วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
สาธุที่ท่านเช่นนั้นยกพระไตรฯ มาแสดงให้เห็นในส่วนที่ท่านอโศกะ ไม่เคยแสดงให้เห็นว่า ปัญญาจะเกิดขึ้นกับจิตได้อย่างไร บอกแต่ให้เฝ้ามองตันหาให้เห็นอนันตาด้วย สติ และปัญญา


อ้างอิงคุณโคตรภู

แสดงว่าคุณโคตรภูยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจคำว่า "ภาวนามยปัญญา" ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า Experience

คือ เมื่อพบเห็นอยู่เนื่องๆ จะเกิด ความ รู้ ขึ้นมา เหมือน ลิ้นเคยสัมผัสรส เค็ม มือเคยถูกไฟไหม้

จิตใจเคยถูกความโกรธครอบงำ

โสดาปัตติมรรคเคยเกิด อัตตทิฐิหายไป เหลือแต่ มานะทิฐิ เป็นต้น
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
อ้างอิงคุณโคตรภู

แสดงว่าคุณโคตรภูยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจคำว่า "ภาวนามยปัญญา" ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า Experience

คือ เมื่อพบเห็นอยู่เนื่องๆ จะเกิด ความ รู้ ขึ้นมา เหมือน ลิ้นเคยสัมผัสรส เค็ม มือเคยถูกไฟไหม้

จิตใจเคยถูกความโกรธครอบงำ

โสดาปัตติมรรคเคยเกิด อัตตทิฐิหายไป เหลือแต่ มานะทิฐิ เป็นต้น



ถ้าแบบฝรั่งก็คงไม่รู้เรื่องหรอกครับ

แต่ถ้าตามนี้
viewtopic.php?f=2&t=26059

ก็โอเคครับ

หรืออย่างไรลองเปรียบเทียบกันดูนะครับระหว่างลิงค์นี้กับ Experience
อย่างไรก็ตามผมยังเข้าใจว่า ต้องสร้างเหตุจึงจะมีผล อริยสัจจ์ 4 จึงเป็นปัญญาอย่างแท้จริงครับ
สำหรับไตรลักษณ์แค่ส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายเท่านั้น เป็นไปเพื่อวิราคะ
นะครับ

ขอบคุณครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โคตรภูเขียน

ถ้าแบบฝรั่งก็คงไม่รู้เรื่องหรอกครับ

แต่ถ้าตามนี้
viewtopic.php?f=2&t=26059

ก็โอเคครับ

หรืออย่างไรลองเปรียบเทียบกันดูนะครับระหว่างลิงค์นี้กับ Experience
อย่างไรก็ตามผมยังเข้าใจว่า ต้องสร้างเหตุจึงจะมีผล อริยสัจจ์ 4 จึงเป็นปัญญาอย่างแท้จริงครับ
สำหรับไตรลักษณ์แค่ส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายเท่านั้น เป็นไปเพื่อวิราคะ
นะครับ


อนัตตาธรรม เขียน

ยาวจัง และเข้าใจยาก ลิงค์ที่ให้ไปดู หาอันที่ง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ กว่านี้มาให้อ่านบ้างซิครับ ขอบพระคุณ


คุณโคตรภูยังไม่ทราบหรือครับว่า ไตรลักษณ์ คืออะไร ในอริยสัจ 4

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า สามัญลักษณะ เป็นสัจจธรรมความจริง ที่แสดงอยู่ทุกขณะจิต ถ้ามีสติ ปัญญา คม เฉียบแหลมเพียงพอ ก็จะเห็นได้เสมอ

สามัญลักษณะนี้อยู่ในส่วนของ ทุกขสัจจะและสมุทัยสัจจะ


เป็นทุกขสัจจะ เมื่อ มีอวิชชา ความเห็นผิด พยายามจะทำ อนิจจัง ให้เป็นนิจจัง ทุกขัง ให้เป็น สุขขัง อนัตตา ให้เป็น อัตตา

เป็นสมุทัยสัจจะ เพราะเห็นผิดว่าเป็น อัตตา นิจจัง สุขขัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
อนัตตาธรรม เขียน

ยาวจัง และเข้าใจยาก ลิงค์ที่ให้ไปดู หาอันที่ง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ กว่านี้มาให้อ่านบ้างซิครับ ขอบพระคุณ


ก็ไม่พยายามเข้าหาต้นฉบับ ต้นแบบแห่งคำสั่งสอนของพระศาสดา ปฏิเสธซะแบบนี้ ผมไม่มีญาณปัญญา ขนาดพระพุทธองค์ มาหงายของที่คว่ำอยู่ของท่านอนัตตาธรรม เหมือนพุทธองค์ครับ ก็ขอปฏิเสธครับ ไม่มีความสามารถครับ


อนัตตาธรรม เขียน:
คุณโคตรภูยังไม่ทราบหรือครับว่า ไตรลักษณ์ คืออะไร ในอริยสัจ 4


รบกวนท่านอนัตตาธรรมกลับไปอ่านใหม่นะครับ ผมก็พูดไว้ชัดเจนแล้วครับ

อนัตตาธรรม เขียน:
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า สามัญลักษณะ เป็นสัจจธรรมความจริง ที่แสดงอยู่ทุกขณะจิต ถ้ามีสติ ปัญญา คม เฉียบแหลมเพียงพอ ก็จะเห็นได้เสมอ


ระดับกามาวจรกุศลจิต มีความตั้งมั่นแห่งจิตเพียงเล็กน้อยก็เห็นแล้วละครับ


อนัตตาธรรม เขียน:
สามัญลักษณะนี้อยู่ในส่วนของ ทุกขสัจจะและสมุทัยสัจจะ

เป็นทุกขสัจจะ เมื่อ มีอวิชชา ความเห็นผิด พยายามจะทำ อนิจจัง ให้เป็นนิจจัง ทุกขัง ให้เป็น สุขขัง อนัตตา ให้เป็น อัตตา

เป็นสมุทัยสัจจะ เพราะเห็นผิดว่าเป็น อัตตา นิจจัง สุขขัง


อวิชา ท่านแปลว่า ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ไม่ได้แปลว่าความเห็นผิดในไตรลักษณ์นะครับ

ผมก็ยังยืนยันว่า ปัญญาในศาสนานี้คือ อริยสัจ 4 ครับ ไตรลักษณ์ก็เป็นสัจจะแยกต่างหากเป็นส่วนประกอบในการสร้างเหตุเพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณ เป็นไปเพื่อวิราคะ เพื่อถอนอุปทานในขันธ์ 5 ครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




.jpg
.jpg [ 83.37 KiB | เปิดดู 5080 ครั้ง ]
อนัตตาธรรม เขียน

ยาวจัง และเข้าใจยาก ลิงค์ที่ให้ไปดู หาอันที่ง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ กว่านี้มาให้อ่านบ้างซิครับ ขอบพระคุณ

โคตรภู เขียน

ก็ ไม่พยายามเข้าหาต้นฉบับ ต้นแบบแห่งคำสั่งสอนของพระศาสดา ปฏิเสธซะแบบนี้ ผมไม่มีญาณปัญญา ขนาดพระพุทธองค์ มาหงายของที่คว่ำอยู่ของท่านอนัตตาธรรม เหมือนพุทธองค์ครับ ก็ขอปฏิเสธครับ ไม่มีความสามารถครับ


อนัตตาธรรม เขียน:

ยอมรับแล้วหรือครับว่าไม่มีความสามารถ


อนัตตาธรรมเขียน

คุณโคตรภูยังไม่ทราบหรือครับว่า ไตรลักษณ์ คืออะไร ในอริยสัจ 4

รบกวนท่านอนัตตาธรรมกลับไปอ่านใหม่นะครับ ผมก็พูดไว้ชัดเจนแล้วครับ

อนัตตาธรรม เขียน:

ที่คุณโคตรภูพูดไว้มันก็เหมือนที่ในคัมภีร์เเขียน อ่านเจอบ่อยครับ


อนัตตาธรรมเขียน

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า สามัญลักษณะ เป็นสัจจธรรมความจริง ที่แสดงอยู่ทุกขณะจิต ถ้ามีสติ ปัญญา คม เฉียบแหลมเพียงพอ ก็จะเห็นได้เสมอ


โคตรภูเขียน

ระดับกามาวจรกุศลจิต มีความตั้งมั่นแห่งจิตเพียงเล็กน้อยก็เห็นแล้วละครับ



อนัตตาธรรม เขียน:

คุณเริ่มต้นปฏิบัติธรรม มิใช่เริ่มจากระดับกามาวจรกุศลจิตนี้ก่อนหรือครับ

อนัตตาธรรมเขียน

สามัญลักษณะนี้อยู่ในส่วนของ ทุกขสัจจะและสมุทัยสัจจะ

เป็นทุกขสัจจะ เมื่อ มีอวิชชา ความเห็นผิด พยายามจะทำ อนิจจัง ให้เป็นนิจจัง ทุกขัง ให้เป็น สุขขัง อนัตตา ให้เป็น อัตตา

เป็นสมุทัยสัจจะ เพราะเห็นผิดว่าเป็น อัตตา นิจจัง สุขขัง


โคตรภูเขียน

อวิชา ท่านแปลว่า ไม่รู้ในอริยสัจ 4 ไม่ได้แปลว่าความเห็นผิดในไตรลักษณ์นะครับ

ผม ก็ยังยืนยันว่า ปัญญาในศาสนานี้คือ อริยสัจ 4 ครับ

ไตรลักษณ์ก็เป็นสัจจะแยกต่างหากเป็นส่วนประกอบในการสร้างเหตุเพื่อให้เกิด นิพพิทาญาณ เป็นไปเพื่อวิราคะ เพื่อถอนอุปทานในขันธ์ 5 ครับ

อนัตตาธรรม เขียน

อวิชา ท่านแปลว่า ไม่รู้ในรายละเอียดปลีกย่อยของอริยสัจ 4 ด้วยนะครับ คุณโคตรภู


คุณตรงดิ่งมาถึงประตูทางเข้าพระนิพพานทั้ง 3 ประตู อันจะเป็นสถานที่ หรือสภาวะที่จะกำจัด สมุทัย เหตุทุกข์ได้อยู่แล้ว

เห็นอนิจจังชัด จนเกิดความเบื่อหน่าย ก็ละ สักกายทิฐิ อันเป็นตัวก่อให้เกิดตัณหาได้

เห็นทุกขังชัด จนเกิดความเบื่อหน่าย ก็ละ สักกายทิฐิ อันเป็นตัวก่อให้เกิดตัณหาได้

เห็นอนัตตาชัด จนเกิดความเบื่อหน่าย ก็ละ สักกายทิฐิ อันเป็นตัวก่อให้เกิดตัณหาได้

ทั้งหมดเป็นเรื่องในอริยสัจ 4 ทั้งสิ้น คุณจะไปแยกเป็นเรื่องใหม่ทำไม ธรรมทั้งหมดทั้งปวงนี้เขาเนื่องกัน เชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันมาโดยตลอด

ความรู้ทางทฤษฎี ที่ปราศจากปัญญา วิเคราะห์ สังเกต พิจารณา เทียบหาเหตุผลจากความเป็นจริง และขาดการปฏิบัติจริงกำกับไปด้วย ย่อมจะพบแต่ปัญหาและสิ่งที่ขัดแย้งกัน

ลงนั่งหลับตา เอาสติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ดูสัก 1 - 2 ชั่วโมงซิครับ คุณโคตรภู จะได้สัมผัส อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จริงๆ ในกายและจิต และจะรู้ว่าเขาไปเกี่ยวข้องับอริยสัจทั้ง 4 ประการอย่างไร

ผมจะขออนุญาตเอาประตูทางสู่นิพพานของคุณอโศกะมาวางให้คุณโคตรภูลองพิจารณาดูอีกสักครั้งนะครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 04:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ชื่อกระทู้ว่า...
อโศกะ เขียน:
ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ


อโศกะ เขียน:
สัมมา ทิฐิ ความเห็นถูกต้อง อันมีความหมายถึงการดู จนเห็น จน รู้ ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เมื่อเห็นได้อย่างนี้ สัมมาทิฐิก็จะสมบูรณ์ เต็ม 100 %



สัมมาทิฏฐิ แปลงเป็นไตรลักษณะเสียแล้ว
แสดงธรรมให้ตรงกับธรรมเถอะครับ

ขอร้องล่ะครับคุณอโศกะ อย่าแสดงธรรมผิดหมวด อย่าทำร้ายพระพุทธศาสนาอีกเลยครับ


เรียนคุณมหาราชันย์

สมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ หมายถึง เห็นสภาวธรรมต่างตามที่เป็นจริง..เป็นต้น

คุณอโศกะ บอกว่า สัมมาทิฏฐิ คือ "การเห็นทุกสิ่งเป็นอนัตตา" ก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ
(แต่ไม่ใช่ถูกทั้งหมด เพราะเห็นแค่นี้จะเรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" ทันทีก็คงไม่ได้)

ไม่ทราบเหตุผลที่คุณมหาฯ บอกว่าผิดนั่น คือ อะไรครับ

หมายเหตุ.- ผมไม่ได้เห็นด้วยกับคุณอโศกะในทุกๆ เรื่องนะครับ
แม้แต่ภาพข้างต้น ผมก็ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 5036 ครั้ง ]
รูปภาพ :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48: :b41: :b41: :b48:


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแยกหมวดอย่างนี้ค่ะ


Quote Tipitaka:
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ




Quote Tipitaka:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ

ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามค่ำครับคุณกระบี่ไร้เงา


ขอบคุณในคำตอบนะครับ
นำมาแสดงได้ดีมากครับ



ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?




ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ



กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโนสิยา.


บัณฑิตรู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ,
กั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร,
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




_resize.jpg
_resize.jpg [ 106.29 KiB | เปิดดู 5008 ครั้ง ]
ความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) มีหลายระดับ เริ่มต้นจากน้อยไปหามาก หยาบ ไปหาละเอียด ตื้นไปหาลึก

ตัวอย่างเช่น ความเห็นทุกขสัจจะ

แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ นี่คือ 1 สัมมาทิฐิ แม้ความแก่ ก็เ้ป็นทุกข์ แม้ความแก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นทุกข์
ฯ ลฯ นี่คือ 2 - 3 - 4 -5 -........สัมมาทิฐิ

สัมมาทิฐิจะเริ่มจาก ศูนย์ % เขยิบขึ้นไปเรื่อยๆ เป็น 1 - 2 - 3 - 4 -5 -........ ไปตามลำดับการพัฒนาของสติ สมาธิ และปัญญา นี่จึงจะเรียกว่า "เป็นไปตามธรรม"

จนที่สุดเมื่อเห็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิตตามความเป็นจริง เช่น ตากระทบรูป รู้ที่ใจ เกิดความยินดียินร้าย เกิดตัณหา อุปาทาน ปรุงแต่งไปตามอำนาจคัณหา ฯ ลฯ นี่สัมมาทิฐิมี 25 % (เป็นอุปมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย) ตอนนี้เห็นทุกข์และเหตุเกิดเบื้องต้น

เมื่อเห็นว่าสภาวทุกข์และสภาวธรรมทั้งหมดล้วนเป็น อนิจจัง แต่อุปาทาน ความเห็นผิดยึดผิดในใจของมนุษย์ ไปพยายามทำสิ่งที่เป็นอนิจจัง ให้เป็น นิจจัง จึงเกิดทุกข์ นี่เห็นความละเอียดของเหตุทุกข์ ระดับที่ 2 เป็นสัมมาทิฐิระดับที่ 2 เท่ากับ 50% (อุปมา)

เมื่อเห็นความทนอยู่ไม่ได้ ตั้งไว้ไมได้ของสรรพสิ่ง ก็เห็น ทุกขัง สัมมาทิฐิเป็น 75% (ขออนุญาตไม่อธิบายยาว)

เมื่อเห็นถึงขั้นสุดท้าย อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น คือ "สัพเพธัมา อนัตตา" สัมมาทิฐิจะเต็ม 100%
ทำไมถึงเต็ม 100%


ก็เพราะเห็นถึงตัวต้นเหตุที่แท้จริง สมุฐาน หรือ สมุทัย ของทุกข์และความเวียนว่ายตายเกิด คือสักกายทิฐิ ที่เป็นราชา ครองสั่งกายนคร จิตตนครนี้มาตลอดกาล

เห็นอริยสัจจ์ ภาคปฏิบัติต้องเห็นอย่างนี้


ที่เห็น "สัพเพธัมา อนัตตา" ก็ด้วยการเจริญ มรรค เมื่อมรรคสมบูรณ์ ผล หรือนิโรธ ก็จะเกิดสมบูรณ์ตามมาเป็นลำดับๆ ดังนี้แล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




_resize.jpg
_resize.jpg [ 106.29 KiB | เปิดดู 5007 ครั้ง ]
ได้พบกับท่านอโศกะสนทนาธรรมกันแล้วมีอะไรดีๆ ทัศนะตรงกัน เลยจะยืมภาพดีๆหลายภาพมาแสดงให้สหายในธรรมทั้งหลายได้ชม ดังภาพ เคล็ดลับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่ยกมานี้ครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2010, 09:32
โพสต์: 45

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ
smiley smiley smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa034.jpg
Resize of aa034.jpg [ 92.38 KiB | เปิดดู 4932 ครั้ง ]
tongue
ที่สุดของสัมมาทิฐิหรือความเห็นธรรมตามความเป็นจริง ก็คือ เห็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

เห็นชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้ จักเป็นะเหตุให้เกิด นิพพิทา ความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวางความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู หรือละสักกายทิฐิ อันเป็นเป้าหมายสำคัญ ด่านแรกที่ผู้ปราถนาจะถึงนิพพาน ต้องผ่านด่านนี้ให้ได้


สัมมาทิฐิ คือการเห็นอริยสัจ 4 นั้นถูกต้องตามบัญญัติ ตัวหนังสือ แต่ที่เห็นจริงโดยปรมัตถ์นั้นต้องเห็นตัวเหตุทุกข์ที่แท้จริง ที่ซ่อนอยู่หลังตัณหา และเป็นที่มาของอวิชชา นั่นคือ อัตตา สักกายทิฐิ หรือมิจฉาทิฐิ อันเป็นหัวหน้าผู้ก่อการร้ายตัวสำคัญเป็นประดุจพ่อของกิเลสตัณหาทั้งปวง :b8: :b8: :b27: :b27: :b16: :b16: :b12: :b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ถึงแม้จะ มีความรู้ใน ไตรลักษณ์ หรืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ยังไม่เพียงพอต่อ การก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ได้

การภาวนา จึงไม่ใช่นั่ง เดิน ยืน นอน หรือทำกิจอื่นใดโดย อาศัยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นเพียงบริบทย่อยแห่งการเจริญภาวนา

พระธรรม เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งควรศึกษา
ทุกข์ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
ทิฏฐิ ตัณหา มานะ เป็นธรรมที่ควร ละ
ความดับ เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
มรรค เป็นธรรมที่ควรเจริญ

บัญญัติ หรือปรมัตถ์ ในความเข้าใจของชนรุ่นหลัง เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
บัญญัติ หรือปรมัตถ์ ในความเข้าใจของชนรุ่นหลัง เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้


ไม่มีทุกข์ใดที่ซ่อนอยู่หลังตัณหา ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

เรียนรู้ธรรม ตามอริยสัจจธรรม อย่าบิดเบือนพระสัทธรรม จะได้มีโอกาสพ้นจากวัฏฏสงสารได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1736.jpg
41_1736.jpg [ 27.79 KiB | เปิดดู 4893 ครั้ง ]
tongue
ความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เช่นนั้น

ความรู้ในทุกข์ รู้อย่างไร นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างไร

ความรู้ในทุกขสมุทัย รู้อย่างไร นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างไร

ความรู้ในทุกขนิโรธ รู้อย่างไร นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างไร

ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รู้อย่างไร นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างไร


อนุโมทนากับคำตอบครับ

smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถกกันมา ตั้งแต่ หน้า 1-12
ท่านคงสัญญาทุรพล ไปซะแล้วนะครับ เชิญท่านกลับไปอ่านใหม่ นะครับ

เรื่องเดิม ถามเหมือนเดิม และท่านก็ยังเข้าใจผิดเหมือนเดิม ท่านก็ต้องกลับไปอ่านใหม่ตั้งแต่ต้นกระทู้เหมือนเดิมอีกเช่นกัน

:b17: ความเกิดทุกคราเป็นทุกข์ร่ำไป :b18: :b18: วัฏฏะนี้อีกยาวรอท่านเสมอนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร