วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 01:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ขอเสวนาธรรมเรื่อง วิเวก ต่อเลยนะครับ

ท่านตีความประโยคว่า "สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก" ว่าเป็นอย่างไรครับ?

และก็ประโยคที่ว่า "ธรรม(สภาวะ)เป็นที่สงบสังขาร(การปรุงแต่ง)ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิ(กามูปธิ ขันธูปธิ กิเลสูปธิ และอภิสังขารูปธิ)ทั้งปวง..." ท่านตรงประเด็นพอจะแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ใหมครับว่าหมายถึงอะไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ก็ขอเสวนาธรรมเรื่อง วิเวก ต่อเลยนะครับ

ท่านตีความประโยคว่า "สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก" ว่าเป็นอย่างไรครับ?






ถ้าจะตีความ ให้คำว่า วิเวกในพระสูตรที่แสดงถึงฌานระดับต่างๆ ย่อมาจากคำว่า อุปธิวิเวก ... ผมเห็นว่า ไม่ควรตีความในลักษณะนั้น.

การไปอธิบายในลักษณะนั้น อาจสร้างความสับสนขึ้น

ด้วย ว่ามีพระสูตรที่อธิบาย วิเวก๓อย่าง เอาไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว
ควรถือเอาตาม คำอธิบาย ที่เป็นลักษณะคำจำกัดความเลย

ลองย้อนไปอ่าน อีกสักครั้งน่ะครับ

http://www.84000.org/tipitaka/read/?29/33/29

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง





แต่ ถ้าจะถามว่า อุปธิวิเวกยังให้สงัดจากอกุศลธรรมได้ด้วยหรือ? ได้อย่างไร?

ตรงนี้ ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า จาก

อุปธิวิเวกเป็นไฉน?

กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ.

อมตะ นิพพานเรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้น
ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.



อุปธิวิเวก หรือ พระนิพพาน นั้น ยัง ให้สงัดจากบาปอกุศลด้วย(บาปอกุศล ก็อยู่ใน กิเลส และ อปุญญาภิสังขาร) ด้วยว่า เป็นธรรมที่ระงับสังขารทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรนำมาแสดง มาจากการอธิบายขยายความบทกวีบทหนึ่ง ในมหานิเทศ มีความว่า

นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่ ก็
หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายใน
โลก ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.


แปลสรุปง่ายๆ ว่า ถ้ายังหลงยึดติด ก็ยังไกลจากนิพพาน ผมว่ามันจะอยู่ต่างบริบทกับที่แสดงใน มหามาลุงโกฺยวาทสูตร นะครับ

ส่วนประโยคว่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน ...

ผมแปลตามอรรถพยัญชนะตรงๆ ว่า

ภิกษุไม่มีกามไม่มีอกุศลได้เพราะสามารถระงับการปรุงแต่งและการยึดถือทั้งปวง น้อมเข้าสู่นิพพาน เพราะไม่มีสภาวะอกุศล ไม่เกิดความคร้าน จิตจึงสงบอย่างมั่นคง ...

ที่ท่านแสดงความเห็นว่า "จะไปแปลว่า อุปธิวิเวกเป็นเหตุ คงไม่ถูก" น่าจะทบทวนใหม่นะครับ

ท่านตรงประเด็นมีความเห็นเป็นประการใดละครับ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 11:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล อีกหลายแห่งที่มีปัญหาอย่างมาก

นอกเหนือ จากเรื่อง ที่ตั้งของจิตในร่างกาย ซึ่งทางอาจารย์สอนอภิธรรม มีการกล่าวถึง หทัยวัตถุ(ที่ตั้งของจิต) ที่บอกว่าเป็นรูปปรมาณู ตาเปล่ามองไม่เห็น..... กล้องจุลทรรศน์ก็ส่องไม่เห็น .... และ ตั้งอยู่ ที่หัวใจห้องขวาบน แล้ว




มีอีกจุดหนึ่ง ที่ทาง นักอภิธรรม สรุปว่า

กลละรูป(ตัวอ่อนแรกสุดของมนุษย์) หรือ Zygote เป็นรูปปรมาณู เช่นกัน



กำเนิดมนุษย์นั้น....เป็นฉันใด
อธิบายการเกิดในแง่ของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์

http://larndham.net/index.php?act=ST&f=3&t=30808


และ จาก

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/how.doc

หน้า 28

อ้างคำพูด:
ในขณะแรกของการปฏิสนธิ คือ ในปฏิสนธิกาลนั้นเรียกว่า กลละ (กะละละ) เป็นน้ำใสที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตา หรือส่องกล้องดูได้ ซึ่งท่านเปรียบไว้ว่าเอาขนจามรีจุ่มในน้ำมันงาใส แล้วสลัดเสีย ๗ ครั้ง


และ

อ้างคำพูด:
ตั้งแต่ปฏิสนธิเป็นต้นไป ทั้งๆ ที่ ไม่สามารถมองเห็น หรือ ส่องกล้องดูได้ เพราะยังเป็นน้ำใส คือ กลละ อยู่





กลละรูป หรือ Zygote นั้น ตาเปล่ามองไม่เห็นจริง แต่ ส่องกล้องจุลทรรศน์เห็นแน่นอน.

ลอง search ใน google หารูปของกลละรูป หรือ Zygote ดูน่ะครับ. เขาถ่ายรูปจากกล้องจุลทรรศน์

ไซโกต หรือ กลละรูป ขนาดประมาณ0.15มม.... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองลำบากครับ แต่ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเห็นแน่ๆ

แต่รูปปรมาณูที่กล่าวถึง ขนาดมิติ ประมาณ 10มม. หารด้วย 82300000 คือ ประมาณ .0000001 มม..... ขนาดเท่านี้ ตาเปล่ามองไม่เห็นแน่ๆ และ กล้องจุลทรรศน์ก็มองไม่เห็นเช่นกัน

แล้ว กลละรูป จะไปกลายเป็นรูปปรมาณู ที่ทั้งตาเปล่ามองไม่เห็น และ กล้องจุลทรรศน์ก็ส่องไม่เห็น ไปได้อย่างไรครับ???

กลละรูป เกิดจาก อสุจิ ผสมกับ ไข่... กลละรูป ก็คือ ขั้นตอนต่อจากนั้น... ในเมื่อ ทั้ง อสุจิ และ ไข่ กล้องจุลทรรศน์ ส่องเห็น..... แล้ว กลละรูป จู่ๆ กล้องจุลทรรศน์ส่องไม่เห็น???



มีอีกหลายจุดครับ ที่ ทาง นักอภิธรรมนิยมใช้คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล มาอธิบายสิ่งต่างๆ แล้ว ทำให้เกิดความสับสนขึ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 13:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างที่เคยเรียนให้ทราบก่อนหน้านี้ อภิธรรม เป็นวิชาของพระอรหันต์ พวกที่โสดาปัตติผลก็ยังไม่แจ้ง เรียนกันแบบตาบอดคลำช้างได้เท่านั้น เรียนแล้วไม่ปฏิบัติ พระพุทธองค์เรียกบุรุษเปล่าเรียนธรรม พากันตีความกันไปเรื่อยเปื่อย เรื่องพวกนี้จริงๆ แล้วรกสมอง เอาไปดับทุกข์ไม่ได้ อย่าไปสนใจเลยครับ เป็นเรื่องที่พระอรหันต์รู้ เรื่องที่พระอรหันต์เห็น ในระดับโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ก็เรียนพอจับหลักธรรมได้ก็พอ เพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกทาง ที่จริงพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ให้ผู้ที่บรรลุธรรมต่ำกว่าอนาคามีศึกษาอภิธรรมหรอกนะครับ

เรื่องของสมาธิ มีอีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะให้ท่านลองตามศึกษาดู เท่าที่ศึกษา พอจะแยกสมาธิที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาได้ ๓ แบบ

๑) ขณิกสมาธิ สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อน
๒) เนกขัมมสมาธิ สำของผู้ที่บวช
๓) ฌานสมาบัติ ของนักบวชนอกศาสนาที่มาบวชในพุทธศาสนา

การปฏิบัติธรรมสำหรับบุคคลที่มีสมาธิแตกต่างกันนี้ พระพุทธองค์วางแนวทางไว้คลอบคลุม ผมไม่เห็นว่าพระพุทธองค์จะบอกให้ใครไปทำสมาธิก่อนแล้วจึงจะมาวิปัสสนาได้ ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้ประการใดครับ?

มีอีกจุดหนึ่งที่ใช้คำว่า "การเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระ" ผมว่ามีความหมายเดียวกันกับคำว่า "เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก "

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 15:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องของสมาธิ มีอีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะให้ท่านลองตามศึกษาดู เท่าที่ศึกษา พอจะแยกสมาธิที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาได้ ๓ แบบ

๑) ขณิกสมาธิ สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อน
๒) เนกขัมมสมาธิ สำของผู้ที่บวช
๓) ฌานสมาบัติ ของนักบวชนอกศาสนาที่มาบวชในพุทธศาสนา

๓) ฌานสมาบัติ ของนักบวชนอกศาสนาที่มาบวชในพุทธศาสนา

ข้อนี้ เป็นสรุปเอาเอง เพื่อให้เห็นเรื่องสมาธิเป็นเรื่องของนักบวชนอกศาสนา
มีเยอะแยะมากมายหลายท่านที่พุทธสาวกไม่ใช่นักบวชนอกศาสนาแต่ได้ฌานสมาบัติ เช่น
สมเด็จโต หลวงปู่ทวด หลวงปู่มั่น หลวงปู่ศุข ฯลฯ

เรื่องฌานสมาบัติเป็นนิสัยวาสนาบารมีของแต่ละท่านที่สร้างวาสนาบารมีมาแต่ปางก่อน
ถึงท่านเหล่านี้จะไม่ได้มุ่งปรารถนาในเรื่องฌานสมาบัติ
แต่เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติภาวนากรรมฐาน
ควรแยกแยะพิจารณาอย่างเหมาะสมไม่ใช่เหมารวมไปทั้งหมด


อ้างคำพูด:
การ ปฏิบัติธรรมสำหรับบุคคลที่มีสมาธิแตกต่างกันนี้ พระพุทธองค์วางแนวทางไว้คลอบคลุม ผมไม่เห็นว่าพระพุทธองค์จะบอกให้ใครไปทำสมาธิก่อนแล้วจึงจะมาวิปัสสนาได้ ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้ประการใดครับ?


เช่นกัน ก็ไม่เห็นว่าพระพุทธองค์จะบอกให้ใครไปทำวิปัสสนาก่อนแล้วจึงจะมาสมาธิได้ ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้ประการใดครับ?

อ้างคำพูด:
มีอีกจุดหนึ่งที่ใช้คำว่า "การเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระ" ผมว่ามีความหมายเดียวกันกับคำว่า "เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก "


เรื่อง "การเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระ" เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่มีเจโตวิมุตติ
เมื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก เป็นวิเวก ๓

การเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระ ที่เป็นขั้นละเอียดระดับสูง เรียกว่า นิโรธสมาบ้ติ

ดังเรื่องที่ พระอาจารย์จวนเล่าไว้ในประวัติของท่าน เมื่อครั้งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำจันทร์

ข้าพเจ้า จึงมาคำนึงถึงโอวาทที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระได้เคยเล่าเรื่องการเข้านิโรธของพระอาจารย์ลูกศิษย์ท่าน องค์หนึ่งให้ฟัง ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่จำพรรษาร่วมกับท่าน ท่านได้ประกาศให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายทราบทุกๆ องค์ว่าในสมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์องค์นั้นได้เข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ถาม ท่านอาจารย์องค์นั้นว่า “ท่าน....จากกันไปนาน การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่”


ท่านพระอาจารย์องค์นั้น ตอบถวายท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมเข้านิโรธอยู่เสมอๆ”

“ เข้าอย่างไร ? ”

“น้อมจิต เข้าสู่นิโรธ”

ท่านพระอาจารย์มั่น ย้อนถามว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ น้อมจิตอย่างไร”

ก็ตอบว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ ก็คือ ทำจิตให้สงบแล้วนิ่งอยู่โดยไม่ให้จิตนั้นนึกคิดไปอย่างไร ให้สงบและทรงอยู่อย่างนั้น”

“แล้วเป็นอย่างไร เข้าไปแล้วเป็นอย่างไร” ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม

“มันสบาย ไม่มีทุกขเวทนา”

ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “เวลาถอนเป็นอย่างไร”

ท่านพระอาจารย์องคนั้นตอบว่า “เวลาถอนก็สบายทำให้กายและจิตเบา”

“กิเลสเป็นอย่างไร”

“กิเลสก็สงบอยู่เป็นธรรมดา แต่บางครั้งก็มีกำเริบขึ้น”

พอถึงตอนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้ประกาศเรื่องนิโรธให้บรรดาสานุศิษย์ทราบทั่วกันว่า


“นิโรธ แบบนี้ นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติเพราะเป็นนิโรธที่น้อมเข้าเอง ไม่มีตัวอย่างว่า พระอริยเจ้าน้อมจิตเข้านิโรธได้ ใครจะไปน้อมจิตเข้าได้ เมื่อจิตยังหยาบอยู่ จะไปน้อมจิตเข้าไปสู่นิโรธที่ละเอียดไม่ได้ เหมือนกับบุคคลที่ไล่ช้างเข้ารูปู ใครเล่าจะไล่เข้าได้รูปูมันรูเล็กๆ หรือเหมือนกับบุคคลที่เอาเชือกเส้นใหญ่จะไปแหย่ร้อยเข้ารูเข็ม มันจะร้อยเข้าไปได้ไหม..? เพราะนิโรธเป็นของที่ละเอียด จิตที่ยังหยาบอยู่จะไปน้อมเข้าสู่นิโรธไม่ได้ เป็นแต่นิโรธน้อม นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติ นิโรธสังขาร นิโรธหลง…!”

แล้วท่านก็เลยอธิบาย เรื่องนิโรธต่อไปว่า

“นิโรธะ” แปลว่า ความดับ คือดับทุกข์ ดับเหตุ ดับปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย ดับอวิชชา ดับตัณหานั่นเอง จึงเรียกว่า เป็นนิโรธ อย่าไป ถือเอาว่าจิต ที่ไปรวมลงสู่ภวังค์ หรือฐีติจิต จิตเดิม เป็นนิโรธ มันใช้ไม่ได้

-ท่านว่า-จิตชนิดนั้นถ้าขาดสติปัญญาพิจารณาทางวิปัสสนาแล้ว ก็ยังไม่ขาดจากสังโยชน์ ยังมีสังโยชน์ครอบคลุมอยู่ เมื่อถอนออกมาก็เป็นจิตธรรมดา เมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ นานเข้า ก็เป็นจิตที่ฟุ้งซ่านและเสื่อมจากความสงบหรือความรวมชนิดนั้น

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ประกาศให้ทราบว่า

“กระผมก็เลยไปพิจารณาดูนิโรธของพระอริยเจ้าดูแล้วได้ความว่า นิโรธะ แปลว่า ความดับ ดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ ทั้งหลาย คือทำตัณหาให้สิ้นไป ดับตัณหา โดยไม่ให้เหลือ ความละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความสละ สลัดตัดขาด จากตัณหานี้ จึงเรียกว่า “นิโรธ”

นี่เป็นนิโรธ ของพระอริยเจ้า….ท่านว่า

นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็น “อกาลิโก” ความเป็นนิโรธ การดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่เหมือน “นิโรธ” ของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาสนา ส่วนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาสนานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะ อยากแต่จะให้จิตของตนรวมอย่างเดียว สงบอยู่อย่างเดียว วางอารมณ์อย่างเดียว เมื่อจิตถอนจากอารมณ์แล้ว ก็ไม่นึกน้อมเข้ามาพิจารณาให้รู้เห็นสัจธรรม คือให้รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ยินดีเฉพาะแต่จิตที่สงบหรือรวมอยู่เท่านั้น ว่าเป็นที่สุดของทุกข์เมื่อจิตถอนก็ยินดี เอื้อเฟื้อ อาลัย ในจิตที่รวมแล้วก็เลยส่งจิตของตนให้ยึดในเรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง ส่วนกิเลส ตัณหานั้นยังมีอยู่ ยังเป็นอาสาวะนอนนิ่งอยู่ภายในหัวใจ

ท่านเลยอธิบายถึงนิโรธของพระพุทธเจ้าและพระอริยะเจ้าต่อไปว่า

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ของพระอริยเจ้านั้น ต้องเดินตามมัชฌิมปฏิปทา…ทางสายกลาง คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ…นี่จึงจะถึงนิโรธคือความดับทุกข์ ดับเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็นนิโรธอยู่ตลอดกาลเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่อ้างกาลนั้นจึงจะเข้านิโรธกาลนี้จึงจะออกนิโรธ ไม่เหมือนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกพระพุทธศาสนา

นี่เป็นคำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระที่ได้แสดงไว้ ข้าพเจ้าจำความนั้นได้้


http://www.dhammacamfrog.com/index.php? ... &Itemid=32


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 22 ต.ค. 2009, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้อนี้ เป็นสรุปเอาเอง เพื่อให้เห็นเรื่องสมาธิเป็นเรื่องของนักบวชนอกศาสนา

เรื่องนี้ท่านก็สรุปเอาของท่านเองนะครับ :b12:

สมัยพุทธกาล เป็นยุคที่แสวงหาการหลุดพ้น จึงมีผู้ไปทำสมาธิเพื่อให้ได้อภิญญาเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะหาทางหลุดพ้นจำนวนมาก อภิญญาเป็นปัญญาที่ทำให้เห็นได้มากกว่าปุถุชน แต่การจะเห็นและรู้ได้ด้วยตนเองนั้น เป็นวิสัยของพระพุทเจ้าทั้งหลาย

แต่ปัจจุบัน การทำสมาธินั้นเพราะต้องการอภิญญา ต้องการคุณวิเศษที่เหนือมนุษย์ บริบทมันต่างกัน

ทุกวันนี้ ผู้คนจำนวนมาก อยากมีหูทิพย์ ตาทิพย์ อยากระลึกชาติได้ มากกว่าต้องการหลุดพ้น

ก็อย่างที่ท่านวิสุทโธว่า คนที่ได้สมาธิขั้นสูงง่าย เพราะเคยได้หรือสะสมมาก่อนในอดีต ฌานเสื่อมง่ายก็จริง แต่มันก็ติดตัวเราไม่ไปใหน เพราะฉะนั้น บางคนฝึกสมาธิทั้งชาติก็ไม่อาจถึงฌาน ถ้าไปหลงที่สมาธิ ก็ไม่มีอาจเวลาเหลือพอเจริญปัญญาเพื่อปหานกิเลส เรื่องนี้เป็นภาวะที่รู้ยาก ผมว่า ทางที่ดี เริ่มที่วิปัสสนานำสมถะ จะดีกว่านะครับ

การเริ่มที่อภิญญาเป็นการเริ่มจากมิจฉาทิฏฐิ เพราะแสดงว่าไม่เชื่อเรื่องชาติภพ ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป เลยต้องฝึกเอาอภิญญาเพื่อจะได้รู้เห็นด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงจะยอมมาวิปัสสนา เหมือนครูบอกว่าเสือน่ากลัว นักเรียนไม่เชื่อ เลยลูกส่งเข้าป่าไปเจอเสือก่อน ถึงจะยอมเชื่อว่า เสือมันน่ากลัวจริงๆ แบบนี้เรียกเอาเจ็บเข้าแลก ...

อ้างคำพูด:
เช่นกัน ก็ไม่เห็นว่าพระพุทธองค์จะบอกให้ใครไปทำวิปัสสนาก่อนแล้วจึงจะมาสมาธิได้ ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้ประการใดครับ?

พระอริยสาวกส่วนมากที่บรรลุอรหันต์เป็นปัญญาวิมุติ มีเพียงจำนวนน้อยที่จะมาเจริญสมถะเพื่ออภิญญา ใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุตต์ ปวารณาสูตร ก็แสดงจำนวนอุภโตภาควิมุติว่า มีจำนวนเพียงเล็กน้อย

มีเรื่องของ ปริพาชกวัจฉโคตร ที่บวช เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุอนาคามีผลแล้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์

Quote Tipitaka:
(พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)

ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว. กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลาดธาตุหลายประการ.


อ้างคำพูด:
เรื่อง "การเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระ" เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่มีเจโตวิมุตติ เมื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก เป็นวิเวก ๓

ในพระไตรปิฎก เขียนว่า เจริญโลกุตตรฌาน เพื่อ สงัดจากกามสงัดจากกุศลธรรม เข้าสู่ปฐมภูมิ (โสดาปัตติผล) บรรลุปฐมฌาน

แสดงว่า คำว่า ฌาน ในประโยค เจริญโลกุตตรฌาน ไม่น่าจะใช่ ณานจิต ในรูปภพ หรืออรูปภพ เพราะเขียนบอกไว้ว่า เจริญโลกุตตรฌาน สุดท้ายบรรลุปฐมฌาน ท่านวิสุทโธมีความเห็นเป็นประการใดครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเริ่มที่อภิญญาเป็นการเริ่มจากมิจฉาทิฏฐิ เพราะแสดงว่าไม่เชื่อเรื่องชาติภพ ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป เลยต้องฝึกเอาอภิญญาเพื่อจะได้รู้เห็นด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงจะยอมมาวิปัสสนา เหมือนครูบอกว่าเสือน่ากลัว นักเรียนไม่เชื่อ เลยลูกส่งเข้าป่าไปเจอเสือก่อน ถึงจะยอมเชื่อว่า เสือมันน่ากลัวจริงๆ แบบนี้เรียกเอาเจ็บเข้าแลก ...


การไม่เชื่อเรื่องชาติภพ ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป มันไม่เกี่ยวกับเรื่องอภิญญา
คนมันจะไม่เชื่อ ทำอย่างไรมันก็ไม่เชื่อ
พวกนักการเมืองมันไม่เชื่อเรื่องบุญเรื่องบาป ทั้งที่ไม่มีอภิญญา มีแต่ฉลาดโกงกิน
เอาเรื่องอภิญญามายำรวมกับเรื่องมิจฉาทิฏฐิ ไม่เข้ากันเลย

คุณเองมีทิฐิมานะมาก ตนเองชอบแนวทางวิปัสสนาไม่ชอบแนวสมถะ
โจมตีไม่มีเหตุผล ตั้งข้อรังเกียจแบบสร้างเงื่อนไขเพื่อให้ตนเองชอบธรรม

คิดเพียงแต่ว่า ถ้าชาตินี้มามัวฝึกสมาธิทั้งชาติแล้วไม่ถึงฌาน
ทำให้หลงในสมาธิ ก็ไม่มีเวลาเหลือพอเจริญปัญญาเพื่อปหานกิเลส

เรื่องของสมาธิไม่ได้มีแต่สมาธิอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจ
ถ้าเป็นการเจริญสมาธิตามแนวสติปัฐฐานสี่
มีทั้งสติและสมาธิรวมไปถึงปัญญาในตัว

ถ้าไม่เจริญสติอย่าหวังจะตั้งมั่นในสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิอย่าคาดหวังว่าปัญญาจะเกิด
เพราะปัญญาจะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อจิตที่กำลังพิจารณาขาดสมาธิ
จิตไม่บริสุทธิ์ตั้งมั่นฟุ้งซ่านสอดส่ายหาแต่อารมณ์ภายนอก
ปัญญาที่พิจารณาก็เป็นเพียงสัญญาอารมณ์จดจำปริยัติเท่านั้น
จิตมันไม่น้อมลงสู่ธรรมบริสุทธิ์
เพราะขาดกำลังสติและกำลังสมาธิเป็นกำลังหนุนให้ปัญญาเกรียงไกร


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 00:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพุทธศาสนาไม่มีทางลัด มีแต่ทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา มรรค ๘
ทั้งสติ สมาธิ และปัญญาต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่อาจขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ไม่เป็นไปตามครรลองขั้นตอนถูกต้อง
เป็นการคิดแบบมักง่าย ฉลาดแกมโกง จะเอาฐานสูงสุดยอดเลย
โดยที่ไม่ต้องมานั่งสมาธิให้เมื่อยหลังขดหลังแข็ง ปวดเมื่อยแข้งขา
คิดแบบนี้ มีแต่เกิดปัญญาพาฝัน ไม่เกิดปัญญาปหานกิเลส
เพราะกิเลสตัวขี้เกียจ มักง่าย มันกลัวความพากเพียรทำสมาธิเพื่อแผดเผากิเลส

เปรียบเสมือนการสร้างเจดีย์
จะต้องเริ่มต้นจากรากฐานของเจดีย์ก่อน เพื่อความแน่นหนาของพื้นฐานเจดีย์ คือ ศีล
ต่อมาจึงทำการก่อสร้างโครงสร้างเจดีย์ทั้งหมด คือ สติและสมาธิ
จากนั้นจึงทำการสร้างยอดเจดีย์ให้เสร็จสมบูรณ์ คือ ปัญญา
คงไม่มีใครอุตริสร้างยอดเจดีย์ก่อนแล้วมาทำโครงสร้างเจดีย์และรากฐานของเจดีย์ทีหลัง
มันจะกลายเป็นแบบเจดีย์คว่ำเอายอดลงดินเอาฐานชี้ฟ้า
กลายเป็นเจดีย์สามเหลี่ยมคางหมู

ผมไม่ชอบการ Copy เอาเนื้อหาในพระไตรปิฏกในเว๊ปไซด์อื่นมาตัดแปะ
โดยเฉพาะไม่ได้พิมพ์เองเอามาทั้งดุ้น
ไม่ให้เครดิตเว๊ปไซด์หรือบอกที่มาอ้างอิง
ทำเป็นให้คนอื่นที่เข้ามาอ่านเข้าใจว่า เป็นผู้ทรงภูมิธรรม
ทั้งที่เอาของเขามาตัดแปะ แต่ไม่ให้เครดิตเขา
มันเหมือนการขโมยลอกเลียนน่ารังเกียจมาก
ทำแบบเทปผีซีดีเถื่อนปราบยังไงก็ไม่หมด
เรื่องมารยาทและความซื่อตรงนี่ สำคัญมาก
หากเรื่องแค่นี้ ยังไม่เคารพความถูกต้อง
อย่าไปพูดเรื่องธรรมะที่สูงส่ง
มันน่าหัวร่อครับ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 00:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะปัญญาจะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อจิตที่กำลังพิจารณาขาดสมาธิ

ขณิกกสมาธินี่สงบพอที่จะสร้างปัญญาหรือเปล่าตรับ?

อ้างคำพูด:
ปัญญาที่พิจารณาก็เป็นเพียงสัญญาอารมณ์จดจำปริยัติเท่านั้น

ปัญญาที่ปหานกิเลสได้ในความคิดของท่านเป็นเช่นไรละครับ? แล้วเกิดได้อย่างไรครับ?

อ้างคำพูด:
... สมาธิเพื่อแผดเผากิเลส

เผาอย่างไรครับ พอจะอธิบาย หรือยกพระสูตรมาแสดงได้บ้างหรือเปล่าครับ?

อ้างคำพูด:
จะต้องเริ่มต้นจากรากฐานของเจดีย์ก่อน เพื่อความแน่นหนาของพื้นฐานเจดีย์ คือ ศีล
ต่อมาจึงทำการก่อสร้างโครงสร้างเจดีย์ทั้งหมด คือ สติและสมาธิ
จากนั้นจึงทำการสร้างยอดเจดีย์ให้เสร็จสมบูรณ์ คือ ปัญญา

ถ้าเป็นทางเอก พระพุทธองค์ก็ต้องแสดงไว้ในพระไตรปิฎกสักที่นะครับ น่าจะลองหามาให้ดูสักสูตรนะครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณิกกสมาธินี่สงบพอที่จะสร้างปัญญาแค่ สุตตปัญญา และจินตปัญญา เท่านั้น
สำหรับภาวนามยปัญญา ไม่มีทาง


อ้างคำพูด:
ปัญญาที่ปหานกิเลสได้ในความคิดของท่านเป็นเช่นไรละครับ? แล้วเกิดได้อย่างไรครับ?

คุณนี่ไม่รู้จริงหรือ ก็มรรค๘ ยังไง ปัญญาเกิดแน่ถ้าเจริญครบองค์มรรค๘

อ้างคำพูด:
เผาอย่างไรครับ พอจะอธิบาย หรือยกพระสูตรมาแสดงได้บ้างหรือเปล่าครับ?

การเจริญสมาธิเป็นความเพียรประเภทหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรัสให้ทำความเพียรเจริญสมาธิแผดเผากิเลส

ส่วนเรื่องCopy พระสูตรมีเยอะแยะในเว๊ปไซด์ธรรมะ
ค้นเอาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภาวนามยปัญญา

ท่านเข้าใจว่าภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไรละครับ?

อ้างคำพูด:
คุณนี่ไม่รู้จริงหรือ ก็มรรค๘ ยังไง ปัญญาเกิดแน่ถ้าเจริญครบองค์มรรค๘

ในมรรค ๘ บอกว่า ปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิเป็นประธาน หมายถึงปัญญาเกิดก่อนองค์มรรคอื่นๆ เกิดตามทีหลัง

สัมมาทิฏฐิเกิดแต่การสดับรับฟังจากผู้อื่น กับการวางไว้ในใจอย่างแยบคาย

ในพระไตรปิฎกบอกไว้ตามนี้

อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ทรงตรัสให้ทำความเพียรเจริญสมาธิแผดเผากิเลส

ไม่เห็นมีนะครับ ผมจบอ่าน ๒-๓ รอบแล้ว ไม่เห็นมี มีแต่บอกว่า ใช้กดข่มไว้ชั่วคราว มีแต่นิครณฐนาฏบุตร ที่บอกว่า

Quote Tipitaka:
นิครณฐนาฏบุตร เป็นคนรูเห็นธรรมทุกอย่าง ย่อมปฏิญญาญาณทัสสนะไว้อย่างไม่มีส่วนเหลือว่า สำหรับเราจะเดิน จะยืน จะหลับและตื่นก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไปเพราะความเพียรเผากิเลส ฆ่าเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้


ความเพียรเผากิเลสก็ไม่เกี่ยวอะไรกับสมาธิ

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทำความเพียรเครื่องเผากิเลสด้วยเหตุ ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิด ๑ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิด ๑ เพื่ออดกลั้นทุกขเวทนาอันมีในสรีระซึ่งเกิดขึ้นแล้ว กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าชอบใจ อาจนำเอาชีวิตไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุทำความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิดเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิด เพื่ออดกลั้นทุกขเวทนาอันมีในสรีระซึ่งเกิดขึ้นแล้ว กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าชอบใจ อาจนำเอาชีวิตไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ฯ


ปัญญาแบ่งออกเป็น ๗๓ ประเภท ท่านว่าปัญญาที่ปหานกิเลสมีลักษณะอย่างไรบ้างละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 02:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ท่านเพียงแต่ชี้ทางในการดำเนิน
ถ้าอยากรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาถามไม่รู้จักหยุด...
คนถามมันสบายใจ แต่คนตอบถ้าต้องตอบไม่ถูกใจกับกิเลสคนถาม...เสียเวลา
ถามมาในภาคปฏิบัติ ผมจะต้องทุกคำถาม..ขอให้ถามได้เลย
แต่อยากถามในภาคทฤษฎี ผมแนะนำคุณไปเรียนปริยัติธรรมหรือมหาเปรียญดีกว่า
ถึงผมจบนักธรรมเอก แต่ไม่ได้ท่องจำหรือเป็นอาจารย์สอนบรรยาย


คุณไปสอบใบขับขี่ เขาก็มีข้อสอบทฤษฎีและสอบปฏิบัติควบคู่กัน
เอาแต่ภาคทฤษฎี คุณจะเรียนมหาเปรียญหรือจะไปเป็นอาจารย์บรรยายธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กลุ่มพวกผมปฏิบัติธรรมกันอยู่ครับ เอาจริงเอาจังกันมากๆ ขอบพระคุณที่แสดงความเป็นห่วง ไม่มีใครที่นี่ทำตัวเป็นบุรุษเปล่าเรียนธรรมกันหรอกครับ สิ่งที่พวกผมปฏบัติ มันเกิดสภาวะตรงไปตรงมาตามที่เขียนไว้ในพระไตรปิฎก ไม่ต้องบัญญัติอะไรชึ้นมาใหม่ ไม่ต้องตีความวนไปวนมา พระผู้เป็นเจ้าเห็นอย่างไรพูดอย่างนั้น

อาจารย์สินธพ บอกกับลูกศิษย์ทุกคนว่า ว่ายน้ำให้แข็งก่อนก่อนจะไปช่วยใครไม่งั้นพากันจมน้ำตาย และในบรรดาผู้ปฏิบัติธรรมที่นี่ ผู้ที่สนใจปริยัติจริงๆ ก็มีไม่มากเสียด้วย ส่วนมากแน้นปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นเฉพาะตน ทั้งนี้ก็ว่ากันไปตามเหตุอดีตที่สั่งสมกันมา

พุทธเป็นศาสนาที่ว่าด้วยปัญญา ไม่มีอะไรที่อธิบายไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงสอนมนุษย์เทวดาอยู่ ๔๕ พรรษา มีหน้าที่ตอบทุกคำถามที่เกี่ยวกับการดับทุกข์ ถ้าอธิบายไม่ได้ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่ามีปัญญหา ไม่น่าจะใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า และก็ต้องนำมาเทียบพระสูตรอีกที

สิ่งที่ท่านบอก ว่า รักษาศีล ฝึกสมาธิ เพื่อปัญญา หรือ ต้องใช้ภาวนามยปัญญาปหานกิเลส รวมไปถึงต้องได้อัปปนาสมาธิก่อนแล้วจึงจะวิปัสสนาได้ เรื่องทั้งหมดนี้ ผมยืนยันว่า ไม่มีบอกไว้ในพระไตรปิฎก ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ความรู้ในพระไตรปิฎกมีทั้งระดับกฏ หลักการ และศาสตร์ประยุกต์ ไม่มีทางบิดเบือนได้ ต่อให้ท่านค้นหาหลักฐานใดๆ เพื่อสนับสนุนแนวการปฏิบัติที่ท่านยึดถือกันอยู่ก็ไม่มีทางจับลงพระสูตรใดๆ ได้ :b7: :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ต้องได้อัปปนาสมาธิก่อนแล้วจึงจะวิปัสสนา

กรุณาเอาข้อความที่ผมโพสมาอ้างอิง อย่ากล่าวตู่ลอยๆ แบบไม่มีหลักฐาน มันบาปกรรม

ผมเพียงแต่ บอกว่า การปฏิบัติภาวนาต้องอาศัยกำลังสติและกำลังสมาธิหนุนกำลังปัญญา

คุณนี่ เป็นนักภาวนาที่ควรพิจารณาให้มากๆ เรื่องมุสาวาท

โดยเฉพาะเรื่องการ Copy เอาเนื้อหาในพระไตรปิฏกในเว๊ปไซด์อื่นมาตัดแปะ
ไม่ได้พิมพ์เองเอามาทั้งดุ้น และไม่ให้เครดิตเว๊ปไซด์หรือบอกที่มาอ้างอิง พระสูตรและหน้าที่เท่าไหร่
เพื่อให้คนอื่นที่เข้ามาอ่านเข้าใจว่า เป็นผู้ทรงภูมิธรรม
ทั้งที่เอาของเขามาตัดแปะ แต่ไม่ให้เครดิตเขา
มันเหมือนการขโมยลอกเลียนน่ารังเกียจมาก
ทำแบบเทปผีซีดีเถื่อนปราบยังไงก็ไม่หมด
เรื่องมารยาทและความซื่อตรงนี่ สำคัญมาก
หากเรื่องแค่นี้ ยังไม่เคารพความถูกต้อง
อย่าไปพูดเรื่องธรรมะที่สูงส่ง
มันน่าหัวร่อครับ


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 22:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 109 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร