ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=27320
หน้า 1 จากทั้งหมด 13

เจ้าของ:  อโศกะ [ 29 พ.ย. 2009, 07:52 ]
หัวข้อกระทู้:  ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue
**********สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน
**** พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์ ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงใช้ปัญญา สังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป – นาม กาย – ใจ ของพระองค์เอง แล้วได้ทรงค้นพบความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่า “อริยสัจ 4” คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

***** แปลเป็นภาษาไทยคือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเมื่อสังเกต พิจารณาดูดีๆแล้วก็จะเห็นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้นคือ เหตุ กับ ผล 2 สิ่งนี้เท่านั้นเอง แต่มาแบ่งออกเป็น 2 คู่คือ เหตุทุกข์ กับผลทุกข์ คู่หนึ่ง เหตุสุขกับ ผลสุข อีกคู่หนึ่ง

***** พระพุทธองค์ทรงสอนแก่ ปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนาว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เหตุเกิดทุกข์คือ สมุทัย ควรละ ผลสุขหรือความดับทุกข์คือ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรคคือวิธีการที่จะทำให้หมดทุกข์ ควรเจริญให้มาก

***** พระองค์ทรงสอนให้สู้ที่เหตุทุกข์ คือนำเอามรรค มาต่อสู้กับสมุทัย มรรคนี่เองคือสิ่งที่ผู้ปารถนาพ้นทุกข์ทุกคนต้องศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง ถ่องแท้ และลงมือปฏิบัติจริงๆ

*****ถ้ามาดูตามเหตุและผล 2 คู่ดังที่กล่าว การเจริญมรรคนั้นก็คือการเอาเหตุสุข มาต่อสู้กับเหตุทุกข์ ถ้าเหตุทุกข์ดับ ผลทุกข์ก็ดับ สิ่งที่เหลือก็คือ ผลสุข นิโรธ หรือ นิพพาน

***** สิ่งที่จะต้องถามและหาคำตอบให้ได้จนถึงที่สุดในที่นี้ก็คือ อะไรเป็นเหตุทุกข์ อะไรเป็นเหตุสุข เมื่อพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้รู้ว่า มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด เป็นเหตุทุกข์ สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง เป็นเหตุสุข

***** ผู้ปฏิบัติก็ต้องค้นหาเหตุผลต่อไปอีกว่า เห็นอย่างไรจึง เรียกว่าเห็นผิด เห็นอย่างไรจึงจะเรียกว่า เห็นถูกต้อง เมื่อศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปเราก็ได้ทราบว่า เห็นผิด คือเห็นเป็นอัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เห็นถูกต้อง คือเห็นเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา

*****การเจริญมรรค นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้ เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา หรือ วิปัสสนากรรมฐาน” คำว่า “วิปัสสนาภาวนา” นั้นเป็นภาษาบาลี ซึ่งเมื่อแปลออกมาก็จะได้ความหมายดังนี้

วิ มาจากคำว่า วิเศษ สิ่งวิเศษในที่นี้คือสิ่งที่ตาคน ตาสัตว์ ตาเทวดา ตาพรหม ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ตาปัญญาสามารถมองเห็นได้ รู้ได้

ปัสสนา มาจากคำว่า ทัศนา แปลว่า ดู เห็น

ภาวนา แปลว่า เจริญ การเจริญในที่นี้หมายถึงการเจริญตาปัญญาเข้าไป ดู เห็น และสังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบจากสิ่งวิเศษต่างๆ ที่มีอยู่ในรูป – นาม กาย – ใจ สิ่งวิเศษเหล่านั้นคือ ปรมัตถ์ธรรม ความจริงที่แสดงอยู่ในกายใจอันได้แก่ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายตนะ 12 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ฯลฯ

*****สรุปว่าวิปัสสนาภาวนา คือการเจริญปัญญา ในปัญญามรรค 2 ข้อแรกของมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่

สัมมา ทิฐิ ความเห็นถูกต้อง อันมีความหมายถึงการดู จนเห็น จน รู้ ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เมื่อเห็นได้อย่างนี้ สัมมาทิฐิก็จะสมบูรณ์ เต็ม 100 %

*****แต่การจะเห็นจนถูกต้องสมบูรณ์ได้นั้นต้องมีปัญญาอีกตัวหนึ่งมาช่วยคือ

สัมมา สังกัปปะ ความสังเกต คิด พิจารณา ถูกต้อง เป็นปัญญามรรคตัวที่ 2 ที่จะต้องเกิดขึ้นและเป็นไปพร้อมกับและสนับสนุนปัญญามรรคตัวที่ 1 คือ สัมมาทิฐิ เสมอๆ ปัญญาตัวนี้จะทำหน้าที่

สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) สิ่งที่ตาปัญญาดู เห็น รู้

พิจารณา (ใช้ความคิด)คือคิด วิตก วิจารณ์ วิจัย ใคร่ครวญ แยกแยะหาเหตุหาผล ค้นหาคำตอบ จนเห็นความจริง เกิดสัมมาทิฐิเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับจนเต็มสมบูรณ์ครบ 100 %

สติ สมาธิเล่าไปอยู่ไหน สติ อันเป็นส่วนของศีลมรรค 3 ข้อ และสมาธิ อันเป็นส่วนของสมาธิมรรค 3 ข้อนั้นเขาจะตามมาหนุนปัญญาเองโดยอัตโนมัติ เพราะ ปัญญา สติ สมาธิ นี้เขาเป็นธรรมชาติที่ไปด้วยกัน พร้อมกันสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่เสมอโดยมีสติคอยเตือน ปัญญา เป็นหัวหน้านำไป สมาธิ คอยหนุนให้ปัญญาทำงานสำเร็จ

ไฟล์แนป:
4.jpg
4.jpg [ 103.56 KiB | เปิดดู 9853 ครั้ง ]

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 29 พ.ย. 2009, 09:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 29 พ.ย. 2009, 22:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ชื่อกระทู้ว่า...
อโศกะ เขียน:
ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ


อโศกะ เขียน:
สัมมา ทิฐิ ความเห็นถูกต้อง อันมีความหมายถึงการดู จนเห็น จน รู้ ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เมื่อเห็นได้อย่างนี้ สัมมาทิฐิก็จะสมบูรณ์ เต็ม 100 %



สัมมาทิฏฐิ แปลงเป็นไตรลักษณะเสียแล้ว
แสดงธรรมให้ตรงกับธรรมเถอะครับ

ขอร้องล่ะครับคุณอโศกะ อย่าแสดงธรรมผิดหมวด อย่าทำร้ายพระพุทธศาสนาอีกเลยครับ

เจ้าของ:  อโศกะ [ 01 ธ.ค. 2009, 08:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue สวัสดีคุณมหาราชันย์ที่นับถือ

ผมเดาไว้แล้วไม่ผิดว่าคุณมหาราชันย์จะต้องมาบอกว่า ความเห็นอนีจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่สัมมาทิฐิ

ผมรู้ด้วยว่าเพราะเหตุอันใดคุณมหาราชันย์จึงมีความเห็นเช่นนี้

ก็เพราะคุณมหาราชันย์ยึดติดแน่นในคำแปลจากตำรา โดยไม่ได้เอาความรู้จากตำรานั้นไปลงมือปฏิบัติหรือพิสูจน์ธรรมจริงๆ คุณมหาราชันย์จึงไม่เข้าใจถึงนัยยะอันลึกละเอียดของสัมมาทิฐิ หรือธรรมอื่นๆก็ตาม

สัมมาทิฐิตามตำรากล่าวว่า การเห็นอริยสัจทั้ง 4 นั้นคือสัมมาทิฐิ นี่ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นหัวข้อใหญ่
ลองใช้สติ ปัญญา สังเกต พิจารณาให้ดี อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ใช่ไหม


รายละเอียดของทุกขสัจจ มีอะไรบ้างพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสบอกไว้แล้วดังในสวดมนต์แปล เช่น แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์...............ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 คือตัวทุกข์ ใครเห็นรายละเอียดของทุกข์ทั้งหมดนี้ ท่านก็เรียกว่าเกิดสัมมาทิฐิ

มาถึง สมุทัยสัจจะ ข้อนี้สำคัญ ในตำรากล่าวไว้เพียงแต่ว่า ตัณหา เป็็นเหตุทุกข์ แต่รายละเอียด ที่มาของตัณหาทั้งหมดไม่ได้ทรงกล่าวไว้ในหัวข้ออริยสัจ 4 ทรงกล่าวแสดงไว้ในที่อื่น เป็นหน้าทีี่ของชาวพุทธหรือพุทธสาวกจะต้องไปค้นคว้า ศึกษา เอาออกมาด้วยตนเอง

การศึกษาค้นคว้าเข้าไปจนเห็นสมุทัยและเรื่องราวที่มาของสมุทัยทั้งหมดนั้นเป้นการทำให้เกิดสัมมาทิฐิทั้งสิ้นและเป็นประเด็นสำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรม

สิ่งที่จะทำให้ได้รู้ความจริงของสมุทัย คือการเจริญมรรค ทั้ง 8 ข้อ งานของมรรคทั้งหมดก็เป็นกระบวนการทำให้เกิดสัมมาทิฐิ

การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น เป็นสัมมาทิฐิอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเห็น อนัตตา ทราบซึ้ง และยอมรับ อนัตตานั้น เป็นประเด็นสำคัญที่ไปทำลาย อัตตา อุปาทาน ความยึดผิด เห็นผิด ให้หมดสิ้นไป เป็นประเด็นงานสำคัญของมรรค 1 หรือโสดาปัตติมรรคเลยทีเดียว คือ มรรค 1 ทำลายสักกายทิฐิ เป็นประเด็นหลัก หลังจากนั้น วิจิกิจฉาและศีลพตตปรามาสก็ดับตาม

นี่คือ เหตุ และผลโดยละเอียดที่ยกมาอธิบายให้คุณมหาราชันย์ และทุกๆท่าน ที่กำลังจะหลงเชื่อไปตามการตัดสินผู้อื่นว่าผิด ถูก ด้วยสัญญาของตนเอง

การจะตัดสินว่าข้อธรรมของใคร ผิด ถูก อย่าเอาแต่ตำรา ต้องเอาธรรม คือ เหตุ ผล และความจริงเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่าางยิ่งความจริงที่เกิดเขึ้นและกำลังแสดงอยู่ ใน รูป - นาม กาย - ใจ ขณะปัจจุบันนี้

พระวาจาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกพระอานนท์ว่า อานนท์เธอจงยึดธรรมเป็นหลัก ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วนั้นแหละจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ ธรรมที่ว่านี้ มิใช่เฉพาะในคัมภีร์ เพราะในคำภีร์ยังมีโอกาสจะพลาดได้หากแปลและตีความผิดไปจากธรรม แต่ธรรม สัจธรรม ปรมัตถธรรม อมตะธรรม ที่กำลังแสดงอยู่ใน รูป - นาม กาย - จิต นี้ ไม่มีหลอกลวง ไม่มีเปลี่ยนแปลง สมัยพุทธกาลจริงอยู่อย่างไร ปัจจุบันก็จริงอยู่อย่างนั้น เพียงแต่การใช้สมมุติ บัญญัติเรียกขาน อาจแตกต่างกันไป ตามภาษาและเชื้อชาติเท่านั้น

หวังว่าคุณมหาราชันย์คงเข้าใจในธรรมส่วนละเอียด อันมีอยู่เฉพาะในปฏิปัติศาสนา บางอย่างอาจหาไม่ได้ใน ปริยัติศาสนานะครับ

ทุกๆท่านที่ได้ศึกษาปริยัติมามากมายเพียงพอแล้ว ขอให้น้อมนำลงสู่กากรปฏิบัติจริงเสียแต่โดยเร็ว จะได้หาายสงสัย และได้เข้าถึงปฏิเวทโดยเร็วพลันกันทุกคน ไม่ติดค้างอยู่ในวังวนแห่งการโต้เถียง ว่าคนนั้นถูก คนนี้ผิด ที่ฉันรู้นี่หละใช่ ที่เธอรู้มานั้นไม่ใช่ กรุณาใช้สติ ปัญญา ตัดสินความ อย่าพึงใช้ สัญญาและปริยัติตัดสินความแต่เพียงถ่ายเดียว แล้วท่านจะมีความสุข ไม่ต้องคอยเพ่งผิดใครให้จิตใจเกิดอกุศลเศร้าหมอง เป็นทุกข์อีกต่อไป

ขอให้เกิดดวงตาเห็นธรรมกันทุกๆท่าน ทุกๆคนเทอญ

:b8: smiley

ไฟล์แนป:
ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg
ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg [ 82.9 KiB | เปิดดู 9766 ครั้ง ]

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 01 ธ.ค. 2009, 14:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
สวัสดีคุณมหาราชันย์ที่นับถือ

ผมเดาไว้แล้วไม่ผิดว่าคุณมหาราชันย์จะต้องมาบอกว่า ความเห็นอนีจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่สัมมาทิฐิ

ผมรู้ด้วยว่าเพราะเหตุอันใดคุณมหาราชันย์จึงมีความเห็นเช่นนี้

ก็เพราะคุณมหาราชันย์ยึดติดแน่นในคำแปลจากตำรา โดยไม่ได้เอาความรู้จากตำรานั้นไปลงมือปฏิบัติหรือพิสูจน์ธรรมจริงๆ คุณมหาราชันย์จึงไม่เข้าใจถึงนัยยะอันลึกละเอียดของสัมมาทิฐิ หรือธรรมอื่นๆก็ตาม

สัมมาทิฐิตามตำรากล่าวว่า การเห็นอริยสัจทั้ง 4 นั้นคือสัมมาทิฐิ นี่ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นหัวข้อใหญ่
ลองใช้สติ ปัญญา สังเกต พิจารณาให้ดี อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ใช่ไห




สวัสดีครับคุณอโศกะ

ความรู้ของผมเป็นความรู้ของจริงครับ รู้จริงจากการศึกษาและปฏิบัติมาแล้วจริง ๆ ไม่มีการเดาเอา คาดคะเนเอา แบบคุณอโศกะใช้หรอกนะครับ

การรู้จักอริยะสัจ 4 ผมรู้จักอริยะสัจ 4 จริง ๆ ไม่ได้เดา ไม่ได้คาดคะเน
การรู้จักไตรลักษณ์ ผมก็รู้จักจริง ๆ ไม่ได้เดา ไม่ได้คาดคะเนเหมือนกัน

รู้จริงรู้ละเอียดในธรรม 2 บทนี้ว่าแตกต่างกันอย่างไร ?
นำมาใช้ในกรณีไหน ?

เพราะการศึกษาและปฏิบัติมาดีถูกต้องตามพระธรรมเทศนาดีแล้ว จึงกล้านำมายืนยันได้ว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติมาผิดทางอย่างไรไงครับ


ปัญญาความรู้จากการคาดเดา การคาดคะเนของคุณอโศกะจึงยืนยันตัวคุณอโศกะเองได้ว่า รู้มาไม่จริง รู้มาผิด เข้าใจมาผิดที่เดาเอาเองว่าผมไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรม

ทำไมไม่เดาเอาบ้างว่าผมเป็นผู้ปฏิบัติตัวจริง หรือเป็นครูอาจารย์สอนปริยัติ สอนปฏิบัติธรรมแก่ชาวพุทธบ้างละครับ


ดังนั้นผมสรุปยืนยันอย่างหนักแน่นได้ว่า คุณอโศกะไม่รู้จักธรรมที่ชื่ออริยะสัจ 4 และไตรลักษณ์ที่ถูกต้องครับ



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 01 ธ.ค. 2009, 14:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น เป็นสัมมาทิฐิอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเห็น อนัตตา ทราบซึ้ง และยอมรับ อนัตตานั้น เป็นประเด็นสำคัญที่ไปทำลาย อัตตา อุปาทาน ความยึดผิด เห็นผิด ให้หมดสิ้นไป เป็นประเด็นงานสำคัญของมรรค 1 หรือโสดาปัตติมรรคเลยทีเดียว คือ มรรค 1 ทำลายสักกายทิฐิ เป็นประเด็นหลัก หลังจากนั้น วิจิกิจฉาและศีลพตตปรามาสก็ดับตาม


สวัสดีครับคุณอโศกะ

ข้อความนี้ยิ่งบ่งบอกถึงความรู้ผิด ความเข้าใจผิดของคุณอโศกะเป็นอย่างยิ่งครับ

การแสดงอริยะสัจ 4 ใช้กับขันธ์ 5
การแสดงไตรลักษณ์ก็ใช้กับขันธ์ 5 เช่นกัน


แต่บทธรรม 2 บทนี้ตแกต่างกันโดยบริบทที่ไกลกันอย่างยิ่งครับ


การแสดงอริยะสัจ 4 ในขันธ์ 5 แสดงโดยขันธ์ที่เป็นเหตุและขันธ์ที่เป็นผลครับ
ขันธ์ที่เป็นเหตุและขันธ์ที่เป็นผลมี 2 คู่ครับ



คู่ที่ 1

ได้แก่ขันธ์ที่เป็นทุกข์ได้แก่อุปธิคือขันธ์ 5 ขันธ์ 4 และขันธ์ 1 ที่เป็นผลและ/หรือวิบากของสัตว์ทั้งหลายในวัฏฏะ
และขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้แก่ขันธ์ 4 คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ของ อกุศลจิตและกุศลจิตที่เป็นโลกียะบุคคล


คู่ที่ 2
ได้แก่ขันธ์ที่เป็นความดับทุกข์ได้แก่นามขันธ์ที่เป็นอริยะผลจิต 4 คือโสดาปัตติผลจิต สกทาคามีผลจิต อนาคามีผลจิต และอรหัตตผลจิต
และขันธ์ที่เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ได้แก่นามขันธ์ที่เป็นอริยะมัคคจิต 4 คือโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต



ส่วนการแสดงไตรลักษณ์ก็ใช้กับขันธ์ 5 เช่นกัน แต่เป็นการแสดงโดยลักษณะของขันธ์ 5 เท่านั้น ไตรลักษณ์ไม่มีผลใด ๆ ต่อการเกิดและดับของขันธ์ 5 ขันธ์สุขก็มีลักษณะไตรลักษณ์ ขันธ์ทุกข์ก็มีลักษณะไตรลักษณ์ ขันธ์อทุกขมสุขก็มีลักษณะไตรลักษณ์
ไม่ว่าขันธ์ที่เป็นเหตุหรือเป็นผลก็ตาม
ไม่ว่าขันธ์นั้นจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นขันธ์ของปุถุชนหรือขันธ์ของพระอริยะเจ้าก็ตาม
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นอนิจจัง
ตั้งอยู่ไม่ได้เป็นทุกขัง
และไม่ใช่ตัวตนเป็นอนัตตา


การบรรลุธรรมจึงบรรลุด้วยการเจริญขันธ์ที่เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือเจริญโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต ไม่ใช่การเจริญไตรลักษณ์ตามที่คุณอโศกะเข้าใจ


คราวนี้คุณอโศกะจะยอมรับความจริงได้แล้วหรือยังว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติผิดทางมาตั้งแต่ต้น
คุณอโศกะจะยอมรับความจริงหรือไม่ว่าคุณอโศกะยังไม่รู้จักอริยะสัจ 4 และคุณอโศกะยังไม่รู้จักไตรลักษณ์ที่ถูกต้องเลยครับ มีแต่สัญญาที่จำมาผิด ๆ เท่านั้นเอง


เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  อโศกะ [ 01 ธ.ค. 2009, 19:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

tongue
อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณอโศกะ

ข้อความนี้ยิ่งบ่งบอกถึงความรู้ผิด ความเข้าใจผิดของคุณอโศกะเป็นอย่างยิ่งครับ

การแสดงอริยะสัจ 4 ใช้กับขันธ์ 5
การแสดงไตรลักษณ์ก็ใช้กับขันธ์ 5 เช่นกัน


แต่บทธรรม 2 บทนี้ตแกต่างกันโดยบริบทที่ไกลกันอย่างยิ่งครับ


การแสดงอริยะสัจ 4 ในขันธ์ 5 แสดงโดยขันธ์ที่เป็นเหตุและขันธ์ที่เป็นผลครับ
ขันธ์ที่เป็นเหตุและขันธ์ที่เป็นผลมี 2 คู่ครับ


คู่ที่ 1

ได้แก่ขันธ์ที่เป็นทุกข์ได้แก่อุปธิคือขันธ์ 5 ขันธ์ 4 และขันธ์ 1 ที่เป็นผลและ/หรือวิบากของสัตว์ทั้งหลายในวัฏฏะ
และขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้แก่ขันธ์ 4 คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ของ อกุศลจิตและกุศลจิตที่เป็นโลกียะบุคคล


คู่ที่ 2
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นความดับทุกข์ได้แก่นามขันธ์ที่เป็นอริยะผลจิต 4 คือโสดาปัตติผลจิต สกทาคามีผลจิต อนาคามีผลจิต และอรหัตตผลจิต
และขันธ์ที่เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ได้แก่นามขันธ์ที่เป็นอริยะมัค คจิต 4 คือโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต


ส่วน การแสดงไตรลักษณ์ก็ใช้กับขันธ์ 5 เช่นกัน แต่เป็นการแสดงโดยลักษณะของขันธ์ 5 เท่านั้น ไตรลักษณ์ไม่มีผลใด ๆ ต่อการเกิดและดับของขันธ์ 5 ขันธ์สุขก็มีลักษณะไตรลักษณ์ ขันธ์ทุกข์ก็มีลักษณะไตรลักษณ์ ขันธ์อทุกขมสุขก็มีลักษณะไตรลักษณ์
ไม่ว่าขันธ์ที่เป็นเหตุหรือเป็นผลก็ตาม
ไม่ว่าขันธ์นั้นจะเป็นโลกียะหรือโลกุตตระก็ตาม
ไม่ว่าจะเป็นขันธ์ของปุถุชนหรือขันธ์ของพระอริยะเจ้าก็ตาม
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นอนิจจัง
ตั้งอยู่ไม่ได้เป็นทุกขัง
และไม่ใช่ตัวตนเป็นอนัตตา


การ บรรลุธรรมจึงบรรลุด้วยการเจริญขันธ์ที่เป็นทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือเจริญโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามีมัคคจิต อนาคามีมัคคจิต และอรหัตตมัคคจิต ไม่ใช่การเจริญไตรลักษณ์ตามที่คุณอโศกะเข้าใจ


คราวนี้คุณอโศกะจะยอมรับความจริงได้แล้วหรือยังว่าคุณอโศกะรู้มาผิด เข้าใจมาผิด ปฏิบัติผิดทางมาตั้งแต่ต้น
คุณ อโศกะจะยอมรับความจริงหรือไม่ว่าคุณอโศกะยังไม่รู้จักอริยะสัจ 4 และคุณอโศกะยังไม่รู้จักไตรลักษณ์ที่ถูกต้องเลยครับ มีแต่สัญญาที่จำมาผิด ๆ เท่านั้นเอง


เจริญในธรรมครับ


อโศกะ ตอบ

แค่คำตอบของคุณมหาราชันย์ก็เต็มไปด้วยบาลี ศัพท์แสงและเรื่องราวที่คนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจยาก และไม่รู้ว่าเวลาจะปฏิบัติจริงๆ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ทำอย่างไร

ลองเขียนบอกแบบ Step by Step ง่าย ๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปอ่านรู่เรื่อง เข้าใจง่ายมาให้ดูสักครั้งซิครับ

สาธุ ขอให้ออกจากปริยัติมาสู่การปฏิบัติ และพูดเรื่องราวจากการปฏิบัติจริง สภาวธรรมจริงๆ ของคนธรรมดา ไม่ต้องใช้ศัพท์แสงมาก ได้โดยเร็วพลันเทอญ


ไฟล์แนป:
100_3649_resize.JPG
100_3649_resize.JPG [ 95.63 KiB | เปิดดู 9714 ครั้ง ]

เจ้าของ:  โคตรภู [ 01 ธ.ค. 2009, 19:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 01 ธ.ค. 2009, 20:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
แค่คำตอบของคุณมหาราชันย์ก็เต็มไปด้วยบาลี ศัพท์แสงและเรื่องราวที่คนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจยาก และไม่รู้ว่าเวลาจะปฏิบัติจริงๆ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ทำอย่างไร

ลองเขียนบอกแบบ Step by Step ง่าย ๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปอ่านรู่เรื่อง เข้าใจง่ายมาให้ดูสักครั้งซิครับ

สาธุ ขอให้ออกจากปริยัติมาสู่การปฏิบัติ และพูดเรื่องราวจากการปฏิบัติจริง สภาวธรรมจริงๆ ของคนธรรมดา ไม่ต้องใช้ศัพท์แสงมาก ได้โดยเร็วพลันเทอญ



สวัสดีครับคุณอโศกะ

คุณอโศกะต้องการทราบปฏิบัติเรื่องอะไรก่อนละครับ
ผมจะได้จัดให้ครับ


เพราะการปฏิบัติมีหลากหลายวัตถุประสงค์ หลากหลายวิธี และหลากหลายญาณครับ



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 01 ธ.ค. 2009, 20:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ทีคุณอโศกะถามละก็ตอบเอาๆนะคุณมหา
ผมน้อยใจนะเนียะ

:b32: :b13:

เจ้าของ:  เอรากอน [ 02 ธ.ค. 2009, 07:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อโศกะ เขียน:
อโศกะ ตอบ

แค่คำตอบของคุณมหาราชันย์ก็เต็มไปด้วยบาลี ศัพท์แสงและเรื่องราวที่คนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจยาก และไม่รู้ว่าเวลาจะปฏิบัติจริงๆ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร ทำอย่างไร

ลองเขียนบอกแบบ Step by Step ง่าย ๆ ที่ชาวบ้านทั่วไปอ่านรู่เรื่อง เข้าใจง่ายมาให้ดูสักครั้งซิครับ

สาธุ ขอให้ออกจากปริยัติมาสู่การปฏิบัติ และพูดเรื่องราวจากการปฏิบัติจริง สภาวธรรมจริงๆ ของคนธรรมดา ไม่ต้องใช้ศัพท์แสงมาก ได้โดยเร็วพลันเทอญ


ท่านมหาราชันย์
จริง ๆ ค่ะ...เมื่อต้องอ่านบทความของท่านให้เข้าใจ
จิ้ง ต้องอ่านไป เปิดพจนานุกรมไป บางทีเปิดพจนานุกรมแล้ว ยังแปลไทยเป็นไทยยังไม่ค่อยจะออก
ต้องขอโทษจริง ๆ ที่ระดับสติปัญญาในด้านภาษา ต่ำ...

คือแบบว่า จิ้ง อ่านภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องเปิด dictionary ยังเข้า(เดา)ใจได้ดีกว่า...เลย :b23:

อย่างคุณเช่นนั้น ก็มีนะคะ เอาบาลีมาลง
แต่เมื่อถาม คุณเช่นนั้นก็แปลความออกมาให้ในอีกระดับ ซึ่งเข้าใจได้...

จริง ๆ ก็กำลังจะเอ่ยขอคุณเช่นนั้นอยู่พอดี ว่า ถ้าท่านมหา ไปใช้บาลีที่กระทู้ไหน
คุณเช่นนั้น ช่วยตามไปถอดความเป็นภาษาระดับสามัญ ให้คนระดับปัญญาสามัญ ยัน ต่ำกว่าสามัญ
ได้อ่านแล้วเข้าใจได้รึเปล่าคะ...
แล้ว..ถ้าคุณ อโศก เห็นว่าข้อความที่แปลออกมาแล้ว ยังดูสามัญไม่พอ
ดูแล้วยังไม่น่าจะเข้าถึงภูมิปัญญาระดับรากหญ้า ก็แปลให้เป็นภาษาลูกทุ่งอีกที จะไหวมั๊ยคะ...

:b12: :b12: :b12:

แบบว่าชอบเจตนารมย์ของคุณอโศก น่ะ... ที่นึกถึงคนระดับรากหญ้า อย่างเสี่ยวจิ้ง...

:b17: :b17: :b17:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ธ.ค. 2009, 07:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

อ้างคำพูด:
แบบว่าชอบเจตนารมย์ของคุณอโศก น่ะ... ที่นึกถึงคนระดับรากหญ้า อย่างเสี่ยวจิ้ง...


รากหญ้าเป็นคำฮิตติดปากในยุคก่อนปฏิวัติ แต่หลังจากนั้นเขาเปลี่ยนเป็นรากแก้วแล้วนะขอรับ

ไบกอนตกยุคแร้วววววววว ก๊ากๆๆๆ

ไฟล์แนป:
oba41.gif
oba41.gif [ 18.27 KiB | เปิดดู 9664 ครั้ง ]

เจ้าของ:  เอรากอน [ 02 ธ.ค. 2009, 08:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
แบบว่าชอบเจตนารมย์ของคุณอโศก น่ะ... ที่นึกถึงคนระดับรากหญ้า อย่างเสี่ยวจิ้ง...


รากหญ้าเป็นคำฮิตติดปากในยุคก่อนปฏิวัติ แต่หลังจากนั้นเขาเปลี่ยนเป็นรากแก้วแล้วนะขอรับ

ไบกอนตกยุคแร้วววววววว ก๊ากๆๆๆ


:b15: .....จานง่ะ.... :b15:

อายแล้ว...เห็นมั๊ย... :b15: :b15:

:b32: :b32: :b32: :b32:

แล้วทำไม เขาต้องเปลี่ยนจาก หญ้า เป็น แก้ว...ล่ะ
ไบกอน ว่า คำเดิม ๆ มันก็มีเสนห์ของมันอยู่แล้วนะ หรือว่าคำมันฟังแล้วไม่หรู๋...

:b10: :b10: :b10: :b10:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 02 ธ.ค. 2009, 09:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

ข้าพเจ้าว่า "รากแตกรากแตน" จะเหมาะกว่านะ
4 ปีมานี้ เหนื่อยยากกันไปหมด

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ธ.ค. 2009, 11:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ศึกษาอริยสัจ 4 ด้วยแผ่นภาพ

เอรากอน เขียน:

แล้วทำไม เขาต้องเปลี่ยนจาก หญ้า เป็น แก้ว...ล่ะ
ไบกอน ว่า คำเดิม ๆ มันก็มีเสนห์ของมันอยู่แล้วนะ หรือว่าคำมันฟังแล้วไม่หรู๋...


ที่เปลี่ยนมิใช่เพื่อความสะใจ เพื่อต้นกล้าอาชีพ เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ด้วยว่ารากแก้วหยั่งลึก

ดูท่าจะมั่นคงกว่ารากหญ้า ซึ่งอยู่ผิวๆดินดูอ่อนแอเกินไปจ๋าจ้ะ :b9: :b32:

หน้า 1 จากทั้งหมด 13 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/