วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 13:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บท ปุจฉา-วิสัชชนา ระหว่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา กับ พระธรรมทินนาภิกษุณี



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

เรื่องสมาธิและสังขาร

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ

ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ

สติปัฏฐาน ๔เป็นนิมิตของสมาธิ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ

ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.




สมาธิ ในที่นี้ ย่อมหมายเอา สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค

พึงสังเกตุประโยค " สติปัฏฐาน ๔เป็นนิมิตของสมาธิ"

เสนอ ย้อนกลับไปอ่าน กระทู้เก่า เกี่ยวกับที่แสดง รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐาน (ทันตภูมิสูตร)



ประเด็นเรื่องที่ว่า

ทำไม จึงแสดงสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคด้วยรูปฌาน๑-๔เท่านั้น(ไม่แสดงไปถึงอรูปฌานด้วย)

เคยมีท่านผู้รู้ชี้ให้ผมดูตรง นิมิตแห่งสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค คือ กาย เวทนา จิต ธรรม(สติปัฏฐานสี่) .... คือ มีทั้ง รูป และ นาม เป็นอารมณ์ .... หาใช่มีเพียง อรูปแต่อย่างเดียว .

แต่ ท่านผู้ที่เชี่ยวชาญในสมาธิวิธี ก็ย่อมที่จะสามารถต่อยอดไปยังอรูปฌานได้ด้วยเช่นกัน.



ส่วนที่มีพระสูตร ทรงแสดงถึงการพิจารณา ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน ทั้งหลาย ลงสู่ไตรลักษณ์ เช่น ในฌานสูตรนั้น .....คือ ในกรณีนี้ เป็นผู้ที่ได้โลกียฌานมาก่อน แล้ว ใช้โลกียฌานนั้นๆ เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรงเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระสูตรนั้น

มีที่น่าสนใจอีกประเด็น



เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๓.
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ

วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วย สมาธิขันธ์

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.




เสนอ พิจารณา

1.อริยะมรรคที่มีองค์แปด เป็นสังขตะธรรม คือ เป็นธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.

แม้นแต่ สัมมาสติความระลึกชอบ(ที่เป็นอนัตตา) ก็มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง.
ในทางปฏิบัติ เราท่าน หาใช่ไปบังคับให้สัมมาสติเกิด... แต่ เราท่าน เพียรประกอบเหตุปัจจัยที่จะยังให้สัมมาสติเกิด(ดังพระสูตรแสดงเส้นทางสู่วิมุติ)

2.สมาธิขันธ์(กองสมาธิ) ประกอบด้วย สัมมาวายมะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

พึงสังเกตุว่า สัมมาสติ ไม่ได้จัดอยู่ใน ปัญญาขันธ์(กองปัญญา) .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ๑

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม

เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ๑

เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ




ในปัจจุบัน...พุทธบริษัท๔ มีการเคารพยำเกรงในธรรม๕ประการนี้ ดีอยู่ไหม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องที่ว่า อรูปฌาน คือ สิ่งที่ปิดกั้นมรรคผล ของอาฬารดาบส-อุทกดาบส

ตรงจุดนี้น่าจะเป็นการเข้าใจ... จากการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ท่านทั้งสองฉิบหายจากมรรคผลหลังทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านทั้งสองทำกาละก่อนจะได้สดับอริยมรรค.



ตรงจุดนี้ บางท่านอาจจะเข้าใจว่า ท่านทั้งสองฉิบหายจากมรรคผลเพราะท่านทั้งสองบรรลุอรูปฌาน และ อรูปฌานปิดกั้นมรรคผล???



แต่ ก็มีท่านอื่นเห็นว่า ที่ท่านทั้งสองฉิบจากมรรคผลนั้น เพราะ ท่านทั้งสองตาย(ทำกาละ)เสียก่อนที่จะได้สดับอริยมรรค ต่างหาก. หาใช่ว่า อรูปฌาน ปิดกั้น มรรคผล แต่อย่างใด





มีพระสูตรที่ตรัสแสดงเรื่องที่ว่า ในโลกียฌานใดๆบ้างที่สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาไว้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาตหน้าที่ ๓๙๐ - ๓๙๑.

ฌานสูตร หัวข้อ240


และ จาก พุทธธรรม

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนา ไม่ได้


เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จัดได้ว่าเป็น สมาบัติจำพวกเสวยผล มิใช่ประเภทสำหรับใช้ทำกิจ

สมาบัติที่ต่ำ กว่านั้น คือ ตั้งแต่อากิญจัญญายตนะลงไป จึงจะใช้ได้ทั้งสำหรับเสวยผลและสำหรับทำกิจ ทั้งนี้เพราะยังมีสัญญาและธรรมอื่นๆ ที่ ประกอบร่วมอยู่ชัดเจนพอ

ดังที่ท่านเรียกอากิญจัญญายตนะว่า เป็น ยอดแห่งสัญญาสมาบัติ- (ขุ.จู.30/260/134 ฯลฯ) คือ เป็นสมาบัติชั้นสูงสุดที่ยังมีสัญญา หรือบางทีเรียกว่าสัญญัคคะ แปลว่า ยอดแห่งสัญญา หรือสัญญาอย่างยอด เพราะเป็นสมาบัติ โลกีย์ชั้นสูงสุดที่ใช้ทำกิจ

ได้ (ที.อ.1/424)



พอจะสรุปได้ว่า

เว้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว.... ทั้งรูปฌาน และ อรูปฌาน ที่เหลือทั้งหมด สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาได้



ปล.. ที่กล่าวข้างต้นนี้ คือ การใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง

เป็นคนล่ะประเด็น กับ รูปฌาน๑-๔ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค ซึ่งตรงจุดนี้ เป็น โลกุตระฌาน แล้วแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี บทธรรม จาก พระไตรปิฎก

เรื่อง โลกุตระฌาน จากการเจริญสติปัฏฐาน มานำเสนอเพิ่ม



อภิธรรมภาชนีย์

[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่

[เห็นกายในกาย]
[๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้
เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความ
ทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้
เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นเวทนาในเวทนา]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นจิตในจิต]
ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก-
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน

[เห็นธรรมในธรรม]
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


ที่มา:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... 260&Z=6310


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับ การที่ผมนำเสนอ สาระจาก พระสูตร

ในประเด็นที่ว่า จากพระสูตร มีการแสดง รูปฌาน๑-๔ ที่บังเกิดสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน(สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค) อยู่จริง นั้น




ผมอยากเรียนให้ ผู้ร่วมเสวนา และ เพื่อนสมาชิกทราบว่า

ผมไม่ได้มีเจตนา ที่จะไปเสนอว่า ทุกคนที่เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว จะต้องบังเกิดรูปฌาน๑-๔ให้เห็นกัน .....ถ้าไม่บังเกิดรูปฌาน๑-๔ให้เห็นกันถือว่าผิด.....
รวมทั้ง ไม่ได้สนับสนุนให้มุ่งเจริญสติปัฏฐานเพื่อให้เกิดฌาน ....แต่อย่างใด น่ะครับ

เพราะ แม้นแต่ รูปฌาน๑-๔ฌานที่บังเกิดขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐานจะจัดว่าเป็นโลกุตระฌานแล้ว แต่ ก็ยังถือว่า ไม่ใช่ที่สุดของการพ้นทุกข์....

ที่สุดของการพ้นทุกข์ ย่อมต้องเป็น เจโตวิมุตติที่ไม่กลับกำเริบ และ ปัญญาวิมุตติ นั่นเอง



อีกทั้ง ท่านผู้รู้เคยกล่าวไว้ว่า การเจริญภาวนาเพื่อมุ่งหมายฌาน ก็จะเป็นเหตุให้จิตเครียดเกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติที่นุ่มนวลควรแก่การงาน

เข้าลักษณะ ยิ่งอยากให้จิตเป็นฌาน มันยิ่งไม่เป็นฌาน!!!




ที่ ผมนำเสนอนี้ เหตุผลหลัก ก็คือ

เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบว่า คำว่า ฌาน นั้นเป็นคำเรียกรวมๆ เป็นได้ทั้ง โลกียะ และ โลกุตระ....

และ โลกุตระฌานที่ฤาษีนอกพระศาสนา(อริยมรรค)นี้ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็ เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐานสี่ นั้นเอง





บางท่าน อาจจะสงสัยว่า

ทำไม เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ไม่เห็นฌานปรากฏเลย?


ผมขอเรียนว่า ท่านที่เจริญสติปัฏฐานสี่แล้ว ไม่เห็นฌานปรากฏเลยนั้น...ไม่ต้องกังวลครับ

คือ ถึงแม้นว่า ในแนวทางทั้ง๔สู่อรหัตตผล (จาก ยุคนัทธวรรค ยุคนัทกถา) จะแสดงว่า ทุกแนวทางล้วนต้องบริบูรณ์ทั้งสมถะ (เอกัคคตาจิต) และ วิปัสสนา ก็จริง

แต่ เอกัคคตาจิต หรือ ฌานจิต นี้ ในแต่ละกลุ่ม(ที่มีจริตนิสัย และ ปัจจัยพื้นฐานแตกต่างกัน) ก็จะบังเกิดเอกัคคตตาจิตขึ้น ในเวลาที่ไม่เท่ากัน


ในกลุ่มที่มีนิสัยทางสมาธิ และ มีความสามารถแห่งเนกขัมมะดำริ ...สมถะจะเด่น และ ปรากฏตั้งแต่ต้น

ในกลุ่มที่มีนิสัยทางปัญญา ....สมถะจะไม่เด่น และปรากฏในตอนท้ายๆ

ในกลุ่มที่อยู่ระหว่างสองกลุ่มนี้... สมถะ และ วิปัสสนา ก็จะปรากฏเคียงคู่กันไป



ดังนั้น

ไม่ว่า เอกัคคตาจิต จะปรากฏขึ้นหรือไม่ในการภาวนา ฌ ขณะนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปกังวลแต่อย่างใดครับ

ขอเพียงมีสติสืบเนื่องกับการเจริญอริยมรรค และ ทุกข์น้อยลงเรื่อยๆ ...ก็ ถูกทาง ทั้งนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับ ประเด็น เนกขัมมะดำริ(ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ) กับ การที่มีแนวโน้มสมถะ(เอกัคคตาจิต) จะเจริญ นั้น



ขอเสนอพระสูตร

พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



ปล... เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น เป็นความหมายเดียวกับ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

พระสูตรนี้ กล่าวถึง

ความสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นเหตุให้สมถะ(เอกัคคตาจิต)เจริญก่อนวิปัสสนา




ขออนุญาต

เสนอให้ย้อนกลับไป ทบทวน เปรียบเทียบกันกับ ทันตภูมิสูตร ที่๕ อีกครั้ง

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0


พระสูตรนี้เริ่มจากการสนทนาระหว่างท่านสมณุทเทสอจิรวตะ(อัคคิเวสนะ) กับ พระราชกุมารชยเสนะ ในประเด็นที่ว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึง สำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้ ฯ

และ ในสุดท้าย พระราชกุมารชยเสนะ ก็สรุปด้วยภาวะมุมมองแห่งตนเอง(ที่ยังคงจมกามอยู่) ว่า ประเด็นนี้ เป็นไปไม่ได้...

คือ ไม่มีทางที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต ได้...



ท่านสมณุทเทสอจิรวตะ จึงมากราบทูลให้พระพุทธองคฺทรงทราบ และ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงธรรม ชี้เหตุผลกับท่าน

ใน พระพุทธเทศนานั้น บรรยายตั้งแต่ เหตุที่พระราชกุมารไม่อาจจะคาดหยั่งถึงการสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ เพราะ ยังคงจมอยู่ในกามอยู่ ว่า

ดูกรอัคคิเวสสนะ

พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน

ข้อที่ ความข้อนั้น เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ

แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้

นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ




จากพระสูตรต่างๆ เหล่านี้

บ่งชี้ว่า เอกัคคตาจิต(ฌานจิต) นั้น จะมีส่วนอาศัย เนกขัมมะดำริ เป็นพื้นฐาน


อนึ่ง

เนกขัมมะดำริ นี้ อาจจะไม่ใช่เพียง การถือศีลเนกขัมมะ(เช่น ศีล๘)เท่านั้น....

แต่ อาจจะครอบคลุม ถึง การที่ปกติเป็นผู้ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่ชอบแต่งตัว ไม่ชอบงานมหรสพรื่นเริง เป็นผู้ปกติมีอินทรีย์สังวร ในชีวิตประจำวัน

ดังเช่น เวลาที่ มีผู้เจริญอานาปานสติ แล้วจิตไม่สงบ ไปถามวิธีแก้ไข ครูบาอาจารย์ ท่านมักจะ แนะนำให้

พยายามใช้ชีวิตให้เรียบง่าย
รักษาศีลให้ดี
ระมัดระวังอารมณ์ (สำรวมอินทรีย์)
ๆลๆ

เช่น จาก

viewtopic.php?f=7&t=25447



ปล...

ท่านใดที่ภาวนาไปแล้ว ไม่เคยปรากฏเอกัคคตาจิตเลย นั้น

นอกเหนือ จากเหตุผลด้านจริตนิสัย ที่ ตนเองอาจจะเป็นผู้ที่เป็นปัญญาจริตแล้ว(มองโลกในแง่ดี :b6: )

ก็ อาจต้องทบทวนเรื่อง เนกขัมมะดำริ ศีล อินทรีย์สังวร ด้วย น่ะครับ...ว่า อาจจะยัง ไม่เพียงพอ ที่จะสนับสนุนการเกิดขึ้นแห่ง เอกัคคตาจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเองเพิ่งสมัครสมาชิกเข้ามา...

อ่านธรรมที่ท่าน ตรงประเด็น แสดงแล้ว..
เนื้อความ..ประเด็น..ตลอดจนการสรุป...ล้วนเป็นไปโดยธรรม..ไม่มีอคติ

ธรรมดา..ผู้รู้...ย่อมไม่สรุปอะไร..ที่ตัวเองไม่รู้จริง
และไม่กระทำไปโดยอคติลำเอียง...
ทุกสิ่งที่พิจารณาและการกระทำล้วนเป็นธรรม...
มิใช่กิเลสครอบงำบังคับบัญชาสั่งให้กระทำ

หาก..ผู้ศึกษา..ไม่ใช่ผู้รู้...การสรุปอะไร...ที่ตัวเองไม่รู้จริง..
ไม่เคยมีประสบการณ์...ผ่านเหตุการณ์นั้นๆ..จนเห็นคุณเห็นโทษ..
ด่วนสรุป...กระทำไปโดยฉันทาคติ..ชื่นชอบส่วนตัว..ลำเอียง...
นอกจากจะเป็นโทษต่อตนเองแล้วยังเป็นโทษต่อผู้อื่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 20.34 KiB | เปิดดู 3681 ครั้ง ]
สวัสดีครับท่านทั้งหลาย


เข้าร่วมอนุโมทนาครับ


สาธุ สาธุ สาธุ



[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ] เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร..
[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.



เจริญในธรรมครับ
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร