วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
(ที่มา : fb. บ้านจิตสบาย แหล่งเรียนรู้และภาวนาโดยการเจริญสติ)


การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต


การเรียนรู้เกี่ยวกับจิตเรียกว่า ฝึก “อธิจิตตสิกขา” เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (จิต) หนึ่งในการฝึกสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (กาย) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (เวทนา) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (จิต) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ธรรม)

คำว่าอธิจิตหมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตให้ละเอียด ให้รู้ทุกอาการของจิตที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ให้รู้ว่าจิตไหนเป็นกุศล จิตไหนเป็นอกุศล จิตแบบไหนเป็นสมถะจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนา จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตมีเมตตา จิตดี จิตไม่ดี จิตที่ใช้การได้ดี จิตที่ใช้การไม่ได้ ให้รู้เท่าทันเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างไร ก่อทุกข์อย่างไร ศึกษาเรียนรู้อาการทางใจ นี้เรียกว่าฝึกอธิจิต เรียนรู้จิตให้ละเอียด

โดยส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องจิต พอจะฝึกสมาธิหรือทำกรรมฐานที ก็มาฝึกให้จิตมันนิ่งๆ ซึมๆ ทื่อๆ อยู่ แต่ความจริงเราไม่ได้ฝึกจิตให้นิ่ง เราฝึกเพื่อเรียนรู้จิตให้ละเอียด ให้รู้จักจิตทุกชนิด เช่นนี่จิตโลภ นี่จิตโกรธ นี่จิตหลง นี่จิตเป็นกุศล นี่จิตเป็นอกุศล จิตมันหลงเป็นแบบนี้ จิตรู้เป็นแบบนี้ เป็นต้น

เมื่อรู้เท่าทันก็ไม่หลงไปตามอาการชั่วคราวของจิต จะได้จิตประเภทหนึ่งขึ้นมาคือจิตที่มีสมาธิ หมายถึงจิตที่มีความตั้งมั่น ตั้งมั่นในการรับรู้อารมณ์ที่ผ่านมาผ่านไป ไม่หลงยินดียินร้ายไปตามปรากฏการณ์ต่างๆ จิตเกิดความตั้งมั่นเพราะรู้ทันหมดแล้ว ไม่หลงไปตามอาการของจิตที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว

ที่จิตไม่ตั้งมั่นเพราะหลงอาการชั่วคราวของจิต เช่นความเบื่อเกิดขึ้นใจกระเพื่อมไปตามเหมือนตกวูบ มันคือการหลงอาการของจิต พอจิตเบาสบายเกิดขึ้นจิตก็กระเพื่อมไปอีกทาง จิตกระเพื่อมบ่อยๆคือจิตไม่มีสมาธิ

สมาธิจิตแนวทางวิปัสสนา (สมาธิที่มีอยู่ในจิต ไม่ใช่สมาธิที่นั่งทำกันชั่วครั้งชั่วคราว ๓๐ นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง แล้วหยุดพัก พอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่มีสมาธิต่อแล้ว) สมาธิจิตนั้นทำขึ้นมาไม่ได้ มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกจิตตนเอง ที่เรียกว่าฝึกสติสัมปชัญญะ

ในตอนต้นควรฝึกจิตให้มีศีลก่อน ศีลแปลว่าปกติ ให้จิตเป็นปกติก่อน รู้เท่าทันความยินดียินร้าย พอใจไม่พอใจ ชอบใจไม่ชอบใจ เมื่อรู้แล้วจิตก็ไม่หลงไปทำตาม ไม่หลงไปยินดียินร้าย ไม่หลงไปพอใจไม่พอใจ ไม่หลงไปชอบไม่ชอบ ต่อมาก็มาเรียนรู้จิตใจตนเอง นี่เป็นลักษณะการฝึกตนทางพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกแบบวิปัสสนา ต้องรู้เท่าทันจิตใจตนเองและต้องรักษาศีลเอาไว้ ทำไมต้องรักษาศีลเอาไว้เพราะเราไม่ได้กดข่มกิเลสไว้ จึงต้องมีศีลเป็นเครื่องป้องกันเป็นเกราะกำบังเอาไว้

จะต่างจากพวกทำสมถะอย่างเดียว พวกนั้นเขาใช้วิธีปฏิเสธกิเลส หนีไปอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพื่อไม่ให้กิเลสมันเกิดขึ้น เช่นกำหนดจิตไปอยู่กับลมหายใจ ไปอยู่กับท้อง ไปอยู่กับคำบริกรรม เป็นต้น

แต่วิปัสสนาใช้วิธีการรับรู้อารมณ์ตามปกติ แล้วดูปฎิกริยาตอบสนอง ไม่ได้ห้ามกิเลสแต่ให้รู้กิเลส รู้ความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ รู้ความรู้สึกไม่เป็นกลางจนกระทั่งจิตเป็นกลาง ฉะนั้นจึงต้องตั้งเจตนาเอาไว้ก่อนที่จะฝึกฝนจนเห็นตัวตนแท้ๆ ว่ามีกิเลสเยอะขนาดไหน สมกับที่เรียกเราว่าปุถุชนคือคนที่หนาแน่นด้วยกิเลส

ถ้าฝึกฝนปฏิบัติธรรมแล้วยังไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงได้ (คือบุคคลที่มีความหนาแน่นไปด้วยกิเลส) แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริงยังปลอมอยู่ ยังรักษาหน้า ยังทำตัวเป็นคนดี เป็นการรักษาภาพฝ่ายดีอยู่ ตามปกติคนเรานี้จะทำดีและทำไม่ดีตามเหตุปัจจัย เช่น เหตุให้ทำดีมาจากความเมตตา กรุณา เป็นต้น เหตุที่ทำไม่ดีมาจากกิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

ความจริงคนเรามีกิเลสทุกคน การฝึกวิปัสสนาจะทำให้เราเห็นกิเลสในตนเอง แต่การฝึกสมถะจะเป็นการหนีกิเลสในตัวเองทำให้มองไม่เห็นกิเลสเพราะจิตที่สงบมาบังกิเลสไว้ แต่ถ้าเห็นว่าตัวเรานั้นหนาไปด้วยกิเลส เห็นว่าเราทำ พูด คิดไปตามกิเลส กิเลสมันสั่งให้เรา ทำ พูด คิด

ถ้าเห็นอย่างนี้ได้เรียกว่าได้รู้จักตัวเองแล้ว เช่นเราทานส้มตำเราจำเป็นต้องทานหรือทานเพราะความอยาก เราไปเที่ยวทะเลเราจำเป็นต้องเที่ยวทะเลหรือเราอยากไปเที่ยวดูทะเล เพื่อนทำอะไรให้เราไม่พอใจมาก เราว่าเพื่อนแรงๆ เราว่าเพื่อนเพราะอารมณ์โกรธ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กิเลสสั่งให้ทำตามทั้งนั้น

เราต้องยอมรับความจริงว่าเราคือปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส จะพูดคำหนึ่งก็กิเลสสั่งพูด จะทำอะไรนิดหน่อยแม้แต่งานบุญบางครั้งก็กิเลสสั่งให้ทำ ไม่ใช่บางครั้งด้วยนะหลายๆ ครั้ง ให้รู้ทันจิตใจตนเอง พอเรารู้แล้วจะไม่หลงอาการของจิต เมื่อไม่หลงอาการของจิตจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา

เป็นคนรู้ คนดู แค่รู้ แค่ดู ดูจิตอย่างเป็นกลางๆ เมื่อจิตตั้งมั่น มาฝึกเรียนรู้จิตซึ่งเป็นการฝึกอธิปัญญาสิกขา จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของกายของใจ


อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง
http://www.ajsupee.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


การตามดูอารมณ์นั้น เป็นการฝึกสติ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการทำสมาธิต่อไป
การฝึกสติ ย่อมไม่ใช่ การตั้งมั่น คนละลักษณะกันเลย แต่มันมีประโยชน์มากในยุคสมัยนี้ เพราะสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัวกันเยอะ

บางคนทำสมาธิไม่ได้ เพราะจิตฟุ้งซ่านมาก ต้องใช้การกดข่มบังคับใจตนเอง พักหนึ่งก็จะอึดอัด เลยพาลคิดไปว่า สมาธินั้นไม่ดี เป็นการกดข่มชั่วคราว พอหันมาตามดูอารมณ์ รู้สึกสบายดี ก็พาลคิดไปอีกว่า วิปัสสนามันดีอย่างนี้เอง
จริงๆ แล้ว มันเป็นพื้นฐานของสมาธิ ทั้งสมถะและวิปัสสนา และจะว่าไปแล้ว การตามดูอารมณ์นั้น น่าจะถือว่า เป็นขั้นเตรียมการ สำหรับสมาธิด้วยซ้ำไป คือฝึกสติให้อยู่กับตัว รู้เท่าทันในอารมณ์เท่านั้น


บางคนบอกว่า สมถะสมาธิเป็นการกดกิเลสชั่วคราว เชื่อได้เลยว่า คนที่พูดนั้น ทำสมาธิได้เพียงระดับพื้นฐาน และก้าวต่อไปไม่ได้ เพราะกิเลสยังหนาแน่น แล้วก็นะ พอหันมาตามดูอารมณ์ กิเลสก็ยังหนาแน่นอยู่ดี...

ตบท้ายว่า วิปัสสนาสมาธิแบบแท้ๆ นั้น อิงอยู่กับสมถะอย่างแยกไม่ได้ วิปัสสนาญาณระดับสูงทั้งหลาย ล้วนต้องใช้ความสามารถของสมถะ เราไม่แม่นในปริยัตินะ แต่ขอยกตัวอย่างว่า
สังขารุเปกขาญาณ (การวางเฉยในสังขาร) คนที่จะมีวิปัสสนาญาณอันนี้ ต้องมีอุเบกขา ซึ่งจะได้เมื่อเข้าถึงฌาณ 4 ในสมถะสมาธิ การวางเฉยไม่ได้หมายถึง อดทนเก่งจนไม่แสดงออกนะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าคุณmurano สงสัยเรืองนี้คุณคงต้องไปถามอาจารย์เขาเอง เขาเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาที่มีชื่อคนหนึ่ง ผู้ลงบทความได้นำบทความมาจากหนังสือวิถีแห่งพุทธะ อาจารย์ก็บอกว่าการฝึกสติตอนแรกก็ยังเป็นสมถะอยู่ แต่ใช้แค่ขณิกสมาธิหรืออุปจารสมาธิพอ ไม่ต้องใช้ถึงอัปนาสมาธิซึ่งทำให้จิตนิ่งแช่ใช้การอันควรไม่ได้
ฉะนั้นการฝึกระดับต้นนี้คือความตั้งมั่นน่ะถูกแล้วเพราะเป็นสมาธิขั้นต้น วิปัสสนาก็อิงสมาธิระดับต้นอยูแล้วล่ะ ถ้าไม่มีสมาธิจิตจะตั้งมั่นอย่างมีสติได้อย่างไร แต่ไม่ได้ทำเพื่อข่มกิเลสแต่เพื่อประครองสติ จุดประสงค์การใช้สมาธิขั้นต้นเป็นไปคนละอย่างกับการทำสมถะ ซึ่งสมถะนั้นเขาไปถึงอัปปนาสมาธิไปถึงการได้ฌาณ ก่อนสมัยพุทธกาลก็มีการทำสมถะอยู่ก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าท่านมาสอนเรื่องสติ ตราบใดที่ฝึกสติจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้นั่นแหละถึงจะเรียกว่าวิปัสสนา แต่แนวสติปัฏฐาน๔นี้แหละเป็นทางสายเอกที่จะฝึกไปเพื่อการพ้นทุกข์ได้โดยตรงไม่อ้อมค้อม



ที่ว่า : การตามดูอารมณ์นั้น เป็นการฝึกสติ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการทำสมาธิต่อไป
ขอตอบ : การฝึกสติไม่ได้ทำไปเพื่อให้มีสมาธิต่อไปไม่มีจุดมุ่งหมายในขั้นสมาธิชั้นสูง แต่ฝึกเพื่อให้รู้เท่าทันจิต รู้ทันอารมณ์ รู้เท่าทันกิเลสที่เกิด เพื่อให้เกิดปัญญาไม่ใช่ให้เกิดสมาธิต่อไป

ที่ว่า : การฝึกสติ ย่อมไม่ใช่ การตั้งมั่น คนละลักษณะกันเลย
ขอตอบ : การฝึกสติขั้นต้นอิงสมาธิขั้นต้นนั่นเองจึงเป็นการตั้งมั่นเพื่อมีสติ


ที่ว่า : บางคนทำสมาธิไม่ได้ เพราะจิตฟุ้งซ่านมาก ต้องใช้การกดข่มบังคับใจตนเอง พักหนึ่งก็จะอึดอัด เลยพาลคิดไปว่า สมาธินั้นไม่ดี เป็นการกดข่มชั่วคราว พอหันมาตามดูอารมณ์ รู้สึกสบายดี ก็พาลคิดไปอีกว่า วิปัสสนามันดีอย่างนี้เอง
ขอตอบ : การฝึกสมาธิจะใช้การกดข่มบังคับใจตนเองไม่ได้ เพราะกดข่มไปก็ไม่เกิดสมาธิ เพราะสมาธิเกิดจากใจที่สบายๆจึงจะเกิดสมาธิได้ การไปกดข่มจะทำให้เครียดมากกว่าที่จะเป็นสมาธิ
การคิดว่าวิปัสสนาดีไม่ใช่เพราะทำสมาธิไม่ได้จึงไปฝึกวิปัสสนา เข้าใจผิดแล้วคนที่เขาฝึกทางวิปัสสนานั้นเพราะจุดประสงค์ไม่ตกเป็นทาสกิเลสเพื่อพ้นทุกข์ทางตรง



ที่ว่า : บางคนบอกว่า สมถะสมาธิเป็นการกดกิเลสชั่วคราว เชื่อได้เลยว่า คนที่พูดนั้น ทำสมาธิได้เพียงระดับพื้นฐาน และก้าวต่อไปไม่ได้ เพราะกิเลสยังหนาแน่น แล้วก็นะ พอหันมาตามดูอารมณ์ กิเลสก็ยังหนาแน่นอยู่ดี..."
ขอตอบ : สมถะสมาธิเป็นการกดกิเลสชั่วคราวนั่นถูกต้องเพราะการทำสมาธิทำให้จิตสงบยิ่งจิตสงบถึงขั้นอัปปนาสมาธิจิตรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวสงบมาก กิเลสต่างๆไม่สามารถเข้ามาแทรกได้ ณ ขณะนั้นจิตจึงไม่มีกิเลสชั่วคราว ที่เขาเปรียบเทียบเหมือนก้อนหินทับหญ้า คือเปรียบก้อนหินเหมือนสมาธิและหญ้าเหมือนกิเลสขณะที่มีหินทับหญ้าอยู่หญ้าก็ไม่สามารถเติบโตได้ฉันใคขณะที่มีสมาธิอยู่กิเลสก็ไม่สามารถแสดงตัวได้ฉันนั้น แต่เมื่อออกจากสมาธิแล้วกิเลสก็แสดงตัวได้อีกเหมือนยกหินออกจากหญ้าหญ้าก็ฟื้นตัวอีกครั้ง

ถึงแม้ทำสมาธิระดับสูงได้ก็ไม่ทำให้ตัดกิเลสได้เพียงระงับหรือข่มกิเลลสเท่านั้น เหมือนพระเทวพัตที่ท่านมีสมาธิสูงจนได้ฌานเหาะเหินเดินบนอากาศได้ มีฤทธิ์มากมาย แต่ยังมีกิเลสอยู่ มีโทสะทำร้ายพระพุทธเจ้าจนต้องธรณีสูบ นี่ก็เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าผู้ที่มีสมาธิระดับสูงยังมีกิเลสยังไม่พ้นทุกข์ ส่วนการฝึกสตินั้นฝึกไปเรื่อยๆเมื่อสติตามทันกายใจ สตินี่แหละจะก่อให้เกิดปัญญานำมาซึ่งการตัดกิเลสได้เอง
ทุกคนมีกิเลสหนาแน่นทุกคนแต่ถ้าหลอกตัวเองอยู่จะยอมรับความจริงไม่ได้เท่านั้นเอง การฝึกสติก็เพื่อให้เรารู้เท่าทันจิตที่มีกิเลสหนาแน่นนั่นเอง ให้รู้เท่าทันจิตตามความเป็นจริง


ถ้าคุณสงสัยอยากรู้ที่อาจารย์สุภีร์ ทุมทองสอนลองหาดูในเน็ตก็ได้ เพราะผู้ลงบทความไม่มีเบอร์โทรและที่อยู่ของอาจารย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 745


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
สังขารุเปกขาญาณ (การวางเฉยในสังขาร) คนที่จะมีวิปัสสนาญาณอันนี้ ต้องมีอุเบกขา ซึ่งจะได้เมื่อเข้าถึงฌาณ 4 ในสมถะสมาธิ การวางเฉยไม่ได้หมายถึง อดทนเก่งจนไม่แสดงออกนะ...


ที่มาตรงนี้ขอแก้นะงับ ขอบอกตามตรงเลยว่า จาการปฎิบัติไม่จำเป็ฯต้องใช้ อุเบกขาจากฌาน 4 นะงับ
ต้องเข้าใจให้ดีว่า ถ้ามาจากองค์ฌาน มันจะอยู่ไม่ได้นะงับ ต้องเป็นที่เกิดจากจิตยอมรับเท่านั้น

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
สังขารุเปกขาญาณ (การวางเฉยในสังขาร) คนที่จะมีวิปัสสนาญาณอันนี้ ต้องมีอุเบกขา ซึ่งจะได้เมื่อเข้าถึงฌาณ 4 ในสมถะสมาธิ การวางเฉยไม่ได้หมายถึง อดทนเก่งจนไม่แสดงออกนะ...


การทำวิปัสสนาไม่ต้องได้ฌาน๔ ไม่เกี่ยวข้องกับฌานในสมาธิเลย การทำวิปัสสนาใช้สมาธิขั้นต้นเท่านั้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสมาธิและวิปัสสนาก็จะทำให้เข้าใจผิดตีกันยุ่ง ถ้าไม่รู้จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา ไม่เข้าใจความจริงของสัจธรรมก็จะเห็นผิดได้ จะทำให้ผู้อื่นที่ไม่ค่อยเข้าใจพลอยเข้าใจผิดไปด้วย

ขอเสริมสักหน่อยว่าจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านสอนให้รู้ความเป็นจริงของสัจธรรม สัจธรรมคืออะไร สัจธรรมก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความไม่เที่ยง ความคงทนอยู่ไม่ได้ ความไม่มีตัวตน ให้เข้าใจเรื่องกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น บางคนก็ยังไม่เข้าเรื่องทาน ศีล สมาธิ ว่าทำไปเพื่ออะไร มีจุดประสงค์อะไรกัน แต่ถ้าทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิที่เป็นไปเพื่อกิเลสก็ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าสอนให้ตัดกิเลส

เช่น การทำทานที่เป็นไปเพื่อกิเลสคือทำทานหวังผล ทำนั่นเพื่อหวังนี่ ทำนี่หวังนั่น เป็นต้น บางคนรักษาศีลเพราะหวังว่าชาติหน้าจะสวยก็มี ทำสมาธิหวังเพื่ออ่านจิตคนได้จะได้รู้ว่าเขาคิดอย่างไรกับเรา หรืออยากรู้เห็นเรื่องอนาคตแล้วนำมาเล่าอวดคนอื่นได้ ได้ฌานมีฤทธิ์เหนือผู้อื่น เพื่อเขาจะได้มาเคารพนบน้อมเพราะเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น นี่ก็เป็นการเห็นที่เป็นมิจฉาทิฎฐิไม่ตรงตามธรรมะคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ใช่เส้นทางพ้นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแย้งว่า อุเบกขาไม่สามารถได้มาโดยปราศจากฌาณสมาธิ บททดสอบง่ายๆ ก็คือ เวลาเราเป็นไข้ เราสามารถทำสมาธิได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ มันก็หมายความว่า อุเบกขาที่เราคิดว่ามีนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่ เป็นเพียงการวางเฉยในยามปกติเท่านั้น
และการจะได้อุเบกขาในเวลาที่สังขารกำลังทรุดนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียมิได้ คือจิตที่แน่วแน่เป็นหนึ่ง (ไม่งั้นจะละสังขารได้ยังไง) คือรวมจิตไว้ให้ปลอดจากการรบกวนทางกาย แต่ไม่ได้หมายถึง ดับ นะ

การจะได้ สังขารุเปกขาญาณ นั้น ไม่ใช่หมายถึงว่า ต้องอยู่ในฌาณ 4 ตลอดเวลา แต่ถ้าเรายังไม่เคยได้ฌาณระดับนั้น ก็แสดงว่า จิตเรายังไม่ได้ก้าวถึงขั้น อุเบกขา

จริงอยู่ อุเบกขานั้นอาจได้มาจากวิปัสสนาสมาธิ แต่บอกได้เลยว่า วิปัสสนาที่ว่านั้น ไม่ใช่การตามดูอารมณ์แบบพื้นๆ แน่นอน
ที่สำคัญ เมื่อได้อุเบกขาแล้ว ก็ย่อมได้ฌาณ พระอรหันต์อาจมีอภิญญาหรือไม่ก็ได้ แต่ พระอรหันต์ทุกรูปย่อมมีฌาณ
มันจึงเหมือน 2 หนทาง จะวิปัสสนาจนได้ฌาณ หรือได้ฌาณแล้วจึงวิปัสสนา


เรื่องพระเทวทัตนั้น เป็นตัวอย่างคลาสิกที่เอ่ยถึงกันบ่อยมาก และโดยมากมักเอ่ยโดยมีนัยยะว่า สมถะนั้นไม่ดี คนมีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งปฏิบัติได้ลึกและผิวเผิน พวกสมถะที่เพี้ยนก็ชอบตั้งตนเป็นผู้วิเศษ แต่พวกที่วิปัสสนาจนเพี้ยนไปไม่มีหรือ ที่เที่ยวตั้งตนเป็นศาสดานั้น ไม่ใช่วิปัสสนาหรือ...


ปล. วิปัสสนาญาณนั้น มีหลายอย่าง ถ้านึกครึ้มขึ้นมาเมื่อไร และคิดว่ามีความรู้เพียงพอ จะเอามาแยกให้ดูว่า แต่ละญาณนั้น จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง


เพิ่มเติม: ที่เราคิดว่า คนที่โจมตีสมถะว่าไม่ดีนั้น มักเป็นคนที่ทำสมาธิไม่ได้ ก็เพราะว่า เหตุผลมันดูแปร่งๆ ถ้าเขาหันมาตามดูอารมณ์แล้ว ปรากฎว่าบรรลุฌาณชั้นสูง ก็น่าคิด แต่มันดูเหมือนว่า เพราะแรงที่จะกดกิเลสมันไม่มี เลยปล่อยให้กิเลสมันวิ่งพล่านไป แล้วตามดูมัน... (ซึ่งแปลว่า กิเลสยังหนาแน่นอยู่ดี) แต่เพื่อปลอบใจตนเอง เลยบอกไปว่า สมถะนั้นไม่ใช่แนวทางที่ดี (องุ่นเปรี้ยวมะนาวหวาน)
ซึ่งจะว่าไป ก็ขัดพระไตรปิฎกเหมือนกันนะ เห็นเคยมีการยกขึ้นมา ทำนองว่า สมถะสมาธิทำให้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหลาย
พูดแบบภาษาชาวบ้านคือ หินทับหญ้าไปนานๆ หญ้าก็ตายเหมือนกัน แต่ตามดูต้นหญ้ามันสูงขึ้นเรื่อยๆ มันไม่ทำให้หญ้าตายหรอก แต่เพียงรู้เท่าทันเท่านั้นว่า มีหญ้าเยอะแค่ไหน

นี่คือเหตุผลที่ทำให้เราบอกว่า การตามดูอารมณ์นั้น คือการฝึกสติ และเป็นพื้นฐานของสมาธิทั้งสมถะและวิปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้ แสดงโดย ท่านพุทธทาส

ชาวพุทธในยุคปัจจุบันทุกๆท่าน สมควรได้อ่าน



จาก หนังสือ โพธิปักขิยธรรม


เรื่องแรก คือ เรื่อง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอากายมาเป็นอารมณ์ เป็นวัตถุสำหรับตั้งสติ;-
ในที่นี้เราจะเอากายตามความหมายธรรมดา คือเนื้อหนังร่างกายนี้ ; เอาเนื่องหนังร่างกายมากำหนด
....ๆลๆ...
.........................

คำว่า กายนี้ ยังหมายถึงลมหายใจด้วย เพราะว่า ลมหายใจ นั้นเนื่องอยู่กับกาย แล้วปรุงแต่งกาย หรือ เป็นตัวชีวิตนั่นเอง. พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่ากายเป็นชื่อๆหนึ่งของลมหายใจ ลมหายใจนี้มันปรุงแต่งกาย กายขาดเครื่องปรุงแต่งเมื่อไรก็สลายเมื่อนั้น . .ดังนั้น ลมหายใจจึงถูกเรียกว่ากายด้วย.

ตั้งสติอย่างที่๑ คือ ถ้าเอากายลมหายใจมากำหนด เหมือนกำหนดอานาปานสติขั้นแรกๆ : หายใจยาวรู้ว่าหายใจยาว หายใจสั้นรู้ว่าหายใจสั้น. กำหนดกายเพียงเท่านี้ อย่างนี้ เป็น สมถะ มีผลทำให้หยุดความฟุ้งซ่านกระวนกระวาย แม้จะทำไปได้มากจนถึงเป็นฌาน เป็นสมาบัติสูงสุด มันก็อยู่แค่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ ไม่เป็นทุกข์ แต่ยังไม่หายโง่. นี่กำหนดที่ร่างกายนี้ก็ดี กำหนดที่ลมหายใจก็ดี เพียงประโยชน์แค่ความสงบ หยุดฟุ้งซ่าน นี้อย่างหนึ่ง เรียกว่าตั้งสติไว้อย่างสมถะ.

อย่างที่สอง ตั้งสติอย่างวิปัสสนา หรือ ปัญญา .ตอนนี้เมื่อใจคอปกติดีแล้ว ก็พิจารณากายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ลมหายใจนั้นก็ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา .ชาวบ้านเรียกว่า ยกพระไตรลักษณ์เข้ามาจับ หรือว่า ยกอารมณ์ขึ้นไปสู่พระไตรลักษณ์ก็ได้เหมือนกัน .ยกพระไตรลักษณ์มาใส่ หรือ ว่ายกอารมณ์นี้ไปหาพระไตรลักษณ์ก็เหมือนกัน .ให้มาพบกับพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็แล้วกัน.ถ้าเพ่งอย่างนี้ เพ่งกายนั่นละ แต่เพ่งอย่างนี้เรียกว่า ตั้งสติอย่างปัญญา หรืออย่าง วิปัสสนา.

เรื่อง “ความเพ่ง “ นี้ ก็ได้พูดให้ฟัง กันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว .คำว่า เพ่ง คือ ฌานะ แปลว่าเพ่ง. ฌาน นี้แปลว่าเพ่ง . ถ้าเพ่งอย่างกำหนดอารมณ์ก็เป็นสมถะ ถ้าเพ่งลักษณะให้รู้ความจริงก็เป็นปัญญาหรือวิปัสสนา มันมีอยู่สองเพ่ง. คำว่าเพ่งใช้สับสนปนเปกันไปหมดจนลำบาก พวกที่แปลเป็นภาษาฝรั่งก็ใช้ผิดๆ จนฝรั่งอ่านไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่ได้เรื่องที่แท้จริง มันปนกันหมดระหว่างคำว่า meditate concentrate speculate อะไรนี้ ปนกันยุ่งไปหมด

ถ้าจะเอาเป็นหลักเป็นเกฌฑ์ meditate นี้เป็นเพ่งเฉยๆ เพ่งอย่างไรก็ได้ . ถ้า meditate ลงไปในวัตถุนั้นก็เป็น concentrate คือ รวบรวมจิต กระแสจิตทั้งหมดมาจดจ่ออยู่ที่สิ่งนี้สิ่งเดียวเป็น concentrate . ถ้าเพ่งรายละเอียด หาข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กลายเป็น speculate ก็รู้ข้อเท็จจริงอันละเอียดลึกซึ้งออกไป .เดี๋ยวนี้เอาคำว่า concentrate กับ meditate มาใช้ปนกันยุ่ง ในหนังสือที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศมันก็ลำบาก . แม้แต่ในภาษาไทยนี้ก็ยังลำบาก.

ต้องไปหาหลักที่ถูกต้องและแน่นอนว่า
คำว่า ฌานะ แปลว่า เพ่ง .
ถ้าเพ่งอารมณ์ก็เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น แล้วเป็นสมถะ.
ถ้าเพ่งหาความจริงอย่างลึกซึ้งก็เป็นปัญญา หรือ เป็นวิปัสสนา.

คำว่า สติปัฏฐาน คำเดียวนี้ มีความหมายสองอย่าง แยกไปในทางสมถะก็ได้ แยกไปในทางวิปัสสนาก็ได้ .
เหมือนอย่างที่พูดแล้ว สำหรับกายว่าเป็นอย่างไร . เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น คือ เพ่งกายให้จิตหยุดอยู่ที่นั่นก็เป็นสมถะ .เพ่งกาย ให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา.



เรื่องที่สอง เวทนานุปัสสสนาสติปัฏฐาน เอาเวทนามาเพ่งเป็นอารมณ์ ;-
.....ๆลๆ......
......................



เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา


ๆลๆ......
.................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ่อ....ถึงสังขารานุเบกขาญาณกันแล้ว....
อีกไม่นานคงถึง.....มัคคะ-ผละ-ปัจจเวกขณะ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต ร่วมสนทนาด้วยน่ะครับ

ประเด็นของกระทู้นี้ กำลังเป็นที่สนใจของสังคมชาวพุทธ


อ้างคำพูด:
คำว่าอธิจิตหมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตให้ละเอียด




เรื่อง อธิจิตตสิกขา ใน ไตรสิกขา นั้น

จาก พจนานุกรม

อธิจิตตสิกขา การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตต์ เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิตในให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา
(ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ



ในอริยมรรคที่มีองค์แปด อธิจิตตสิกขา ก็ประกอบด้วย สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
จุดมุ่งหมายใน อธิจิตตสิกขา ก็ คือ การปรากฏแห่งสัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค(อริยสัมมาสมาธิ) นั่นเอง

อริยสัมมาสมาธิ นี้ หมายถึง เอกัคคตาจิตที่แวดล้อมด้วยเจ็ดอริยมรรค(มหาจัตตารีสกสูตร และ ปริกขารสูตร) หรือ เอกัคคตาจิตที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์(สัทธาสูตร) หรือ จิตที่มีสมาธิสัมโพชฌงค์(ในโพชฌงค์เจ็ด)
นี่ คือ สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนเอาไว้. เป็นธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชาคู่กับวิปัสสนา....หาใช่ว่า ฤาษีชีไพรนอกพระศาสนาไหนๆจะมารู้จักได้

แม้น อาฬารดาบส และ อุทกดาบส ก็ไม่รู้จักสมถะเช่นนี้ เพราะ สัมมาสมาธิเป็นองค์รวมที่ประชุมแห่งอริยมรรคเจ็ดข้อก่อนหน้านั้น.... ซึ่ง อาฬารดาบส และ อุทกดาบส ไม่รู้จักอนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสวะสัมมาสังกัปปะ(เพราะ ตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้) จึงเรียกได้ว่า ไม่มีเข็มทิศในการเจริญสมาธิภาวนา สมถะของท่านดาบสจึงไม่เป็นไปในแนวแห่งอริยมรรค


ใน มหาจัตตารีสกสูตร
ทรงแสดง เพราะมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงบริบูรณ์ และ เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงบริบูรณ์
ทำไม ถึงไม่แสดง สัมมาสติไปสู่สัมมาญาณะเลย

ในสัทธาสูตร
ทรงแสดง สตินทรีย์นำไปสู่ สมาธินทรีย์ และ สมาธินทรีย์นำไปสู่ปัญญินทรีย์
ทำไม ถึงไม่แสดง สตินทรีย์ไปสู่ปัญญินทรีย์เลย


ที่ผมกล่าวอย่างนี้ เพราะ เมื่อเร็วๆนี้ ได้ฟังท่านวิทยากรท่านหนึ่ง ท่านบรรยายธรรม....ผมฟังอยู่นานมาก.... ท่านจะพูดถึง เพราะมีสติจึงมีปัญญา เพราะมีสติจึงมีปัญญา เพราะมีสติจึงมีปัญญา ๆลๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง.....
ฟังประโยคนี้อยู่นานมาก ไม่ได้ยินการบรรยายคำว่า สมาธิ ปรากฏให้ได้ยินเลย!!!

ยังประหลาดใจว่า ...นี่ ตกลงท่านจะตัดสัมมาสมาธิออกจากอริยมรรค โดยยกให้เป็นลิขสิทธิ์ของฤาษีนอกพระพุทธศาสนาไปเสียแล้วหรือ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โดยส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องจิต พอจะฝึกสมาธิหรือทำกรรมฐานที ก็มาฝึกให้จิตมันนิ่งๆ ซึมๆ ทื่อๆอยู่



นี่ คือ การเจริญสมาธิภาวนาที่ผิดครับ

เพราะปราศจากสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงไม่บริบูรณ์

สัมมาสมาธิ ที่ถูกต้อง ต้องมีความคล่องแคล่วเหมาะแก่การงาน(กัมมนิโย)หาใช่ซึมๆ ทื่อๆ.... ต้องมีความนุ่มนวล(สมาหิโต).... ต้องมีความบริสุทธิ์ผ่องใส(ปริสุทโธ)

ท่านผู้รู้ ท่านไม่ได้สอนให้เจริญสมาธิภาวนาแบบที่บทความนั้นกล่าวหรอกครับ

การไปเอาสิ่งที่ผิดมาพูดเป็นประเด็น แล้ว สรุปว่า สมาธิภาวนาทั้งหมด นั้น ไม่ดี ก็คงไม่ถูก



อ้างคำพูด:
สมาธิจิตแนวทางวิปัสสนา (สมาธิที่มีอยู่ในจิต ไม่ใช่สมาธิที่นั่งทำกันชั่วครั้งชั่วคราว ๓๐นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง แล้วหยุดพัก พอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่มีสมาธิต่อแล้ว )


จริงๆแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่ได้สอนให้ พอเลิกเจริญสมาธิภาวนา แล้ว ทิ้งสติเลย เสียเมื่อไร

ท่านก็สอนกันอยู่แล้วนี่ครับ

ลองอ่าน


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

"....อีกอันหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อเราหยุดทำกรรมฐานแล้ว เมื่อเราเลิกทำกรรมฐานแล้ว จิตที่ไม่ฉลาด ก็จะเลิกไปเลย ไม่มีความรู้สึกนึกคิด

ในการทำงานของเรา ความเป็นจริงนั้น เมื่อเราจะออกจากสมาธิ เรา ก็รู้จักว่าเราออก ออกมาแล้ววางเป็นปกติไว้ ***ให้มีความรู้สึก มีสติติดต่อกันเสมอ*** ไม่ใช่ว่าเรา จะทำความสงบเฉพาะเวลานั่งสมาธิ

เพราะว่าสมาธิคือ ความตั้งใจมั่น เราเดินอยู่เราก็ทำใจเราให้มั่น ให้มีอารมณ์มั่นเสมอ มีสติสัมปชัญญะอยู่ต่อไปเสมอ ออกจากที่นั่งแล้ว หูเราได้ยินเสียง ตาเห็นรูปที่เราเดินไป นั่งรถไปก็ตามเถอะให้รูสึก ***มีอะไรที่มันชอบใจหรือไม่ชอบใจ เกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้สึกว่า อันนี้มันไม่แน่ อันนี้มันไม่เที่ยง ตลอดเวลาอย่างนั้น จิตใจจะสงบปกติ***

เมื่อจิตสงบเช่นนี้แล้ว เราจะต้องเอาจิตอันนี้พิจารณาอารมณ์ เช่นว่า รูปร่างกายทั้งหมดนี้ก็ต้องพิจารณา พิจารณาเมื่อไรก็ได้ เรานั่งสมาธิก็ได้ เราอยู่บ้านก็ได้ เราทำงานอยู่ก็ได้ อะไรๆ เราก็ทำได้ เรานั่งพิจารณาอยู่เสมอ แม้เห็นต้นไม้ เห็นใบไม้ที่มันร่วงมาอย่างนี้ เราเดินไปจะเห็นใบไม้มันร่วงลงมา อย่างนี้ อันนี้มันไม่แน่เหมือนกัน ใบไม้เหมือนกับเรานั่นแหละ เมื่อมันแก่มาแล้วมันก็ร่วงไป เราก็เหมือนกันอย่างนั้น คนโน้นก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน นี่เรียกว่า ยกขึ้นสู่วิปัสสนา จะมีการพิจารณาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป ทั้งการยืน การเดิน การนั่ง การนอน มีสติติดต่อกันเรื่อย สม่ำเสมอ นี่เรียกว่า การฝึกกรรมฐานที่ถูกต้อง เราต้องสะกดรอยติดตามอยู่เสมอ

เราทำกันอยู่บัดนี้ วันนี้หนึ่งทุ่มมาทำสมาธิกันอย่างนี้ นั่งได้ชั่วโมงหนึ่งแล้วก็หยุดกัน ใจก็เลยหยุด แล้วก็ไม่พิจารณาอะไรเลย อย่างนี้ไม่ได้ การหยุดการกระทำนี้ หยุดแต่พิธีกรรมเฉยๆ แต่ความรู้ สึกติดต่อกันเสมอไปเรื่อยนะ

อาตมาเคยให้ความเห็นบ่อยว่า ถ้าทำไม่ติดต่อกันเหมือนหยดน้ำ เหมือนหยดน้ำเราทำไม่ติดต่อกัน ก็เหมือนหยดน้ำเพราะว่าเรามีสติไม่สม่ำเสมอกัน การกระทำนั้นไม่ใช่อย่างอื่นทำ จิตทำไม่ใช่ร่างกายทำ จิตเป็นผู้ทำ จิตเป็นผู้ปฏิบัติ ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ จิตเราก็รู้สมาธิ จิตเป็นคนทำการปฏิบัตินั้นให้เราเห็นในจิตของเราเช่นนั้น

เมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะทำความรู้ในจิตของเราไว้สม่ำเสมอ เมื่อเราจะยืนก็ตาม จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ตาม ให้ความรู้สึกเรามันมีอยู่อย่างนั้น เหมือนน้ำที่มันเป็นหยดๆ อย่างนี้มันไม่ติดต่อกัน ***ถ้าเราทำสติให้มันติดต่อกันเช่นนั้น มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้นมันจะเป็นสายน้ำตลอดเวลา มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้อารมณ์สม่ำเสมออยู่ทุกเมื่อ ความผิดเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ถูกเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ความสงบ เกิดขึ้นมาก็รู้อยู่ทุกเมื่อ วุ่นวายเกิดทุกอย่างก็รู้ เรียกว่ามีสติอยู่ สังวรอยู่ สำรวมอยู่สม่ำเสมออย่างนี้***

จะ อยู่ที่ไหนก็เป็นอยู่อย่างนั้น ถ้าทำจิตอย่างนี้ การทำภาวนานั่นจะเร็วมาก ดีมาก เกิดเร็ว..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิจิตนั้นทำขึ้นมาไม่ได้ มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกจิตตนเอง ที่เรียกว่าฝึกสติสัมปชัญญะ



ใช้ภาษาที่แปลกมาก....กำกวมมาก....

พระพุทธองค์ท่าน เรียก การทำให้สมาธิเจริญขึ้น ว่า "ภาวนา".... สมาธิภาวนา ...

ภาวนา ในพระไตรปิฎก แปลว่า ทำให้เจริญขึ้น




ส่วน การเจริญสติทำให้สมาธิเจริญขึ้น นั้น.... เห็นด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2005, 10:56
โพสต์: 265


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่อาจารย์เขาว่า : โดยส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องจิต พอจะฝึกสมาธิหรือทำกรรมฐานที ก็มาฝึกให้จิตมันนิ่งๆ ซึมๆ ทื่อๆอยู่

สมาธิจิตแนวทางวิปัสสนา (สมาธิที่มีอยู่ในจิต ไม่ใช่สมาธิที่นั่งทำกันชั่วครั้งชั่วคราว ๓๐นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง แล้วหยุดพัก พอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่มีสมาธิต่อแล้ว )


เพราะคนส่วนมากไม่เข้าใจการใช้สมาธิเพื่อทางฝึกปัญญาต่อ แต่จะทำสมาธิเพื่อให้จิตมีความสงบหนีอารมณ์ไม่ดีจากภายนนอกกัน หรือไม่ก็ขอแค่บุญจากสมาธิ หรือต้องการฤทธิ์ทางใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องทางโลกเสียมากกว่าที่จะฝึกเพื่อต่อยอดทางธรรม นอกจากพระภิกษุที่ท่านปฏิบัติทางธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วส่วนมากเราทำสมาธิกันไม่กี่นาทีบางคนก็ทำสิบยี่สิบนาทีเท่านั้น ก็เพื่อให้จิตสงบมีกำลัง แล้วเลิกทำก็ไม่มีสติตามรู้ตัวต่อ

ลองอ่านเรื่องที่หลวงตาสอนเรื่องติคสมาธิ

ติดสมาธิ
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

สมาธิ ว่าโดยชื่อและอาการแห่งความสงบมี ๓ ขั้น คือ

- ขณิกสมาธิ คือตั้งมั่นหรือสงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา

- อุปจารสมาธิ ท่านว่ารวมเฉียดๆ นานกว่าขณิกสมาธิแล้วถอนขึ้นมา จากนี้ขอแทรกทัศนะของพระป่า “ธรรมป่า” เข้าบ้างเล็กน้อย คืออุปจารสมาธินั้นเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ไม่อยู่กับที่ถอยออกมาเล็กน้อย แล้วตามรู้เรื่องต่างๆ ตามแต่จะมาสัมผัสใจ บางครั้งก็เป็นเรื่องเกิดจากตนเองปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมา เป็นต้น


- อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ละเอียดและแน่นหนามั่นคงทั้งรวมอยู่ได้นาน มีความแนบแน่นของใจมีความมั่นคงอยู่ตลอด


สมาธิทุกประเภทพึงทราบว่าเป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน


แต่โดยมากจะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตามปรากฏขึ้น ผู้ภาวนามักจะติดเพราะเป็นความสงบสุข ในขณะที่จิตรวมลงและพักอยู่ การที่จะเรียกจิตติดสมาธิหรือติดความสงบได้นั้นไม่เป็นปัญหา

ในขณะที่จิตพักรวมอยู่ จะพักอยู่นานเท่าใดก็ได้ตามขั้นของสมาธิ ที่สำคัญก็คือเมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วยังอาลัยในการพักของจิต ทั้งๆที่ตนมีความสงบพอที่จะใช้ปัญญาไตร่ตรอง และมีความสงบจนพอตัวซึ่งควรจะใช้ปัญญาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังพยามอยู่ในความสงบไม่สนใจในปัญญาเลย อย่างนี้เรียกว่าติดสมาธิถอนตัวไม่ขึ้น

เพราะสมาธินี้เป็นความสุขพอที่จะให้ติดได้ถึงได้ติด คนเรามีความสุขในสมาธิก็พอใจแล้วจิตไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ พอจิตหยั่งเข้าสู่ความรู้อันเดียวแน่วอยู่อย่างนั้น ไม่อยากออกยุ่งกับอะไรเลย ตาไม่อยากมอง หูไม่อยากฟัง มันเป็นการยุ่งรบกวนจิตใจของเราให้กระเพื่อมเปล่าๆ

เมื่อจิตได้แน่วแน่อยู่ในสมาธินั้น อยู่สักกี่ชั่วโมงก็อยู่ได้ นี่มันติดได้อย่างนี้เอง สุดท้ายก็นึกว่าความรู้ที่เด่นๆ อยู่นี้เองจะเป็นนิพพาน อันนี้จะเป็นนิพพานจ่อกันอยู่นั้นว่าจะเป็นนิพพาน สุดท้ายมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นล่ะจนกระทั่งวันตายก็จะต้องเป็นสมาธิ ติดสมาธิจนกระทั่งวันตาย ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มาฉุดมาลาก

ผมเองก็มีหลวงปู่มั่นมาฉุดมาลากเถียงกันเสียจนตาดำตาแดง จนกระทั่งพระทั้งวัดแตกฮือกันมาอยู่เต็มใต้ถุน นี่เพราะฟังการโต้กับหลวงปู่มั่น ไม่ใช่โต้ด้วยทิฐิมานะอวดรู้อวดฉลาดนะ โต้ด้วยความที่เราก็เข้าใจว่าจริงอันดับหนึ่งของเรา ท่านก็จริงอันหนึ่งของท่าน สุดท้ายเราก็หัวแตกเพราะท่านรู้นี่ เราพูดทั้งที่กิเลสเต็มหัวใจ แต่เข้าใจว่าสมาธินี่มันจะเป็นนิพพาน แล้วสุดท้ายท่านก็มาไล่ออก

ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านก็ถามว่า “สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ”
“สงบดีอยู่” เราก็ว่าอย่างนั้น ท่านก็ไม่ว่าอะไร

พอนานๆ เข้าก็อย่างว่านั่นแหละ
หลวงปู่มั่น : “เป็นอย่างไรท่านมหาสบายดีเหรอใจ”
หลวงตาบัว : “สบายดีอยู่สงบดีอยู่”

หลวงปู่มั่น : “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะ พลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ “ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ” ท่านว่า “ท่านรู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละมันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหมๆ”

นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมาหลวงปู่มั่นท่านว่า “ท่านรู้ไหมว่าสมาธิทั้งแท่งนั้นล่ะคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหมๆ” ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ (ต่อยในที่นี้หมายถึงทางความคิดเห็นและทางวาจา ไม่ใช่การชกต่อย)

หลวงตาบัว : “ถ้าหากว่าสมาธิเป็นสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน” นั่นเอาซิโต้ท่าน
หลวงปู่มั่น : “มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ สมาธิของพระพุทธเจ้าคือ สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่”

นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป แล้วว่า “สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ! พูดออกมาซิ” มันก็ยอมล่ะซิ

พอออกทางด้านปัญญาเท่านั้นมันก็รู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ตัดกิเลสตัวนี้ได้โดยลำดับๆ เกิดความตื่นเนื้อตื่นตัวขึ้นมา โธ่ ! เราอยู่ในสมาธิเรานอนตายอยู่เฉยๆ มากี่ปีกี่เดือนแล้วไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร แต่ให้มีสมาธิพอดีๆ ไว้เป็นที่พักจิตตอนเจริญปัญญานะ


สมาธินั้นไม่ใช่ธรรมแก้กิเลส เป็นเพียงว่าธรรมเพื่อทำกิเลสให้สงบด้วยสมาธิ จิตที่ปรุงต่างๆ จึงไม่ค่อยมีสำหรับผู้มีสมาธิ นั้นแหละจิตอิ่มตัว ให้เอาจิตอิ่มตัวนี้ออกพิจารณาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เข้าไปถึงอาการสามสิบสอง ทุกสัดทุกส่วน เดินกรรมฐานอยู่ในร่างกายของเรานี้ขึ้นๆ ลงๆ หลายครั้งหลายหน จนมีความชำนาญ เมื่อพิจารณาร่างกายนี้จนมีความชำนาญแล้ว มันจะรู้อย่างรวดเร็ว มองดูอะไรนี่ทะลุไปหมด


มีสติเป็นสำคัญมาก ทุกๆ ท่านจำให้ดีคำว่าสตินี้เป็นพื้นฐานแห่งการบำเพ็ญธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่พื้นๆที่ฝึกหัดดัดแปลงล้มลุกคลุกคลานนี้จนกระทั่งถึงวิมุติหลุดพ้น จะนอกเหนือไปจากสตินี้ไปไม่ได้เลย เวลาล้มลุกคลุกคลานก็มีสติควบคุมไว้ตลอด จนได้หลักได้เกณฑ์ จิตเข้าสู่ความสงบร่มเย็นด้วยจิตภาวนา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุมเสมอ



อ้างอิงคำพูด:
สมาธิจิตแนวทางวิปัสสนา (สมาธิที่มีอยู่ในจิต ไม่ใช่สมาธิที่นั่งทำกันชั่วครั้งชั่วคราว ๓๐นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง แล้วหยุดพัก พอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่มีสมาธิต่อแล้ว )


จริงๆแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่ได้สอนให้ พอเลิกเจริญสมาธิภาวนา แล้ว ทิ้งสติเลย เสียเมื่อไร

ท่านก็สอนกันอยู่แล้วนี่ครับ


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท

"....อีกอันหนึ่งที่สำคัญคือ เมื่อเราหยุดทำกรรมฐานแล้ว เมื่อเราเลิกทำกรรมฐานแล้ว จิตที่ไม่ฉลาด ก็จะเลิกไปเลย ไม่มีความรู้สึกนึกคิด

ในการทำงานของเรา ความเป็นจริงนั้น เมื่อเราจะออกจากสมาธิ เรา ก็รู้จักว่าเราออก ออกมาแล้ววางเป็นปกติไว้ ***ให้มีความรู้สึก มีสติติดต่อกันเสมอ*** ไม่ใช่ว่าเรา จะทำความสงบเฉพาะเวลานั่งสมาธิ

เพราะว่าสมาธิคือ ความตั้งใจมั่น เราเดินอยู่เราก็ทำใจเราให้มั่น ให้มีอารมณ์มั่นเสมอ มีสติสัมปชัญญะอยู่ต่อไปเสมอ ออกจากที่นั่งแล้ว หูเราได้ยินเสียง ตาเห็นรูปที่เราเดินไป นั่งรถไปก็ตามเถอะให้รูสึก ***มีอะไรที่มันชอบใจหรือไม่ชอบใจ เกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้สึกว่า อันนี้มันไม่แน่ อันนี้มันไม่เที่ยง ตลอดเวลาอย่างนั้น จิตใจจะสงบปกติ***


เมื่อเห็นเช่นนั้นก็จะทำความรู้ในจิตของเราไว้สม่ำเสมอ เมื่อเราจะยืนก็ตาม จะเดิน จะนั่ง จะนอนก็ตาม ให้ความรู้สึกเรามันมีอยู่อย่างนั้น เหมือนน้ำที่มันเป็นหยดๆ อย่างนี้มันไม่ติดต่อกัน ***ถ้าเราทำสติให้มันติดต่อกันเช่นนั้น มีความรู้สึกอยู่อย่างนั้นมันจะเป็นสายน้ำตลอดเวลา มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้อารมณ์สม่ำเสมออยู่ทุกเมื่อ ความผิดเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ถูกเกิดขึ้นมาก็รู้ทุกเมื่อ ความสงบ เกิดขึ้นมาก็รู้อยู่ทุกเมื่อ วุ่นวายเกิดทุกอย่างก็รู้ เรียกว่ามีสติอยู่ สังวรอยู่ สำรวมอยู่สม่ำเสมออย่างนี้***


หลวงพ่อชาท่านก็สอนถูกแล้วนี่ต้องให้มีสติ มีสมาธิเป็นของควบคู่กัน

อ้างอิงคำพูด:
สมาธิจิตนั้นทำขึ้นมาไม่ได้ มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกจิตตนเอง ที่เรียกว่าฝึกสติสัมปชัญญะ

ตรงนี้อาจารย์ที่สอนทางนี้พูดกันเยอะเหมือนกันแต่ผู้ลงบทความก็ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ ต้องให้ผู้รู้มาอธิบาย

ที่ครูบาอาจารย์สอนท่านสอนเรื่องสมาธิ สติ วิปัสสนา ท่านสอนให้รู้จักให้ใช้ให้เป็น ให้ใช้ให้ถูก ท่านมีเจตนาดีมีเมตตา อย่าไปคิดอคติส่วนตัวกับครูบาอาจารย์ท่านเลย บางที่เรานึกว่าเรารู้แต่เราอาจไม่รู้จริงก็ได้เราเป็นผู้ศึกษาอยู่ผู้รู้พระอาจารย์ต่างๆท่านศึกษามาก่อนรู้มาก่อนรู้มามากกว่าเราท่านสอนเราให้รู้ทางที่ถูกก็ถือว่าท่านมีเมตตาแล้ว ถ้าเราสงสัยก็ลองหาท่านดูถามข้อสงสัยท่านก็ได้เมื่อท่านมาเป็นวิทยากร จะได้ไม่แคลงใจต่อไป


แก้ไขล่าสุดโดย poivang เมื่อ 24 มิ.ย. 2009, 09:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จะต่างจากพวกทำสมถะอย่างเดียว พวกนั้นเขาใช้วิธีปฏิเสธกิเลส หนีไปอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพื่อไม่ให้กิเลสมันเกิดขึ้น เช่นกำหนดจิตไปอยู่กับลมหายใจ ไปอยู่กับท้อง ไปอยู่กับคำบริกรรม เป็นต้น



อืมม..... นี่ กำลังกล่าวถึงการ"ทำสมถะอย่างเดียว" อีกแล้ว

วิธีแก้ไข ง่ายๆ ก็ อย่าไปทำสมถะอย่างเดียวสิครับ
ทำสมาธิภาวนาตามแบบที่พระพุทธเจ้าสอนสิครับ คือ ให้มีสติในกาลทุกเมื่อ แม้น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ๆลๆ
หรือ อย่างที่ หลวงปู่ชาสอน คือ ไม่ให้ภาวนาเพียงเฉพาะเวลานั่งสมาธิ แต่ ให้เจริญสติให้สืบเนื่อง สิครับ


วิธีแก้ไขง่ายๆ ไม่ทำ ....กลับ ไปเลือกใช้วิธีการตำหนิสมาธิภาวนาแบบเหมารวม

การเจริญสมาธิภาวนานั้น อาจจะถูกมองว่า เป็นการ"ปฏิเสธกิเลส" ....จิตเขาจะฟุ้งซ่าน ก็ไปเอาลมหายใจมาให้จิตเขาภาวนา.....จิตเขามีความโกรธ ก็ไปเอาอารมณ์เมตตามาให้จิตเขาภาวนา....จิตเขามีกามราคะมาก ก็ไปเอาอสุภกรรมฐานมาให้จิตเขาภาวนา ๆลๆ

ในความจริงแล้ว อุบายแห่งสมาธิภาวนาต่างๆ เช่น อานาปานสติ เมตตาพรหมวิหาร อสุถกรรมฐาน นั้น ก็มีประโยชน์สำหรับ ผู้ที่มีจริตนิสัยบางอย่าง คือ ช่วย อบรมจิต(ปัจจุบัน ถูกใช้คำว่าแทรกแซงจิต แทน...เพราะ .....)ให้นิวรณ์เบาบางลง เพื่อที่จะเปิดช่องให้ปัญญาทำงานได้ดีขึ้น

แต่ ทั้งนี้ บางจริตนิสัย เช่น ผู้ที่มีปัญญาจริต ซึ่งเป็นผู้ที่มีศีล และ จิตไม่ฟุ้งซ่านจนเกินไปเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว.... ก็สามารถเจริญ วิปัสสนาโดยตรงได้....
ก็ ไม่ได้มีใครบังคับให้คนกลุ่มนี้มาเจริญสมาธิภาวนาเสียเมื่อไร....
ไม่อยากเจริญ ก็ไม่ต้องเจริญ....
หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านก็เคยแสดงเรื่อง การเจริญสติตามรู้ความคิดอย่างเดียวเอาไว้. แต่ หลวงพ่อ พุธ ท่านก็ไม่เห็นจะตำหนิสมาธิภาวนาแบบเหมารวม เช่นที่เป็นกันในปัจจุบันเลย



สรุปว่า

พระพุทธองค์ทรงแสดง หลักธรรมเรื่องสมาธิภาวนาไว้ให้คนส่วนใหญ่อย่างไร ก็ต้องถือตามอย่างนั้น

และ ผมก็ไม่เคยเห็นผู้ที่เป็นปัญญาธิกะ ในสมัยพุทธกาล เช่น พระสารีบุตร ท่านจะมามุ่งตำหนิสมาธิภาวนาแบบเหมารวม เหมือนอย่างที่เป็นกันอยู่นี้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ


ประเด็น เรื่องที่ หลวงปู่ มั่น ท่านเตือน หลวงตามหาบัว หลวงปู่เหรียญ ๆลๆ ให้ ไม่หยุดเพียงแค่สมถะ.... และ ประเด็นนี้ ถูกนำมาชูโรง ในการตำหนิสมาธิภาวนาแบบเหมารวม

เรื่องนี้ คุยกันยาว ครับ

เพราะเป็นการอ้างอิงถึงบูรพาจารย์หลายองค์

บ่ายๆ ผมจะแวะมาคุยกันในประเด็นนี้

ขอตัวไปทำงานก่อน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร