วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




013.jpg
013.jpg [ 37.89 KiB | เปิดดู 3138 ครั้ง ]
ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ



ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค…….

ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ย่อมออกจากมิจฉาทิฐิ
…..จากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น
…..จากขันธ์ทั้งหลาย (คืออรูปขันธ์ ๔ อันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น เบญจขันธ์พร้อมด้วยรูปอันมีทิฐินั้นเป็น สมุฏฐานและวิบากขันธ์อันจะพึงเกิดขึ้นในอนาคต)
…..จากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์ และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ย่อมออกจากมิจฉาสังกัปปะ ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่า สัมมาวาจา เพราะอรรถว่ากำหนดเอา ย่อมออกจากมิจฉาวาจา ... เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉากัมมันตะ .ฯลฯ. เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ .ฯลฯ. เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวายามะ .ฯลฯ. เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ .ฯลฯ. เป็นมรรคญาณ

ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ .ฯลฯ. เป็นมรรคญาณ ฯ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค …..

ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจาก…..
..…กามราคสังโยชน์
…..ปฏิฆสังโยชน์
…..กามราคานุสัย
…..ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ จากเหล่ากิเลส ที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขาร นิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะแห่งอนาคามิมรรค …..

ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ ว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจาก…..
…..กามราคสังโยชน์
…..ปฎิฆสังโยชน์
…..กามราคานุสัย
…..ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อม ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจาก กิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




A037.jpg
A037.jpg [ 42.48 KiB | เปิดดู 3086 ครั้ง ]
ในขณะแห่งอรหัตมรรค …..

ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจาก…..
…..รูปราคะ
…..อรูปราคะ
…..มานะ
…..อุทธัจจะ
…..อวิชชา
…..มานานุสัย
…..ภวราคานุสัย
…..อวิชชานุสัย ย่อมออกจาก เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลายและจากสรรพนิมิต ภายนอก

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกไปและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ฯ




เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว โลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ ต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์


ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว…..
.....ย่อมเห็นแจ้งฉันใด ถ้าเมื่อเห็นแจ้งก็ พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น
.....สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วใน ขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
.....ความเห็นว่า …..สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข


พระโยคาวจรผู้ฉลาด.....
..... ในความเป็นต่างกัน และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์
..... ย่อมรู้วิโมกขจริยาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ
..... เพราะความเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง ฉะนี้แล ฯ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส

*******************************

กิเลส

กิเลส หมายถึงสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หรือสิ่งก่อความเศร้าหมอง เช่น กิเลส ๑๐ ได้แก่

๑. โลภะ = ความอยากได้
๒. โทสะ = ความคิดประทุษร้าย
๓. โมหะ = ความหลง ความไม่รู้ ความเขลา
๔. มานะ = ความถือตัว
๕. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด
๖. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลง
๗. ถีนะ = ความหดหู่ ความท้อแท้ถดถอย
๘. อุทธัจจะ = ความฟุ้งซ่าน
๙. อหิริกะ = ความไม่ละอายต่อความชั่ว
๑๐. อโนตตัปปะ = ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์

ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต

๑.รูปขันธ์ = กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ

๒.เวทนาขันธ์ = กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ

๓. สัญญาขันธ์ =กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖

๔. สังขารขันธ์ = กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต

๕. วิญญาณขันธ์ = กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖

ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป
.....รูปขันธ์จัดเป็นรูป
.....๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร