วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกภายนอก กว้างไกล ใครใครรู้
โลกภายใน ลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
จะมองโลก ภายนอก มองออกไป
จะมองโลก ภายใน ให้มองตน



รูปภาพ

ในแบบท่านพูดถึงท่านั่งไว้ดังนี้

ท่านั่งหลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด

แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้น

การณ์ปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่า

ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้นก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกันว่าขัดสมาธิ

(ขัดสะหมาด) หรือ ที่เรียกกันว่า นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง คือให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง

กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ มีปลายจดกัน ท่านว่าการนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็

เดินสะดวก เป็นท่านั่งที่มั่นคง เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบาไม่รู้สึกเป็นภาระ

นั่งอยู่ได้แสนนานโดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน ช่วยให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น กรรมฐานไม่ตก แต่เดิน

หน้าได้เรื่อย

มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็งหรือเครียดพึงทราบว่า ปฏิบัติไม่ถูกต้อง

พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อย ก่อนปฏิบัติต่อไป ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่

ซ่าน ถ้าลืมตา ก็อาจทอดลงหรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย * เมื่อนั่งเข้าที่สบายดีพร้อมแล้ว

ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ ปราชญ์บางท่านแนะนำว่า ควรหายใจยาวลึกๆ และช้าๆ เต็มปอดสักสองสามครั้ง

พร้อมกับตั้งความรู้สึกให้ตัวโล่งและสมองโปร่งสบายเสียก่อน แล้วจึงหายใจ โดยกำหนด (นับ)

ตามวิธี (นี้อธิบายกรรมฐานนับเลข)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 09:30, แก้ไขแล้ว 9 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ขยายความ คห. บน ที่มีเครื่องหมาย *



* อานาปานสติเป็นกรรมฐานอย่างเดียว ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมาก

ในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า ให้พึงนั่งอย่างนี้

ส่วนกรรมฐานอย่างอื่น ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน

หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไป เพราะความเหมาะสมกันโดยอนุโลม

กล่าวคือ เมื่อกรรมฐานใดนั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด

ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึงนั่งอย่างนี้

ยกตัวอย่าง เช่นการเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่าง ๆ นานๆ เป็นต้น

เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืน หรือนอน เป็นต้น

พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้ มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป


พูดอีกอย่างหนึ่ง การนั่งแบบคู้บัลลังก์นี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดแก่สุขภาพและการงาน

ดังนั้น เมื่อจะนั่ง หรือในกรณีจะทำอะไรที่ควรจะต้องนั่ง ท่านก็แนะนำ ให้นั่งท่านี้

เหมือน ที่แนะนำว่า เมื่อจะนอนก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา หรือเมื่อจะเดินอยู่ลำพัง

ก็ควรเดินแบบจงกรม ดังนี้ เท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.ย. 2009, 20:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณที่กรุณาตอบปัญหาค่ะคุณกรัชกาย :b8:

ขอคัดลอกคำแนะนำของคุณกรัชกายในกระทู้ "มีปัญหาการนั่งสมาธิ" มากระทู้นี้นะคะ

จริงๆแล้ว การปฏิบัติจริง หากได้ผู้เข้าใจการปฏิบัติจริงๆ คอยให้คำปรึกษา
ตัวเราเองยังไม่ต้องรู้ชื่อธรรมเลยก็ได้ รู้แต่เพียงว่าขณะนั้น ๆ ตนรู้สึกยังไง ความรู้สึกนั่นแหละคือสิ่ง
ที่ตนจะต้องกำหนดรู้ภาวะนั้นตามที่มันเป็นๆๆๆๆ แค่นี้เอง


ผู้เข้าใจการปฏิบัติจริง ๆ คอยให้คำปรึกษา
ถ้าคุณกรัชกายหมายถึงไปสำนักปฏิบัติธรรมนี่ เป็นไปไม่ได้เลยค่ะ เพราะไม่สะดวกจริง ๆ มีข้อจำกัดหลายอย่าง และแถว ๆ ที่พักอยู่ก็ไม่มีผู้เข้าใจการปฏิบัติจริง ๆ เสียด้วย :b5: ถ้าจะสะดวกก็มีแต่เข้าเว็บเท่านั้นค่ะ ถ้าจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์ให้เป็นกิจจลักษณะก็เกรงว่าคุณกรัชกายจะไม่รับ อีกอย่างหนึ่งคือเห็นว่าคุณกรัชกายก็ตอบเกือบทุกกระทู้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับอะไร :b17:

ความจริงต้องบอกว่านอนสมาธิถึงจะถูก ที่นอนก็เพราะรู้สึกว่า ถ้านั่งจะนั่งได้ไม่มั่นคงค่ะ
พ่ายต่อกิเลสมาร จะต้องกำหนดตามดูรู้ทันมันอยู่ท่านั้น ไม่หลบเลี่ยงปัญหา (สมุทัย)
ยอมรับว่ากลัวระเบิดจนต้องนอนค่ะ แต่มีอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ หนูเป็นโรค ๆ หนึ่ง (ถ้าบอกชื่อโรคคงไม่มีใครรู้จัก เพราะไม่ใช่โรคที่พบบ่อย) ที่พลอยทำให้นั่งขัดสมาธินาน ๆ ไม่ได้ค่ะ ปกติตอนเด็ก ๆ นั่งได้แค่ 1-2 นาที แล้วจะตึงมาก เลยนั่งพับเพียบตลอดมาไม่ว่าจะนั่งทำอะไรก็ตาม แต่เดี๋ยวนี้นั่งได้นานกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าถ้านั่งขัดสมาธิทำสมาธิจะนั่งได้นานมั้ย เลยนอนไปเลยค่ะ เคยได้ยินว่าเราทำสมาธิในอิริยาบทใดก็ได้ถ้าไม่ถนัดนั่ง คุณกรัชกายเห็นว่าควรทำอย่างไรดีคะ :b10:

การปฏิบัติกรรมฐานแนวนี้นี่ไม่ของง่ายอย่างที่คิด หรือตั้งกระทู้ไว้
ยอมรับค่ะ :b8:

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2009, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 8366 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ยอมรับว่ากลัวระเบิดจนต้องนอนค่ะ แต่มีอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ หนูเป็นโรค ๆ หนึ่ง (ถ้าบอกชื่อโรคคงไม่มีใครรู้จัก เพราะไม่ใช่โรคที่พบบ่อย) ที่พลอยทำให้นั่งขัดสมาธินาน ๆ ไม่ได้ค่ะ ปกติตอนเด็ก ๆ นั่งได้แค่ 1-2 นาที แล้วจะตึงมาก เลยนั่งพับเพียบตลอดมาไม่ว่าจะนั่งทำอะไรก็ตาม แต่เดี๋ยวนี้นั่งได้นานกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าถ้านั่งขัดสมาธิทำสมาธิจะนั่งได้นานมั้ย เลยนอนไปเลยค่ะ เคยได้ยินว่าเราทำสมาธิในอิริยาบทใดก็ได้ถ้าไม่ถนัดนั่ง คุณกรัชกายเห็นว่าควรทำอย่างไรดีคะ



อิริยาบถใหญ่ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถย่อย เช่น เคลื่อนไหวกาย หยิบจับ วางสิ่งนั้นสิ่งนี้ ฯลฯ ได้หมดครับ เป็นฐานฝึกได้หมด
(แต่กรณีคนร่างกายสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ จะใช้ ยืน เดิน นั่ง เป็นส่วนมาก จะนอนก็เฉพาะกลางคืน และนอนพักผ่อนกลางวันบ้าง)

ส่วนคุณร่างกายเป็นอย่างที่บอก ก็ทำเท่าที่ทำได้ เดินจงกรมบ้าง นั่งบนเก้าอี้บ้าง นอนบ้าง ดีถมไปแล้วครับ
นอนตามดูลมหายใจ หรือท้องพองท้องยุบไป ดูร่างกายรวมๆที่นอนอยู่ขณะนั้นบ้าง
นึกคิดอย่างไรก็กำหนดไปตามนั้น เมื่อเกิดอาการอย่างไร ก็กำหนดรู้ตามนั้นเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การปฏิบัติกรรมฐานแนวนี้นี่ไม่ของง่ายอย่างที่คิด หรือ ตั้งกระทู้ไว้

ยอมรับค่ะ


อย่าว่านามธรรมด้านในที่ว่า เข้าใจยาก รู้ได้เลยครับ

แม้รูปธรรมข้างนอก มองเห็นด้วยตาเนื้อ เช่น การนั่งนี่ล่ะ คนยังเข้าใจผิดคิดเป็นอื่นไปได้
หลายรายที่เข้าใจการนั่งอย่างนั้นว่า สมาธิบ้าง ว่าเป็นสมถะบ้าง
ดูความเห็นหนึ่ง

อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย

เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า

กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น


ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อจะนอนก็ควรจะนอนแบบสีหไสยา

กรุณาอธิบายหน่อยได้มั้ยคะว่าเป็นยังไง เข้าใจว่าคุณกรัชกายแนะนำว่าเดินจงกรมบ้าง นั่งบนเก้าอี้บ้าง นอนบ้าง ซึ่งน่าจะหมายถึงนอนหงายธรรมดา แต่สงสัยคำว่า "นอนแบบสีหไสยา" เพราะไม่เคยได้ยินค่ะ ใช่แบบพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์หรือปล่าวคะ

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
การปฏิบัติกรรมฐานแนวนี้นี่ไม่ของง่ายอย่างที่คิด หรือ ตั้งกระทู้ไว้

ยอมรับค่ะ


อย่าว่านามธรรมด้านในที่ว่า เข้าใจยาก รู้ได้เลยครับ

แม้รูปธรรมข้างนอก มองเห็นด้วยตาเนื้อ เช่น การนั่งนี่ล่ะ คนยังเข้าใจผิดคิดเป็นอื่นไปได้
หลายรายที่เข้าใจการนั่งอย่างนั้นว่า สมาธิบ้าง ว่าเป็นสมถะบ้าง
ดูความเห็นหนึ่ง

อ้างคำพูด:
สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย

เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า

กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น


ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ


งงค่ะ

และงง (มานานแล้ว) ว่าการทำสมาธิ สมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน มีส่วนเหมือนหรือส่วนต่างกันอย่างไร

แล้วก็สงสัยว่าจริง ๆ แล้วตัวเองไม่ค่อยมีความรู้ภาคทฤษฎี ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ได้หรือไม่ได้ยังไงคะ

:b45: รูปผู้หญิงนั่งสมาธิ เมื่อวานเห็นแล้วใจสงบแบบกะทันหัน ทันทีที่เห็น แต่ก็สงบนานนะคะ (ไม่รู้คนอื่นเป็นอย่างงี้มั้ย)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรุณาอธิบายหน่อยได้มั้ยคะว่าเป็นยังไง เข้าใจว่าคุณกรัชกายแนะนำว่าเดินจงกรมบ้าง นั่งบนเก้าอี้บ้าง นอนบ้าง ซึ่งน่าจะหมายถึงนอนหงายธรรมดา แต่สงสัยคำว่า "นอนแบบสีหไสยา" เพราะไม่เคยได้ยินค่ะ



นอนแบบสีหไสยา (หรือ สีหไสยาสน์) ตามศัพท์ เรียกว่า นอนอย่างราชสีห์
มีเรื่องเล่าว่า ราชสีห์ก่อนจะนอนจะสำรวจตนก่อนว่า ตัวนอนอยู่ท่าไหน แล้วจึงนอน
…รู้สึกตัวตื่น จะสำรวจดูตัว หัว หาง ฯลฯ ตน ว่าเคลื่อนขยับผิดไปจากเดิมหรือไม่ เมื่ออยู่ท่าเดิม
ก็จะลุกไปหาอาหาร เมื่ออวัยวะส่วนใดผิดรูปจากเดิม วันนั้นจะไม่ลุกไปหากิน


คุณรินรสเคยเห็นพระพุทธปางไสยา (ปางสีหไสยาสน์) ไหมครับ นั่นแหละนอนแบบ
สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) คือ นอนตะแคงขวา ขาเหยียดตรง แขนซ้ายขนานกับลำตัว


ประเด็นนี้ไม่ควรคิดมากครับ แบบเขาว่ายังงั้นก็ว่าไป เมื่อเรานอน ก็นอนท่าที่สบายที่สุด เหมาะสำหรับ
ตัวเรา แต่จะให้ดีนึกสำรวจว่าตนนอนอยู่ท่าไหน ตื่นนอนก็สำรวจดูตนเองสิว่า แขนขา ฯลฯ อยู่ท่าเดิม
ไหม (นอนอย่างคนมีสติ )
แต่ไม่ถึงกับเข้มงวดเหมือนราชสีห์นะครับ เดี๋ยวอดข้าว

อ้างคำพูด:

สมถกรรมฐาน หมายถึง การทำสมาธิ เช่น นั่งเอาขาข้างขวาทับขาข้างซ้าย
เอามือข้างขวาทับมือข้างซ้าย แล้วนั่งตัวตรงกำหนดลมหายใจเข้า
กำหนดลมหายใจออก หาคำภาวนามาเพื่อท่องบ่นอยู่กับอารมณ์นั้น
ให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น จิตก็จะมีสมาธิในอารมณ์ที่ต้องการ


งงค่ะ

และงง (มานานแล้ว) ว่าการทำสมาธิ สมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน มีส่วนเหมือนหรือส่วนต่างกันอย่างไร

แล้วก็สงสัยว่าจริง ๆ แล้วตัวเองไม่ค่อยมีความรู้ภาคทฤษฎี ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ได้หรือไม่ได้ยังไงคะ



ข้อว่า สมถกรรมฐาน - วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อไม่ให้คิดเลยไปไกล
บอกคร่าวๆไว้ว่า สมถะ ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญา เท่านี้พอก่อน


มีเวลาก็ค่อยอ่านทำความเข้าใจ กรรมฐาน-สมถะ-วิปัสสนา จากลิงค์เหล่านี้


ความหมาย กรรมฐาน

viewtopic.php?f=2&t=23002

ความหมาย สมถะ-วิปัสสนา

viewtopic.php?f=2&t=19596


ลิงค์นี้ฝึกอบรมจิตแล้วรู้สึก ตัวพอง เช่นกัน

viewtopic.php?f=2&t=18720

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณที่อธิบายคำว่า "นอนแบบสีหไสยา" ค่ะ

ไปอ่านลิ้งค์ฝึกอบรมจิตแล้วตัวพองมาแล้วค่ะ
แต่อีก 2 ลิ้งค์ยังได้แค่ scan แต่ยังไม่ได้ scim ค่ะ

รินรส เขียน:

และงง (มานานแล้ว) ว่าการทำสมาธิ สมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน มีส่วนเหมือนหรือส่วนต่างกันอย่างไร

แล้วก็สงสัยว่าจริง ๆ แล้วตัวเองไม่ค่อยมีความรู้ภาคทฤษฎี ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ได้หรือไม่ได้ยังไงคะ



ที่กังวลแบบนี้เพราะเกรงว่าจะใช้คำศัพท์ผิด หรือเข้าใจผิดค่ะ


วันนี้ตอนเช้าลองนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิน่ะค่ะ ก็นั่งได้ประมาณ 20 กว่านาทีนะคะ

ตั้งแต่เมื่อวานซืน นอกจากรู้สึกว่าตัวพองแล้วยังเกิดอะไรแปลก ๆ หลายอย่าง
ขอเวลาสังเกตดูอีกซัก 2-3 วัน แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2009, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วันนี้ตอนเช้าลองนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิน่ะค่ะ ก็นั่งได้ประมาณ 20 กว่านาทีนะคะ

ตั้งแต่เมื่อวานซืน นอกจากรู้สึกว่าตัวพองแล้วยังเกิดอะไรแปลก ๆ หลายอย่าง
ขอเวลาสังเกตดูอีกซัก 2-3 วัน แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ



อ้างคำพูด:
วันนี้ตอนเช้าลองนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิน่ะค่ะ ก็นั่งได้ประมาณ 20 กว่านาทีนะคะ



เป็นนิมิตหมายที่ดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้นยืนแค่ 20 นาทีพอก่อน ฝึกหัดนั่งประมาณนี้ให้สุขภาพกายแข็งแรงดีก่อน
แล้วต่อไปจึงค่อยปรับอีกสัก 4-5 นาที เป็น 24-25 นาที
ถ้าคุณหมั่นทำอย่างนี้เรื่อยๆไป ร่างกายจะหายจากสิ่งที่เคยบ่นก่อนหน้า
แล้วก็หมั่นเดินจงกรมด้วยครับ เส้นเอ็นจะผ่อนคลาย ศึกษาอานิสงส์เดินจงกรมครับ

อ้างคำพูด:
ตั้งแต่เมื่อวานซืน นอกจากรู้สึกว่าตัวพองแล้วยังเกิดอะไรแปลก ๆ หลายอย่าง
ขอเวลาสังเกตดูอีกซัก 2-3 วัน


ไม่มีภาวะใดจิรัง เกิดขึ้น ดังอยู่ชั่วขณะ แล้วก็สลายไป ครับ
ให้หมั่นกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นๆทุกครั้ง ทุกๆขณะ แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

ตัวพอง "ตัวพองหนอๆๆๆ"

กำหนดตามนั้น เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร ฯลฯ คิดรู้สึกยังไง กำหนดตามนั้น
ทุกครั้ง ทุกขณะไป :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เป็นนิมิตหมายที่ดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้นยืนแค่ 20 นาทีพอก่อน ฝึกหัดนั่งประมาณนี้ให้สุขภาพกายแข็งแรงดีก่อน
แล้วต่อไปจึงค่อยปรับอีกสัก 4-5 นาที เป็น 24-25 นาที
ถ้าคุณหมั่นทำอย่างนี้เรื่อยๆไป ร่างกายจะหายจากสิ่งที่เคยบ่นก่อนหน้า
แล้วก็หมั่นเดินจงกรมด้วยครับ เส้นเอ็นจะผ่อนคลาย ศึกษาอานิสงส์เดินจงกรมครับ


:b31: ไปหาอ่านอานิสงส์ของการเดินจงกรมมาแล้วค่ะ

233 ประโยชน์ของการเดินจงกรม

ปัญหา วิธีการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน เพื่อทำจิตให้สงบระงับนั้น มีอยู่หลายวิธี การเดินจงกรมก็เป็นวิธีหนึ่ง อยากทราบว่าพระพุทธองค์ทรงเห็นประโยชน์อย่างไร จึงทรงแนะนำให้ภิกษุเดินจงกรม ?

พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑ ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรมมี ๕ ประการฉะนี้แลฯ”


จังกมสูตร ป. อํ. (๒๙)
ตบ. ๒๒ : ๓๑ ตท. ๒๒ : ๒๘
ตอ. G.S. III : ๒๑


http://www.84000.org/true/233.html


พอดีหาได้แบบนี้เลยค่ะ ความจริงแล้วไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยค่ะ


:b6: แต่มีปัญหาว่าทางที่จะเดินได้ในห้องพักยาวแค่เดินได้ 9-10 ก้าว จะเป็นอุปสรรคไหมคะ (ไม่ได้อยู่บ้านค่ะ)

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาแต่เนื้อๆ =>

๑.อดทน ต่อการเดินทางไกล -- (คือ เดินนานๆ เดินไกลๆ ก็ไม่เมื่อย ไม่เหนื่อย)
๒.อดทน ต่อการบำเพ็ญเพียร
๓.มีอาพาธ (โรค) น้อย
๔.อาหารที่กินเข้าไป ย่อยด้วยดี -- (ช่วยย่อยอาหาร)
๕.สมาธิที่เกิดเพราะจงกรม ตั้งอยู่ได้นาน

อ้างคำพูด:
แต่มีปัญหาว่า ทางที่จะเดินได้ในห้องพักยาวแค่เดินได้ 9-10 ก้าว จะเป็นอุปสรรคไหมคะ (ไม่ได้อยู่บ้านค่ะ)


ถามว่า เป็นอุปสรรคไหม ?

ไม่เป็นหรอกครับ :b16:

ถึง เดินก็มิใช่เฉพาะที่ห้องเท่านั้นนะครับ เราจะเดินไปไหนมาไหน ระยะทางสั้นยาวเท่าใด ไม่สำคัญ
หากมีสติ สร้างความรู้สึกตัวได้ว่า กำลังเดินอยู่อย่างนั้นๆ ก็เรียกว่า เดินจงกรม

แต่เดินใจลอย คิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้วบ้าง วาดเรื่องราวอนาคตที่ไม่มีฐานความเป้นจริงอยู่บ้าง แบบนี้
ไม่เรียกว่า เดินจงกรม

อ้างคำพูด:
ฯลฯ ความจริงแล้วไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยค่ะ


อ่านแล้วฟุ้งซ่าน อ่านแล้วเมา หลงไม่รู้เหนือรู้ใต้ หรือ ติดยึดอยู่กับแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง
ก็จะเป้นอย่างที่เห็นๆ นั่นแหละ ครับ :b32:

ดังนั้น อ่านแล้วต้องรู้จักประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตตนในปัจจุบัน :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาแต่เนื้อๆ =>

๑.อดทน ต่อการเดินทางไกล -- (คือ เดินนานๆ เดินไกลๆ ก็ไม่เมื่อย ไม่เหนื่อย)
๒.อดทน ต่อการบำเพ็ญเพียร
๓.มีอาพาธ (โรค) น้อย
๔.อาหารที่กินเข้าไป ย่อยด้วยดี -- (ช่วยย่อยอาหาร)
๕.สมาธิที่เกิดเพราะจงกรม ตั้งอยู่ได้นาน

อ้างคำพูด:
แต่มีปัญหาว่า ทางที่จะเดินได้ในห้องพักยาวแค่เดินได้ 9-10 ก้าว จะเป็นอุปสรรคไหมคะ (ไม่ได้อยู่บ้านค่ะ)


ถามว่า เป็นอุปสรรคไหม ?

ไม่เป็นหรอกครับ :b16:

ถึง เดินก็มิใช่เฉพาะที่ห้องเท่านั้นนะครับ เราจะเดินไปไหนมาไหน ระยะทางสั้นยาวเท่าใด ไม่สำคัญ
หากมีสติ สร้างความรู้สึกตัวได้ว่า กำลังเดินอยู่อย่างนั้นๆ ก็เรียกว่า เดินจงกรม

แต่เดินใจลอย คิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้วบ้าง วาดเรื่องราวอนาคตที่ไม่มีฐานความเป้นจริงอยู่บ้าง แบบนี้
ไม่เรียกว่า เดินจงกรม

อ้างคำพูด:
ฯลฯ ความจริงแล้วไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยค่ะ


อ่านแล้วฟุ้งซ่าน อ่านแล้วเมา หลงไม่รู้เหนือรู้ใต้ หรือ ติดยึดอยู่กับแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง
ก็จะเป้นอย่างที่เห็นๆ นั่นแหละ ครับ :b32:

ดังนั้น อ่านแล้วต้องรู้จักประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตตนในปัจจุบัน :b16:


ขออนุโมทนาค่ะ :b8: ข้อความทั้งหมดโดนใจค่ะ


หนูเข้าใจผิดว่าคุณกรัชกายจะแนะนำให้ฝึกเดินจงกรมแบบที่เขาสอน ๆ กัน เลยชิงถามไว้ก่อนค่ะ
แต่คุณกรัชกายแนะนำอย่างนี้ หนูก็สบายใจแล้วค่ะ เพราะตอนแรกกังวลด้วยว่าจะมีเวลาฝึกไหม
จริง ๆ แล้วตอนนี้เวลาทำอะไรในชีวิตประจำวันก็พยายามกำหนดจิตไปด้วย แต่เผลอบ่อยมาก
ที่ทำเพราะเคยอ่านเจอในหนังสือค่ะ ไม่ใช่การประยุกต์ใช้
ขอบพระคุณที่สะกิดค่ะ :b8:

แต่หนูไม่แน่ใจว่าหนูไม่แน่ใจว่าตัวเองโดนทุบด้วยหรือเปล่า :b5:


กรัชกาย เขียน:
ถามว่า เป็นอุปสรรคไหม ?

ไม่เป็นหรอกครับ :b16:

ถึง เดินก็มิใช่เฉพาะที่ห้องเท่านั้นนะครับ เราจะเดินไปไหนมาไหน ระยะทางสั้นยาวเท่าใด ไม่สำคัญ
หากมีสติ สร้างความรู้สึกตัวได้ว่า กำลังเดินอยู่อย่างนั้นๆ ก็เรียกว่า เดินจงกรม

แต่เดินใจลอย คิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้วบ้าง วาดเรื่องราวอนาคตที่ไม่มีฐานความเป้นจริงอยู่บ้าง แบบนี้
ไม่เรียกว่า เดินจงกรม


หมายความว่าเดินปกติแต่กำหนดจิตว่า "ซ้ายหนอ" "ขวาหนอ" ไปด้วยใช่ไหมคะ ไม่ต้องถึงกับ "ยกหนอ" "ย่างหนอ" "เหยียบหนอ"

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หมายความว่าเดินปกติแต่กำหนดจิตว่า "ซ้ายหนอ" "ขวาหนอ" ไปด้วยใช่ไหมคะ ไม่ต้องถึงกับ "ยกหนอ" "ย่างหนอ" "เหยียบหนอ"


นอกบ้าน เราก็เดินปกติ เหมือนเดินทั่วๆไปนั่นแหละ
แต่ภายในเรารู้สึกตัวว่ากำลังคิดทำอะไร

หากเดินเร็ว ตัดคำว่า หนอ ออกก่อนได้ ประยุกต์ให้เหมาะกับการเดิน วิ่ง(ช้า-เร็ว) ในขณะนั้นๆ
(ไม่พึงติด ศัพท์ "หนอ" โดยไม่มีเหตุผล)

เดินจงกรม ก็คือ เดินกลับไปกลับมา หมายความว่า เดินสุดพื้นที่แล้ว ก็กลับหลังหันเดินใหม่
เรียกว่า เดินจงกรม -(ส. จงกรม ป.จงฺกมติ)

หากออกวิ่ง จะเรียกว่า "วิ่งจงกรม" ก็ยังได้ คือ วิ่งกลับไปกลับมา แต่เราตามดูรู้ทันอาการเคลื่อนไหวนั้นๆ

วิ่งก็ตัดหนอออก เอาแต่ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ฯลฯ ก็วิ่งเพลินไปเท่านั้น :b16:

นั่นเป็นเพียงวิธี,อุบาย, หรือ หนทางเจริญสติ (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) โดยใช้ร่างกายเป็นอารมณ์ :b16: หรือเป็นกรรมฐาน :b16:


อนึ่ง ยกหนอ ย่างหนอ เหยี่ยบหนอ ฯลฯ ระยะสูงขึ้นไป เราฝึกเมื่อต้องการจะปรับอินทรีย์ธรรม
(...วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินรีย์) ขึ้นไปอีก

แบบนี้มาฝึกทำที่ห้อง เมื่อถึงเวลาอันสมควร
ไม่ควรฝึกทำตามท้องถนน ตามห้างสรรพสินค้า :b32: เดี๋ยวชาวพาราจะว่ายัยนีท่าจะเพี้ยน
ตานี่ท่าจะบร้า :b32:

ไม่มีอะไรยุ่งยากเลยใช่ไหมครับ แต่ทิฐิแต่ละคนทำให้ต่าง เพราะไม่เข้าใจเหตุผลการฝึกการกระทำ
ที่แท้จริง ถึงข้างใน จึงติดเพียงรูปแบบ


อ้างคำพูด:
แต่หนูไม่แน่ใจว่า หนูไม่แน่ใจว่า ตัวเองโดนทุบด้วยหรือเปล่า


หุหุ ไม่ทุบหรอกจ้า ทุบสุ่ม ๔ สุ่ม ๕ ได้ที่ไหน :b16: :b32:

ต่อไปมีอะไรข้องใจ ก็ถามนะขอรับ ไม่ต้องเกรงใจ ไม่พึงเก็บไว้ให้เป็นหลักตอทิ่มตำใจ :b12:




มีเวลาค่อยๆศึกษา เกี่ยวกับจงกรมที่ =>

viewtopic.php?f=2&t=20691

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพุธ กับหลวงปู่ดูลย์พูดเหมือนกันอย่างหนึ่ง
ว่า "อิริยาบทไหนก็ได้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
หลวงพ่อพุธ กับหลวงปู่ดูลย์พูดเหมือนกันอย่างหนึ่ง
ว่า "อิริยาบทไหนก็ได้"


สวัสดีค่ะ คุณชาติสยาม
หนูไม่แจ้ง ว่าคุณมีความเห็นหรือรู้สึกอย่างไรค่ะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร