วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูเวทนา
โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

การฝึกดูเวทนาเป็นหนึ่งในสติปัฏฐาน๔ ซึ่งผู้ฝึกสติปัฏฐานแต่ละท่านอาจจะถนัดการฝึกสติปัฏฐานไม่เหมือนกัน เช่นฝึกดูกาย(กายานุปัสสนา) ฝึกดูเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ฝึกดูจิต(จิตตานุปัสสนา) หรือธัมมานุปัสสนา ก็แล้วแต่จริตของผู้ฝึกแต่ละท่านจะเลือกฝึกอย่างใดอย่างหนึ่งในสติปัฏฐาน๔ เพื่อเพาะปลูกปัญญาให้เฉลียวฉลาด ใน ณ ที่นี้ขอกล่าวถึงเรื่องเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ซึ่งสติปัฏฐาน๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม นี่เป็นที่ตั้งของสติหรือเรียกว่าที่บำรุงสติ เป็นที่บำรุงปัญญา เป็นที่เพาะปลูกสติ เพาะปลูกปัญญาให้มีความเฉลียวฉลาดรอบตัว เมื่อเรายังมีความโง่(ความไม่รู้ความจริงของสัจธรรม) อาการทั้งหลายเหล่านี้ก็เป็นข้าศึกแก่เรา กายก็กลายเป็นข้าศึก เวทนาก็กลายเป็นข้าศึก จิตก็กลายเป็นข้าศึก ธรรมก็กลายเป็นข้าศึก

เฉพาะอย่างยิ่งเราทุกท่านที่เป็นนักปฏิบัติ โปรดตรวจตรองสติปัฏฐาน๔และอริยสัจ๔ของตนให้รอบคอบ เพราะไม่กว้างยาวลึกซึ้งเลยกายกับใจและความสามารถของผู้สนใจใคร่รู้ไปได้เลย เพราะธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ไม่เลยภูมิของมนุษย์ผู้ประสงค์อยากรู้ด้วยความสนใจไปได้

ว่าด้วยเรื่อง เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นหนึ่งในสติปัฏฐาน๔ ซึ่งมี กาย เวทนา จิต ธรรม

เวทนา หมายถึง ความรู้สึกหรือความเสวยอารมณ์ที่ปรากฏในขณะปฏิบัติทั้งทางกายและจิตใจ เช่น ความรู้สึกสุขสบายหรือทุกข์ที่ปรากฏขึ้นในทางร่างกายและทางใจ มี๓อย่าง คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ การพิจารณาโปรดแยกเวทนาออกและพิจารณาไปตามลักษณะของเขา แต่อย่าไปคว้าเอากายมาเป็นเวทนา กายให้เป็นกาย เวทนาให้เป็นเวทนา ทำนองเห็นเสือเป็นเสือและเห็นช้างเป็นช้าง แต่อย่าไปคว้าเสือมาเป็นช้าง จะเป็นการอ้างพยานไม่ตรงความจริง เรื่องจะลุกลามและลงเอยไม่ได้ตลอดกาล

คือแยกเวทนาที่แสดงอยู่ในขณะนั้นออกพิจารณา ให้รู้ที่เกิด ที่ตั้งอยู่และที่ดับไป ฐานที่เกิดของเวทนาทั้ง๓ เกิดขึ้นและตั้งอยู่ที่กายและที่ใจ แต่ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจคงเป็นเวทนาอยู่เช่นนั้น ทั้งการเกิดและการดับไปของเขา อย่าทำความเข้าใจว่าเป็นอื่นจะเป็นความเห็นผิด สมุทัย(สาเหตุแห่งทุกข์) จะแสดงตัวออกมาในขณะนั้นจะหาทางแก้ไขและหาทางออกไม่ได้ แทนที่จะพิจารณาให้เป็นปัญญาถอดถอนออกจากทุกข์ สมุทัย เลยกลายเป็นโรงงานผลิตทุกข์และสมุทัยขึ้นมาในขณะนั้น และเป็นการเสริมทุกข์ให้มีกำลังขึ้นมาทันที

ผู้ปฏิบัติจึงทำความรอบคอบต่อเวทนาด้วยปัญญา คือไม่คว้าเวทนามาเป็นตนในขณะทำการพิจารณา เวทนาทั้ง๓จะปรากฏความจริงตามสติปัฏฐานและอริสัจขึ้นมาประจักษ์ใจ แม้เวทนาจะเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆประการใด จะเป็นทางเสริมสติปัญญาของผู้บำเพ็ญได้

ความเศร้าใจ ทุกข์ใจ ท้อใจ หรือความเห่อเหิมเพลิดเพลินในขณะที่เวทนาทั้ง๓ แสดงตัวจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เพราะการทำความเข้าใจกับเวทนาได้ถูกต้อง และทุกๆเวลาที่ผู้บำเพ็ญทำความเห็นกับเวทนาโดยถูกต้อง ชื่อว่าผู้มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานประจำใจ

เวทนา มันเกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา เอ้า..จับเอาจุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดเด่นขึ้นมาพิจารณา จุดไหนที่ว่าเป็น “ทุกข์”เด่นกว่าเพื่อนกำหนดจุดนั้นเป็นต้นเหตุก่อน แล้วก็ซึมซาบไปหมดในบรรดาเวทนาทั้งหลาย เพราะมันเกิดขึ้นที่ไหนมันก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับจิต พอพิจารณาเวทนา จิตมันก็วิ่งเข้าหากันทันทีและทำการแยกแยะกัน เพราะสติปัฏฐาน๔ กายานุปัสสนา เวทนา จิตตา และธัมมานุปัสสนาเกี่ยวข้องกันอย่างนี้

“เวทนานอก” หมายถึง “กายเวทนา” ที่เกิดความสุข ความทุกกข์ เฉยๆ มีอยู่ตามร่างกายส่วนต่างๆ
“เวทนาใน”หมายถึงทุกขเวทนาภายในใจ สุขเวทนาภายในใจ
“อทุกขมสุขเวทนาภายในใจ” คือไม่ทุกข์ไม่สุข เฉยๆ ก็จัดเป็นเวทนาเหมือนกัน ซึ่งมีอยู่ในจิตของสามัญชนทั่วไป

แม้ภาวนาใจเข้าสู่ความสงบแล้ว ก็มีสุขเวทนาอยู่ด้วยเหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติธรรมจิตใจเรามีความสงบเย็นใจ นี่เป็น “สุขเวทนา” ถ้าจิตไม่รวมสงบลงได้ตามต้องการก็เกิดความ “ทุกขเวนา”ขึ้นมา บางทีเหมอลอยอยู่ภายในใจของผู้ปฏิบัติบ้าง ไม่ใช่เหม่อลอยแบบคนไม่รู้เรื่องราวอะไรเลย มันเป็นภายในจิตเอง หรือ เฉยๆบ้าง นี้เป็น “อทุกขมสุขเวทนา”เหมือนกัน

ท่านผู้บำเพ็ญถ้าหนักในสติปัฏฐานไม่ถอยหลัง นับวันจะรู้เห็นสิ่งต่างๆที่อัศจรรย์ขึ้นภายในใจเป็นระยะๆไป ถึงกาลอันควรจะได้รับ “ผล”ในธรรมขั้นใดที่เคยรับสนอง “เหตุ”ที่ผู้บำเพ็ญบำเพ็ญโดยถูกต้องแล้ว จำต้องปรากฎผลขึ้นมาเป็นขั้นๆ โดยเป็นพระโสดาบ้าง พระสกิทาคาบ้าง พระอนาคาบ้าง และพระอรหันต์บ้าง โดยไม่ต้องสงสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถาม ท่าน จขกท

เวทนานอก กับ เวทนาใน อันไหนมันรุนแรงกว่ากันคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เวทนานอก กับ เวทนาใน อันไหนมันรุนแรงกว่ากันคับ

ก็อันที่ปวดแล้ว มันแก้ให้หายปวดไม่ได้ ก็คืออันนั้นแหละ จิตปวดกายก็ปวดด้วย ยิ่งกายปวด จิตก็ยิ่งไม่มี
สมาธิด้วยเหมือนกัน :b39:
ต้องใช้ปัญญาเป็นอาวุธต่อสู้กับเวทนา ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา(คือเรารู้สึกตัวตลอดเวลาว่าตอนนี้ทำอะไรอยู่) ก้จะสามารถแก้ปัญหาได้ ปวดหนอ ๆ ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แยกรูป แยกนามและ
เวทนาแยกออกไป ที่ตรงนี้ปัญญาก็เกิดขึ้นเป็นอาวุธประจำตัวเราได้ นี่แหละอุปสรรคมันจะหายไป และ
ก้ไม่ปวดเมื่อยอีกต่อไป :b40:

พอปลงตกแล้วก้อนิจจัง.... มันไม่เที่ยง มันก็เป็นทุกข์ พอเป็นทุกข์มันก้เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ตามลำดับ จิตใจก็เกิดปัญญารอบรู้ในกองการสังขารทุกประการ เป็นประโยชน์แก่ตนเองโดยเฉพาะ

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด
ก้จะสามารถแก้ปัญหาได้ ปวดหนอ ๆ ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แยกรูป แยกนามและ
เวทนาแยกออกไป ที่ตรงนี้ปัญญาก็เกิดขึ้นเป็นอาวุธประจำตัวเราได้ นี่แหละอุปสรรคมันจะหายไป และ
ก้ไม่ปวดเมื่อยอีกต่อไป

เรียนคุณอินทรีย์5 ที่บอกว่า "ตรงนี้ปัญญาก็เกิดขึ้นเป็นอาวุธประจำตัวเรา มันจะหายไปแล้วก็ไม่ปวดเมื่อยต่อไปนั้น" อันนี้หมายถึงเวทนาทางกายหรือทางจิตครับ
และถ้าผมสมมุติว่าเราต้องประสบเวทนาทางกายอย่างแสนสาหัส เช่น เป็นมะเร็งในกระดูกซึ่งจะปวดทรมานมากต้องให้มอฟีนทุก 3-4 ชั่วโมง ซึ่งเวทนาทางกายไม่มีทางหายไปแน่ๆ ไม่ว่าจะกำหนดอย่างไรก็ตาม จะหายก็ต่อเมื่อละสังขารเท่านั้น คราวนี้เราจะใช้ปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นอาวุธประจำตัวเรามาต่อสู้กับเวทนาประมาณนี้อย่างไรดีคับที่จะไม่ให้เกิดความทรมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ปวดกายกับปวดใจอันไหนทรมานและรุนแรงกว่ากัน
ทุกข์กายหรือทุกข์ใจอันไหนหายง่ายกว่ากัน

เวทนาทางกาย(ภายนอก)อาจหายได้เอง เช่นปวดเมื่อย เหน็บชา เป็นต้น ไม่สบาย เจ็บป่วยกายหาหมอรักษาทานยา ฉีดยา รักษาตามอาการให้หายเป็นต้น

แต่เวทนาทางใจ(ภายใน)ที่ทำให้ทุกข์ใจ บางคนเป็นปีๆหลายๆปีก็ยังไม่หาย แก่ใกล้ตายก็ยังไม่หาย บางคนตายข้ามชาติยังจองเวรจองกรรมผูกเวรอยู่ ต้องรักษาด้วยธรรมจึงจะหาย

คนที่เป็นโรคร้ายเช่นมะเร็ง เอดส์ เป็นต้น เขาทุกข์แต่กายแต่ทนได้ ใจไม่ทุกข์เพราะใจมีธรรม การทุกข์กายของเขาจึงเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะทุกสิ่งทางโลกล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

การทุกข์กายถ้ามีสติคอยจับดูความทุกข์ทางกายก็จะหายไปเองอัตโนมัติ คนที่เป็นมะเร็งตายแล้วเขาไม่เจ็บปวดเพราะไม่มีจิตยึดครองร่างกายอยู่ ขณะที่คนเป็นเจ็บปวดเพราะมีจิตยึดครองร่างกายไว้นั่นเอง ทุกข์เพราะมีจิตยึด ถ้าจิตไม่ยึดก็ไม่ทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่าน poivang
ผมเห็นด้วยครับว่าทั้งหลายทั้งปวงนั้นจะต้องมาแก้ที่ใจ เพราะว่าเมื่อกายทุกข์ใจก็ทุกข์ไปด้วย แต่สำหรับที่กล่าวว่า "การทุกข์กายถ้ามีสติคอยจับดูความทุกข์ทางกายก็จะหายไปเองอัตโนมัติ" ผมเห็นว่าบางทีก็ไม่เป็นเช่นนั้นเัสมอไป เช่น เราประสบอุบัติเหตุมา มีบาดแผล ไม่ว่าเราจะกำหนดยังไงแผลนั้นไม่สามารถหายได้ ต้องใช้วิชาการแพทย์รักษาไป ซึ่งพอมาถึงตรงนี้มันก็เลยมีคำถามขึ้นมาเนื่องจากว่า " ขณะที่คนเป็นเจ็บปวดเพราะมีจิตยึดครองร่างกายไว้นั่นเอง ทุกข์เพราะมีจิตยึด ถ้าจิตไม่ยึดก็ไม่ทุกข์" คำถามก็คือว่า
1 ตอนที่เรายังไม่ตายนั้นเราต้องใช้ "สติคอยจับดูความทุกข์ทางกาย" สติที่กล่าวมานี้ต้องเป็นสติระดับไหนคับถึงจะไม่ให้เกิดความทรมานทางกาย และสติเพียงอย่างเดียวพอหรือไม่คับ ต้องใช้สมาธิช่วยด้วยหรือไม่คับ เหตุผลเพราะอะไรคับ
2 "ทุกข์เพราะมีจิตยึด ถ้าจิตไม่ยึดก็ไม่ทุกข์" คราวนี้เราจะทำอย่างไรดีคับเพื่อไม่ให้จิตไปยึด เพราะผมคิดว่าไม่มีใครอยากไปยึดหรอกคับ แต่เวลาปวดทีไรมันทุกข์ทุกที และใช้ีวิธีการปฏิบัติอย่างไรดีคับเพื่อไม่ใ้ห้จิตไปยึด เผื่อเอาไว้ใช้ตอนป่วยหนัก ซึ่งตอนนั้นแรงก็น้อย อ่อนเพลียมาก เวทนาทางกายก็เยอะมาก (คืออยากได้คำตอบที่ค่อนค้างเป็นรูปธรรมหน่อยนะครับ เอานามธรรมน้อยๆ เ่ช่นประมาณว่าเมื่อท่านป่วยหนักท่านมีวิธีกำหนดจิตอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความทรมาน และสามารถประคองสติไว้ได้ตลอดเวลา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกสติต้องมีสมาธิอยู่แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิก็ฝึกสติไม่ได้ การทำสมาธิก็มีสติควบคู่เช่นกันไม่งั้นก็ไม่มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิขั้นพื้นฐานที่ใช้ร่วมกันกับสติ

การที่จะทำให้หายทุกข์ทางกายจากการฝึกสติฝึกสมาธิ ต้องใช้การฝึกสะสมมามากพอสมควรถ้าเราไม่เคยฝึกทำมาก่อนแล้วเพิ่งจะเริ่มทำคือยังอ่อนหัดอยู่ สติยังตามไม่ทันอารมณ์ความรู้สึก อาการเจ็บปวดเหล่านั้นก็ยังมีอยู่ในความรู้สึก เจ็บปวดเกิดขึ้นตามดูให้ทันทำบ่อยๆดูให้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึก แต่ถ้าฝึกใหม่ๆจะตามไม่ทันความรู้สึกเจ็บปวดก็ยังปรากฎอยู่ไม่หาย

การฝึกจึงต้องทำบ่อยๆทำมากๆ พระอาจารย์ที่สอนท่านกล่าวว่าควรฝึกอย่างน้อยการฝึกที่ดีที่ได้ผลทางธรรมได้ต้องฝึกสติวันละหกชั่วโมง ถ้าอย่างเราๆต้องมีงานรับผิดชอบไม่มีเวลาว่างมาก การที่เราจะเร่งรัดอะไรให้ได้ผลนั้นคงเป็นไปได้ยาก ไม่เหมือนนักบวชหรือผู้มีเวลาจะปฏิบัติจริงๆ

ฉะนั้นอยู่ที่ตัวเราว่ามีเวลาฝึกปฏิบัติจนมีสติรู้เท่าทันกายและใจเราได้หรือไม่ เพราะแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากันเนื่องจากบุญเก่าที่เคยทำกันมาก่อน หรือในปัจจุบันมีความเพียรและเวลาในการปฏิบัติแค่ไหน จึงตอบให้แต่ละคนไม่ได้ เราดูได้ที่ตัวเราเอง

บางคนเขาก็สามารถสะกดจิตตนเองให้หายเจ็บปวดเวลาไปหาหมอผ่าตัดเขาไม่ต้องใช้ยาชายาสลบ ซึ่งไม่สามารถทำได้ทุกคน ได้เป็นบางคนที่เขาฝึกทำและฝึกบ่อยๆ เหมือนเราอ่านหนังสือสอบซ้ำๆก็ทำให้คะแนนสอบดี แต่ถ้าอ่านหนังสือน้อยอ่านไม่จบผลคะแนนก็ไม่ดีเท่าคนที่เขาอ่านจบหลายรอบ เป็นต้น


พูดไปก็เหมือนเป็นนามธรรม แต่ถ้าอยากรู้จริงก็ควรปฏิบัติดีกว่าฟังเขาพูด ให้เวลาปฏิบัติมากหน่อยทำบ่อยๆสักวันหนึ่งก็รู้ได้กับตนเอง คนที่หนังสมาธิจนปวดขาแต่ก็ทนไปในขณะที่จิตมีสมาธิอยู่จนความปวดขาหายไปอัตโนมัติก็นั่งต่อไปได้อีกโดยไม่รู้สึกปวดขาเลย ลองทำดู

เคยดูเหน็บชาที่เกิดขึ้นเวลานั่งทับขานานๆกำหนดดูเหน็บชาก็หายไปเองเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ขณะที่คนอื่นๆเขายังเป็นเหน็บลุกไม่ขึ้น แต่ไม่ใช่เหน็บหายไปเองโดยธรรมชาติ แต่กำหนดดูจะหายก่อนการหายตามธรรมชาติ นี่เป็นเบสิกขั้นต้นๆลองฝึกดูก็ได้ แต่ถ้าร้ายแรงกว่านี้เช่นอุบัติเหตุรุนแรงคงต้องฝึกมากกว่านี้ให้จิตมีสมาธิดีกว่านี้และมีสติรู้เท่าทันความรู้สึก ก็จะเห็นผลเอง แต่อุบัติเหตุรุนแรงก็อาจสลบหรือตายไปก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด(ล้อเล่น) :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8:อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด
ฝึกสติต้องมีสมาธิอยู่แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิก็ฝึกสติไม่ได้ การทำสมาธิก็มีสติควบคู่เช่นกันไม่งั้นก็ไม่มีสมาธิ แต่เป็นสมาธิขั้นพื้นฐานที่ใช้ร่วมกันกับสติ
- อันนี้เห็นด้วยคับ

อ้างอิงคำพูด
การที่จะทำให้หายทุกข์ทางกายจากการฝึกสติฝึกสมาธิ ต้องใช้การฝึกสะสมมามากพอสมควรถ้าเราไม่เคยฝึกทำมาก่อนแล้วเพิ่งจะเริ่มทำคือยังอ่อนหัดอยู่ สติยังตามไม่ทันอารมณ์ความรู้สึก อาการเจ็บปวดเหล่านั้นก็ยังมีอยู่ในความรู้สึก เจ็บปวดเกิดขึ้นตามดูให้ทันทำบ่อยๆดูให้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึก แต่ถ้าฝึกใหม่ๆจะตามไม่ทันความรู้สึกเจ็บปวดก็ยังปรากฎอยู่ไม่หาย
- อันนี้ผมขอแตกเป็น 2 ประเด็นแล้วกันนะครับ คือ
1 " ต้องใช้การฝึกสะสมมามากพอสมควร"
น่าจะหมายถึงฝึกสมถะจนสามารถเข้าฌานได้ใช่ไหมคับแต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าในสภาวะฌาณ
อาการรับรู้ทางกายนั้นจะน้อยมันก็เลยลดความทรมานทางกายไปได้ซึ่งฟังดูน่าจะมีเหตุมีผล แต่
ในทางกลับกันใน สภาวะฌาณนี้เองสติจะน้อยลง คราวนี้ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าถ้าเราฝึกสมถะอย่าง
เดียวก็อาจลดเวทนาทางกายลงก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องฝึกสติ
2 "สติยังตามไม่ทันอารมณ์ความรู้สึก อาการเจ็บปวดเหล่านั้นก็ยังมีอยู่ใน
ความรู้สึก"
นั่นก็หมาย ถึงว่าถ้าเราฝึกให้เท่าทันตามอารมณ์ความรู้สึกอาการเจ็บปวด
เหล่านั้นก็จะหายไป ซึ่งก็คือถ้าเราฝึกสติอย่างเดียวโดยใช้แค่สมาธิระดับต้นนี้เราก็สามารถหนี
เวทนาทางกายได้อย่างนั้นหรือคับ อีกอย่างหนึ่งที่บอกว่า "อาการเจ็บปวดหาย หรือไม่หายนั้น
" เป็นอาการเจ็บปวดทางกายหรือทางจิตคับ หรือทั้งสองอันคับ อีกอย่างผมก็อยากรู้ว่าเมื่อเรา
กำหนดทันความรู้สึกแล้วทำไมอาการเจ็บปวดทางกายจึงหายไปละคับ

อ้างอิงคำพูด
การฝึกจึงต้องทำบ่อยๆทำมากๆ พระอาจารย์ที่สอนท่านกล่าวว่าควรฝึกอย่างน้อยการฝึกที่ดีที่ได้ผลทางธรรมได้ต้องฝึกสติวันละหกชั่วโมง ถ้าอย่างเราๆต้องมีงานรับผิดชอบไม่มีเวลาว่างมาก การที่เราจะเร่งรัดอะไรให้ได้ผลนั้นคงเป็นไปได้ยาก ไม่เหมือนนักบวชหรือผู้มีเวลาจะปฏิบัติจริงๆ ฉะนั้นอยู่ที่ตัวเราว่ามีเวลาฝึกปฏิบัติจนมีสติรู้เท่าทันกายและใจเราได้หรือไม่ เพราะแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากันเนื่องจากบุญเก่าที่เคยทำกันมาก่อน หรือในปัจจุบันมีความเพียรและเวลาในการปฏิบัติแค่ไหน จึงตอบให้แต่ละคนไม่ได้ เราดูได้ที่ตัวเราเอง
- ก็คงเป็นอย่างนั้นละคับ

อ้างอิงคำพูด
บางคนเขาก็สามารถสะกดจิตตนเองให้หายเจ็บปวดเวลาไปหาหมอผ่าตัดเขาไม่ต้องใช้ยาชายาสลบ ซึ่งไม่สามารถทำได้ทุกคน ได้เป็นบางคนที่เขาฝึกทำและฝึกบ่อยๆ เหมือนเราอ่านหนังสือสอบซ้ำๆก็ทำให้คะแนนสอบดี แต่ถ้าอ่านหนังสือน้อยอ่านไม่จบผลคะแนนก็ไม่ดีเท่าคนที่เขาอ่านจบหลายรอบ เป็นต้น
- ที่บอกว่าสะกดจิตนี่ มันเหมือนหรือแตกต่างกับ การฝึกสติ(ที่ใช้สมาธิขั้นต้น), การฝึกสมาธิ(ฝึกสมถะ) หรือไม่ใช่ทั้งสองอัน คับ ถ้าไม่ใช่แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรคับ

อ้างอิงคำพูด
พูดไปก็เหมือนเป็นนามธรรม แต่ถ้าอยากรู้จริงก็ควรปฏิบัติดีกว่าฟังเขาพูด ให้เวลาปฏิบัติมากหน่อยทำบ่อยๆสักวันหนึ่งก็รู้ได้กับตนเอง คนที่หนังสมาธิจนปวดขาแต่ก็ทนไปในขณะที่จิตมีสมาธิอยู่จนความปวดขาหายไปอัตโนมัติก็นั่งต่อไปได้อีกโดยไม่รู้สึกปวดขาเลย ลองทำดู
- ก็เคยลองอยู่คับที่ว่ากำหนดแล้วความปวดหายไปเลยก็มี กำหนดแล้วไม่หายก็มี บางทีกำหนดแล้วหายไปแล้วมาใหม่ก็มี บางทีก็รู้ว่ามันปวดแต่ไม่รู้สึกทรมานเหมือนดูคนอื่นปวดก็มี อย่างนี้ถูกหรือผิดประการใด และเพราะอะไรคับ

อ้างอิงคำพูด
เคยดูเหน็บชาที่เกิดขึ้นเวลานั่งทับขานานๆกำหนดดูเหน็บชาก็หายไปเองเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ขณะที่คนอื่นๆเขายังเป็นเหน็บลุกไม่ขึ้น แต่ไม่ใช่เหน็บหายไปเองโดยธรรมชาติ แต่กำหนดดูจะหายก่อนการหายตามธรรมชาติ นี่เป็นเบสิกขั้นต้นๆลองฝึกดูก็ได้ แต่ถ้าร้ายแรงกว่านี้เช่นอุบัติเหตุรุนแรงคงต้องฝึกมากกว่านี้ให้จิตมีสมาธิดีกว่านี้และมีสติรู้เท่าทันความรู้สึก ก็จะเห็นผลเอง แต่อุบัติเหตุรุนแรงก็อาจสลบหรือตายไปก็ไม่รู้สึกเจ็บปวด(ล้อเล่น) :b16:[/quote][/quote][/quote]
- "แต่กำหนดดูจะหายก่อนการหายตามธรรมชาติ" อันนี้มันจริงเสมอไปหรือเปล่าคับ ถ้าประสบการณ์ผมเอง ผมนั่งไปได้ซัก 15 นาที ก็ปวดขาแล้ว กำหนดไปชั่วโมงนึงก็ไม่หาย สองชั่วโมงก็ไม่หาย ปวดแช่อยู่อย่างนั้นแหละ ต้องกำหนดต่อไปอีกซักพักใหญ่ๆ จึงจะหาย อย่างนี้ผิดหลักการไหมคับ
-"แต่ถ้าร้ายแรงกว่านี้เช่นอุบัติเหตุรุนแรงคงต้องฝึกมากกว่านี้ให้จิตมีสมาธิดีกว่านี้และมีสติรู้เท่าทันความรู้สึก" ถ้าสมาธิดีจนที่ระดับฌาณได้สติก็จะน้อย แต่ถ้าสติดีมากๆ ก็ต้องออกจากฌาน คราวนี้จะเลือกอย่างไหนดีคับระหว่างสมาธิดี หรือ สติดี แล้วอย่างไหนมันดีกว่ากันคับ

ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนนะครับอย่าถือว่าเป็นการโต้เถียง จะได้เกิดประโยชน์ทางธรรมแก่ผมและท่านทั้งหลายนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณต้องทำความเข้าใจตัวเองก่อนว่าคุณสนใจสมาธิและสติไปเพื่ออะไร เพื่อทางโลกหรือทางธรรม แต่คำสอนของพระพุทธองค์สอนเพื่อให้เข้าใจทางธรรมแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ การเกิดเวทนาต่างๆนั้นเป็นเรื่องปกติที่มีอยู่ในสัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเอง แม้ไม่ปฏิบัติธรรมมันก็ดับไปเอง เช่นเรานั่งเป็นเหน็บเราเปลี่ยนอริยบทมันก็หายเหน็บเอง แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยนอริยาบทเราใช้สติตามดูมันก็หายไปเองตามธรรมดา

มันจะเกิดเวทนาแล้วหายช้าหายเร็ว หรือหายแล้วเกิดอีกก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่สิ่งที่สำคัญอะไร เพราะมันเป็นธรรมชาติของมันพระพุทธเจ้าท่านสอนให้ดูเวทนาตามเพื่อให้เกิดปัญญาทางธรรม ให้เห็นการเกิดดับ มีปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องฝึกไปจนได้ปัญญาญาณจึงจะเห็นได้

เราไม่ต้องไปใส่ใจว่าความเจ็บปวดมันจะหายหรือเปล่า จะหายช้าหายเร็ว หรือไม่หาย หายแล้วทำไมเกิดอีก ถ้าศึกษาทางธรรมเน้นเพื่อพ้นทุกข์จริงเขาจะไม่สนใจเรื่องนี้ ถือว่ามันเป็นธรรมชาติของมัน เขาฝึกสติให้เป็นมหาสติให้เกิดปัญญาทางธรรม

ฝึกสติไม่ต้องใช้สมาธิชั้นสูงจนถึงอัปนนาสมาธิที่ได้ฌานหรอก แค่สมาธิขั้นต้นๆก็พอแล้ว ถ้าเน้นเป็นอัปนนาสมาธิจนได้ฌานนั้นเป็นการทำทางสมถะ

ถ้าเจ็บป่วยอยู่ก็อย่าไปฝึกเพื่อให้หายเจ็บปวดอยู่เลยเพราะมันก็หายชั่วคราวแล้วมันก็เกิดขึ้นอีกเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เราไม่สามารถบังคับให้เราไม่แก่ได้ ไม่สามารถบังคับไม่ให้เจ็บป่วยได้ เพียงแต่ผลส่วนหนึ่งแห่งการฝึกสตินั้นทำให้เห็นการเกิดดับของความเจ็บปวดเท่านั้น ผลแห่งการตามดูทันแล้วเวทนาหายนั้นเป็นแค่อานิสงส์อย่างหนึ่งของการทำสติ อย่าไปยึดติด เป็นแค่ส่วนย่อยๆ ไม่ใช่จุดมุ่งหมายทางธรรมของการฝึกสติ

แต่ถ้าเน้นไปทางโลกเพื่อจะให้หายจากเวทนาไปตลอดชีวิตเลย มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันก็เกิดดับซ้ำไปซ้ำมา เพราะมันเป็นสัจธรรม มันไม่เที่ยง อาการเจ็บปวดมันก็ไม่เที่ยง อาการหายจากการเจ็บปวดมันก็ไม่เที่ยง สนใจไปในทางธรรมดีกว่า จะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำซากเจ็บป่วยซ้ำซาก แล้วทุกข์กันอยู่อย่างนี้

ส่วนสะกดจิตนั้นไม่ใช่การฝึกสติและไม่ใช่การฝึกสมาธิสมถะโดยตรง เป็นผู้ที่สะกดจิตใต้สำนึก ให้ระลึกชาติบ้าง หายเจ็บปวดชั่วคราวบ้าง แต่คงใช้สมาธิขั้นตั้นเพราะเราทุกคนก็ใช้สติและสมาธิขั้นต้นๆในการทำการงานอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณต้องทำความเข้าใจตัวเองก่อนว่าคุณสนใจสมาธิและสติไปเพื่ออะไร เพื่อทางโลกหรือทางธรรม แต่คำสอนของพระพุทธองค์สอนเพื่อให้เข้าใจทางธรรมแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ การเกิดเวทนาต่างๆนั้นเป็นเรื่องปกติที่มีอยู่ในสัตว์ที่มีชีวิตจิตใจ มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเอง แม้ไม่ปฏิบัติธรรมมันก็ดับไปเอง เช่นเรานั่งเป็นเหน็บเราเปลี่ยนอริยบทมันก็หายเหน็บเอง แต่ถ้าเราไม่เปลี่ยนอริยาบทเราใช้สติตามดูมันก็หายไปเองตามธรรมดา
-ฝึกสติ และสมาธิ เื่พื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม

มันจะเกิดเวทนาแล้วหายช้าหายเร็ว หรือหายแล้วเกิดอีกก็เป็นเรื่องธรรมดาไม่ใช่สิ่งที่สำคัญอะไร เพราะมันเป็นธรรมชาติของมันพระพุทธเจ้าท่านสอนให้ดูเวทนาตามเพื่อให้เกิดปัญญาทางธรรม ให้เห็นการเกิดดับ มีปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องฝึกไปจนได้ปัญญาญาณจึงจะเห็นได้
- เนื่องจากท่าน จขกท บอกว่าหายเร็ว ก็เลยถามอย่างนั้นครับ ผมเห็นด้วยครับว่าปัญญาญาณนั้นเป็นเป้าหมายหลัก แต่ก็อยากลดเวทนาทางกายด้วยก็เลยถามอย่างนั้น

เราไม่ต้องไปใส่ใจว่าความเจ็บปวดมันจะหายหรือเปล่า จะหายช้าหายเร็ว หรือไม่หาย หายแล้วทำไมเกิดอีก ถ้าศึกษาทางธรรมเน้นเพื่อพ้นทุกข์จริงเขาจะไม่สนใจเรื่องนี้ ถือว่ามันเป็นธรรมชาติของมัน เขาฝึกสติให้เป็นมหาสติให้เกิดปัญญาทางธรรม
- ผมถือคติว่าต้องสนใจทั้งปัญญาทางโลกและทางธรรม คือ ปัญญาทางโลกใช้ดำรงชีวิต ส่วนปัญญาทางธรรมนั้นใช้นำชีวิตนะครับ

ฝึกสติไม่ต้องใช้สมาธิชั้นสูงจนถึงอัปนนาสมาธิที่ได้ฌานหรอก แค่สมาธิขั้นต้นๆก็พอแล้ว ถ้าเน้นเป็นอัปนนาสมาธิจนได้ฌานนั้นเป็นการทำทางสมถะ
- ครับเห็นด้วย แต่ถ้าทำสมถะจนได้ฌาณแล้วทำวิปัสนาต่อก่อไม่เห็นเสียหายอะไรนี่ครับ และก็ไม่แน่ด้วยว่าอย่างในจะถึงจุดหมายเร็วกว่ากันขึ้นอยู่แต่ละบุคคล

ถ้าเจ็บป่วยอยู่ก็อย่าไปฝึกเพื่อให้หายเจ็บปวดอยู่เลยเพราะมันก็หายชั่วคราวแล้วมันก็เกิดขึ้นอีกเป็นอย่างนี้เรื่อยๆ เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เราไม่สามารถบังคับให้เราไม่แก่ได้ ไม่สามารถบังคับไม่ให้เจ็บป่วยได้ เพียงแต่ผลส่วนหนึ่งแห่งการฝึกสตินั้นทำให้เห็นการเกิดดับของความเจ็บปวดเท่านั้น ผลแห่งการตามดูทันแล้วเวทนาหายนั้นเป็นแค่อานิสงส์อย่างหนึ่งของการทำสติ อย่าไปยึดติด เป็นแค่ส่วนย่อยๆ ไม่ใช่จุดมุ่งหมายทางธรรมของการฝึกสติ
- คือที่ถามนี้ยังไม่เจ็บป่วย เตรียมไว้เผื่อตอนเจ็บป่วย และไม่ได้ยึดด้วย แต่เนื่องจากรู้ดีว่าเวทนาทางกายนั้นมันรุนแรงมากไม่แพ้เวทนาทางจิต กลัวจะเอาตัวไม่รอด เช่น ถ้าเวทนาทางกายรุนแรงมาก จนเผลอทุรนทุราย ทำให้จิตเศร้าหมอง ก็อาจไปอบายภูมิได้ อีกอย่างถึงแม้สติเองมันก็ไม่เีที่ยงมีขึ้นมีลงได้ดังนั้นก็เลยอยากมีแผนสำรองไว้

แต่ถ้าเน้นไปทางโลกเพื่อจะให้หายจากเวทนาไปตลอดชีวิตเลย มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันก็เกิดดับซ้ำไปซ้ำมา เพราะมันเป็นสัจธรรม มันไม่เที่ยง อาการเจ็บปวดมันก็ไม่เที่ยง อาการหายจากการเจ็บปวดมันก็ไม่เที่ยง สนใจไปในทางธรรมดีกว่า จะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำซากเจ็บป่วยซ้ำซาก แล้วทุกข์กันอยู่อย่างนี้
- เห็นด้วยครับ และก็ไม่เคยคิดแบบนี้เลย แต่ผมเองคงไม่อาจสามารถทำให้สิ้นภพสิ้นชาติได้ภายในชาตินี้ได้หรอกครับ ดังนั้นก็เลยต้องหาวิธีสู้กับเวทนา

ส่วนสะกดจิตนั้นไม่ใช่การฝึกสติและไม่ใช่การฝึกสมาธิสมถะโดยตรง เป็นผู้ที่สะกดจิตใต้สำนึก ให้ระลึกชาติบ้าง หายเจ็บปวดชั่วคราวบ้าง แต่คงใช้สมาธิขั้นตั้นเพราะเราทุกคนก็ใช้สติและสมาธิขั้นต้นๆในการทำการงานอยู่แล้ว
- ครับ

ถ้าเป็นไปได้ช่วยชี้ทางสว่างตามข้อๆ ที่ถามจากกระทู้ที่แล้วด้วยนะครับ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ

เจริญในธรรมคับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร