วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 01:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




802.jpg
802.jpg [ 30.52 KiB | เปิดดู 3030 ครั้ง ]
สวัสดีครับท่านเช่นนั้น

วันนี้มีญานที่ ๓๑ : วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ.....มาฝากครับ



ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ


ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณอย่างไร


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “สังขารนิมิต” โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ

.....พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ



พระโยคาวจร.....


.....พิจารณาเห็น “รูปนิมิต” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีนิมิตแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ


.....พิจารณาเห็น “ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้งแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


.....พิจารณาเห็น “ความถือมั่นว่ารูป” โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว
...........คำนึงถึงนิพพาน อันเป็นที่ดับว่างเปล่าแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

พิจารณาเห็น “ชราและมรณนิมิต”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีนิมิต
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับไม่มีที่ตั้ง
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


พระโยคาวจร.....

.....พิจารณาเห็น “ความยึดมั่นชราและมรณะ”
...........โดยความเป็นภัย
...........มีจิตน้อมไปในนิพพานอันอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้ว
...........ย่อมเห็นความเสื่อมไป
...........เพิกเฉยความเป็นไป
...........คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่างเปล่า
ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น

ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ
ท่านมหาราชันย์

73 พระญาณ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ อ่านแล้วชื่นใจครับ
พระญาณที่ 31 ชื่อว่า วิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

ก็เป็นญาณหนึ่งที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ มีลักขณูปนิชฌานเป็นบาท แห่งวิปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ในบทที่เป็นการแสดงนิยามตามที่เ่ช่นนั้นเข้าใจ เช่นนั้น ไม่ได้ปราถนาจะแสดงความเห็นว่า เช่นนั้นถูกหรือผิด และไม่ต้องการให้ท่านแสดงความเห็นว่าถูกหรือผิดเช่นกัน
ช่องว่างที่เป็นจุดปะไข่ปลา มีไว้เพื่อให้ท่านแสดงนิยาม ที่ท่านเชื่อว่าถูกต้อง เหมือนที่เช่นนั้นก็แสดงในส่วนของเช่นนั้น ว่าเช่นนั้นเชื่อถูกต้อง
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจประเด็นว่าอะไรตรงกันอะไรไม่ตรงกัน เท่านั้นเอง
ก็ขอความกรุณา แสดงนิยามของท่านปะกบ กับนิยามของเช่นนั้น เท่านี้เองละครับ
เจริญธรรม


ถ้าอย่างนั้น ต้องขอประทานโทษครับ ผมต้องรีบด้วยภารกิจ เลยไม่ค่อยสังเกต

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ

กามโภคี : ขณะรูปหรือนาม หรือขณะรูปและนามปรากฏอยู่เฉพาะในเวลานั้น เช่น
ตาเห็นรูปในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่า ปัจจุบันขณะนั้น (ตา+รูป เป็นรูป จิตที่รู้รูป เป็นนาม) หรือ
ฟุ้งซ่านในขณะใด ขณะนั้นชื่อว่าปัจจุบันขณะ (ฟุ้งซ่าน(สังขารเจตสิก)และจิตที่รู้ความฟุ้งซ่าน ทั้ง ๒
อย่างนี้เป็นนาม)
การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต

กามโภคี : ตามระบบ ๑.เป็นสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เมื่อเข้าเขตวิปัสสนา จะเป็นรูปและนามที่พ้นจาก
สมมติสัจจะ ยกรูปและนามพิจารณา(เห็น)ไตรลักษณ์ และพิจารณา(เห็น)อริสัจ ๒ คือทุกข์ สมุทัย ตาม
ลำดับ(อุทยัพยญาณขึ้นไป-วิปัสสนา) ครอบงำโคตรปุถุชนและเข้าสู่อริยะโคตรด้วยอริสัจ ๒ คือ นิโรธ
และมรรค(โคตรภูญาณ)(สมถะ,วิปัสสนา) เข้าสุ่มรรคญาณ ผลญาณและปัจจเวกขณะญาณ

สังวรปธาน
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์

กามโภคี :ในการปฏิบัติ ใช้วิธีสำรวมอินทรีย์ ๖ ด้วยวิธีของสติปัฏฐาน ๔ มีสติรู้กาย เวทนา จิต และ
ธรรม เพราะเป็นวิธีที่ป้องกันบาปอุกศลธรรมที่ดีที่สุดในการปฏิบัติ (สติปัฏฐาน ๔ อาศัยสัมมัปปธาน ๔
และ สติปัฏฐาน ๔ ทำให้สัมมัปปธาน ๔ บริบูรณ์) (ข้อนี้เป็น ๑ ใน ๔ ของ สัมมาวายาโม)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สังวรปธาน


คำว่าพยายาม และ ปรารภความเพียร แสดงว่าจิตขณะนั้นอยู่ในสภาวะ อารัทธวิปัสสนา แต่ยังไม่ถึง
มรรคญาณ ฯลฯ
คำว่า ประครองจิต ตั้งจิตไว้ หมายถึง การระวังไม่ให้จิตที่รู้ ตกไปในยินดียินร้ายต่อรูปและนามที่ปรากฏ
อยู่ ยังไม่ถึงมรรคจิต เพราะอยู่ในขั้นพยายาม
จะเป็นสภาวะในมรรคจิตได้ ต้องครบทั้ง ๔ อย่าง สังวรปธานอย่างเดียวเป็นมรรคจิตไม่ได้ เพราะตาม
ระบบเจริญมรรค ถ้าไม่ครบ ๔ อย่าง ไม่จัดเป็นสัมมาวายาโม
(จะต้องครบทั้ง ๔ ของปธาน เพราะหน้าที่ของวิริยะทั้ง ๔ ต้องครบในขณะประหารกิเลส)

สติ
เช่นนั้น: เกิดพร้อมกุศลจิตอยู่แล้ว ละภิชฌาโทมนัสเสียได้คือสติ เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

กามโภคี:ในการปฏิบัติวิปัสสนา สตินั้น ถ้าไม่อยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่สติชอบ ทั้งนี้ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
สติ+ปัฏฐาน แปลว่า ที่ หรือ ฐานะที่ควรนำสติไปตั้งไว้ ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

วิปัสสนา
เช่นนั้น : เกิดร่วมเกิดพร้อมกับสมถะในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่เกิดก่อนหลังกันได้ในจิตดวงเดียวกัน แต่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ในจิตวิปัสสนา

กามโภคี:การเห็นลักษณะเฉพาะและลักษณะพิเศษของรูปและนาม โดยความเป็นปรมัตถ์ เช่น ร่างกาย
ที่เป็นส่วนธาตุดินมีลักษณะแข็ง และ ลักษณะพิเศษของไตรลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในรูปและนามนั้น
สมถะ เป็นชื่อของสภาวะจิตที่สงบ ปราศจากนิวรณ์ เป็นผลมาจากการปฏิบัติวิธีใดวิธีหนึ่ง และปรากฏชัด
ในขณะเข้าสู่โคตรภูญาณ

เช่น นั้น: วิปัสสนา ใช้สมถะที่เป็นลักขณูปณิชฌาน คือเป็นปฐมฌาน ทุติยะฌาน ตติยะฌาน และจตุตถฌานชนิดสุญญตะ หรือชนิดอนิมิตตะ หรือชนิดอัปณิหิตตะ ประกอบกับปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจิตวิปัสสนา

กามโภคึ :วิปัสสนาใช้การเข้าไปรู้ลักษณะเฉพาะและพิเศษของรูปและนาม โดยที่ใช้สมถะช่วยให้จิต
ไม่สัดส่าย เพื่อรู้ชัดถึงลักษณะพิเศษนั้น เพราะไม่ทำฌานจิต จึงต้องรู้ชัดรูปและนามสลับไป ในผู้ที่ทำ
ฌานจิตก่อน จะใช้วิธีรู้นาม คือพิจารณาเกิดดับขององค์ธรรมต่างๆ เช่น ปีติ เป็นต้น

เช่นนั้น : การใช้ปัญญาทำลายกิเลสสังโยชน์ ด้วยปัญญาในอินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสมีตินทรีย อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์
กามโภคี :สังโยชน์ทุกอย่างก็ใช้ปัญญาตัดทั้งนั้น (ปัญญามีลักษณะตัด)

เช่นนั้น :ญาณแต่ละญาณข้ามลำดับได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะทำเหตุต่างกัน
กามโภคี :ข้ามไม่ได้ ไม่มีทางลัด ไปตามระบบของสภาวะและวิธี มีแต่เร็วจนไม่รู้สึกง่าย ทั้งนี้ตาม
เหตุปัจจัยที่สั่งสมอบรมมา

สุขวิปัสสโก
เช่น นั้น : สุขวิปัสสโก เป็นผลเป็นวิบากแห่งมรรค เหตุคือมรรคจิตดวงเดียวเหตุอย่างเดียว ให้ผลได้หลายอย่าง เป็นสุขวิปัสสโกบ้าง เตวิชโชบ้าง ฉลภิญโญบ้าง และปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง สิ่งเหล่านี้ได้มาเป็นของแถมกับอาสาวกขยญาณ ไม่ได้อยู่ที่ทำเหตุเหล่านี้ก่อนวิปัสสนาหรือมรรค

กามโภคี :สุกขวิปัสสโก ผู้มีวิปัสสนาง่ายๆ หรือ แห้งแล้ง ไม่สามารถทำบาทแห่งอภิญญาได้ สรุปท่าน
ทำได้แต่อาสวักขยญาณเท่านั้น

วิปัสสนาจิต
เช่นนั้น : วิปัสสนาจิตต้องมีสมาธิหรือสมถะในจิตเสมอ ต้องเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌาน

กามโภคี :วิปัสสนาของสมถะยานิก จะแนบแน่จนถึงอัปปันนา แต่ระหว่างพิจารณาไตรลักษณ์ จะลด
ระดับลงมาที่อุปจาร เพราะสมาธิที่แน่นเกินไป พิจารณาไม่ได้ (ตามนัยอรรถกถา)
วิปัสสนาแบบสุทธวิปัสสนา หรือ สุกขวิปัสสนา จะพิจารณาสังขารนิมิตรก่อน ไปตามระบบของวิธี
สมาธิจะใช้เป็นขณะๆตามที่กำหนดรู้ แต่สมาธิที่เกิดเป็นขณะๆนั้น คุณภาพจะเท่ากับอุปจาระ เพียงพอ
ที่จะระงับนิวรณ์ได้(เท่านั้น)เพราะจะรู้รูปและนาม ซึ่งต่างกับสมถยานิกวิปัสสนา จะต้องให้สมาธิมาก
หน่อย เพราะต้องพิจารณานามล้วนๆ(เช่นปีติ)

สมถะหรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
เช่นนั้น : ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตก่อน แต่อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์จึงจะเกิดพร้อมในมัคคจิต สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่มรรคจิต

กามโภคี :(สมาธิหรือสมถะ เกิดตั้งแต่เริ่มจนถึงการบรรลุ ไม่ต้องมีก่อนมีหลัง)

การปฏิบัติธรรม
เช่น นั้น : จิตเป็นโลกกุตรฌาน ในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ใช้ปฐมฌานหรือฌาน1-4 ในการเจริญสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑

กามโภคี :ปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ประครองจิตจากนิวรณ์ด้วยสมถะ รู้ไตรลักษณ์ด้วย
วิปัสสนา พิจารณาได้ทั้งรูปและนาม ถ้าวาสนาบารมีสั่งสมมาทางทำฌานจิตก่อน ก็ทำแบบนั้นไป

สมาธิ
เช่นนั้น : คือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในทุกอิริยาบถ
กามโภคี :ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันขณะ ไม่ส่ายด้วยนิวรณ์ทั้ง ๕

การละนิวรณ์
เช่นนั้น : ละนิวรณ์ได้พร้อมเกิดฌานทันทีในจิตดวงนั้น จิตที่เป็นฌานคือจิตที่ละนิวรณ์ได้สำเร็จ

กามโภคี :สมถยานิก ละด้วยฌานจิต สุกขวิปัสสนา หรือ วิปัสสนายานิ ละด้วยปริญญา ๓ และ
สัมมัปปธาน ๔ ละในขณะกำหนดรู้รูปนาม สมาธิที่ไปพร้อมสตินั้นเทียบเท่าอุปจารในขณะย้ายการกำ
หนดรู้ แต่เวลากำหนดรู้สภาวะเท่าอุปจารฌาน(ชั่วลัดนิ้วมือที่จิตกำหนดรู้)

มรรคผล
เช่นนั้น : มรรคเป็นเหตุแห่งผลอย่างเดียวไม่ต้องผ่านญาณต่าง ๆ ต้องการญาณไหนเจริญญาณนั้น

กามโภคี :ต้องไปตามลำดับ กว่าจะถึงมรรคผลก็ต้องไปตามลำดับก่อน เช่น มรรค ๘ ก็ต้องสัมมาทิฏฐิ
ก่อน วิสุทธิ ๗ ก็ต้อง สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ก่อน จะทำฌานที่ ๔ ก็ต้องเริ่มอารมณ์ในฌานที่ ๑ ก่อน
จะช้าหรือไวก็แล้วแต่วสีของผู้ฝึก อุปมาเหมือนกับเดินทางด้วยรถ ๗ ต่อ หรือขึ้นบันไดที่ละขั้น ข้อนี้เห็น
ได้ชัด จะเข้าฌานที่ ๔ ก็ต้องเริ่มที่วิตก วิจารณ์ก่อน แล้วเพียรละองค์ฌานนั้นๆออกเพื่อยกสู่ฌานที่สูง
ขึ้น หากพ้นจากวิตกและวิจารณ์แล้ว สมาธิจะไม่มีเลย เพราะวิตกวิจารณ์เป็นตัวทำสมาธิในเวลาปฏิบัติ

การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน
เช่นนั้น : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน คือเห็นแจ้งในอริยะสัจจ์ 4 หรือวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิตในปัจจุบันขณะ
กามโภคี :ถ้าหมายถึง ทิฏฐธรรม ก็คงคล้ายกับของคุณเช่นนั้น

ปรมัตถ์
เช่นนั้น : มรรคจิต 4 ผลจิต4 นิพพาน คือปรมัตถ์ คือโลกกุตตรธรรม

กามโภคี :ปรมัตถ์ หมายถึง สภาวะที่จริงอย่างที่สุด มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
รูปปรมัตถ์ คือ อาการของกาย เช่น การเคลื่อนไหว จัดเป็นวิญญัติรูป เป็นต้น (จริงที่สุด)

โลกุตตรฌาน
เช่น นั้น : ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว โลกุตตระฌานหรือลักขณูปณิชฌานในวิปัสสนาจิตปุถุชนสามารถเจริญได้เลย จนบรรลุมัคคจิต

กามโภคี : โลกุตตรฌาน คือฌานจิตในพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ในระหว่างปฏิบัติ และหมาย
ถึงจิตของพระอนาคามีและอรหันต์ในระหว่างที่ท่านจะทำสมาบัติ ปุุถุชนไม่สามารถทำได้ ปุถุชนสามารถทำได้แค่อรูปฌานเท่านั้น แม้จะนำมาสอนก็ไม่สามารถทำได้ อุปมาเหมือนข้าวที่ผู้ใหญ่กิน นำมาให้เด็ก
แรกเกิดกินก็ไม่ได้ แม้จะเป็นอาหารของคนที่โตแล้วกินก็ตาม

จิตฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้

กามโภคี :การที่จิตคำนึงถึงอดีตหรืออนาคต ไม่ได้อยู่กับปัจจุบันขณะ หรือจิตที่ฟุ้งไปตามยินดีหรือ
ยินร้าย เรียกว่า อุทธัจจะ

จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ

กามโภคี : การที่จิตไม่คำนึงถึงอดีตหรืออนาคต อยู่กับปัจจุบันขณะ หรือจิตที่ไม่ฟุ้งไปตามยินดีหรือ
ยินร้าย เรียกว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน

การกำหนดรู้
เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ

กามโภคี :กำหนดรู้ การที่จิตประกอบด้วยสติ รู้สภาวะรูปนามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัณขณะ(ญาตปริญญา)
กำหนดพิจารณา เกิดหลังจากที่กำหนดรู้แล้ว เมื่อเห็นสภาวะปรมัตถ์ของรูปนามด้วยกำหนดรู้ ก็จะเห็น
ไตรลักษณ์ในรูปนามที่เป็นปรมัตถ์นั้น ขั้นนี้เป็นกำหนดพิจารณา(ตีรณะปริญญา)
เมื่อเห็นรูปนามปรมัตถ์ตามความเป็นจริง ย่อมเห็นไตรลักษณ์ เมื่อนั้นย่อมไม่ยึดติด ก็ไม่ใส่ใจที่จะยึด
มั่นถือมั่นในรูปนามนั้น ขั้นนี้เป็นการกำหนดละ(ปหานปริญญา)

มรรคจิต ผลจิต ปุถุชนยังทำไม่ได้ มรรคจิตผลจิต เป็นจิตที่เกิดตอนบรรลุธรรมชั้นต่างๆ ไม่ใช่จิตที่จะนำ
มาปฏิบัติได้ในปุถุชน
ลองอ่านโพสต่อไปครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตรจิต คือ จิตในขณะที่เข้าไปรู้อารมณ์พระนิพพาน
เป็นจิตที่เกิดแก่พระอริยบุคคล ประพฤติเป็นไปใน โลกุตร
พ้นจากโลกทั้ง ๓ อันได้แก่กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
อีกนัยหนึ่งหมายความว่า จิตที่มีอารมณ์เหนือรูปนาม บัญญัติ
ที่มีอยู่ในโลก มีความสามารถที่จะรับอารมณ์ของสภาวะธรรม
ที่นอกโลกหรือเหนือโลกได้ อารมณ์นั้นได้แก่นิพพาน


โลกุตรจิตมี ๘ ดวง โดยสังเขป หรือ ๔๐ ดวง โดยพิสดาร
คือ โลกุตรมรรคจิต ๔ หรือ ๒๐ และโลกุตรผลจิต ๔ หรือ ๒๐

โลกุตร = โลก + อุดร โลก แปลว่า ธรรมชาติที่แตกสลาย อุดรแปลว่า พ้นหรือเหนือ
โลกุตร จึงแปลว่าพ้นไปจากธรรมชาติที่แตกสลายหรืออยู่เหนือโลก

จิตที่สัมพันธ์กับโลกุตรชื่อว่า โลกุตรจิต มีอยู่ ๒ คือ มรรคจิตและผลจิต

๑.มรรคจิต หรือโลกุตรกุศลจิต ๔
ได้แก่โสดาปัตติมรรคจิต ๑ สกทาคามิมรรคจิต ๑ อนาคามิมรรคจิต ๑ และอรหัตตมรรคจิต ๑

ก.โสดาปัตติมรรคจิต
เป็นจิตของพระอริยบุคคลที่ได้สำเร็จจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา
มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ในอันดับแรก
โดยละอกุศลธรรม เช่น โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง
โมหมูลจิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉาความสงสัย ๑ ดวง ฯลฯ
ข.สกทาคามิมรรคจิต
เป็นจิตของพระอริยบุคคลที่ได้ทำความเพียรต่อจากโสดาปัตติมรรคจิต
จนได้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ในอันดับที่ ๒
โดยละอกุศลธรรมเป็นสมุจเฉทได้ตามที่พระโสดาบันละได้แล้ว
กับทำให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง
ค.อนาคามิมรรคจิต
เป็นจิตของพระอริยบุคคลที่ได้ทำความเพียรต่อจากสกทาคามิมรรคจิต
จนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ในอันดับที่ ๓
โดยละอกุศล คือ กามราคะ พยาบาท ได้สิ้นสุดลงเด็ดขาด
ง.อรหัตตมรรคจิต
เป็นจิตของพระอริยบุคคลที่ได้กระทำความเพียรต่อจากอนาคามิมรรคจิต
จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ในอันดับที่ ๔
และละอกุศลธรรมที่ยังเหลืออยู่ได้เด็ดขาด ประหานอาสวกิเลสเป็นสมุจเฉทได้หมดสิ้น

มรรคจิตทั้ง ๔ เกิดขึ้นได้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วก็ดับไม่มีการเกิดซ้ำอีก
ไม่เหมือนจิตที่เกิดได้บ่อยครั้ง
เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นและดับลง ผลจิตก็เกิดขึ้นสืบเนื่องต่อโดยไม่มีจิตใดมาคั่นในระหว่าง
เป็นอกาลิโก คือไม่มีกาลเวลาเป็นกำหนด
เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นและดับลง ผลจิตก็เกิดขึ้นตามมาในทันทีทันใดนั้น
ไม่ต้องปฏิบัติหรือกระทำอย่างใดอีกเพื่อให้เกิดผลจิต
ผลจิตเป็นวิบากของมรรคจิตมีลำดับเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

ก.โสดาปัตติผลจิต
เกิดขึ้นเมื่อโสดาปัตติมรรคจิตดับลง
อริยบุคคลผู้ได้โสดาบันนี้จะปฏิสนธิในกามภูมิคือมนุษย์หรือเทวดาอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
แล้วแต่บารมีที่อบรม
ข.สกทาคามีผลจิต
เกิดขึ้นเมื่อสกทาคามิมรรคจิตดับลง
อริยบุคคลนี้เมื่อจุติจากมนุษย์ ก็จะบังเกิดขึ้นในเทวโลก
จุติจากเทวโลกแล้วจะปฏิสนธิในกามภูมิ จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์สิ้นสังสารทุกข์
ค.อนาคามีผลจิต
เกิดขึ้นเมื่ออนาคามิมรรคจิตดับลง
อริยบุคคลนี้จะไม่ปฏิสนธิในกามภูมิคือมนุษย์และเทวดาอีกแล้ว
จะปฏิสนธิในพรหมโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสุทาวาสภูมิแล้วเข้าสู่พระนิพพานในภูมินั้น
ง.อรหัตผลจิต
เกิดขึ้นเมื่ออรหัตตมรรคจิตดับลง
อริยบุคคลนี้ไม่มีชาติภพอีกต่อไป เข้าสู่พระนิพพานขาดจากวัฏฏสงสารในชาตินั้น

โลกุตรจิต ๘ ได้แก่มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔
วิธีปฏิบัติที่จะให้มรรคจิตผลจิตเกิดมีอยู่ ๒ ประการ
คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาภาวนาโดยอาศัยรูปนามเป็นอารมณ์
จนได้มรรค – ผล มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
สำเร็จเป็นอริยบุคคลชื่อว่า สุกขวิปัสสกบุคคล
ได้โลกุตรจิตคือมรรค ๔ ผล ๔
แต่บุคคลอีกประเภทหนึ่ง บำเพ็ญทางสมถะมาก่อนและสำเร็จได้รูปฌาน
หรืออรูปฌานแล้ว(ชื่อว่า ฌานลาภีบุคคล)

เอาองค์ฌานนั้นมาเจริญวิปัสสนาภาวนาจนได้มรรค – ผลเป็นอริยบุคคล
จิตของฌานลาภีบุคคลนั้น ในขั้นโลกุตระมีฌานประกอบด้วย
จึงแตกต่างกับจิตของสุกขวิปัสสกบุคคล ตามลำดับของฌานที่ได้ คือ

------------------------ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน
โสดาปัตติมรรคจิต ๕ ------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ --------- ๑ --------- ๑
สกทาคามิมรรคจิต ๕ ------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ --------- ๑ --------- ๑
อนาคามิมรรคจิต ๕ --------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ --------- ๑ --------- ๑
อรหัตมรรคจิต ๕ ------------ ๑ ------ ๑ ------- ๑ --------- ๑ --------- ๑ รวม ๒๐

โสดาปัตติผลจิต ๕ ---------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ --------- ๑ --------- ๑
สกทาคามิผลจิต ๕ ---------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ -------- ๑ --------- ๑
อนาคามิผลจิต ๕ ------------ ๑ ------ ๑ ------- ๑ -------- ๑ --------- ๑
อรหัตผลจิต ๕ --------------- ๑ ------ ๑ ------- ๑ -------- ๑ --------- ๑ รวม ๒๐

ในชั้นโลกุตระนี้ สำหรับอริยบุคคลที่ไม่ได้ฌาน จึงนับเอาจิตในมรรค ๔ ผล ๔ รวมเป็น ๘ ดวง
แต่สำหรับอริยบุคคลที่ได้ฌาน ก็ต้องนับจำนวนฌานจิตของท่าน จึงเป็นมรรคจิต ๒๐ ผลจิต ๒๐
รวมเป็น ๔๐ ดวง เพิ่มขึ้นจากจิตสังเขป ๘๙ ดวงที่กล่าวมาแล้ว เป็นจำนวนจิตพิสดาร ๑๒๑ ดวง

ที่มา : พระอภิธรรมสังเขป : พระนิติเกษตรสุนทร

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2009, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกามโภคี
อย่าว่าเช่นนั้น วกวนเลยน๊ะครับ นิยามที่ปะกบมานี่ เป็นคำตอบสุดท้ายนะครับที่ ท่านกามโภคีกับ เช่นนั้นเห็นไม่ตรงกัน

เพื่อต่อไปผู้อ่านจะได้เข้าใจประเด็นต่างๆ และจะเดินกระทู้ต่อไปได้ครับ
มีอะไรจะเพิ่มเติมอีกไม๊ครับ ส่วนที่ท่านยกมาของพระนิสิตนั่น ก็เป็นเรื่องของท่านนิสิต ไม่เกี่ยวกับความเห็นของท่านกามโภคี หรือเปล่าครับ

กามโภคี เขียน:
ปัจจุบันขณะ
เช่นนั้น :ละนามรูปเข้าสู่ลักขณูปณิชฌานด้วยวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต 4 เป็นปัจจุบันขณะเพื่ออริยผลในอนาคต เป็นปัจจุบันขณะ

กามโภคี : ขณะรูปหรือนาม หรือขณะรูปและนามปรากฏอยู่เฉพาะในเวลานั้น เช่น
ตาเห็นรูปในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่า ปัจจุบันขณะนั้น (ตา+รูป เป็นรูป จิตที่รู้รูป เป็นนาม) หรือ
ฟุ้งซ่านในขณะใด ขณะนั้นชื่อว่าปัจจุบันขณะ (ฟุ้งซ่าน(สังขารเจตสิก)และจิตที่รู้ความฟุ้งซ่าน ทั้ง ๒
อย่างนี้เป็นนาม)
การเปลี่ยนคุณภาพจิตขณะเจริญวิปัสสนา
เช่นนั้น : เปลี่ยนเป็นลักขณูปณิชฌาน ในวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิต

กามโภคี : ตามระบบ ๑.เป็นสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เมื่อเข้าเขตวิปัสสนา จะเป็นรูปและนามที่พ้นจาก
สมมติสัจจะ ยกรูปและนามพิจารณา(เห็น)ไตรลักษณ์ และพิจารณา(เห็น)อริสัจ ๒ คือทุกข์ สมุทัย ตาม
ลำดับ(อุทยัพยญาณขึ้นไป-วิปัสสนา) ครอบงำโคตรปุถุชนและเข้าสู่อริยะโคตรด้วยอริสัจ ๒ คือ นิโรธ
และมรรค(โคตรภูญาณ)(สมถะ,วิปัสสนา) เข้าสุ่มรรคญาณ ผลญาณและปัจจเวกขณะญาณ

สังวรปธาน
เช่นนั้น : การบรรลุวิปัสสนาจิตหรือลักขณูปณิชฌาน หรือบรรลุมัคคจิต 4 หรือการบรรลุผลจิต 4 คือสังวรปธาน / การสำรวมอินทรีย์

กามโภคี :ในการปฏิบัติ ใช้วิธีสำรวมอินทรีย์ ๖ ด้วยวิธีของสติปัฏฐาน ๔ มีสติรู้กาย เวทนา จิต และ
ธรรม เพราะเป็นวิธีที่ป้องกันบาปอุกศลธรรมที่ดีที่สุดในการปฏิบัติ (สติปัฏฐาน ๔ อาศัยสัมมัปปธาน ๔
และ สติปัฏฐาน ๔ ทำให้สัมมัปปธาน ๔ บริบูรณ์) (ข้อนี้เป็น ๑ ใน ๔ ของ สัมมาวายาโม)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สังวรปธาน


คำว่าพยายาม และ ปรารภความเพียร แสดงว่าจิตขณะนั้นอยู่ในสภาวะ อารัทธวิปัสสนา แต่ยังไม่ถึง
มรรคญาณ ฯลฯ
คำว่า ประครองจิต ตั้งจิตไว้ หมายถึง การระวังไม่ให้จิตที่รู้ ตกไปในยินดียินร้ายต่อรูปและนามที่ปรากฏ
อยู่ ยังไม่ถึงมรรคจิต เพราะอยู่ในขั้นพยายาม
จะเป็นสภาวะในมรรคจิตได้ ต้องครบทั้ง ๔ อย่าง สังวรปธานอย่างเดียวเป็นมรรคจิตไม่ได้ เพราะตาม
ระบบเจริญมรรค ถ้าไม่ครบ ๔ อย่าง ไม่จัดเป็นสัมมาวายาโม
(จะต้องครบทั้ง ๔ ของปธาน เพราะหน้าที่ของวิริยะทั้ง ๔ ต้องครบในขณะประหารกิเลส)

สติ
เช่นนั้น: เกิดพร้อมกุศลจิตอยู่แล้ว ละภิชฌาโทมนัสเสียได้คือสติ เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

กามโภคี:ในการปฏิบัติวิปัสสนา สตินั้น ถ้าไม่อยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่สติชอบ ทั้งนี้ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
สติ+ปัฏฐาน แปลว่า ที่ หรือ ฐานะที่ควรนำสติไปตั้งไว้ ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

วิปัสสนา
เช่นนั้น : เกิดร่วมเกิดพร้อมกับสมถะในจิตดวงเดียวกันเสมอ แต่เกิดก่อนหลังกันได้ในจิตดวงเดียวกัน แต่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ในจิตวิปัสสนา

กามโภคี:การเห็นลักษณะเฉพาะและลักษณะพิเศษของรูปและนาม โดยความเป็นปรมัตถ์ เช่น ร่างกาย
ที่เป็นส่วนธาตุดินมีลักษณะแข็ง และ ลักษณะพิเศษของไตรลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในรูปและนามนั้น
สมถะ เป็นชื่อของสภาวะจิตที่สงบ ปราศจากนิวรณ์ เป็นผลมาจากการปฏิบัติวิธีใดวิธีหนึ่ง และปรากฏชัด
ในขณะเข้าสู่โคตรภูญาณ

เช่น นั้น: วิปัสสนา ใช้สมถะที่เป็นลักขณูปณิชฌาน คือเป็นปฐมฌาน ทุติยะฌาน ตติยะฌาน และจตุตถฌานชนิดสุญญตะ หรือชนิดอนิมิตตะ หรือชนิดอัปณิหิตตะ ประกอบกับปัญญาเครื่องทำลายกิเลสในจิตวิปัสสนา

กามโภคึ :วิปัสสนาใช้การเข้าไปรู้ลักษณะเฉพาะและพิเศษของรูปและนาม โดยที่ใช้สมถะช่วยให้จิต
ไม่สัดส่าย เพื่อรู้ชัดถึงลักษณะพิเศษนั้น เพราะไม่ทำฌานจิต จึงต้องรู้ชัดรูปและนามสลับไป ในผู้ที่ทำ
ฌานจิตก่อน จะใช้วิธีรู้นาม คือพิจารณาเกิดดับขององค์ธรรมต่างๆ เช่น ปีติ เป็นต้น

เช่นนั้น : การใช้ปัญญาทำลายกิเลสสังโยชน์ ด้วยปัญญาในอินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสมีตินทรีย อัญญินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์
กามโภคี :สังโยชน์ทุกอย่างก็ใช้ปัญญาตัดทั้งนั้น (ปัญญามีลักษณะตัด)

เช่นนั้น :ญาณแต่ละญาณข้ามลำดับได้ ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะทำเหตุต่างกัน
กามโภคี :ข้ามไม่ได้ ไม่มีทางลัด ไปตามระบบของสภาวะและวิธี มีแต่เร็วจนไม่รู้สึกง่าย ทั้งนี้ตาม
เหตุปัจจัยที่สั่งสมอบรมมา

สุขวิปัสสโก
เช่น นั้น : สุขวิปัสสโก เป็นผลเป็นวิบากแห่งมรรค เหตุคือมรรคจิตดวงเดียวเหตุอย่างเดียว ให้ผลได้หลายอย่าง เป็นสุขวิปัสสโกบ้าง เตวิชโชบ้าง ฉลภิญโญบ้าง และปฏิสัมภิทัปปัตโตบ้าง สิ่งเหล่านี้ได้มาเป็นของแถมกับอาสาวกขยญาณ ไม่ได้อยู่ที่ทำเหตุเหล่านี้ก่อนวิปัสสนาหรือมรรค

กามโภคี :สุกขวิปัสสโก ผู้มีวิปัสสนาง่ายๆ หรือ แห้งแล้ง ไม่สามารถทำบาทแห่งอภิญญาได้ สรุปท่าน
ทำได้แต่อาสวักขยญาณเท่านั้น

วิปัสสนาจิต
เช่นนั้น : วิปัสสนาจิตต้องมีสมาธิหรือสมถะในจิตเสมอ ต้องเปลี่ยนคุณภาพจิตให้เป็นลักขณูปณิชฌาน

กามโภคี :วิปัสสนาของสมถะยานิก จะแนบแน่จนถึงอัปปันนา แต่ระหว่างพิจารณาไตรลักษณ์ จะลด
ระดับลงมาที่อุปจาร เพราะสมาธิที่แน่นเกินไป พิจารณาไม่ได้ (ตามนัยอรรถกถา)
วิปัสสนาแบบสุทธวิปัสสนา หรือ สุกขวิปัสสนา จะพิจารณาสังขารนิมิตรก่อน ไปตามระบบของวิธี
สมาธิจะใช้เป็นขณะๆตามที่กำหนดรู้ แต่สมาธิที่เกิดเป็นขณะๆนั้น คุณภาพจะเท่ากับอุปจาระ เพียงพอ
ที่จะระงับนิวรณ์ได้(เท่านั้น)เพราะจะรู้รูปและนาม ซึ่งต่างกับสมถยานิกวิปัสสนา จะต้องให้สมาธิมาก
หน่อย เพราะต้องพิจารณานามล้วนๆ(เช่นปีติ)

สมถะหรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
เช่นนั้น : ต้องเกิดในวิปัสสนาจิตก่อน แต่อนัญญตัญญัสสมีตินทรีย์จึงจะเกิดพร้อมในมัคคจิต สมถะและวิปัสสนาเป็นอุปการะแก่มรรคจิต

กามโภคี :(สมาธิหรือสมถะ เกิดตั้งแต่เริ่มจนถึงการบรรลุ ไม่ต้องมีก่อนมีหลัง)

การปฏิบัติธรรม
เช่น นั้น : จิตเป็นโลกกุตรฌาน ในขณะนั่ง นอน ยืน เดิน ใช้ปฐมฌานหรือฌาน1-4 ในการเจริญสุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑

กามโภคี :ปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ประครองจิตจากนิวรณ์ด้วยสมถะ รู้ไตรลักษณ์ด้วย
วิปัสสนา พิจารณาได้ทั้งรูปและนาม ถ้าวาสนาบารมีสั่งสมมาทางทำฌานจิตก่อน ก็ทำแบบนั้นไป

สมาธิ
เช่นนั้น : คือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายในทุกอิริยาบถ
กามโภคี :ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันขณะ ไม่ส่ายด้วยนิวรณ์ทั้ง ๕

การละนิวรณ์
เช่นนั้น : ละนิวรณ์ได้พร้อมเกิดฌานทันทีในจิตดวงนั้น จิตที่เป็นฌานคือจิตที่ละนิวรณ์ได้สำเร็จ

กามโภคี :สมถยานิก ละด้วยฌานจิต สุกขวิปัสสนา หรือ วิปัสสนายานิ ละด้วยปริญญา ๓ และ
สัมมัปปธาน ๔ ละในขณะกำหนดรู้รูปนาม สมาธิที่ไปพร้อมสตินั้นเทียบเท่าอุปจารในขณะย้ายการกำ
หนดรู้ แต่เวลากำหนดรู้สภาวะเท่าอุปจารฌาน(ชั่วลัดนิ้วมือที่จิตกำหนดรู้)

มรรคผล
เช่นนั้น : มรรคเป็นเหตุแห่งผลอย่างเดียวไม่ต้องผ่านญาณต่าง ๆ ต้องการญาณไหนเจริญญาณนั้น

กามโภคี :ต้องไปตามลำดับ กว่าจะถึงมรรคผลก็ต้องไปตามลำดับก่อน เช่น มรรค ๘ ก็ต้องสัมมาทิฏฐิ
ก่อน วิสุทธิ ๗ ก็ต้อง สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ก่อน จะทำฌานที่ ๔ ก็ต้องเริ่มอารมณ์ในฌานที่ ๑ ก่อน
จะช้าหรือไวก็แล้วแต่วสีของผู้ฝึก อุปมาเหมือนกับเดินทางด้วยรถ ๗ ต่อ หรือขึ้นบันไดที่ละขั้น ข้อนี้เห็น
ได้ชัด จะเข้าฌานที่ ๔ ก็ต้องเริ่มที่วิตก วิจารณ์ก่อน แล้วเพียรละองค์ฌานนั้นๆออกเพื่อยกสู่ฌานที่สูง
ขึ้น หากพ้นจากวิตกและวิจารณ์แล้ว สมาธิจะไม่มีเลย เพราะวิตกวิจารณ์เป็นตัวทำสมาธิในเวลาปฏิบัติ

การเห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน
เช่นนั้น : เห็นแจ้งธรรมในปัจจุบัน คือเห็นแจ้งในอริยะสัจจ์ 4 หรือวิปัสสนาจิต หรือมัคคจิตในปัจจุบันขณะ
กามโภคี :ถ้าหมายถึง ทิฏฐธรรม ก็คงคล้ายกับของคุณเช่นนั้น

ปรมัตถ์
เช่นนั้น : มรรคจิต 4 ผลจิต4 นิพพาน คือปรมัตถ์ คือโลกกุตตรธรรม

กามโภคี :ปรมัตถ์ หมายถึง สภาวะที่จริงอย่างที่สุด มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน
รูปปรมัตถ์ คือ อาการของกาย เช่น การเคลื่อนไหว จัดเป็นวิญญัติรูป เป็นต้น (จริงที่สุด)

โลกุตตรฌาน
เช่น นั้น : ธรรมะ ของพระอริยเจ้า นั้นนำมาสอนปุถุชนให้ปฏิบัติเป็นพระอริยะเจ้า ไม่ได้เอาไว้สอนพระอริยะเจ้าเพื่อปฏิบัติ เพราะท่านปฏิบัติเสร็จกิจแล้ว โลกุตตระฌานหรือลักขณูปณิชฌานในวิปัสสนาจิตปุถุชนสามารถเจริญได้เลย จนบรรลุมัคคจิต

กามโภคี : โลกุตตรฌาน คือฌานจิตในพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ในระหว่างปฏิบัติ และหมาย
ถึงจิตของพระอนาคามีและอรหันต์ในระหว่างที่ท่านจะทำสมาบัติ ปุุถุชนไม่สามารถทำได้ ปุถุชนสามารถทำได้แค่อรูปฌานเท่านั้น แม้จะนำมาสอนก็ไม่สามารถทำได้ อุปมาเหมือนข้าวที่ผู้ใหญ่กิน นำมาให้เด็ก
แรกเกิดกินก็ไม่ได้ แม้จะเป็นอาหารของคนที่โตแล้วกินก็ตาม

จิตฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : การฟุ้งไปตามกามสัญญาหรือกามวจรจิต รูปสัญญารูปาวจรจิต อรูปสัญญาหรืออรูปาวจรจิต เป็นความฟุ้ง ที่เรียกว่า อุทธัจจะในพระศาสนานี้

กามโภคี :การที่จิตคำนึงถึงอดีตหรืออนาคต ไม่ได้อยู่กับปัจจุบันขณะ หรือจิตที่ฟุ้งไปตามยินดีหรือ
ยินร้าย เรียกว่า อุทธัจจะ

จิตไม่ฟุ้งซ่าน
เช่นนั้น : จิตตั้งมั่นในลักขณูปณิชฌาน มัคคจิต และผลจิตครับ

กามโภคี : การที่จิตไม่คำนึงถึงอดีตหรืออนาคต อยู่กับปัจจุบันขณะ หรือจิตที่ไม่ฟุ้งไปตามยินดีหรือ
ยินร้าย เรียกว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน

การกำหนดรู้
เช่นนั้น :การกำหนดรู้ นั้นคือ กำหนดรู้ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ด้วยความเป็นภัยเป็นโทษมีอันตราย ด้วยลักขณูปณิชฌาน หรือวิปัสสนาจิต มัคคจิต และผลจิต ครับ

กามโภคี :กำหนดรู้ การที่จิตประกอบด้วยสติ รู้สภาวะรูปนามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัณขณะ(ญาตปริญญา)
กำหนดพิจารณา เกิดหลังจากที่กำหนดรู้แล้ว เมื่อเห็นสภาวะปรมัตถ์ของรูปนามด้วยกำหนดรู้ ก็จะเห็น
ไตรลักษณ์ในรูปนามที่เป็นปรมัตถ์นั้น ขั้นนี้เป็นกำหนดพิจารณา(ตีรณะปริญญา)
เมื่อเห็นรูปนามปรมัตถ์ตามความเป็นจริง ย่อมเห็นไตรลักษณ์ เมื่อนั้นย่อมไม่ยึดติด ก็ไม่ใส่ใจที่จะยึด
มั่นถือมั่นในรูปนามนั้น ขั้นนี้เป็นการกำหนดละ(ปหานปริญญา)

มรรคจิต ผลจิต ปุถุชนยังทำไม่ได้ มรรคจิตผลจิต เป็นจิตที่เกิดตอนบรรลุธรรมชั้นต่างๆ ไม่ใช่จิตที่จะนำ
มาปฏิบัติได้ในปุถุชน
ลองอ่านโพสต่อไปครับ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 23:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อย่าว่าเช่นนั้น วกวนเลยน๊ะครับ นิยามที่ปะกบมานี่ เป็นคำตอบสุดท้ายนะครับที่
ท่านกามโภคีกับ เช่นนั้นเห็นไม่ตรงกัน

ธรรมดาอยู่นะครับที่การตีความและวิธีปฏิบัติจะต่างกัน แม้แต่หลังพุทธกาลไม่นาน ต่างก็มีความเห็นต่างกัน
ออกไป จนกระทั่งเป็นนิกายต่างๆขึ้นมา สำคัญอยู่ว่า ใครที่ตีความออกมาอย่างไร ย่อมต้องดำเนินไปใน
ทางนั้นให้ดีๆ
โดยส่วนตัวผมแล้ว เห็นว่า วิธีปฏิบัติมีมากมาย สุดแต่อุบายของอาจารย์ต่างๆ แต่สรุปสุดท้านจะมาบรรจบ
ที่วิธีที่พระองค์แนะนำไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งนั้น เลยไม่ค่อยสนใจว่าใครจะปฏิบัติแนวไหน
อนึ่ง อาจารย์ต่างๆตั้งแต่หลังพุทธกาลเป็นต้นมา เมื่อท่านถึงธรรมด้วยวิธีใด ก็จะสั่งสอนตามวิธีนั้นๆมา
ผู้ที่ปฏิบัติในภายหลัง ก็จะปฏิบัติตามแนวของครูอาจารย์ที่แนะนำสืบๆกันมา
เช่นนั้น เขียน:
เพื่อต่อไปผู้อ่านจะได้เข้าใจประเด็นต่างๆ และจะเดินกระทู้ต่อไปได้ครับ
มีอะไรจะเพิ่มเติมอีกไม๊ครับ ส่วนที่ท่านยกมาของพระนิสิตนั่น ก็เป็นเรื่องของท่านนิสิต ไม่เกี่ยวกับความเห็นของท่านกามโภคี หรือเปล่าครับ

ถ้าจะเดินกระทู้ ขอสั้นๆเท่าที่พอรับรู้เข้าใจกันได้ก็พอ เพราะทุกวันนี้ผมต้องแบ่งเวลามาพูดคุยมากพอ
สมควร อีกประการหนึ่ง กำหนดที่ผมจะไปอยู่ที่วัดนั้น มีประมาณวันที่ ๙ กันยายนนี้ ซึ่งกำหนดไปมี แต่
กลับนั้นยังไม่รู้กำหนดแน่ เพราะต้องตามสภาวะธรรมที่ปฏิบัติ ถ้าวิปัสสนาจารย์ท่านแนะให้อยู่ต่อ ผมก็คง
อยู่ปฏิบัติต่อไป

ส่วนของพระนิสิตนั้น เป็นเหมือนหนังสือทั่วๆไปที่แต่งเพื่อศึกษาวิชาพระอภิธรรม ซึ่งก็จะเหมือนกับคัมภีร์
ทั่วๆไปที่อธิบายถึงจิตเช่นว่านั้น(อ่านๆดูก็ตามนัยพระอนุรุทธาจารย์) ซึ่งจิตเหล่านี้ ผมไม่รู้จัก เพราะถ้ายึด
ตามคัมภีร์หรือหนังสือนี้ ผมยังไม่ถึงการบรรลุธรรม แต่หนังสือหรือคัมภีร์เช่นว่านี้ เป็นเสมือนเครื่องมือ
อนุมานการศึกษาและปฏิบัติ จะไม่เชื่อถือก็ไม่ได้ จะเชื่อให้หมดจด ก็ต้องเว้นไว้พิสูจน์บ้าง

ในความเห็นของผมนั้น ผมเชื่อต่ามพระอนุรุทธาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์พระอภิธรรม พระอรรถกถาจารย์
ข้อความในพระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิมรรค และอีกหลายๆคัมภร์ที่มีอยู่ในมือผม แต่เวลาปฏิบัตินั้น ผม
จะวางการศึกษาเรื่องคัมภีร์ทั้งหมด อาศัยพระวิปัสสนาจารย์เท่านั้นในการปฏิบัติ

ถ้ายังสนทนาอยู่ แล้วผมมาตอบช้าไป แสดงว่าผมป่วยนะครับ รู้สึกไม่ดีมา ๒ วันแล้ว หวั่นๆไข้หวัด
๒๐๐๙ เหมือนกัน ฝนกรุงเทพตกแบบสลับร้อนหนาว ปรับตัวไม่ทันเลย ไม่ค่อยดีจริงๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านกามโภคี

เช่นนั้น ก็ขอให้ท่านกามโภคี หายป่วยไวๆ อย่าให้เป็นหวัด 2009 เลยครับ
ตอนนี้ ก็ขอพักกระทู้ก่อนดีกว่า ให้ท่านสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แล้วค่อยมาเสวนากันใหม่จะดีกว่า

รอจนกว่าท่านจะกลับมา หลังจากท่านกลับจากไปเยี่ยมเยียนอาจารย์วิปัสสนา ของท่านกี่วันกี่เดือนก็ไม่เป็นไรครับ กลับมาเมื่อไหร่ สบายดีเมื่อไหร่ ก็ค่อยมาสนทนากันต่อ

พักผ่อนรักษาตัวมากๆ ครับ
เจริญในธรรมยิ่งขึ้น ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 02:56
โพสต์: 290

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue เห็นด้วยกะคุณตรงประเด็นค่ะ...

:b10: :b10: มีแต่ยุบกะพอง ไม่เห็นมีใครพูดถึง พุทธกะโธ เลยเน๊อะ... :b14: :b14:

:b6: :b6: นู๋เอค่ะ

.....................................................
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระธรรม
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระสงฆ์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในพระมารดาพระบิดา
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในครูอุปัชฌาย์อาจารย์
ข้าพเจ้าเคารพพระธรรม ที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง...สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้ท่านกามโภคีหายไวๆ นะครับ ถ้าไข้ขึ้นเกิดเวทนามากอย่าลืมนั่งสมาธินะครับ ผมใช้อยู่ไข้ลด นำ้มูกหยุด ไหลเลยคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R04.jpg
R04.jpg [ 21.11 KiB | เปิดดู 2881 ครั้ง ]
เพราะฉันประมาท ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี
เพราะฉันประมาท ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก
เพราะฉันประมาท ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นสุข



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยคงต้องเลื่อไปวัดซัก ๑ สัปดาห์ อันเนื่องมาจากยังเจ็บคออยู่ ถ้ายังฝืนไป ก็คงไม่ได้
เต็มที่แน่ สงสัยนี่คือ ขันธมาร :b12: มารคือขันธ์ ๕

เรื่องพุทโธ จริงแล้วอยากจะพูดถึง เป็นอุบายที่ดีมาก จิตที่ฝึดพุทโธจนคล่องแล้ว จะปฏิบัติทาง
วิปัสสนาได้ง่ายมาก และจิตตอนนั้นจะเหมาะมาก อันเนื่องมาจากนิวรณ์สงบได้ดี การที่เราจะวาง
ใจเป็นกลางในขณะนั้นจะทำได้ไม่ยากเลย ที่สำคัญ ถ้าปฏิบัติแล้วจะรู้ว่า การดูสภาวะนามจะชัดมาก

โดยส่วนตัวผมจะใช้อานาปานสติช่วยให้จิตสงบ เมื่อสงบก็จะกำหนดรู้สภาวะรูปนาม ในบางครั้ง
จะกำหนดแบบมีบริกรรมหรือไม่มีก็ได้ ถ้าจิตสัดส่ายมาก ก็ใช้บริกรรมช่วย ถ้าฟุ้งมาก ผมจะใช้
อานาปานะสติช่วย ปฏิบัติแบบนี้ในขณะที่เราปฏิบัติเลย ง่ายดี

เรื่องไข้หวัดนั้น คงไม่ใช่ ๒๐๐๙ เพราะอาการไม่ใช่แล้ว แหม๋ บางทีนึกสนุกอยากลองเป็นเหมือนกัน
เผื่อจะอินเทรน :b12:

อนุโมทนาครับที่ยังตามอ่าน ข้อสำคัญ การปฏิบัติวิธีไหนก็ตามแต่ จะสรุปลงที่สติปัฏฐานทั้งนั้น อุบาย
ต่างๆ ล้วนออกมาจากครูอาจารย์ที่พยายามปรับให้ทันเรา เช่น ในสมัยพุทธกาล นักบวชที่ที่จิตถึงฌาน
มีมาก ก็จะปรากฏการปฏิบัติที่ทำฌานจิตเป็นบาทมากในคำสอน เพราะเป็นวิธีนิยม และง่ายต่อการสอน
ในสมัยนั้น วิธีอื่นก็มี แต่ไม่มาก ถึงกระนั้นก็ยังได้พึงพาอาศัยให้หลุดพ้นกันได้

ขอบคุณครับที่เตือนให้กำหนดเวทนา ดีครับ ผมปฏิบัติตามสติปัฏฐานสูตร การกำหนด กาย เวทนา
จิต ธรรม ต้องมีเสมอ ฉนั้นที่แนะนำตักเตือนผมมา ถูกจริตมากเลย อนุโมทนาครับ

อนึ่ง ถ้าสนใจเรื่องการปฏิบัติตามแนวพองยุบ หรือต้องการแชร์ความรู้ WLM ของผมครับ
zero_pl@msn.com ลองแอดคุยกันได้ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2009, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุค่ะ

tongue

:b41: :b41: :b41: :b43: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร