ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต : อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=23197
หน้า 3 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  poivang [ 25 มิ.ย. 2009, 22:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต

แต่ผู้อื่นจะรู้จิตของอีกคนได้อย่างไรว่าเขาหดหู่เศร้าหมองอยู่ (คิดเองหรือฝึกจนหยั่งรู้ได้ล่ะ) เขาอาจจะมีสุขใจอยู่กับเรื่องอื่นอยู่ก็ได้

เพราะเห็นว่าที่พูดว่า "ไม่อย่างนั้นมันจะฝังเรื้อรังอยู่ในจิตของเราคับ ของพวกนี้เก็บไว้มากๆ ไม่ค่อยดีเท่าไร" (พูดเสียดสี เอ๊ย!......หรือหวังดีหรือเปล่าน๊า.....ไม่แน่ใจ)จึงอยากรู้ว่าสอนให้ผู้อื่นฝึกเมตตาแล้วตนคนสอนได้ฝึกบ้างหรือเปล่าล่ะ? :b12:

ผมเจริญเมตตาควบคู่ไปกับการเจริญสติคับก็เลยมาแบ่งปันประสบการณ์

จริงเหรอ โม้หรือเปล่า?โกหกผิดศีลนะ :b12: คนฝึกเมตตาอะไรกันเขาจะพูดคล้ายๆเสียดสี เรื่องอย่างนี้ไม่ต้องกลัวคนอื่นเขาจะฝังเรื้อรังในจิตหรอกห่วงตัวเองดีกว่า ที่ตัวเองว่า"เราไม่มีความจำเป็นต้องไปรู้จิตผู้อื่นครับ จำเป็นเพียงแค่รู้จิตเราก็เพียงพอแล้ว"
ถ้าทำอย่างที่ว่าจริงคงไม่มาว่า"แต่จากข้อความที่ถกเถียงกันนั้นถ้าท่านอ่านจะสังเกตุได้ว่ามันมีโอกาสสูงที่ผู้อ่านหรือผู้แสดงความคิดเห็นจะเกิดความเศร้าหมองของจิตขึ้นมา" อย่างนี้หรอก ไหนบอกว่าไม่
ไม่มีความจำเป็นต้องไปรู้จิตผู้อื่นครับ จำเป็นเพียงแค่รู้จิตเราก็เพียงพอแล้ว ไงล่ะ :b12:

เนื่องจากการฝึกดูจิตนั้นในขณะที่มีจิตหดหู่ศร้าหมอง ก็ให้รู้ว่าจิตหดหู่เศร้าหมอง เป็นต้นไม่ต้องหนีไม่ต้องปฎิเสทอาการของจิต หนีไปเจริญเมตตาภาวนาหรอก ให้รู้เท่าทันเท่านั้นพอ เป็นการฝึกสติดูจิตโดยตรง ส่วนตรงนี้ไปฟังบรรยายมาค่ะตอนไปเข้าครอสอบรมสติ เขาสอนเช่นนี้ค่ะ


แต่จากข้อความที่ถกเถียงกันนั้นถ้าท่านอ่านจะสังเกตุได้ว่ามันมีโอกาสสูงที่ผู้อ่านหรือผู้แสดงความคิดเห็นจะเกิดความเศร้าหมองของจิตขึ้นมา เช่นข้อความนี้คับ "ไม่ร่วมเสวนาด้วยแล้วล่ะ แล้วแต่ความคิดเห็นและความเข้าใจอธิบายมากก็ยิ่งมากเรื่อง กลายเป็นการต่อล้อต่อเถียงกันไปไม่ยอมจบสิ้น เหมือนจะเอาชนะกันซะอย่างนั้น ไปทำกิจอื่นๆที่ต้องทำต่อดีกว่า บายดีกว่า" มันก็เท่านั้นเองคับ

คิดเองหรือเปล่าว่าเขาเศร้าหมอง ไม่ใช่เศร้าหมอง :b25: นีคือเอ๋อเลยลองใช้เม้าส์ชี้ดูสิ อารมณ์ที่เกิดคือรู้สึกเบื่อ รำคราญต่างหาก ขี้เกียจโต้เถียงด้วย ไม่ใช่หดหู่เศร้าหมองอย่างที่คุณเดา


จะสอนอะไรของคุณก็สอนกันไปเถอะ สงสัยเหมือนกันที่คุณๆมารู้สึกเดือดร้อนกล่าหาว่าบทความนี้ ว่าแต่ยุคนี้พวกวิปัสสนา (จริงๆ ไม่ใช่หรอก) ชอบมารุกรานพวกสมถะ เป็นคนๆเดียวกันหรือเปล่าหนา ไม่มีใครเขาคิดรุกรานสมถะหรอกคุณร้อนตัวไปเอง อธิบายตั้งยาวเยียดมากมายไว้แล้วยังไม่เข้าใจหรือ เบื่อไม่ใช่เศร้าหมอง แล้วก็อย่าเข้าข้างตนเองว่ามีเมตตาเสียจนนึกว่าผู้อืนเขาขาดเมตตา คนอื่นเขาอาจมีเมตตามากกว่าคุณก็ได้ ห่วงตัวเองเถิด ขอบคุณที่เป็นห่วงกลัวว่าจะฝังเรื้อรังอยู่ในจิต :b18: :b12:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 26 มิ.ย. 2009, 10:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต


กระทู้นี้ไมนิ่งๆ ไปครับ หลากหลายความเห็นไม่เสียอะไร ใครมีอะไรก็ว่ากันไป คล้ายๆแลกเปลี่ยนสินค้ากันไง :b1:


ไฟล์แนป:
00067.gif
00067.gif [ 297.78 KiB | เปิดดู 2048 ครั้ง ]

เจ้าของ:  poivang [ 26 มิ.ย. 2009, 12:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต

กระทู้อื่นๆของคนอื่นดีๆก็มีนะคะเข้าไปอ่านได้ความรู้หลากหลายกระทู้ค่ะ

บทความใหม่"เมื่อทุกข์ให้รู้ทุกข์ไม่หนีทุกข์"

เจ้าของ:  อายะ [ 26 มิ.ย. 2009, 12:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต

ถ้างั้นก็ขออภัยด้วยที่ทำให้คุณ poivang ไม่สบายใจ
แต่ถ้าคุณอ่านดีๆๆ ผมบอกว่าทำเมตตาทำเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น พอให้จิตราบเรียบแล้วจึงเจริญสติต่อไป ถ้าท่านใดมีโอกาศก็ทดลองดูได้ อย่างไรก็ตามเจตนาผมนั้นไม่ได้เข้ามาแสดงความเห็นนี้เพื่อก่อเวรกับใครแล้วก็ไม่ได้เจตนาเสียดสีด้วยคุณคิดไปเองทั้งนั้นเลยครับ ผมเพียงเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยปฏิบัติมาเท่านั้นแล้วเห็นว่ามันช่วยเสริมการเจริญสติเพราะว่าการเจริญสติอย่างเดียวมันหนักเอาการเปรียบเหมือนเดินกลางทะเลทราย(จะเห็นชัดถ้าเราปฏิบัติธรรมอย่างเดียวอย่างต่อเนื่องและไม่ทำกิจอย่างอื่นเลยซัก 7 วัน) เมตตาภาวนาเปรียบเหมือนร่มไม้กลางทะเลทราย เราหลบแดดเข้ามาพักนิดหน่อยแล้วก็เดินต่อไปไม่ล้มเลิกความพยายามสู่ทางสายเอก มันก็จะทำให้ถึงจุดหมายในที่สุดนะครับ

ผมขอให้คุณ poivang มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากโรคภัยนะครับ
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่านทั้งหลาย

เจ้าของ:  ไม่สายเกินไป [ 04 ก.ค. 2009, 22:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต

ถ้าจะถือแต่จิต....อันตรายมาก เล่ม 30 หน้า 282
....ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์ ๕ นี้ บัณฑิตทั้งหลาย
สรรเสริญอยู่ซึ่งความเสมอกันแห่งสัทธา (ความเชื่อ) กับปัญญาและสมาธิกับวิริยะ.
เพราะคนมีสัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน จะเป็นคนเชื่อง่าย
เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ.(เลื่อมใสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง)
ส่วนคนมีปัญญากล้า แต่สัทธาอ่อน จะตกไปข้างอวดดี จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้
เหมือนโรคที่เกิดแต่ยา รักษาไม่ได้ ฉะนั้น วิ่งพล่านไป
ด้วยคิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ ดังนี้แล้ว ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก.

ต่อธรรมทั้ง ๒ เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้.
โกสัชชะ (ความขี้เกียจ) ย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้าแต่วิริยะ(ความเพียร) อ่อน
เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้า แต่สมาธิอ่อน
เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว
จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้วจะไม่ตกไปในอุทธัจจะ
เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า อัปปนา (สมาธิแน่วแน่) จะมีได้ ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง ๒......

เห็นพูดกันเรื่องจิตเลยเอาพระสูตรนี้มาให้ดูแก้เซ็ง อ่านกันแล้วคงเข้าใจกันนะคะ

หน้า 3 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/