัวคุณชาติสยามมีราคะหรือโลภะ โมสะ โมหะ ในจิตตลอดเวลาทุกขณะจิต...





หรือคุณชาติสยามจะเห็นด้วยกับผมว่า...
การมีสังโยชน์ คือเครื่องร้อยรัดจิตนั้น หมายถึงมีโอกาสมีกิเลสเกิดขึ้นได้ จิตกลายกลับมาแปดเปื้อนกิเลสในขันธ์ 5 ได้ ซึ่งกิเลสจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ถ้าฌานเสื่อมกิเลสมีในขันธ์ 5 ได้ ฌานไม่เสื่อมกิเลสก็มีในขันธ์ 5 ไม่ได้ครับ

ราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ ในปุถุชนเกิดในขณะจิตเป็นอกุศลจิตเท่านนั้น
เมื่อปุถุชนมีจิตเป็นกุศล ราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะจึงจะไม่มี
คุณชาติสยามมีกิเลสคือราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะในจิตบางดวง แต่บางดวงไม่มีราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในจิต


ยังไม่ต้องพูดถึงฌานนะครับคุณชาติสยาม เอาแค่กามาวจรกุศลจิตก่อนก็ได้

คุณชาติสยามลองพิจารณากามาวจรกุศลจิตดวงนี้ดูนะครับ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์



จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล





พิจารณาดูจิตดวงนี้ดี ๆ นะครับคุณชาติสยาม



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
สวัสดีครับคุณชาติสยาม

นี่แสดงว่าคุณชาติสยามแยกไม่ออกระหว่างสังโยชน์ กับกิเลสนะครับ
คุณชาติสยามยังแยกไม่ออกระหว่างการไม่มีกิเลสจิตบริสุทธิ์ กับการหมดสิ้นสังโยชน์


อ้าว ตกลงคนละอันเหรอ
เราละนึกว่าอันเดียวกัน


มหาราชันย์ เขียน:
ถ้าคุณชาติสยามกล่าวอย่างคำตอบข้างบนนี้แสดงว่า..
คุณชาติสยามมีความกำหนัดด้วยราคะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??
คุณชาติสยามมีความโกรธพยาบาทด้วยโทสะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??
คุณชาติสยามมีความฟุ้งซ่านด้วยโทสะตลอดเวลาทุกขณะจิตใช่ไหมครับ ??

คุณชาติสยามจะยอมรับในข้อนี้ ว่าตัวคุณชาติสยามมีราคะหรือโลภะ โมสะ โมหะ ในจิตตลอดเวลาทุกขณะจิต...[/color]


จะตอบยังไงดีละเนียะพ่อคุณ
เล่นใส่คำว่า "ตลอดเวลา" "ทุกขณะจิต"

เอาเป็นว่า ตลอดเวลา ทุกขณะจิต กระผมมี โลภะ ดทสะ โมหะ ระคนกันตาม
นอกจากนั้น ผมก็ยังมี สติ สมาธิ ร่วมแจมด้วย

เอาอย่างนี้นะ

มหาราชันย์ เขียน:
หรือคุณชาติสยามจะเห็นด้วยกับผมว่า...
การมีสังโยชน์ คือเครื่องร้อยรัดจิตนั้น หมายถึงมีโอกาสมีกิเลสเกิดขึ้นได้ จิตกลายกลับมาแปดเปื้อนกิเลสในขันธ์ 5 ได้ ซึ่งกิเลสจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ถ้าฌานเสื่อมกิเลสมีในขันธ์ 5 ได้ ฌานไม่เสื่อมกิเลสก็มีในขันธ์ 5 ไม่ได้ครับ


ไม่เป็นไร คุณเข้าใจว่า "มีฌาน จึงมีปัญญา จึงไม่มีกิเลส"

ผมเข้าใจว่า
มีสัมมาสมาธิ จึงเป็นเหตุให้เกิดปัญญา
ปัญญาเท่านั้น เป็นเครื่องทำลายกิเลส

สมาธิ (เช่น ฌาน ของคุณมหา) หรือแม้แต่ สัมมาสมาธิ ก็ตาม
ไม่ได้เป็นเครื่องทำลายกิเลส


สังโยชน์นั้น ถ้าล้างเพราะญานปัญญาแล้ว จบกัน ขาดแล้วขาดเลย
เหมือนไม่เคยกินแอปเปิ้ล ต่อมาได้กินแอปเปิ้ล ความไม่เคยกินอแปเปิ้ลนั้นขาดลง
จะมาเดี๋ยวกลับเป้นไม่รู้ใหม่ ไม่ได้


อ้างคำพูด:
ราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ ในปุถุชนเกิดในขณะจิตเป็นอกุศลจิตเท่านนั้น
เมื่อปุถุชนมีจิตเป็นกุศล ราคะหรือโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะจึงจะไม่มี
คุณชาติสยามมีกิเลสคือราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะในจิตบางดวง แต่บางดวงไม่มีราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในจิต

ยังไม่ต้องพูดถึงฌานนะครับคุณชาติสยาม เอาแค่กามาวจรกุศลจิตก่อนก็ได้


ป่วยการ จิตตำรามีดวงเดียวตั้งแต่เช้าเย็น
จิตนักปฏิบัติมีนับไม่ถ้วนแม้ในหนึ่งวัน

ตราบใดยังเข้าใจว่าจิตมันเป้นอันเดียวกันอย่างนี้
ก้ยากจะเข้าใจอะไรต่อมิอะไร

ถามนิดหนึ่งเถอะพ่อคุณ ตามที่ถามมา
ถ้ามีสติขึ้นมา 1 ดวง ถามว่านับเป็นกุศลหรือเปล่าครับ

แล้วในกุศลจิตดวงที่เป้นสตินี้ ถามหน่อยเถอะ มีเหรอ ราคะ โทสะ โมหะ

คุณมหาช่วยหาให้ผมน่อยสิ ว่าตรงไหนตำราเขาบอกว่า
จิตที่มีสติประกอบแล้ว มีโลภะ (หรือโทสะ หรือโมหะ) ประกอบด้วย








อ้างคำพูด:
คุณชาติสยามลองพิจารณากามาวจรกุศลจิตดวงนี้ดูนะครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
บทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ[/color] อโลภ อโทสะ อโมหะ [color=#FF0000]อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



จริงครับ อโลภ อโทสะ อโมหะ เป็นสภาะที่จิตเป็นกุศล
แล้วทั้งหมดที่ตำราร่ายมาก็บอกให้ฟังว่า อย่างไรบ้างจัดว่าเป็นกุศล

แต่ไม่เห้นเกี่ยวกันเลยนี่ครับ
เรากำลังพูดถึงว่า คุณเข้าใจว่าสมาธิของคุณทำลายความโกรธได้ คุณเลยเข้าใจว่าคุณไม่มีโกรธอีกแล้ว
แต่ผมบอกว่า ไม่ใช่ ที่ไม่มีโกรธเพราะสมาธิ ไม่ใช่ล้างโกรธไปแล้ว

แม้พระโสดาบัน ยังล้างโกรธไม่ได้เลย
พระสกิทาคามี ล้างได้แต่ไม่หมด
นู่น พระอรหันต์นู่น ค่อยพูดได้ว่าไม่มีโกรธ

ฌาน 2 อย่ารีบพูดว่าไม่โกรธใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อ้าว ตกลงคนละอันเหรอ
เราละนึกว่าอันเดียวกัน


ชาติสยาม เขียน:
จะตอบยังไงดีละเนียะพ่อคุณ
เล่นใส่คำว่า "ตลอดเวลา" "ทุกขณะจิต"

เอาเป็นว่า ตลอดเวลา ทุกขณะจิต กระผมมี โลภะ โทสะ โมหะ ระคนกันตาม
นอกจากนั้น ผมก็ยังมี สติ สมาธิ ร่วมแจมด้วย

เอาอย่างนี้นะ



สวัสดีครับคุณชาติสยาม

ถ้าตอบมาแค่นี้แสดงว่าคุณชาติสยามเข้าใจเรื่องจิต


แต่พออ่านต่อไปคุณชาติสยามแสดงธรรมไม่ตรงกัน เรากำลังพูดกันคนละเรื่องแล้วครับ



ชาติสยาม เขียน:
ไม่เป็นไร คุณเข้าใจว่า "มีฌาน จึงมีปัญญา จึงไม่มีกิเลส"

ผมเข้าใจว่า
มีสัมมาสมาธิ จึงเป็นเหตุให้เกิดปัญญา
ปัญญาเท่านั้น เป็นเครื่องทำลายกิเลส

สมาธิ (เช่น ฌาน ของคุณมหา) หรือแม้แต่ สัมมาสมาธิ ก็ตาม
ไม่ได้เป็นเครื่องทำลายกิเลส


สังโยชน์นั้น ถ้าล้างเพราะญานปัญญาแล้ว จบกัน ขาดแล้วขาดเลย
เหมือนไม่เคยกินแอปเปิ้ล ต่อมาได้กินแอปเปิ้ล ความไม่เคยกินอแปเปิ้ลนั้นขาดลง
จะมาเดี๋ยวกลับเป้นไม่รู้ใหม่ ไม่ได้



จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าคุณกับผมพูดกันคนประเด็น
ผมกล่าวจิตที่เป็นฌาน มีฌานไม่เสื่อม ขณะจิตทรงฌาน ผมกล่าวว่าในจิตแบบนี้ไม่มีโกรธ
ก็ผมไม่ได้บอกว่าผมฌานเสื่อมเลยนะครับ ผมยังรักษาฌานไว้ได้ดีอยู่ครับ และบอกด้วยด้วยใช้ปัญญาอบบรมจิตด้วยคาถาธรรมบทเป็นปกติด้วย จิตเป็นกุศลอยู่
จิตแบบนี้ของผม ผมกล่าวว่าไม่มีโกรธ อยู่ในจิตประเภทฌาน


ผมจึงกล่าวว่าคุณเข้าใจคำว่าสังโยชน์ และกิเลสผิดไป


อ่านใหม่อีกครั้งครับ ว่าผมตัดความโกรธ หรือตัดสังโยชน์ที่มีได้กันแน่



มหาราชันย์ เขียน:
ได้ครับคุณอโศกะ

ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ผมทรงจิตไว้ที่ฌานที่ 2 มีคาถาธรรมบทเป็นอารมณ์อบรมปัญญาตลอดวัน
อะไรมากระทบจับแล้วก็วาง ในขณะทำการงาน
จิตผมสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นปกติอยู่แล้วครับ


การที่คุณอโศกะกล่าวว่า ผม...ได้อ่านข้อความในกระทู้บางกระทู้ แล้วเกิด ปฏิฆะ ขัดเคือง ขุ่นมัว ไมพอใจขึ้น หรืออาจจะถึงขนาดโกรธขึ้นมาก็ได้ หรือจะพูดสั้นๆ ว่า ถ้าเรามีความขุ่นมัว หรือ โกรธขึ้นมาในจิต....

ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นการเข้าใจผิดของคุณอโศกะแล้วครับ

ผมมาตอบกระทู้ในแต่ละวันผมมีปีติสุขในธรรมทานครับ
ทำเพื่อสืบพระพุทธศาสนายุกาลให้ยืนยาวสืบไปครับ



แล้วอ่านที่คุณตอบมา


ชาติสยาม เขียน:
ไม่เป็นไร คุณเข้าใจว่า "มีฌาน จึงมีปัญญา จึงไม่มีกิเลส"

ผมเข้าใจว่า
มีสัมมาสมาธิ จึงเป็นเหตุให้เกิดปัญญา
ปัญญาเท่านั้น เป็นเครื่องทำลายกิเลส

สมาธิ (เช่น ฌาน ของคุณมหา) หรือแม้แต่ สัมมาสมาธิ ก็ตาม
ไม่ได้เป็นเครื่องทำลายกิเลส


สังโยชน์นั้น ถ้าล้างเพราะญานปัญญาแล้ว จบกัน ขาดแล้วขาดเลย
เหมือนไม่เคยกินแอปเปิ้ล ต่อมาได้กินแอปเปิ้ล ความไม่เคยกินอแปเปิ้ลนั้นขาดลง
จะมาเดี๋ยวกลับเป้นไม่รู้ใหม่ ไม่ได้



ไม่มีปัญญาแล้วจะมีฌานได้หรือครับคุณชาติสยาม ??
มีฌานโดยไม่มีปัญญาได้ได้หรือครับคุณชาติสยาม ??

ปัญญาในการทำลายกิเลส กับปัญญาในการทำลายสังโยชน์มันต่างกันครับคุณชาติสยาม


พิจารณาให้ดี ๆ ก่อนนะครับ



ชาติสยาม เขียน:
จริงครับ อโลภ อโทสะ อโมหะ เป็นสภาะที่จิตเป็นกุศล
แล้วทั้งหมดที่ตำราร่ายมาก็บอกให้ฟังว่า อย่างไรบ้างจัดว่าเป็นกุศล

แต่ไม่เห้นเกี่ยวกันเลยนี่ครับ
เรากำลังพูดถึงว่า คุณเข้าใจว่าสมาธิของคุณทำลายความโกรธได้ คุณเลยเข้าใจว่าคุณไม่มีโกรธอีกแล้ว
แต่ผมบอกว่า ไม่ใช่ ที่ไม่มีโกรธเพราะสมาธิ ไม่ใช่ล้างโกรธไปแล้ว

แม้พระโสดาบัน ยังล้างโกรธไม่ได้เลย
พระสกิทาคามี ล้างได้แต่ไม่หมด
นู่น พระอรหันต์นู่น ค่อยพูดได้ว่าไม่มีโกรธ

ฌาน 2 อย่ารีบพูดว่าไม่โกรธใคร



สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัดที่จะทำให้กิเลสหรืออกุศลเกิดขึ้นแทนกุศลจิตได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในขันธ์ 5
ปัญญาในการทำลายสังโยชน์ตรงนี้เป็นปัญญาในการทำลายกิเลสสังโยชน์ของพระอริยะเจ้าครับ


แต่ปุถุชนอย่างคุณชาติสยามสามารถมีปัญญาทำลายกิเลสได้ แต่ที่ยังไม่มีคือปัญญาทำลายสังโยชน์ได้ครับ

เพราะปัญญาในการทำลายสังโยชน์นั้นได้แก่อินทรีย์ 3 คือ อนัญญาตัญญัสสมีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์


ไม่อย่างนั้นคุณไม่ตอบผมมาว่าอย่างนี้...


ชาติสยาม เขียน:
จะตอบยังไงดีละเนียะพ่อคุณ
เล่นใส่คำว่า "ตลอดเวลา" "ทุกขณะจิต"

เอาเป็นว่า ตลอดเวลา ทุกขณะจิต กระผมมี โลภะ โทสะ โมหะ ระคนกันตาม
นอกจากนั้น ผมก็ยังมี สติ สมาธิ ร่วมแจมด้วย

เอาอย่างนี้นะ



ผมพูดถึงเรื่องกิเลส
แต่คุณชาติสยามพูดเรื่องสังโยชน์
มันคนละเรื่องกันครับคุณชาติสยาม
คราวนี้คุณชาติสยามพอจะมองออกแล้วหรือยังว่าเราพูดประเด็นไหนที่เข้าใจไม่ตรงกันครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จริง

อิรุงตุงนังจนไม่รู้ว่าคุยอะไรกัน

เราว่าเราคุยเรื่องคุณมหานะเนียะ

ไหงกลายเป็นคุยเรื่องหลักการของจิตพระอริยเจ้าซะแล้ว

แต่ว่า ถ้าคุณมหาว่าคุณมหาเป็นอริยชนแล้ว
เรื่องที่กำลังคุยกันเป็นจิตสมรรถนะพระอริยเจ้า
กระผมก็ขอจบเพียงเท่านี้

อาเมน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3755_resize_resize.JPG
100_3755_resize_resize.JPG [ 51.24 KiB | เปิดดู 4282 ครั้ง ]
cool
คุณโคตรภู เขียน

อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณอโศกะ ขอนุโมทนากับเจตจำนงของท่านครับ

แต่ผมว่าท่านลืมเลื่อนอะไรไปบ้างอย่างนะครับ เส้นทางเดินสำหรับผู้นับถือพุทธศาสนา มีแน่นอนและชัดเจนอยู่แล้วใน คณกโมคัลลานะสูตร
(http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=103791)
พระ พุทธองค์ตรัสกล่าว ตรัสบอกไว้ชัดเจนแล้ว สำหรับทางสายตรง ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ท่านเคยเข้าไปตรวจสอบเส้นทางเดินของท่านหรือยังละครับ รวมทั้งการปฏิบัติด้วย ดังนั้น การที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องจริงๆ คงต้องอาศัยที่จารึกไว้ในพระไตรปิฎิกแหละครับ เป็นตัวตรวจสอบตนเอง

อนุโมทนา กับความคิดของท่านครับ แต่อย่างไร อย่าลืมว่าถ้าไม่ยึดตาม หรือรักษาพระไตรฯ ไว้ นานวันเมื่อหมดคุณอโศกะที่คอยถ่ายทอด หรือเผยแพร่ ไป อะไรจะเกิดขึ้นละครับ แล้วคนที่รับจากคุณไป จะเพี้ยนไปอีกเท่าไรละครับ ในเมื่อคนที่เผยแพร่ไม่ศึกษา ไม่อ่านในพระไตรฯ จากพุทธดำรัสจริงๆ คนรุ่นต่อไปไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ ไม่อ่านเหมือนกันแน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่าอ่านยาก อ่านแล้วไม่เข้าใจ

ปัจจุบัน เราอ่าน เราฟัง แต่บทความ คำสอนของ ครู อาจารย์ชั้นหลังๆ เพราะง่ายเข้าใจดี แต่ไม่เคยเข้าไปดูว่าพระพุทธองค์มีความเห็น หรือคำสอนอย่างไรบ้างกับเรื่องนั้นๆ บางท่านกลัวว่าเป็นการลบหลู่ ครู อาจารย์ ขวางทางนิพพาน ผมว่าตลกดี สำหรับผมเองก็เริ่มจาก อ่านและฟัง ครู อาจารย์ชั้นหลังๆ เมื่อวิเคราะห์แล้วยังเห็นความขัดแย้งในคำสอนของครู อาจารย์ชั้นหลังๆ ถึงต้องกลับไปหาของจริง (พระไตรฯ) หรือบางครั้งกลับไปทบทวนพบว่าการอ่านจากพระไตรฯ แม้อ่านยากในแรกๆ แต่ได้ภาพรวมที่ชัดเจนกว่าเยอะและเป็นไปตามภุมิธรรมที่เรามีอยู่ด้วย กลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง กลับได้มุมมอง ความละเอียดในสภาวะธรรมมากกว่าเก่าอีก

ที่ สำคัญท่านอโศกะ ปริยัติไม่น่ารังเกียจขนาดนั้นหรอกครับ ความรู้ กับการปฏิบัติ เกื้อหนุนซึ่งกันและกันครับ ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือการปฏิบัติไปสู่ความรู้ ก็แล้วแต่ความถนัดหรือจริตของแต่ละบุคคลจะดีกว่าไหมครับ


อโศกะ ตอบ

อนุโมทนาสาธุกับข้อแนะ ความเห็นของท่านโคตรภู มีประโยชน์มาก link ที่ท่านให้มาก็ดีมากครับ เลยจะขออนุญาตนำมาโพสต์ต่อเพื่อให้เป็นประโยชน์มากขึ้นนะครับ

:b16:

สิ่งที่ผมได้สังเกตเห็นในข้อเขียนของท่านคือท่อนนี้

โคตรภู เขียน

ปัจจุบัน เราอ่าน เราฟัง แต่บทความ คำสอนของ ครู อาจารย์ชั้นหลังๆ เพราะง่ายเข้าใจดี แต่ไม่เคยเข้าไปดูว่าพระพุทธองค์มีความเห็น หรือคำสอนอย่างไรบ้างกับเรื่องนั้นๆ บางท่านกลัวว่าเป็นการลบหลู่ ครู อาจารย์ ขวางทางนิพพาน ผมว่าตลกดี

สำหรับผมเองก็เริ่มจาก อ่านและฟัง ครู อาจารย์ชั้นหลังๆ เมื่อวิเคราะห์แล้วยังเห็นความขัดแย้งในคำสอนของครู อาจารย์ชั้นหลังๆ

ถึงต้องกลับไปหาของจริง (พระไตรฯ) หรือบางครั้งกลับไปทบทวนพบว่าการอ่านจากพระไตรฯ

แม้อ่านยากในแรกๆ แต่ได้ภาพรวมที่ชัดเจนกว่าเยอะและเป็นไปตามภุมิธรรมที่เรามีอยู่ด้วย กลับไปอ่านใหม่อีกครั้ง กลับได้มุมมอง ความละเอียดในสภาวะธรรมมากกว่าเก่าอีก

:b8:
อโศกะ เขียน

จากธรรมมะคำสอนเบื้องต้น ฟังง่าย ของครูบาอาจารย์ จึงนำไปสู่การปฏิบัติง่ายๆ ขั้นพื้นฐาน จากการทบทวนศีล 5 สำรวมศีล 5 มาสู่การสำรวมอินทรีย์ คือ กาย วาจา ใจ

แล้วเริ่มต้นฝึกขจัดนิวรณ์ด้วยสมาธิอย่างง่ายไปหาละเอียดด้วยหินลับมีดปัญญา 5 ก้อน จนนิวรณ์สงบ รำงับ ไปเป็นพักๆ

เมื่อจิตควรแก่งานได้เป็นพัก ๆ ก็จึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาได้เป็นพัก ๆ 5 นาที 10 นาที เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ตามชั่วโมงบิน จนสามารถตั้งมั่นเจริญวิปัสสนาภาวนา วิมังสา ธัมมวิจัย ได้ต่อเนื่อง เป็นครึ่งชั่วโมง 1 ชั่วโมง บางครั้งก็มากกว่า

เมื่อถึงตรงนั้น จึงมีโอกาสได้สัมผัสปรมัตถสภาวะ ธรรมมะจากคำพูดและตัวหนังสือ กลายเป็นธรรมมะจากของจริง ที่แสดงอยู่ในกาย จิต อริยสัจ 4 เป็นอย่างไร มรรค 8 แต่ละข้อเป็นอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอย่างไร ก็ทราบซึ้งมากขึ้น

ศรัทธาในพุทธธรรมก็เพิ่มมากขึ้น ความปราถนาจะเรียนรู้ให้มากในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เกิดมากขึ้น จึงเกิดความขวันขวาย หาอ่านพระสูตรก่อน แล้วจึงขยายไปอ่านพระวินัยและพระอภิธรรม อ่านแล้วจับประเด็น จาก 21,000 สูตร

:b8:
ย่อลงมา ก็มารวมลงในมรรคมีองค์ 8 ทางสายกลาง

ย่อลงไปอีกเหลือปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์

ย่อลงไปถึงที่สุดเหลือ อนัตตา คำเดียว

สรุปได้ว่า พิสูจน์อนัตตาให้ได้อย่างเดียว ธรรมมะทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็รวมอยู่ใน "อนัตตา" คำเดียว
:b8:
ดังพระดำรัสสรุปของพระพุทธบิดาว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา"

นี่คือประวัติย่อของการศึุกษาและปฏิบัติธรรมของอโศกะครับ ที่ไม่อ้างปริยัติในปิฎกอยู่ทุกวันนี้เพราะต้องการแกล้งดื้อเพื่อยั่วยุให้ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต กัลยาณมิตรที่ปราถนาดีทั้งหลาย ได้ไฟลุก ปลุกกันมา ค้นหาของดี ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวทมาเล่าสู่กันฟังครับ อย่างท่านมหาราชันย์นี้ก็ปลุกขึ้นครับ มีสิ่งดีๆออกมาเยอะ แต่บางอย่างก็ยังต้องคุยกันต่ออีกนานครับ

ส่าธุ
wink sad Lips

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3460_resize.JPG
100_3460_resize.JPG [ 51.46 KiB | เปิดดู 4280 ครั้ง ]
100_5477_resize.JPG
100_5477_resize.JPG [ 51.35 KiB | เปิดดู 4278 ครั้ง ]
tongue
จากเมตตาของคุณโคตรภู


พระไตรปิฎก เล่มที่ 14
--------------
๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคาร
มารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะ
โมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่าง
ของบันไดชั้นล่าง แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ
กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบ
เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ
คือ ในเรื่องใช้อาวุธ แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ
ในเรื่องนับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง
หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ
หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจ
หรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติ
โดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ
[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ
[๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย
ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม
อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์เถิด ฯ
[๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ
จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้
เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย
จักมีแก่เรา ฯ
[๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต
ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว
ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ
[๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้
ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ
[๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ
อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา
ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน-
มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถ้อยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ

smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


แก้ไขล่าสุดโดย อโศกะ เมื่อ 11 ธ.ค. 2009, 07:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

วรรค ที่ ๑๐๐ เป็นวรรคที่สำคัญที่สุด ท่านอโศกะ เอามาไม่หมด ผมเลยเพิ่มเติมให้ครบครับ
และขอให้ท่านอโศกะ หรือทุกท่านพิจารณาตรงที่ทำตัวหนาด้วยครับ ที่สำคัญประโยคที่ขึดเส้นใต้ด้วยครับ



[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถ้อยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่
ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น
เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้
ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะฯ

.........................................................................................................

เราๆ หรือท่านทั้งหลายคิดว่ามีสภาวะธรรมที่ดีกว่านี้อีกหรือครับ ในเมื่อยังเป็นแค่อุบาสกหรืออุบาสิกา แม้แต่พระสงฆ์ ยังไม่เป็นอรหันต์ ผมถึงได้บอกคุณอโศกะไงครับว่า ฌาณ ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้แต่พระพุทธองค์ก็บอกแล้วว่าไม่มีสภาวะธรรมที่ดีกว่านี้แล้ว สำหรับระดับนี้ เพราะอะไรหรือครับเพราะจิตในสภาวะนี้เป็นกุศลจิต(กามาวจรกุศลจิต รูปวาจรกุศลจิต อรูปวาจารกุศลจิต โลกุตระกุศลจิต) ขณะเดียวกันก็เป็นวิหารธรรมให้เราด้วยเช่นกันครับ ซึ่งเป็นการสร้างเหตุ (โลกุตระกุศลจิต) เพื่อให้ได้ โลกุตระกุศลจิต (โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตน์)

ส่วนในระดับอรหันต์ ก็เป็นแค่วิหารธรรม เพื่อความอยู่สบายเท่านั้นครับ ซึ่งก็แปลว่าท่านดำรงฌาณ ตลอดหรือ มีฌาณ ไม่เสื่อมตลอดเวลา ซึ่งในสภาวะนี้จิตของท่านเป็นโลกุตระศลไปแล้วครับ


........................................................................................................


รบกวนท่านอโศกะ พิจารณาใหม่ อีกสักรอบ อย่างเพ่งฟันธง อนัตตา นะครับ เพราะมันยังมี อนิจัง ทุกขัง และที่สำคัญมันค้านกับคำสอนอยู่นะครับ ท่านอื่นๆ จะได้ใช้ปัญญาในการพิจารณาเพื่อให้เข้าถึงสภาวะธรรมที่ถูกกับจริตตัวเองนะครับ และไตรลักษณ์เป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่งในการศึกษาครับ ยังมีอริยสัจจ์ 4 ซึ่งคือปัญญา ในศาสนานี้ด้วยนะครับ

........................................................................................................

ขอขอบคุณเว็บลานธรรมด้วยครับ ที่อำนวยความสะดวกในการหาอ่านพระไตรฯ ได้ง่ายๆ และเร็ว

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


แก้ไขล่าสุดโดย โคตรภู เมื่อ 11 ธ.ค. 2009, 11:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_1545_resize.JPG
100_1545_resize.JPG [ 80.89 KiB | เปิดดู 4240 ครั้ง ]
tongue ขอบคุณและอนุโมทนากับคุณโคตรภูในข้อธรรมที่ยกมาเพิ่มเติม สวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่าน

โคตรภู เขียน

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะฯ
.........................................................................................................

เราๆ หรือท่านทั้งหลายคิดว่ามีสภาวะธรรมที่ดีกว่านี้อีกหรือครับ ในเมื่อยังเป็นแค่อุบาสกหรืออุบาสิกา แม้แต่พระสงฆ์ ยังไม่เป็นอรหันต์

ผมถึงได้บอกคุณอโศกะไงครับว่า ฌาณ ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แม้แต่พระพุทธองค์ก็บอกแล้วว่าไม่มีสภาวะธรรมที่ดีกว่านี้แล้ว สำหรับระดับนี้ เพราะอะไรหรือครับเพราะจิตในสภาวะนี้เป็นกุศลจิต(กามาวจรกุศลจิต รูปวาจรกุศลจิต อรูปวาจารกุศลจิต โลกุตระกุศลจิต) ขณะเดียวกันก็เป็นวิหารธรรมให้เราด้วยเช่นกันครับ ซึ่งเป็นการสร้างเหตุ (โลกุตระกุศลจิต) เพื่อให้ได้ โลกุตระกุศลจิต (โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตน์)

ส่วนในระดับอรหันต์ ก็เป็นแค่วิหารธรรม เพื่อความอยู่สบายเท่านั้นครับ ซึ่งก็แปลว่าท่านดำรงฌาณ ตลอดหรือ มีฌาณ ไม่เสื่อมตลอดเวลา ซึ่งในสภาวะนี้จิตของท่านเป็นโลกุตระศลไปแล้วครับ


อโศกะ วิจารณ์เพิ่มเติม

ฌาณ ไม่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ดีอยู่ เป็นกุศลอยู่ พระพุึทธเจ้าทรงสรรเสริญอยู่ ตามหลักฐานที่คุณโคตรภูยกมา แต่มีข้อความหนึ่งที่พึงพิจารณาประกอบไปด้วยในกลุ่มข้อความที่คุณโคตรภูยกมานี้ คือ

ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค

แสดงว่า ฌาณ นั้นดีอยู่สำหรับพระเสขะบุคคล แต่ท่านผู้ปารถนาจะให้ถึงที่สุดแห่งความเป็นอเสขะบุคคล มิพึงควรยินดีอยู่เพียงแค่นี้ ซึ่งน่าจะมีข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อยู่ แต่ผมค้นพระไตรปิฎกไม่เก่ง จึงต้องขอท่านที่เก่งกรุณาช่วยขค้นมาแสดงให้ด้วย


การแสดงความเห็นของอโศกะ ที่ไม่เน้นเรื่องฌาณ ไม่ประสงค์จะให้ผู้คนยินดีในฌาณจนเกินไป ก็เนื่องด้วยเหตุผลว่า ที่ฌาณนั้น มีโอกาสติดหลงได้ง่ายและลุ่มลึก ดังเช่นท่าน กาลเทวินดาบส อาฬารและอุทกดาบสท่านเป็นอยู่ เสวยผลอยู่
:b8:
ฌาณมิใช่วิหารธรรมอันควรนักสำหรับผู้ที่มุ่งมั่นเดินทางไปสู่ความเต็มพร้อมแห่งอเสขะบุคคล เพราะฌาณ เป็นเส้นทางเดินสายเก่า เป็นทางเดินของฤาษี ชี ไพร พราหมณ์ ฮินดู อเจลกะทั้งหลาย เป็นทางสายที่ยาก สายที่อ้อมโค้ง สำหรับผู้คนในยุคสมัยนี้

วิปัสสนาภาวนา ปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ ต่างหาก ควรเป็นวิหารธรรมสำหรับชาวพุทธยุคปัจจุบัน ดังคำสรุปท่อนแรกของสติปัฏฐาน 4 ที่ว่า

กาเย กายา นุปัสสี วิหารติ เวทนาสุเวทนา.... จิตเต จิตตา....ธัมเมสุ ธัมมา นุปัสสี วิหารติ
อาตาปี สัมปฌาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง


แต่นี่ก็เป็นเพียง 1 ความเห็น มิใช่กฏเกณฑ์ตายตัว ต้องขึ้นแล้ว แต่บุญ วาสนา บารมี เหตุ ปัจจัย นิสัย ตามส่ง ของแต่ละท่านแต่ละบุคคล ให้่เลือกเฟ้นเอาธรรม อันเหมาะสมกับตน มายึดถือปฏิบัติ
:b27:
ตัวอย่างเช่น ท่านมหาราชันย์ จะอยู่ที่ ฌาณ 2 เป็นวิหาร แล้วเดินทางต่อ ใครจะไปบังคับท่านได้ ท่านชอบอย่างนั้น ท่านโคตรภู อาจจะชอบเดินฌาณก่อน แล้วค่อยมาเจริญวิปัสสนาภาวนาตามภายหลังก็ไม่มีใครจะมาว่าได้

ส่วนอโศกะ จะเอาปัจจุบันอารมณ์และสติปัฏฐาน 4 มรรค 8 อริยสัจ4 และอนัตตาธรรมเป็นอารมณ์ เป็นวิหารธรรม แล้วเดินทางต่อ ก็น่าจะเป็นไปได้ พิสูจน์กันที่การปฏิบัติจริง และผลที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ ดังนี้

อนุโมทนาในความปารถนาดีของท่านโคตรภู ครับ

หวังว่ากระทู้นี้คงเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่มาเยือน สาธุ

cheesy s001

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เมื่อมีอนิจจัง ยอมมีทุกขัง ย่อมมีอนัตตา
ไม่มีการขาดจากตัวใดตัวหนึ่ง

กุศลแต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน
บางคนรู้โดยอนิจจัง แต่โดยสภาวะ จะรู้ทั้งทุกขังและอนัตตาด้วย
บางคนรู้โดยทุกขัง แต่โดยสภาวะ จะรู้ทั้งอนิจจังและอนัตตาด้วย
บางคนรู้โดยอนิจจัง แต่โดยสภาวะ จะรู้ทั้งทุกขังและอนัตตาด้วย

คือ ถ้ารู้โดยอีกตัว อีกสองตัวที่เหลือจะรู้โดยอัตโนมัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว





อนติตสญฺญา อนิจฺจลกฺขเณ ทิฏเฐ อนตฺตลกฺขณํ ทิฏฐเมว โหติ เอเตสุ หิ ตีสุ ลกฺขเณสุ
เอเกกสฺมึ ทิฏเฐ อิตรทฺวยํ ทิฏฐเมว โหติ เตน วุตฺตํ อนิจฺจสญฺญิโน ภิกฺขเว อนตฺตสญฺญา สณฺฐาตีติ



ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า

อนฺตสญฺญา สณฺฐาติ
( อนัตตสัญญา ความจำหมายว่า ไม่ใช่ตน , เขา , เรา ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี ) นั้น



หมายความว่า เมื่อพิจรณาเห็นการเกิดดับที่เป็นอนิจจลัขณะแล้ว
ก็จะเห็นอนัตลักขณะ คือ ไม่อยู่ใต้บังคับบัญชา มีแต่ เกิดดับ
เป็นไปตามเหตุปัจจัยสำเร็จไปด้วยความจริงนั้น

เมื่อได้เห็นลักขณะอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาลักขณะ ๓ อย่างนั้น
ก็จะต้องได้เห็นลักขณะทั้ง ๒ ที่เหลืออยู่โดยแน่แท้
เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า



อนจฺจสญฺญิโณ ภิกฺเว อนตฺตสญฺญา สณฺฐาติ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาความหมายว่า ไม่ใช่ตน , เขา , เรา
ย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี แก่ผู้ที่มีการพิจรณาเห็นเป็นอนิจจะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดี มีความสุขครับ ท่านมหาราชันย์และเพื่อนกัลยาณมิตรทุกท่าน

วันนี้มีโอกาสอันดีที่จะได้สนทนากับท่านมหาราชันย์ต่อ


มหาราชันย์ เขียน

สวัสดีครับคุณอโศกะ

จาก ข้อความนี้ของคุณเป็นการยืนยันความรู้ของคุณอโศกะได้เป็นอย่างดีครับ ว่าคุณอโศกะไม่รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ความรู้ที่คุณมีเป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิด ศึกษามาไม่ดี เรียนมาไม่ดี

พระสัมมาสัมพูทธเจ้าเป็นฤๅษีครับ เรียกพระองค์ว่า มหาฤๅษี เป็นฤๅษีผู้เลิศกว่าฤๅษีทั้งหลายครับ

อโศกะ วิจารณ์

พระพุทธเจ้าทรงเป็นมหาฤาษี ใช่อยู่ คุณมหาราชันย์สังเกตเห็นไหมว่ามีคำว่า "มหา" นำหน้า ฤาษี
ส่วน ส่วนท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส และท่าน กาลเทวินดาบส หรือแม้กระทั่งท่านมหาราชันย์ เป็นเพียง ฤาษีธรรมดา ท่านทราบนัยยะของเรื่องนี้ไหมครับ

มหาฤาษีอย่างพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงเอาปัญญานำหน้า มีสติ สมาธิ มาเป็นกองหนุน เจริญธรรมไปตาม มรรค 8 จนพิสูจน์อริยสัจ 4 เจนจบสมบูรณ์ ด้วยญาณ 3 อาการ 12 ได้ถึงความเป็นอรหันตสัมมาสัมพัุทธเจ้า หมดสิ้นทุกข์ ความเวียนว่ายตายเกิด

ส่วนฤาษีธรรมดาดังที่กล่าวนั้น เอา สติ สมาธิ นำหน้า เสวยฌาณ ปิดบังปัญญาเอาไว้ จึงต้องติดกัปป์ ตกอิยู่ในวังวนแห่งความเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป

ต่างกันตรงนี้นะครับ ต้องอธิบายนัยยะและรายละเอียดไปด้วย มิฉะนั้นผู้อ่านก็จะหลงผิดไปเห็นดีเห็นงามตามท่านมหาราชันย์ ไปยินดีในฌาณ อันเป็นของยาก อ้อมค้อม เสี่ยงภัยในกัปป์

อย่าเอาฌาณเป็นวิหารธรรมเลยครับ เอาปัจจุบันอารมณ์ เอาสติปัฏฐาน 4 เป็นวิหารธรรมเถิดครับถึงจะใช่ทางของชาวพุทธจริงๆ


มหาราชันย์ เขียน:

ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ผมทรงจิตไว้ที่ฌานที่ 2 มีคาถาธรรมบทเป็นอารมณ์อบรมปัญญาตลอดวัน
อะไรมากระทบจับแล้วก็วาง ในขณะทำการงาน
จิตผมสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นปกติอยู่แล้วครับ


อโศกะ ตอบ

ข้อนี้ตอบรวมไว้ในท่อนแรกแล้วครับ


มหาราชันย์ เขียน

ปัญญา ในการอ่านข้อความที่ผมแสดงธรรมคุณยังไม่มีปัญญาเข้าใจได้เลยครับ ปัญญาที่คุณมีนี้เป็นปัญญาที่ทุรพลครับ สิ่งที่ผมบรรลุอยู่มันเกินภูมิปัญญาของคุณครับ

ข้อความนี้ในพระพุทธศาสนาหมายถึงสภาวะธรรมแบบนี้ครับ

ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ

ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ

ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่ง
สกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล

ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ


อโศกะ วิิจารณ์

ลอกปริยัติในคัมภีร์มา ก็ถูก ดูขลังดี น่าเชื่อถือ แต่ ญาณ วิโมกข์ มรรค ทั้งหลายนั้น จะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าถึง ลองอธิบายวิธีการง่ายๆมาให้ฟังหน่อยซิ ครับ แล้วท่านได้สัมผัสสภาวะเหล่านั้นแล้วหรือ จึงได้นำมาพูด อธิบายได้เป็นตุเป็นตะ


มหาราชันย์ เขียน:

ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน ผมทรงจิตไว้ที่ฌานที่ 2 มีคาถาธรรมบทเป็นอารมณ์อบรมปัญญาตลอดวัน

คาถาธรรมบท เป็นสมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิครับ

อโศกะ วิจารณ์

เอาธรรมบทมาเจริญพิจารณาเป็นโฉลกธรรม คล้ายๆ วิธีการของเซ็น ใช้ได้ ดีอยู่ แต่มาลงท้ายว่า

"คาถาธรรมบท เป็นสมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิครับ" อันนี้ฟังดูทะแม่งๆ ไม่สัมพันธ์กันนะครับ

แล้วการที่ทรงอยู่ที่ฌาณ 2 วิตก วิจารณ์ ไม่ทำงาน คุณจะพิจารณา ค้นหา เหตุ ผล ในธรรมบทได้อย่างไร ดูพิกลๆ ขัดกันกับสภาวะจริงๆนะครับ


อโศกะ เขียน:
แล้ว จากคำตอบที่ท่านให้มาผมวิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ท่านกำลังดำรงตนและใช้ชีวิตเหมือนฤาษี คือพยายามรักษาจิตของตนอยู่ในฌาณ 2 เหมือนคนขี้กลัว ผลุบโผล่ วิ่งเข้าวิ่งออก รับอารมณ์แล้วกลับไปอยู่ในฌาณ ๆ
ไม่ กล้าสู้หน้ากับความเป็นจริง ทำอย่างนี้โอกาสที่จะค้นพบสมุทัย และถอนเหตุทุกข์ที่แท้จริงจะเนิ่นช้าเหมือนมหาดาบสทั้ง 3 ในครั้งพุทธกาลที่ไปติดกัปป์อยู่ขณะนี้

มหาราชันย์ เขียน

ข้อนี้เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิด เป็นการปฏิบัติผิดของคุณอโศกะอย่างมหันต์เลยครับ

การ ค้นพบทุกข์สมุทัย ไม่ใช่อยู่ที่การสร้างอกุศลมูล อันเป็นที่เกิดของตัณหาแบบที่คุณอโศกะกำลังปฏิบัติอยู่นะครับ

การปฏิบัติตรงนี้ของคุณอโศกะคือการปฏิบัติที่ผิดทางตามคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างสิ้นเชิงครับ


อโศกะวิจารณ์

ท่อนนี้คุณมหาราชันย์เล่นตีขลุม สรุปเอาว่าผมสร้างอกุศลมูล ลองไปพิจารณาดูใหม่ให้ดีนะครับ การเอาสติ เอาปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ หรือเจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญมรรค 8 อยู่นั้น เป็นอกุศลตอนไหน การเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนาไม่ใช่มหากุศลหรอกหรือ พิจารณาใหม่นะครับ


มหาราชันย์ เขียน

พระพุทธเจ้าสอนให้ละตัณหาและอกุศลมูลอันเป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์

แต่คุณอโศกะกลับยินดีในการสร้างเหตุให้เกิดทุกข์ ปฏิบัติในเหตุให้เกิดทุกข์ ทำเหตุให้เกิดทุกข์เกิดขึ้นสืบไป อวดอ้างว่าตนเองกล้าหาญในการสร้างอกุศลกรรมเหตุให้เกิดทุกข์ การปฏิบัติของคุณอโศกะทำให้วัฏฏะของคุณอโศกะยาวออกไปเรื่อย ๆ ด้วยอกุศลวิบากครับ


อโศกะวิจารณ์

ท่อนนี้ก็ตีขลุมสรุปเอาอีกแล้ว แถมไม่พอยังใส่ความใส่ไฟเอาหน้าซื่อๆอีกด้วย


ผมต้องการให้รู้ว่าวิปัสสนาปัญญาจะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้เจริญต้องทำตัวเหมือนนักวิจัย ที่เข้าไป สังเกต พิจารณากระบวนการทำงานของ กายและจิต หรือ รูป - นาม นี้ โดยปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ แสดงเหตุแสดงผลไปตามธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาทำตัวเป็นเพียง Observer สิ้นสุดกระบวนการทำงานของแต่ละอารมณ์ จนจบรอบการปฏิบัติ 1 รอบ จะได้ผลสรุป เป็นรายงานออกมาเองในจิต เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา" ผลการวิจัยนี้ผู้ปฏิบัติจะได้พบว่า ทุกขสัจจะ เป็นอย่างไร อะไรเป็นเหตุ
(สมุทัย) เหตุนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะดับลงได้อย่างไร หลังจากเหตุทุกข์ดับแล้วอะไรจะเกิดขึ้นเป็นผล (นิโรธ) กระบวนการเรียนรู้ วิจัย ธรรมชาติของกายและจิตนี้ (มรรค) ต้องทำอย่างไรบ้าง Byproduct ผลพลอยได้ของการทำวิจัยนี้ คือนิพพาน อมตะสุข ดังนี้ คุณมหาราชันย์เห็นถึงความหมาย นัยยะ ตรงนี้หรือเปล่าครับ


มหาราชันย์ เขียน

การทรงฌาน เป็นการกำจัดความกลัวครับ ผมเป็นคนกล้าหาญครับ กล้าที่จะกำจัดตัณหาและอกุศลมูลอับเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ครับ ผมมีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ถอนตัณหาอุปาทานทั้งกลางวันกลางคืน
ผมเจริญมรรคปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ห่างไกลออกมาจากตัณหาอุปาทาน


อโศกะวิจารณ์

กล้าหาญอย่างไร จึงหลบผัสสะไปอยู่ในฌาณ ทำไมไม่ออกมาอยู่ปกติธรรมดาอย่างคนทั่วไป เผชิญหน้ากับ ผัสสะและเวทนา เพื่อจะได้ค้นหาเหตุทุกข์ให้เจอ แล้วเอามันออก อย่างนี้สิถึงจะแสดงว่าเป็นนักสู้ที่แท้จริง


มหาราชันย์ เขียน

ในขณะที่คุณอโศกะยังมัวยินดีในการกลับไปสร้างเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ห่างจากตัณหา เอาจิตไปเกลือกกลั้วอยู่กับตัณหาต่อไป


คุณยอมรับความจริงได้แล้วครับคุณอโศกะ ว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิด คุณกำลังปฏิบัติผิดแนวทางคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


อโศกะ วิจารณ์

ท่อนนี้ ก็ใส่ความอย่างน่าละอาย แล้วการปฏิบัติตาม อริยสัจ 4 มรรค 8 อนัตตา ผิดคำสอนของพระพุทธเจ้าตรงไหนครับ

เจริญในธรรมครับ

จบคำตอบ คำวิจารณ์ ตอนที่ 1 ยังมีต่อใน ค.ห.ต่อไปครับ สาธุ



:b8: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



จงอย่าประมาท
การเจริญสติปัฏฐานยิ่งทำมากเท่าไหร่ยิ่งดี
อย่าให้ความสำคัญกับสมาธิมากไปนัก
เพราะสมาธิสามารถมีและหายหมดไปได้
แต่การเจริญสติปัฏฐานไม่มีวันหมด ยิ่งทำ สติ สัมปชัญญะยิ่งแข็งแกร่ง

วันนี้อาจจะมีสมาธิไว้เป็นที่หลบภัย ยามผัสสะมากระทบ
นี่คือ สมาธิครึ่งหนึ่ง สติ สัมปชัญญะครึ่งหนึ่ง หรือ สมาธิมากเกินสติก็ได้
แต่วันใดใครจะไปรู้ สี่ขายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
วิบากกรรมของแต่ละคนนั้นมีอยู่

วันหนึ่งๆ ไม่รู้ว่าเราอยู่ในหมู่คนมากเท่าไหร่
ในจำนวนผู้คนเหล่านั้น ย่อมมีผู้ที่เป็นฝ่ายให้และฝ่ายรับ ( สมาธิ )
บางทีผู้รับเขาไม่ได้ตั้งใจ แต่สมาธิของคนอื่นๆถ่ายเทไปที่เขาเอง
ใครที่คลุกคลีกับคนหมู่มาก จงอย่าประมาท
เพราะคนที่เคยมีสมาธิมากมาย ต่อให้ได้ฌานสมาบัติด้วย
หากวันใดต้องสูญเสียสมาธิไปจนหมดสิ้น
นั่นแหละจะสัมผัสกิเลสได้แบบเต็มๆที่แท้จริง
ทีนี้แหละ ต้องอาศัยสติ สัมปชัญญะที่มีอยู่รับมือกับกิเลสเหล่านั้น
ไม่มีสมาธิให้หลบ ....
พูดมาเพื่อบอกเล่าสู่กันฟัง ....

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ วิจารณ์

พระพุทธเจ้าทรงเป็นมหาฤาษี ใช่อยู่ คุณมหาราชันย์สังเกตเห็นไหมว่ามีคำว่า "มหา" นำหน้า ฤาษี
ส่วน ส่วนท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส และท่าน กาลเทวินดาบส หรือแม้กระทั่งท่านมหาราชันย์ เป็นเพียง ฤาษีธรรมดา ท่านทราบนัยยะของเรื่องนี้ไหมครับ

มหาฤาษีอย่างพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงเอาปัญญานำหน้า มีสติ สมาธิ มาเป็นกองหนุน เจริญธรรมไปตาม มรรค 8 จนพิสูจน์อริยสัจ 4 เจนจบสมบูรณ์ ด้วยญาณ 3 อาการ 12 ได้ถึงความเป็นอรหันตสัมมาสัมพัุทธเจ้า หมดสิ้นทุกข์ ความเวียนว่ายตายเกิด

ส่วนฤาษีธรรมดาดังที่กล่าวนั้น เอา สติ สมาธิ นำหน้า เสวยฌาณ ปิดบังปัญญาเอาไว้ จึงต้องติดกัปป์ ตกอิยู่ในวังวนแห่งความเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป

ต่างกันตรงนี้นะครับ ต้องอธิบายนัยยะและรายละเอียดไปด้วย มิฉะนั้นผู้อ่านก็จะหลงผิดไปเห็นดีเห็นงามตามท่านมหาราชันย์ ไปยินดีในฌาณ อันเป็นของยาก อ้อมค้อม เสี่ยงภัยในกัปป์

อย่าเอาฌาณเป็นวิหารธรรมเลยครับ เอาปัจจุบันอารมณ์ เอาสติปัฏฐาน 4 เป็นวิหารธรรมเถิดครับถึงจะใช่ทางของชาวพุทธจริงๆ




สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ


ถ้าคุณอโศกะเคยอ่านพระไตรปิฎกมาบ้าง จะได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสเรียกพระองค์เองว่ามหาฤๅษี ทรงตรัสเรียกพระภิกษุสาวกทั้งหลายว่า ฤๅษีครับ


ข้อนี้จึงเป็นความรู้ผิดเป็นความเข้าใจผิดของคุณครับ คุณศึกษามาน้อย ศึกษามาไม่ดี เรียนมาไม่ดี แต่คุณไม่ยอมรับความจริงข้อนี้ครับ


คำว่าวิหารธรรมคุณก็รู้ผิด เข้าใจมาผิดครับ
การเจริญสติปัฏฐาน 4 จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อเจริญฌานเป็นโลกุตตระครับ


ปัจจุบันอารมณ์ไม่ได้เนื่องด้วยบทธรรมว่าเป็นบทอะไรครับ
แต่เนื่องด้วยคุณภาพจิตในปัจจุบัจครับ ว่าเป็นจิตอะไร ?

การเจริญสติปัฏฐาน 4 ของคุณอโศกะโดยไม่กำจัดนิวรณ์ 5 ให้บรรลุฌานสมาบัติอันเป็นบาทแก่สติปัฏฐาน 4 จิตอย่างนี้เป็นเหตุแห่งกามโลกีย์ครับ จิตอย่างนี้เรียกว่า กามาวจรกุศลจิตครับ แต่ถ้ามีกิเลสเกิดขึ้นด้วย จิตนั้นเป็นกามาวจรอกุศลจิตครับ ก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไปคุณกำลังสร้างเหตุให้เกิดทุกข์ครับ

วิหารธรรมในสติปัฏฐาน 4 นั้นจึงเนื่องด้วยคุณภาพจิตครับ ไม่ได้เนื่องกับการเจริญสติปัฏฐาน 4 ด้วยกามาวจรครับ จิตคุณอโศกะเป็นกามาวจรเพราะไม่เอาฌาน คุณอโศกะจึงไม่มีวิหารธรรมเลย แต่รู้มาผิด เข้าใจผิดเอาเองว่ามีสติปัฏฐาน 4 เป็นวิหารธรรม


ลองทบทวนดูนะครับ สติปัฏฐาน 4 ข้อสุดท้ายคืออะไร ?
ธรรมในธรรมใช่ไหม?

ธรรมในธรรมข้อสุดท้ายคืออะไร ?
อริยะสัจ 4 ใช่ไหม ?

อริยะสัจ 4 ข้อสุดท้ายคืออะไร ?
มรรคมีองค์ 8 ใช่ไหม ?

มรรคมีองค์ 8 ข้อสุดท้ายคืออะไร ?
สัมมาสมาธิใช่ไหม?

สัมมาสมาธิคืออะไร ?
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานใช่ไหม ?


ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานในสติปัฏฐาน 4 นี้เป็นวิหารธรรมใช่ไหม ?
เป็นคุณภาพจิตที่ออกจากกามสัญญาใช่ไหม ?


คุณอโศกะกล่าวว่าผมติดฌานนี่เป็นความรู้ผิด เป็นความเข้าใจผิดครับ
ผมทรงฌาน ไม่ได้ติดฌานครับ ในฌานสมาบัติ 8 ผมเลือทรงฌานไหนก็ได้ครับ
และฌาน 2 ที่ผมทรงอยู่นี้เรียกว่าฌาน 2 ชนิดสุญญตะสมาธิครับ

แต่ที่สำคัญที่คุณอโศกะติดตอนนี้คือติดกามสัญญา จิตเป็นกามาวจรจิตทั้งกุศลและอกุศลครับ แต่คุณกำลังหลอกตัวเองว่ามีสติปัฏฐาน 4 ซึ่งในความเป็นจริงจิตคุณไม่มีสติปัฏฐานเลยครับ คุณอโศกะกำลังห่างจากทางมัตตผลครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ วิิจารณ์

ลอกปริยัติในคัมภีร์มา ก็ถูก ดูขลังดี น่าเชื่อถือ แต่ ญาณ วิโมกข์ มรรค ทั้งหลายนั้น จะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าถึง ลองอธิบายวิธีการง่ายๆมาให้ฟังหน่อยซิ ครับ แล้วท่านได้สัมผัสสภาวะเหล่านั้นแล้วหรือ จึงได้นำมาพูด อธิบายได้เป็นตุเป็นตะ


เพราะคุณอโศกะไม่เอาฌาน ไม่เคยบรรลุฌาน คุณย่อมไม่รู้จักฌานครับ

ฌานที่เป็นเหตุก็มีครับ
ฌานที่เป็นผลก็มีครับ
ฌานที่เป็นอารัมณูก็มีครับ...รูปฌาน 4


ฌานที่เป็นลักขณูก็มีครับ...อนิมัตตะสมาธิ อัปปณิหิตตะสมาธิ และสุญญตะสมาธิ...ผมทรงฌาน 2 ชนิดสุญญตะสมาธิครับ การอบรมจิตด้วยพระธรรมเทศนาจนจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความยึดมั่นถือมั่นในนามรูป ดับกามสัญญา ดับรูปสัญญา และดับอรูปสัญญา เรียกว่าสุญญตะสมาธิครับ ใครที่บรรลุฌานสมาบัติบุคคลนั้นบรรลุวิโมกข์ และมรรคด้วยครับ

ฌานที่เป็นอริยะมัคคก็มีครับ
ฌานที่เป็นอริยะผลก็มีครับ



จะยอมรับความจริงไหมครับว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิดล่ะครับคุณอโศกะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
อโศกะ วิจารณ์

เอาธรรมบทมาเจริญพิจารณาเป็นโฉลกธรรม คล้ายๆ วิธีการของเซ็น ใช้ได้ ดีอยู่ แต่มาลงท้ายว่า

"คาถาธรรมบท เป็นสมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิครับ" อันนี้ฟังดูทะแม่งๆ ไม่สัมพันธ์กันนะครับ

แล้วการที่ทรงอยู่ที่ฌาณ 2 วิตก วิจารณ์ ไม่ทำงาน คุณจะพิจารณา ค้นหา เหตุ ผล ในธรรมบทได้อย่างไร ดูพิกลๆ ขัดกันกับสภาวะจริงๆนะครับ



เพราะคุณอโศกะเรียนมาไม่ดี ศึกษามาไม่ดี
การทรงฌานเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขสบายแห่งอัตตภาพ
ทรงฌาน 2 จุดประสงค์เพื่อให้จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และเพื่อง่ายในการเจริญอริยะมัคคจิต 4 ในลำดับต่อไป

คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสให้ตัดความตรึกและความรำคาญครับ
ไม่มีกิจที่จะต้องค้นหาแล้วครับ ยิ่งค้นหายิ่งฟุ้งซ่านครับ ผ่านปฐมฌานมาแล้ว ละวิตกละวิจารได้แล้วครับ แคล่วคล่องชำนาญแล้วครับ


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสสอนอย่างนี้ครับ



ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ



จะยอมรับความจริงได้แล้วหรือยังครับคุณอโศกะ ว่าคุณรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ศึกษามาไม่ดี เรียนมาไม่ดี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร