ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ภวังคจิต ในพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24914
หน้า 1 จากทั้งหมด 7

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 14 ส.ค. 2009, 12:07 ]
หัวข้อกระทู้:  ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต ในพุทธศาสนา
บทความธรรมะในตอนนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเรื่องของ "ภวังค์" หรือ "ภวังค" หรือ "ภวังคจิต" เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณา และทำความใจเกี่ยวกับเรื่อง "ภวังคจิต" อย่างถูกต้อง เหตุเพราะได้มีการสอน และให้ความหมายเกี่ยวกับ “ภวังค์ หรือ “ภวังค” หรือ "ภวังคจิต" แบบผิดๆ มานานแล้ว ทำให้คุณค่าของพุทธศาสนาด้อยลงไป อย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล

ภวังคจิต สามารถ อธิบายได้หลายแบบ จะอธิบายโดยยกเอาต้นตอมาให้เกิดความเข้าใจก็ได้ หรือจะอธิบายผลที่เกิดจากต้นตอ ก็ได้เช่นกัน เหตุเพราะ ทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันไม่ได้ ดังนั้น ผู้รู้ จึงสามารถอธิบายต้นกำเนิด หรือจะอธิบายผลแห่งการเกิดจากต้นตอ ได้ทั้งสองอย่าง

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิต(เซลล์)ที่ได้รับ หรือเกิดจากดวงจิต(เซลล์)บิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ( คือ คือ กระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่)
และเจริญเติบโต จนคลอด และเจริญวัย ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นเซลล์หรือจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิต(อวัยวะต่างๆของร่างกาย)หรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"

ภวังคจิต ในอีกความหมายหนึ่ง คือ ความเป็นกลางทางอารมณ์ ทางความรู้สึก อันเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ต่อเมื่อร่างกายได้รับการสัมผัส ทางอายตนะทั้งภายใน และภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต หรือ ความเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ซึ่งย่อมประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจ เกิดการปรุงแต่ง จากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมทั้งในทางที่เป็น อกุศลธรรม และหรือ ในทางที่เป็นกุศลธรรม และหรือในทางที่จะว่าเป็นกุศลธรรมก็ไม่ใช่จะว่าเป็นอกุศลธรรมก็ไม่ใช่ คือมีสภาพสภาวะเป็นกลาง ต่อเมื่อพฤติกรรรม หรือปฏิกิริยาเหล่านั้น ได้แสดงออกไปจนหมดสิ้นแล้ว บุคคลก็จะกลับสู่ภาวะ ภวังคจิต ตามเดิม

ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของ ดวงจิตที่ได้รับมาจากบิดามารดาหรือเกิดจากการผสมกันของเซลล์แห่งบิดามารดา นับตั้งแต่แรกปฏิสนธิแล้ว ภวังคจิตของบุคคล ย่อมมีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกัน เพราะเป็นเพียงจิตส่วนพื้นฐาน หรือจะกล่าวว่า เป็นการเริ่มมีหรือเริ่มปรากฏอวัยวะต่างๆแห่งสรีระร่างกาย และระบบการทำงานของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มเจริญวัยภายในครรภ์มารดา จึงได้รับการขัดเกลาในด้านต่างๆนับตั้งแต่กรรมพันธุ์ของบิดามารดา เป็นต้นมา ภวังคจิตของบุคคล จึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เพราะบุคคลเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บุคคลใดที่ได้รับการขัดเกลานับตั้งแต่กรรมพันธุ์,สภาพสิ่งแวดล้อม, ฯลฯ มาดี ภวังคจิต ย่อมปราดเปรียว แคล่วคล่อง มีสติสัมปชัญญะดีกว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการขัดเกลา หรือได้รับการขัดเกลามาไม่ดี
แต่ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของผลแห่งสภาพสภาวะร่างกายแล้ว ภวังคจิต ย่อมเป็นผลจากการทำงานของทุกระบบของสรีระร่างกาย บุคคลล้วนมีภวังคจิต คือความไม่รู้สึกว่า ร่างกายของตัวเอง ได้ดำเนินกิจกรรม หรือร่างกายทำงานตามระบบ อยู่ตลอดเวลา แม้ยามหลับนอน หรือไม่รู้สึกว่า เมื่อรับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายแสดงอาการดูดซึม หรือรับเอาอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างไรเมื่อไร เว้นแต่ การได้รับสัมผัส ขณะรับประทานอาหาร อย่างนี้เป็นต้น
มาถึงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาอย่างละเอียด และถี่ถ้วน ตามหลักความเป็นจริง ที่ท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย ว่า เป็นจริง มีจริง ตามที่ข้าพเจ้าได้ สอนไว้ข้างต้นหรือไม่

อนึ่ง ความรู้ในเรื่อง "ภวังคจิต" นี้ บางท่านคงคิดว่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็นในการปฏิบัติธรรม หรือไม่จำเป็นในการเรียนรู้ หรือศึกษา พระธรรมทางพุทธศาสนา
แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นที่ท่านทั้งหลายต้องได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ภวังคจิต อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบการทำงานของสรีระร่างกาย อันสามารถนับเข้าเป็น ญาณ ส่วนรายละเอียด ในการพิจารณาเกี่ยวกับร่างกายได้
อีกทั้งยังเป็นการทำความเข้าใจ และแก้ไข ความรู้ที่ผิดๆของหลายท่าน เพื่อความเจริญในธรรม ทางพุทธศาสนา
ขอให้ทุกท่าน เจริญยิ่งในธรรม

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ ส.ค. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม ๖ ต.ค.๒๕๕๒

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 14 ส.ค. 2009, 19:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

เนื่องจากมีข้อความตกหล่นบางข้อความ ข้าพเจ้าจึงได้แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น เชิญท่านทั้งหลายที่สนใจใคร่เรียนรู้ และศึกษา ได้อ่านและพิจารณาตามอัธยาศัย เถิดขอรับ

อนึ่ง ในเรื่อง ภวังคจิต นี้ เป็นความรู้ ที่อยู่ในตัวข้าพเจ้ามานานแล้ว พอได้เห็นเขาเขียนเป็นกระทู้ถาม เลยนึก หรือระลึก ถึงคำครูอาจารย์ที่ได้สอนข้าพเจ้าไว้ว่า

" ภวัง คือ ระบบการทำงานของร่างกายเรา"
ข้าพเจ้าก็เลยนำมาเขียนเพิ่มเติม ตามหลักความเป็นจริงขอรับ

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 16 ส.ค. 2009, 13:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

เมื่อท่านทั้งหลาย หมายรวมไปถึง นักวิชาการ บัณฑิตย์ทางพุทธศาสนา หรือผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ได้แวะเข้ามาเยียมชม และได้อ่าน บทความ เรื่อง ภวังคจิต นี้แล้ว เมื่อท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ทำความรู้ ทำความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นในตัวท่านเอง โดยการพิสูจน์ ศึกษา จนมีข้อยุติ และเห็นตามคำสอนของข้าพเจ้าแล้ว
ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักวิชากร บัณฑิตย์ทางพุทธศษสนา หรือผู้คงแก่เรียน ก็ควรได้ ระมัดระวัง ในการใช้ศัพท์ภาษาให้ถูกต้อง ตามที่สมควร อย่าใช้ไปในทางที่ผิด หรือใช้ด้วยความไม่รู้แจ้ง ในภาษานั้น เพื่อ อนุชนคนรุ่นหลัง จักได้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดไป ที่ผิดไปแล้ว ก็ควรแก้ไข เพราะย่อมสามารถแก้ไขได้อยู่แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายได้ร่วมกันคิดพิจารณาเถิด

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 30 ส.ค. 2009, 10:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

สวัสดีครับ

หน้าที่ของจิต (๓๓๑) กิจ หรือ วิญญาณกิจ ๑๔ ในโลกียะบุคคล


(กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต — functions of consciousness; psychic functions)



๑. ทำหน้าที่ในการเกิด เรียกว่า ปฏิสนธิ คือเกิดร่วมเกิดพร้อมกับขันธ์ 5 ในภพภูมิใหม่ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันติรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔ — re-linking; rebirth-linking)


๒.ทำหน้าที่ในการสืบต่ออุปนิสัย เรียกว่า ภวังค ทำอะไรตามที่ชอบตามที่คุ้นเคย และการนอนหลับ(หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิได้แก่อุเบกขาสันติรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔ — life-continuum; factor for being)


ในพระอริยบุคคล
อริยะผลจิต 4 คือจิตที่มาทำหน้าที่เป็นภวังค์ เพื่อปิดประตูอบายตราบเท่าดับขันธ์ปรินิพพานครับ



เจริญในธรรมครับ


ไฟล์แนป:
16.gif
16.gif [ 7.67 KiB | เปิดดู 11952 ครั้ง ]

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 31 ส.ค. 2009, 20:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบนิ่งอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิตหรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้

อ่านด้านบนนี้แล้วทำความเข้าใจให้ดี
ส่วนสิ่งที่คุณเขียนมานั้น มันอยู่ตรงไหนบ้างขอรับ พิสูจน์ได้ไหมว่ามีจริง เป็นจริง ถ้าตอบไม่ได้ ก็ไม่ต้องอธิบายดอกขอรับ ไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่คุณเขียนมาดอกขอรับ มันคนละยุคคนละสมัย คนละภาษาขอรับ

อนึ่ง เมื่ออ่านแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ไปอ่านบทความเรื่อง " จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก" ก็น่าจะเกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น
คนส่วนใหญ่ ใช้ศัพท์ภาษา คำว่า "ภวัง" ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เหตุเพราะความไม่รุ้แจ้ง ในหลักคำสอนนั้นๆ เข้าใจผิด แต่ก็ยังดันทุรังแข็งขืน ไปพิจารณาให้ดีเถอะขอรับ

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 31 ส.ค. 2009, 20:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

อ้างคำพูด:
ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย



อภิธรรมฉบับใครแต่งหรือขอรับ ที่ภวังคจิตสามารถรับได้จากบิดามารดานะขอรับ ??

ผมไม่เคยผ่านตามาเลยขอรับ


มารดาก็ทำให้ไม่ได้
บิดาก็ทำให้ไม่ได้
ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกไว้ชอบแล้วย่อมทำให้ได้
และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 31 ส.ค. 2009, 22:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

แค๊ก..แค๊ก..แค๊ก

ไอ..ขออภัย..

ขอเป็นคน..แอบชม..ละกัน

อุ..อุ..อุ

:b37: :b38: :b39: :b40: :b41: :b45: :b46: :b47: :b43: :b48: :b49: :b42: :b53: :b50: :b54: :b55: :b49: :b46: :b51:

เจ้าของ:  โคตรภู [ 02 ก.ย. 2009, 12:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

...............อ่านด้านบนนี้แล้วทำความเข้าใจให้ดี
ส่วนสิ่งที่คุณเขียนมานั้น มันอยู่ตรงไหนบ้างขอรับ พิสูจน์ได้ไหมว่ามีจริง เป็นจริง ถ้าตอบไม่ได้ ก็ไม่ต้องอธิบายดอกขอรับ ไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่คุณเขียนมาดอกขอรับ มันคนละยุคคนละสมัย คนละภาษาขอรับ
.......................................


ผมอ่านแล้วเศร้าใจจังครับ ต่อไปผมคงจะไม่ร่วมทำบุญซื้อพระไตรปิฎก ถวายวัดซะแล้วละครับ
เพราะมันคนละยุค คนละสมัย คนละภาษา พระคุณเจ้าทั้งหลายคงอ่านแล้วไม่เข้าใจ

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 02 ก.ย. 2009, 13:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

สวัสดีครับ ท่านโคตรภู
อย่าเพิ่งทำให้จิตหมองหม่นเลยครับ
พระคุณเจ้าที่อ่านแล้วเข้าใจ ยังมีอยู่ครับ
ไม่ร่วมทำสิครับ อภิธรรมเก๊ แต่งผิดๆ ถูกๆจะครองพระศาสนา อ้างสิ่งที่มีได้บัญญัติเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์บัญญัติไปน๊ะครับ

อย่าเพิ่งท้อใจไปเลยครับ

เจริญธรรม

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 04 ก.ย. 2009, 00:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

สวัสดีครับ ท่านโคตรภู

หากท่าน..Copy ข้อความของผู้อื่นเพื่อประกอบคำโพสต์ของตัวท่านเอง

แล้วอย่าลืม..กด Quote ที่ด้านบนด้วยครับ

ดูตัวอย่าง

อ้างคำพูด:
เช่นนั้น :
สวัสดีครับ ท่านโคตรภู
อย่าเพิ่งทำให้จิตหมองหม่นเลยครับ
พระคุณเจ้าที่อ่านแล้วเข้าใจ ยังมีอยู่ครับ
ไม่ร่วมทำสิครับ อภิธรรมเก๊ แต่งผิดๆ ถูกๆจะครองพระศาสนา อ้างสิ่งที่มีได้บัญญัติเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์บัญญัติไปน๊ะครับ

อย่าเพิ่งท้อใจไปเลยครับ

เจริญธรรม


ลองดูนะครับ

เจ้าของ:  murano [ 04 ก.ย. 2009, 19:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

เจ้าหมอนี่ น่าจะเป็นล็อคอิน เทวดา ในเว็บพลังจิต... เขาบอกว่า เขาคือศรีอริยะเมตไตรย

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 04 ก.ย. 2009, 20:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

ต้องขออภัยท่านทั้งหลาย ที่ได้อ่านแล้วไม่กระดิก ในสำนวนภาษาไทย ก็อย่าได้กล่าวร้าย ข้าพเจ้าไปในทางที่ไม่ดีเลยขอรับ
พวกท่านบางท่านคงเป็นพวกนอกศาสนา

บางท่านก็ใช้คำไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่นะขอรับ ข้าพเจ้าใช้ชื่อในเวบต่างๆ แตกต่างกันบ้าง ก็เพราะบางครั้ง ก็ลืมพาสเวอร์ดไป ก็เลยใช้ชื่อในแต่ละเวบต่างกัน แต่ชื่อจริง นามสกุลจริง ก็มีอยู่ เพราะเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

ใคร หรือ หน้าไหน อยากลองดี อยากเห็น อยากรู้ ว่าข้าพเจ้าของจริงหรือไม่ ก็มาพิสูจน์ได้ ข้าพเจ้าให้พิสูจน์มา ตั้งแต่เริ่มประกาศตัว คงประมาณ ๑๐ กว่าปีเห็นจะได้นะขอรับ
พวกท่าน อ่านภาษาไทย แล้วไม่กระดิก ไม่เข้าใจ แถมยังบิดเบือนคำอธิบายของข้าพเจ้า ไปตัดตอนให้สั้นลงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
สี่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย เกี่ยวกับ ภวังคจิต นั้น ถูกต้อง ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก เพราะอาจารย์ผู้สอนเรือง ภวัง ให้กับข้าพเจ้านั้น อย่างน้อย ก็ เปรียญ ๓ แน่นอน
สิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย เป็นเพียงอธิบายเพิ่มเติม ตามหลัก และสำนวนภาษาไทย ไม่ใช่สำนวนภาษาบาลี
ถ้าพวกท่านยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ควรที่จะยกเอาสิ่งที่พวกคุณไม่รู้ ให้ชี้ให้เห็น ก็ตอบไม่ได้ แถมยังมีจิตใจ สันดานเป็นคนพาล ไม่ค่อยดีขอรับ เอาเป็นว่า ข้าพเจ้าจะอธิบายให้อีกครั้งดังนี้

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบนิ่งอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิตหรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"


เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ แล้วยังไม่กระดิกคือ ยังไม่เข้าใจอีก ข้าพเจ้าก็แสดงธรรมให้พวกคุณได้สดับเอาว่า

ภวังคจิต นั้น ต้องแยก ออกเป็นสองคำ คือ
ภวัง หนึ่ง คำว่า ภวัง หรือ ภวังค์ หมายถึง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายในทุกส่วน
จิต หนึ่ง หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ฯ ซึ่ง ย่อมหมายถึง อวัยวะต่างๆของร่างกายในทุกส่วน ตั้งแต่ระดับ อตอม โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ฯ
และ อวัยวะต่างๆรวมกันเป็น ระบบอวัยวะ
ระบบอวัยวะ ก็คือ ภวัง

ถ้าพวกคุณคิดว่า พวกคุณสามารถนำความรู้ใดใดมาหักล้าง สิ่งที่ข้าพเจ้าได้แสดงไป ก็ให้ชี้ให้เห็นด้วยว่า สิ่งที่พวกคุณนำมานั้น มันอยู่ตรงส่วนใดในร่างกายของพวกคุณ ถ้าพวกคุณ ชี้ให้เห็นไม่ได้ ก็่ชิดซ้าย และไปห่างๆได้เลยขอรับ ไปนั่ง สงบสติ อารมณ์ คิดพิจารณาว่า หลักพระพุทธศาสนานั้น คือ หลักความจริง หลักธรรมชาติ ที่สามารถอธิบาย และชี้ให้เห็นได้ว่า มีจริง เป็นจริง ไม่ใช่นำมากล่าวอ้าง แต่พอให้อธิบาย พอให้ชี้แจงให้เห็นจริง กลับเฉไปทางอื่น ตอบไม่ได้ พวกคุณมันก็แค่พวกนอกศาสนาที่ไม่ได้รู้ซึัง ถึง ความจริงอะไรเลย

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 04 ก.ย. 2009, 20:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

murano เขียน:
เจ้าหมอนี่ น่าจะเป็นล็อคอิน เทวดา ในเว็บพลังจิต... เขาบอกว่า เขาคือศรีอริยะเมตไตรย


เจ้าหมอไหน..ครับคุณ..murano

มาโพสต์ต่อผม..เดียวคนไม่รู้..มาหมายเอาว่าเป็นผม..

...'วยเลย..

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 04 ก.ย. 2009, 21:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

Buddha เขียน:
ต้องขออภัยท่านทั้งหลาย ที่ได้อ่านแล้วไม่กระดิก ในสำนวนภาษาไทย ก็อย่าได้กล่าวร้าย ข้าพเจ้าไปในทางที่ไม่ดีเลยขอรับ
พวกท่านบางท่านคงเป็นพวกนอกศาสนา

บางท่านก็ใช้คำไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่นะขอรับ ข้าพเจ้าใช้ชื่อในเวบต่างๆ แตกต่างกันบ้าง ก็เพราะบางครั้ง ก็ลืมพาสเวอร์ดไป ก็เลยใช้ชื่อในแต่ละเวบต่างกัน แต่ชื่อจริง นามสกุลจริง ก็มีอยู่ เพราะเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

ใคร หรือ หน้าไหน อยากลองดี อยากเห็น อยากรู้ ว่าข้าพเจ้าของจริงหรือไม่ ก็มาพิสูจน์ได้ ข้าพเจ้าให้พิสูจน์มา ตั้งแต่เริ่มประกาศตัว คงประมาณ ๑๐ กว่าปีเห็นจะได้นะขอรับ
พวกท่าน อ่านภาษาไทย แล้วไม่กระดิก ไม่เข้าใจ แถมยังบิดเบือนคำอธิบายของข้าพเจ้า ไปตัดตอนให้สั้นลงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
สี่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย เกี่ยวกับ ภวังคจิต นั้น ถูกต้อง ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก เพราะอาจารย์ผู้สอนเรือง ภวัง ให้กับข้าพเจ้านั้น อย่างน้อย ก็ เปรียญ ๓ แน่นอน
สิ่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย เป็นเพียงอธิบายเพิ่มเติม ตามหลัก และสำนวนภาษาไทย ไม่ใช่สำนวนภาษาบาลี
ถ้าพวกท่านยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ควรที่จะยกเอาสิ่งที่พวกคุณไม่รู้ ให้ชี้ให้เห็น ก็ตอบไม่ได้ แถมยังมีจิตใจ สันดานเป็นคนพาล ไม่ค่อยดีขอรับ เอาเป็นว่า ข้าพเจ้าจะอธิบายให้อีกครั้งดังนี้

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบนิ่งอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิตหรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"


เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ แล้วยังไม่กระดิกคือ ยังไม่เข้าใจอีก ข้าพเจ้าก็แสดงธรรมให้พวกคุณได้สดับเอาว่า

ภวังคจิต นั้น ต้องแยก ออกเป็นสองคำ คือ
ภวัง หนึ่ง คำว่า ภวัง หรือ ภวังค์ หมายถึง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายในทุกส่วน
จิต หนึ่ง หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ฯ ซึ่ง ย่อมหมายถึง อวัยวะต่างๆของร่างกายในทุกส่วน ตั้งแต่ระดับ อตอม โมเลกุล เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ฯ
และ อวัยวะต่างๆรวมกันเป็น ระบบอวัยวะ
ระบบอวัยวะ ก็คือ ภวัง

ถ้าพวกคุณคิดว่า พวกคุณสามารถนำความรู้ใดใดมาหักล้าง สิ่งที่ข้าพเจ้าได้แสดงไป ก็ให้ชี้ให้เห็นด้วยว่า สิ่งที่พวกคุณนำมานั้น มันอยู่ตรงส่วนใดในร่างกายของพวกคุณ ถ้าพวกคุณ ชี้ให้เห็นไม่ได้ ก็่ชิดซ้าย และไปห่างๆได้เลยขอรับ ไปนั่ง สงบสติ อารมณ์ คิดพิจารณาว่า หลักพระพุทธศาสนานั้น คือ หลักความจริง หลักธรรมชาติ ที่สามารถอธิบาย และชี้ให้เห็นได้ว่า มีจริง เป็นจริง ไม่ใช่นำมากล่าวอ้าง แต่พอให้อธิบาย พอให้ชี้แจงให้เห็นจริง กลับเฉไปทางอื่น ตอบไม่ได้ พวกคุณมันก็แค่พวกนอกศาสนาที่ไม่ได้รู้ซึัง ถึง ความจริงอะไรเลย


ข้าพเจ้ารับผิดชอบอยู่แล้ว ข้าพเจ้าเข้ามาเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางอินเตอร์เนต นามนเป็น ๑๐ ปีแล้ว ที่อยู่ ชื่อ นามสกุล ก้รู้กับทั่วแล้ว ใครจะพิสูจน์ ก็เชิญได้เลยขอรับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 04 ก.ย. 2009, 21:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภวังคจิต ในพุทธศาสนา

Buddha เขียน:
ใสี่งที่ข้าพเจ้าอธิบาย เกี่ยวกับ ภวังคจิต นั้น ถูกต้อง ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก เพราะอาจารย์ผู้สอนเรือง ภวัง ให้กับข้าพเจ้านั้น อย่างน้อย ก็ เปรียญ ๓ แน่นอน

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ แล้วยังไม่กระดิกคือ ยังไม่เข้าใจอีก ข้าพเจ้าก็แสดงธรรมให้พวกคุณได้สดับเอาว่า..


แฮ..แฮ..ไม่กระดิก..จริง ๆ ..ภวังคจิต หมายถึง ดวงจิตที่ได้รับจากบิดามารดา
ยังงี้..ก็คนละดวง..กับที่แบกหามกรรมดีกรรมชั่ว..ในวัฏฏะจนหาเบื้องตนเบื้องปลาย..ไม่เห็น

หรืองัยครับ..งง..ๆ แฮ..แฮ..


อ้างคำพูด:
ถ้าพวกคุณคิดว่า พวกคุณสามารถนำความรู้ใดใดมาหักล้าง สิ่งที่ข้าพเจ้าได้แสดงไป ก็ให้ชี้ให้เห็นด้วยว่า สิ่งที่พวกคุณนำมานั้น มันอยู่ตรงส่วนใดในร่างกายของพวกคุณ ถ้าพวกคุณ ชี้ให้เห็นไม่ได้ ก็่ชิดซ้าย และไปห่างๆได้เลยขอรับ ไปนั่ง สงบสติ อารมณ์ คิดพิจารณาว่า หลักพระพุทธศาสนานั้น คือ หลักความจริง หลักธรรมชาติ ที่สามารถอธิบาย และชี้ให้เห็นได้ว่า มีจริง เป็นจริง ไม่ใช่นำมากล่าวอ้าง แต่พอให้อธิบาย พอให้ชี้แจงให้เห็นจริง กลับเฉไปทางอื่น ตอบไม่ได้ พวกคุณมันก็แค่พวกนอกศาสนาที่ไม่ได้รู้ซึัง ถึง ความจริงอะไรเลย


อ้างคำพูด:
ต้องขออภัยท่านทั้งหลาย ที่ได้อ่านแล้วไม่กระดิก ในสำนวนภาษาไทย ก็อย่าได้กล่าวร้าย ข้าพเจ้าไปในทางที่ไม่ดีเลยขอรับ พวกท่านบางท่านคงเป็นพวกนอกศาสนา


..พวกคุณ..คงไม่มีผมด้วยมั้ง..แฮ..แฮ..

คือผมดู..อย่างที่หลวงพ่อพุธ..ว่า..ผมเข้าใจ..อาจเพราะไปประสบมากะตัวด้วย..

แต่มาดูของคุณ..มันยัง..งง ๆ..อยู่นะ

ก็อย่าด่วนขับ..กบน้อย ๆ ออกนอกศาสนา..เลยนะ..ผมมีศาสนาเดียว..

หน้า 1 จากทั้งหมด 7 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/