วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณอโศกะ

" ความรู้เรื่องสมาธิที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้ครับ "



สมาธินั้นมี 2 อย่าง

1.มิจฉาสมาธิ คือสภาวะของจิตปุถุชน ที่ยังพัวพันอยู่ในกามหรือยังประกอบอยู่ด้วยอกุศลธรรม
2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย


1.มิจฉาสมาธิ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่ไม่ดีเสมอไป เป็นสมาธิที่ดีก็มีเช่นสมาธิในการเขียนหนังสือตัวบรรจง
สมาธิในการขับรถ สมาธิในการทำงานของปุถุชน สมาธิในการร้องเพลง สมาธิในการอ่านหนังสือ

สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิที่ดีของปุถุชน มีประโยชน์ต่อปุถุชน แต่จิตนั้นยังประกอบด้วยกามยังประกอบด้วยอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์



2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ฌานสมาบัติ 8 และมัคค 4 ผล 4

สัมมามสมาธินั้นมี 2 อย่าง

2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ เรียกว่ากุศล
สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง
2.1.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุที่เป็นโลกียะ
ได้แก่รูปาวจรกุศลจิต ในจตุถฌาน หรือปัญจมฌาน
และอรูปาวจรกุศลจิต ในอรูปฌาน 4
แม้รูปฌาน และอรูปฌานจะได้ชื่อว่าโลกียะก็จริงอยู่ แต่คุณสมบัติของจิตเหล่านั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

2.1.2.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุที่เป็นโลกุตตระ
ได้แก่ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
อริยมัคคทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌานเดียวกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสต่างกัน

โสดาปัตติมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน หรือฌานอื่น และปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส

สกทาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน หรือฌานอื่น และปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส และความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา

อนาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน หรือฌานอื่น และปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้น

อรหัตตมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน หรือฌานอื่น และปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้น

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 ในฌาน 1 - 4 คือสัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ และเป็นโลกุตตระฌาน โลกุตตระกุศล


การบรรลุธรรมโดยไม่เอาฌาน ไม่เอาเหตุ ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม จิตไม่สงัดจากอกุศลธรรม ไม่ปฏิบัติไปตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ให้ครบถ้วน ย่อมไม่อาจบรรลุธรรมได้ เพราะองค์ธรรมคือปัญญาต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับสัมมาสมาธิคือฌานเท่านั้น


ปัญญาวิมุติก็ต้องมีฌานเป็นบาทฐาน



2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล เรียกว่ากุศลวิบาก
สัมมาสมาธิที่เป็นผล ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง

2.2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นผลที่เป็นโลกียะ
ได้แก่ผลจากการบรรลุจตุตตถฌานทั้ง 4 หรือปัญจมฌานทั้ง 5 ในรูปฌาน เรียกว่า รูปาวจรกุศลวิบาก
และผลจากการบรรลุอรูปฌาน 4 เรียกว่า อรูปาวจรกุศลวิบาก


2.2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผลที่เป็นโลกุตตระ

ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล
อริยผลทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌาน ต่างกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เหมือนกัน

โสดาปัตติผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสได้เหมือนกัน

สกทาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสและความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้เหมือนกัน

อนาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน

อรหัตตผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน



คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้สัมมาสมาธิคือฌานเป็นเหตุนั้นมาเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณเครื่องทำลายกิเลสย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิ ญาณปัญญาบรรลุธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.







ปฏิบัติไปด้วยศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วยควบคู่กันไปก็ไม่เสียเวลามามายอะไรหรอกครับ
แล้วท่านจะได้รู้จักเหตุที่ถูกต้อง และผลที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร



เจริญในธรรมครับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




ee194.jpg
ee194.jpg [ 17.03 KiB | เปิดดู 4640 ครั้ง ]
tongue เจริญปัญญา เจริญธรรมครับท่านมหาราชันย์ และกัลยาณมิตรทุกท่าน

บัดนี้ได้โอกาสแล้วที่จะทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันในเรื่อง สัมมาสมาธิ


อ้างคำพูด:
มหาราชันย์ เขียน

คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้สัมมาสมาธิคือฌานเป็นเหตุนั้นมาเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณเครื่องทำลายกิเลสย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิ ญาณปัญญาบรรลุธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.



อโศกะ อธิบายเพิ่มเติม

ท่านมหาราชันย์อธิบายสัมมาสมาธิได้แค่เท่าที่มีแสดงและแปลไว้ให้อ่านให้รู้เพียงฌาณ 1 - ฌาณ 4 ถูกต้องอยู่ ไม่มีใครกล้าเถียงหรอก

แต่อรรถ และนัยยะที่ซ่อนลึกกว่านั้น ท่านยังล้วงเข้าไม่ถึง เพราะขาดประสบการณ์จากปฏิบัติการเข้ามาสนับสนุน


ลองมาฟังสัมมาสมาธิตามธรรมมะปฏิบัติดูซิครับ

ฌาณ 1 - 4 ดูเป็นเรื่องวิเศษ สูงส่ง ลึกล้ำ สำหรับผู้คนจำนวนมาก แต่ท่านทราบไหมว่ามีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่จิตเข้าถึงฌาณ 4 ได้โดยง่ายตั้งแต่วัยเด็ก เอกัคตาจิต และ อุเบกขา นั้น เพียงแต่ท่องคาถาเป็นคาบๆ กลับไปกลับมาไม่นานนัก จิตก็สยบนิวรณ์ 5 ผ่านวิตก วิจารณ์ พบปีติ สุข ทะลุขึ้นสู่เอกัคตาจิตได้โดยง่าย

บุคคลเหล่านี้เพียงกำหนดจิตให้สงบนิ่งลง ไม่ถึง 1 หรือ 2 นาฑี เขาก็สามารถสัมผัสรู้ ชีพจร หรือกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย (Vibration) ได้ทันที จิตของคนเหล่านี้จึงตั้งมั่น ควรแก่งานได้โดยรวดเร็ว เขาจึงไม่เห็นความลำบากของการทำฌาณและทรงฌาณอยู่ในระดับต่างๆ

สมาธิ ความตั้งมั่นของจิตหรือฌาณที่จะต้องใช้สำหรับการเจริญปัญญา วิปัสสนาภาวนานั้น เอาเพียงแค่ขณิกสมาธิ หรือปฐมฌาณ ก็เพียงพอแล้ว ฌาณที่สูงขึ้นไปกว่านี้เป็นเพียงเครื่องช่วยลับสติ ปัญญา ให้มีกำลัง มีความคมกริบขึ้น และเป็นที่พักของจิตเมื่อยามเหน็ดเหนื่อยจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา

เทคนิคทีี่นำมาถ่ายทอดในสื่อภาษาสำหรับผู้คนสมัยนี้ เพื่อให้เข้าถึงระดับที่จิตตั้งมั่น ควรแก่การทำงาน ควรแก่การทำสัมมาสังกัปปะ คือ เจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนา หรือเจริญมรรค 8 ก็คือ

หาหัวใจเต้น ชีพจร หรือความสั่นสะเทือนในกายให้เจอ ถ้าเธอหาพบ แล้วรักษาระดับสมาธิไว้ตรงนั้น จิตเธอจะควรแก่งาน และพร้อมสำหรับการเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อไป ลองพิสูจน์กันดูซิครับ

สัมมาสมาธิ แปลอีกความหมายหนึ่งหมายถึงความที่จิตตั้งมั่นอยู่กับการเจริญ สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ หรือตั้งมั่นอยู่ที่การเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็นสัมมากัมมันตะ ตั้งมั่นอยู่กับการ กำหนดรู้ทุกข์ เพียรค้นหาสมุทัย พยายามละสมุทัย ความตั้งมั่นอยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนา ความตั้งมั่นอยู่กับการเจริญมรรค 8 ทั้งหมดนี้แหละคือสัมมาสมาธิขั้นปฏิบัติการ

หาใช่การพยายามไปทรงอยู่ ยึดอยู่ในฌาณ 2 หรือวิ่งขึ้นลงแล่นอยู่ในฌาณ 1 - 4 อันเป็นวิสัยของฤาษีเช่นนั้น

วิสัยของชาวพุทธ พุทธบุตร ต้องเอาสมาธิที่ได้ มาทำงาน มาสนับสนุน สติ ปัญญา ให้ทำสัมมากัมมันตะ ไปจนกว่าจะละความเห็นผิด มิจฉาทิฐิได้โดยหมดจด จนเข้าถึงสัมมาทิฐิเต็มร้อยในเวลาอันเร็ววัน ให้ทันในปัจจุบันชาตินี้ จึงจะเป็นดีที่สุด ดังนี้

นี่คือ สัมมาสมาธิ อีกนัยยะหนึ่งครับ เชิญพิจารณา ถูกผิดต้องเอาธรรม เอาสัจจธรรม ความเป็นจริงเป็นเครื่องตัดสิน อย่าเอาเพียงแต่ สัญญา เป็นเครื่องตัดสิน ก็แล้วกันนะครับ สาธุ


"สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ"

:b8: Lips

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
วิสัยของชาวพุทธ พุทธบุตร ต้องเอาสมาธิที่ได้ มาทำงาน มาสนับสนุน สติ ปัญญา ให้ทำสัมมากัมมันตะ ไปจนกว่าจะละความเห็นผิด มิจฉาทิฐิได้โดยหมดจด จนเข้าถึงสัมมาทิฐิเต็มร้อยในเวลาอันเร็ววัน ให้ทันในปัจจุบันชาตินี้ จึงจะเป็นดีที่สุด ดังนี้


สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ

ผมใช้ฌานมาทำงาน มาสนับสนุน สติ ปัญญา ได้จริงครับ





อโศกะ เขียน:
นี่คือ สัมมาสมาธิ อีกนัยยะหนึ่งครับ เชิญพิจารณา ถูกผิดต้องเอาธรรม เอาสัจจธรรม ความเป็นจริงเป็นเครื่องตัดสิน อย่าเอาเพียงแต่ สัญญา เป็นเครื่องตัดสิน ก็แล้วกันนะครับ สาธุ


สัมมาสมาธิ มีนัยยะเดียว มาตรฐานเดียวครับ พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ามีเพียง 1 ไม่เป็น 2 หรือ 3... พระพุทธเจ้าไม่ทรงโลเลในการแสดงธรรมหลายมาตรฐานแบบคุณอโศกะหรอกครับ พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างไร พระองค์ทรงปฏิบัติอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติอย่างไร พระองค์ทรงตรัสอย่างนั้นครับ ทรงตรัสคำไหนคำนั้นครับ คนโลเลหลายมาตรฐานเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ครับ



ยถาวาที ตถาการี

พระองค์ทรงตรัสอย่างใด
พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างนั้น



ยถาการี ตถาวาที

พระองค์ทรงกระทำอย่างใด
พระองค์ก็ทรงตรัสอย่างนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 4614 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue
มหาราชันย์ เขียน:
คนกล้าหาญคือคนที่ต่อสู้ ประหัตประหารกับศัตรูครับ
การทรงฌานเปรียบเสมือนการถืออาวุธคอยประหัตประหารศัตรูครับ
ศัตรูมาเมื่อไหร่ก็ลงมือประหัตประหารศัตรูนั้นทันทีครับ
ถ้าผมไม่กล้าหาญต่อสู้กับนิวรณ์ 5 และกามสัญญาจนประสบชัยชนะได้ ผมจะบรรลุทุติยฌานได้อย่างไร ??



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

มหาราชันย์ เขียน:

สัมมาสมาธิ มีนัยยะเดียว มาตรฐานเดียวครับ
พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ามีเพียง 1 ไม่เป็น 2 หรือ 3...
พระพุทธเจ้าไม่ทรงโลเลในการแสดงธรรมหลายมาตรฐาน...................
พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างไร พระองค์ทรงปฏิบัติอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติอย่างไร พระองค์ทรงตรัสอย่างนั้นครับ
ทรงตรัสคำไหนคำนั้นครับ คนโลเลหลายมาตรฐานเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ครับ




ยถาวาที ตถาการี

พระองค์ทรงตรัสอย่างใด
พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างนั้น



ยถาการี ตถาวาที

พระองค์ทรงกระทำอย่างใด
พระองค์ก็ทรงตรัสอย่างนั้น



รูปภาพ สาธุ..... ค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im38.jpg
guan-im38.jpg [ 25.03 KiB | เปิดดู 4604 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก

เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


ในอนาคต
ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม
เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ
จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน

แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี
มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้
จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


เพราะเหตุดังนี้แล
การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2225_resize_resize.JPG
100_2225_resize_resize.JPG [ 97.94 KiB | เปิดดู 4589 ครั้ง ]
tongue อรุณสวัสดิ์ครับท่านมหาราชันย์ คนสวยกระบี่ไร้เงา และกัลยาณมิตรทุกท่าน

แน่นเหนียวกันดีจัง เก่งปริยัติกันทั่วถ้วน ยกข้อธรรมในคัมภีร์มาตอบโต้ อ้างอิง รับรองคำพูดของตนเอง ได้อย่างรวดเร็ว สละสลวย น่าเชื่อถือยิ่งนัก มีบุคคลเช่นนี้เยอะๆ อายุพระพุทธศาสนาคงจะยืนยาวไปเกินกว่า 5,000 พวัสสา เป็นแน่แท้

มหาราชันย์ เขียน

สวัสดียามเย็นครับคุณอโศกะ

ผมใช้ฌานมาทำงาน มาสนับสนุน สติ ปัญญา ได้จริงครับ

อโศกะ ตอบ

ข้อนี้อนุโมทนาสาธุ ครับ

แต่ที่ว่าเอาฌาณ มาสนับสนุน สติ ปัญญา เนี๊ยะ ทำอย่างไร กรุณาเล่าวิธีการให้ฟังเป็นภาษาชาวบ้านหน่อยนะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับผู้มีปริยัติน้อย อย่างอโศกะด้วยครับ ขอบพระคุณ


อโศกะ เขียน:
นี่ คือ สัมมาสมาธิ อีกนัยยะหนึ่งครับ เชิญพิจารณา ถูกผิดต้องเอาธรรม เอาสัจจธรรม ความเป็นจริงเป็นเครื่องตัดสิน อย่าเอาเพียงแต่ สัญญา เป็นเครื่องตัดสิน ก็แล้วกันนะครับ สาธุ

มหาราชันย์ เขียน

สัมมา สมาธิ มีนัยยะเดียว มาตรฐานเดียวครับ พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ามีเพียง 1 ไม่เป็น 2 หรือ 3... พระพุทธเจ้าไม่ทรงโลเลในการแสดงธรรมหลายมาตรฐานแบบคุณอโศกะหรอกครับ พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างไร พระองค์ทรงปฏิบัติอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติอย่างไร พระองค์ทรงตรัสอย่างนั้นครับ ทรงตรัสคำไหนคำนั้นครับ คนโลเลหลายมาตรฐานเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ครับ


อโศกะ ตอบ

อืม! สัมมา สมาธิ มีนัยยะเดียว มาตรฐานเดียวครับ ท่านมหาราชันย์ช่างกล้าหาญและอาจหาญ แสดงความเห็นรับรองเป็นมั่นเป็นเหมาะขนาดนี้ ใครจะเข้าใจเป็นอื่นนอกจากนี้ไม่ได้เลย จะถือว่าเป็นผิดหมด
แถมไม่พอยังยกบาลีมาสำทับอีกด้วย ติดแน่นดีจริงๆนะครับ มั่นคงอย่างนี้ นิพพาน ไม่ไกลเลยสำหรับท่าน หรืออาจเสวยอยู่แล้วก็ได้ อนุโมทนาสาธุด้วยครับ


ผมรู้สึกจะเคยได้เห็นท่านมหาราชันย์ และหลายๆท่าน อ้างปริยัติในคัมภีร์ ทำนองที่ว่า

การปฏิบัติธรรมนั้นมีได้หลายทาง

พวกหนึ่งเอาสมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง คงจะเป็นกลุ่มของท่านมหาราชันย์นี่ละกระมัง

บางกลุ่มเอาวิปัสสนาภาวนานำหน้า แล้วเกิด สมถะชำระนิวรณ์ได้ภายหลัง กลุ่มนี้คงไม่เป็นอย่างท่านมหาราชันย์แน่

บางคณะ ก็เจริญสมถะวิปัสสนาไปพร้อมๆกัน ฯลฯ หรือท่านมหาราชันย์จะอยู่ในกลุ่มนี้


ผู้คนที่ไม่เอาฌาณนำหน้าตามอย่างท่านมหาราชันย์ ดูเหมือนจะไม่มีสัมมาสมาธิ คงจะไม่มีสิทธิเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่าครับ ตามความเห็นและหลักฐานในพระสูตรที่ท่านมหาราชันย์ หรือ คุณกระบี่ไร้เงาคนสวยอ้างอิงมา (ที่ว่าคุณกระบี่ไร้เงาคนสวย เพราะ รูปที่ยกมาโพสต์สวย)

เห็นอย่างไร ก็ลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามความเห็นนั้นก่อน ไม่ช้าก็คงจะรู้เองนะครับ เมื่อผลการปฏิบัติแสดงออกมา

"สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ"
:b8:
:b34:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2369929c0yk14k3ni.gif
2369929c0yk14k3ni.gif [ 441.99 KiB | เปิดดู 4572 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


อโศกะ เขียน:
tongue อรุณสวัสดิ์ครับท่านมหาราชันย์ คนสวยกระบี่ไร้เงา และกัลยาณมิตรทุกท่าน

แน่นเหนียวกันดีจัง เก่งปริยัติกันทั่วถ้วน ยกข้อธรรมในคัมภีร์มาตอบโต้ อ้างอิง รับรองคำพูดของตนเอง ได้อย่างรวดเร็ว สละสลวย น่าเชื่อถือยิ่งนัก มีบุคคลเช่นนี้เยอะๆ อายุพระพุทธศาสนาคงจะยืนยาวไปเกินกว่า 5,000 พวัสสา เป็นแน่แท้


ฯลฯ

ผู้คนที่ไม่เอาฌาณนำหน้าตามอย่างท่านมหาราชันย์ ดูเหมือนจะไม่มีสัมมาสมาธิ คงจะไม่มีสิทธิเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่าครับ ตามความเห็นและหลักฐานในพระสูตรที่ท่านมหาราชันย์ หรือ คุณกระบี่ไร้เงาคนสวยอ้างอิงมา (ที่ว่าคุณกระบี่ไร้เงาคนสวย เพราะ รูปที่ยกมาโพสต์สวย)

เห็นอย่างไร ก็ลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามความเห็นนั้นก่อน ไม่ช้าก็คงจะรู้เองนะครับ เมื่อผลการปฏิบัติแสดงออกมา

"สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ"
:b8:
:b34:




ถูกพาดพิงค่ะ wink

อ่านทบทวนใหม่ค่ะ

อนาคตสูตรที่ดิฉันยกมา คนละประเด็นที่คุณอโศกะกล่าวนะคะ


ดิฉันเน้นที่ผู้ที่สอนผิดพระธรรมเทศนาแล้วไม่รับผิด
กับผู้ที่บรรจงสร้าง คำสอน แต่งตำรากันขึ้นมาใหม่ค่ะ


เพราะบุคคลเหล่านี้ จะทำให้พระพุทธศาสนา หรือคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าสาบสูญไปค่ะ

ต้องดูที่ประเด็นของพระสูตรที่ยกมานะคะ
ในพระสูตรนี้มีหลายประการ ดิฉันยกมาเพียง
ประการที่สอนผิดคำสอนของพระพุทธองค์และไม่รับว่าสอนผิด
และประการสำคัญ แต่งเสริมต่อเติมพระธรรมเทศนาของพระองค์ค่ะ

ส่วนประเด็นที่คุณอโศกะ และคุณมหาราชันย์ ปุจฉาวิสัชนา กัน
ดิฉันตามอ่านอยู่ และลุ้นให้คุณอ้างอิงพระธรรมเทศนาประกอบค่ะ

รออ่านอยู่ค่ะคุณอโศกะ cool
ถ้าเป็นพระธรรมเทศนามีบันทึกเป็นหลักฐานดิฉันเทคะแนนให้ทันทีค่ะ





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b14: :b5: :b14: :b5: :b14: :b5: :b14: :b5: :b13: ยืนดูอยู่ข้างๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้เข้าสู่สภาวะธรรม คือความเป็นพระอรหันต์ กันทุกท่าน เจริญธรรม :b8: :b8: :b8: :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 18 ธ.ค. 2009, 13:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ผมรู้สึกจะเคยได้เห็นท่านมหาราชันย์ และหลายๆท่าน อ้างปริยัติในคัมภีร์ ทำนองที่ว่า

การปฏิบัติธรรมนั้นมีได้หลายทาง

พวกหนึ่งเอาสมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง คงจะเป็นกลุ่มของท่านมหาราชันย์นี่ละกระมัง

บางกลุ่มเอาวิปัสสนาภาวนานำหน้า แล้วเกิด สมถะชำระนิวรณ์ได้ภายหลัง กลุ่มนี้คงไม่เป็นอย่างท่านมหาราชันย์แน่

บางคณะ ก็เจริญสมถะวิปัสสนาไปพร้อมๆกัน ฯลฯ หรือท่านมหาราชันย์จะอยู่ในกลุ่มนี้


ผู้คนที่ไม่เอาฌาณนำหน้าตามอย่างท่านมหาราชันย์ ดูเหมือนจะไม่มีสัมมาสมาธิ คงจะไม่มีสิทธิเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ เป็นเช่นนั้นหรือเปล่าครับ ตามความเห็นและหลักฐานในพระสูตรที่ท่านมหาราชันย์ หรือ คุณกระบี่ไร้เงาคนสวยอ้างอิงมา (ที่ว่าคุณกระบี่ไร้เงาคนสวย เพราะ รูปที่ยกมาโพสต์สวย)

เห็นอย่างไร ก็ลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามความเห็นนั้นก่อน ไม่ช้าก็คงจะรู้เองนะครับ เมื่อผลการปฏิบัติแสดงออกมา

"สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ"



smiley smiley smiley

จากที่ท่านกล่าวมาตามที่ยกมาอ้างอิงนั้น รู้สึกว่าท่านอโศกะ ยังไม่เข้าใจในเจตนาของผมเลยละครับและยังบอกถึงความสับสนของท่านเองด้วยครับ ท่านอโศกะ การที่ผมยกพระสูตรนี้มาให้ท่านได้พิจารณาเพราะมันเป็นภาพรวมของการปฏิบัติในศาสนานี้ และยังสามารถใช้พิจารณาในการนำปริยัติมาสงเคราะห์ลงในวิธีการปฏิบัตินี้ตามพระสูตร รวมทั้งชี้ให้เห็นวิถีชีวิตของพระเสขะทั้งหลาย รวมทั้งอุบาสก อุบาสิกา และพยายามที่จะชี้ให้เห็นความเป็นจริง ความสำคัญของฌาณ ถ้าท่านใส่ใจหรือใส่ใจอยู่แล้ว ลองมองภาพรวมๆ ก้วางๆ แล้วท่านจะเห็นว่า สมถะหรือวิปัสสนาเป็นสภาวะธรรมที่เนื่องกันอยู่แยกกันไม่ขาดหรอกครับ มาพร้อมกันเสมอครับ และการที่ผมบอกท่านว่าฌาณเป็นบาทให้สติปัฎฐาน 4 รู้สึกว่าท่านก็ยังไม่เข้าใจนะครับ ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติอย่างไรในสติปัฎฐาน 4 ผลของมันต้องเกิดความตั้งมั่นของจิตขึ้นหรือจะเรียกว่าฌาณก็ได้ ซึ่งจะอยู่ในระดับไหน 1-2-3-4 ก็ได้ทั้งนั้นแหละครับ เพราะถ้าไม่เกิดสภาวะธรรมนี้ขึ้น(ฌาณ) จิตของท่านก็เป็นเพียงกามาวจรกุศลจิตอยู่เท่านั้น การที่ท่านเฝ้าแต่มองดูธรรมมารณ์ให้เห็นเป็นอนัตตานะมันทำให้ท่านพลาดโอกาสไปต่างหากละครับ(ความฟุ้งเกิดขึ้นนิวรณ์ที่สงบไปแล้วกลับเกิดขึ้นมาใหม่อีก) ท่านต้องไปนับหนึ่งใหม่ตลอด ในเมื่อเราก็รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองเป็นสัจจะในไตรลักษณ์ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้ รู้เพื่อปล่อยวางก็ถูกครับ(ความจริงตรงนี้นะอินทรียสังวรศีลนะมันทำงานอยู่แล้วละครับ) ถ้าท่านจะให้สัญญานี้เป็นปัญญา มันก็เป็นแล้วละครับปัญญา แต่มันจะกลายมาเป็นกามสัญญาเพราะท่านเฝ้าพัวพันมันต่างหากละครับ ดั้งนั้นถ้าท่านเข้าใจในพระสูตรนี้ได้อย่างเต็มที่ท่านก็จะรู้ว่าสติปัฎฐาน4 มันคือการดำรงฌาณหรือความตั้งมั่นแห่งจิต มีอินทรียสังวรคอยรักษาคุณภาพแห่งจิต มีการปฏิบัติพร้อมครบทั้งสมถะและวิปัสสนาในสติปัฎฐาน 4 ณ จุดนี้ไตรสิกขา ครบอยู่แล้วละครับ สำหรับจะบรรลุอรหันตผลหรือไม่ในพระสูตรก็บอกไว้ใช้เจนแล้วละครับ ผมถึงบอกว่าท่านยังเข้าใจไม่หมดครับ และเข้าใจเรื่องฌาณผิดไป ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงท่านก็ปฏิบัติถูกทางอยู่แล้วเพียงแต่ตกไปในระหว่างทางเพระท่านเข้าใจผิดเองครับ เลยทำให้ท่านแสดงธรรมที่ผ่านมาสับสนและขัดแย้งกันเองครับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดนะครับ เพราะเฝ้าอ่านมาตลอดครับ

เจริญในธรรมครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้ว่า พระที่ฆ่าตัวตาย เนื่องจากไป พิจารณา ไปพิจารณามา ฌาณ ไม่ขาวรอบพอที่จะยกวิปัสสนาเลย พากันฆ่าตัวตาย จนพระพุทธองคื บัญญัติปราชิก จะเกี่ยวกันหรือเปล่าครับ?? :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระอานนท์ได้กล่าวถึงพระภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักของท่านมีอยู่ 4 แนวทาง (ในตำราท่านใช้คำว่ามรรค 4) โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังนี้

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

* * *

[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ

[๕๔๒] เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ (ที่มาลอกมา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
[๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็น
จริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ
เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย
อารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดใน
ธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดใน
ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนัก
แล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕
ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทาง
กาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวย
สุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด
ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอัน
ประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๐๖๑๘ - ๑๐๖๗๔. หน้าที่ ๔๕๐ - ๔๕๒.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



จิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
*พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติ
มีฌาน ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย ย่อมเห็น
แจ้งธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท มี
ปรกติเห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
ความเสื่อมรอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๒๘๒ - ๕๒๙๔. หน้าที่ ๒๓๒ - ๒๓๓. (ที่มา ลอกมา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3755_resize_resize.JPG
100_3755_resize_resize.JPG [ 51.24 KiB | เปิดดู 4509 ครั้ง ]
tongue
สวัสดีมีความสุข กัลยาณมิตรทุกท่าน คุณกระบี่ไร้เงา คุณโคตรภู ขอบคุณและอนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับคุณ หลับอยู่ ที่กรุณาค้น คัด เอาคำสอนอันสมบูรณ์จากปิฎกมาแสดง คงสมใจคุณกระบี่ไร้เงานะครับ ถ้าเป็นอย่างนี้

ขอบคุณท่านกระบี่ไร้เงา ที่ยังเมตตาเป็นห่วง


ผมจับประเด็น และมีความเห็นจากข้อชี้แนะของท่านออกมาได้น้อยนิดว่า

1.ให้เห็นความสำคัญของความสำคัญของฌาณ

2.สมถะหรือวิปัสสนาเป็นสภาวะธรรมที่เนื่องกันอยู่แยกกันไม่ขาด

3.ฌาณเป็นบาทให้สติปัฎฐาน 4
สติปัฎฐาน 4 ผลของมันต้องเกิดความตั้งมั่นของจิตขึ้น

4.จิตของท่านก็เป็นเพียงกามาวจรกุศลจิตอยู่เท่านั้น การที่ท่านเฝ้าแต่มองดูธรรมมารณ์ให้เห็นเป็นอนัตตานะมันทำให้ท่านพลาดโอกาส ไปต่างหากละครับ(ความฟุ้งเกิดขึ้นนิวรณ์ที่สงบไปแล้วกลับเกิดขึ้นมาใหม่อีก) ท่านต้องไปนับหนึ่งใหม่ตลอด ในเมื่อเราก็รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองเป็นสัจจะในไตรลักษณ์ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้ รู้เพื่อปล่อยวางก็ถูกครับ(ความจริงตรงนี้นะอินทรียสังวรศีลนะมันทำงานอยู่ แล้วละครับ) ถ้าท่านจะให้สัญญานี้เป็นปัญญา มันก็เป็นแล้วละครับปัญญา แต่มันจะกลายมาเป็นกามสัญญาเพราะท่านเฝ้าพัวพันมันต่างหากละครับ

ดั้งนั้นถ้าท่านเข้าใจในพระสูตรนี้ได้อย่างเต็มที่ท่านก็จะรู้ว่าสติปัฎฐาน4 มันคือการดำรงฌาณหรือความตั้งมั่นแห่งจิต มีอินทรียสังวรคอยรักษาคุณภาพแห่งจิต มีการปฏิบัติพร้อมครบทั้งสมถะและวิปัสสนาในสติปัฎฐาน 4 ณ จุดนี้ไตรสิกขา ครบอยู่แล้วละครับ สำหรับจะบรรลุอรหันตผลหรือไม่ในพระสูตรก็บอกไว้ใช้เจนแล้วละครับ ผมถึงบอกว่าท่านยังเข้าใจไม่หมดครับ และเข้าใจเรื่องฌาณผิดไป

:b8:
อโศกะ ตอบ

ขอบคุณอนุโมทนากับคำแนะนำที่ละเอียดลึกซึ้งของคุณโคตรภู

ผมมีเจตนาและปณิธานที่จะบอกกล่าว เล่าสู่กันฟังว่า หลังจากที่ได้ศึกษาปริยัติจากคัมภีร์์พระไตรปิฏก
ศึกษาข้อธรรมจากอรรถกถาจารย์ครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตรทั้งหลาย ผมพยายามจับประเด็น เพื่อจะเอา

1.หัวใจและแก่นคำสอน และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบออกมา ให้เป็นข้อความสั้นๆ รู้และเข้าใจง่าย นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สับสน ซับซ้อน ด้วยบาลีและศัพท์บัญญัติต่างๆ จนได้ย่อคำสอนสั้นที่สุดว่า อนัตตา คำเดียว

พระไตรปิฏกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ เมื่อย่อลงมาแล้ว เหลือ อนัตตา คำเดียว ใครพิสูจน์ อนัตตาได้ถูกต้อง ชัดเจน ก็จะได้เข้าถึง นิพพานความสุขเย็นเป็นอมตะ นี่เป็นที่สุดของ ปริยัตติศาสนา

วิธีพิสูจน์อนัตตา ที่จำง่าย สั้น คือ ปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันอารมณ์ เอาปัจจุบันอารมณ์ เป็น วิหารธรรมประจำจิต เอา สติ ปัญญา มาเฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ที่ปัจจุบันอารมณ์ ให้ต่อเนื่อง ยาวนาน บ่อยๆ เสมอๆ นี่เป็นปฏิปัติศาสนา

แล้วกระบวนการทางธรรมต่างๆ ตามโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เขาจะดำเนินไปเอง เจริญก้าวหน้าไปเอง โดยธรรมชาติ จนมิจฉาทิฐิ อุปาทานความเห็นผิด ว่าเป็นอัตตา ตัวตน สลายสิ้นและดับสูญ เปิดเผย อนัตตาโดยสมบูรณ์ เข้าถึง อนัตตา ถึงมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน เป็นผล เป็นปฏิเวทธรรมในที่สุด นี่เป็นปฏิเวทศาสนา

ปริยัติเรื่องของสมถะ ฌาณ วิปัสสนา ญาณ หรือเรื่องประกอบปลีกย่อยอื่นๆ ที่ถกเถียง ยกกันมายาวยืดนั้น ดี ทำให้เกิดความเป็นพหูสูตร แต่มันเป็นดุจ สูตรยา ตำรายา จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ นำเอามาปรุง ให้เป็นยา ดื่มกิน จึงจะเกิดผล ให้หายจากโรค ภัย ไข้เจ็บ

คนรู้มาก มีเยอะ แต่คนปฏิบัติมาก มีน้อย จึงมีเรื่องต้องถกเถียงกันมาก แต่ก็ยังคงต้อง สื่อภาษาทำความเข้าใจกันต่อไป

ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ด้อยการศึกษา แต่ทำไร่ ทำสวน ทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ ผลิตอาหาร เลี้ยง ปัญญาชนทั้งหลายให้อยู่สุขสบายมาทุกวันนี้ เขาเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพียงนิดเดียว ตามที่บรรพบุรุษถ่ายทอดสู่กันโดยวิธีธรรมชาติ พื้นๆ ง่ายๆ แต่ก็ได้ข้าว ผัก ปลา มาเลี้ยงชีวิตตนและเลี้ยงเพื่อนร่วมโลก ที่ฉลาด รู้มากทั้งหลาย ที่ทำไร่ทำนา บนแผ่นกระดาษ ให้ลงมือปลูกข้าวปลูกผัก กินเองจริงๆ ก็ดูจะทำไม่ได้ หรือทำไม่เป็น

นักปฏิบัติธรรมบ้านนอก ความรู้ปริยัติมีน้อย อาจพูดถูก พูดผิด ไม่เข้าหูไปบ้าง ก็ขออภัยนะครับ ลองจับประเด็นดูกว้างๆ โดยรวม อาจพอมองเห็น กุศลเจตนาที่ซ่อนอยู่ข้างในนะครับ

อโศกะ มาศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางธรรมในลานนี้ ก็ได้รับประโยชน์ พัฒนาความรู้ปริยัติ แล้วนำไปพัฒนาการปฏิบัติ ก้าวหน้าไปข้างในไม่น้อย ขอบคุณนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทุกท่านที่เมตตา มาสั่ง
สอนครับ

สุขในธรรมกันทุกๆคนนะครับ สาธุ

smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 181 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร