วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
อุ้ย จะรู้ตัวไหมเนียะ
ว่าคุณก็กลายเป้นคนไม่มีการศึกษา และไม่ได้อบรมตน
ไปเรียบร้อยหลังจากพูดคำนี้ออกนาล่ะครับ


คุณชาติสยาม Onion_L :b14: :b14: :b10:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เทวทหวรรค
๑. เทวทหสูตร (๑๐๑)
....
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความเพียรจึงจะมีผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑
ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑
ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑

เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร

อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอพึงเริ่มตั้งความ
เพียร

ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา

ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว

เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว ฯ

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ

พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์
พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก
ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่
เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้นมีความดำริอย่างนี้ว่า เรากำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย
สมัยต่อมาเขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ

ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ฯ
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้นแล้ว ฉะนั้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดกระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ

[๑๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไม่เอาทุกข์
ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้
หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จะยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง
ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้
เธอจึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมี
วิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมี
เหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุ
แห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้
ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญ
อุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 17:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




__BdRs&MksBint79k.jpg
__BdRs&MksBint79k.jpg [ 146.9 KiB | เปิดดู 4018 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณชาติสยามเขียน
มหาราชันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิรรยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่าเสมอไปครับ


ของจริงต้องมีปฏิกริยาสิครับ

แต่ถ้าเป็นธาตุรู้ ต้องมีปฏิกริยาเสมอ
ตั้งแต่จิตคนธรรมดาไปจนถึงจิตพระอรหันต์ ต้องมีปฏิกริยาเสมอ

ถ้าไม่มีปฏิกริยา มีกรณีเดียวคือ จิตต้องเป็นวัตถุธาตุชนิดหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม แม้แต่วัตถุธาตุในโลกนี้ ก็มีปฏิกริยาต่อกันอยู่เสมอ
ไม่มีสิ่งใดอยู่คงที่คงเดิมตลอดเวลา





มหาราชันย์ เขียน:
การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ


อุ้ย จะรู้ตัวไหมเนียะ
ว่าคุณก็กลายเป้นคนไม่มีการศึกษา และไม่ได้อบรมตน
ไปเรียบร้อยหลังจากพูดคำนี้ออกนาล่ะครับ


คนมีการศึกษาและอบรมตนดีแล้ว ใครด่าอย่างไร
เขาจะไม่พูดออกมาเลยครับ ย้ำคำว่า "...ไม่พูดออกมาเลย"

เขาเรียกว่า กระทบ แต่ไม่กระเทือน


smiley ท่านชาติสยามคะ
ดิฉันขออนุญาติแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยคนนึงนะคะ
ท่านมหาราชันย์ท่านมีนัยยะ หรือ ความหมายอย่างไร?
ลองถามท่านดูก่อนตัดสินใครดีกว่าไหมคะ?
ถ้าสนทนาธรรมกันในฐานะกัลยาณมิตร
การมีปฏิกริยาหรือไม่นั้นนัยยะอาจจะต่างกันหรือปล่าว?
เช่น ปฏิกริยาที่รู้ว่า เป็นเสียงอย่างเดียว
ด้วยเหตุที่จิตไม่ไปปรุงแต่งกับคำพูดที่ ส่อเสียด หยาบคาย
เพราะรู้อยู่ว่า นั่นคือกิเลสที่เข้ามายั่วยุให้เกิดปฏิฆะ เกิดโทสะ
ซึ่งผู้ที่ฝึกอบรมจิต ปฏิบัติดีแล้ว จิตตั้งมั่นดีแล้วย่อมไม่สร้างเหตุปัจจัย
ที่เป็นโทษหรือทุกข์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น เพื่อเป็นการก่อเวรแก่กันและกันน่ะค่ะ
เหตุดี ผลย่อมดีตามคุณภาพจิตค่ะ ดิฉันคิดว่าท่านชาติสยามเป็น 1 ในผู้ดูแลเว๊ฟบอร์ดแห่งนี้
ท่านคงเป็นผู้ที่มีกุศลจิตด้วยความเป็นกัลยาณมิตรที่เต็มเปี่ยมนะคะ
ลองถามท่านมหาราชันย์ดูถึงความหมายดีกว่าไหมคะ ?
ดิฉันหรือท่านอื่นๆจะได้อ่านศึกษาตามจากท่านผู้เจริญทั้งหลายค่ะ
อนุโมทนากับกุศลจิตของกัลยาณมิตรทุกๆท่านค่ะ สาธุ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 19:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณชาติสยาม

คำว่ามีการศึกษา ภาษาธรรมในพระพุทธศาสนาแปลว่า การปฏิบัติทางจิต การฝึกฝนจิต

เช่นดูก่อนพาหิยะ
เธอพึงทำความศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็นนะพาหิยะ


พระเสขะยังเป็นผู้ที่ต้องศึกษา
พระอเสขเป็นผู้ที่ไม่ต้องศึกษา


คำว่า ไม่มีการศึกษา แปลว่า ไม่มีการปฏิบัติทางจิต ไม่ได้รับการฝึกฝนจิต


คนด่าเราไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปมีปฏิกิริยาตามโกรธตอบเขาทุกครั้งหรอกครับ
และพระอรหันต์ท่านไม่มีปฏิกิริยาต่อคำด่าโดยไปโกรธตอบหรอกครับ เพราะท่านสิ้นอาสาวะกิเลสแล้วครับ สิ่งที่มากระทบพระอรหันต์ท่านใช้ปัญญาครับ



จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด อบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?




คุณชาติสยามจะเชื่อที่ผมตอบหรือไม่ ไม่มีผลอะไรกับผมครับ
ผมได้ให้ความเป็นกัลยาณมิตรและเมตตาธรรมกับคุณชาติสยามแล้วครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha.jpg
buddha.jpg [ 63.59 KiB | เปิดดู 3995 ครั้ง ]
f17.jpg
f17.jpg [ 23.27 KiB | เปิดดู 3993 ครั้ง ]
cool มหาราขันย์ เขียน:
ผม อาจมีหรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่า เสมอไปครับ การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ


ผู้มีปัญญาอบรมจิตไว้ดีแล้ว จะมี หรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ ด้วยความสามารถ และคุณภาพแห่งการตัดตรึกวิตกที่ได้อบรมด้วยมรรคภาวนานั้น

แต่ไม่ใช่มาทำการละกิเลสด้วยขณะที่ ไปรู้ว่าเป็น"เสียง"ที่ปรากฏ ว่าเป็น "เสียงด่า"

:b35: อะโห พุทโธ อะโห ธััมโม อะโห สังโฆ
:b18: จากโจทย์ที่ตั้งไว้ คุณมหาราชันย์ตอบมาแล้วมีผู้มาช่วยแสดงความเห็นอีกเยอะเลย ทั้งยังนิมิต มองเห็นควันมั่วกลุ้มขึ้นมาบังแสงสว่างของพระอาทิตย์ไว้ ดีจังเลย

คุณมหาราชันย์ได้สูญเสียโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากเสียงด่านั้นมา สืบสาว ค้นหา สมุทัย คือเหตุทุกข์ที่แท้จริง ไม่เป็นไปตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

การใช้สติมาตัดตอนเสียงและเวทนานั้นไว้ เป็นวิชาโบราณของเหล่าฤาษี ชีไพร พราหมณ์ ทั้งหลาย ยังไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้าจริงๆ แต่ก็ดีอยู่หรอก ใส่เบรกไว้ก่อนแล้วค่อยพิจารณาทีหลัง

ยกเว้นว่าคุณมหาราชันย์ได้ทำลายเหตุทุกข์ตัวแรก คือ อัตตทิฐิ หรือ สักกายะทิฐิตายขาดแล้ว จึงไม่มีเวทนาตอบโต้กับเสียงที่มากระทบหู ผู้ที่ไม่กระเทือนตอบโต้กับผัสสะทั้ง 6 ได้ เห็นมีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ส่วนอริยบุคคลชั้นต้นอีก 3 ท่านนั้นยังมีปฏิกิริยาอยู่บ้าง มาก น้อย ตามชั้นของท่าน ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วก็ขออนุโมทนากับคุณมหาราชันย์นะครับ

***น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่าคุณมหาราชันย์ก็ยังคงยกข้อความในตำรามารับรองคำพูดของตนอยู่อย่างเคย
ผมอยากจะได้ยินจริงๆ กับการอธิบายด้วยภาษาชาวบ้านธรรมดาๆ ให้เข้าใจง่ายๆแบบชาวบ้านๆ เป็นการวิเคราะห์การทำงานของกายและจิตว่าเมื่อเกิดการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 แล้วมีอะไรเกิดขึ้น นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อถอนสมุทัย เหตุทุกข์ออกจากจิตได้อย่างไร อยากฟังประสบการณ์จริงในการเผชิญอารมณ์ของคุณมหาราชันย์ ช่วงก่อนที่จะเก่งการใช้วิชาโบราณปิดกั้นอายตนะ นะครับ


*****สำหรับกัลยาณมิตรที่เป็นห่วงเป็นใยในกระทู้และอุณหภูมิในกระทู้นี้ อย่างเช่นคุณ....... ก็คิดว่าน่าจะสบายใจ เฝ้าติดตามต่อไปนะครับ เพราะกัลยาณมิตรและบัณฑิตทั้งหลายที่มาแสดงความเห็นกันในนี้ล้วนแล้วแต่มีการฝึกสติมาดี มีปัญญายับยั้งชั่งใจดี มีอัตตา ความเห็นผิด หรือ กู อันผอมบางกันเสียเป็นส่วนใหญ่ คงจะไม่มีอะไรหรอกครับ

******การแหย่รังแตน จะทำให้รู้ว่าแตนรังใหนดุ การแคะไค้ให้ไฟประทุ จะได้รู้ว่าเชื้อไฟใครยังเหลืออยู่มาก ผู้อ่านที่ดีย่อมจะตัดสินความด้วยวินิจฉัยอันเป็นธรรมของแต่ละท่านได้อยู่แล้ว

******ขอความเรืองปัญญา ดวงตาเห็นธรรม ความก้าวหน้าในการเจริญมรรคมีองค์ 8 จงบังเกิดมีแก่ทุกท่าน ทุกคนเทอิญ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2009, 02:28
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




seqe0n.jpg
seqe0n.jpg [ 48.98 KiB | เปิดดู 3971 ครั้ง ]
:b8: :b27: สวัสดีค่ะคุณอโศกะผู้เจริญ
ดิฉันยังเป็นผู้น้อยในทางโลกแห่งธรรมซึ่งยังต้องร่ำเรียนศึกษาจากผู้รู้ ผู้เจริญทั้งหลายอยู่อีกมาก
ขออนุญาติสนทนาธรรมกับท่านตามสติ ปัญญาของตนมีนะคะ ผิดถูกเช่นไร ขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


อ้างคำพูด:
ท่านอโศกะ เขียน
การใช้สติมาตัดตอนเสียงและเวทนานั้นไว้ เป็นวิชาโบราณของเหล่าฤาษี ชีไพร พราหมณ์ ทั้งหลาย ยังไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้าจริงๆ แต่ก็ดีอยู่หรอก ใส่เบรกไว้ก่อนแล้วค่อยพิจารณาทีหลัง

เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย อยู่โดยปกติจะใส่เบรคเพื่อประโยชน์อันใดคะ? ถ้าไม่มีการตรึกตรอง
การที่จะแยกแยะดี-ชั่วได้ ชนผู้นั้นต้องมีศีล มีกุศลจิตก่อน จึงสามารถแยกแยะดี-ชั่วได้ :b44:
เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็น สมุหทัย เป็นเหตุแห่งทุกข์
เช่น ถูก ค่อนแคะ ส่อเสียด ด่าว่า จากผู้ไม่หวังดีคนใด คนหนึ่ง
ก็เมื่อ มีกุศลจิต ที่รู้ว่า สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงดับที่เหตุแห่งทุกข์
เมื่อรู้ว่า กิเลส เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง :b20:
นั่นหมายถึงการที่สมควรจะใส่เบรค ยั้บยั้งว่าสิ่งใดเป็น อกุศล จึงควรละ
เพราะมีสัมมาสติ มีปัญญา จากการฝึกอบรมจิตด้วยทางเดินของมรรคมีองค์ 8
:b44: :b39: พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า สิ่งใดควรละ คือ กิเลส ความชั่วทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ
สิ่งใดควรเจริญ คือ กุศล ความดีงาม ทั้งหลายทั้งปวง เช่นเจริญพรหมวิหาร 4

อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตนของดิฉันที่ยังเป็นปุถุชนผู้น้อย
ที่น้อมรับการชี้แนะ การสนทนาทางธรรมจากท่านอโศกะและผู้ที่เป็นบัณฑิตทั้งหลาย
ว่าสิ่งที่ดิฉันกล่าวมานี้ ถูกหรือไม่ ประการใด ขอความเมตตาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย chefin เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 15:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
จากโจทย์ที่ตั้งไว้ คุณมหาราชันย์ตอบมาแล้วมีผู้มาช่วยแสดงความเห็นอีกเยอะเลย ทั้งยังนิมิต มองเห็นควันมั่วกลุ้มขึ้นมาบังแสงสว่างของพระอาทิตย์ไว้ ดีจังเลย

คุณมหาราชันย์ได้สูญเสียโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากเสียงด่านั้นมา สืบสาว ค้นหา สมุทัย คือเหตุทุกข์ที่แท้จริง ไม่เป็นไปตามหลักของวิปัสสนาภาวนา


กุศลจิตคือกามาวจรกุศลจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์ ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

รูปาวจรกุศลจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

อรูปาวจรกุศลจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

โสดาปัตติมัคคจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

สกทาคามีมัคคจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

อนาคามีมัคคจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา

อรหัตตมัคคจิตต่างหากเล่าจึงมีประโยชน์มากกว่า ไม่ใช่สียงด่ามีประโยชน์ตามหลักของวิปัสสนาภาวนา





อโศกะ เขียน:
การใช้สติมาตัดตอนเสียงและเวทนานั้นไว้ เป็นวิชาโบราณของเหล่าฤาษี ชีไพร พราหมณ์ ทั้งหลาย ยังไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้าจริงๆ แต่ก็ดีอยู่หรอก ใส่เบรกไว้ก่อนแล้วค่อยพิจารณาทีหลัง

ยกเว้นว่าคุณมหาราชันย์ได้ทำลายเหตุทุกข์ตัวแรก คือ อัตตทิฐิ หรือ สักกายะทิฐิตายขาดแล้ว จึงไม่มีเวทนาตอบโต้กับเสียงที่มากระทบหู ผู้ที่ไม่กระเทือนตอบโต้กับผัสสะทั้ง 6 ได้ เห็นมีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ส่วนอริยบุคคลชั้นต้นอีก 3 ท่านนั้นยังมีปฏิกิริยาอยู่บ้าง มาก น้อย ตามชั้นของท่าน ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วก็ขออนุโมทนากับคุณมหาราชันย์นะครับ


เพราะกุศลจิตในสมาธิคือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และมัคค 4 ผล 4 เป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้ง จิตเหล่านี้ย่อมไม่ยินดียินร้ายต่อเสียงด่า ฌานและวิปัสสนาเกิดร่วมเกิดพร้อมในจิตดวงเดียวกันเสมอ




อโศกะ เขียน:
***น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่าคุณมหาราชันย์ก็ยังคงยกข้อความในตำรามารับรองคำพูดของตนอยู่อย่างเคย
ผมอยากจะได้ยินจริงๆ กับการอธิบายด้วยภาษาชาวบ้านธรรมดาๆ ให้เข้าใจง่ายๆแบบชาวบ้านๆ เป็นการวิเคราะห์การทำงานของกายและจิตว่าเมื่อเกิดการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 แล้วมีอะไรเกิดขึ้น นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อถอนสมุทัย เหตุทุกข์ออกจากจิตได้อย่างไร อยากฟังประสบการณ์จริงในการเผชิญอารมณ์ของคุณมหาราชันย์ ช่วงก่อนที่จะเก่งการใช้วิชาโบราณปิดกั้นอายตนะ นะครับ


ภาษามคธหรือภาษาบาลีเป็นภาษาชาวบ้านธรรมดา ๆ อยู่แล้ว
เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ภาษาไทยก็เป็นภาษาชาวบ้านธรรมดา ๆ เช่นกัน
ภาษาที่ผมใช้ทุตัวอักษรเป็นภาษาชาวบ้านธรรมดา ๆ ครับ





อโศกะ เขียน:
*****สำหรับกัลยาณมิตรที่เป็นห่วงเป็นใยในกระทู้และอุณหภูมิในกระทู้นี้ อย่างเช่นคุณ....... ก็คิดว่าน่าจะสบายใจ เฝ้าติดตามต่อไปนะครับ เพราะกัลยาณมิตรและบัณฑิตทั้งหลายที่มาแสดงความเห็นกันในนี้ล้วนแล้วแต่มีการฝึกสติมาดี มีปัญญายับยั้งชั่งใจดี มีอัตตา ความเห็นผิด หรือ กู อันผอมบางกันเสียเป็นส่วนใหญ่ คงจะไม่มีอะไรหรอกครับ


แล้วอย่างผมนี่ไม่จัดว่าเป็นกัลยาณมิตรของคุณได้หรือครับ ??
ผมนำสิ่งที่ถูกต้องมาแสดงให้คุณอโศกะได้เรียนรู้ไม่ใช่หรือครับ ??





อโศกะ เขียน:
******การแหย่รังแตน จะทำให้รู้ว่าแตนรังใหนดุ การแคะไค้ให้ไฟประทุ จะได้รู้ว่าเชื้อไฟใครยังเหลืออยู่มาก ผู้อ่านที่ดีย่อมจะตัดสินความด้วยวินิจฉัยอันเป็นธรรมของแต่ละท่านได้อยู่แล้ว


คุณอโศกะเข้าใจว่าคุณหมดไฟกิเลสแล้วจริงหรือครับ ??
ไฟอวิชชาคุณดับได้หมดแล้วหรือครับ ??


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 11 ต.ค. 2009, 23:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2009, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ชาติสยาม เขียน:
อุ้ย จะรู้ตัวไหมเนียะ
ว่าคุณก็กลายเป้นคนไม่มีการศึกษา และไม่ได้อบรมตน
ไปเรียบร้อยหลังจากพูดคำนี้ออกนาล่ะครับ


คุณชาติสยาม Onion_L :b14: :b14: :b10:



คู๊นนนน

ทั้งสองคนแหละนะ

เด็กประถมยังรู้เลยนะว่า
การไปเที่ยวพูดว่าคนนั้นคนนี้ไม่มีการศึกษา คือคำหยาบ



อะ มาดูชัดๆ แยกเป็นสองส่วนนะ
มหาราขันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่า เสมอไปครับ การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ




ส่วนแรก ยกตัวเองขึ้นก่อน
มหาราขันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่า เสมอไปครับ


ส่วนที่สองก็คือการแสดงว่า ที่ยกตัวเองขึ้นนั้น เพื่อจะเหยียบอีกคนหนึ่งลง
มหาราขันย์ เขียน:
การมีปฏิกิริยาต่อเสียงด่าเป็นเรื่องของคนไม่มีการศึกษา ไม่ได้อบรมตนครับ



ทีนี้ยังภูมิใจอยู่ไหมล่ะ


ส่วนคุณสองคนน่ะ ต้นทุนมันเยอะ
อะไรต่อมิอะไรมันค้ำคออยู่

ส่วนผมน่ะ ต้นทุนมันน้อย ผมมันเลว ปากไม่ดี ไม่มีอะไรจะเสีย
เลยสบายตัว
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
สวัสดีครับคุณชาติสยาม

คำว่ามีการศึกษา ภาษาธรรมในพระพุทธศาสนาแปลว่า การปฏิบัติทางจิต การฝึกฝนจิต

เช่นดูก่อนพาหิยะ
เธอพึงทำความศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็นนะพาหิยะ

พระเสขะยังเป็นผู้ที่ต้องศึกษา
พระอเสขเป็นผู้ที่ไม่ต้องศึกษา

คำว่า ไม่มีการศึกษา แปลว่า ไม่มีการปฏิบัติทางจิต ไม่ได้รับการฝึกฝนจิต

คนด่าเราไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปมีปฏิกิริยาตามโกรธตอบเขาทุกครั้งหรอกครับ
และพระอรหันต์ท่านไม่มีปฏิกิริยาต่อคำด่าโดยไปโกรธตอบหรอกครับ เพราะท่านสิ้นอาสาวะกิเลสแล้วครับ สิ่งที่มากระทบพระอรหันต์ท่านใช้ปัญญาครับ


คุณชาติสยามจะเชื่อที่ผมตอบหรือไม่ ไม่มีผลอะไรกับผมครับ
ผมได้ให้ความเป็นกัลยาณมิตรและเมตตาธรรมกับคุณชาติสยามแล้วครับ

เจริญในธรรมครับ


แหม จะบอกว่าตัวเองพูดในจิตสมรรถนะพระพุทธเจ้าเหรือครับ
แรงนะเนียะ

ไปเที่ยวบอกว่าตัวคุณพูดว่าคนนั้นคนนี้ไม่มีการศึกษาโดยปราศจากกิเลส

อืมมมมม แต่ผมก็ยังอุตส่าห์จับผิดได้นะ มาดู

พระพุทธเจ้าพูดกับท่านพาทิยะ
ทั้งผู้พูดผู้ฟัง จิตอยู่ในสมรรถนะไหนแล้ว

แต่ว่าคุณมาพูดใ่ส่คุณอโศกะ
ถามว่าผู้พูดและผู้็ฟัง มีจิตอยู่ในสมรรถนะแบบไหนเหรอ

คนมีปัญญาจริง อบรมมาจริง เขาไม่พูดอย่างนี้หรอก
เพราะรู้ว่าผู้ฟังขุ่นเคืองใจ
เรียกว่า ผู้พูดฉลาด เพราะรู้จักพูดในสมรรถนะของผู้ฟัง
รวมความเมื่อพูดจบแล้ว คนพูดที่บอกว่ามีปัญญาอบรม
ก็ต้องตอบโจทย์ว่า ที่พูดไปนั้นน่ะ เป็นการประสงค์จะอนุเคราะห์หรืออะไรกันแน่


แต่ เอ่อ ตอนตบท้ายนี่นะ ไม่ได้ผลหรอก
ผมน่ะ "ชัคกี้...แค้นฝังหุ่น" รู้จักมั่งไหมล่ะน่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 01:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ส่วนผมน่ะ ต้นทุนมันน้อย ผมมันเลว ปากไม่ดี ไม่มีอะไรจะเสีย
เลยสบายตัว



ชาติสยาม เขียน:
ส่วนแรก ยกตัวเองขึ้นก่อน

มหาราขันย์ เขียน:
ผมอาจมีหรือไม่มีปฏิกิริยาก็ได้ครับ ผู้มีปัญญาอบรมตนเองไว้ดีแล้วไม่ใช่ได้ยินแล้วต้องมีปฏิกริยาต่อเสียงด่า เสมอไปครับ


ส่วนที่สองก็คือการแสดงว่า ที่ยกตัวเองขึ้นนั้น เพื่อจะเหยียบอีกคนหนึ่งลง





สวัสดีครับคุณชาติสยาม


1.ผมเป็นคนมีการศึกษาจริง ๆ ครับไม่ได้ยกตัวเองจริง ๆ ครับ และอบรมจิตมาดีจริง ๆ ครับ
2.ผมไม่ได้กดคนอื่นนะครับ จริง ๆ นะครับ เชื่อผมนะครับ




อ้อ คุณชาติสยามก็อย่ากด หรือเก็บกดตัวเองเพื่อผมมากเกินไปนะครับ เป็นอันตรายต่อสุขภาพนะครับ ผมเป็นห่วงคุณจริง ๆ นะครับ


มหาราชันย์ เขียน:
คุณชาติสยามจะเชื่อที่ผมตอบหรือไม่ ไม่มีผลอะไรกับผมครับ
ผมได้ให้ความเป็นกัลยาณมิตรและเมตตาธรรมกับคุณชาติสยามแล้วครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอิ๊กๆๆ

มาบอกให้เราเชื่อ
นี่ร่ำเรียนมาเสียเปล่าจริงๆนะ

อะไรเราทำ ดีชั่ว เรารู้แก่ใจ
ใครเขาคิดยังไงก็ช่างเขา
ไม่ต้องไปบอกให้เขามาเชื่อในความดีของเราหรอก
โลกธรรม 8 กล้วยๆ ไม่น่ามาตายน้ำตื้นนะ

มหาราชันย์ เขียน:
อ้อ คุณชาติสยามก็อย่ากด หรือเก็บกดตัวเองเพื่อผมมากเกินไปนะครับ เป็นอันตรายต่อสุขภาพนะครับ ผมเป็นห่วงคุณจริง ๆ นะครับ


555
นี่คุณบอกว่าผม "กด" เหรอเนียะ
จะสอนให้ดูนะ

ตัวคุณต่างหาก ที่กด กดมิดเลยล่ะ มิดจริง
ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่าพวก "หินทับหญ้า"

ผมนี่ เขาเรียกว่าพวก "ระเบิด" เป็นพวกหินกระแทกหญ้า
อย่ามาบอกผมเลิกกดสิ ผมนี่พวกต้องกด

คุณน่ะพวกต้อง"อย่ากด"

ไปถามครูบาอาจารย์ดูสิ
หรือไม่มี?


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 19:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
เอิ๊กๆๆ

มาบอกให้เราเชื่อ
นี่ร่ำเรียนมาเสียเปล่าจริงๆนะ

อะไรเราทำ ดีชั่ว เรารู้แก่ใจ
ใครเขาคิดยังไงก็ช่างเขา
ไม่ต้องไปบอกให้เขามาเชื่อในความดีของเราหรอก
โลกธรรม 8 กล้วยๆ ไม่น่ามาตายน้ำตื้นนะ

มหาราชันย์ เขียน:
อ้อ คุณชาติสยามก็อย่ากด หรือเก็บกดตัวเองเพื่อผมมากเกินไปนะครับ เป็นอันตรายต่อสุขภาพนะครับ ผมเป็นห่วงคุณจริง ๆ นะครับ


555
นี่คุณบอกว่าผม "กด" เหรอเนียะ
จะสอนให้ดูนะ

ตัวคุณต่างหาก ที่กด กดมิดเลยล่ะ มิดจริง
ภาษานักปฏิบัติเขาเรียกว่าพวก "หินทับหญ้า"

ผมนี่ เขาเรียกว่าพวก "ระเบิด"
พวกหินกระแทกหญ้า






หาได้ยากจริงๆเลยค่ะ ยอมรับตามความเป็นจริง :b32:

โดยไม่ต้องปลอมแปลงตัวเข้ามาหลายชื่อ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 ต.ค. 2009, 20:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




a_kao.jpg
a_kao.jpg [ 73.49 KiB | เปิดดู 3887 ครั้ง ]
ii308.jpg
ii308.jpg [ 59.63 KiB | เปิดดู 3887 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับ คุณ chefin คุณชาติสยาม คุณจอมราชันย์ มีเหตุ ปัจจัย เงื่อนไขให้ได้สนทนาธรมกัน เพื่อความแตกฉานแห่งสติ ปัญญา พาให้คิดข้อความออกมาโต้วาทะกัน พอหอมปากหอมคอ พอให้เพื่อนกัลยาณมิตรได้อ่านได้พิจารณา ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีนะครับ

********ถึงตรงนี้ขอใส่เบรค ผ่อนคันเร่งกันลงสักนิด มาคุยเรื่องสบายๆกันสักหน่อย จะได้ผ่อนคลายและคุยกันไปได้นานๆนะครับ :b8:

******** Onion_L "Friendchip is the Cement that Whole the World Togetter"

:b36: ********วิธีเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
หาที่อันสงัด ปูลาดอาสนะ ขัดสมาธินั่ง ตั้งกายให้ตรง หลังตรง คอตรง หัวตั้งตรง
มนสิการ ตั้งใจ
โยนิโสตั้ง สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ สมาธิ ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย
ที่สุดจะได้ รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่าเมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัสของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย


**********ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณามีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
*********แต่สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เป็นงานของวิปัสสนาภาวนาคือผู้ปฏิบัติทุกคนจะได้พบเห็นว่ามีสิ่งแปลกปลอม เกิดขึ้นมายุ่งกับทุกการกระทบสัมผัสทุกครั้งไป คือ
มีอุปาทานความเห็น ผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุดขึ้นมารับรู้เวทนา ตอบโต้กับเวทนา จนเกิดเป็นตัณหา ความอยากทั้ง ๓ อย่าง คือ กามตัณหา ความยินดีพอใจในสัมผัสทั้ง ๖
ภวตัณหา ความอยากได้ อยากเป็น อยากมี อยากเอา เมื่อพบกับอารมณ์ที่ชอบใจ เกิดเป็นโลภะ วิภวตัณหา ความยินร้าย ไม่ชอบใจเกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เกิดเป็นโทสะ ความขุ่นมัวและโกรธ หรือเกิดความไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ เกิดความวางเฉย เป็น อุเบกขา แล้วก็จะเกิดความปรุงแต่งไปด้วยอำนาจแห่งความยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ เป็นมโนกรรม เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรมไปตามลำดับ เมื่อกรรมครบองค์ ๓ ก็จะเกิดผล เป็นวิบากให้ผู้กระทำกรรมต้องได้รับผล เสวยผล เป็นบาป เป็นบุญ สุข ทุกข์ ไปตามกำลังแห่งกรรมที่ตนกระทำ หมุนเวียน สืบต่อกันไปทั้งวัน


*********เมื่อผู้ปฏิบัติมีญาณ คือปัญญา รู้ เห็นสิ่งแปลกปลอมคือ อุปาทานความเห็นผิดว่า เป็นอัตตา ตัวกู ของกู โผล่ ผุด ขึ้นมาในจิตอย่างนี้จนชัดเจนดีแล้ว ก็จงทำตามหัวใจการภาวนาดังที่สรุปไว้ที่ปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะได้พบเห็นว่า สัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องว่า เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู จะเกิดขึ้นมาแทนที่ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู มากขึ้น ๆ ความเห็นผิดเป็นอัตตา ตัวกู ของกูจะผอมลง เบาบาง จางลง ลดลง ๆ ไปเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไป ดับหาย ตายขาดไปจากจิตใจในที่สุด แล้วผลอันยิ่งใหญ่ คือนิพพานธาตุก็จะเกิดปรากฏขึ้นมาในจิตในใจของผู้ปฏิบัติให้รู้แจ้งด้วยตน เอง cool

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b19.jpg
b19.jpg [ 47.45 KiB | เปิดดู 3877 ครั้ง ]
tongue พระไตรปิฎก เล่มที่ 04
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




DSCN1198%20copy.jpg
DSCN1198%20copy.jpg [ 43.18 KiB | เปิดดู 3871 ครั้ง ]
smiley คำสอนที่สั้นและเรียบง่ายของพระพุทธเจ้า

ภิกขะเว ดูก่อน เธอผู้เห็นภัยในทุกข์ วัฏฏะสงสาร ความเวียนว่ายตายเกิดทั้งหลาย
อนัตตาโต ที่สภาวธรรม อันเกิดขึ้นเองเป็นเอง บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ของเรานั้น
อนุปัสสันโต เธอจงตามเฝ้าดู (สัมมาทิฐิ)
ภาวิโต เธอจงตามเฝ้าสังเกต พิจารณา (สัมมาสังกัปปะ)
พะหุลีกะโต ทำให้มาก เจริญให้มาก (ในการตามดูตามสังเกต พิจารณานั้น)
อภิญญายะ ถ้าเธอทำได้เช่นนั้นแล้ว มรรคญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สัมโพธายะ ผลญาณ ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
นิพพานายะ นิพพาน ย่อมจะเกิดขึ้นกับเธอ
สังวัฎฎะติ เป็นของเธอโดยชอบ ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป

:b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 87 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร