วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีตัวอย่าง ความเห็นของวิปัสสนาจารย์ ท่านอื่นๆที่เห็นว่า

สมาธิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญญา

มาเสนอเพิ่ม


พระครูศรีโชติญาณ

อ้างคำพูด:
หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ




ลองเปรียบเทียบ กับ พระพุทธพจน์ดูน่ะครับ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=136231

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์

แม้นั้น ทรงกระทำธรรมีกถาอันนี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา

สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นอาสวะโดยชอบ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ




ซึ่ง ถ้าลองศึกษาผลงานของพระวิปัสสนาจารย์เกือบทุกท่าน จะเห็นได้ว่า มักจะอิงกับ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล(โดยเฉพาะพระอภิธัมมัตถะสังคหะ) มากกว่าจะถือตามพระสูตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ซึ่ง ถ้าลองศึกษาผลงานของพระวิปัสสนาจารย์เกือบทุกท่าน จะเห็นได้ว่า มักจะอิงกับ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล(โดยเฉพาะพระอภิธัมมัตถะสังคหะ) มากกว่าจะถือตามพระสูตร


แต่หลวงตามหาบัว..ท่านมักพูดเสมอ ๆ ว่า..สมาธิอบรมปัญญา..แล้ว..ปัญญาก็มาอบรมสมาธิ..
วนเวียนกันไป..นี้ท่านพูดจากผลการปฏิบัติของท่าน..และผมก็เข้าใจตามที่ท่านว่ามา

และก็มีหลาย ๆ ท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ..อบรมคณะลูกศิกษ์..ก็ไม่เห็นจะไปคัดค้าน..เรื่องสมาธิอบรมปัญญา..(เท่าที่ได้ยินมาด้วยหูตัวเองนะครับ)

ส่วนที่ท่าน..พระครูศรีโชติญาณ..กล่าวมานี้..อาจอยู่ในบริบทแวดล้อมที่เราไม่เข้าใจ..ก็ได้นะครับ..เช่น..ท่านอาจจะกำลังกำราบลูกศิกษ์ที่ยังหลง..ติดสงบในสมาธิ..เป็นต้น

ก็ดูอย่าง..ที่หลวงปู่มั่น..กำราบ..สมาธิของท่านมหาบัว(หลวงตาบัวในปัจจุบัน)..ที่ว่า

..สมาธิเป็นหมูนอนตายละซิ..


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 20:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:


ปัญญาคือธรรมที่ทำให้รู้ ให้เห็น ให้แจ้ง สามารถปหานอกุศลธรรมได้ เมื่ออกุศลธรรมลดลง เพราะปัญญาแข็งแกร่ง ก็เกิดสมาธิ คือธรรมทีทำให้จิตสงบผ่องใส พอจิตสงบ ก็วิปัสสนาต่อ ให้ได้มรรคผลขึ้นสูงขึ้นไป พวกผมยึดถือปฏิบัติกันตามนี้





ใช่แน่หรือ " ปัญญา " ทำให้เกิดสมาธิน่ะค่ะ?
จะพูดฟันธงแบบนั้นไม่น่าจะพูดนะคะ

คนบ้าก็มีสมาธินะคะอย่าลืมสิ
งั้นคนบ้าก็มีปัญญาแบบคนบ้าด้วยน่ะสิคะ

สมาธิมี 2 แบบ มิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ ลืมไปหรือเปล่าคะ

อ่อ ...........


พวกผมยึดถือปฏิบัติกันตามนี้

เคคะ ... เข้าใจค่ะ .. ว่าคือแนววิธีการปฏิบัติในกลุ่มของพวกคุณ
วิปัสสนาน่ะ ทำได้ทุกเมื่อค่ะ ทุกสถานที่ ทุกเวลา ไม่จำกัดกาลจะว่าแบบนั้นเลยก็ได้ค่ะ
คุณยึดติดกับบัญญัติมากไปนะคะ กับคำว่า " วิปัสสนา " น่ะค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 21:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ





อันนี้เรื่องจริงนะ หลักของสมถะ ว่าในแง่ของบัญญติและผลของการปฏิบัติ
นี่แหละที่ครูบาฯทั้งหลายเรียกว่า สมาธิหัวตอ ( มิจฉาสมาธิ ) คือ มันจะสงบ นิ่งๆ ว่างๆ

แต่ถ้าคนเข้าใจในหลักของการเจริญสติปัฏฐาน สมาธิตรงนี้จะมีประโยชน์มากๆ
เพราะมันจะสงบจากอารมณ์ภายนอก แต่มันจะรู้อยู่ภายในตัวคือกายและจิต
เกิดปีติก็รู้ ก็กำหนดรู้ลงไป เกิดสุขก็รู้ ก็กำหนดรู้ลงไป เกิดนิมิตก็รู้ ก็กำหนดรู้ลงไป ( วิปัสสนา )
( วิปัสสนา คือ การรู้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น )

เมื่อกำหนดรู้ลงไปบ่อยๆ สติ สัมปชัญญะยิ่งเกิดมากขึ้น
เมื่อสติ สัมปชัญญะทำงานร่วมกับสมาธิ ปัญญาย่อมเกิด
ย่อมเห็นถึงความไม่เที่ยงหรือไตรลักษณ์ของสภาวะที่มาแสดง
เมื่อเห็นถึงความไม่เที่ยงที่แจ้งออกมาจากจิต จิตย่อมปล่อยวางไปเอง
ปีติย่อมละไปได้ สุขย่อมละไปได้ นิมิตย่อมละไปได้ ...
นี่แหละที่เขาเรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา

ส่วนปัญญาอบรมสมาธินั่นอีกสภาวะหนึ่ง คนละสภาวะกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 21:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา

ขอแสดงความเห็นเรื่องนี้ โดยให้ดูหลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนาเป็นเกณฑ์
หลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนามีปรากฏใน ยุคนัทธวรรค คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นภาษิตของ
พระอานนท์ ที่พระสารีบุตรนำมาเป็นบทตั้งแล้วอธิบายขยายความ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๔ วิธี ดังนี้ (๑) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (๒) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (๓) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (๔) วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์
๑. วิปัสสนามีสมถะนำหน้า
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า (เบื้องแรก) จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซ่านส่าย มีสมาธิเกิดขึ้น ด้วยอำนาจเนกขัมมะ (ความคิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม) ก็ดี ด้วยอำนาจอพยาบาท (คิดเมตตา) อาโลกสัญญา (ทำใจให้นึกถึงแสงสว่าง ไม่ให้ง่วงเหงา) อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่านปราศจากอุทธัจจะ) ธรรมววัตถาน (การกำหนดข้อธรรม ซึ่งทำให้ไม่มีวิจิกิจฉา ญาณ (ความรู้) ปราโมทย์ (ความแช่มชื่นใจ) ก็ดี ด้วยอำนาจ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ดี ด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ ก็ดี อนุสติ ๑๐ ก็ดี อสุภะ ๑๐ หรือวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับอานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม (ครั้นแล้ว) เกิดปัญญามองเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้เรียกว่า สมถะมาก่อน วิปัสสนามาหลัง คือเป็น สมถปุพพังคมวิปัสสนา
ตามวิธีปฏิบัติแบบวิปัสสนามีสมถะนำหน้านี้ ผู้ปฏิบัติทำสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้ จากนั้นจึงพิจารณาสมถะหรือสมาธินั้น (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรือฌานสมาบัติชั้นใดก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่น ๆ ทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้นให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น จนอริยมรรคเกิดขึ้น ดังยุคนัทธกถา ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายว่า

ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เป็นสมาธิ . . . ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ . . . ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ . . . ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมายว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า
๒. สมถะมีวิปัสสนานำหน้า
สมถะมีวิปัสสนานำหน้า หมายความว่า (เบื้องแรก) วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ครั้นแล้ว) จิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฏในวิปัสสนานั้น และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเองเป็นอารมณ์ จิตจึงมีภาวะอารมณ์หนึ่งเดียว ปราศจากความซัดส่าย มีสมาธิ อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนามาก่อนสมถะมาหลัง คือเป็น วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่ ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น อันนับว่าเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดีจิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว (= เป็นสมาธิ) ขึ้น โดยมี
ความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ดังในยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายไว้ว่า
ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า
๓. สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน
สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปโดยอาการ ๑๖ เช่น โดยอรรถแห่งอารมณ์เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ก็เกิดสมาธิกล่าวคือภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่พล่านส่าย ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ (พร้อมกันนั้น) เมื่อละอวิชชา ก็เกิดวิปัสสนาคือการตามดูรู้เห็นแจ้ง ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่าทั้งสมถะและวิปัสสนามีกิจเดียวกัน เป็นควบคู่กัน ไม่เกินกัน โดยอรรถแห่งอารมณ์
สำหรับการปฏิบัติแบบสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันนี้ มิใช่หมายความว่าทำทั้งสองอย่างพร้อมทีเดียว เพราะเราไม่สามารถพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกันกับที่เข้าสมาบัติ คำว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน หมายความว่า เข้าสมาบัติถึงไหน ก็พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น กล่าวคือ เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ครั้นพิจารณาสังขารแล้ว ก็เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว พิจารณาสังขารอีก ครั้นพิจารณาแล้ว เข้าตติยฌาน . . . อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับจนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ก็พิจารณาสังขารอีก อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กันไป ดังในยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายไว้ว่า
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์
๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
๓. ด้วยมีสภาวะละ
๔. ด้วยมีสภาวะสละ
๕. ด้วยมีสภาวะออก
๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด
๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น
๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม
๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ
๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วงเลยกัน
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร . . . ด้วยมีสภาวะละ . . . ด้วยมีสภาวะสละ . . . ด้วยมีสภาวะออก . . . ด้วยมีสภาวะหลีกออก . . . ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด . . . ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต . . . ด้วยมีสภาวะ หลุดพ้น . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ . . . ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน . . . ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๔. วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์
วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ วิธีที่ปฏิบัติเมื่อเกิดความฟุ้งซ่านในธรรม หรือตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน) ซึ่งลักษณะอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ เกิดมีโอภาส (แสงสว่าง) ญาณ (ความรู้) ปีติ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) สุข (ความสุข) อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือศรัทธาแก่กล้า) ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) อุปัฏฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่) อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาสเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่ามีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาที่เหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ (วิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย
บรรดาวิธีทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ จัดได้ว่ามีวิธีที่เป็นหลักใหญ่เพียง ๒ อย่าง คือ วิธีที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า และวิธีที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า ส่วนสองวิธีหลังเป็นเพียงวิธีการที่แทรกซ้อนเข้ามาในระหว่างการปฏิบัติ หรือเป็นส่วนเสริมขยายออกไปจากสองวิธีแรก กล่าวคือ วิธีที่ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน จัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติส่วนที่ซับซ้อน ซึ่งซอยหรือขยายออกไปจากวิธีที่ ๑ ส่วนวิธีที่ ๔ ทางออกเมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติที่แทรกเข้ามาในระหว่าง ในเมื่อปฏิบัติตามวิธีการข้อต้น ๆ ไปบ้างแล้ว จนถึงขั้นตอนหนึ่งที่เกิดปัญหาจำเพาะอย่างนี้ขึ้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติพิเศษเฉพาะกรณี หรือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง สำหรับใช้แก้ปัญหาบางอย่างในระหว่างการปฏิบัติธรรม




ขอเจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ และปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา

ขอแสดงความเห็นเรื่องนี้ โดยให้ดูหลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนาเป็นเกณฑ์
หลักการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนามีปรากฏใน ยุคนัทธวรรค คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นภาษิตของ
พระอานนท์ ที่พระสารีบุตรนำมาเป็นบทตั้งแล้วอธิบายขยายความ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๔ วิธี ดังนี้ (๑) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (๒) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (๓) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (๔) วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์
๑. วิปัสสนามีสมถะนำหน้า
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายความหมายว่า (เบื้องแรก) จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซ่านส่าย มีสมาธิเกิดขึ้น ด้วยอำนาจเนกขัมมะ (ความคิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม) ก็ดี ด้วยอำนาจอพยาบาท (คิดเมตตา) อาโลกสัญญา (ทำใจให้นึกถึงแสงสว่าง ไม่ให้ง่วงเหงา) อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่านปราศจากอุทธัจจะ) ธรรมววัตถาน (การกำหนดข้อธรรม ซึ่งทำให้ไม่มีวิจิกิจฉา ญาณ (ความรู้) ปราโมทย์ (ความแช่มชื่นใจ) ก็ดี ด้วยอำนาจ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ดี ด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ ก็ดี อนุสติ ๑๐ ก็ดี อสุภะ ๑๐ หรือวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับอานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม (ครั้นแล้ว) เกิดปัญญามองเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้เรียกว่า สมถะมาก่อน วิปัสสนามาหลัง คือเป็น สมถปุพพังคมวิปัสสนา
ตามวิธีปฏิบัติแบบวิปัสสนามีสมถะนำหน้านี้ ผู้ปฏิบัติทำสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้ จากนั้นจึงพิจารณาสมถะหรือสมาธินั้น (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรือฌานสมาบัติชั้นใดก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่น ๆ ทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้นให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น จนอริยมรรคเกิดขึ้น ดังยุคนัทธกถา ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายว่า

ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เป็นสมาธิ . . . ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ . . . ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ . . . ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมายว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า
๒. สมถะมีวิปัสสนานำหน้า
สมถะมีวิปัสสนานำหน้า หมายความว่า (เบื้องแรก) วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ครั้นแล้ว) จิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฏในวิปัสสนานั้น และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเองเป็นอารมณ์ จิตจึงมีภาวะอารมณ์หนึ่งเดียว ปราศจากความซัดส่าย มีสมาธิ อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนามาก่อนสมถะมาหลัง คือเป็น วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่ ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณาเห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น อันนับว่าเป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดีจิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว (= เป็นสมาธิ) ขึ้น โดยมี
ความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์ อันนับว่าเป็นสมถะ เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ดังในยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายไว้ว่า
ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า
๓. สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน
สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปโดยอาการ ๑๖ เช่น โดยอรรถแห่งอารมณ์เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ก็เกิดสมาธิกล่าวคือภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่พล่านส่าย ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ (พร้อมกันนั้น) เมื่อละอวิชชา ก็เกิดวิปัสสนาคือการตามดูรู้เห็นแจ้ง ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่าทั้งสมถะและวิปัสสนามีกิจเดียวกัน เป็นควบคู่กัน ไม่เกินกัน โดยอรรถแห่งอารมณ์
สำหรับการปฏิบัติแบบสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันนี้ มิใช่หมายความว่าทำทั้งสองอย่างพร้อมทีเดียว เพราะเราไม่สามารถพิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกันกับที่เข้าสมาบัติ คำว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน หมายความว่า เข้าสมาบัติถึงไหน ก็พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น กล่าวคือ เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ครั้นพิจารณาสังขารแล้ว ก็เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว พิจารณาสังขารอีก ครั้นพิจารณาแล้ว เข้าตติยฌาน . . . อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับจนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ก็พิจารณาสังขารอีก อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กันไป ดังในยุคนัทธกถา ปฏิสัมภิทามรรค อธิบายไว้ว่า
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์
๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
๓. ด้วยมีสภาวะละ
๔. ด้วยมีสภาวะสละ
๕. ด้วยมีสภาวะออก
๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด
๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น
๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม
๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ
๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วงเลยกัน
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร . . . ด้วยมีสภาวะละ . . . ด้วยมีสภาวะสละ . . . ด้วยมีสภาวะออก . . . ด้วยมีสภาวะหลีกออก . . . ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด . . . ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต . . . ด้วยมีสภาวะ หลุดพ้น . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต . . . ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ . . . ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน . . . ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ . . . ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๔. วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์
วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ วิธีที่ปฏิบัติเมื่อเกิดความฟุ้งซ่านในธรรม หรือตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน) ซึ่งลักษณะอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ เกิดมีโอภาส (แสงสว่าง) ญาณ (ความรู้) ปีติ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) สุข (ความสุข) อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือศรัทธาแก่กล้า) ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) อุปัฏฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่) อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัตินึกถึงโอภาสเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผล หรือนิพพาน) เพราะการนึกไปเช่นนั้น ก็จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดยภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่ามีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาที่เหมาะที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้ วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ (วิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด ไม่เสื่อมเสีย
บรรดาวิธีทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ จัดได้ว่ามีวิธีที่เป็นหลักใหญ่เพียง ๒ อย่าง คือ วิธีที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า และวิธีที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า ส่วนสองวิธีหลังเป็นเพียงวิธีการที่แทรกซ้อนเข้ามาในระหว่างการปฏิบัติ หรือเป็นส่วนเสริมขยายออกไปจากสองวิธีแรก กล่าวคือ วิธีที่ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน จัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติส่วนที่ซับซ้อน ซึ่งซอยหรือขยายออกไปจากวิธีที่ ๑ ส่วนวิธีที่ ๔ ทางออกเมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติที่แทรกเข้ามาในระหว่าง ในเมื่อปฏิบัติตามวิธีการข้อต้น ๆ ไปบ้างแล้ว จนถึงขั้นตอนหนึ่งที่เกิดปัญหาจำเพาะอย่างนี้ขึ้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติพิเศษเฉพาะกรณี หรือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง สำหรับใช้แก้ปัญหาบางอย่างในระหว่างการปฏิบัติธรรม




ขอเจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ และปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์




:b8: :b8: :b8:
สาธุค่ะ
นำมากล่าวได้แบบถูกทุกถ้อยคำของสภาวะเลยค่ะ
พอดีศึกษาด้านปริยัติมาน้อยค่ะ จะกล่าวได้โดยเพียงสภาวะซะส่วนมาก
ขอกราบขอบพระคุณที่นำบัญญัติในการชี้แจงรายละเอียดของสภาวะมาแสดงค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว




ไม่ทราบว่า จะขอสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์แสนปราชญ์
โดยการส่งข้อความส่วนตัวได้หรือไม่คะ :b8:

อื่มมมม ... ขอรบกวนถามท่านตรงนี้ก็ได้ค่ะ
ขอดูคำตอบของท่านก่อน

คือจะขอถามท่านว่า ท่านเคยได้รู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีกำลังสมาธิมากๆมั๊ยคะ
แล้วมีคนบางคนสามารถมาดึงเอากำลังสมาธิของคนๆนั้นไปได้ด้วยน่ะค่ะ
ท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ทราบนะครับ

เรื่องปฏิบัติธรรม เวลาคุยกันมันคุยกันได้ย๊าวยาว

แต่เวลาลงมือทำ มีติ๊ดดดดดดเดียว คือ "รู้"
มีอะไรก็รู้ ไม่มีอะไรก็รู้
ไม่รู้ก็รู้ จะกินเดินนั่งนอนหรือนั่งสมาธิก็รู้อย่างเดียว
จะทำทาน สวดมนต์ ไหว้พระ ก็รู้ลูกเดียว

แม้แต่เวลาทำบาป มีบาปปรากฏขึ้น ก็รู้ลูกเดียว

โง่อยู่ตั้งนาน เรียนก็เยอะ
ถึงเวลาทำเข้าจริงๆ....... ทำแค่เนี๊ย
แล้วไม่มีผิดแน่นอน ถ้าน้อยหรือมากกว่าคำว่ารู้ อันนี้ผิดแน่นอน


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 22:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบอุบาสิกา walaiporn

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดาอุบาสิกา walaiporn

อ้างคำถาม
ไม่ทราบว่า จะขอสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์แสนปราชญ์
โดยการส่งข้อความส่วนตัวได้หรือไม่คะ

ตอบ ได้ และยินดี ถือว่ามาปรารภขบคิดข้ออรรถข้อธรรมซึ่งกัน อาจจะเคยบำเพ็ญธรรมมาในสายนี้เหมือนกัน
(ในความคิดอาตมา อาตมาชอบธรรมะของพระสารีบุตร ซึ่งท่านแสดงสติปัฏฐานภาวนา คือ วิปัสสนาแท้
หรือวิปัสสนาล้วน ไว้ใน สติปักฐานกถา คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ อุบาสิกาลองอ่านดูนะ
เผื่อจะชอบธรรมของท่าน "พระสัทธรรมเสนาบดีสารีบุตร" เหมือนกันก็ได้)


อื่มมมม ... ขอรบกวนถามท่านตรงนี้ก็ได้ค่ะ
ขอดูคำตอบของท่านก่อน

คือจะขอถามท่านว่า ท่านเคยได้รู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีกำลังสมาธิมากๆมั๊ยคะ
แล้วมีคนบางคนสามารถมาดึงเอากำลังสมาธิของคนๆนั้นไปได้ด้วยน่ะค่ะ
ท่านมีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ

ตอบ บุคคลที่มีกำลังสมาธิมากๆ เป็นเรื่องปกติ อาตมาก็พอรู้บ้างแต่ไม่มาก เขามีกลุ่มของเขา
มีการจัดงานจัดประชุมอยู่บ่อย ๆ ในเมืองไทยเคยจัดไปเมื่อปี ๒๕๕๑ อย่างเช่น สมาธิของนักวิทยาศาสตร์
อย่าง เอดิสัน ไอสไตน์ เหล่านี้เขามีกำลังมากทั้งนั้น เพราะเขามี ฉันทาสมาธิ วิริยาสมาธิ จิตตาสมาธิ
วิมังสาสมาธิ แต่เขาไม่ได้ฟังพระสัทธรรม จึงไม่เห็นไตรลักษณ์ ที่เป็นยอดแห่งธรรม
สมาธิเขาจึงเป็นเพียงฌานแล้วไปหล่อเลี้ยงตัณหา สรุปก็คือเขามีฉันทะแล้วตัวฉันทะไปสร้างตัณหาเสีย
แทนที่ฉันทาสมาธิ วิริยาสมาธิ จิตตาสมาธิ วิมังสาสมาธิจะไปต่อที่ตัวปัญญาเหมือนของพระพุทธศาสนา
จึงทำให้เขาพลาดมรรคผลอย่างน่าเสียดาย (สรุปคือมีแต่สมาธิที่มีกำลังมากแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
อันหมายถึงปัญญาเห็นไตรลักษณ์ที่ใช้ดับกิเลสได้) ในอินเดียทุกวันก็มีการปฏิบัติลักษณะนี้ อาตมาเคย
เห็นภาพที่เขาเอาศรีษะฝังลงไว้ในดิน แล้วเอาขาชี้ฟ้า เขาอยู่ได้ ๗ วัน โดยไม่เป็นอะไรเลย
ส่วนเรื่องคนที่สามารถดึงเอากำลังสมาธิของคนๆนั้นไปได้ ไม่มีความรู้ ขอแสดงความเห็น
(เป็นความเห็นของอาตมา) เรื่อง ฌาน กับ ญาณ ในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน
เหมือนสมถะกับวิปัสสนา หรือสัมมาสติกับสัมมาสมาธิ เป็นเรื่องที่แยกไม่ออก อยู่ที่ในขณะนั้น
จะเอาตัวไหนมาเป็นตัวหลัก เมื่อสติเป็นหลักแต่ก็ต้องมีสมาธิเป็นตัวที่ตามมาด้วย สติจะขาดสมาธิไม่ได้
หรือสมาธิเป็นหลักก็ต้องมีสติ สติกับสมาธิเป็นตัวจับยึดสิ่งที่ถูกทำ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วให้
สัมปชัญญะซึ่งเป็นชื่อของปัญญาไปพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม จนเห็นไตรลักษณ์
แล้วจะเบื่อหน่ายในสังขาร (ขันธ์ ๕) คลายกำหนัด ราคะดับ ไม่ยึดมั่นถือมั่น
(ลองศึกษาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์กัมมัฏฐานเล่มแรก เป็นต้นแบบคัมภีร์อภิธรรม
ผลงานของพระสารีบุตร ที่สำคัญเป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ ที่ตัดสินคำสอนของพระพุทธศาสนา
ฝากให้ศึกษญาณกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคด้วย เป็นต้นแบบของ ญาณ ๑๖
ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคมี ๗๓ ญาณ ของพระสาวก ๖๗ ญาณ เฉพาะของพระพุทธเจ้า ๖ ญาณ
แล้วลองสงเคราะห์ลงอริยสัจ ๔ ถ้ารู้ ถ้าเห็นอะไร ลองมาเล่าให้ฟังหน่อย)



เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


แก้ไขล่าสุดโดย พระอาจารย์แสนปราชญ์ เมื่อ 16 ต.ค. 2009, 09:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนที่ท่าน..พระครูศรีโชติญาณ..กล่าวมานี้..อาจอยู่ในบริบทแวดล้อมที่เราไม่เข้าใจ..ก็ได้นะครับ..เช่น..ท่านอาจจะกำลังกำราบลูกศิกษ์ที่ยังหลง..ติดสงบในสมาธิ..เป็นต้น

ก็ดูอย่าง..ที่หลวงปู่มั่น..กำราบ..สมาธิของท่านมหาบัว(หลวงตาบัวในปัจจุบัน)..ที่ว่า

..สมาธิเป็นหมูนอนตายละซิ..




ผมเห็นว่า ไม่เหมือนครับ


หลวงปู่มั่นท่านก็สอนสมาธิภาวนาน่ะครับ

ในขณะที่ วิปัสสนาจารย์จะไม่สอนการเจริญสมาธิ และ บางครั้งถึงขั้นห้ามไม่ให้เจริญสมาธิตั้งแต่ต้นเลย



หลวงปู่มั่น ท่านจะเตือนศิษย์ถึงการติดตันอยู่เพียงแค่สมาธิจนไม่เดินปัญญา กับ ผู้ที่เชี่ยวชาญในสมาธิวิธีอย่างยิ่ง เช่น หลวงตามหาบัว หลวงปู่เหรียญ และ อุปัชฌาย์ของท่าน(ผมจำชื่อไม่ได้) ....คือ ให้ใช้ประโยชน์จากจิตที่สงัดจากกามจากอกุศลมาเจริญปัญญาด้วย

คือ ท่านเตือนในลักษณะนี้ต่อผู้ที่เชี่ยวชาญอย่างยิ่งในสมาธิและติดตันอยู่เพียงสมาธิ ท่านไม่ได้เตือนในลักษณะนี้กับุคคลทั่วไป ที่ไม่มีพื้นฐานทางสมาธิที่แน่นหนาเพียงพอ ครับ...



แต่ ทางวิปัสสนาจารย์จะกล่าวว่า สมาธิไม่กี่ยวกับการเกิดปัญญา

และ แม้นแต่สอนห้ามไม่ให้เจริญสมาธิภาวนาเลยก็มีให้เห็น กันบ่อยๆ



ทาง อ.แนบ มหานีรานนท์...ผู้บุกเบิกแนวทางสุทธวิปัสสนายานิก เอง ท่านก็มีความเห็นว่า

ในไทยก่อนที่ทางสายวิปัสสนาจารย์จะเข้าเมืองไทย ไทยไม่เคยมีการปฏิบัติวิสสนากันเลย


ลองอ่านดู

http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003395.htm

อ้างคำพูด:
ไปได้การปฏิบัติธรรมมาอย่างไร …?

ดิฉันก็พูดเรื่อยไป เมื่อกี้นี้ เขาประกาศบอกว่า อยากจะให้ดิฉันเล่าเรื่องการปฏิบัติ ใช่ไหมคะ ว่าไปได้มาอย่างไร ?

คือว่า แต่ก่อนนี้ไม่มีนะคะ วิปัสสนานี่น่ะ ไม่มีเลย มีแต่สมาธิทั้งนั้น บริกรรมว่า สัมมาอรหังบ้าง พุท เข้า โธ ออก บ้าง แล้วแต่จะภาวนาอะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ สมาธิทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่มีวิปัสสนาเลย แต่ทั้ง ๆ ที่ทำสมาธิกันทุกแห่งหน เขาก็เรียกกันว่า วิปัสสนา ใครจะไปนั่งทำความสงบที่ไหน ก็เรียกว่า ไปนั่งทำวิปัสสนา ไปขึ้นวิปัสสนาวันนั้นวันเริ่มต้น เขาขึ้นวิปัสสนากับลูกศิษย์ใหม่ จะต้องไปวันนั้น ๆ ทีเดียว

ทุกแห่งทุกสำนักที่มีในประเทศไทย มีแต่สมาธิทั้งนั้น แต่ว่าเขาไม่รับว่าเป็นสมาธิ เพราะไม่เข้าใจว่า สมาธิกับวิปัสสนานี่ต่างกันอย่างไร แต่เขาก็ทราบนะคะว่า วิปัสสนานี่เป็นทางดีสุดในพระพุทธศาสนา เป็นทางเจริญที่ทำให้สิ้นทุกข์ เพราะฉะนั้น เขารู้เข้าอย่างนี้ เขาก็ไม่ทำกันเลย สมาธินี่ ไม่มีใครบอกว่า เขาทำสมาธินะคะ เขาจะบอกแต่ว่า เขาทำวิปัสสนาทั้งนั้น แต่ที่จริงวิปัสสนาไม่มีเลย



และ จาก

แนะแนวการปฏิบัติวิปัสสนาและวิสุทธิ ๗
รวบรวมโดย มูลนิธิพุทธมรดก เนื่องในโอกาส ๑๐๘


มีความเห็นของท่านในหน้า (๒๒) ว่า

อ้างคำพูด:
ดิฉันไปในที่ต่าง ๆ ได้พบมามากมาย และ รู้สึกน้อยใจและสลดใจในความวิบัติในพระพุทธศาสนาหมายถึง "ทิฏฐิวิบัติ"

คำว่า "ทิฏฐิวิบัติ" ในที่นี้หมายถึง สัมมาทิฏฐิวิบัติไป เพราะมิจฉาทิฎฐิเกิดขึ้นมากมาย

ซึ่งสิ่งตรงกันข้ามกับพระพุทธประสงค์ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญในพระพุทธศาสนานี้ ก็เพื่อจะลดความเห็นผิดจากความเป็นจริงของเหตุผลเท่านั้น

ความเห็นผิดอันนี้แหละที่ดิฉันรู้สึกว่า เป็นภัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

แนบ มหานีรานนท์







ในไทย ก่อนที่แนวทางวิปัสสนาจารย์จะเข้ามานั้น ไทยเราจะเจริญสมาธิภาวนา และ ต่อยอดด้วยกายคตาสติ หรือ อสุภสัญญา-ปฏิกูลสัญญา ซึ่ง เป็นส่วนแห่งวิปัสสนา(กายานุปัสสนาในสติปัฏฐานสี่).

แต่ ทางวิปัสสนาจารย์จะมองว่า กายคตาสติเป็นเพียงแค่สมถะ (เหมือนจะไม่ยอมรับว่า กายคตาสติ ที่พระเถระไทยสอนกันอยู่ มีส่วนแห่งวิปัสสนา) ท่าน อ.แนบ จึงกล่าวว่า ในไทยไม่เคยมีการเจริญวิปัสสนามาก่อนหน้าปี2475



แนวคิดในลักษณะนี้ได้สืบทอดผ่านมาจนถึง ยุคปัจจุบัน

จะเห็นได้จากที่ทางสาย สุทธวิปัสสนายานิก มักจะกล่าวกันในลักษณะนี้กันบ่อยๆ

จากกระทู้

viewtopic.php?f=1&t=26261

อ้างคำพูด:
การเจริญอสุภกรรมฐานหรือกายคตาสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานที่เป็นข้าศึกโดยตรงต่อกามราคะ จะต้องอบรมจนมีกำลังมากๆ บ่อยๆเนื่องๆ เป็นอาจิณ ย่อมข่มกามราคะได้ชั่วคราว

การระลึกรู้สภาพธรรมทุกอย่างที่ปรากฏตามความเป็นจริง(สติปัฏฐาน) ย่อมดับกามราคะได้ย่อมดับกามราคะได้ เป็นสมุทเฉท ไม่เกิดอีกเลย (พระอนาคามี)

และ

การพิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูล ย่อมข่มกามราคะได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไม่พิจารณา กามราคะย่อมเกิดขึ้นอีกได้

แต่ การอบรมเจริญสติปัฏฐานจนบรรลุความเป็นพระอนาคามีบุคคล สามารถดับกามราคะได้เป็นสมุทเฉท




จึงเกิดสภาพ ในลักษณะ "เหยียดสมถะ-ผูกขาดวิปัสสนา"ขึ้น

คือ แนวทางอื่นๆ ไม่มีส่วนแห่งวิปัสสนา....
ต้อง "แนวทางของข้า"นี้สิ จึงจะเรียกว่า วิปัสสนนา ขึ้น.... ให้เห็นกันเกลื่อนประเทศไทย ในยุคปัจจุบัน


แม้นแต่ ในลานธรรมจักรนี้ ก็จะได้สัมผัส ลักษณะ "เหยียดสมถะ-ผูกขาดวิปัสสนา" ให้เห็นกันบ่อยๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ใช่แน่หรือ " ปัญญา " ทำให้เกิดสมาธิน่ะค่ะ?
จะพูดฟันธงแบบนั้นไม่น่าจะพูดนะคะ

ขออภัยที่รวบรัดไป ... ปัญญา ทำให้เกิดศีลก่อน แล้วศีลทำให้เกิดสมาธิ เป็น ปัญญา ศีล สมาธิ

จิตที่ปัญญาอบรมดีแล้ว ก็สงบจากกาม สงบจากกุศลกรรม บรรลุปฐมฌาน ... หรือ ภิกษุสงบจากกามสงบจากอกุศลธรรมเพราะอาศัยอุปธิวิเวกอยู่ บรรลุปฐาฌาน ... สำนวนแบบนี้มีแสดงอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก

อ้างคำพูด:
โง่อยู่ตั้งนาน เรียนก็เยอะ
ถึงเวลาทำเข้าจริงๆ....... ทำแค่เนี๊ย

นึกถึงพระนาคเสนเลยครับ ... เรื่องเดียวกันเลย พระนาคเสนก็ว่าแบบนี้แหละ ... แต่เหรียญก็มีสองด้านนะครับ

อ้างคำพูด:
ในไทย ก่อนที่แนวทางวิปัสสนาจารย์จะเข้ามานั้น ไทยเราจะเจริญสมาธิภาวนา และ ต่อยอดด้วยกายคตาสติ หรือ อสุภสัญญา-ปฏิกูลสัญญา ซึ่ง เป็นส่วนแห่งวิปัสสนา(กายานุปัสสนาในสติปัฏฐานสี่). ...
"เหยียดสมถะ-ผูกขาดวิปัสสนา"

ถ้ารู้จักสมถะ รู้จักวิปัสสนา ก็ใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด ถูกตามกาลได้ ที่บอกว่าอย่าเพิ่งทำสมถะก่อนได้โสดาปัตติผล เพราะมันอันตรายมากกว่าจะเกิดประโยชน์ ไม่ได้บอกว่าไม่ดี ไม่ให้ทำเลย แต่บอกว่ายังไม่ถึงเวลาทำ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดของปัญญา
อาการรู้ และ อาการเห็น เป็นลักษณะของภาวะที่เรียกว่า ปัญญา

ปัญญา เกิดขึ้นพร้อมกับชวนจิต หรือ จิตที่เกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์ หรือภาวะการที่เรารับรู้สิ่งที่มากระทบจากภายนอก อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมไปถึงเกิดในมโนวิญญาณ หรือ ในความนึกคิดจินตนาการ

ยกตัวอย่างการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เช่น ความรู้เรื่องแม่สีและการผสมสี คนที่รู้คนแรกนั้นนับว่าเป็นผู้ประเสริฐทางปัญญา เพราะไม่มีใครมาบอกมาสอน ก็รู้ได้ ส่วนจะรู้ด้วยเหตุใดนั้น ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง คนรู้คนต่อๆ มา ก็รู้ได้เพราะการสอน ตอนแรกผู้สอนก็ต้องบอกให้ฟัง จุดนี้ผู้เรียนก็เกิดความรู้แล้ว อาจจะมีการทำให้ดู ตอนนี้ผู้เรียนจึงจะเห็น เมื่อทดลองทำ จึงจะเป็น เมื่อทำบ่อยๆ ก็เกิดทักษะความชำนาญ ต่อมาเขาก็สอนคนอื่นๆ ให้รู้ตามได้ เวลาผ่านไปนานแสนนาน หากจะกลับไปหาคนที่รู้คนแรก บางทีก็ลืมกันไปแล้วว่าเขารู้เรื่องแบบนี้ได้อย่างไร

ที่สำคัญคือ การรู้แบบนี้แล้วไม่เสื่อม คนที่รู้เรื่องการผสมสี ทั้งชาติ หากไม่ป่วยไม่พิการ ก็ยังรู้อยู่ ปัญญาเป็นเรื่องที่เสื่อมยาก ถ้าทำทุกๆวันด้วยแล้ว ไม่เกินปี ก็ฝังแน่น

อุปมาการรู้การเห็นกับ แร่พลูโตเนี่ยม การแยกโลหะ แยกหยก แยกเพชร
นาย ก. เรียนรู้เรื่องแร่พลูโตเนี่ยม ศึกษา เข้าใจ แต่ในชีวิต ไม่เคยเห็นแร่พลูโตเนี่ยมเลย มี นาย ข. ระเบิดหินไปเพลินๆ วันดีคืนดีก็พบก้อนหินประหลาด ก้อนเล็กนิดเดียว แต่หนักมาก ก็ไม่รู้ว่าอะไร ต่อมาเป็นมะเร็งตาย จึงมารู้กันภายหลังว่า เป็นพลูโตเนี่ยม แบบนี้ นาย ข. เห็น แต่ไม่รู้ แม้นแต่นาย ก. เอง เห็นพลูโตเนี่ยมครั้งแรก ก็ไม่ใช่ว่าจะบอกได้ว่าเป็นพลูโตเนี่ยม แต่นาย ข. เมื่อมีคนเอาพลูโตเนี่ยมมาให้ดูก่อนตาย ก็บอกได้ทันทีว่า ก้อนแบบนี้แหละที่เคยพบเคยเจอ

การเห็น และการรู้ จึงมีกาอารแตกต่างกันตามนี้ หากเราเอาทองคำ ทองคำขาว และอลูมิเนียม มาทำเป็นเม็ดขนาดเท่ากระดุมจำนวนอย่างละ ๑๐ เม็ด วางปนกัน และให้คนที่ไม่รู้จักโลหะพวกนี้เลยมากแยก เขาก็จะแยกได้เป็น ๒ กอง เพราะสีและลักษณะภายนอกของทองขาวและอลูมิเนียมนั้นเหมือนกันมาก แยกกันไม่ออก พอเราสอนให้สังเกตความแตกต่าง เช่น สอนเรื่องความหนาแน่น เขาก็สามารถแยกออกได้ถูกต้อง เป็น ๓ กอง ถ้าเป็นเรื่องที่ละเอียดมากขึ้น เช่น การแยกน้ำของเพชร หรือการแยกหยก ไม่มีทางที่คนเราจะแยกได้ด้วยตาเปล่า ไม่ลูบ ไม่คลำ ก้ต้องใช้เครื่องมือช่วย

จะเห็นว่า อาการเห็น ไม่ใช่ทำให้มีความรู้ได้ แต่ถ้ารู้โดยไม่เห็น ก็ยังมีความรู้

ปัญญาการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ฐานข้อมูลเดิมของผู้เรียน หากไม่ถูกต้อง ผู้เรียนจะสับสนระหว่างเรื่องที่รู้ที่เห็นใหม่ กับเรื่องที่เคยรู้เคยเห็นมาแล้ว

การรู้เห็นทางธรรม ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกับการเรียนรู้ทางโลก ปัญญาที่ดับกิเลสได้นั้น เป็นอาการรู้ ไม่ใช่อาการเห็น แต่ถ้าทั้งรู้และทั้งเห็น ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ดังนั้น ในระยะแรกๆ ไม่มีใครเห็นการเกิดดับของธรรมโดยละเอียด แต่ลำพังการศึกษาพระธรรม ก็ทำให้รู้การเกิดดับได้ และสามารถปฏิบัติจนถึงบรรลุมรรคผลขั้นต้น สภาวะธรรมที่เห็นก็จะเป็นธรรมแบบหยาบๆ ต่อมา เมื่อผู้นั้นต้องการเห็นต้องการแทงตลอดในธาตุ ต้องการพิสูจญ์ ก็ต้องเจริญสมถะเพื่อทำให้เกิดปัญญายิ่ง หรืออภิญญา เป็นเครื่องมือในการเห็น แต่ปัญญาแบบนี้ ทำเพื่อให้เห็น ให้ศึกษาได้ละเอียดขึ้น ไม่ได้ทำเพื่อจะให้รู้

พระพุทธองค์ จะให้ผู้สนใจใฝ่ศึกษา เจริญสมถะ เพื่อที่จะได้มีอภิญญา ก็ต่อเมื่อบรรลุมรรคผลตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป การเจริญสมถะก่อนหน้าที่จะได้ผลสมาบัติ เพื่อเห็นก่อน แล้วจึงมาศีกษาเพื่อรู้นั้น เป็นการเสียเวลาและจะประสบปัญหานานาประการ ไม่มีประโยชน์เพื่อมรรคผลนิพานเลย ถือเป็นการเริ่มจากมิจฉาทิฏฐิ

ปัญญาเครื่องขัดเกลา
อุปมาเหมือนคนติดการพนัน ชื่อนาย ก. แต่ภายหลังมาเลิกเพราะหมดตัว สิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งพ่อแม่บุคคลอันเป็นที่รัก เมื่อหมดตัวแล้วได้คิด (เนกขัมมะ) จึงมาสอนบอกต่อๆ กับคนที่ติดการพนันรุ่นหลัง มีนาย ข. เป็นนักเลงการพนัน เมื่อได้ฟังก็เกิดปัญญาเห็นด้วย (สัมมาทิฏฐิ) แต่จะทำอย่างไรให้เลิกนิสัยติดพนันได้ เมื่อรู้โทษแล้ว

พอนาย ข. คิดจะเล่นการพนัน ก็นึกถึงคำพูดของนาย ก. (สติ) ว่าเป็นเรื่องไม่ดี (ปัญญา+ธัมวิจย) ทำให้เลิกคิด (สัมมาสังกัปปะ) ไม่เข้าบ่อนได้ครั้งหนึ่ง (สัมมาวายามะ) พอเผลอปล่อยตัวปล่อยใจ ก็กลับไปคิดถึงการพนันอีก บางครั้งก็ยังแอบไปเล่น นิดๆ หน่อยๆ แค่พอคิดถึง ต่อมาก็เกิดปริตกในใจว่า เราจะทำอย่างไรหนอ จึงจะเลิกนิสัยติดการพนันได้ จึงหาอุบายสอนตัวเอง พอดี นาย ข. มีความรักพ่อรักแม่มาก ก็เลยใช้การนึกถึงพ่อถึงแม่ ไม่อยากเสียคนอันเป็นที่รัก (อนุสติ) ไม่อยากทำให้คนอันเป็นที่รักเสียใจ ทุกครั้ง เมื่อเกิดคิดอยากจะเล่นการพนัน ก็คิดถึงพ่อแม่ คิดถึงคำสอนของนาย ก. (โยนิโสมนสิการ) และทำต่อเนื่องไม่หยุด (ภาวนา) เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี นาย ข. ไม่ได้เข้าบ่อนเลย นาย ข. ก็สามารถเลิกนิสัยติดพนันได้ในที่สุด (ปหานปริญญา)

อุปมาภาวนาเหมือน ไฟเขียว ไฟแดง
ความเห็นว่า นี้ฉัน นี้ของฉัน ฯ การจะกำจัดความเห็นนี้ออกไปจากความคิดจิตใต้สำนึก แบบนี้จะทำอย่างไรดี? หากเราสามารถมีไฟเขียวไฟแดงให้เราพอสังเกตได้ ขณะเห็นสิ่งของ หากคิดไปว่า นี้ของฉัน นี้รถ นี้บ้าน ฯ ให้ไฟแดงติด หากเกิดคิดเห็นไปว่า เหตุปัจจัยมารวมตัวกันแบบนี้เรียกว่าบ้าน รวมกัวกันแบบนี้เรียกว่ารถ นี้ก็ไม่ใช่ของฉัน นี้ก็ไม่ใช่ฉัน ฯ ให้ไฟเขียวติด … ทำอย่างไรจะให้ไฟเขียวติดตลอด ไฟแดงไม่ติดเลย?

ในขณะที่พิจารณาสิ่งที่มากระทบอินทรีย์ ๖ แล้วเกิดความคิดเห็นว่า สิ่งนี้ อารมณ์นี้ เป็น อนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ในขณะนั้น จิตถือเป็นกุศล (ไฟเขียว) เพราะเกิดความเห็นชอบคิดชอบขึ้น แต่เกิดเพียงแค่ชั่วขณะเท่านั้น หากปล่อยตัวปล่อยใจ หรือเผลอไป พอมีอะไรมากระทบอีกที ก็คิดเห็นคล้อยตามอารมณ์บัญญัติไปอีก จิตตอนนั้นก็ถือว่าเป็นอกุศล (ไฟแดง) เพราะฉะนั้น การที่จะสร้างความเห็นชอบขึ้นมาได้ทุกขณะจิตนั้น ไม่ได้ง่ายเลย การเอาชนะความพอใจ ไม่พอใจนั้นยาก สิ่งเหล่านี้มีกำลังมาก มีอิทธิพลต่อเรามาก ฉะนั้นต้องขยันภาวนา ถือ ทำให้มาก เจริญให้มาก ถึงเรียกว่า การเจริญปัญญา หรือ การวิปัสสนาภาวนา ต้องมีสติระลึกรู้ตลอดเวลา จนสามารถวิปัสสนาได้ทุกลมหมายใจ หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กระทั้ง ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นกลับตลาปัด เห็นว่าสิ่งต่างๆ เป็นปรมัติธรรม ก่อนบัญญัติธรรม แบบนี้ จึงเรียกว่าใช้ปัญญาปหานสำเร็จ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 13:05, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิเคราะห์ ทาน ศีล ภาวนา (บุญกริยาวัตถุ)
ธรรมที่เป็นเหตุของธรรมทั้งปวง มี ๖ ประการ อัน (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ อกุศลมูลเหตุ ๓ และกุศลมูลเหตุ ๓ การเจริญธรรมเพื่อการบรรลุดมรรคผลนิพพานั้น เกิดจากธรรมส่วนที่เป็น กุศล ดังนั้น เพื่อเป็นการวางรากฐานทางธรรมให้กับอุบาสกอุบาสิกา ที่ยังไม่ได้เรียนพระธรรมจนลึกซึ้ง พระพุทธองค์ จึงกำหนดแนวทางให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ทำทาน ถือศีล และปฏิบัติภาวนา โดยถือว่า “ภาวนา” เป็นบุญขั้นสูงสุด

ทาน ศีล นั้น เป็นไปเพื่อการเจริญ อโลภะ อโมหะ ทั้งเป็นการครองตนไม่ให้ตกต่ำ ล่วงภัยเวรต่างๆ ที่จะมาเกิดขึ้นกับชีวิต ให้ผลทั้งชาตินี้และชาติหน้า ส่วนการเจริญธรรม อโมหะ นั้น ก็คือ การภาวนา

หากจะพิจารณาตามนี้ ภาวนา เพื่อ อโมหะ ต้องเป็นวิปัสสนาภาวนา ไม่น่าจะใช่ สมถะภาวนา อย่างที่ตอนนี้หลายๆ ท่าน หรือผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมากกำลังเข้าใจกัน ผลของสมถะนั้น คือ ความสงบ ไม่ใช่ปัญญา หากต้องการปัญญาแล้วจึงต้องเป็นการวิปัสสนาภาวนา หรือ การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ให้รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบในขณะปัจจุบัน การที่มีการเข้าใจว่า ภาวนา คือ สมถะภาวนา และพากันไปนั่งสมาธิ จึงเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้อง ผิดหลักเหตุปัจจัย

บุญกริยาวัตถุ กับ ไตรสิกขา
ทาน ที่พระพุทธองค์ให้อุบาสกอุบาสิกาทำนั้น มีหลายอย่าง โดยเฉพาะ การใส่บาตรเช้า ถือว่าเป็นทานขั้นสูง เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนาไปด้วย เพื่อเจริญ อโลภะธรรม แต่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมาเจริญธรรมแบบนี้ก็คงไม่ได้ ไม่เช่นนั้น ตอนเช้าพระสงฆ์คงต้องผลัดกันมาใส่บาตร :b12: ดังนั้น พระพุทธองค์จึงกำหนดให้พระสงฆ์เรียนและปฏิบัติธรรม เรียกว่า สิขาบท แบ่งเป็น ๓ ส่วน ที่เรียกว่า สิกขา ๓ หรือไตรสิกขา

พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาวนาปลูกข้าวแต่บังคับให้ข้าวออกรวงไม่ได้ฉันใด ภิกษุก็บังคับให้มรรคผลเกิดขึ้นไม่ได้ฉันั้น ชาวนาทำนาด้วยเหตุ ๓ ประการ สำหรับภิษุ ก็คือ สิขา ๓ นี่แหละ เมื่อขณะศึกษาปฏิบัติ ก็คือการเจริญธรรมเพื่อยังให้เกิดมรรคผลนิพพาน ไตรสิกขา จึงเป็นแนวทางการเจริญธรรมของพระภิกษุ ไม่ใช่สำหรับฆารวาส และที่สำคัญ ไตรสิกขา ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่เข้าใจกัน ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 12:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การที่มีการเข้าใจว่า ภาวนา คือ สมถะภาวนา และพากันไปนั่งสมาธิ จึงเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้อง ผิดหลักเหตุปัจจัย



???

ท่าน จขกท. พูดคล้ายๆ ท่าน อ.แนบ มหานีรานนท์ เลย

http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003395.htm

อ้างคำพูด:
คือว่า แต่ก่อนนี้ไม่มีนะคะ วิปัสสนานี่น่ะ ไม่มีเลย มีแต่สมาธิทั้งนั้น บริกรรมว่า สัมมาอรหังบ้าง พุท เข้า โธ ออก บ้าง แล้วแต่จะภาวนาอะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ สมาธิทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่มีวิปัสสนาเลย

แต่ทั้ง ๆ ที่ทำสมาธิกันทุกแห่งหน เขาก็เรียกกันว่า วิปัสสนา




ท่าน จขกท. เหมือนจะสรุปว่า ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนา คือ ผู้ที่เจริญแต่สมถะเพียงอย่างเดียว??? ไม่มีการเจริญวิปัสสนาด้วยเลย???


ความจริงแล้ว พระสุปฏิปันโนของไทยในอดีตท่านก็เจริญวิปัสสนาเช่นกัน ท่านไม่ได้เจริญแต่พุทธานุสติ(สมถะกรรมฐาน) อย่างเดียว น่ะครับ


ดังที่ หลวงปู่มั่น ท่านได้สอนเอาไว้ ดังนี้

ธรรมะพระอาจารย์มั่น : มุโตทัย

พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้ พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน

ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็น อนุโลม ปฏิโลม

คือ เข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย ...

อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว...




อนึ่ง การพิจารณากาย กายคตาสติ เช่น พิจารณาเป็นของปฏิกูล ดังที่ท่านสอน ก็มีส่วนแห่งวิปัสสนา และ จัดอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรหมวดกายานุปัสสนา เช่นกัน(ดัง คห.ข้างต้น)

เพียงแต่ แนวทางวิปัสสนาจารย์ เช่น ที่คุณรสมนนำมาลง ท่านเห็นว่า การเจริญกายคตาสติ หรือ ปฏิกูลมนสิการ ในลักษณะนี้ ไม่มีส่วนแห่งวิปัสสนา..... มีแต่เพียงสมถะอย่างเดียว



พระสุปฏิปันโนในไทยสมัยก่อนท่านก็เจริญวิปัสสนาเช่นกัน ไม่ใช่เพียงเจริญสมถะอย่างเดียวอย่างที่ วิปัสสนาจารย์เข้าใจหรอก.... (ส่วน เรื่อง การภาวนา สัมมาอรหัง นั้น ผมไม่ทราบรายละเอียด...ขอผ่าน)

เพียงแต่ว่า การเจริญกายคตาสติ หรือ ปฏิกูลมนสิการนั้นๆ ทางวิปัสสนาจารย์ท่านไม่อนุมัติ ให้จัดว่ามีส่วนแห่งวิปัสสนาด้วย

ผมถึงบอกว่า วิปัสสนาจารย์ ท่าน ออกไปในลักษณะ "ผูกขาดวิปัสสนา"



นอกจาก จะไม่ยอมอนุมัติให้การปฏิบัติของพระสุปฏิปันโนของไทยในอดีตมีส่วนแห่งวิปัสสนาด้วยแล้ว ท่านยังมองว่า พระสุปฏิปันโนไทยในอดีตนั้น "เป็นเพียงสมถะ แต่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นเพียงสมถะ" เข้าข่าย ผู้ร้ายปากแข็ง

http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003395.htm

อ้างคำพูด:
คือว่า แต่ก่อนนี้ไม่มีนะคะ วิปัสสนานี่น่ะ ไม่มีเลย มีแต่สมาธิทั้งนั้น บริกรรมว่า สัมมาอรหังบ้าง พุท เข้า โธ ออก บ้าง แล้วแต่จะภาวนาอะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ สมาธิทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่มีวิปัสสนาเลย แต่ทั้ง ๆ ที่ทำสมาธิกันทุกแห่งหน เขาก็เรียกกันว่า วิปัสสนา ใครจะไปนั่งทำความสงบที่ไหน ก็เรียกว่า ไปนั่งทำวิปัสสนา ไปขึ้นวิปัสสนาวันนั้นวันเริ่มต้น เขาขึ้นวิปัสสนากับลูกศิษย์ใหม่ จะต้องไปวันนั้น ๆ ทีเดียว

ทุกแห่งทุกสำนักที่มีในประเทศไทย มีแต่สมาธิทั้งนั้น แต่ว่าเขาไม่รับว่าเป็นสมาธิ




นี่คือ รากของปัญหา ที่แท้จริง

ถ้าทาง แนวทาง สุทธวิปัสสนายานิก ยังไม่ยอมเปิดใจให้กว้าง ก็ยากที่จะเข้าใจกันได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง อ.แนบ มหานีรานนท์ ผมเคยอ่านบางบทความ ไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดมากนัก แล้วจะลองหามาอ่านดูครับ

อ้างคำพูด:
ความจริงแล้ว พระสุปฏิปันโนของไทยในอดีตท่านก็เจริญวิปัสสนาเช่นกัน ท่านไม่ได้เจริญแต่พุทธานุสติ(สมถะกรรมฐาน) อย่างเดียว น่ะครับ

ตรงนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะไม่ได้ศึกษาการปฏิบัติของพระเถระทั้งหลายมาก่อน

แต่มีความเห็นตามที่ศึกษามาจากพระไตรปิฎกที่ว่า อุบาสกอุบาสิกา จะไปปฏิบัติแบบพระนั้นไม่ได้ มีเหตุผลทางธรรม อย่างน้อย ๓ ประการคือ
๑) พระมีเนกขัมมธรรม
๒) พระมีบุญบารมีจากการบวช
๓) พระมีจริยวัตรไม่เหมือนคฤหัส

ยึ่งเป็นสมัยพุทธกาล พระที่มีคุณขั้นต่ำ อย่างน้อยก็เป็นพระโสดาบัน

ที่ผมนำบทความทั้งหลายมาบอกกล่าว ผมชี้ตรงไปที่อุบาสกอุบาสิกา เอกสารเพื่อการปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่เคยได้อ่านมาบ้าง ถ้าไม่ให้เริ่มที่สมาธิ ก็เริ่มที่มรรคเบื้องสูง ซึ่งเป็นปฏิปทาของพระอริยะตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป เชื่อว่า ผู้นำมาเผยแพร่เองก็ไม่รู้ อย่างกายคตาสติ ก็เป็นสมถะนำวิปัสสนา เป็นการปฏิบัติของพระเสขะ

ส่วนเรื่องแยกเป็นสำนัก นี่ผิดต่อพระปาติโมกข์ ไม่ใช่ต้นเหตุ แต่เป็นปลายเหตุ พระพุทธองค์ห้ามเราแตกแยกกัน การแบ่งเป็นนิกาย ก็ผิดพระวินัยแล้ว พุทธศาสนาต้องไม่แบ่งแยก ต้องรวมเป็นหนึ่งเดียว พวกแบ่งแยก พระพุทธองค์ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานในชาตินี้

รบกวนท่านลองดูรายละเอียดเกี่ยวกับมรรคเบื้องล่างกับมรรคเบื้องสูง จะเห็นความแตกต่างชัดเจน ว่า ธรรมอันใดเป็นหน้าที่มรรคเบื้องล่างปหาน ธรรมอันใดเป็นหน้าที่มรรคเบื้องสูงปหาน แล้วค่อยไปดูเรื่องปฏิปทา

ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งก็คือ อัปปนาสมาธิ ไม่มีความจำเป็นสำหรับการบรรลุโสดาปัตติผล การเปลี่ยนภพของจิตใช้สมาธิขั้นอุปจาระเพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้นหลังจากที่อนุโลมจิตเกิด การเจริญสมาธิหวังจะได้ฌานสมาบัติแม้ในขณะโสดาปัตติมรรค ก็ยังไม่ควร นอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว หากสติไม่มั่นคงจิตจะกลายเป็นฝ่ายอกุศลไป

ในขณะโสดาปัตติมรรค อาศัยศรัทรา อาศัยปัญญา เพียง ๒ ประการนี้ ก็บรรลุโสดาปัตติผลได้ คือ เชื่อตามที่พระพุทธองค์บอกก่อน ถือเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ แล้วก็วิปัสสนาไปเรื่อยๆ ส่วนพวกไปนั่งสมาธิเพื่อจะระลึกชาติได้มีหูทิพย์ตาทิพย์ก่อน ผมว่าพวกนี้สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะก็ยังไม่มี คือไม่เชื่อเรื่องชาติภพ จะรอให้เห็นกับตาก่อน ไม่รู้ว่าจะทำไปได้ประโยชน์อะไร

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ต.ค. 2009, 12:46, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร