วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




56.jpg
56.jpg [ 55.37 KiB | เปิดดู 6256 ครั้ง ]
(พุทธธรรมหน้า 67 )


ไตรลักษณ์ ลักษณะโดยธรรมชาติ 3 อย่างของสิ่งทั้งปวง

ตัวกฎหรือตัวสภาวะ

ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ใน

รูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่างๆนั้น มิใช่หมายความว่า เป็นการนำเอาส่วนประกอบ

ที่เป็นชิ้นๆ อันๆ อยู่แล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน และ เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่าง

คุมกันอยู่ เหมือนเมื่อเอาวัตถุต่างๆมารวมกันเป็นเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ

ความจริงที่กล่าวว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันของส่วนประกอบต่างๆนั้นเป็นเพียงคำกล่าวเพื่อ

เข้าใจง่ายๆ ในเบื้องต้นเท่านั้น แท้จริงแล้วสิ่งทั้งหลายมีอยู่รูปของกระแส ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ

ล้วนประกอบขึ้น จากส่วนประกอบอื่นๆย่อยลงไป แต่ละอย่างไม่มีตัวตนของมันเองเป็นอิสระ

ล้วนเกิดดับ ต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ กระแสนี้ไหลเวียนหรือดำเนินต่อไป อย่างที่ดูคล้ายกับ

รักษารูปแนวและลักษณะทั่วไปไว้ได้อย่างค่อยเป็นไป ก็เพราะส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์

เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันอย่างหนึ่ง และเพราะส่วนประกอบเหล่านั้นแต่ละ

อย่างล้วนไม่มีตัวตนของมันเอง และไม่เที่ยงแท้คงที่อย่างหนึ่ง

ความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ อาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่อง

อาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง
ไม่มีตัวการอย่างอื่น ที่นอกเหนือออกไปในฐานะผู้สร้างหรือผู้บันดาล

จึงเรียกเพื่อเข้าใจง่ายๆว่า เป็นกฎธรรมชาติ

มีหลักธรรมใหญ่อยู่ 2 หมวด ที่ถือได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ

ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท

ความจริงธรรมทั้ง 2 หมวดนี้ ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่ หรือ คนละแนว เพื่อ

มองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือไตรลักษณ์มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งปรากฏให้เห็นว่า

เป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น เป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัย สืบต่อแก่กัน

ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท


ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลาย มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัย

สืบต่อแก่กันเป็นกระแสจนมองเห็นลักษณะได้ว่า เป็นไตรลักษณ์



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

กฎธรรมชาตินี้ เป็น ธรรมธาตุ คือ ภาวะที่ทรงตัวอยู่โดยธรรมดา

เป็น ธรรมฐิติ คือ ภาวะที่ตั้งอยู่ หรือ ยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา

เป็น ธรรมนิยาม * คือ กฎธรรมชาติ หรือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่เกี่ยวกับผู้สร้างผู้บันดาล

หรือ การเกิดขึ้นของศาสนา หรือ ศาสดาใดๆ

กฎธรรมชาตินี้ แสดงฐานะของศาสดาในความหมายของพุทธธรรมด้วยว่าเป็นผู้ค้นพบกฎเหล่านี้

แล้วนำมาเปิด เผยชี้แจงแก่ชาวโลก

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


*พระอรรถกถาจารย์แบ่งนิยาม หรือ กฎธรรมชาติเป็น 5 อย่าง

1.อุตุนิยาม (physical inorganic order) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ

โดยเฉพาะเรื่องลมฟ้าอากาศ และฤดูกาลในทางอุตุนิยม อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์

2. พืชนิยาม (physical organic order) กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธ์

รวมทั้งพันธุกรรม

3. จิตตนิยาม (psychic law) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของจิต

4. กรรมนิยาม (order of act and result) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

คือกระบวนการให้ผลของการกระทำ

5. ธรรมนิยาม (order of the norm) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และ

ความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย


(ที.อ.2/34; สงฺคณี.อ.408)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ส.ค. 2010, 17:01, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2008, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สำหรับไตรลักษณ์ มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้


“ตถาคต ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

1. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง....

2. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์...

3. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...



ตถาคต ตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง

ทำให้เข้าใจง่ายว่า

“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง....สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์...ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา...”


(องฺ.ติก.20/576/368)



ไตรลักษณ์ นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่ทั่วไป

หรือ เสมอเหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ซึ่งได้ความเท่ากัน


เพื่อความเข้าใจง่ายๆ จะแสดงความหมายของไตรลักษณ์ (The Three

Characteristics of Existence) โดยย่อดังนี้


1. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน

ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป


2. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น

และสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพ

เป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์

มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริงหรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยาก

ด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน


3. อนัตตา (Soullessness) หรือ (Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน

ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


สิ่งทั้งหลาย หากจะกล่าวว่ามี ก็ต้องว่ามี อยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ

อันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย

จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย

ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว

และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแส ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้

ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้


ในกรณีของสัตว์บุคคล ให้แยกว่า สัตว์บุคคลนั้นประกอบด้วยขันธ์ 5 เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่น

อีกนอกเหนือจากขันธ์ 5 เป็นอันตัดปัญหาเรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอิสระอยู่ต่างหาก


จากนั้นหันมาแยกขันธ์ 5 ออกพิจารณาแต่ละอย่างๆ ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง

เมื่อไม่เที่ยง ก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด

เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน ที่ว่า ไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่างๆ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย

ไม่มีตัวตนของมันเอง อย่างหนึ่ง

เพราะไม่มีอยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของสัตว์บุคคลนั้นแท้จริง -(ถ้าสัตว์บุคคลนั้น เป็นเจ้าของขันธ์ 5

แท้จริง ก็ย่อมต้องบังคับเอาเองให้เป็นไปตามความต้องการได้ และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป

จากสภาพที่ต้องการได้ เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บป่วย เป็นต้น) อย่างหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 18:56, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ 5 มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้




“ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา

หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร วิญญาณ จักเป็นอัตตา แล้วไซร้

มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ความปรารถนาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณว่า “ขอรูป ขอ เวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณ ของเรา

จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”

แต่เพราะเหตุที่ รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา

ฉะนั้น รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่อเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ความปรารถนา

ในรูป ฯลฯ วิญญาณว่า

“ขอรูป ขอ เวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด

อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?”

“รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง” (ตรัสถามทีละอย่าง จนถึงวิญญาณ)

“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข ?”

“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ?”

“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทังภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต

ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่มันเป็นว่า

“นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”


(สํ.ข.17/127-129/82-84)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

อาการที่สิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปกระแส มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยสืบต่อกัน

และมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไร

พึงดูอธิบายตามหลักปฏิจจสมุปบาท ความจึงจะชัดขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 17:55, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




04.jpg
04.jpg [ 109.91 KiB | เปิดดู 6245 ครั้ง ]
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์



ขอยกเอาหลักธรรมนิยามที่แสดงไตรลักษณ์ หรือสามัญลักษณะ 3 อย่างมาตั้งหัวข้ออีกครั้งหนึ่ง

เพื่อธิบายให้ ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ตามแนวหลักวิชามีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์ต่างๆดังนี้



1. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

2. สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์

3.ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา


สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เรียกตามคำบาลีว่า เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจะ

แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง

ความเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือภาวะที่เป็นอนิจจ์ หรืออนิจจังนั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า

อนิจจตา ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเป็นศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ

สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ในภาษาไทย บางทีใช้อย่างภาษาพูดว่า ทุกขัง ความเป็นทุกข์

ความเป็นของทนอยู่มิได้ ความเป็นสภาวะมีความบีบคั้นขัดแย้ง หรือภาวะที่เป็นทุกข์นั้น

เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า ทุกขตา

ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ทุกขลักษณะ

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ความเป็นอนัตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน หรือ ภาวะที่เป็นอนัตตา

นั้น เรียกเป็นคำศัพท์ตามบาลีว่า อนัตตตา

ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นอนัตตา เรียกเป็นศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 17:57, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00029_10.gif
00029_10.gif [ 20.8 KiB | เปิดดู 6244 ครั้ง ]
ในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ

และอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้


ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

-สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่าในข้อ 1 และข้อ 2 ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง และเป็นทุกข์

แต่ในข้อที่ 3 ท่านกล่าวธรรมทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวหรือมิใช่ตน

การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่า มีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลัก ที่ 1 และที่ 2

คือ อนิจจตา และ ทุกขตา กับหลักที่ 3 คือ อนัตตตา

และ ความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า สังขาร

และคำว่า ธรรม


(ดูอธิบายสังขารลิงค์นี้)

viewtopic.php?f=2&t=18670


ธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี

ทั้งที่มีได้ และได้มี ตลอดจนกระทั่งความไม่มี ที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือ รู้ถึง ทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดี และ ที่ชั่ว

ทั้งที่เป็นสามัญวิสัย และ เหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่า ธรรม ทั้งสิ้น

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ถ้าจะให้มีความหมายแคบเข้า หรือ จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไป

เพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้น แบ่งประเภทออกไป

แล้วเลือกเอาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ

หรือ มิฉะนั้น ก็ใช้คำว่า ธรรม คำเดียวเดี่ยวโดด เต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ

แต่ตกลง หรือ หมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆ ในกรณีนั้น

หรือ ในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ

หรือ ในขอบเขตว่าอย่างนั้นๆ เช่น เมื่อมาคู่กับ อธรรม หรือ ใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดี

ที่ชั่วของบุคคล หมายถึงบุญ หรือคุณธรรม คือ ความดี

เมื่อมาคู่กับคำว่า อัตถะ หรือ อรรถ หมายถึงตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ

เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือ คำสั่งสอน ดังนี้ เป็นต้น


ธรรม ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุด

เต็มที่สุขขอบเขตของศัพท์ คือ หมายถึง สภาวะ หรือ สภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดจำกัด

ธรรม ในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

เมื่อแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรม และ นามธรรม บ้าง

โลกียธรรม และ โลกุตรธรรม บ้าง

สังขตธรรม และ อสังขตธรรม บ้าง

กุศลธรรม และ อกุศลธรรม และ อัพยากฤต (สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง


ธรรม ที่จำแนกเป็ดชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรม ได้หมดสิ้นทั้งนั้น

แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือชุด สังขตธรรม และ อสังขตธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 พ.ค. 2010, 20:05, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2008, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหลายทั้งปวง แยกประเภทได้เป็น 2 อย่าง คือ *

(ดู สงฺคณี อ. 34/3/2 ฯลฯ )




1. สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่มีปัจจัย

สภาวะที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

สภาวะที่ปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น

สิ่งที่ปัจจัยประกอบเข้า หรือ สิ่งที่ปรากฏ และ เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร ซึ่งมีรากศัพท์และคำแปลเหมือนกัน หมายถึง

สภาวะทุกอย่าง ทั้งทางวัตถุและจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

ทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตระ ทั้งที่ดีที่ชั่ว และ ที่เป็นกลางๆ ทั้งหมด เว้นแต่ นิพพาน


2. อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ธรรมที่ไม่มีปัจจัย

หรือสภาวะที่ไม่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของปัจจัย

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิสังขาร ซึ่งแปลว่า สภาวะปลอดสังขาร

หรือสภาวะที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง นิพพาน


โดยนัยนี้ จะเห็นชัดว่า สังขาร คือ สังขตธรรม เป็นส่วนหนึ่งของธรรม

แต่ ธรรม กินความหมายกว้างกว่า มีทั้ง สังขาร และนอกเหนือจากสังขาร

คือทั้ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม ทั้งสังขาร และ วิสังขาร หรือ ทั้ง สังขาร และ นิพพาน

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

เมื่อนำเอาหลักนี้มาช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ไตรลักษณ์

จึงสามารถมองเห็นขอบเขตความหมายในหลักสองข้อต้น คือ อนิจจตา และ ทุกขตา

ว่าต่างจากข้อสุดท้าย คือ อนัตตาอย่างไร

โดยสรุปได้ ดังนี้

สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ตามหลักข้อ 1 และข้อ 2

แห่งไตรลักษณ์ (และเป็นอนัตตาด้วยตามหลักข้อ 3)

แต่ อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร คือ นิพพาน ไม่ขึ้นต่อภาวะเช่นนี้


ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรม และ อสังขตธรรม ทั้งสังขารและมิใช่สังขาร

คือสภาวะทุกอย่างทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน เป็นอนัตตา คือไร้ตัวมิใช่ตน


อนัตตาเท่านั้น เป็นลักษณะร่วมที่มีทั้งในสังขตธรรม และ อสังขตธรรม

ส่วนอนิจจตา และ ทุกขตา เป็นลักษณะที่มีเฉพาะในสังขตธรรม ซึ่งทำให้ต่างจาก

อสังขตธรรม


ในพระบาลีบางแห่ง จึงมีพุทธพจน์ แสดงลักษณะของสังขตธรรม และ อสังขตธรรมไว้

เรียกว่า สังขตลักษณะ และ อสังขตลักษณะ ใจความว่า **

สังขตลักษณะ คือ เครื่องหมาย ที่ทำให้กำหนดรู้ หรือ เครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่าเป็นสังขตะ

(ว่าเป็นสภาวะ ที่มีปัจจัยทั้งหลาย มาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น)

ของสังขตธรรม มี 3 อย่าง คือ


1. ความเกิดขึ้นปรากฏ

2. ความแตกดับหรือความสลายปรากฏ

3. เมื่อดำรงอยู่ ความผันแปรปรากฏ


ส่วน อสังขตลักษณะ คือ เครื่องหมายที่ทำให้กำหนดรู้ หรือเครื่องกำหนดหมายให้รู้ว่า

เป็นอสังขตะ (ว่า มิใช่สภาวะ ที่ปัจจัยทั้งหลาย มาร่วมกันแต่งสรรค์ขึ้น)

องอสังขตธรรมก็มี 3 อย่าง คือ

1. ไม่ปรากฏความเกิด

2. ไม่ปรากฏความสลาย

3. เมื่อดำรงอยู่ ไม่ปรากฏความผันแปร



รวมความ มาย้ำอีกครั้งหนึ่งให้ชัดขึ้นอีกว่า อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร คือ นิพพาน

พ้นจากสภาวะไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์ แต่เป็นอนัตตา ไร้ตัวมิใช่ตน


ส่วนธรรมอื่น นอกจากนั้น คือ สังขาร หรือ สังขตธรรมทั้งหมด ทั้งไม่เที่ยงเป็นทุกข์

และเป็นอนัตตา

ดังความในบาลี แห่งวินัยปิฎกผูกเป็นคาถายืนยันไว้ว่า

“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา นิพพาน และ บัญญัติ

เป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้” ***

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7116792934869e6aa08880.gif
7116792934869e6aa08880.gif [ 870 ไบต์ | เปิดดู 6238 ครั้ง ]
ที่มา คห.บนที่มีเครื่องหมาย *

* สังขตธรรม มีคำจำกัดความแบบอภิธรรมนัยหนึ่ง ว่าได้แก่ กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบาก

ในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด

** องฺ.ติก.20/486-7/192

*** วินย. 8/826/224; ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา พึงอ้างหลักฐานเช่น

“อมตบท (นิพพาน) ว่างจากอัตตา”

( อตฺตสญฺญมตปทํ - วิสุทธิ.3/102)

“นิพพานธรรมชื่อว่าว่างจากอัตตา เพราะไม่มีตัวตนนั่นเอง”

(นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ - ปฏิสํ. อ. 2 /356)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:31 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 10:57
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


กระจ่างขึ้นเยอะครับ ขออนุโมทนา :b8:

.....................................................
ไม่มีใครเก่งเกินกรรม กรรมเท่านั้นตัดสินทุกอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2038264y1a3fut64v.gif
2038264y1a3fut64v.gif [ 25.81 KiB | เปิดดู 6237 ครั้ง ]
ความหมาย คำว่า สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม ถกเถียงกันมาก

ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจ



ลิงค์อธิบายความหมาย สังขาร

viewtopic.php?f=2&t=18670

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ต.ค. 2009, 09:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2009, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 15:51
โพสต์: 334

งานอดิเรก: ชอบเรื่องพลังงาน
สิ่งที่ชื่นชอบ: มิลินทปัญหา
ชื่อเล่น: อมร
อายุ: 63
ที่อยู่: 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุสาธุสาธุ และสาธุ สมดั่งธรรมคำภีรภาพมากจริงๆ
คนมีความรู้น้อยจะรู้มัยนี้

.....................................................
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล เข้าวัดตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาหามเข้าแล้วเผาเลย ฮิฮิฮิ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร