วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย

ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ




[๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุขจิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้นธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ

[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตาย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ

[๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหา อาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัยความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 17:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ

ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์


โลกุตตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

[๓๗๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ
ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า อโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล
สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน
การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ประสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่า ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล




เวทนาในโลกุตตระกุศลจิตได้แก่การเสวยอารมณ์ ปีติ สุข และอุเบกขาเวทนา( หรืออทุกขมสุขเวทนา ) การเจริญเวทนาปีติ สุข และอุเบกขาเวทนา เป็นเครื่องชี้วัดว่าจิตผู้ปฏิบัตินั้นป็นจิตที่หลุดพ้นด้วยองค์ฌานและองค์ธรรม เป็นโกลุตตระกุศลจิต เป็นการยืนยันว่าปฏิบัติมาถูกทางแล้ว เพราะกุศลจิตนั้นมีเวทนาเป็นปีติ สุข และอุเบกขา


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณมหาราชันย์ ช่วยสรุปสั้นๆหน่อยได้ไหมครับ
ว่าเราจะปฏิบัติอย่างไร จึงทำให้ตัณหาสิ้นได้

ขอเป็นระบบวิธีการปฏิบัติ ที่แนะนำแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยนะครับ

ขอถามเท่านี้ก่อนครับ ขอบคุณครับ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
คุณมหาราชันย์ ช่วยสรุปสั้นๆหน่อยได้ไหมครับ
ว่าเราจะปฏิบัติอย่างไร จึงทำให้ตัณหาสิ้นได้

ขอเป็นระบบวิธีการปฏิบัติ ที่แนะนำแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยนะครับ




โลกุตตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา




อริยะสัจ 4 โดยย่อ

:b41: ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สั้นสมใจจริงๆ

อ่ะ่.......พอใจก็ได้

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ


:b1: :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




753062q1e6bvu9sf.gif
753062q1e6bvu9sf.gif [ 139.04 KiB | เปิดดู 3428 ครั้ง ]
:b48: :b48: tongue
บัวศกล เขียน:
สั้นสมใจจริงๆ

อ่ะ่.......พอใจก็ได้

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ


:b1: :b6: :b6: :b6:

:b48: ขอขอบคุณบัวศกล
ทำให้ได้ยล :b48: อริยสัจโดยย่อทั่วกัน

:b48: ชื่นชอบธรรมบทบทนั้น
ระรื่นชื่นพลัน :b48: สุขสันต์เริงร่าในธรรม

:b48: จึงควรเดินในทางสัมม์
น้อมพุทธวัจน์นำ :b48: ดั่งประทีปส่องทางคนหลง

:b48: แม้จิตรวนเรพะวง
จิตจักดิ่งลง :b48: เพราะสงสัยในสัทธรรมา

:b48: การบรรลุธรรมเนิ่นช้า
เพราะนิวรณ์พา :b48: ปัญญาถูกปิดกั้นไป




มหาราชันย์ เขียน:

:b41: ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



:b48: อรหัตมัคค ที่ท่าน นำมาเสนอ
ข้าฯ เคยเจอ ในพระไตรฯ ตามศึกษา
ย่ออรรถธรรม อริยะ สี่ สัจจา
เหตุและผล ที่ดล พาสุขใจ

:b48: ขอขอบคุณ ดั่งมา กระตุ้นเตือน
ว่าอย่าเลือน พุทธดำรัส ที่ตรัสไว้
ภาวนา น้อมนำ อบรมใจ
พียรให้ได้ อย่างคำ ภาวนา



:b48: :b48: เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้


สัญญาสูตร
[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

คือภิกษุทั้งหลายจักเจริญอนิจจสัญญาอยู่เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักเจริญอนัตตสัญญา ฯลฯ จักเจริญอสุภสัญญา ฯลฯ จักเจริญอาทีนวสัญญา ฯลฯ จักเจริญปหานสัญญา ฯลฯ จักเจริญวิราคสัญญา ฯลฯ จักเจริญนิโรธสัญญาอยู่ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ฯลฯ
จบสูตรที่ ๗



มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





สัญญาสูตรที่ ๑
[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน

คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ


จบสูตรที่ ๕


มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





สัญญาสูตรที่ ๒
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ เข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ



มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิตไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความรักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ
จากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ




มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในตัณหาในรส หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราไม่ได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ





มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลกอุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้ ฯ






มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในลาภสักการะ และความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภ สักการะและความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ






มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏเปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้นฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ







มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายสัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ




เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร