วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 01:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ฐานะบุคคลกับการปฏิบัติธรรม

พระพุทธองค์เมื่อพบทางดับทุกข์แบบถาวรได้ จึงได้แนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมกับภาวะทางจิตของบุคคล ทุกๆ คนสามารถเริ่มปฏิบัติธรรมได้ทันที โดยไม่ต้องปรับปรุงตังเองให้เป็นการวุ่นวายแต่ประการใด เปรียบเสมือนหมอรักษาคนไข้ มีการตรวจอาการเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก ซักประวัติ ฯ จากนั้นจึงหาวิธีการและยาที่เหมาะสม

สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรมนั้น คือ บุญเก่ากรรมเก่า ผู้ใดสั่งสมบุญยาบารมีไม่ถึงแล้ว จะปฏิบัติธรรมให้ได้ถึงที่สุดนั้นเป็นฐานะอันมีมิได้ แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าบุญที่สะสมมาเพียงพอสำหรับการปฏิบัติธรรม? ภาวะนี้หยั่งรู้ได้ยาก ดังนั้น เราหันมาสร้างบุญกันตอนนี้จะเป็นการดีเสียกว่ารอของเก่า พระพุทธองค์จึงส่งเสริมให้รักษาศีล ทำทาน หรืออกเรือนบวช เพื่อสร้างบุญใหม่ในชาติปัจจุบัน

บุคคลมีภาวะที่แต่ต่างกัน ทั้งสรีระ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ภาวะแวดล้อม สำหรับการปฏิบัติธรรมนั้น เราอาจจะจำแนกบุคคลออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน เพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติให้พอดีกับภาวะบุคคล อันได้แก่

1.บุคลธรรมดา หรือผู้ครองเรือน รักษาศีล 5 มีชีวิตแบบปกติธรรมทั่วไป โดยปกติ จิตจะเป็นอกุศลเสียส่วนมาก มีจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเฉพาะตอนทำบุญทำทาน เจริญวิปัสสนา
2.พระที่ยังไม่ได้อริยมรรค ออกเรือนบวช สละทุกอย่าง รักษาศีล 227 ข้อ ไม่ผิดธรรมวินัย เรียนพระธรรม สำรวมกายวาจาใจ ละนิวรณ์ จิตปกติจะเป็นทั้งกุศลและอกุศลในอัตราที่พอๆ กัน
3.นักบวชนอกศาสนา เป็นผู้บริสุทธิ์ ถือศีลบริสุทธิ์ ปราศจากราคะ วิราคะ มีฌานขั้นสูง จิตจะเป็นกุศลเฉพาะตอนทำสมาธิ เมื่ออกจากสมาธิจิตส่วนมากยังเป็นอกุศลอยู่ แต่อาจจะไม่รุนแรงเพราะมีศีลคอยควบคุมไว้
4.พระที่ได้อริยะมรรคแล้ว แต่ยังไม่เป็นอรหันต์ มีองค์มรรคเกิดแล้ว อวิชชาดับแล้วบางส่วน จิตส่วนมากจะเป็นกุศล
5.พระอรหันต์ สิ้นกิเลสทั้งปวงแล้ว จิตเป็นกุศลอย่างเดียว

การปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้เป็น 3 แนวทาง คือ การทำสมถะตามด้วยวิปัสสนา การทำวิปัสสนาตามด้วยสมถะ และการทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการปฏิบัติในแต่ละแบบนั้น สำหรับบุคคลผู้มีฐานะทางจิตที่ต่างกัน เราจะไปนำคำสอนของฌานลาภีบุคลมาปฏิบัติ หรือแม้แต่ของสมมุติสงฆ์มาปฏิบัติ ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง การปฏิบัติธรรมนั้นต้องถูกธรรม ถูกบุคคล โดยเฉพาะเราเป็นบุคคลธรรมดา ตื่นเช้ามาปฏิบัติธรรม กลางวันใช้ชีวิตปกติ ขายปลาก็ฆ่าปลา ของของก็ต้องโกหก ศีลห้ายังรักษาได้ไม่ครบ กลางคืนก็ต้องกลับไปนอนกับเมีย แล้วจะนำเอาคำสอนในส่วนที่เป็นของพระเสขะมาปฏิบัติจึงไม่ใช่ครรลองที่ถูกต้อง

1) กรณีเป็นผู้มีบุญยาบารมีสูง มีทรัพย์มาก เป็นผู้มั่งคั่ง เป็นพ่อค้า เสนาบดี เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ บุคคลเหล่านี้เมื่อออกเรือนบวช จำจะต้องสละสิ้นซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อไปบำเพ็ญตนในที่สงัด คือ ป่า รออาหารที่คนนำมาถวาย ไม่มีคนรับใช้ ไม่มีอะไรนอกจากจีวรและเครื่องใช้จำเป็นไม่กี่ชิ้น ด้วยสถานะอันนี้ บุคคลผู้ซึ่งละได้ด้วยลาภยศและสรรเสริญ จึงเป็นผู้สละได้แล้วซึ่งกามราคะเบื้องต้น เมื่อบวชจะต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ถือศีล 227 ข้อ สำรวมในปาติโมก เรียนพระธรรมคำสั่งสอน สำรวมอินทรีย์ห้า ละนิวรณ์ และมาปฏิบัติสมถะกรรมฐาน มีสมาธิที่เรียกว่าเนกขัมมะสมาธิตั้งแต่ตอนบวช จิตมีความตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน แล้วจึงปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กำจัดอวิชชาได้บางส่วน จึงจะถือว่ามีสัมมาสมาธิ ในฐานะเช่นนี้ บุคคลธรรมทั่วไปที่ยังต้องครองเรือน (ไม่มีอะไรให้สละ พวก NPL หนีหนี้ก็ไม่นับ) คงไม่ได้จัดอยู่ในคนจำพวกนี้ นอกจากจะบำเพ็ญตบะแบบโยคีในป่า ห่างผู้ห่างคน

2) กรณีปุตุชนคนธรรมดาออกเรือนบวช ก็ถือว่าได้สร้างบุญยาบารมี อานิสงค์ของการบวชมีมาก เมื่อมาประพฤตพรรมจรรย์ตามที่พระพุทธองค์บัญญัติ ก็จะเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สงบ แต่ไม่เหมือนกับพวกที่บวชมาจากสังคมชั้นสูง ยังต้องฝึกฝนตัวเองอีกมาก แต่บุญที่เกิดจากการบวชจะส่งเสริมให้การปฏิบัติธรรมเจริญ กิจวัตรประจำวันที่ไม่ได้ไปยุ่งทางโลกก็จะเป็นปัจจัยส่งเสริม มีเงื่อนไขเพียงอย่างเดียวว่า ต้องบวชถูกตามธรรมวินัย หากบวชผิด ถือเป็นกรรมหนัก บวกลบกับการอยู่ในธรรมวินัยแล้ว ถือว่าขาดทุน

3) สำหรับบุคคลทั่วไปธรรมดา ไม่จำกัดว่าต้องบวชเรียน ใช้วิธีการพิจารณาขันธ์ห้าอินทรีย์หก เมื่อจิตมุ่งมั่นอยู่กับการพิจารณาขันธ์ห้าอินทรีย์หก ไม่ฟุ้งซ่าน สมาธิก็เกิดได้เองโดยธรรมชาติ เป็นสัมมาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่มีปัญญากำกับจากการวิปัสสนา อยู่ในระดับพอเหมาะพอดีกับการปฏิบัติ ไม่มากไป ไม่น้อยไป จึงอยู่ในฐานะที่สามารถปฏิบัติได้โดยไม่จำกัดฐานะบุคคล และจะต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาศีล สร้างทานบารมี

4) กรณีฌานลาภีบุคคล ผู้มีสมาธิขั้นสูง (ฌาน 7-8) เป็นโลกียฌาน เนื่องด้วยสมัยพุทธการ มี พราหมณ์ ฤๅษี นักบวชนอกศาสนาจำนวนมากมีความพระสงค์จะมาบวชในพระธรรมวินัย นักบวชเหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีฌานสมาบัติมาก่อนหน้า ถือศีลบริสุทธิ์ พระพุทธองค์จะไห้ปาราวาสก่อน 4 เดือน แล้วจึงให้บวชได้ นักบวชเหล่านี้พระพุทธองค์ให้ปฏิบัติเพื่อการได้มาซึ่งอริยมรรคด้วยการวิปัสสนาในสมาธิ คือปฏิบัติ คู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน โดยใช้นิโรธเป็นฐานอารมณ์ของสมาธิ (วิปัสสนาในฌาน 9)

การปฏิบัติทั้ง 4 กรณีดังที่กล่าวมาขั้นต้น มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ สร้างสัมมาทิฏฐิ หรืออาจะเรียกได้อีกหลายอย่างว่า สร้างปัญญา ดับโมหะ ประหารอวิชชา ทั้งหมดนี้มีความหมายเดียวกัน

5) สำหรับพระอริยะที่ยังไม่ได้อรหันต์ การปฏิบัติธรรมโดยมาก จะเป็นการเร่งให้สามารถบรรลุอรหันต์ได้เร็วขึ้น

6) สำหรับพระอรหันต์ จริงๆ ท่านไม่ต้องทำอะไรแล้ว แต่อาจจะอยู่เป็นเนื้อนาบุญให้กับชนรุ่นต่อๆ ไป ศึกษาพระธรรมให้ละเอียดขึ้นเพื่อเผยแพร่ธรรม

ท่านพุทธศาสตร์สนิกชนทั้งหลาย จะเห็นได้ว่าบางท่านมีความตั้งใจจะปฏิบัติธรรมเพื่อหาทางพ้นทุกข์ มีความต้องการให้ให้ตนเองค้นพบความสำเร็จหนีทุกข์ได้เร็วๆ โดยไม่ไต่สวนพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้จบครบกระบวนการ หากเราได้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนที่ผิดไปปฏิบัติ ผลก็จะออกมาตามเหตุ คือ ได้ผลที่ผิดออกมา เราจะต้องเสียเวลาไปชาติหนึ่ง ชาตินี้ก็ถือว่าเสียชาติเกิด ชาติต่อไปจะเกิดมาพบพุทธศาสนาอีกหรือเปล่าก็ไม่รู้ การปฏิบัติธรรมของผู้ที่สนใจทั้งหลายไม่สามารถไปถึงเป้าหมาย เพราะไม่รู้ทางเดินที่ถูกต้องแท้จริง จึงได้แต่พากันหลบทุกข์ชั่วคราวอยู่ที่ความสงบเท่านั้น

ขอให้ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในธรรม อย่าประมาทในการทำกุศลกรรมทั้งมวล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 02 ก.ย. 2009, 20:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกมัย คือปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมควรแก่ธรรมนี่ตีความได้กว้างนะ เรียกว่าตามอัญชาสัย น่าจะเหมาะกว่าครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) หมายความถึงการปฏิบัติจากเหตุไปหาผล ยกตัวอย่างเช่น อยากได้ข้าวก็ต้องปลูกข้าว แต่เราบังคับข้าวออกรวงไม่ได้ บังคับให้ต้นข้าวโตก็ไม่ได้ ก็ต้องไปปฏิบัติที่เหตุของการเจริญของต้นข้าว คือ การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตามเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

การเจริญปัญญาก็ต้องไปหาการปฏิบัติธรรมที่เป็นต้นตอการเกิดปัญญา การทำสมาธิก็ต้องไปปฏิบัติธรรมที่เป็นต้นตอของการเกิดสมาธิ

พระอริยะสาวกผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว เป็นพระโสดาบันขึ้นไป พระพุทธองค์จะสอนการปฏิบัติในฐานะที่เป็นผู้มีปัญญาแล้ว ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ได้แล้ว (นับ 10, 11, 12, .... ) คำสอนส่วนมากในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์จะสอนให้กับพระภิกษุผู้สำเร็จขั้นโสดาบันขึ้นไป คำที่ขึ้นต้นว่า ดูกรภิกษุ นั้นหมายถึงพระเอหิภิกขุอุปสัมปทา พอพระพุทธองค์จะสอนผู้ที่ดวงตายังไม่เห็นธรรม ไม่ถึงกระแสพระนิพพาน จะสอนตั้งแต่เริ่มต้น (นับ 1,2,3 ... ) คือ เรื่องขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร