วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์

ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้





สัญญาสูตร
[๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๙ ประการเป็นไฉน

คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ

จบสูตรที่ ๖





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์
ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้

ย่อมเจริญแม้เจตนาด้วยอรรถว่า ความจงใจ



[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร.

ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มี แก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น


[๖๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา ... สัททสัญเจตนา ...คันธสัญเจตนา ... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ


[๖๑๓] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูปสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัททสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในคันธสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพสัญเจตนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในธัมมสัญเจตนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด ฯลฯ ฯ






กุศลเจตนา อาศัยกุศลขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้นด้วยวิราคะธรรม เพื่อคลายความกำหนัด มโนสัญเจตนา เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก

[๒๗๙] เจตนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การคิด กิริยาที่คิด ความคิด อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า เจตนา มีในสมัยนั้น.


เจตนาสูตร
[๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้มีใจปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยความสุข ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ นิพพานด้วยประการดังนี้แล ฯ



[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


ยุคนัทธวรรค
วิราคกถา
เพื่ออบรมเจตนาเป็นโลกุตตระ

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะ เพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมนั้นๆวิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรเมื่อเจริญโลกุตรกุศล
ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่
ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่า นำออก
ย่อมเจริญแม้สติปัฏฐานด้วยอรรถว่า การตั้งมั่น
ย่อมเจริญแม้สัมมัปปธานด้วยอรรถว่า การทำความเพียร
ย่อมเจริญแม้อิทธิบาทด้วยอรรถว่า การสำเร็จ
ย่อมเจริญแม้อินทรีย์ด้วยอรรถว่า ความเป็นใหญ่
ย่อมเจริญแม้พละด้วยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
ย่อมเจริญแม้โพชฌงค์ด้วยอรรถว่า การตรัสรู้
ย่อมเจริญแม้สัจจะด้วยอรรถว่า เป็นธรรมจริง
ย่อมเจริญแม้สมถะด้วยอรรถว่า ความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมเจริญธรรมแม้ด้วยอรรถว่า ความเป็นสุญญตะ
ย่อมเจริญแม้ขันธ์ด้วยอรรถว่า เป็นกอง
ย่อมเจริญแม้อายตนะด้วยอรรถว่า เป็นบ่อเกิด
ย่อมเจริญแม้ธาตุด้วยอรรถว่า เป็นสภาวสูญและเป็นนิสสัตตธรรม
ย่อมเจริญแม้อาหารด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัย
ย่อมเจริญแม้ผัสสะด้วยอรรถว่า กระทบ
ย่อมเจริญแม้เวทนาด้วยอรรถว่า เสวยอารมณ์
ย่อมเจริญแม้สัญญาด้วยอรรถว่า ควรจำได้
ย่อมเจริญแม้เจตนาด้วยอรรถว่า ความจงใจ

ย่อมเจริญจิตแม้ด้วยอรรถว่า การรู้



[๒๐๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิต มีในสมัยนั้น.


เรื่องปัญญากับวิญญาณ

[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?

สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.

ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอจึงตรัสว่า วิญญาณ?

สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าวิญญาณ.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุอาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่?

สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.



เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ

[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่า เวทนา?

สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนารู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า เวทนา.

ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอจึงตรัสว่า สัญญา?

สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียวบ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา

ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?

สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกันผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้นสัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.



[๒๕๘] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการโดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณอย่างไร ฯ

อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ ฯ
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร ฯ

อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค

อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลอนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค

อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล ฯ

[๒๕๙] ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นกุศลทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออกเป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น ฯ

[๒๖๐] ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร ... ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ... ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น ฯ

[๒๖๑] ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทคามิผล ฯลฯ ในขณะอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะอนาคามิผล ฯลฯ

ในขณะอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตมรรค นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดนั่นแลเป็นกุศลล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ... ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น ฯ

[๒๖๒] ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในการสืบต่อ ที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตตผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤตนอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกันธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดเหล่านี้ รวมเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

[๒๖๓] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่านั้น คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปเพราะโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบ ๆ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัตตมรรคนี้ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ ฯ



มีต่อ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคจิต 4

1.โสดาปัตติมัคคจิต หรือปฐมมัคคจิต
โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



[๒๑๕] อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็นเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้งนั้นๆ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ มีในสมัยนั้น.




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สกทาคามีมัคคจิต หรือทุติยมัคคจิต

มรรคจิตดวงที่ ๒

[๒๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



อนาคามีมัคคจิต หรือตติยมัคคจิต

มรรคจิตดวงที่ ๓
[๒๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน
เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ

อัญญินทรีย์ ฯลฯ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ



อรหัตตมัคคจิต หรือ จตุตถมัคคจิต

มรรคจิตดวงที่ ๔

[๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ


[๒๗๔] อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างเหมือนปัญญา ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล



มีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 22.09 KiB | เปิดดู 3992 ครั้ง ]
สกทาคามีผล - อนาคามีผล - และอรหัตตผล


วิบากแห่งมรรคจิตดวงที่ ๒ ดวงที่ ๓ และดวงที่ ๔
[๔๗๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน

เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ฯลฯ ..อัญญินทรีย์ ฯลฯ

เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ ฯลฯ ..อัญญินทรีย์ ฯลฯ

เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โยคาวจรบุคคล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นวิบาก เพราะกุศลฌานเป็นโลกุตตระ อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.


อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่รู้ทั่วถึงแล้วนั้นๆ ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือน ปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต



เจริญในธรรมครับ



......จบ.....
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสเครื่องกังวลใดมีอยู่ในกาลก่อน
เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เหือดแห้งหายไป
กิเลสเครื่องกังวลใด
จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ในท่ามกลาง
ก็จักเป็นมุนีผู้สงบระงับแล้วเที่ยวไป....ดังนี้


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




680419mkdmem7vz7.gif
680419mkdmem7vz7.gif [ 27.88 KiB | เปิดดู 3950 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: tongue tongue tongue


:b48: กราบอนุโมทนา สาธุการ กรานดวงจิต
แด่มิ่งมิตร จิตกุศล ดลสิกขา
มอบความรู้ แด่มิตรด้วย มัคคภาวนา
ในพระพุทธศาสนา น่าชื่นใจ

:b48: ไม่เคยรู้ ก็ได้รู้ ได้พบเห็น
ดั่งท่านเป็น ผู้นำธรรม อันสดใส
พระดำรัส ซึ่งตรัสไว้ ในพระไตรฯ
ชุ่มชื่นใจ ด้วยสายใย สายธารธรรม

:b48: ขอบพระคุณ ผู้นาม มหาราชันย์
เพียรทุกวัน นำธรรม ที่งามล้ำ
ให้ผู้อ่าน ได้แนวทาง เพื่อสร้างกรรม
จิตชื่นฉ่ำ รสพระธรรม ที่นำมา


:b48: :b48: สาธุ...... เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: tongue


.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณมหาราชันต์ ครับ คุณคิดว่ารูปภาพพระพุทธเจ้าที่คุณนำมาโพส
เป็นภาพจริงขององค์ท่านรึเปล่าครับ

ผมเคยได้ยินประวัติ ที่มาของภาพนี้ แต่ก็แค่รับทราบไว้เฉยๆ
อยากฟังความเห็นของท่านผู้รู้อย่างท่าน ว่าท่านคิดอย่างไรกับภาพนี้ครับ

ขออภัยที่ ออกนอกประเด็นกระทู้ และหากมีท่านผู้รู้ท่านใดจะชี้แนะก็ยิ่งดีครับ

ขอบคุณครับ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 17:04
โพสต์: 11

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

onion พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบ
ประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มี
ประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้นย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
คุณมหาราชันต์ ครับ คุณคิดว่ารูปภาพพระพุทธเจ้าที่คุณนำมาโพส
เป็นภาพจริงขององค์ท่านรึเปล่าครับ


เป็นภาพวาดครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกพระองค์มีฝ่าพระบาทเรียบเสมอกันครับ
ในภาพไม่เรียบครับ


เมื่อขยายด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่าเป็นภาพวาดจริงครับ



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 21:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณมหาราชันต์ ครับ

ผมก็มีเหตุผล หลายแง่ที่รู้ว่าไม่ใช่

แต่ก็อยากทราบจาก ท่านผู้รู้ ท่านอื่นๆด้วย

เพื่อ ความรู้ยิ่ง และยิ่งรู้

สาธุ ครับ

:b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




mathana.jpg
mathana.jpg [ 48.24 KiB | เปิดดู 3882 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: tongue
อ้างคำพูด:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์
แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?


ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์
มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก
ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก





:b48: :b48: tongue :b41: :b48: :b41: :b48: สาธุ
:b41: :b41: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณกระบี่ไร้เงา



บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมรักษาศีลเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมให้ทาน
ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว
มีจิตเอนไปในพระนิพพาน
มีจิตน้อมไปในพระนิพพาน
เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก... เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron