วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




58.jpg
58.jpg [ 33.97 KiB | เปิดดู 4465 ครั้ง ]
(จากพุทธธรรมหน้า 376 )

เข้าใจยากสักหน่อย คือว่าท่านเปรียบเทียบความรู้สึกของผู้ตริตรึกข้อธรรมตามเหตุผล กับของผู้รู้เห็น

ธรรม(ธรรมชาติ)ตามที่มันเป็น ว่าต่างกันอย่างไร ค่อยๆพิจารณาดู



ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ คือ อวิชชา - ตัณหา ไม่รู้จึงติด

กระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ คือ วิชชา - วิมุตติ พอรู้ก็หลุด


ในฝ่าย อวิชชา - ตัณหา องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไป หรือ นำไปสู่ชาติภพ ก็ คือ อุปาทาน

ที่แปลว่า ความถือมั่น ความยึดมั่น หรือความยึดติดถือมั่น


ส่วนในฝ่าย วิชชา -วิมุตติ องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาออกไป หรือ เป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏ

ได้แก่ นิพพิทา แปลกันว่า ความหน่าย คือ หมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด


อุปาทาน เกิดจากอวิชชา ที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง เปิดทางให้ตัณหาอยากได้

ใคร่จะเอามาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือ หมายว่า ต้องเป็นอย่างนั้น

ต้องเป็นอย่างนี้ ที่เรียกว่า อุปาทาน


นิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจ สิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะ ว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง

ไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่าและไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย

หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย



จะเห็นว่า อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 มี.ค. 2010, 15:01, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่นิพพิทาจะเกิดขึ้น หรือ การที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น

เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้ว นิพพิทา (ญาณ) ก็เกิดเอง

อุปาทานก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือ ภาวะที่เป็นไปเอง

ตามเหตุปัจจัยของมัน *




บางทีเราพูดกันว่า จงอย่ายึดมั่นถือมั่น หรือว่า อย่ายึดมั่นกันไปเลย

หรือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียเท่านั้น ก็หมดเรื่อง ฯลฯ
(*)

การสอนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ดี และควรสอนกัน

แต่พร้อมนั้นก็จะต้องระลึกถึงหลักการ ที่กล่าวแล้วข้างต้นด้วย คือ จะต้องพยายามให้ความที่จะ

ไม่ยึดมั่นนั้น เกิดขึ้นโดยถูกต้อง ตามทางแห่งกระบวนธรรม

มิฉะนั้น ก็อาจกลายเป็นการปฏิบัติผิดพลาดและมีโทษได้

โทษที่จะเกิดขึ้นนี้ คือ ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น


การปฏิบัติ ด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น

ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ เช่นเดียวกับการกระทำ ด้วยความยึดมั่นโดยทั่วไป


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


* ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก

ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้ายที่เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นธรรมดาที่ว่า

ยถาภูตญาณทัสสนะ เกิดขึ้นแล้ว นิพพิทา ก็จะเกิดตามมาเอง ดู องฺ. ทสก. 24/2/2 ฯลฯ -

ดู พุทธพจน์สรุปว่า เมื่ออวิชชาจางคลาย วิชชาเกิด ก็ไม่ยึด -ที่ ม.มู. 12/158/135

รู้แค่ไหนจึงจะเลิกยึดถือ เช่น ที่ ม.อุ. 14/41/40



(*) พุทธพจน์หนึ่ง ที่อ้างกันมากเกี่ยวกับความไม่ยึดมั่นคือ สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย -

แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น หรือ สิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นไว้ได้ (ม.มฺ.12/434/464 ฯลฯ )

อภินิเวส เป็นไวพจน์หนึ่งของอุปาทาน

(เช่น อภิ.วิ.35/312/200)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 17:43, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบระหว่างความเชื่อตามเหตุผล เชื่อตามๆ กันมาฯลฯ กับเชื่อโดยรู้เห็นสภาวธรรมตามที่มันหรือตามเป็นจริง ว่าต่างกันยังไง ในคนสองคนนี้



สมมุติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงาม วางไว้ในตู้กระจก ที่ปิดใส่กุญแจไว้

มีชายผู้หนึ่ง เชื่ออย่างสนิทใจว่า ในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่ แต่ยังเอาไม่ได้

เขาพะวักพะวงวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงาน

ต่อมา มีคนที่เขานับถือมาบอกว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา และการที่เขาอยากได้

อยากเอา วุ่นวายอยู่นั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก

ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็นด้วยว่า การพะวงอยู่นั้นไม่ดี

มีโทษมาก

แต่ลึกลงไปก็ยังเชื่อว่า คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่ เมื่อยังเชื่ออยู่

เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย ยังตัดใจไม่ลง

แต่เขาพยายามข่มใจ เชื่อตามคนที่เขานับถือ และแสดงในคนอื่นๆ เห็นว่า เขาเชื่อตามเห็นตาม

คำของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว

เขาจึงแสดงอาการว่า เขาไม่อยากได้ เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืนตะโกน นั่งตะโกนอย่างไร ๆ ว่า ฉันไม่เอาๆ

ใจของเขาก็คงผูกพัน เกาะเกี่ยวอยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง
และบางทีเพื่อแสดงตัวให้คนอื่นเห็นว่า

เขาไม่ต้องการของนั้น

เขาไม่อยากได้ เขาจะไม่เอาของนั้น

เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ ที่เกินสมควร อันนับได้ว่ามากไป กลายเป็นพฤติกรรมวิปริต

ไปก็ได้

นี่เป็นตอนที่หนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ก.ย. 2010, 10:09, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมา ชายผู้นั้น มีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อ และ ปรากฏว่า เป็นเพียงเศษผ้าเศษขยะจริง

ตามคำของคนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา


เมื่อรู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว

เขาจะหมดความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา

ถึงจะเอาเชือกผูกตัวติดกับของนั้น หรือ หยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่า ฉันอยากได้ ฉันจะเอา

ใจก็จะไม่ยอมเอา


ต่อจากนี้ไป ใจของเขาจะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก


ใจของเขา จะเปิดโล่งออกไป พร้อมที่จะมองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป

นี้เป็นตอนที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ธ.ค. 2009, 21:12, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ดู) ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง

เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยาก และความยึดอยู่ด้วยตัณหา อุปาทาน

เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้มั่นหมายยึดเอานั้น มีสภาวะแท้จริง

ที่ไม่น่าอยาก ไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือก็มีโทษมากมาย

เขาเห็นด้วย โดยเหตุผลว่า

ความอยากได้และความถือมั่นไว้มีโทษมาก

และก็อยากจะเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ล้วนมีสภาวะ ซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา

แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น

ลึกลงไปในใจ ก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ

อยากจะปฏิบัติตาม หรือ อยากแสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น

เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆ ให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ไม่ยึดติด

ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น


ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา

มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเองตามธรรมดาธรรมชาติ เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น

ที่เขาเอามายึดถือไว้

เขาเข้าใจความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติ หรือ ทำการต่างๆ

ไปตามนั้น

ความไม่ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียง ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น


และการกระทำของเขา ก็เป็นการกระทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ คือ อาจกลายเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง

หลอกตนเองหรือเกินเลยของจริง ไม่สมเหตุผล อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m207925.jpg
m207925.jpg [ 185.2 KiB | เปิดดู 4458 ครั้ง ]
ความเทียบเคียงในตอนที่สอง

เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดา แห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ

เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือ เกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว

ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่ คือ เมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว

จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนเมื่อยังไม่เกิดญาณทัสสนะ จะพยายามปฏิบัติตามหลัก

ความไม่ยึดมั่น ถือมั่นบ้างไม่ได้หรือ


ตอบว่า ได้ และควรอยู่ เพราะเพียงมองเห็นโทษของความยึดมั่นก็นับว่า เป็นประโยชน์แล้ว

แต่ข้อสำคัญ จะต้องมีสติรู้ระลึกไว้ว่า นี้เราอยู่เพียงในขั้นของความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น

เมื่อจะทำอะไรอาจบอกตัวเองว่า เราจะทำการนี้ด้วยความไม่ยึดมั่น

พร้อมนั้น ก็ระลึกไว้ด้วยว่า เราจะทำไปตามเหตุตามผล ไม่หลงไปตามความยึดมั่น

ในความไม่ยึดมั่นนั้น

พยายามทำการด้วยปัญญาด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด

เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคุณ

ผลที่จะได้ในระดับนี้ก็คือเป็นการฝึกตน เป็นการปูพื้นฐานสำหรับความไม่ยึดมั่นที่แท้จริงต่อไป

และผลเสียจากการกระทำเลยเถิดเกินไป หรือ มากไป หรือหลอกตัวเองก็จะไม่เกิดขึ้น


แต่ถ้าเข้าใจผิดเห็นไปว่า นี่แหละ คือ ความไม่ยึดมั่น ก็จะผิดพลาดเกิดผลเสียได้ทันที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ขอย้อนไปกล่าวถึงความเทียบเคียงข้างต้น ความจริงระหว่าง

ความเทียบเคียงสองตอนข้างต้นนั้น

ยังมีตอนแทรกกลางได้อีกตอนหนึ่ง กล่าวคือ

ชายผู้อยากได้ห่อของที่เขาเชื่อว่า มีของมีค่านั้น เมื่อคนที่เขานับถือบอกเขาว่า ในห่อนั้น

ไม่มีของมีค่าอะไร

มีแต่เศษผ้า เศษขยะ และได้ชี้แจงเหตุผล เล่าถึงความเป็นมาของห่อของนั้นว่า

เขาได้เห็นของตั้งแต่ก่อน

เอาเข้าห่อ ตลอดถึงว่า ห่อของนั้นมาอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ด้วยเหตุผลหรือความประสงค์อะไร


เมื่อชายนั้น มองเห็นเหตุผลแจ่มแจ้งชัดตามคำชี้แจงของคนผู้นั้นแล้ว

อาจเชื่อสนิทด้วยความมั่นใจ

ในเหตุผลว่า ในห่อนั้น ไม่มีของมีค่าอย่างแน่นอน

ความเชื่อด้วยความมั่นใจในเหตุผลอย่างนี้ ย่อมมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรม

ของชายผู้นั้นได้มาก

แม้ว่า เขาจะยังไม่หมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างความเทียบเคียงตอนที่สอง

แต่ก็เหลือเพียงเยื่อใยที่นับว่าน้อย ต่างจากความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่งอย่างมาก



ความเทียบเคียงในตอนแทรกนี้ เปรียบได้กับระดับจิตหรือระดับความรู้ และ ความคิด

ของพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ คือ พระโสดาบัน ถึงอนาคามี ซึ่งอยู่กลางระหว่างปุถุชน

กับพระอรหันต์ *


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* รู้แต่ยังไม่หลุด คือรู้ชั้นเหตุผลยังไม่ประจักษ์ จึงยังไม่หลุดพ้นสิ้นเชิง

ตามหลักพุทธพจน์ (เช่น สํ.ข.17/296-7/196 ฯลฯ)

พระอนาคามี แม้จะละสักกายทิฏฐิได้แล้ว แต่ก็ยังไม่หมดอัสมิมานะ และตัณหาที่ประณีต

ก็ยังเหลืออยู่บ้าง


พูดอย่างภาษาง่ยๆว่า แม้จะเลิกวาดภาพตัวกูแล้ว แต่ความรู้สึกที่ฝังลึกว่า นี่กู นี่ของกู

ก็ยังไม่หมด


(ดู สํ.นิ. 16/274/144 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2009, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCA1MG3ZL.jpg
imagesCA1MG3ZL.jpg [ 3.13 KiB | เปิดดู 4700 ครั้ง ]
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน ที่พอจะเห็นได้ง่ายในเรื่องนี้ เช่น ความประหม่า และความกลัว

คนที่ประหม่าบางคน ทั้งที่โดยเหตุผล ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าจะประหม่า ก็อดประหม่าไม่ได้

บางทีถึงกับโกรธว่า ตนเองว่าจะประหม่าทำไม แต่ก็บังคับตนไม่ให้ประหม่าไม่ได้


หรือ คนขลาด แม้อยู่ในที่ปลอดภัย ตนเองก็มองเห็นตามเหตุผลว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว และก็คิดว่า

ถึงมีอะไรก็จะไม่กลัว แต่พอได้ยินเสียงเสือร้อง หรือ เสียงสัญญาณภัย ก็สะดุ้ง หรือสั่นสะท้าน

หรือตัวเย็นวาบ บังคับตัวเองไม่ได้

ภาวะเช่นนี้ มิใช่จะถอนได้เพียงด้วยความคิดเหตุผล แต่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ความเข้าถึง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2009, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ตัวอย่างผู้ที่เริ่มรู้เห็นสภาวะธรรมชาติด้วยการเข้าถึง ซึ่งมิใช่เกิดจากการอ่านหรือ

การนึกคิดด้วยเหตุผล เป็นการสัมผัสจริงๆ มีสองตอน พิจารณาดู






อยากได้คำแนะนำในการปฎิบัติต่อไปจากท่านผู้รู้ครับ

หลายคืนที่ผ่านมา กระผมนั่งสมาธิเช่นทุกวันที่เคยทำ

แต่ในคืนนั่น มันเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ผม ไม่รู้หนทางว่าจะปฎิบัติ หรือกำหนดจิตอย่างไร

ต่อไป

ในวันนั่น ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พอง หนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อน

ของกระเพาะอาหารเวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ

คิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และรู้สึกว่า ร่างกายเหมือนไม่มี

เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก หายไปไหน

ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป

ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนด ยุบหนอ พองหนอ ไม่ได้เสียแล้ว เพราะ เหมือนกับว่า

ร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ

ผมเลย ใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป จนเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีก

ครั้ง คือ

ผมไม่ได้หายใจ แต่ ใจผม ยังคงหยุดอยู่ที่ สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึก สิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น

ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะ หนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะ เหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลย

เหมือนทุกสิ่งทุกอย่าง หายไปหมด คือ เหมือนร่างกาย ก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด

เหมือนกับว่า ไม่มีอะไรอยู่ข้างกายแบบนี้อ่ะครับ

ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆ แล้วก็รู้สึกว่า

มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง

รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา

ในตอนนั้น

ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกายอ่ะ ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก

คือ เหมือนว่า

ร่างกายผมมันสกปรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (เป็นความรู้สึกในตอนนั้น)

ผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวัน เหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะ

นั่นเลย

หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆ มา นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อ

กัน

แต่ ทุก ๆ คืน จนถึงวันนี้ ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยาก เจอหน้าภรรยา

ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร

แม้แต่ตัวเอง

วัน ๆอยากนั่งทำสมาธิ เพราะ ในช่วงที่ เล่าให้ฟัง มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ

2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ

3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ



วันต่อมา สังเกตความรู้สึกก่อนหน้า คือจาก ข้างบนจะเปลี่ยนไป คือ

เป็นไปตามกฏธรรมชาติ หรือตามกฏไตรลักษณ์





เมื่อวานนี้ ได้นั่งพิจารณา อารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน

รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ

พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง

คราวนี้ มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรก แต่

ครั้งนี้ เกิด นิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็ก ๆ กลายเป็นลูกใหญ่ คือเวลาเราหลับตา

มันจะดำๆ

แต่พอ ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกาย ทั่วที่

หลับตาอยู่นั่นเอง และพอ กำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่น

จิตจะสั่งการอะไร ได้หมด

ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้ว

แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์

จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใด ๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น พิจารณาอยู่นาน เหมือนกัน

ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป

ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆ ตัว หายไป หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหาย

ไป ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ



คราวนี้ เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆ ขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน

ค่อย ๆปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่า ได้กลับไปอยู่ในสถานการณ์นั่น ๆ อีกครั้งหนึ่ง

ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต

ค่อย ๆ ผุดขึ้นมาที่ละนิด ๆ จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็กๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง

บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็ รู้สึกดี ก็ตามพิจารณารู้ว่า รู้สึกดีตลอด

บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว

สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

รู้ถึงตอนที่ พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล

พอถึงตอนนี้ ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล ที่เห็น พ่อแม่ อยู่ด้วยกัน (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว)

เลยอธิฐานขอออกจากสมาธิ ภาพเหล่านั่นก็หายไป

แล้วความรู้สึก ถึงสภาวะรอบตัว และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ออกจากสมาธิครับ



-สิ่งที่ผมเห็น ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้

+ความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง

เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไม่ได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น

แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ

ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ

ไม่อยากยึดติดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ย. 2009, 20:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร