วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณวสวัตตี

สบายดีน่ะครับ

ยินดีที่ได้สนทนาครับ
มีสิ่งใดจะเสนอแนะ พูดคุย ก็เชิญตามสะดวกน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตร

ที่ตรัสถึง สมาธิที่มีปัญญาและสติประกอบ

มาเสนอเพิ่ม



[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลาย จงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด

เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ

ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า

สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑

สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑

สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑

สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร ๑

ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด

เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ

จบสูตรที่ ๗
๘. อังคิกสูตร


[๒๗] สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ อปฺปมาณํ นิปกา ปติสฺสตา

สมาธึ ภิกฺขเว ภาวยตํ อปฺปมาณํ นิปกานํ ปติสฺสตานํ ปญฺจ ญาณานิ
ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺติ กตมานิ ปญฺจ

อยํ สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข จว อายตึ จ สุขวิปาโกติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ อริโย นิรามิโสติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ อกาปุริสเสวิโตติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

อยํ สมาธิ สนฺโต ปณีโต ปฏิปฺปสฺสทฺธิลทฺโธ เอโกทิภาวาธิคโต น จ
สสงฺขารนิคฺคยฺหวาริตปฺปตฺโตติ ปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ

โส โข ปนาหํ อิมํ สมาธึ สโตว สมาปชฺชามิ สโต วุฏฺฐหามีติปจฺจตฺตญฺเญว ญาณํ อุปฺปชฺชติ ฯ

สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ อปฺปมาณํ นิปกา ปติสฺสตา สมาธึ ภิกฺขเว ภาวยตํ อปฺปมาณํ นิปกานํ ปติสฺสตานํ อิมานิ ปญฺจ ญาณานิ ปจฺจตฺตญฺเญว อุปฺปชฺชนฺตีติ ฯ






ในตอนต้นของพระสูตร
กล่าวถึง สมาธิอันไม่มีประมาณ(อปฺปมาณํ )
อันเป็นสมาธิที่ประกอบด้วย ปัญญาและสติ(นิปกา ปติสฺสตา )

คำว่า ความเป็นธรรมเอก นั้นคือ เอโกธิภาวะ


และ พึงสังเกตุ ที่ตรัสว่า "ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑ ".

ตรงจุดนี้ ก็ชัดเจนอีกว่า หาใช่ว่า ถ้าจิตเป็นสมาธิระดับแน่วแน่(เอโกธิภาวะ) จะปราศจากสติสัมปชัญญะใดๆเลย.
มิหนำซ้ำ ต้องมีปัญญา(อนาสวะสัมมาทิฏฐิ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ) และ สติ(สัมมาวายามะ สัมมาสติ) จึงจะบังเกิดสมาธิในแนวทางแห่งอริยะเช่นนี้ขึ้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่เป็นสมาธิที่ทำให้จิตได้พักผ่อนแบบที่คุณอินทรีย์เข้าใจนะคะ

แต่เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารสมาธิ และไม่มีนิมิต
:b40:
อุปจาระสมาธิ และอุปจารฌาณที่คุณพูดมามันอันเดียวกันนี่แหละ ไม่ได้แยกจากกัน
ผู้ได้อุปจาระสมาธิ เรียกว่าได้อุปจารฌาณ
" " อัปนาสมาธิ เรียกว่าได้อัปนาฌาณ
และอุปจารฌาณที่ว่ามีทั้งแบบมีนิมิตร และไม่มีนิมิตร มีด้วยกัน 2 แบบ
( อุปจาระสมาธิกับปฐมฌาณมันห่างกันแค่เพียงเส้นผมบังเอง)

- อุปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือ ใกล้จะถึงปฐมฌาน มีกำลังใจเป็นสมาธิ
สูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อยต่ำกว่าปฐมฌานนิดหน่อยเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิบอิ่มผู้ปฏิบัติ
ถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุมชื่นไม่อยากเลิก

-อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่

จริงๆการที่จิตได้พักผ่อนไม่ต้องถึงอุปจารสมาธิหรอกแค่เพียงทำขณิกะสมาธิได้ตลอด จิตก้เหมือนได้
พักแล้ว แต่ที่ต้องทำไปถึงฌาณ 4 ก้เพื่อให้จิตมีสมาธิมั่งคงและแข็งแรงจิตๆ เพราะจิตที่ได้ตั้งแต่ฌาณ
1ขึ้นไป ถือว่าเป็นมหัคตกุศล เมื่อทำต่อ จนผู้นั้นได้ฌาณ4 ตอนนั้นเป็นเอกัคตารมณ์เพิ่มอีกหนึ่งคืออุเบกขาพักในฌานนี้ได้ที่ แล้วจึงค่อยๆถอนจิตมาแต่ละฌาณ จนสุดท้ายมาหยุดที่อุปจาระสมาธิ จิตได้พักผ่อนเต็มที่แล้วก็ใช่ฐานสมาธินี้แหละเป็นที่ประหัตประหารกิเลส(ก้เพราะฐานนี้มันรับรู้อารมณ์ธาตุ อารมณ์ขันธ์ได้ดีสุด) ซึ่งก้คือใช้ฐานสมาธินี้นี่ไงทำวิปัสสนา ให้รู้แจ้งเห็นจริง(เห็นจริงในไตรลักษณ์3 เห็นจริงในสติปัฏฐาน เห็นจริงในรุปขันธ์ นามขันธ์เป็นต้น )จนเกิดวิปัสสนาญาณจากขั้นต้นๆนามรุปปริเฉท ไปถึงขั้นสูงคือโสลสญาณตามลำดับ
หากแต่ว่าทำสมาธิแบบใดนั้น จิตก็ย่อมได้พักแล้วไม่ว่าจะเป็นขณิกะสมาธิแต่มันยังอ่อนแอ แต่ถ้าอุปจาระก้มั่นคงอีกนิดเกือบดีแล้ว แต่ถ้าให้ดีก้ต้องอัปนานี่สิถึงได้ชื่อว่าพักผ่อนอย่างแท้จริง
หากจะให้ดีจริง ก็ต้องการปฏิบัติแบบสมถะและแบบวิปัสสนามาต่อกันกันถึงจะดี แต่สมัยใหม่เขานิยม
ใช้ขณิกะสมาธิเป็นบาทฐานในการทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งขึ้นมาโดยใช้หลักสติปัฏฐานกำกับจะทำอย่างนี้ก็ได้ ก็ให้ผลเหมือนกันแต่ว่าต้องใช้ความพยามกับแบบนี้ให้มากๆหน่อยถึงจะเห็นผล ไม่งั้นสิ่งที่เกิด
ก็คือความเบื่อหน่ายและท้อแท้ ไม่อยากทำต่ออีกเนื่องการปฏิบัติแบบหลังอาศัยพื้นฐานสมาธิน้อยกว่า

ดังนั้น จขกท. ถามว่าทำสมาธิดีหรือไม่ดียังไง ผมตอบได้เลยว่าดีทั้งนั้น ถ้าอารมณ์กรรมฐานนั้นอยู่ใน
40 อารมณ์หรือ 40 กองน่ะ สำคัญว่าวางจิต วางอารมณ์เป็นหรือเปล่า ตึงไป เครียดไป เพ่งมากไปหรือเปล่า ประโยชน์มีมากแต่ทำไม่ถูกวิธี ก็เหนื่อยในที่สุด แล้วก็เกิดโทษแก่ผู้ปฏิบัติเอง
(1.และสำคัญสุดว่าจะทำสมาธิเพื่อเอาฌาณ4 หรือจะเอาวิปัสสนาแยกรุปแยกนามให้ได้นั้นมันต้องเป็นอารมจิตที่สบายๆ เท่านั้น และร่างกายก็ต้องสบายด้วย อารมณ์เปรียบได้เหมือนพักผ่อน ไม่เครียด ไม่ตึง ไม่ขี้เกียจจนเกินไป หากผิดไปจากนี้ทำไปก็เหมือนฝืนจิตทำให้จิตต่อต้าน ซึ่งก็คือเหมือนเอาจิตมาขังในกรงอย่างทรมาน
2.อีกข้อสำคํญไม่แพ้กันก็คือเมื่อภาพนิมิตรปรากฏ
ถ้ากำลังใจไม่ตกใจพลัดจากสมาธิ ภาพนั้นก็ทรงตัวอยู่นานเท่าที่สมาธิทรงตัวอยู่ ถ้า
เมื่อภาพปรากฏท่านตกใจ สมาธิก็พลัดตกจากอารมณ์ ภาพนั้นก็จะหายไป ส่วนใหญ่จะลืม
ความจริงไปว่า เมื่อภาพจะปรากฏนั้นเป็นอารมณ์สงัดไม่มีความต้องการอะไรจิตสงัดจากกิเลส
นิดหน่อยจึงเห็นภาพได้ ครั้นเมื่อภาพปรากฎแล้ว เกิดมีอารมณ์อยากเห็นต่อไปอีก อาการอยาก
เห็นนี้แหละเป็นอาการฟุ้งซ่านของจิต จิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จิตมีความสกปรกเพราะ
กิเลส อย่างนี้ต้องการเห็นเท่าไรก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นตามความต้องการก็เกิดความกลุ้ม ยิ่งกลุ้ม
ความฟุ้งซ่านยิ่งเกิด เมื่อความปรารถนาไม่สมหวังในที่สุดก็เป็นโรคประสาท
(บางราย
บ้าไปเลย)

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นอกเหนือ จาก ทันตภูมิสูตรที่๕


อันเป็นพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดง รูปฌาน๑-๔(สัมมาสมาธิ) อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน แล้ว



ยังมีอีกหลายพระสูตร

ที่ตรัสแสดง

สมาธิที่บังเกิดสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ด้วย องค์แห่งฌาน

ซึ่ง อาจจะฟังดูแปลกๆ สำหรับชาวพุทธรุ่นใหม่ ว่า

แล้ว สติปัฏฐานไปเกี่ยวกับฌานได้อย่างไร?


เช่น

สูตรที่ ๑๐ อัมพปาลิวรรค

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


http://84000.org/tipitaka/read/?19/715


พระสูตรนี้ แสดงถึง "มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔" (จิตตั้งมั่นดีแล้ว หรือ สัมมาสมาธิ อันเป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน)


[๗๑๗] ดูกรอานนท์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด

เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ

เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข

เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า
เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้

เธอคุมจิตไว้และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติ ในภายใน เป็นผู้มีความสุข

ดังนี้.



เสนอ สังเกตุ ว่าใน หัวข้อ๗๑๗นี้ ทรงแสดงองค์แห่งฌานไว้ครบ คือ

วิตก วิจาร

ปิติ สุข

ตั้งมั่น
(เอกัคคตารมณ์ อุเบกขา)

นอกจากนี้


ยังทรงแสดงถึง สมาธิที่ยังมีวิตก-วิจาร อยู่

(ในพระสูตรนี้ ใช้คำว่า ตั้งจิต...คือ ยังมีการใช้วิตก-วิจาร ข่มสสังขารธรรมอยู่)



และ ทรงแสดง สมาธิที่ไม่มีวิตก-วิจาร ซึ่ง จะตรงกับ สมาธิอันมีคุณไม่มีประมาณ หรือ เอโกธิภาวะ ใน อังคิกสูตร ที่ว่า

สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และ มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร

อนึ่ง ทุติยฌานนี้ มักจะบรรยายด้วย ภาษาที่ว่า

"....เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่..."


(ในพระสูตรนี้ ใช้คำว่า คุมจิต...คือ ไม่ต้องใช้วิตก-วิจาร ข่มสสังขารธรรม...เป็นเพียงมีสติสัมปชัญญะประคองจิตไว้)



นอกจากนี้

ในหัวข้อถัดมา คือ ข้อ๗๑๘ ทรงแสดงว่า

แม้น จะ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...พิจารณาเห็นจิตในจิต....พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ก็ จะดำเนินไปในลักษณะเดียวกับ การพิจารณาเห็นกายในกาย เช่นกันด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถามที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ กระทู้นี้



อ้างคำพูด:
อย่างเรื่องฌาน ที่พี่นำพระสูตรมาให้ศึกษานี้ ถ้าคนที่ยังไม่เคยฝึก หรือกำลังฝึกอยู่
แต่ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ขั้นไหน ฌาน 1 ฌาน 2 ฌาน 3 ฌาน 4 ฌาน 5 ฌาน 6 ฌาน 7 ฌาน 8

อ่านแล้ว น่าจะมีความอยากบ้างล่ะ (เดาๆ เอา) อยากจะถึงขั้นนั้น ขั้นนี้


พอไปฝึก นิวรณ์ ๕ คงจะรบกวนจิตใจน่าดู....


ก็มีส่วนถูกอีก
มันก็เหมือน ดาบสองคม

ทางหนึ่ง ก็อาจจะเป็นอย่างที่บอก

แต่ ถ้าไม่นำพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ทรงตรัสแสดงถึง รูปฌาน๑-๔(ที่เป็น สัมมาสมาธิ)อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน มาลง... ก็อาจจะมีผลอีกทางหนึ่ง

คือ คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยเห็นข้อมูลตรงนี้ อาจจะปักใจเชื่อในแง่มุมเดียว ว่า ขึ้นชื่อว่า ฌานแล้ว ต้องไม่เกี่ยวข้องกับสติปัฏฐานเลย....

ซึ่ง ก็อาจจะเสียหายไปอีกแบบหนึ่ง


ปล...ต้องไม่สับสนน่ะ ว่า รูปฌาน๑-๔ที่ นำมาลงในกระทู้นี้ เป็นผลจากการเจริญสติปัฏฐาน(ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง).... ไม่ใช่ว่า ต้องได้ฌานก่อนแล้วจึงมาเจริญสติปัฏฐาน



อ้างคำพูด:
จะมีวิธีเทียบเคียงการฝึกสติในรูปแบบ
ว่าถึงฌานขั้นไหน อย่างไร

ไม่ให้จิตเกิดนิวรณ์รบกวน
จากการอ่านปริยัติมากเกินไป


ในทางปฏิบัติ
ไม่จำเป็นต้องไปสนใจเสียด้วยซ้ำ ว่า ตอนนี้ จิตอยู่ในฌานขั้นไหน

ที่สำคัญ คือ มีสติสืบเนื่องอยู่ในกรรมฐานที่เราเพียรเจริญอยู่ ก็เพียงพอแล้ว

ดูง่ายๆ... หลวงปู่มั่น ท่านก็ไม่เคยสอนให้ลูกศิษย์ของท่าน ต้องนำจิตไปเปรียบเทียบขั้นของฌานใดๆเลย
ก็เห็นแต่ ครูบาอาจารย์ท่านก็ปฏิบัติตามหลวงปู่มั่น ....แล้วได้ผล กันเยอะแยะ


อนึ่ง

ที่ นำเรื่อง ความสัมพันธ์ของ สติปัฏฐาน กับ ฌาน มาลง...นี้ ด้วยหวังว่า คนรุ่นใหม่บางกลุ่มอาจจะมีโอกาสรับทราบข้อมูลที่ตนเองอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเลย ในเรื่องนี้

ส่วนท่านใด ที่อ่านรับทราบข้อมูลแล้ว เป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ต่อการปฏิบัติ ก็โปรดงดโทษแก่ผู้นำบทธรรมมาลงด้วย แล้วกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็น เรื่อง สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค มานำเสนอเพิ่มครับ


จาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ 31

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ๆลๆ


[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ





ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือ ทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ




อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้


ปล...

ประโยค "เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ" นี้

เสนอเทียบกับ ในทันตภูมิสูตร
ที่แสดงถึง เอกัคคตาจิตอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญสติปัฏฐาน ที่มีเนกขัมมะดำริ(สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม)เป็นบาทเบื้องต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ติดตามอ่านการแสดงธรรม ของคุณตรงประเด็น
แล้วรู้สึกดีใจและเป็นบุญของพระพุทธศาสนา...
ที่มีคนมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างท่านตรงประเด็น..
คอยชี้แจงและอธิบายความเข้าใจให้แก่ผู้ที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง...
เป็นกำลังใจและคอยติดตามอ่านอยู่นะครับ

อนุโมทนาครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา คุณวิสุทโธ เช่นกันครับ :b8:



ยินดียิ่ง ที่มีผู้พอจะได้รับสาระประโยชน์ ในสิ่งที่ผมนำเสนอ อยู่บ้าง

แต่ ผมเองก็ยังคงเป็นเพียงผู้ที่ศึกษาและหาทางพ้นทุกข์อยู่เท่านั้น.ยังห่างไกลจากท่านผู้รู้ที่แท้จริงมากนัก

ท่านทั้งหลาย จึงโปรด พิจารณา เลือกเฟ้น ไตร่ตรอง หาสาระ โดยแยบคาย ในสิ่งที่ผมนำเสนอ เอาเอง ด้วยความรอบครอบเถิด


ยินดีที่ได้สนทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 20 ก.ย. 2009, 08:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร