วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=18652

เมื่อเปรียบเทียบกับสุขที่ประณีต โดยเฉพาะนิพพานสุข กามสุขมีส่วนเสียหรือข้อบกพร่อง

ดังที่ควรกล่าวถึงนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว หรือที่ควรย้ำไว้อีก ดังนี้



1. ทำให้ชีวิตขึ้นกับสิ่งภายนอก ไม่เป็นตัวของตัวเอง เป็นทาสของวัตถุ มักหลอกให้นึกว่า

เราเป็นเจ้าของบังคับมันได้

แต่ยิ่งเข้ายึดถือครอบครองมันจริงจังมากเท่าใด เราก็ยิ่งหมดอำนาจในตัวกลายเป็นทาส

ของมันมากขึ้นเท่านั้น

ความเป็นทาสหรือขึ้นต่อกามคุณนั้น เป็นไปทั้ง 2 ขั้นตอน คือ

ก่อนที่จะได้รับรู้และเสพเสวย มันก็เป็นตัวบังคับและกำหนดทิศทางให้เราวิ่งแล่นไปทำการต่างๆ

เพื่อหาเอาเวทนาที่ชอบมาเสพเสวย

ถ้าเป็นไปอย่างรุนแรงก็ คือ มีชีวิตอยู่เพื่อมันเท่านั้น

ครั้นได้รับเอามาเสพเสวยแล้ว มันก็ปรุงแต่งเราให้วุ่นไปตามมันอีก โดยให้เกิดตัณหาตามด้วย

รัก โกรธ เกลียด โลภ หลง แล้วแสดงอาการต่างๆ ออกมาตามอำนาจกิเลสเหล่านั้น

เป็นไปตามกระบวนการที่ว่า ตัณหาปรุงให้หาเวทนา

พอได้เวทนาแล้ว เวทนาก็ทำให้เราปรุงแต่งตัณหาอีก วนเวียนเรื่อยไป

และขั้นสุดท้าย ความเปลี่ยนแปลงผันผวนปรวนแปรไปของสิ่งเหล่านั้น แม้ที่เป็นไปตามธรรมดา

ของธรรมชาติ ก็มีอิทธิพลบีบคั้นเข้ามาถึงชีวิตจิตใจของเรา ทำให้โศกเศร้าขุ่นหมองทุกข์ระทม

คับแค้นไปตาม

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ส่วนสุขที่ประณีตชั้นในเป็นนิรามิส คือ ไม่ต้องขึ้นต่อวัตถุภายนอก

เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง

นอกจากนั้น ยังเป็นหลักประกันที่ช่วยรักษาไม่ให้ลุ่มหลงหมกมุ่นในกามสุข

ช่วยคุ้มครองให้เกี่ยวข้องกับกามสุข ในทางที่เกิดโทษพิษภัย และไม่ให้เกิดความทุกข์

เพราะความบีบคั้นที่เกิดจากความผันผวนปรวนแปรของวัตถุ


2. ในเมื่อกามสุขต้องอาศัยกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งอยู่ภายนอก

คนที่อยู่ด้วยกามสุขจึงเท่ากับเอาความสุข รวมทั้งโชคชะตาของตนทั้งหมดไปฝากไว้กับสิ่งอื่น

ที่อยู่ภายนอก

และสิ่งภายนอกเหล่านั้น ก็ขึ้นต่อเหตุปัจจัยหลากหลายที่เป็นไปตามวิถีของมัน ซึ่งผู้แสวงกามสุขนั้น

บังคับควบคุมไม่ได้

จึงเป็นธรรมดาที่ว่า ผู้ที่เอาความสุขของตนไปฝากไว้กับสิ่งอื่น ซึ่งไม่แน่นอนเช่นนั้น

จะต้องเต็มไปด้วยโอกาส ที่จะพบกับความผิดหวัง และ ความยุ่งยากวุ่นวายนานัปการ

ยิ่งอยู่อย่างไม่รู้เท่าทันมากเท่าใด ก็ยิ่งประสบทุกข์ได้มากเท่านั้น


3. ทำให้ชีวิตหมุนวนอยู่แค่กระบวนการรับรู้ คือ อินทรีย์หรืออายตนะที่ติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก

อันนับได้ว่า เป็นกิจกรรมชั้นนอกของชีวิต และเป็นระดับที่ผิวเผิน

นอกจากนั้นการหมุนเวียนวิ่งตามมันไป นี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายไม่น้อย

ส่วนสุขชั้นในอันประณีต

ช่วยให้มนุษย์เป็นอิสระจากกระบวนการรับรู้นั้นได้บ้าง ทำให้รู้จักที่จะเป็นผู้อยู่ได้ โดยไม่ต้องขึ้น

ต่ออินทรีย์เหล่านั้น ไม่ต้องอาศัยมัน อย่างน้อยก็ได้พักผ่อน และหันมาพบกับส่วนที่ลึกซึ้ง

ลงไปอยู่ชั้นในของชีวิตบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:16, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. เพราะเป็นความสุขที่ขึ้นต่อวัตถุภายนอก

กามสุขจึงต้องอาศัยอารมณ์ที่จะเข้ามาป้อนให้แก่ตัณหาผ่านทางอินทรีย์ต่างๆ

ถ้าไม่มีอารมณ์ที่ต้องการป้อนเข้ามา ก็จะอยู่เป็นทุกข์


ส่วนสุขประณีตภายใน ไม่ต้องอาศัยอารมณ์ที่จะต้องถูกป้อนเข้ามา ผู้มีความสุขประเภทนี้

แม้จะขาดอารมณ์สนองอินทรีย์ก็สามารถอยู่เป็นสุขได้

นอกจากนี้ เพราะเหตุที่กามสุขต้องขึ้นต่ออารมณ์จากภายนอกนี้เอง

กามสุขจึงเป็นสุขชนิดที่อยู่กับตัวเองไม่ได้

ถ้าอยู่นิ่งก็จะกระสับกระส่าย ต้องร่านรนไปหาสิ่งที่จะเสพเสวย ซึ่งว่าตามความเป็นจริงแล้ว

อาการร่านรนกระสับกระส่ายเช่นนั้นล้วนเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น

แต่คนที่ร่านรนนั้นมักจะพยายามหลอกตัวเองให้มองข้ามหรือไม่มองเสีย และมองแต่ส่วนที่ตนประสบ

ได้เสพสม

ยิ่งกว่านั้น ครั้นได้เสพเสวยอารมณ์นั้นสมปรารถนา

แม้จะเป็นอารมณ์ที่ชอบใจถูกใจ ผู้เสพก็ไม่สามารถเสวยอารมณ์นั้นอยู่ได้นาน

ถ้าเสพอยู่นานก็จะกลายเป็นทนเสพ แล้วที่สุขก็จะกลายเป็นทุกข์

สุขจากกามจึงอาศัยการเปลี่ยนอารมณ์อยู่เรื่อยๆ และท่านจึงแสดงหลักไว้ว่า อิริยาบถทุกข์

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

ส่วนผู้รู้จักสุขลึกซึ้งด้านในแล้ว ย่อมไม่ถูกทรมานด้วยความร่านรนกระสับกระส่าย

สามารถเสวยสุขอยู่ในอาการอย่างใดอย่างหนึ่งได้นานๆ ตามใจปรารถนา เช่น กรณีของพระพุทธเจ้า

กับพระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น


5. กามสุขเป็นสุขที่ถูกตัณหาปรุงแต่ง อยู่ใต้อิทธิพลของตัณหา คือเนื่องด้วยความชอบใจ

ไม่ชอบใจที่สั่งสมเป็นความเคยชินไว้ ดังนั้น ผลจะปรากฏว่าอาการและลักษณะที่ชอบใจและไม่ชอบ

ใจนั้นผันแปรไม่แน่นอน

ของอย่างเดียวกัน การแสดงออกกิริยาท่าทางรูปลักษณะเดียวกัน คนหนึ่งชอบ

คนหนึ่งไม่ชอบ

คนหนึ่งเห็นเป็นสุข (ได้สุขเวทนา)

อีกคนหนึ่งเห็นทุกข์ (เกิดทุกขเวทนา) *

แม้แต่บุคคลเดียวกัน

คราวหนึ่งเห็นหรือได้ยินแล้วพอใจ

อีกคราวหนึ่ง เห็นหรือได้ยินแล้วขัดใจ

หรือในกรณีที่ต่างบุคคลรับรู้อารมณ์เดียวกันแล้วต่างก็ชอบใจ ก็อาจกลายเป็นเหตุให้ต่างบุคคลนั้น

เองกลับขัดใจซึ่งกันและกัน เพราะต่างก็ปรารถนาสิ่งเดียวกัน

ภาวะเช่นนี้นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ความขัดแย้งภายในจิตใจบุคคล ความกระทบกระทั่ง

ระหว่างบุคคลเป็นต้น เป็นต้นตอของความยุ่งยากเดือดร้อนวุ่นวายเป็นอันมาก ซึ่งทุกคนพอ

จะคาดคิดเห็นได้

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

ตรงข้ามกับความสุขไร้อามิสด้านใน เกิดแก่ใครเมื่อใด ก็มีแต่เป็นคุณ ให้ความสบายเป็นที่พอใจ

แก่ผู้นั้นทันที และเกื้อกูลแก่ผู้อื่นทุกคนที่เกี่ยวข้อง ยิ่งเป็นสุขกนได้มากคนออกไปก็ยิ่งดี

มีแต่ส่งเสริมกันให้เป็นสุขยิ่งขึ้น เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องแก่งแย่งช่วงชิงกัน จึงมีแต่จะนำไปสู่การระงับ

ปัญหาและความสงบสุข


6. โดยเหตุที่กามสุขเกิดจากการสนองระงับตัณหา ถ้าตัณหาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้รับการสนอง

ตัณหานั้นไม่ระงับไป ปมปัญหาก็เกิดขึ้นทันที ปมปัญหาหรือภาวะติดขัดบีบคั้นนั้นท่านเรียกว่า

ทุกข์ พอทุกข์เกิดขึ้น ผลเสียก็ตามมา ผลเสียนี้ถ้าไม่ขังอยู่ภายใน ก็ต้องหาทางระบายออกข้าง

นอก หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง

ผลเสียที่ขังอยู่ข้างใน ได้แก่อาการกลัดกลุ้มกระวนกระวายคับแค้นเศร้าหมาองและทุกข์ใจต่างๆ

รวมเรียกว่า ความหลงใหลฟั่นเฟือน ผลเสียที่หาทางออกข้างนอกอาจระบายทางเบา เช่น

เที่ยวขอความแนะนำช่วยเหลือในรูปต่างๆ

อาจะเป็นความช่วยเหลือแนะนำทางปัญญาและคุณธรรม หรืออาจไปแสวงหาความช่วยเหลือจากสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์อำนาจลึกลับดลบันดาลต่างๆ บ้างก็พยายามกลบเกลื่อนทุกข์ ด้วยกามสุข

ชนิดที่หยาบและร้อนแรงยิ่งๆขึ้นไป หรืออาจระบายออกทางรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น

ก่อเหตุขัดแย้งรุกรานผู้อื่น

หรือทำการในทางทำลายไปรอบตัว เท่าที่คนจะเกี่ยวข้องไปถึง เกิดพฤติกรรมที่เป็นภัยมากมาย

หรือไม่ก็หันกลับเข้ามาเกลียดชังตัวเอง ทำการเข้มงวดบีบรัดต่างๆ แม้กระทั่งทำลายตนเอง

เรื่องนี้มีพุทธพจน์ที่พึงสังเกตแห่งหนึ่งว่า


“ภิกษุทั้งหลาย เหตุก่อกำเนิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ?

ตัณหาเป็นเหตุก่อกำเนิด (นิทานสมภพ) แห่งทุกข์...ผลแห่งทุกข์เป็นไฉน?....

เรากล่าวว่าทุกข์มีความหลงฟั่นเฟือนเป็นผล หรือมีการหาทางเปลื้อง (ภายนอก) เป็นผล”

(องฺ.ฉกฺก. 22/334/365)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


* เคยมีการถกเถียงกันว่า ในกามคุณ 5 อย่าง อย่างไหนดีเลิศเป็นเยี่ยม

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าอยู่ที่ชอบหรือถูกใจ

( ดู สํ.ส.15/359/116)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 17:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การหาความสุขแบบสนองตัณหานี้ก่อปัญหาได้ทุกขั้นตอน ไม่เฉพาะในขั้นถูกขัดไม่ได้รับการสนอง

เท่านั้น

แม้ในขั้นแสวงหาสิ่งเสพเสวยต่างๆ มาสนองตัณหาก็ดี ในขั้นที่หามาได้และเสพเสวยสนองตัณหาแล้ว

ก็ดี

ปัญหาก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น กล่าวคือในขั้นแสวงหาก็อาจใช้วิธีการเบียดเบียน เป็นเหตุให้เกิดความ

ทุกข์ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

เมื่อได้มาเสพสนองแล้วก็อาจหลงใหลมัวเมาทะยานอยากมากและรุ่นแรงยิ่งๆขึ้น

ทำให้เกิดปัญหาในแง่อื่นๆต่อไปอีก

ปุถุชนชั้นดี จึงต้องใช้สติปัญญานำเอาคุณธรรมเข้ามาควบคุมพฤติกรรมของตน บรรเทาพิษภัย

ของตัณหาลงบ้าง

แต่วิธีคุมที่ช่วยให้ปลอดภัยได้มากคือ การให้คนผู้เสพกามสุขเหล่านี้ มีความสุขฝ่ายนรามิส

เป็นทางออก (นิสสรณะ) อยู่บ้าง

ทางออกหรือนิสสรณะนี้ จะช่วยผ่อนพฤติกรรมที่สืบเนื่องจากตัณหาให้ประณีตหรืออยู่ในขอบเขตที่ดี

งามได้อย่างมาก เพราะสุขฝ่ายที่ไม่ขึ้นต่ออามิสนี้ อยู่ด้านตรงข้ามกับตัณหา ปรากฏตัวขึ้นในเวลา

สร่างตัณหา มีอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยตัณหา ใครเข้าหาความสุขชนิดนี้ก็ย่อมพ้นจากพิษภัยที่จะเกิด

จากตัณหาของตนไปได้ทันที

เพราะกามสุขมีส่วนเสียอาจก่อโทษได้มากอย่างนี้ และมนุษย์ทั้งหลายก็ชอบหรือฝักใฝ่กามสุขกันอยู่

แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปกระตุ้นเข้าอีก

ดังนั้น ท่านจึงไม่สนับสนุนให้มุ่งหากามสุข ไม่ให้เอากามสุขเป็นจุดหมายของชีวิต

การทำบุญหรือทำความดีในทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม

ว่าตามหลักแท้แล้ว ท่านไม่สอนให้มุ่งหาผลตอบแทนเป็นกามสุข เช่น โชคลาภ ยศ เกียรติ

อำนาจ บริวาร การไปเกิดในสวรรค์เป็นต้น

แต่ท่านสนับสนุนให้ทำเพื่อมุ่งลดกิเลส ทำลายความสั่งสมก่อตัวของตัณหาเชื้อทุกข์

ทำให้ผู้ทำความดีนั้นประสบสุขประฯตที่ลึกซึ้งภายใน ซึ่งจะนำเอาคามร่มเย็นเป็นสุขมาให้ทั้งแก่ตน

และผู้อื่น

เกื้อกูลทั้งแก่ชีวิตของตนและแก่สังคม โดยมีนิพพานสุขเป็นจุดหมายสุดท้าย

ดังความในบาลีแห่งหนึ่งว่า

“บัณฑิตย่อมไม่ให้ทาน เพราะเห็นแก่ความสุขกลั้วกิเลส (อุปธิสุข คือสุขที่เป็นเหตุก่อทุกข์ได้อีก

มุ่งเอากามสุขเป็นสำคัญ) เพื่อจะมีภพต่อไปอีก

แต่บัณฑิตย่อมให้ทานเพื่อหมดสิ้นกิเลส เพื่อไม่มีภพต่อไปอีกโดยแท้

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

“บัณฑิตย่อมไม่บำเพ็ญฌาน เพราะเห็นแก่ความสุขกลั้วกิเลส เพื่อจะมีภพต่อไปอีก

แต่บัณฑิต ย่อมบำเพ็ญฌานเพื่อหมดสิ้นกิเลส เพื่อไม่มีภพต่อไปอีกโดยแท้


“บัณฑิตมุ่งภาวะเย็นใจ (คือนิพพาน) มีจิตโน้มไปทางนั้น น้อมใจไปในภาวะนั้น

จึงให้ทาน

บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมมีนิพพานเป็นที่หมาย เสมือนธารนทีไหลเรื่อยสู่กลางสาคร”

ขุ.ม.29/825/517

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2008, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:39
โพสต์: 316

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
คิดดี พูดดี ทำดี มองเเต่ดีเถิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ได้กล่าวมาในเรื่องความสุขนี้ เห็นควรสรุปให้เห็นขั้นตอนและประเภทชัดเจนขึ้น

อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะได้ ดังนี้




ก. เวทยิตสุข (สุขที่เป็นเวทนา หรือสุขที่มีการเสวยอารมณ์)

1. กามสุข สุขเนื่องด้วยกามหรือสุขเกิดจากกามคุณ

2.ฌานสุข สุขเนื่องด้วยฌานหรือสุขที่เป็นวิบากแห่งฌาน

-สุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4 ขั้น

-สุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4 ขั้น

-ข. อเวทยิตสุข (สุขที่ไม่เป็นเวทนา หรือสุขที่ไม่มีการเสวยอารมณ์)

3. นิโรธสมาบัติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ คือการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

นี้จัดตามหลักความสุข 10 ขั้น ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


แต่ในที่นี้จะขอจัดใหม่อีกอย่างหนึ่งซึ่งก็คล้ายกันมาก แต่ให้ความรู้สึกยึดหยุ่นหรือกว้าง

ออกไปสักหน่อย โดยแบ่งเป็น 3 ดังนี้


1. กามสุข สุขเนื่องด้วยกาม

2. ฌานสุข สุขเนื่องด้วยฌาน

3. นิพพานสุข สุขเนื่องด้วยนิพพาน

(ที่จัดอย่างนี้ถือตามแนวพุทธพจน์ใน ขุ.อุ.25/52/87 ที่ตรัสถึงสุข 3 อย่าง คือ กามสุข

ทิพยสุข และ ตัณหักขยสุข)



กล่าวโดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้เสพเสวยความสุขเหล่านี้ จะเป็นดังนี้

1. กามสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ มนุษย์ปุถุชน และอริยบุคคลชั้นโสดาบันและสกทาคามี

2. ฌานสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ มนุษย์ปุถุชนและอริยบุคคลทุกชั้น ตั้งแต่พระโสดาบัน

ถึงพระอรหันต์ เฉพาะท่านที่เจริญฌานชั้นนั้นๆได้แล้ว

3. นิพพานสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบัน

จนถึงพระอรหันต์


(แต่ต้องแยกออกไปอีก ถ้าเป็นผลสมาบัติสุข ก็ได้สำหรับผู้บรรลุผลชั้นนั้นๆ

ถ้าเป็นนิโรธสมาบัติสุข ก็ได้เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ที่ได้สมาบัติ 8 แล้ว)


ถ้าจัดโดยถือบุคคลเป็นหลัก การเสวยความสุขจะมีวิสัยดังนี้

1. มนุษย์ปุถุชน อาจเสวยกามสุขและฌานสุข

2. อริยบุคคลชั้นโสดาบันและสกทาคามี อาจเสวยกามสุข ฌานสุข และ นิพพานสุขประเภท

ผลสมาบัติสุข

3. อริยบุคคลชั้นอนาคามีและพระอรหันต์ อาจเสวยฌานสุข และนิพพานสุข ทั้งประเภท

ผลสมาบัติสุข และ นิโรธสมาบัติสุข (ถ้าได้สมาบัติ 8 แล้ว)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


หมายเหตุ

นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นผลของ สมถะ และ วิปัสสนา ร่วมกัน

เฉพาะอย่างยิ่งต้องอาศัยกำลังสมถะ ที่บริบูรณ์ คือ สมาธิที่บริสุทธิ์ มีกำลังดี

ไม่มีเชื้อกามฉันทะที่จะรบกวนได้

กามฉันทะก็คือ กามราคะ เป็นสังโยชน์ที่พระอนาคามีขึ้นไปจึงจะละได้

ดังนั้น จึงมีแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ มาก่อนแล้วเท่านั้น

ที่จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้


-เช่น วิสุทธิ.3/361-6; ปฏิสํ.อ.371

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:55, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งสำคัญที่พึงย้ำไว้เป็นพิเศษในเรื่องความสุขนี้ มีอยู่ว่า

พระพุทธศาสนาไม่สอนให้บุคคลทำการต่างๆเพื่อเห็นแก่ความสุขก็จริง แต่ก็ยอมรับความจริงอยู่เสมอ

ว่าความสุขเป็นส่วนสาระสำคัญที่จำเป็นของจริยธรรม เป็นสิ่งที่ให้ความหมายแก่การ

ประพฤติธรรม จะว่าเป็นหลักยึดหรือฐานค้ำชูของการประพฤติธรรมก็ว่าได้

ทั้งนี้ไม่ว่าจะพูดในระดับที่เรียกว่าการปฏิบัติธรรมก็ตาม หรือในระดับจริยธรรมทั่วไปก็ตาม

ความสุขที่พระพุทธศาสนาพูดถึงนี้ หมายเอาความสุขที่เป็นพื้นฐานอยู่ภายในจิตใจ

ซึ่งจิตใจสามารถสัมผัสได้เองทันทีทุกเวลาที่มันพร้อม ไม่ต้องอิงอาศัยกระบวนการรับรู้

ที่ขึ้นต่ออารมณ์ของโลกภายนอก เป็นความสุขที่ทำให้ชีวิตนี้มีความเป็นอิสระ ในส่วนของมันเองได้



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ความสำคัญและจำเป็นของความสุขสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม จะเห็นได้ดังที่กล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้น

และควรจะนำเอาสาระมากล่าวย้ำไว้อีกว่า

ผู้ปฏิบัติธรรมใด ถ้ายังไม่ประสบความสุขประณีตลึกซึ้งภายในที่ไม่อาศัยกาม ก็ยังวางใจไม่ได้ว่า

จะไม่เวียนกลับมาหากามอีก แม้ท่านที่บวชเป็นบรรพชิตแล้ว

ถ้าตราบใดยังไม่ได้สัมผัสความสุขประณีตลึกซึ้งภายในที่ไม่ต้องอาศัยอามิส ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่

ตราบนั้น กิเลสจะเข้าครอบงำใจ อาจให้ครองพรหมจรรย์อยู่ไม่ได้

ท่านชักชวนแม้แต่ปุถุชนให้พยายามสร้างสมความสุขชนิดนี้ไว้หรือให้รู้จักความสุขอย่างนี้ไว้บ้าง

เพราะนอกจากจะทำให้เขามีความสุขเพิ่มมากขึ้นจากกามสุขที่ตนมีอยู่เดิม เป็นการเพิ่มคุณค่าให้

แก่ชีวิตของตนแล้ว ยังทำให้ชีวิตมีทางออกในทางความสุข ที่จะไม่ต้องถูกบีบบังคับ

ด้วยตัณหาให้วิ่งพล่านร่านรนอย่างไม่มีขอบเขตจนก่อแต่ปัญหาต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งแก่ตนและแก่โลก

อาจพูดย้ำไปได้ทีเดียวว่า ถ้ามนุษย์ไม่ยอมหันมาทำความรู้จักกับความสุขฝ่ายนิรามิสไว้

และไม่เอาใจใส่ความสุขด้านนี้กันบ้างแล้ว

การโลดแล่นทะยานหาแต่กามสุขอย่างเดียวจะนำมนุษย์ไปสู่ความมีชีวิตที่ผิวเผินประกอบด้วยความ

คับแค้นกระวนกระวายเบื่อหน่ายระทมทุกข์ภายในจิตใจ และการแข่งขันแย่งชิง

เอารัดเอาเปรียบการเบียดเบียนตลอดจาการทำลายล้างระหว่างกัน จนในที่สุดมนุษย์จะพาตนเอง

และโลกไปสู่ความพินาศ

ในเมื่อแม้แต่ปุถุชนผู้อยู่ท่ามกลางการแสวงหากามสุข ความสุขด้านในยังจำเป็นถึงอย่างนี้

ผู้ที่ดำเนินชีวิตชนิดที่ปลีกออกหรือลดหรือเสียสละกามสุข ก็ยิ่งจำเป็นต้องเข้าถึงความสุขประเภทนี้

มากขึ้นเป็นทวีคูณ

ไม่ต้องพูดถึงผู้ที่ออกบวชหรือท่านที่เรียกว่ามุ่งปฏิบัติธรรมชั้นสูง

แม้แต่ผู้ที่บำเพ็ญตนเป็นนักเสียสละ ดำเนินชีวิตเพื่ออุดมคติ ก็จะต้องพยายามมีความสุขชั้นในนี้

ให้ได้บ้าง มิฉะนั้น ความเสียสละหรือความมีอุดมคตินั้นก็จะขาดหลักประกันที่มั่นคง

มีหวังที่จะพลาดหล่นจากอุดมคติ หมุนกลับลงมาหาระบบที่เป็นบาปร้ายได้อีก


พูดง่ายๆว่า ถ้าจะเสียสละก็จะต้องมีความสุขในการอยู่อย่างเสียสละด้วย

ถ้าจะมีอุดมคติ ก็จะต้องมีความสุขในความมีชีวิตตามอุดมคติด้วย และในวงกว้างออกไป

ก็ควรพูดว่า ถ้าทำให้คนรู้จักความสุขด้านในไม่ได้ ทำให้เห็นคุณค่าของความสุขด้านในนั้น

ไม่สำเร็จ การทะยานหากามสุขก็จะครอบงำมนุษย์ เป็นตัวกำหนดชะตากรรมของโลกโดยสิ้นเชิง

ต่อไป ไม่ว่าศาสนาปรัชญาหรือนักจริยธรรมจะระดมกำลังกันสั่งสอนมนุษย์ว่าอย่างใด.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ยังนึกภาพความสุขภายในที่ไม่อิงอามิสไม่ออก พึงพิจารณาอุทานสุขจากผู้ปฏิบัติท่าน
หนึ่งเทียบเคียงข้อเขียนดังกล่าวครับ



ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์ ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือ
ของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางใน อานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ
หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้ หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน ก็รู้สึกดีเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็น
แบบอัปปมัญญา ๔ กำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง ฯลฯ พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่า
กายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไป
หมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุข
ในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่) มัวแต่วุ่นวายทำ
อะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุข
ที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน (ส่วนใหญ่)ในโลก
กลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า
"นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจาก
นั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติ
ให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที)
แต่ไม่
สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทสรุป


เพื่อให้เห็นทัศนคติของพระพุทธศาสนาต่อความสุขชัดเจนยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปขยายข้อความที่อ้างไว้

ตอนต้น

บทความนี้ว่า จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา พึงบรรลุได้ด้วยความสุข

หรือ ด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือ ด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์


ครั้งหนึ่ง โพธิราชกุมาร กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความ

เห็นอย่างนี้ว่า ความสุขจะพึงบรรลุด้วยความสุขหาได้ไม่ ความสุขจะพึงบรรลุได้ก็ด้วยความทุกข์


พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ดูกรราชกุมาร ก่อนแต่สัมโพธิ เมื่อเป็นโพธิสัตว์

ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ แม้เราก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า ความสุขจะพึงบรรลุด้วยความสุขหาได้ไม่

ความสุขจะพึงบรรลุได้ก็ด้วยความทุกข์

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



พระพุทธเจ้าตรัสเล่าต่อไปว่า ด้วยพระดำริดังกล่าวนี้ ต่อมาพระองค์ก็ได้เสด็จออกบรรพชา

ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร จนจบความรู้

ของสำนักทั้งสองแล้ว เสด็จต่อไปจนถึงอุเวลาเสนานิคม แล้วทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ทรมานพระองค์ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดอดอาหาร จนร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง

ดังบาลีที่ตรัสเล่าไว้ว่า


“เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นแล อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา จึงกลายเป็นเหมือนเถาวัลย์

แปดสิบข้อ หรือ เหมือนเถาวัลย์ข้อดำ ตะโพกของเรา เป็นเสมือนเท้าอูฐ กระดูกสันหลังผุดระกะ

เหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงขึ้นนูนเป็นร่องๆ ดังกลอนศาลาเก่าที่เครื่องมุงหล่นโทรมอยู่

ดวงตาบุ๋มลึกเข้าไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึก ผิวศีรษะที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยว

แห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าสดที่ตัดมาทั้งสดๆ ถูกลมและแดดกระทบเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น

เราคิดว่า จะลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลัง คิดว่าจะลูบสันหลัง ก็จับถูกหนังท้อง

หนังท้องกับกระดูกสันหลังติดถึงกัน เมื่อคิดจะถ่ายอุจจาระ หรือ ปัสสาวะ ก็ซวนเซล้มลง ณ

ที่นั้นเอง เมื่อจะให้กายนี้มีความสบาย เอามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่า ก็หลุดร่วง

จากกาย”


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:55, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในที่สุดทรงพระดำริว่า

“สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าหนึ่งเหล่าใด ในอดีตกาล..ในอนาคต...ในปัจจุบัน ได้เสวย

ทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนแรงกล้าที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้

และด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้

เราก็หาบรรลุญาณทัศนะวิเศษที่สามารถทำคนให้เป็นอริยะ ซึ่งเหนือกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ

ได้ไม่

มรรคาเพื่อความตรัสรู้คงจะมีเป็นอย่างอื่นกระมังหนอ

“ดูกรราชกุมาร เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เรายังรู้ประจักษ์ใจอยู่

ในคราวงานวัปปมงคลของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ในร่มไม้หว้าอันเยือกเย็น สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

นี่กระมังหนอจะพึงเป็นมรรคาเพื่อความตรัสรู้

เรานั้นได้มีความรู้สึกชัดแล่นตามสติว่า นี่แหละ คือ มรรคาเพื่อความตรัสรู้

เรานั้นได้มีความคิดว่า เราจักกลัวต่อความสุขชนิดที่ปราศจากกาม ปราศจากอกุศลธรรม

ทั้งหลาย หรือ กระไรหนอ

และได้มีความคิดต่อไปว่า เราไม่กลัวความสุขชนิดที่ปราศจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย


“เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่บุคคลผู้มีร่างกายผ่ายผอมเหลือเกินอย่างนี้จะบรรลุความสุข

อย่างนั้นมิใช่จะทำได้ง่ายเลย

ถ้ากระไรเราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมสดเถิด”


ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุ

จตุตถฌาน และ ได้ตรัสรู้”

(ม.ม.13/488-508/443-461)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ทุกข์ในที่นี้ ได้แก่ ทุกกรกิริยา คือ การอดอาหาร (มิใช่ทุกขาปฏิปทา)

พวกนิครนถ์ก็มีความเห็นว่า สุขจะบรรลุได้ด้วยทุกข์ จึงได้บำเพ็ญตบะทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ


ดู ม.มู.12/220/187

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทาเพื่อบรรลุจุดหมายของพระพุทธศาสนาเป็นข้อปฏิบัติที่มีความสุขดังกล่าว แต่ก็มีข้อต้องระวัง คือ

ผู้ปฏิบัติจะต้องไปติดใจหลงใหลในความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่ปล่อยให้ความสุขที่ เกิดขึ้นนั้นครอบงำจิตใจ

ของตน ยังมีจิตใจเป็นอิสระ สามารถก้าวหน้าไปในธรรมเบื้องสูงต่อไป จนบรรลุความเป็นอิสระ

หลุดพ้นโดยสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อบรรลุจุดหมายนั้นแล้ว ก็สามารถเสวยความสุขที่เคยเสวยมาแล้วโดยที่ความสุข

นั้นไม่มีโอกาสครอบงำจิตใจทำให้ติดพันหลงใหลได้เลย

(ดู ม.มู.12/425-9/457-460)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนา สาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในบางกรณีที่เป็นการแสดงความหมายเชิงเปรียบเทียบ หรือ ยักเยื้องความเชิงภาษา

พระพุทธเจ้า ถึงกับทรงเรียกการหมั่นบำเพ็ญฌาน ๔ ว่า เป็นสุขัลลิกานุโยค คือ ความหมกมุ่น

ในความสุขชนิดหนึ่ง แต่เป็นการหมกมุ่นความสุขชนิดดีงามเป็นประโยชน์

เป็นไปเพื่อความตรัสรู้

เหตุที่ตรัสดังนั้น เพราะตามปกตินักบวชในสมัยพุทธกาล นิยมบำเพ็ญตบะและข้อปฏิบัติต่างๆ

ที่บีบรัดเข้มงวดทรมานตน ซึ่งเมื่อเทียบเข้าแล้ว ทำให้รู้สึกว่า การบำเพ็ญสมณธรรม

ในพุทธศาสนาผ่อนเบาสบายเป็นอย่างมาก

นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น จึงมักยกเป็นข้อตำหนิติเตียนว่า พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นอยู่ย่อหย่อน

สุขสบาย


ดังตัวอย่างพุทธพจน์ที่ตรัสในคราวหนึ่งว่า

“ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะซึ่งเป็นไปได้ คือ การที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

พวกพระสมณะศากยบุตรทั้งหลาย เป็นผู้ฝักใฝ่ประกอบตนหมกมุ่นอยู่ในความสุข

เธอพึงพูดกะอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่กล่าวอย่างนั้น ดังนี้ว่า สุขัลลิกานุโยค ชนิดไหนล่ะท่าน ?

เพราะว่า สุขัลลิกานุโยค มีมากมายหลายอย่างหลายประการ ?

“ดูกรจุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างต่อไปนี้ เป็นของทราม เป็นของชาวบ้าน

เป็นของปุถุชน เป็นอนารยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา หรือ วิราคะ

เพื่อนิโรธ เพื่อความสุข เพื่ออภิญญา เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

๔ อย่างไหน ?

กล่าวคือ คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์แล้วทำตนให้เป็นสุขเอิบอิ่ม...

บางคน ถือเอาของที่เขามิได้ให้แล้วทำตนให้เป็นสุขเอิบอิ่ม...

บางคน พูดเท็จแล้วทำตนให้เป็นสุขเอิบอิ่ม...

บางคน พรั่งพร้อมเต็มที่บำรุงบำเรอตนด้วยกามคุณทั้ง ๕...


“ดูกรจุนทะ สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างต่อไปนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อนิพพิทา เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธ

เพื่อความสุข เพื่ออภิญญา เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

๔ อย่างไหน ?

กล่าวคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุทุติยฌาน

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุตติยฌาน

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุจตุตถฌาน”

(ที.ปา.11/114-5/143-5)


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

สุขัลลิกานุโยค การประกอบตัวให้พัวพัน หรือ หมกมุ่นในความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 18:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00029_10.gif
00029_10.gif [ 20.8 KiB | เปิดดู 5793 ครั้ง ]
ความที่กล่าวมานั้น สอดคล้องกับหลักการทั่วไปเกี่ยวกับความสุขตามคำสอนของพระพุทธศาสนา

หลักการทั่วไป หรือ หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาสำหรับปฏิบัติต่อความสุขมี ๓ หัวข้อ

ดังพุทธพจน์ว่า



“ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามจะมีผล ความเพียรจะมีผลได้อย่างไร ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม

๒. ไม่ละทิ้งความสุขที่ชอบธรรม

๓. ไม่หมกมุ่นสยบในความสุขนั้น”


(ม.อุ. 14/12/13)


(ตรัสเพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนา กับลัทธิของนิครนถ์ ซึ่งเป็นคำสอนประเภท

อัตตกิลมถานุโยค)


นี้เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐาน ที่ชาวพุทธจะพึงใช้ปฏิบัติในการเกี่ยวข้องกับความสุข

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักการที่เป็นแกนกลางให้อย่างนี้ แต่ความละเอียดอ่อน ความกว้างขวาง

ลึกซึ้ง แห่งความเข้าใจเกี่ยวกับสุขก็ยังแตกต่างกันออกไป และเป็นข้อที่พึงนำมาพิจารณา

ประกอบด้วย เช่น

ผู้ที่เห็นโทษของกามสุข เบื่อหน่ายกามสุขแล้ว และด้วยความมุ่งหวังความสุขที่ประณีตขึ้นไป

จึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติบางอย่าง ซึ่งบางตอนมีลักษณะยากลำบาก

คนผู้ยังข้องอยู่ในกามสุข อาจมองการกระทำของเขาว่า เป็นการหาทุกข์มาใส่ตัวก็ได้


ในกรณีเช่นนี้ เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว

เบื่อหน่ายกามสุขอยู่แล้ว ซึ่งการอยู่ในกามสุขกลับกลายเป็นความทุกข์สำหรับเขา ก็ดี


หรือ แม้ยังไม่พร้อมดีนัก

แต่มองเห็นโทษของกาม

เห็นคุณของความสุขที่ประณีตกว่า และมีความหวังว่า จะได้สุขที่ประณีตนั้น ก็ดี


ข้อปฏิบัติที่ยากลำบากนั้น ก็กลายเป็นแบบฝึกหัดสำหรับฝึกตน

ถ้าหากบุคคลนั้นสมัครใจจะฝึก และข้อปฏิบัตินั้น ก็ไม่เลยเถิดไปจนกลายเป็นการทรมาน

ท่านก็ยอมให้ในความหมายที่ว่าเป็นการฝึกนั้นแล


นอกจากนั้น ความเป็นอยู่บางด้านของผู้ประสบสุขอันประณีตแล้ว

บางครั้ง เมื่อมองในสายตาของคนที่ข้องในกามสุข อาจเห็นเป็นความทุกข์ไปก็ได้

เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในความสุขอันประณีต มองเห็นความเป็นอยู่ของคนที่ข้องอยู่ในกามสุขว่า

เป็นความทุกข์

แต่ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในภาวะนั้นเอง ย่อมรู้ตัวว่าตนมีความสุขหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ม.ค. 2010, 12:46, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นอันว่า ปัญหาที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่นิยมสุข หรือ นิยมทุกข์

ใฝ่สุข หรือ ใฝ่ทุกข์ เป็นอันตัดทิ้งไปได้แล้ว

ยังเหลือปัญหาแต่เพียงในแง่ของความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย หรือ ขอบเขตความลึกซึ้ง

ของความสุข และ ปัญหาแง่นี้ก็สรุปลงได้อีก คือ เหลือเพียงการเลือกระหว่างกามสุข

กับสุขที่ประณีตกว่ากามสุข ซึ่งในแง่นี้ ท่านถือว่า ความสุขประณีตสำคัญกว่า

ควรมีความสุขประณีต หรือ ไม่ก็มีทั้งกามสุข และ สุขประณีตด้วย


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

หลักการทั่วไป สำหรับการก้าวจากระดับกามสุขไปสู่สุขที่ประณีตกว่า ก็คือความพร้อมและการฝึก

และก็มีหลักทั่วไปตามมาอีกข้อหนึ่งว่า

บุคคลทุกคนควรมีความสุขอันชอบธรรมที่เหมาะสมกับระดับชีวิตของตน หรือ ที่เป็นผลแห่งความ

เพียรพยายามฝึกฝนตนเอง อย่างน้อยหนึ่งขั้น

หากผู้ใด ขาดความสุขที่พึงได้พึงถึงทั้งสองด้าน เช่น กามสุขก็สูญไปแล้ว ความสุขประณีตก็มิได้

ปฏิบัติตัวเพื่อให้ได้

คนนั้น ท่านถือว่าเป็นผู้มีชีวิตพลาดที่สุด


โดยนัยนี้ พระภิกษุผู้สละกามสุขไปแล้ว และมิได้ตั้งใจฝึกฝนตนเพื่อความสุขที่ประณีต

หรือ ฝึกไม่สำเร็จ จึงอยู่ในฐานะตกต่ำ เป็นผู้พลาดจากประโยชน์ยิ่งกว่าชาวบ้านที่เสพกามสุข

ท่านว่าน่าสงสารกว่าคฤหัสถ์

ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ แต่เป็นผู้มีความละโมบ มีราคะแรงกล้าในกาม

ทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจที่แรงร้าย มีสติเลอะเลือน ไร้สัมปชัญญะ

ใจไม่มีสมาธิ จิตพล่าน ปล่อยอินทรีย์ไม่สำรวม

บุคคลนี้ เรากล่าวว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนเผาผีที่ไฟไหม้เสียแล้วทั้งสองข้าง อีกตรงกลาง

ก็เปื้อนคูถ

จะใช้ประโยชน์เป็นเครื่องไม้ในบ้านก็ไม่ได้ผล เป็นเครื่องไม้ในป่าก็ไม่ได้ผล

โภคะ ของคฤหัสถ์ เขาก็เสื่อมไปเสียแล้ว ประโยชน์ที่มุ่งหมายของความเป็นสมณะ

เขาก็ทำให้บริบูรณ์ไม่ได้”


(สํ.ข.17/167/113 ฯลฯ)


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพิจารณาโดยถือกามสุขเป็นหลัก พอจะสรุปแนวทัศนะของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความสุขได้ดังนี้


๑. กรณีที่เสวยกามสุข



ก. ขั้นดีเลิศ คือการเสวยกามสุข พร้อมทั้งรู้จักความสุขอย่างประณีตด้วย

ความสุขอย่างประณีตด้วยนั้น จะเป็นเครื่องคุ้มครองรักษาและค้ำประกันให้การเสวยกามสุข

อยู่ในขอบเขตแห่งความดีงาม ให้เสวยกามอย่างมีศีลธรรม ไม่ก่อปัญหาทั้งแก่ตนและคนอื่น

แต่สามารถเป็นอยู่อย่างเกื้อกูลทำให้เกิดประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและสังคม โดยมีลักษณะทั่วไปคือ

รู้เท่าทันเห็นโทษอันได้แก่ช่องเสียหรือแง่ที่บกพร่องของกามสุขนั้น รู้จักประมาณในการเสพเสวย

ไม่หลงใหลมัวเมา เช่น ในทางเพศ

ผู้มีครอบครัวก็มีสทารสันโดษ คือความพอใจอิ่มอยู่แต่คู่ครองของตน อยู่ร่วมกันด้วยธรรม เช่น

จงรักภักดีต่อกันและชักจูงกันให้เจริญก้าวหน้าในความดีงาม และ ความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป เช่น

คู่อริยสาวกบิดมารดาของนายนกุล เป็นต้น

(องฺ.จตุกฺก. 21/55/80)


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ข. ขั้นดี คือการเสวยกามสุขที่มีศีลธรรม แต่ยังห่างเหินจากความสุขอย่างประณีต

มีลักษณะคล้ายกับการเสวยกามสุขขั้นดีเลิศนั่นเอง คือ เสวยกามสุข ไปตามปกติธรรมดา

โดยยอมรับและรู้เท่าทันความจริงว่า เมื่อมีกามก็ต้องมีทุกข์บ้างเป็นคู่กัน

มองเห็นแง่เสียหรือโทษของกามนั้น แล้วดำเนินชีวิตอย่างมีทุกข์น้อยที่สุด

ให้กามเกิดโทษก่อปัญหาน้อยที่สุด ในหมกมุ่น รู้จักประมาณและพยายามปฏิบัติตนให้เป็นที่เกิด

ของประโยชน์สุขให้มาก

แต่เพราะยังขาดความสุขอย่างประณีตไว้เป็นทางออกสลับเลือกที่ดีกว่า

จึงยังเสี่ยงต่อการที่จะถูกล่อเร้าให้ถลำลึกลงไปในกามสุข ยังอาจกลับหมกมุ่นสยบได้อีก

ไม่มั่นคงปลอดภัยแท้จริง


ค. ขั้นทราม คือการเสวยกามสุขอย่างหมกมุ่นมัวเมา จิตใจฝักใฝ่หลงใหลครุ่นคิดอยู่

แต่ในเรื่องการแสวงหาและปรนเปรอตนด้วยสิ่งเสพเสวยต่างๆ มีลักษณะเด่น เช่น ในเรื่องอาหาร

และเรื่องทางเพศมีการกระตุ้นปลุกเร้าให้มีความตื่นเต้นความเครียดความกระสับกระส่ายร่านรน

กระวนกระวาย อย่างเกินเลยกว่าระดับที่เรียกกันว่าเป็นความต้องการตามธรรมชาติของการกินอาหาร

และการสืบพันธ์

อาจปรุงแต่งวิธีการและอุปการณ์ต่างๆขึ้นมาเพื่อปลุกเร้าความเครียดกระวนกระวายเช่นนี้ โดยอาศัย

ความต้องการที่เรียกกันว่าตามธรรมชาตินั้น เป็นเพียงเชื้อสำหรับจุดไฟแล้วโหมความอยากเร้ารุน

หรือร่านรุนให้รุนแรง มากกว่าปกติและให้เป็นไปอยู่บ่อยๆ หรือเนืองนิตย์ แม้กระทั่งถึงขั้นที่เรียกว่า

วิปริต

ในสภาพเช่นนั้น

การกินอาหารที่มิใช่เพื่อหล่อเลี้ยงกาย และเพศสัมพันธ์ที่มิใช่เพื่อการสืบพันธ์ จะเป็นไป

อย่างโดดเด่นจ นถึงขั้นหมดสำนึกต่อจุดหมายดั้งเดิม กลายเป็นกิจกรรมเสพเสวยเพื่อสนองตัณหา

อย่างเดียวล้วน หรือ กามเพื่อกามโดยสิ้นเชิงและตามมาด้วยภาวะที่เรียกได้ว่าอยู่เพื่อกามหรือมีชีวิตอยู่

เพื่อกินเสพเท่านั้น

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 16:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร