วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียงการปฎิบัติแบบนี้หรือเปล่าครับ

1. บวช
2. จงเป็นผู้มีศีล
3. สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
4. สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
5. เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ ๑
6. ละนิวรณ์ ๕ ประการ
7. สติปัฏฐานสี่
8. สัมมาสมาธิ

พอจะอธิบายได้ใหมครับ แต่ละขั้นทำไปเพื่ออะไร แล้วจะได้อะไรเป็นผลในแต่ละขั้น?
ที่ว่าเป็นของอริยะสาวกนี่ ถ้าเรายังไม่ได้เป็นอริยะสาวก แล้วจะมาทำสมาธิพอจะได้ใหมครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรียงการปฎิบัติแบบนี้หรือเปล่าครับ

1. บวช
2. จงเป็นผู้มีศีล
3. สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
4. สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
5. เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ ๑
6. ละนิวรณ์ ๕ ประการ
7. สติปัฏฐานสี่
8. สัมมาสมาธิ


ขออภัยที่ตอบช้า

มีข้อจำกัดเรื่อง งานภาระ และ สุขภาพ

นี่คือ กรณีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ ท่านอัคคิเวสนะ ว่า ถ้าผู้ที่ยังคงเสพกามอยู่นั้นปราถนาจะบรรลุเอกัคคตาแห่งจิต จะต้องปฏิบัติเดินตามนี้. ซึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับ แนวทางสู่อรหัตตผล ที่พระอานนท์แสดงไว้ในยุคนัทวรรค ยุคนัทกถา ก็น่าจะเป็นลักษณะ การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

อย่างไรก็ตาม ในการเจริญสมถะ-วิปัสสนา นั้น ไม่ได้มีรูปแบบเดียว. เช่น กรณีพระสาวกที่เคยเป็นฤาษี ที่ท่านมีเนกขัมมะอยู่แล้ว มีเจโตสมถะ(แต่ยังไม่นับว่าเป็นอริยะสัมมาสมาธิ)อยู่แล้ว พระพุทธองค์ก็จะทรงแสดงดัง ในแนวทางเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เช่น ที่ปรากฏในฌานสูตร คือ ใช้รูปนามที่ปรากฏในฌาน(ฌานที่ปรากฏในขณะนั้นยังไม่นับว่าเป็นอริยะสัมมาสมาธิน่ะครับ เพราะ ยังไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม)เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง. ไม่ได้แสดงเริ่มต้นด้วยการเนกขัมมะ(เพราะพระฤาษีย่อมไม่พัวพันด้วยกามอยู่แล้ว) ดังที่แสดงต่อท่านอัคคิเวสนะนี้

ซึ่งนี่คือ พระญานของพระพุทธเจ้า ที่ทรงจำแนกแจกแจงธรรม ทรงสอนบุรุษที่สามารถสอนได้อย่างไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า สามารถหยั่งทราบถึงจริตนิสัยและธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ :b8: :b8: :b8:



อ้างคำพูด:
พอจะอธิบายได้ใหมครับ แต่ละขั้นทำไปเพื่ออะไร แล้วจะได้อะไรเป็นผลในแต่ละขั้น?


ขั้นตอนทั้งหมด ที่คุณกล่าว ก็นับเนื่องเป็นองค์แห่งอริยมรรคทั้งนั้น

1.บวช

เนกขัมมะ ก็มีทั้งการดำริออกจากกามทางใจ(สัมมาสังกัปปะ) การประพฤติพรหมจรรย์ทางกาย


2. จงเป็นผู้มีศีล
3. สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
4. สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย


สงเคราะห์เป็น อธิศีลสิกขา

5. เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ ๑
6. ละนิวรณ์ ๕ ประการ


สงเคราะห์เป็น สัมมาวายามะ ในอธิจิตตสิกขา

7. สติปัฏฐานสี่

สงเคราะห็เป็น สัมมาสติ ในอธิจิตตสิกขา

8.สัมมาสมาธิ

สงเคราะห์เป็นสัมมาสมาธิ ในอธิจิตตสิกขา


ประเด็น เรื่องที่ว่า องค์แห่งอริยมรรค แต่ละองค์ๆนั้นมีประโยชน์อย่างไร?

ผู้ที่อ่านพระไตรปิฏกได้ถึงครึ่งหนึ่งอย่างท่าน จขกท.น่าจะทราบรายละเอียดมากกว่าผมดีอยู่แล้วน่ะครับ.ผมกล่าวในเรื่องนี้ จะเป็นการเอามะพร้าวห้าวไปขายสวนเสียมากกว่า :b32:


......................


ผมเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่ผู้ศึกษามักจะไขว้เขวไป ในเรื่องสัมมาสมาธิ เพราะ ไปแยกขาดองค์แห่งอริยมรรค ออกจากกัน

การแยกแยะรายละเอียดขององค์แห่งอริยมรรค กับ การแยกขาดองค์แห่งอริยมรรคออกจากกัน นั้นเป็นคนล่ะประเด็น

อย่างเช่น เมื่อกล่าวถึง สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ก็มักจะคิดว่าเป็นองค์ธรรมโดดๆ ที่สามารถแยกขาดจากองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างได้.
(ความสัมพันธ์ร้อยเรียงกันเป็นไป ขององค์แห่งอริยมรรคทั้งหมด แสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร ที่ทรงแสดง สัมมาสมาธิของพระอริยะ)

ซึ่งนี่คือ ความเข้าใจผิด และ ทำให้นำเอาอริยะสัมมาสมาธิไปปะปนกับ สมถะของพระฤาษีนอกพระศาสนาเข้าโดยไม่รู้ตัว


สิ่งที่สำคัญที่สุด เวลากล่าวถึงเรื่อง สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค คือ

1.ต้องตระหนักเสมอว่า อริยะสัมมาสมาธินั้นเป็นเอกัคคตาแห่งจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างพร้อมเสร็จอยู่ในนั้น...ไม่ใช่นับเพียงว่า เป็นเอกัคคตาจิต(ฌาน)เพียงอย่างเดียว

2.สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค นั้น เป็นผลบังเกิดจากการเจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน ดังที่ปรากฏในพระสูตร ทันตภูมิสูตร ที่ ๕ นี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ว่าเป็นของอริยะสาวกนี่ ถ้าเรายังไม่ได้เป็นอริยะสาวก แล้วจะมาทำสมาธิพอจะได้ใหมครับ?


คำว่า อริยะสัมมาสมาธิ
นั่นหมายถึงว่า เป็นเป้าหมายที่เราท่านพึงเจริญสมาธิให้เป็นแบบนั้น คือ พึงเจริญให้เป็นไปในแบบของพระอริยะ

หาใช่จะจำกัดว่า ปุถุชนห้ามเจริญ

อริยมรรคนี้ มีไว้สำหรับปุถุชนผู้หาทางออกจากทุกข์ และ พระเสขะเจริญกันครับ
ผู้จบกิจ(พระอเสขะ) ท่านไม่ต้องเจริญอีกแล้วครับ

เกี่ยวกับว่า การเจริญอริยมรรค นั้นจำกัดเฉพาะพระอริยะไหม ?
ผมเคยนำข้อสรุปประมวลมาจาก หนังสือพุทธธรรม มาลงไว้ทีแล้ว ลองย้อนค้นอ่านกระทู้เก่าๆดูน่ะครับ


...............................


ผมขออนุญาต เรียนถามท่าน จขกท น่ะครับ

เกี่ยวกับ มหาจัตตารีสกสูตร ว่า ท่าน จขกท.อ่านแล้ว มีความเห็นเช่นใด?

เพราะ พระสูตรนี้ ผมเห็นว่าเป็นพระสูตรที่มีรายละเอียดแสดง สัมมาสมาธิ มากสุดพระสูตรหนึ่ง

จึงอยากรับทราบมุมมองของ ท่าน จขกท.ในพระสูตรนี้ก่อน จะได้ทราบว่า ท่าน จขกท. มีความเห็น ความเชื่อ พื้นฐานในเรื่อง สัมมาสมาธิ นี้อย่างไร

ว่างๆ จะเข้ามาคุยด้วยใหม่

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาใหม่นะครับ ถ้วแสดงแบบนี้

1. สละสมบัติกองโต โกนหัวมาอยู่ป่า นุ่งเหลืองหุ่มเหลือง (บวช)
2. ปฏติบัติตนตามกฎ 227 ข้อ (ศีล)
3. ระวังคนไม่ให้ทำผิดที่พระพุทธเจ้าสั่ง (ปาติโมกขสังวร)
4. เรียนภาคทฤษีก่อน 150 ข้อ คือ ไตรสิกขา (สมาทานศึกษาในสิกขาบทท)
5. พิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ตลอดเวลา (เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย)
6. ตัดความพอใจไม่พอใจได้ ละพายาท แตกฉานพระธรรม กำจัดความเบื่อหน่ายว่วงซึมออกไปได้ ตัดฟุ้งซ่านออกไปได้ (ละนิวรณ์ ๕ ประการ)
7. ใช้สติเป็นตัวการเจริญวิปัสสนาในกาย (สติปัฏฐานสี่)
8. มีความตั้งมั่นอันเป็นประเสริฐ (สัมมาสมาธิ)

ทำได้ให้ครบจึงจะจัดได้ว่า อริยทรัพย์อย่างหนึ่ง คือ สัมมาสมาธินั้นเกิดขึ้นแก่เรา ใช่ใหมครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาจัตตารีสกสูตร

1. ต้องมีสัมมาทิฎฐิก่อน (เป็นประธาน) ตัวนี้นี่ต้องดับอวิชชา(โมหะ)หรือมีปัญญา(อโมหะ) จึงจะถือเป็นองค์มรรค (อนาสวะ) ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นทั่วไป (สาสวะ)
2. ต้องสร้างสัมมาทิฎฐิให้ได้ (สัมมาวายามะ)
3. มีสัมมาทิฎฐิได้แล้วจึงจะได้สัมมาสมาธิ
4. องค์มรรค์ที่เหลือก็เกิดตามกันมาจนครบ 7 ประการ

ผมแปลออกมาได้สั้น แบบนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
เอาใหม่นะครับ ถ้วแสดงแบบนี้

1. สละสมบัติกองโต โกนหัวมาอยู่ป่า นุ่งเหลืองหุ่มเหลือง (บวช)
2. ปฏติบัติตนตามกฎ 227 ข้อ (ศีล)
3. ระวังคนไม่ให้ทำผิดที่พระพุทธเจ้าสั่ง (ปาติโมกขสังวร)
4. เรียนภาคทฤษีก่อน 150 ข้อ คือ ไตรสิกขา (สมาทานศึกษาในสิกขาบทท)
5. พิจารณาขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ตลอดเวลา (เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย)
6. ตัดความพอใจไม่พอใจได้ ละพายาท แตกฉานพระธรรม กำจัดความเบื่อหน่ายว่วงซึมออกไปได้ ตัดฟุ้งซ่านออกไปได้ (ละนิวรณ์ ๕ ประการ)
7. ใช้สติเป็นตัวการเจริญวิปัสสนาในกาย (สติปัฏฐานสี่)
8. มีความตั้งมั่นอันเป็นประเสริฐ (สัมมาสมาธิ)

ทำได้ให้ครบจึงจะจัดได้ว่า อริยทรัพย์อย่างหนึ่ง คือ สัมมาสมาธินั้นเกิดขึ้นแก่เรา ใช่ใหมครับ?



ถึงจะถามใหม่ ด้วยคำถามเดิม ก็ขอตอบแบบเดิมครับ

ลองย้อนไปอ่านอีกสักครั้งน่ะครับ

ถ้าหากยังรู้สึกว่ายังไม่ชัดเจนอยู่ เสนอ ลองอ่าน แนวทางเดินสู่อรหัตตผลทั้ง๔แนวทาง ในพระสูตรดูก่อน

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 564&Z=7861

สรุปเป็น

“๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)
๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)
๓) ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)
๔) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือ ความฟุ้งซ่านธรรม หรือ ตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็นมรรคผลนิพพาน)…”


ทุกๆแนวทางเดิน ถ้าเดินถูก อริยะสัมมาสมาธิ ล้วนต้องปรากฏทั้งนั้น

ไม่จำกัดเฉพาะเพียง แบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงต่ออัคคิเวสสนะ

กรณีในพระสูตรที่แสดงต่ออัคคิเวสสนะนี้ อธิบายว่า ถ้าบุคคลที่ชุ่มด้วยกามจะบรรลุอริยะสัมมาสมาธิ ต้องเดินแบบนี้...
คือ ต้องมีศรัทธาในพระพุทธองค์ แล้วไปละกามเป็นเสียก่อน จากนั้นจึงปฏิบัติธรรมอื่นตามต่อมา ดังปรากฏในพระสูตร จึงจะบรรลุถึงอริยะสัมมาสมาธิได้

แต่ หาใช่ว่าทุกๆคนต้องเดินแบบนี้ .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


1) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า - ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ... - หมายถึงการละเหย้าเรือนออกไปบวชเป็นพระเป็นนักบวช, การละชีวิตทางโลกไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ เป็นการปลดเปลื้องตนจากโลกียวิสัยไปบำเพ็ญเพียรเพื่อความปลอดจากราคะและตัณหา การเว้นกิจของคฤหัสถ์ ถือเพศบรรพชิต เป็นผู้ไม่ครองเรือน ไม่แสวงหาทรัพย์ไม่รับเงินและทอง = พระ โยคี?

2) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า - วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้= คนทั่วไป?

3) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน - เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ/ขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์/มีนิโรธเป็นโคจร = ละอุทธัจจะ+(ละขันธ์)+นิโรธ? ไม่รู้เกียวกับนิโรธสมาบัติหรือเปล่า? ถ้าใช่ก็น่าจะพวก ฤาษี พราหมณ์ นักบวช ?

4) ..

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า - ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ... - หมายถึงการละเหย้าเรือนออกไปบวชเป็นพระเป็นนักบวช, การละชีวิตทางโลกไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ เป็นการปลดเปลื้องตนจากโลกียวิสัยไปบำเพ็ญเพียรเพื่อความปลอดจากราคะและตัณหา การเว้นกิจของคฤหัสถ์ ถือเพศบรรพชิต เป็นผู้ไม่ครองเรือน ไม่แสวงหาทรัพย์ไม่รับเงินและทอง = พระ โยคี?


ในสมัยพุทธกาล

มีฤาษีชีไพรจำนวนมาก ที่บำเพ็ญสำเร็จโลกียฌานอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร.ท่านเหล่านี้ จิตพื้นฐาน สงัดจากกาม จากอกุศล วิเวก อยู่แล้ว... เพียงแต่ ใช้สมาธิยังไม่ถูกทาง คือ ยังไม่ได้ใช้สมาธิไปเพื่อความสิ้นของทุกข์ทั้งหลาย เพราะท่านปราศจาก อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ เป็นตัวกำหนดทิศทาง และ ปราศจากสัมมาสติ(ใน กาย เวทนา จิต ธรรม)เป็นเหตุนำแห่งสมาธินั้น.

ท่านเหล่านี้ อาจจะมีความสำคัญตน ว่า ที่ท่านบำเพ็ญได้นั้นยอดเยี่ยมสุดๆ.
แต่ ท่านเหล่านี้ เป็นmaterialที่สำคัญในการประกาศพระศาสนาในสมัยพุทธกาล เพราะ จิตท่านย่อมเอื้อต่อธรรมขั้นสูงมากกว่าผู้ครองเรือนเสพกาม(อ่าน โพธิราชกุมารสูตร)...

ลองสังเกตุ พระสาวกองค์สำคัญ1000องค์แรก เป็นนักพรตจำนวนมาก(เช่น ชฎิลสามพี่น้อง)....




อ้างคำพูด:
2) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า - วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้= คนทั่วไป?


ไม่เห็นด้วยครับ

ในกลุ่มนี้ ไม่น่าจะใช้คนทั่วไปครับ
แต่เป็นผู้ที่มีอินทรีย์บารมีแก่กล้า คือ มีพื้นฐานทางศีลที่ดี และ ปกติเป็นคนที่ใจคอไม่ฟุ้งซ่านอยู่แล้วในระดับหนึ่ง น่าจะตรงกับ ปัญญาจริต(ญาณจริต) มากกว่า. ท่านเหล่านี้ พร้อมที่จะรู้ธรรมขั้นสูงได้อย่างรวดเร็ว

คนทั่วไป ไม่น่าจะใช่ปัญญาจริตครับ โดยเฉพาะ ในสังคมปัจจุบัน คนทั่วไปน่าจะเป็นวิตักกจริต คือ มีใจคอฟุ้งซ่าน มากกว่า

เสนออ่าน ในพระสูตร เรื่อง กรรมฐาน กับ จริต

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

"....พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต. ...."




อ้างคำพูด:
3) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน - เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ/ขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์/มีนิโรธเป็นโคจร = ละอุทธัจจะ+(ละขันธ์)+นิโรธ? ไม่รู้เกี่ยวกับนิโรธสมาบัติหรือเปล่า? ถ้าใช่ก็น่าจะพวก ฤาษี พราหมณ์ นักบวช ?


ไม่น่าจะเกี่ยวกับ ผู้ที่ได้นิโรธสมาบัติหรือไม่ หรอกครับ

ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นในกลุ่มพระอุภโตภาควิมุต(เจโตวิมุต) ที่เชี่ยวชาญอย่างยิ่งในสมถะ ส่วนใหญ่ ก็คือ ในกลุ่มแรก(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น)

ในระดับพระสูตร ที่แสดงชัดถึงการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันนั้น แสดงถึง การเจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนาของพระสารีบุตร ครับ


ความจริงแล้ว
การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐานนั้น ก็จะปรากฏทั้งสมถะ และ วิปัสสนา ให้เห็นคู่กันไปเรื่อยๆอยู่แล้ว
สักแต่ว่า ฐานไหนจะเด่นสมถะ ฐานไหนจะมีทั้งสมถะและวิปัสสนา ฐานไหนจะเด่นวิปัสสนา

จากระดับพระสูตร ก็มีที่แสดงว่า ในการเจริญอริยมรรค และ สติปัฏฐานสี่ ก็จะมีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไปอยู่แล้ว

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



หรือ จะดูจาก ทันตภูมิสูตร ที่ ๕ ที่ทรงแสดงต่อท่านอัคคิเวสสนะ ก็ชัดเจนว่า ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น มีฌานปรากฏขึ้นในตัวอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเรียนถาม ท่าน จขกท ครับ



โยคีท่านหนึ่ง สำโลกียเร็จฌาน
แต่ สำคัญว่า ฌานจิตที่บังเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่สูงสุด เป็นปรมาตมัน อาตมัน ตัวกูผู้ผ่องใส
สมาธิในขณะนี้ นับว่าเป็นมิจฉาสมาธิ...
น่าจะเห็นตรงกันน่ะครับ

ต่อมา
โยคีท่านนั้น ได้สดับพระพุทธพจน์ และ ปฏิบัติตามหลักอริยมรรค คือ พิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่บังเกิดในฌานสมาบัตินั้นๆ เป็น ไตรลักษณ์ ยึดมั่นถือหมายไม่ได้ และ บรรลุมรรคผลในที่สุด(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น) ดังเช่น ที่ปรากฏในฌานสูตร

ขอเรียนถามว่า องค์แห่งฌาน ที่โยคีท่านนั้นใช้เป็นอารมณ์แห่งวิปปัสสนา ในขณะที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนั้น นับว่าเป็นมิจฉาสมาธิด้วยไหม?


ว่างๆ จะแวะมาใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิยามของสัมมาสมาธิพิจรณามองค์ธรรม คือ สมาธิที่มีปัญญาประกอบ ขยายความได้ว่า ความสงบใดๆ ที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกเป็นเครื่องปรุงแต่ง

ในขณะที่อยู่ในฌาน อกุศลกรรมจิตทั้งหมดถูกกดด้วยอำนาจของฌาน เปรียบเสมือนหญ้าที่ถูกทับด้วยหิน

สมาธิในการวิปัสสนาไตรลักษณ์ในองฌาน จึงถือได้ว่าเป็นสัมมาสมาธิ เพราะในขณะที่วิปัสสนา มีปัญญาเกิดขึ้น

การวิปัสสนาในลักษณะนี้ ต้องได้สมาธิขั้นรูปฌาน (ไม่ละขันธ์) หรืออรูปฌาน (ละขันธ์) โดยมีนิโรธเป็นอารมณ์หรือเป็นโคจร ตามที่ว่าไว้ในพระไตรปิฎก

ผมว่าผมสรุปไม่ผิดนะ

แบบที่ 1 สำหรับพวกที่บวชเป็นพระ ต้องบวชถูกธรรมวินัยด้วย หรือพวกโยคีที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจริงๆ ส่วนมากต้องรวยมาก แค่สละสมบัติมาบวชได้นี่ก็แทบจะบริสุทธิ์มาแล้วนะครับ

แบบที่ 2 พระหรือคนทั่วไปก็ทำได้ ส่วนบุญาบารมีนี่เห็นด้วย ปกติบวชก็ได้บารมีอยู่แล้ว คนทั่วๆ ไปก็มาถือศีล ทำทาน แล้วมาวิปัสสนา ก็น่าจะได้นะ

แบบที่ 3 เฉพาะพวกฌานลาภีบุคคล คนธรรมดาจะมาทางนี้ ก็ต้องทำสมาธิอย่างเดียวไห้ได้สมาบัติก่อน มันยากนะ ศีล 5 ต้องบริสุทธิ์ โดยเฉพาะ ห้ามเสพเมถุนธรรม ห้ามฆ่าสัตว์โดยเด็ขาด ตบยุงยังไม่ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอ่านที่คุณแสดงธรรมหลายกระทู้แล้ว...ยังหลงอยู่มาก..

ในฐานะพุทธบริษัทและเป็นกัลยาณมิตรเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่วมกัน

คุณอยู่ที่ลำพูน...ผมจะแนะนำพระอริยะสงฆ์ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ...
ดีกว่าที่คุณจะมาอุปโลกน์ในกลุ่มพวกคุณเป็นโสดาบัน..

1.ครูบาปั๋น วัดดอยโมคคัลลาน์


2.พระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (ครุบาอินทร ปัญญาวัฑฒโน) วัดสันป่ายางหลวง
http://forums.212cafe.com/dhammagood/bo ... -77-1.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 01:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ศีล สมาธิ
viewtopic.php?f=7&t=25818

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกายไปไหนแล้วละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 01:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เขาไม่ฟังใครหรอก..

เหมือนจะ...ฟัง..แต่ไม่...ฟัง

แล้วจะมามัวพูด..ให้คนที่ไม่ฟัง..ฟังทำไม

อาจารย์คงรู้แล้ว...เลยไปดีกว่า

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 02:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถภาวนา เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ซึ่งได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เมื่อจิตฝักใฝ่มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกก็ปรากฏเป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพียงอารมณ์เดียว เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเป็น มิจฉาสมาธิ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตเป็น สัมมาสมาธิ

การทำสมาธิให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ นั้น เมื่อไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะขณะนั้นเป็นความพอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์เดียว เมื่อปราศจากปัญญาก็ไม่สามารถรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต เพราะโลภมูลจิตและกามาวจรกุศลจิตมีเวทนาประเภทเดียวกันเกิดร่วมด้วย คือ โลภมูลจิต 8 ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย 4 ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย 4 ดวง กามาวจรกุศลจิต 8 ดวง มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย 4 ดวง มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย 4 ดวง ฉะนั้น ขณะใดที่อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นหรือโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น จึงยากที่จะรู้ว่าจิตที่ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อน หรือขณะที่โสมนัสยินดีเป็นสุขนั้น เป็นโลภมูลจิตหรือเป็นมหากุศลจิต

ความต่างกันของโลภมูลจิต 8 ดวงและมหากุศลจิต 8 ดวง คือ โลภมูลจิตมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย มหากุศลจิตมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย อกุศลเจตสิกที่แสดงความต่างกันของโลภมูลจิตและมหากุศลจิต คือ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด และโสภณเจตสิกที่แสดงความต่างกันของกุศลจิตและโลภมูลจิต คือ สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นปัญญาเจตสิก ฉะนั้น ความต่างกันของโลภมูลจิต 8 ดวงและมหากุศล 8 ดวง คือ โลภมูลจิต 8 ดวงเกิดร่วมกับทิฏฐิเจตสิก 4 ดวง ไม่เกิดร่วมกับทิฏฐิเจตสิก 4 ดวง มหากุศลจิต 8 ดวงเกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก 4 ดวง ไม่เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก 4 ดวง ฉะนั้น ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาจึงต้องรู้ความต่างกันของโลภมูลจิตและกุศลจิต มิฉะนั้น ก็จะทำสมาธิด้วยโลภมูลจิต เป็นมิจฉาสมาธิเมื่อไม่ประกอบด้วย ปัญญา

ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำสมาธิไม่ต้องการให้จิตวุ่นวายเดือดร้อนกังวลไปกับเรื่องราวต่างๆ พอใจที่จะให้จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยไม่รู้ว่าขณะที่กำลังต้องการให้จิตจดจ่อที่อารมณ์ที่ต้องการนั้น ไม่ใช่มหากุศลญาณสัมปยุตต์

การเจริญสมถภาวนาเป็นการเจริญมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นโทษของอกุศลทั้งโลภะและโทสะ ไม่ใช่เห็นแต่โทษของโทสมูลจิต ซึ่งเป็นความกังวลใจ เดือดร้อนใจต่างๆ เท่านั้น ผู้ที่ไม่รู้จักกิเลสและไม่เห็นโทษของโลภะ ย่อมไม่เจริญสมถภาวนา ฉะนั้น ผู้ที่เจริญสมถภาวนาจึงเป็นผู้ตรง มีปัญญาเห็นโทษของโลภะ และมีสติสัมปชัญญะ รู้ขณะที่ต่างกันของโลภมูลจิตและมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต จึงจะเจริญมหากุศลญาณสัมปยุตต์เพิ่มขึ้นๆ จนอกุศลจิตไม่เกิดแทรกคั่นได้ จนกว่าจะเป็นอุปจารสมาธิ แล้วบรรลุอัปปนาสมาธิ คือ ปฐมฌานกุศลจิต ประกอบด้วยองค์ฌาน 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

ผู้เจริญสมถภาวนาต้องมีสติสัมปชัญญะอย่างปกติ และรู้ลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เกิดสลับกันและแทรกคั่นอย่างรวดเร็วได้ถูกต้อง มิฉะนั้นก็จะเข้าใจผิดว่า โลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาเป็นความสงบและเป็นกุศล

ผู้เจริญสมถภาวนาไม่มีอาการผิดปกติใดๆเลย เพราะการเจริญสมถภาวนาเป็นการเจริญกุศลทางใจ ซึ่งเมื่อจิตสงบแล้ว ก็จะปรากฏแต่นิมิตของอารมณ์ ที่ทำให้จิตน้อมเป็นกุศลมั่นคงยิ่งขึ้น เช่น ผู้ที่เจริญอาโปกสิณก็มีนิมิตของอาโปกสิณเป็นอารมณ์ จะไม่เห็นนรกสวรรค์ เหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ เลย ขณะที่ทำสมาธิแล้วเห็นภาพต่างๆ ขณะนั้นไม่ใช่สมถภาวนา

การเจริญสมถภาวนาไม่ใช่การดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เพราะไม่ใช่การประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติตามความเป็นจริง เมื่อฌานจิตไม่เสื่อมและฌานวิถีจิตเกิดก่อนจุติจิต เป็นกัมมปัจจัยให้ฌานวิบากจิตปฏิสนธิในพรหมภูมิขั้นต่างๆ แต่เมื่อหมดอายุของพรหมภูมินั้นๆแล้ว ก็ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก คือ ยินดี พอใจ ติดข้อง ในตัวตน ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ การเคยเจริญสมถภาวนาสะสมมาบ้างในชาติก่อนๆ ในสังสารวัฏฏ์ อาจจะทำให้บางท่านมีลางสังหรณ์ เป็นต้น ส่วนผู้ที่ทำสมาธิแล้วเห็นสิ่งต่างๆ เห็นเหตุการณ์ต่างๆนั้น เมื่อไม่ใช่การอบรมเจริญสมถภาวนาด้วยมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่สงบแนบแน่นมั่นคงในอารมณ์ตามลำดับจนเป็นฌานจิตขั้นต่างๆ ซึ่งย่อมจะเป็นไปได้ยากยิ่งนั้น ก็ไม่ใช่คุณวิเศษที่เป็นอุตริมนุสสธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งกว่าปกติของมนุษย์ทั้งหลาย ฉะนั้น เมื่อทำสมาธิแล้วเห็นสิ่งต่างๆบ้าง เห็นเหตุการณ์ต่างๆเป็นต้นนั้นจึงเป็นผลเล็กๆน้อยๆ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ของสมาธิซึ่งไม่ใช่การเจริญสมถภาวนา

การเจริญสมถภาวนาที่จะบรรลุถึงแม้อุปจารสมาธิก็แสนยาก เพราะปกติเมื่ออารมณ์ใดกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ย่อมคล้อยตามอารมณ์นั้นด้วย โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง กุศลที่เป็นไปในทานบ้าง ในศีลบ้าง ในภาวนาบ้างนั้นในวันหนึ่งๆมีเป็นส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับอกุศลที่เกิดขึ้นรวดเร็วเป็นประจำทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และการเจริญสมถภาวนานั้นก็ดับกิเลสไม่ได้ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นครอบงำจิตใจขณะใด สมถภาวนาที่เพียรอบรมมาจนถึงขั้นสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆได้ ก็เสื่อมหมดสิ้นไป

ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค ก็มีผู้บำเพ็ญเพียรเจริญสมถภาวนา จนบรรลุถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และฝึกอบรมจิต จนอธิษฐานให้มีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ และสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่แม้กระนั้น ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เมื่อไม่ได้อบรมเจริญเหตุ คือ วิปัสสนาภาวนาจนสมบูรณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ และบางท่านก็ยังเห็นผิดยึดมั่นในการปฏิบัติซึ่งไม่ใช่หนทางให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงพระธรรมแล้ว ผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยสาวกที่ไม่บรรลุฌานจิต ก็มีมากกว่าพระอริยสาวกผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมพร้อมด้วยองค์ของฌานขั้นต่างๆ
(สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุตต์ ปวารณาสูตร ข้อ ๗๔๕)

การทำสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งสัจจธรรมได้ เพราะไม่ได้อบรมเจริญเหตุ คือ วิปัสสนาภาวนาจนสมบูรณ์ที่จะเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ผู้บำเพ็ญสมถภาวนาสามารถอบรมจิตให้สงบ จนบรรลุอภิญญา มีตาทิพย์ หูทิพย์ ระลึกชาติได้ และสามารถทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่สมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นครอบงำจิต สมถภาวนาที่ถึงขั้นสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆได้ก็เสื่อม

(สุจินต์ บริหารวนเขตต์)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron