วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 11:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โมหสมาธิ สมาธิหัวตอ ตาข่ายดักพรหม

โมหสมาธิ หรือ สมาธิหัวตอ สมาธิในลักษณะนี้มีผู้สอนและมีผู้ปฏิบัติกันอยู่มาก เอาแต่ความสงบเป็นหลัก จิตสงบก็นั่งอยู่ได้นาน ผู้ที่ทำให้จิตสงบไม่ได้ก็คิดวอกแวกไปมา คิดในเรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้าง คิดถึงเรื่องอดีตบ้างคิดถึงเรื่องอนาคตบ้าง สารพัดที่จะหาเรื่องมาคิดวุ่นวายไปหมด พยายามดึงเข้ามาอยู่ในคำบริกรรมก็นึกไปได้แป๊ปหนึ่ง เดี๋ยวก็หลงไปคิดในสิ่งต่างๆ อีก เป็นอยู่อย่างนี้ไม่มีความสงบตั้งมั่นได้เลย ผู้ทำจิตมีความสงบได้ก็จะมีความสุข มีความยินดีพอใจในความสุขของความสงบนั้น จิตที่ถอนออกจากความสงบแล้ว ผู้ที่เคยได้ฝึกปัญญามาดีเตรียมไว้แล้ว ก็น้อมจิตพิจารณาในปัญญาต่อไปได้เลย บางคนเมื่อจิตได้ถอนออกจากความสงบแล้วก็มีความเสียดายในความสุขที่มีอยู่ในความสงบ อยากจะทำสมาธิให้จิตมีความสงบต่อไป พยายามทุกอย่างจะต้องทำสมาธิให้จิตมีความสงบให้ได้จะได้มีความสุขในความสงบของสมาธิ แบบนี้เองจึงเรียกว่า โมหสมาธิ มีความหลงใหลในความสุข และหลงอยู่ในความสงบจนลืมตัว ผู้ทำสมาธิต้องมีปัญญา ศึกษาให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้น จะหลงอยู่ในความสงบสุขต่อไป จะนั่งได้เหมือนหัวตอ ไม่มีปัญญาจะนำมาพิจารณาในหลักสัจธรรมความเป็นจริงนี้เลย(1)

การฝึกสมาธิครั้นแต่ครั้งโบราณกาลนานมา ผู้ฝึกจะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งสามารถล่วงรู้ภาวะจิตของเรา สามารถแก้ไขเมื่อเกิดการผิดพลาด บอกอธิบายได้ทั้งข้อดีข้อเสีย มีเครื่องป้องกันเราจากเหล่ามาร อันได้แก่ เจ้ากรรมนายเวร ภูตผีปีศาจ เปรต สัมภเวสี และเทวปุตมาร.

การปฏิบัติกรรมฐาน หาใช่นั่งไปเรื่อยๆ เพื่อให้ใจสงบเท่านั้น นั่นเขาเรียกว่านั่งขาดทุน ต้องนั่งจนสงบที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วถอยออกมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ (สมาธิขั้นกลาง ละนิวรณ์ ๕ ประการได้) แล้วคิดพิจารณาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ให้เกิดปัญญา ถ้ามัวแต่อยู่ในฌาน มันจะไม่คิดอะไรมันจะเอาแต่สุขสงบอย่างเดียว ไม่เกิดปัญญาแต่อย่างใด นี่ละที่เขาว่าขาดทุน นั่งแทบตายแต่ไม่ได้ปัญญาอะไรขึ้นมาเลย ได้แต่ความสงบ ตอนถอยออกมาจากฌานนี่ละยาก เพราะมันเป็นสภาวะที่สุขมาก ใครเจอเข้าครั้งแรก มันไม่อยากจะทำอะไรอีกเลย อยากนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการฝึกนั่งสมาธิเอาฌานสมาบัติ ฌานสมาบัติเป็นเหมือนตาข่ายดักดักพรหม

สมาธิหัวตอ คือสภาวะที่เข้าถึงฌานสมาบัติ และสามารถทรงอารมณ์ฌานไว้ได้ พูดง่ายๆ ก็เข้าฌานเป็นปกตินั่นละ ไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน มันเข้าฌานอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า เข้าฌานจนชินนั่นเอง พอเข้าฌานจนชินแล้ว ก็ไม่รู้ว่า ตัวเองทรงฌานอยู่ เวลาทรงฌานนี่ กำลังฌานมันกดกิเลสหมดเลย จะรู้สึกไม่อยากได้อะไรเลย ไม่โกรธเลย ไม่หลงเลย อะไรเข้ามา ก็รู้สึกเฉยๆ ปล่อยมันผ่านไป จนหลงคิดไปว่า ตัวเองคงสำเร็จอรหัตตผลแล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว คนที่หลุดเข้าไปในสภาวะเช่นนั้นแล้ว จะถอนตัวยากมาก เพราะจะเกิดความถือตัวถือตน ว่าสำเร็จแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีอีกแล้ว บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนาแล้ว

คนที่หลงตัว อย่างนั้น ไม่ใช่คนเลวนะ สภาวะมันเหมือนหมดกิเลสแล้วมากๆ จนพระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติพระวินัยไว้เลยว่า ภิกษุหลงเข้าใจว่า ตนบรรลุมรรคผล บอกอุตตริมนุสธรรมนั้นแก่ผู้อื่น ต้องอาบัติไม่ถึงปาราชิก แต่ถ้าบอกคนอื่นเพื่อหวังลาภสักการะ อย่างนี้ปาราชิกไปเลย(2)

ไม่มีสิ่งใดในโลกที่มีแต่คุณอย่างเดียวหรือมีแต่โทษอย่างเดียว สิ่งใดมีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์ แม้แต่อากาศที่เราหายใจหรือข้าวที่เรากิน ก็ยังมีโทษได้ จึงขอให้ท่านทั้งหลายทำการศึกษาให้ถ้วนถี่ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจปฏิบัติ

(1) http://www.oknation.net/blog/print.php?id=297155
(2) http://akkarakitt.exteen.com/20080611/entry

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 26 ก.ค. 2009, 18:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้นำข้อความคำพูดของผู้อื่นมา พึงระมัดระวังนิดหนึ่ง

ก็คือว่า เมื่อมีผู้ซักถามขึ้น ควรอธิบายแทนได้

หากอธิบายไม่ได้ ผลเสียจะตกแก่ผู้ พูดประโยคเหล่านั้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นมีคนเขียนมาเผยแพร่แล้ว ก็เลยไม่เขียนใหม่ เพราะออกมาเหมือนๆ กัน

เข้าใจว่าคุณมาสายปฏิบัติ ถ้าจะสอนให้ผู้คนฝึกสมาธิจริงๆ ผมขอฝาก 2 ข้อ
1. บอกข้อดีได้ก็ต้องบอกข้อเสียแก่ผู้ฝึกได้
2. ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ฝึกเพราะการฝึกสมาธิต้องรับผิดชอบได้

ปกติผมจะแนะนำให้ฝึกเองในระดับขณิกะเท่านั้น เพราะไม่มีผลเสีย นอกจากนั้นต้องอยู่ในสายตาตลอด ขอให้พิจรณาด้วยนะครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสหนอๆๆๆๆๆๆ .... นรกหนอๆๆๆๆๆๆๆ :b16:

ใครเคยสร้างเหตุร่วมกัน เลยมาเชื่อกันหนอๆๆๆๆๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
กิเลสหนอๆๆๆๆๆๆ .... นรกหนอๆๆๆๆๆๆๆ :b16:

ใครเคยสร้างเหตุร่วมกัน เลยมาเชื่อกันหนอๆๆๆๆๆ


สงสัยผมต้องเคยสร้างเหตุกับเขาแน่ ๆ เลย
เลยได้มาสะดุดกับคำกล่าวของเขาอยู่เรื่อย

:b32: :b32: :b32:

Supareak Mulpong เขียน:
ปกติผมจะแนะนำให้ฝึกเองในระดับขณิกะเท่านั้น เพราะไม่มีผลเสีย นอกจากนั้นต้องอยู่ในสายตาตลอด ขอให้พิจรณาด้วยนะครับ


คุณหมายถึงว่าต้องอยู่ในสายตาใครครับ...
สายตาคุณ หรืออาจารย์ของคุณ
ต้องยอมรับว่าผมสงสัยตรงนี้มาตลอด...
แต่ก็ไม่เคยกล้าถาม เพราะผมเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ เรื่องเพี้ยน ๆ ของผมเอง
เวลาที่ผมนั่งสมาธิ บางครั้งผมจะเห็นนิมิต
และผมก็กะจะวางใจเบา ๆ เฝ้าดูมัน
แต่ก็จะมีบางอย่างมาขวางไว้ตลอด...
สิ่งที่มาคอยขวางไว้จะบอกในทำนองว่า
มันเป็นเรื่องอันตรายมาก ๆ สำหรับผม
ซึ่งผมจะต้องไม่นั่งสมาธิคนเดียว

:b14: :b14: :b14:

เหมือนเป็นคำขู่เลย...
และผมก็บ้าเชื่ออย่างเป็นจริงเป็นจังซะด้วย
ผมก็เลยเน้นสมาธิแนวเคลื่อนซะมากกว่า
ส่วนแนวนิ่ง จะทำเบา ๆ ไม่เน้น
เพราะผมสย๋อง...กับคำขู่นั่นจริง ๆ

:b9: :b9: :b9:
:b50: :b50: :b50:

ยังไงคุณก็ช่วยบอกข้อเสียของการทำสมาธิให้ผมทราบคร่าว ๆ ก็ได้ครับ
ผมจะได้มีเหตุผลในความเพี้ยนของตัวเองหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:
walaiporn เขียน:
กิเลสหนอๆๆๆๆๆๆ .... นรกหนอๆๆๆๆๆๆๆ :b16:

ใครเคยสร้างเหตุร่วมกัน เลยมาเชื่อกันหนอๆๆๆๆๆ


สงสัยผมต้องเคยสร้างเหตุกับเขาแน่ ๆ เลย
เลยได้มาสะดุดกับคำกล่าวของเขาอยู่เรื่อย

:b32: :b32: :b32:

Supareak Mulpong เขียน:
ปกติผมจะแนะนำให้ฝึกเองในระดับขณิกะเท่านั้น เพราะไม่มีผลเสีย นอกจากนั้นต้องอยู่ในสายตาตลอด ขอให้พิจรณาด้วยนะครับ


คุณหมายถึงว่าต้องอยู่ในสายตาใครครับ...
สายตาคุณ หรืออาจารย์ของคุณ
ต้องยอมรับว่าผมสงสัยตรงนี้มาตลอด...
แต่ก็ไม่เคยกล้าถาม เพราะผมเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ เรื่องเพี้ยน ๆ ของผมเอง
เวลาที่ผมนั่งสมาธิ บางครั้งผมจะเห็นนิมิต
และผมก็กะจะวางใจเบา ๆ เฝ้าดูมัน
แต่ก็จะมีบางอย่างมาขวางไว้ตลอด...
สิ่งที่มาคอยขวางไว้จะบอกในทำนองว่า
มันเป็นเรื่องอันตรายมาก ๆ สำหรับผม
ซึ่งผมจะต้องไม่นั่งสมาธิคนเดียว

:b14: :b14: :b14:

เหมือนเป็นคำขู่เลย...
และผมก็บ้าเชื่ออย่างเป็นจริงเป็นจังซะด้วย
ผมก็เลยเน้นสมาธิแนวเคลื่อนซะมากกว่า
ส่วนแนวนิ่ง จะทำเบา ๆ ไม่เน้น
เพราะผมสย๋อง...กับคำขู่นั่นจริง ๆ

:b9: :b9: :b9:
:b50: :b50: :b50:

ยังไงคุณก็ช่วยบอกข้อเสียของการทำสมาธิให้ผมทราบคร่าว ๆ ก็ได้ครับ
ผมจะได้มีเหตุผลในความเพี้ยนของตัวเองหน่อย




:b32:

อะแฮ่มมมม ... :b32:

เอ่อ .. พูดจริงๆค่ะ ใครเชื่อใครเพราะเคยสร้างเหตุร่วมกันมา ...

แต่พอหมดวิบากต่อกัน คนที่มาเชื่อเขาจะพบเส้นทางใหม่ที่เดินออกไปจากชีวิตของคนที่แนะนำเอง

ส่วนผู้แนะนำก็รับวิบากนั้นต่อไปค่ะ :b1:

ส่วนจะป็นกุศลหรืออกุศลนั่นเป็นเรื่องของจิตเขาบันทึกไว้ค่ะ ไม่ใช่ตามความคิดของเขาหรือของใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นอาจารย์สอนสมาธิได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ได้สมาธิในระดับเชี่ยวชาญมาก่อน อันนี้เป็นที่รู้เข้าใจยอมรับกันเป็นสากล และต้องเป็นผู้รอบรู้ เนื่องจากการฝึกสมาธิวิธีการนั้นขึ้นกับภาวะบุคคล จึงหมายความว่า ต้องไปเรียนวิชาชีพครูเพิ่ม อะไรทำนองนั้น จะเอาที่ตัวเองทำได้มาเป็นบรรทัดฐานนั้นก็ยังไม่ได้ พระสารีบุตรเองก็ยังเคยให้กรรมฐานผิดกองมาแล้ว

เมื่อเราอยากฝึกสมาธิ ไม่ว่าของศาสนา หรือลัทธิใดๆ ก็ตาม ก็ต้องไปสมัครเป็นลูกศิษย์ เพื่ออยู่ในความดูแลควบคุมของอาจารย์ผู้นั้น

ยกเว้นสมาธิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสมาธิของพวกนักรบ นักกีฬา เช่น นักดาบ ซามมูไร พวกยิงแม่น ตบแม่น ตีกอฟล์ เป็นต้น พวกนี้ไม่มีโทษ

โทษของสมาธิ มี 2 ระดับ คือ 1 เปิดโออาสให้เจ้ากรรมนายเวร หรือพวกอมนุษย์ต่างๆ เข้ามาเล่นงาน โดยปกติ พวกนี้ทำอะไรเราไม่ได้หากจิตเราไม่นิ่งพอ บางตัวเกาะอยู่เป็นสิบปี เจ้าตัวไม่มีทางรู้ ระดับที่ 2 คือติดตาข่ายดักพรหมณ กรณีได้ถึงฌาน

นิมิตลอยมา เป็นได้ 2 กรณี คือ ความทรงจำเก่า กับที่มาจากพวกอมนุษย์ ถ้าจะเป็นทิพยจักขุญานต้องฝึกต่อหลังจากได้รูปฌานแล้ว กำหนดรู้กำหนดเห็นได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำ ศึกษา สมาธิภาวนาวิธี ที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่านแสดงไว้ดีกว่าครับ


การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

viewtopic.php?f=2&t=19823&start=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่นำเรื่องนี้มาลงให้อ่านครับ

ประเด็นเรื่องโมหะสมาธิที่นำมาลงนั้น พิจารณาเห็นว่ามีส่วนที่เป็นจริงอยู่ คือ หากผู้ที่ฝึกสมาธิ ไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ไม่รู้ว่าอะไรใช่ทาง อะไรไม่ใช่ทาง พอจิตสงบลงไปเข้าสู่ฌาน ปีติและความสุขจะบังเกิดขึ้น จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีอาการอยากนั่งสมาธิอยู่อย่างนั้น ไม่อยากที่จะดำเนินวิปัสสนาต่อไป และจะหลงไปว่านี่คือการบรรลุแล้วได้ หรือหากเกิดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพต่างๆ แสงสีต่างๆ ปรากฏขึ้นในสมาธิ ก็จะเข้าใจว่าเป็นของจริง และจะเข้าใจว่านั่น คือ มรรค-ผล-นิพพานแล้ว....

แต่ด้วยเหตุผลดังกล่าวจากข้อความข้างต้น ไม่ใช่เป็นเครื่องบอกว่าให้เราเลิกฝึกสมาธิแบบสงบนิ่ง ไม่ควรฝึกสมาธิแบบสงบนิ่งที่อยู่กับอารมณ์เดียวไปเสียเลย เพราะคุณของสมาธิมีอยู่มาก และคนแต่ละคนนั้นล้วนมีจริตแตกต่างกัน ไม่เช่นนั้น จะเป็นการทำให้เกิดการสาปสูญแห่งการปฏิบัติแนวสมถะนำหน้าวิปัสสนาไปได้ ดังนั้นทางที่ดีเราควรจะฉลาดในการฝึก รู้ว่ากาลใดควรฝึกสมาธิแบบสงบนิ่ง กาลใดควรฝึกสมาธิอย่างอื่น หรือเจริญวิปัสสนา เลือกให้เหมาะกับจริตของตน และขอให้มีสติระลึกรู้อยู่เสมอว่านี่เรากำลังฝึกสมาธิแบบสงบนิ่งอยู่ จะได้ไม่เกิดความหลงไปว่าตนบรรลุแล้ว เพราะหากตราบใดที่ยังไม่ก้าวเข้าสู่การเจริญวิปัสสนา ยังไม่นำสภาวะต่างๆ มาเจริญวิปัสสนา ตราบนั้นสภาวะธรรมต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือที่ได้รับจากการฝึกสมาธิ ยังเป็นเพียงระดับโลกียะทั้งนั้น ยังไม่ทำให้เกิดการบรรลุแต่ประการใด พิสูจน์ได้ง่ายๆ คือ พอเลิกฝึกสมาธิไป เป็นเวลาไม่นานเท่าไร ก็จะรู้เองว่านี่คือหลงไป ยังไม่ใช่การบรรลุเลย เพราะกิเลสมันจะกลับมาได้อีกนั่นเอง

ขอให้เจริญในธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร