วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วัดป่าสาลวัน
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
พึงสังเกตจิตใจเวลากำลังนึกคำบริกรรมอยู่นั้น ครั้งเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลาง วางความรัก ความชังทั้งสองนั้นได้แล้ว จิตย่อมเข้าสู่ภวังค์ (คือจิตเดิม) มีอาการต่างๆ กัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปึบลง บางคนรวมวับแวมเข้าไปแล้วสว่างขึ้นลืมคำบริกรรมไป บางคนก็ไม่ลืม แต่รู้สึกว่าเบาในกายเบาในใจที่เรียกว่า กายลหุตา จิตฺตลหุตา กายก็เบา จิตก็เบา กายมุทุตา จิตฺตมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน กายปสฺสทฺธิ จิตฺตปสฺสทฺธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ กายุชุกตา จิตฺตชุกตา กายก็ตรง จิตก็ตรง กายกมฺมญํญตา จิตฺตกมฺมญฺญตา กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควรแก่การทำสมาธิ กายปาคุญฺญตา จิตฺตปาคุญฺญตา กายก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว หายเหน็ดหายเหนื่อย หายเมื่อย หายหิว หายปวดหลังปวดเอว ก็รู้สึกว่าสบายในใจมาก ถึงเข้าใจว่าจิตเข้าสู่ภวังค์แล้วให้หยุดคำบริกรรมเสีย และวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆ ตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ ให้พึงกำหนดอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แลเรียกว่าภาวนาอย่างละเอียดฯ

คือไม่เข้าใจว่า "ตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ" ตั้งสติตามกำหนดจิตนั้น นั้นทำอย่างไรครับ เอาจิตไว้ที่ไหนและอะไรเป็นตัวกำหนดจิต ในเมื่อคำบริกรรมหายไปแล้ว รบกวนท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบตามเท่าที่เคยฟังมาน่ะครับ

คำถามนี้ ลึกมากครับ
ถูก-ผิด ประการใด พิจารณาดูเอาเองน่ะครับ

อ้างคำพูด:
ตั้งสติตามกำหนดจิต นั้นทำอย่างไรครับ

เอาจิตไว้ที่ไหน และ อะไรเป็นตัวกำหนดจิต ในเมื่อคำบริกรรมหายไปแล้ว



ก็คงจะคล้ายๆกับ "เปลื้องจิต" หรือ "ทำจิตให้ปล่อยอยู่"ในขั้น จิตตานุปัสสนา แห่ง อานาปานสติสูตร ว่า ใครเป็นคนเปลื้องจิต

“ภิกษุนั้น
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้”

(วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)



ท่าน พุทธทาส ท่านกล่าวไว้ดังนี้ครับ

"......เมื่อทำอยู่ดังนี้

วิญญาณจิตหรือจิตที่เป็นความรู้ก็มีอยู่
ญาณก็มีอยู่
สติกำหนดจิตหรือญาณนั้นว่าปลดเปลื้องแล้วจากอกุศลธรรมมีประการต่าง ๆ นั้นได้อย่างไรก็มีอยู่

สติอันกลายเป็นอนุปัสสนาญาณตามความจริงว่า อกุศลธรรมที่หุ้มห่อจิตนั้นก็ดี จิตที่ถูกหุ้มห่อก็ดี จิตที่ปลดเปลื้องแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นสังขารธรรม ที่มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น ย่อมนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายคลายกำ หนัด ความไม่ก่อกิเลสและ ความสละคืนซึ่งสังขารธรรมเหล่านั้นอยู่ตามลำดับ. เมื่อทำอยู่อย่างนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานภาวนา อันเป็นอานาปานสติข้อสุดท้ายของจตุกกะที่สามแห่งอานาปานสติทั้งหมด...."


http://smartdhamma.googlepages.com/part ... buddhadhas


และ

เอกะจิต-เอกะธรรม


ธาตุรู้ก็ดี ผู้รู้ก็ดี จะจัดเป็นสังขารฝ่ายนามอันละเอียดก็ได้ เพราะเกิดดับเป็นอย่างละเอียด

ถ้ามีผู้เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้ว ก็เป็นเหตุ เป็นกรรม เป็นพืช เป็นภพ เป็นอุปาทาน เป็นชาติอันละเอียด ได้ทั้งนั้น

สติสัมปชัญญะปัญญา ไม่สมดุลย์กัน ละเอียดคมคายในขณะเดียวกันแล้ว ก็ยากจะรู้ชัดได้

ต้องอาศรัยอานาปานะสติอันละเอียด ทรงปัญญา ควบคุมให้สมดุลย์กัน ทันเวลาในขณะเดียวแห่งปัจจุบัน

พร้อมทั้งผู้รู้ตามเป็นจริง สัมปยุตอีกด้วยฯ


หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต


................................


ความเห็นส่วนตัว....ตัวกำหนดจิต ก็คือ จิตผู้รู้ที่"มีสติบริสุทธิ์แล้วแลอยู่" ตามที่ทรงแสดงไว้ในอานาปานสติสูตรนั้นเอง

คือ รู้ว่า แม้นผู้รู้ที่ผ่องใสนี้ ก็ยึดไว้ไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะกำลังปฏิบัติจริงๆพึงวางตำรา หรือ วางศัพท์ธรรมทุกตัวในหนังสือให้หมด

แม้แต่คำพูด คำสอนของหลวง หลวงปู่ หลวงพ่อ อาจารย์ ฯลฯ ให้หมด ใช้แต่ความรู้สึกกับร่างกายของตน

เองก็พอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีตัวอย่างโยคีผู้ปฏิบัติจริงๆ แล้วประสบภาวะจริงๆต่อหน้า ดูครับ ->


การฝึกสมาธิ ด้วยการภาวนาคำ หายใจเข้า พุทธ และหายใจออก โธ จนลมละเอียด จนจับลมไม่ได้
พุทธ - โธ ก็หายไป กายก็หายไป ควรทำอย่างไรต่อ
เพราะ มาถึง ขั้นนี้แล้วไม่กล้าทำต่อ ขอความคิดเห็นทุกๆท่านได้โปรดชี้แนะด้วยครับ เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป
ในช่วงเข้าพรรษานี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=35213&st=0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ขณะกำลังปฏิบัติจริงๆพึงวางตำรา หรือ วางศัพท์ธรรมทุกตัวในหนังสือให้หมด

แม้แต่คำพูด คำสอนของหลวง หลวงปู่ หลวงพ่อ อาจารย์ ฯลฯ ให้หมด ใช้แต่ความรู้สึกกับร่างกายของตน

เองก็พอ


เรียนท่านกรัชกายครับ ที่ถามอย่างนี้เพราะว่า บางครั้งผมได้ทำเมตตาภาวนา พอนั่งไปได้ซักพักหนึ่งคำบริกรรมมันก็หายไปเอง พอคำบริกรรมหายไปก็เลยจนปัญญาว่าจะเอาอะไรเป็นนิมิตในการกำหนดจิตต่อไป เนื่องจากว่าพอถึงสภาวะนี้แล้วรู้สึกว่าจิตมันไม่มีที่อยู่เป็นที่แน่นอน ทำให้ไม่สามารถพัฒนาสมาธิต่อไปได้ครับ พอมาเจอของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ก็รู้สึกว่าใช่เลย แต่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจว่าจะมีวิธีกำหนดจิตอย่างไรนะครับ อีกอย่างจิตผู้รู้ก็ไม่มีเหมือนคนอื่นเขาด้วยก็เลยไปกันใหญ่นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีตัวอย่างโยคีผู้ปฏิบัติจริงๆ แล้วประสบภาวะจริงๆต่อหน้า ดูครับ ->


การฝึกสมาธิ ด้วยการภาวนาคำ หายใจเข้า พุทธ และหายใจออก โธ จนลมละเอียด จนจับลมไม่ได้
พุทธ - โธ ก็หายไป กายก็หายไป ควรทำอย่างไรต่อ
เพราะ มาถึง ขั้นนี้แล้วไม่กล้าทำต่อ ขอความคิดเห็นทุกๆท่านได้โปรดชี้แนะด้วยครับ เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป
ในช่วงเข้าพรรษานี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=35213&st=0

ขอบคุณครับ แล้วจะค่อยๆ ลองศึกษาดูนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคำบริกรรมหายแล้วร่างกายล่ะครับ ยังเห็นอยู่ไหม ก็เอาร่างกายสิครับเป็นอารมณ์ภาวนาไป

คุณอายะครับ จิตผู้รู้ผู้อะไร วางได้ก็วางเถอะครับ ทิ้งให้หมด เอาธรรมชาติตรงนั้นขณะนั้นๆ ทีเดียว คือกาย

กับความความรู้สึก

สมมุติกายหาย ก็เอาความรู้สึกที่ปรากฏนั้นเป็นอารมณ์ภาวนาความคิดไป

ความบริกรรมหาย ก็เอากายที่ปรากฏภาวนากายไป

เห็นอะไรอยู่ก็อันนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 ก.ค. 2009, 21:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การฝึกสมาธิ ด้วยการภาวนาคำ หายใจเข้า พุทธ และหายใจออก โธ จนลมละเอียด จนจับลมไม่ได้
พุทธ - โธ ก็หายไป กายก็หายไป ควรทำอย่างไรต่อ
เพราะ มาถึง ขั้นนี้แล้วไม่กล้าทำต่อ ขอความคิดเห็นทุกๆท่านได้โปรดชี้แนะด้วยครับ เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป
ในช่วงเข้าพรรษานี้


ตัวอย่างนี้ก็ตันครับ ไปไม่เป็นแล้วอย่างที่เค้าเล่า

ก็อย่างที่บอก อย่างนี้หายก็เอาอย่างที่ปรากฏ อารมณ์ใดปรากฏขณะนั้น นั่นแหละอารมณ์กรรมฐาน

ที่นักปฏิบัติประสบปัญหาทั่วๆไป เช่น ตัวอย่างนี้ และก็ของคุณ เมื่อคำบริกรรมหายบ้าง รูปหายบ้าง ก็ติดตัน

เพราะไม่รู้จะเกาะอะไร จึงเคว้งคว้าง

อะไรก็ได้ครับในขณะนั้น พลิกแผลงได้ แต่ให้อยู่กับกายกับนาม (ความรู้สึก) ณ ขณะนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อคำบริกรรมหายแล้วร่างกายล่ะครับ ยังเห็นอยู่ไหม ก็เอาร่างกายสิครับเป็นอารมณ์ภาวนาไป

คุณอายะครับ จิตผู้รู้ผู้อะไร วางได้ก็วางเถอะครับ ทิ้งให้หมด เอาธรรมชาติตรงนั้นขณะนั้นๆ ทีเดียว คือกาย

กับความความรู้สึก

สมมุติกายหาย ก็เอาความรู้สึกที่ปรากฏนั้นอารมณ์ไป

ความรู้สึกหาย ก็เอากายที่ปรากฏภาวนากายไป


ผมรู้สึกว่าถนัดในการทำเมตตาภาวนา(ถ้าช่วงไหนต้องการพักผ่อน) เพราะไม่ต้องไปยุ่งกับลมหายใจแต่ปัญหาเกิดตรงที่ว่าเมตตาภาวนานี้เอาความสุข ความเมตตาเป็นอารมณ์ ผมที่ตามมาก็คือความรู้สึกทางกายจะน้อยมาก แต่จากที่ลองสังเกตุดูขณะที่คำบริกรรมหายไปนั้นก็ยังพอจะรู้สึกทางกายได้บ้างครับ จากที่ท่านกรัชกายบอกว่า
"สมมุติกายหาย ก็เอาความรู้สึกที่ปรากฏนั้นอารมณ์ไป" มันจะรู้สึกอารมณ์ที่ปรากฎได้เป็นช่วงๆ เท่านั้น ไม่รู้ว่าถ้าพยายามต่อไป มันจะรู้สึกได้ต่อเนื่องดีขึ้นไหม
"ความรู้สึกหาย ก็เอากายที่ปรากฏภาวนากายไป" จากที่ท่านกรัชกายบอกว่าเอากายที่ปรากฏพิจารณานั้น พิจารณาอย่างไรคับ จากที่เคยสังเกตุในช่วงที่คำภาวนาหายไปนี้ สติมันจะน้อยลงไปด้วย ที่ผมเคยทำคือเมื่อมาถึงสภาวะนี้แล้วไม่รู้จะไปทางไหนต่อ ก็เลยหันมาภาวนายุบ หนอพองหนอ เจริญสติปัฎฐานสี่ต่อไป แต่ในบางทีก็อยากเลื่อนระดับของสมาธิให้สูงได้มากกว่านี้อีกหน่อย คืออยากจะลองทำสมถะแบบสายพระป่าดูบ้างอะคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อะไรก็ได้ครับในขณะนั้น พลิกแผลงได้ แต่ให้อยู่กับกายกับนาม (ความรู้สึก) ณ ขณะนั้นๆ


จะลองดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่างนี้ก็ตันครับ ไปไม่เป็นแล้วอย่างที่เค้าเล่า
ก็อย่างที่บอก อย่างนี้หายก็เอาอย่างที่ปรากฏ อารมณ์ใดปรากฏขณะนั้น นั่นแหละอารมณ์กรรมฐาน
ที่นักปฏิบัติประสบปัญหาทั่วๆไป เช่น ตัวอย่างนี้ และก็ของคุณ เมื่อคำบริกรรมหายบ้าง
รูปหายบ้าง ก็ติดตัน
เพราะไม่รู้จะเกาะอะไร จึงเคว้งคว้าง
อะไรก็ได้ครับในขณะนั้น พลิกแผลงได้ แต่ให้อยู่กับกายกับนาม (ความรู้สึก) ณ ขณะนั้นๆ


หึ หึ หึ
เอ๋...รู้สึกว่าวันนี้จะโดนใจกับคุณจริง ๆ เลย
ตอนที่เราเจออาการนี้ครั้งแรก เป็นไงรู้ป่าวคุณ
เราอุทานในสมาธิเลยแหละ
"อ่าว เวรละสิ่.. :b21:..แล้วเราจะไปไหนต่อล่ะวะนี่" อิ อิ
:b15: :b15: :b15:
มีใครมีประสบการณ์อุทานสัปดล ๆ อย่างเราบ้างคะ
เราจะได้ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ปฏิบัติที่ชอบคิดสัปดลอยู่คนเดียว

ก็ประหนึ่งว่าตัวเองเหลือแต่ลูกกะตา ลอยอยู่โดด ๆ
เหลือบไปเหลือบมาในนั้นเพื่อมองอะไรมากำหนดต่อ
เราก็เลยต้องพลิกแพลงอย่างที่คุณว่าจริง ๆ
คือพลิกตัวนอน...ค่ะ อิ อิ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมรู้สึกว่าถนัดในการทำเมตตาภาวนา (ถ้าช่วงไหนต้องการพักผ่อน)
เพราะไม่ต้องไปยุ่งกับลมหายใจ แต่ปัญหาเกิดตรงที่ว่า เมตตาภาวนานี้เอาความสุข ความเมตตาเป็นอารมณ์ ผมที่ตามมาก็ คือ ความรู้สึกทางกาย
จะน้อยมาก แต่จากที่ลองสังเกตดู ขณะที่คำบริกรรมหายไปนั้น ก็ยังพอจะรู้สึกทางกายได้บ้างครับ จากที่ท่านกรัชกายบอกว่า
"สมมุติกายหาย ก็เอาความรู้สึกที่ปรากฏนั้นอารมณ์ไป" มันจะรู้สึกอารมณ์ที่ปรากฎได้เป็นช่วงๆ
เท่านั้น ไม่รู้ว่าถ้าพยายามต่อไป มันจะรู้สึกได้ต่อเนื่องดีขึ้นไหม


กายกับใจ ก็คือธรรมชาติ จะต้องฝึกรู้ธรรมชาติทั้งสองส่วนนี้ แล้วสติ (ซึ่งก็เป็นธรรมชาติ)ก็เกิด

ที่ปรากฏเป็นช่วงๆ ก็เพราะสติเกิดไม่ติดต่อไม่ต่อเนื่อง ที่เป็นดังกล่าว เพราะไม่เคยฝึกกำหนดรู้กายด้วย เพราะเราจับแต่อารมณ์เมตตานึกคิดแต่เมตตาภาวนา (คุณใช้นามอย่างเดียว)

เราจะถนัดยังไงชอบอะไรก็แล้วแต่ เป็นความชอบของเราต่างหาก

แต่ธรรม (สภาวธรรม) ก็เป็นไปและเป็นมาตามวิถีของมัน ไม่ฟังเรา ไม่ตามใจเรา

เราจึงปฏิบัติฝืนธรรมไม่ได้ แต่รู้ตามที่มันเป็นได้
ความรู้สึกหาย กายยังปรากฏก็เอากาย กายหาย ความรู้สึกยังปรากฏก็เอาความรู้สึก ที่เห็นอยู่ในขณะนั้น



อ้างคำพูด:
"ความรู้สึกหาย ก็เอากายที่ปรากฏภาวนากายไป" จากที่ท่านกรัชกายบอกว่าเอากายที่ปรากฏพิจารณานั้น พิจารณาอย่างไรคับ จากที่เคยสังเกตุในช่วงที่คำภาวนาหายไปนี้ สติมันจะน้อยลงไปด้วย ที่ผมเคยทำคือเมื่อมาถึงสภาวะนี้แล้วไม่รู้จะไปทางไหนต่อ ก็เลยหันมาภาวนายุบ หนอพองหนอ เจริญสติปัฎฐานสี่ต่อไป
แต่ในบางทีก็อยากเลื่อนระดับของสมาธิให้สูงได้มากกว่านี้อีกหน่อย คือ อยากจะลองทำสมถะแบบสายพระป่าดูบ้างอะคับ



แต่ในบางทีก็อยากเลื่อนระดับของสมาธิให้สูงได้มากกว่านี้อีกหน่อย คือ อยากจะลองทำสมถะแบบสายพระป่าดูบ้างอะคับ


สมาธิก็เป็นธรรมชาติ เกิดจากการกำหนดรู้อารมณ์ แล้วขณะนั้นๆ ก็มิใช่เกิดคนเดียว เกิดๆตามกันมาอีกหลายตัว
หลายองค์ธรรม
ธรรมะไม่มีสาย สติสัมปชัญญะสมาธิเกิดจากการกำหนดอารมณ์ทางตา หู ฯลฯ ทางใจ

จากที่ท่านกรัชกายบอกว่าเอากายที่ปรากฏพิจารณานั้น พิจารณาอย่างไรคับ

ณ ขณะนั้น กายอยู่ยังไงนั่งท่าไหนล่ะ อยู่ยังไงก็ยังงั้น ดูกายรวมๆ ทั้งหมดที่นั่งอยู่ ให้ความรู้สึกอยู่กับกายนั้น
หรือจับอาการท้องพองขึ้น ยุบลงดังกล่าวก็ได้...

(ใครทำโดยใช้พองยุบเป็นกรรมฐาน เมื่อพองยุบหาย ก็เอากายที่นั่งอยู่ทั้งหมดเป็นอารมณ์ -
ดูตัวอย่าง พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ...สมมุติอยู่ๆ พองยุบหาย กายหาย แต่ความรู้สึก
ปรากฏโด่อยู่ ก็จับความรู้สึกนั้นเป็นอารมณ์ ความรู้สึกเงียบๆไปไม่ชัด กายชัดจับกายไป
สรุปก็ คือ ส่วนไหนเด่นก็เอาส่วนนั้น ทิ้งสายต่างๆก่อน วางชื่อสติ ขื่อปัญญาต้องยังงี้ๆ ฯลฯ
จากที่เคยอ่านมาก่อน คิดค้นหาภาวะนั้นแหละคือตัวฟุ้งซ่านขณะกำลังปฏิบัติ)




อ้างคำพูด:
สติมันจะน้อยลงไปด้วย ที่ผมเคยทำคือเมื่อมาถึงสภาวะนี้แล้วไม่รู้จะไปทางไหนต่อ ก็เลยหันมาภาวนายุบ หนอพองหนอ เจริญสติปัฎฐานสี่ต่อไป


สติน้อยก็ต้องกำหนดอารมณ์ให้มากขึ้น คือกำหนดรูปนามให้บ่อยขึ้น แล้วสติก็เจริญขึ้นๆ ตามประมาณครั้งที่
กำหนดรู้รูปนามตามที่เป็น แล้วก็รวมทั้งอารมณ์ทั่วๆไปในปัจจุบันด้วย





สุดท้าย ฝากข้อสังเกตไว้ว่า ขณะกำลังภาวนาอยู่ ไม่พึงคิดแยกองค์ธรรมว่าใช่นั่นใช่นี่ไหม ว่านี่เป็นสมาธิ
หรือสติ หรือว่า เป็นปัญญา...ตามที่ร่ำเรียนรู้มา วางความคิดเช่นนั้นไว้ก่อน เลิกแล้วค่อยอ่านค่อยทบทวบ

เมื่อพูดถึง รูปถึงนาม มีเพียงกายกับใจเท่านั้น (นามรวมความรู้สึกทั้งหมด ขณะกำลังปฏิบัติไม่ต้องแยก)
กำหนดรู้กายใจในขณะนั้นๆ อย่างเดียว แล้วองค์ธรรมฝ่ายกุศลจะเจริญตามจำนวนครั้งที่กำหนดรู้นามรูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับคุณอายะด้วยนะครับ อากา่รแบบนี้ผมเคยเป็นมาบ้างเหมือนกันครับ

ผมขออธิบายประโยคนี้ก่อนนะครับ เอาตามความเข้าใจและที่ผมปฏิบัติมาแล้วกันนะครับ

"ตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ" : ข้อความนี้สุดยอดจริง ๆ รวมหมดแล้วครับ แล้วแต่ว่าใครจะเข้าถึงการ ปฏิบัติเท่านั้นเอง ไม่ใช่คิดเอา หรือเดาเอา หรือคาดคะเนเอาได้

ตั้งสติตามกำหนดจิตจนกว่าจิตนั้นจะหยุด : อันนี้ต้องใช้สติอย่างมากคือฝึกสมาธิมามากพอแล้ว จนจิตนั้นสามารถตามกำหนดสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันนั้น ๆ ได้และเห็นตามเป็นจริงว่ามันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นความคิดของเรานั่นเองครับ จะเห็นได้ชัดเจนที่สุด เมื่อกำหนดตามอยู่าอย่างนี้ จนถึงสภาวะที่เรียกว่า ความคิดความนึกต่างๆ นั้นมันหยุดลงไปเองโดยธรรมชาติของมัน แต่ต้องไม่ลืมว่า เราต้องมีกำลังสติมากเพียงพอที่ตามดู จนจิตนั้นหยุด ที่จริงแล้วจิตไม่ได้หยุด แต่ความคิดนึกทั้งหลายหยุดลงต่างหาก เกิดสภาวะที่เรียกว่า ว่าง ให้จิตนั้นกำหนดเอาที่ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ต่อไป เพราะมันจะว่างได้ไม่นาน สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ ๆ ทำจนชำนิชำนาญ ฝึกเข้าฝึกออกสมาธิตัวนี้ เพื่อเป็นบาทฐาน สำหรับทำวิปัสสนาต่อไป

ความสำคัญของการฝึกสมาธิอยู่ที่ว่า การกำหนดตอนเข้ากับกำหนดตอนออกด้วย คือต้องจำให้ได้ว่า เราเข้าสมาธิในตอนแรกอย่างไร ให้ทำเป็นประจำอย่างนั้น เรียกว่าทำ วสี ครับ

และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่า : อันนี้คงไม่ต้องอธิบายนะครับ เพราะเป็นอาการต่อเนื่องของการทำสมาธินั้นอยู่แล้วครับ

มาถูกทางแล้วครับ สำหรับการทำสมาธิ ผมก็กำลังฝึกอยู่เหมือนกันครับ แต่ผมใช้อานาปานสติ ตามแบบหลวงพ่อพุทธทาสครับ

:b8:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองเข้าไปอ่านตามลิ้งเวปนี้นะ ไปที่ความคิดเห็นที่12 คลิกลิ้งค์ใต้ชื่อผมอีกที
http://larndham.net/index.php?showtopic=35296&st=10
เพื่อเพิ่มเติม กท.นี้ให้สมบูรณ์ขึ้นอีก :b40: :b39:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่าน อินทรีย์5 อันนั้นคงเป็นมุตโตทัยใช่ไหมครับ

:b13:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร