วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 17:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




020.jpg
020.jpg [ 34.55 KiB | เปิดดู 3641 ครั้ง ]
พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้

ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง



[๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ
๑. ทุกข์
๒. ทุกขสมุทัย
๓. ทุกขนิโรธ
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


[๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน
ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย


[๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน
กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบากรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์


[๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ


[๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล] สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง

ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน


[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุดว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌานฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้างดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2009, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




665385gnefc5h9ve.gif
665385gnefc5h9ve.gif [ 101.06 KiB | เปิดดู 3598 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ



:b8: :b48: สาธุ....ค่ะ :b48: :b48:
จากที่คุณมหาราชันย์ ยกมานี่ แสดงให้เห็นว่า ปฐมฌาน..สามารถบรรลุได้ถึงภูมิที่ ๔ (พระอรหันต์)
อย่างน้อยก็ภูมิที่ ๓ (อนาคามี) ได้เลยสิคะ



tongue เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: :b9: :b9: ยังมะค่อยเข้าใจในศัพท์ทางพระพุทธศาสนาอ่ะค่ะ :b9: :b9: :b9:

:b24: :b24: :b24: นู๋เอค่ะ :b10: :b10: :b10:

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 02:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




GetAttachment13.jpg
GetAttachment13.jpg [ 27.49 KiB | เปิดดู 3559 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ยังมะค่อยเข้าใจในศัพท์ทางพระพุทธศาสนาอ่ะค่ะ

นู๋เอค่ะ


tongue
อนุโมทนากับกุศลจิตที่ใฝ่ในธรรมค่ะคุณเอ :b27:
การศึกษาพระธรรมค่อยๆเรียนรู้ไปนะคะ เมื่อก่อนดิฉันเองก็ไม่เข้าใจอะไรเลยค่ะ
อ่านแล้วก็ งง เหมือนที่คุณเป็นอยู่ขณะนี้ แต่คนเรานั้นถ้าอยากรู้อะไรจริงจัง
ต้องเพียรพยายามและทำให้สำเร็จได้ด้วยตนเองก่อนนะคะ :b1:
ดิฉันขอแนะนำง่ายๆนะคะ ศัพท์คำไหนไม่เข้าใจ ลองเข้าไปค้นหาคำนั้นในกูเกิลได้ค่ะ
หรือไม่ก็ที่นี่ค่ะ หาคำตามหมวดตัวอักษรค่ะ

http://www.dhammathai.org/buddhistdic/buddhistdictionary.php
เจริญในธรรมค่ะ :b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ



[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า
นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน
เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี
... เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว
ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก
ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า
ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจบ


ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว
ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ


[๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตา เห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.

ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น. วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอน ด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.



ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เวทนาเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า
สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า
สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น
สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า
วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า
วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ



ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2009, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน

ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ




ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป
เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร
เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ
เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว
พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตรจบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0013.jpg
0013.jpg [ 48.19 KiB | เปิดดู 3491 ครั้ง ]
พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ

ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง



[๘๔] ขันธ์ ๕ คือ
๑. รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
๔. สังขารขันธ์
๕. วิญญาณขันธ์
บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต ขันธ์ไหนเป็นโลกียะ ขันธ์ไหนเป็นโลกุตตระ ฯลฯ ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ




โลกุตตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


[๓๗๑] ในปัจจยาการเหล่านั้น กุศลมูล เป็นไฉน
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฯลฯ

ในกุศลมูลเหล่านั้น อโมหะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าอโมหะ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลมูล

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย เป็นไฉน
การคิดอ่าน กิริยาที่คิดอ่าน ความคิดอ่าน อันใด นี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ฯลฯ

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ประสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง อันใด นี้เรียกว่าปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
การตัดสินใจ กิริยาที่ตัดสินใจ ความตัดสินใจในอารมณ์นั้น อันใด นี้เรียกว่า อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย

ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เว้นอธิโมกข์ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย ฯลฯ

คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้นั้น ได้แก่ ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉะนี้แล



ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง มีด้วยประการอย่างนี้


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง

ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด




มัคคภาวนาหรือมัคคจิตย่อมเป็นบ่อเกิดของ อาสาวกขยญาณบ้าง....
... สุขวิป้สสโกบ้าง....
... เตวิชโชบ้าง ( วิชชา 3 )....
... ฉลภิญโญบ้าง ( อภิญญา 6 )....
... ปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง ( ปฏิสัมภิทา 4 )....
... วิโมกข์ 8 บ้าง....
... เอตทัคคะบ้าง (ความเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่ง เช่นปัญญา อิทธฤทธิ์ ทิพยจักษุ เป็นต้น )
...ฯลฯ.....




บ่อเกิดของอาสาวกขยญาณ

โลกุตตรกุศลจิต

[๓๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น

สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย

ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้



โลกุตตรวิบากจิต

[๔๑๕] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน

โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย

เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย

ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง

ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่าเป็นบ่อเกิด




ตัวอย่างบ่อเกิดของปฏิสัมภิทาญาณ



แจกปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยโลกุตตรกุศลจิต

ปฏิสัมภิทา ๔ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา
บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้น ด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา




แจกปฏิสัมภิทา ๓ ด้วยโลกุตตรวิบากจิต

ปฏิสัมภิทา ๓ คือ
๑. อัตถปฏิสัมภิทา
๒. นิรุตติปฏิสัมภิทา
๓. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคล เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมเป็นกุศล

โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ในสมัยใดผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต

ความรู้แตกฉานในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา
บัญญัติแห่งธรรมเหล่านั้นย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
บุคคลรู้แตกฉานซึ่งญาณเหล่านั้นด้วยญาณใดว่า ญาณเหล่านี้ส่องเนื้อความนี้ ดังนี้ ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด

ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม



[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ...

จากสัญญาธาตุ ...

จากสังขารธาตุ ...

จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น...

เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่

เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม

เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง

เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด

ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม



[๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะพึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ

[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ


[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ

[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ


[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ

[๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้ ฯ

[๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรมยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว
ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ


[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ

[๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กินที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ

[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไปย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ


[๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวยและผ่องแผ้ว ฯ

[๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวยและผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่องประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด

ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว

บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้นดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน

บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้นจิตนี้ก็เป็นสังขตะ

บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยงอันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน
ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน

ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย

เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิตเพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ ฯ


[๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้

ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้วถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ
อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้กล่าวแล้ว ฯ


[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี
ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตายจักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่าเป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม

ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัย



[๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออาหาร ๔ ได้แก่กวฬิงการาหาร ๑- ที่หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๒- ๑ วิญญาณาหาร ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ
@๑. อาหารคือคำข้าว ๒. อาหารคือความตั้งใจ


[๔๐๓] ธรรม ๔ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือโอฆะ ๔ ได้แก่โอฆะคือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ

[๔๐๔] ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ โยคะ ๔ ได้แก่โยคะคือกาม โยคะคือภพ โยคะคือทิฐิ โยคะ คืออวิชชา ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ

[๔๐๕] ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือความพราก ๔ ได้แก่ความพรากจากกาม ๑ ความพรากจากภพ ๑ ความพรากจากทิฐิ ๑ ความพรากจากอวิชชา ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ

[๔๐๖] ธรรม ๔ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือสมาธิ ๔ ได้แก่สมาธิเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างทรงอยู่ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างแทงตลอด ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้รู้ได้ยาก ฯ

[๔๐๗] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือญาณ ๔ ได้แก่ญาณในธรรม ๑ ญาณในความคล้อยตาม ๑ ญาณในความกำหนด ๑ ญาณในสมมติ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ

[๔๐๘] ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทาอริยสัจ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ

[๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือสามัญผล ๔ ได้แก่ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกระทำให้แจ้ง ฯ

ธรรมทั้งสี่สิบดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ผิดพลาด อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ




[๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออาหาร ๔ ได้แก่กวฬิงการาหาร ๑- ที่หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๒- ๑ วิญญาณาหาร ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ
@๑. อาหารคือคำข้าว ๒. อาหารคือความตั้งใจ



คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในกามธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏแก่สัตว์ทุกจำพวก

[๑๐๙๗] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ ธาตุ ๕ สัจจะ ๑ อินทรีย์ ๑๐ เหตุ ๓ อาหาร ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย เว้นแต่พวกอสัญญสัตว์

[๑๐๙๘] ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะในรูปธาตุ ในขณะที่เกิดอายตนะ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ โสตธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๕ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ ทุกขสัจจะ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ หรืออุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ อโลภะ ที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะ ที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะ ที่เป็นวิปากเหตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิดอาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้
ย่อมเกิดปรากฏ
ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ

[๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์
ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์
อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ
ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ
สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ ย่อมเกิดปรากฏ
เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ
[๑๑๐๐] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไร ฯลฯ จิตเท่าไร ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ ย่อมเกิดปรากฏ อายตนะ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ ธาตุ ๒ ย่อมเกิดปรากฏ สัจจะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏ อินทรีย์ ๘ ย่อมเกิดปรากฏ เหตุ ๓ ย่อมเกิดปรากฏ อาหาร ๓ ย่อมเกิดปรากฏ ผัสสะ ๑ ย่อมเกิดปรากฏ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ ย่อมเกิดปรากฏ
[๑๑๐๑] ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่าไหนย่อมเกิดปรากฏ
คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในอรูปธาตุในขณะที่เกิด ขันธ์ ๔ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อายตนะ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ธาตุ ๒ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ ทุกขสัจจะ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด สัจจะ ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อินทรีย์ ๘ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ อโลภะที่เป็นวิปากเหตุ อโทสะที่เป็นวิปากเหตุ อโมหะที่เป็นวิปากเหตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เหตุ ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่าไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด อาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด ผัสสะ ๑ นี้ย่อมเกิดปรากฏ
ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑ อย่างไหน ย่อมเกิดปรากฏ
คือ มโนวิญญาณธาตุ ในอรูปธาตุ ในขณะที่เกิด จิต ๑ นี้ ย่อมเกิดปรากฏ




ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร ในรูปธาตุ ในขณะที่เกิดอาหาร ๓ เหล่านี้ ย่อมเกิดปรากฏ

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด


ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล





มัคคภาวนาในพระพุทธศาสนา ได้แก่

1.เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ
2.เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตตระ
3.เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตตระ
4.เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตตระ
5.เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตตระ
6.เจริญพละเป็นโลกุตตระ
7.เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตตระ
8.เจริญสัจจะเป็นโลกุตตระ
9.เจริญสมถะเป็นโลกุตตระ
10.เจริญธรรมเป็นโลกุตตระ
11.เจริญขันธ์เป็นโลกุตตระ
12.เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ
13.เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ
14.เจริญอาหารเป็นโลกุตตระ
15.เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ
16.เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ
17.เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ
18.เจริญเจตนาเป็นโลกุตตระ
19.เจริญจิตเป็นโลกุตตระ


อาหารคือโลกุตตระธรรม ๑๙ ประการ จึงเป็นอาหารหรือปัจจัยโสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร