วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 03:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีวิธีนั่งสมาธิอย่างไรให้จิตสงบนิ่งบ้างค่ะ :b2: :b2:

ทุกวันนี้นั่งสมาธิจิตว่อกแว่กมากพอได้ยินเสียงอะไรดังกระทบหูจิตก้อไม่สงบเลย
จึงอยากทราบวิธีนั่งให้จิตเกิดสมาธิกรุณาบอกวิธีด้วยนะค่ะ
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ :b8: :b8:


:b52: :b52: :b52: :b52: :b52:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นเรื่องธรรมดาครับ การปฏิบัติทางจิตต้องมีวอกแวก ถ้าไม่มีเสียเลย
ก็ไม่รู้จักธรรมชาติของจิตกันพอดี และไม่ไช่มีแค่คุณนะครับ ทุกคนที่ปฏิบัติ
ก็มีทั้งนั้น คงเว้นไว้พระอริยบุคคลชั้นสูงนั่นเอง

อย่าได้ท้อถอย ลองตรวจสิ่งเหล่านี้ดู

๑.วิธีการ
๒.ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
๓.สถานที่
๔.บุคคล(ทั้งตัวเราและคนรอบข้าง)
๕.ใจเราเอง

วิธีการเราถูกต้องหรือไม่ เราฝึกมานานเท่าไรและระยะเวลาเราปฏิบัติครั้งหนึ่งใช้เวลา
พอสมควรกับวิธีหรือเปล่า สถานที่ต้องเอื้ออำนวย ถ้าเสียงมากก็คงต้องหาที่ให้เสียง
กวนน้อยลง ถ้าหาที่ไม่ได้ ต้องหาเวลาให้เหมาะเป็นต้น บุคคลก็เช่น ผู้แนะนำเราถึงวิธี
ตัวเราเองพร้อมแค่ไหน มีกิจอะไรที่ต้องห่วงต้องทำค้างคาที่จะเป็นเหตุให้สับส่ายหรือ
เปล่า คนรอบข้างเช่น เขารู้ เขาเกรงใจเราหรือไม่ เพราะบางครั้ง ถ้าเขาเกรงใจจะลด
เสียงหรือเหตุให้เราวอกแวกได้มากทีเดียว สุดท้ายสำคัญ ใจต้องพร้อมที่จะสุ้ หมายความ
ว่า ต้องทน ต้องใส่ใจ ต้องฝักไฝ่ ต้องวางภาวะที่จะมารั้งอารมณืทางใจเราให้ได้บ้างใน
เวลาที่ปฏิบัติ เป็นต้น

เอ....ความจริงมากมายวิธี แต่ แหะๆๆ นึกได้แค่นี้เองตอนนี้
พยายามทำเข้าครับ ถ้าถูกทาง ผลหวานหอมกว่าที่เราคาดหวังไว้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุและอนุโมทนานะค่ะ

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท. ลองศึกษาจาก


สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ

โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1886


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล คือ ความปกติของกาย วาจา แลใจ
ถ้าใจไม่ปกติเสียแล้ว กาย วาจา มันจะปกติไม่ได้
เพราะกาย วาจา มันอยู่ในบังคับของจิต
การฝึกหัดสมาธิ ก็ไม่พ้นไปจากการฝึกหัดกาย วาจา แลใจอีกนั่นแหละ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่ามุ่งหวังให้จิตสงบอย่างเดียว ต้องมุ่งหวังให้จิตมีสติตอนที่จิตไม่สงบด้วย จิตสงบก้โอเคให้มีสติรู้ตัว
จิตไม่สงบก้เหมือนกันให้มีสติรู้ตัวด้วยเหมือนกัน จิตมันวอกแว่กเอาสติมารั้งจิตไว้ เพื่อที่จะได้ตามจิตให้ทัน เหมือนไก่ที่มาขังในสุ่ม แรกๆมันก็เดินรอบสุ่มตลอดเลย พอมันคุ้นเคยเคยชินกับสถานที่หรือเดินจนเมื่อยแล้วเท่านั้นแหละมันก็หยุดเดิน นอนนิ่งอยู่ในสุ่มแทน การที่อยากให้จิตสงบเป็นสมาธิก้เหมือนเอาไก่มาขังในสุ่มนี่แหละ ค่อยๆศึกษาค่อยๆเรียนรู้กับอาการของจิตไปเรื่อยๆ เพราะคำว่า ."สมถะ"
นั้นยังแปลได้อีกความหมายนึงก็คือ การศึกษาขวนขวายหาความรู้จากการปฏิบัติสมาธิให้ถึงที่สุดด้วยการปฏิบัติจนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "จิตสงบนิ่ง"ที่ ท่าน จขกท.ใช้ . ในพระไตรปิฎกแปลไทยใช้คำว่า จิตไม่ฟุ้งซ่านบ่าง จิตสงบบ้าง.

คำว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน นั้นจะเป็นคำบรรยายถึงลักษณะของ จิตที่เป็นสมถะ เช่น ที่บรรยายว่า มีอารมณ์เดียว(เอกัคคตา) ไม่ฟุ้งซ่าน(อวิกเขโป) ตั้งมั่นชอบ(สมาธิ).



คำว่า จิตสงบ นั้น ก็มีทั้ง

1.ที่ทรงสรรเสริญให้เจริญ เช่น ในพระสูตรที่ตรัสถึง "ความสงบใจในภายใน"(ในลักษณะที่เป็นไปด้วยดี)ว่า แม้นแต่พระเสขะบุคคล(อริยะบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล)ที่บรรยายด้วย "ผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม" ก็ยังสมควรที่จะขวนขวายที่จะเจริญจิตเช่นนี้ให้เกิดขึ้น

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/i ... &preline=0

สมาธิสูตรที่ ๓


[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายในจำพวก ๑
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน ทั้งได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรมจำพวก ๑

ๆลๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม แต่ไม่ได้ความสงบใจในภายใน พึงเข้าไปหาบุคคลผู้มีปรกติได้ความสงบใจในภายใน แล้วถามอย่างนี้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างไร พึงน้อมจิตไปอย่างไร พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นได้อย่างไร พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างไร
ผู้ถูกถามนั้นย่อมตอบเขาตามความเห็น ความรู้ว่า พึงตั้งจิตไว้อย่างนี้พึงน้อมจิตไปอย่างนี้ พึงทำจิตให้มีอารมณ์เดียวเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงชักจูงจิตให้เป็นสมาธิได้อย่างนี้ สมัยต่อมาเขาเป็นผู้มีปรกติได้อธิปัญญาและความเห็นแจ้งในธรรม ทั้งได้ความสงบใจในภายใน


ความสงบในพระสูตรนี้ เป็นความสงบที่จะมาใช้สนับสนุนการเจริญปัญญานั่นเอง


2.แต่ ในขณะเดียวกัน ก็ทรงตรัสเตือนว่า ไม่ให้ติดตัน หรือ ยินดีเพียงในชั้นความสงบนั้นๆ เช่น ในพระสูตร ฌานสูตร

ฌานสูตร นว. อํ. (๒๐๔)
ตบ. ๒๓ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๓ : ๓๙๐-๓๙๑

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา ..."


ความสงบในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น แม้นในความสงบ-ความสุข ที่อาจจะบังเกิดขึ้น



ดังนั้น

นอกเหนือจากว่า ภาวนาอย่างไรจิตจึงสงบแล้ว
ก็ต้องควรที่จะรู้จักด้วยว่า ความสงบนั้นๆเราจะต้องนำไปใช้ในสนับสนุนการเจริญปัญญา ไม่ใช่จบเพียงแค่สงบเฉยๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร