วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยบริกรรมธรรมดาจะได้ไหมครับ

ช่วยออกความเห็นกันหน่อย หรือใครมีประสบการณ์ก็เล่าให้ฟังบ้างครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมดา" ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

แบบนี้หรือเปล่าครับ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าบริกรรมแล้วสมาธิเกิดก็จะบรรเทาได้ แต่ไม่ดับนะครับ และถ้าต้องการระงับชั่วคราวก็คงจะต้องเข้าฌาณได้ แต่ถ้าต้องการดับนิวรณ์ 5 ได้เด็ดขาดบางตัว หรือทั้งหมด ก็ต้องเป็นอริยะบุคคลขึ้นไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ




เมื่อรับทานอาหาร อาบน้ำอาบท่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้หาที่เหมาะ ๆ ในห้องส่วนตัวภายในบ้านปิดประตูให้เรียบร้อย หรือในสวน หรือในที่สงัดจากผู้คน ไม่มีคนมารบกวนร้องเรียกให้ต้องลุกขึ้นจากที่นั่งได้สัก ๒ ชั่วโมง
เมื่อหาสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรมได้แล้ว ให้นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ หรือนั่งห้อยเท้าก็ได้ คือจัดท่านั่งให้สบาย ๆ พอเหมาะพอดีแก่สุขภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติด้วย อย่านั่งทนทุกข์ อย่าฝืนทนความเจ็บปวด เพราะเรากำลังสร้างกองกุศล ให้จำไว้ว่า กุศลผลบุญให้ผลเป็นสุขเท่านั้น ถ้าทุกข์เดือดร้อนกายใจเมื่อไหร่ นั่นแสดงว่าบาปอกุศลให้ผลแล้ว เป็นการปฏิบัติที่ผิดทางแล้วให้เลิกปฏิบัติทันที อย่าฝืนปฏิบัติไปนะครับ ควรเปลี่ยนท่านั่งเปลี่ยนอิริยาบทเสียใหม่ไม่อย่างนั้นจะเป็นการสั่งสมมิจฉาทิฏฐิ และอกุศลจิตไปโดยรู้เท่าไม่ถึงกาลครับ

เมื่อได้ท่านั่งที่สบายแก่ตนเองแล้ว ให้นั่งตัวตรง หลับตา หายใจลึก ๆ เต็มปอดให้สม่ำเสมอไปเรื่อย ๆ แล้วน้อมความคิด ( หรือจิตใจ ) มารับรู้ร่างกายของตัวเราเอง ท่องในใจว่าจิตมั่นคง ๆๆๆๆตัดความยินดียินร้าย หรือตัดความสนใจต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์อันเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอก เรื่องราวในอดีตอนาคตทิ้งไป ไม่ต้องใส่ใจ สนใจแต่ภายในร่างกาย ตั้งใจว่าภายนอกฟ้าจะถล่ม แผ่นดินจะทลายก็จะไม่สนใจหวั่นไหว
สนใจตั้งใจว่าจะนั่งหายใจลึก ๆ เต็มปอด เพื่อทำให้จิตใจมีกำลังเข้มแข็ง และท่องแต่เพียงว่าจิตมั่นคง ๆๆๆๆ เท่านั้น
การหายใจลึก ๆ เต็มปอดเต็มท้อง แล้วท่องว่าจิตมั่นคง ๆๆๆๆ อย่างนี้เรียกว่า มีการนึก (วิตก) มีการพิจารณาและปฏิบัติตามที่บริกรรม (วิจาร) เกิดขึ้น
นั่งหายใจลึก ๆ เต็มปอดเพื่อทำให้จิตใจมีกำลังเข้มแข็ง และท่องแต่เพียงว่าร่างจิตมั่นคง ๆๆๆๆ ต่อไป ให้แรงลมกระทบเย็นที่ช่องจมูก เย็นถึงกลางระหว่างคิ้ว และเย็นถึงลำคอ จนรู้สึกจิตใจแช่มชื่นกระปรี้กระเปร่า เย็นซาบซ่านตั้งแต่ท้ายทอยจนถึงกระหม่อม เย็นซาบซ่านตั้งแต่ท้ายทอยจนถึงแผ่นหลัง จนเย็นซาบซ่านไปทั่วตัวตลอดแขนขา หรือเกิดอาการขนลุก หรือน้ำตาไหล หรือตัวสูง หรือตัวพอง หรือตัวใหญ่ หรือตัวโยก หรือตัวโคลง หรือตัวสั่น หรือตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด หรือตัวหมุน หรือตัวลอยขึ้นจากพื้น อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏ หรือหลาย ๆ อย่างปรากฏพร้อมกันก็ได้ เช่นเย็นซาบซ่าน ขนลุกด้วย น้ำตาไหลด้วย ตัวโยกตัวโคลงสั่นด้วยก็ได้ ทำได้อย่างนี้เรียกว่า มีปีติ คือดีใจ ปลาบปลื้มใจ สนุกเพลิดเพลินสดชื่น อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน


มีสุข คือเบาสบายในร่างกาย อิ่มใจแช่มชื่นใจ สุขกายสุขใจ ไม่เจ็บไม่ปวดไม่เมื่อยอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
สภาวธรรม ๔ อย่างนี้คือการนึก (วิตก) , การพิจารณา (วิจาร) ,ปีติ คือดีใจ ปลาบปลื้มใจ และสุข คือเบาสบายในร่างกาย สุขกายสุขใจ เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนเครื่องยนต์ที่สตาร์ทติดแล้วไม่ดับ เหมือนสายน้ำที่ไหลไม่ขาดตอน เรียกว่ามีอารมณ์เป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ( เอกคตารมณ์ ) หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นบุญกุศลต่าง ๆ สามัคคีกันมาเกิดร่วมเกิดพร้อมกันในกายในจิตของเรา ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นของดี เป็นบุญเป็นกุศลไม่ต้องตกใจกลัว เพราะเป็นสภาวธรรมใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน



คาถาข้างบนนั้นเป็นบทอรหัตตมัคคครับ เป็นอริยสัจ 4 โดยย่อ อบรมจิตตามคาถาบทนี้ จิตย่อมเป็นสมาธิ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ครับ ถ้าปฏิบัติตามคาถาบทนี้ นิวรณ์ 5 ย่อมดับไป ท่านก็จะบรรลุปฐมฌานชนิดลักขณูปณิชฌาน ไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีที่ตั้ง ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ถ้าเลสยังเหลืออยู่มากอย่างน้อยก็บรรลุโลกียะปฐมฌาน เป็นวิปัสสนาจิต ถ้าสามารถกำจัดสังโยชน์ 3 ได้มีปีติสุขอุเบกขาไม่เสื่อมบรรลุปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระหรือโสดาปัตติมัคค และปฐมฌานที่เป็นโสดาปัตติผลครับ ท่านก็จะเข้าสู่กระแสพระนิพพานครับ


ขออนุโมทนากับท่านผู้อ่านทุกท่านที่ปฏิบัติตามจนบรรลุธรรมครับ


สาธุครับ


เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร