วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2009, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: วิปัสสนากรรมฐาน เน้นการเจริญ สัมมาสติ ส่วนสมถกรรมฐาน เน้นการเจริญ สัมมาสมาธิ
(ตอบตามความเข้าใจของตนเองนะค่ะ)
ผู้เริ่มต้นสนใจปฏิบัติธรรมมักสงสัยว่า จะเลือกแนวทางไหนดี ซึ่งเคยประสบกับตนเองมาก่อน
เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม คือการนั่งสมาธิ เวลาปฏิบัติเองจึงนั่งสมาธิเอา
ความสงบ จึงไม่ใช่เรื่องที่แปลก เวลาไปปฏิบัติธรรมที่วัด หรือสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ พระ
อาจารย์จะบอกว่าสอนวิปัสสนากรรมฐาน เช่น ให้เดินจงกรม เอาสติตามรู้กาย การเคลื่อนไหว
เมื่อคิดอะไร ตามรู้ว่ากำลังคิด เป็นต้น
ส่วนสมถกรรมฐาน พระอาจารย์บอกว่า จะเกิดสัมมาสมาธิ ในฌาน 4


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2220_resize_resize.JPG
100_2220_resize_resize.JPG [ 78.57 KiB | เปิดดู 5753 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณกษมมาดา และกัลยาณมิตรทุกท่าน

กษมมาดา เขียน

วิปัสสนากรรมฐาน เน้นการเจริญ สัมมาสติ ส่วนสมถกรรมฐาน เน้นการเจริญ สัมมาสมาธิ
(ตอบตามความเข้าใจของตนเองนะค่ะ)


ขออนุญาตแสดงความเห็นเพิ่มเติมเสริมอีกหน่อยนะครับ

วิปัสสนากรรมฐาน เน้นการเจริญ ปัญญา ศีล ความเพียร สติ และ สมาธิ เพราะวิปัสสนาภาวนา เป็นชื่อย่อของการเจรฺญมรรค 8 ครับ งานวิปัสสนาภาวนา จะให้ผล เป็น มรรค ผล นิพพาน

สมถะกรรมฐาน เน้นการเจริญ สติ และสมาธิ เพื่อข่ม สงบ กลบบัง นิวรณ์์ธรรมทั้ง 5 งานสมถกรรมฐาน ให้ผลเป็น ฌาณ

:b8: :b27:
tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากกระทู้ที่ผมเคย post ไว้

viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655

สรุปความแตกต่างเกี่ยวกับสมถะและวิปัสสนาโดยสังเขป

๑. สมถะ คือตัวสมาธิ ส่วนวิปัสสนา ก็คือ ตัวปัญญา

๒. ศีลธรรมดา มีอารมณ์เป็นภายนอก ส่วนศีลที่เกิดร่วมกับวิปัสสนานั้น เป็นศีลที่มีอารมณ์เป็นภายใน หมายถึงอินทรีย์สังวรศีลนั่นเอง เพราะอินทรีย์สังรศีล เป็นศีลที่มรประสิทธิภาพในอันที่จะกางกั้นอาสวธรรมที่จะไหลเข้าทางตาเป็นต้นได้

๓. สมถะ มีประสิทธิภาพในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง ด้วยอำนาจของวิขัมภนปหาน ส่วนวิปัสสนานั้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้ด้วยอำนาจของตทังคปหาน

๔. สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้ เพราะแม้ในฌานสมาบัติเองก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่ เหตุนั้นจึงทำให้ผู้ได้ฌานสมาบัติยังมีความชื่นชมยินดีในความสุขที่เกิดจากฌานนั้นอยู่ ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเปิดเผยความจริงของนามรูปที่อวิชชาคือความไม่รู้ อันเป็นตัวปิดบังความจริงเอาไว้ เมื่ออวิชชาทำกิจปกปิดความจริงไม่ได้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า "กำลังถูกวิปัสสนาทำลายให้หมดไปในตัวอีกส่วนหนึ่งด้วย"

๕. สมถะ เมื่อทำไปจนเกิดผลก็ทำให้เกิดความสงบสุข ส่วนวิปัสสนานั้นเมื่อทำไปจนเกิดวิปัสสนาแล้ว ก็ทำให้เห็นแต่ทุกข์อย่างเดียว เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นทุกขืแล้ว ตัณหาและทิฏฐิก็ไม่อาจจะอาศัยเกิดได้ในอารมณ์เช่นที่ว่านั้น

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว

๘. การทำสมถะเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไปเป็นชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมงก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น

๙. สมถะ ใช้อารมณ์เป็นบัญญัติ เช่น บัญญัติกสิณ หรืออสุภะเป็นต้น ส่วนวิปัสสนานั้น ต้องใช้สภาวะคือ นามรูป มาเป็นอารมณ์จึงจะใช้ได้

๑๐. อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา ที่จะพึงได้จากการปฏิบัติก็แตกต่างกันทั้งในส่วนปัจจุบัน และอนาคต คืออานิสงส์ของสมถะในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ได้อภิญญา เหาะเหินเดินอากาศหรือดำไปในดินดุจดำน้ำเป็นต้นก็ได้ อานิสงส์ของสมถะในอนาคตชาติคือชาติหน้านั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็ช่วยให้ได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่ในพรหมโลกตามอำนาจของฌานนั้นๆ

ส่วนอานิสงส์ของวิปัสสนาในชาติปัจจุบันนั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้สิ้นจากอาสวะกิเลส คือกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ หรือสิ้นจากกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดนั่นเอง ส่วนอานิสงส์ในอนาคตชาตินั้น ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากชาติกันดาร ชรากันดาร และมรณะกันดาร ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายในชาติอื่นๆ อีกต่อไป ดังนั้นสมถะกับวิปัสสนาจึงมีความแตกต่างกันดังแสดงมาโดยสังเขปดังนี้

viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655

-------------------------------------------------------



21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ

viewtopic.php?f=2&t=21062

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อคิดจาก พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านหนึ่ง


viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา


--------------------------------------------------------------


เมื่อก่อนเข้าใจว่า สมาธิ คือ วิปัสสนา

เข้าใจว่า การเพ่ง ท้องยุบหนอพองหนอ , เพ่งขาทั้งสองข้าง พร้อมบริกรรม ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ


ตอนนี้เปลี่ยนแนวแล้วครับ การเพ่งอะไรโดยไม่เปลี่ยนอารมณ์ให้เกิดความสงบ ( อัปปนาสมาธิ, ขั้นฌาน ) นั้นคือ สมถะกรรมฐาน หรือ สมาธิ

แต่ผู้ปฏิบัติ สายยุบหนอ พองหนอ หรือผู้ที่ยังเข้าใจว่า สมาธิคือวิปัสสนา(ภาวนาพุทโธ, สัมมาอรหัง ฯลฯ) ต่างก็ยึดมั่น ว่า นั้นแหละคือ วิปัสสนา

แล้วยึดถือ ปิติ,สุข,สงบ , องค์ฌานต่าง ๆ ว่า คือ วิปัสสนาญาณ

แม้กระทั่ง ยึดถือ นิมิต ว่า คือ พระนิพพาน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

-----------------------------------------------

ลองศึกษาแนวทาง การปฏิบัติแบบวิปัสสนายานิกะ ที่นำ รูป นาม ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์

แนวทางนี้ เปรียบไปแล้ว เหมือน ออกมาดูละคร รูป นาม ขันธ์ ๕ มากำหนดรู้ในทุกข์

ไม่ใช่ ลงไปเล่นละครเอง กำกับเอง ในแบบ ยุบหนอ พองหนอ เช่น เดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม , เดินให้ได้ 1- 6 จังหวะ , กำหนดปวดหนอ ๆๆๆๆๆ จนหายปวด (สมาธิปิดบังทุกข์)

และ แนวทาง อาจารย์แนบ ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธ การเจริญวิปัสสนา แบบอาศัยองค์ฌานจากสมาธิ เพียงแต่ พระวิปัสสนาจารย์ สายนี้ ท่านไม่เชี่ยวชาญในแนวดังกล่าว ท่านจึงส่งเสริมแนวทาง วิปัสสนายานิกะ


สำหรับคุณ อโศกะ ดูเหมือนจะมอง สมาธิ ในแง่ลบเกินไป เคยโพสท์ในลานธรรมเสวนา เหมือนการปฏิบัติผิดสุดโต่งไปทางทรมานตนเอง

สายสมาธิบางแห่ง ทั้งวัดป่า วัดในเมือง ที่ขาดพื้นฐานทาง ปริยัติศาสนา ก็จะมุ่งเน้นแต่สมาธิ เข้าใจว่า สมาธิคือวิปัสสนา ปฏิบัติสมาธิไปแล้ว ก็จะเกิดปัญญาเอง (ไม่ต้องไปศึกษาปริยัติให้เนิ่นช้า)

นี้แหละครับ ในปัจจุบันจึง มีสำนักปฏิบัติมากมาย ตามมติของอาจารย์ต่าง ๆ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิปัสสนากรรมฐาน เน้นการเจริญ ปัญญา ศีล ความเพียร สติ และ สมาธิ เพราะวิปัสสนาภาวนา เป็นชื่อย่อของการเจรฺญมรรค 8 ครับ งานวิปัสสนาภาวนา จะให้ผล เป็น มรรค ผล นิพพาน

สมถะกรรมฐาน เน้นการเจริญ สติ และสมาธิ เพื่อข่ม สงบ กลบบัง นิวรณ์์ธรรมทั้ง 5 งานสมถกรรมฐาน ให้ผลเป็น ฌาณ
แต่ทั้งสมถะและวิปัสสนา จะเอาทั้งสองอย่างนี้ได้จะต้อง มีขันติคืออดทน
อย่างเต็มที่ และสัจจะความมุ่งมั่นเมื่อรับปากตัวเองจะต้องทำให้ได้(ถือภาษิตว่าตายเป็นตาย) เพราะสัจจะเป็นประตูๆหนึ่งหรือคุณธรรมที่สำคัญมากช่วยก่อให้เกิด มรรคในอริยสัจจ์ ส่วนขันติ เป็นคุณธรรมที่สำคัญที่ช่วยข่มกิเลสและเผาผลาญกิเลสทุกระดับ ตั้งแต่อย่างหยาบจนถึงอย่างกลาง ส่วนอย่างละเอียดต้องใช้ปัญญาของวิปัสสนาในการทำภาวนาจนเห็นแจ้งรู้แจ้งเป็นตัวกำจัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




03pongs.jpg
03pongs.jpg [ 36.03 KiB | เปิดดู 5723 ครั้ง ]
tongue มีความสุขนะครับท่านChalermsak คุณอินทรีย์ 5 ท่านเจ้าของกระทู้ และกัลยาณมิตรทุกท่าน

ผมถูกพาดพิง จากท่านChalermsak (พาดพิงดีนะครับ)จึงมาแสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกน่ดหน่อยครับ


อ้างคำพูด:
Chalermsak เขียน
สำหรับคุณ อโศกะ ดูเหมือนจะมอง สมาธิ ในแง่ลบเกินไป เคยโพสท์ในลานธรรมเสวนา เหมือนการปฏิบัติผิดสุดโต่งไปทางทรมานตนเอง

สาย สมาธิบางแห่ง ทั้งวัดป่า วัดในเมือง ที่ขาดพื้นฐานทาง ปริยัติศาสนา ก็จะมุ่งเน้นแต่สมาธิ เข้าใจว่า สมาธิคือวิปัสสนา ปฏิบัติสมาธิไปแล้ว ก็จะเกิดปัญญาเอง (ไม่ต้องไปศึกษาปริยัติให้เนิ่นช้า)

นี้แหละครับ ในปัจจุบันจึง มีสำนักปฏิบัติมากมาย ตามมติของอาจารย์ต่าง ๆ

อโศกะ ชี้แจง

สมถะ แปลว่า สงบนิวรณ์ 5 จนได้ฌาณ ดีอยู่ แต่ถ้าไม่เจริญปัญญาต่อนั้น ไม่ค่อยดี จะทำให้ผู้ปฏิบัติ ติดกัปป์ (เวลาอันยาวนานมากๆ) ชวดเชยโอกาสที่จะได้ถึงนิพพาน ผมเลยต้องเคาะแรงๆ แรงมากไปหน่อยก็กราบขออภัยนะครับ

ครูบาอาาจารย์ทางอีสาณที่ท่านทำสมถะมาเต็มที่ ช่วงท้ายหลังจากท่านยกขึ้นสู่วิปัสสนา เจริญปัญญาต่อแล้ว ส่วนใหญ่ท่านก็สารภาพให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง เรื่องความติดหลงในฌาณของท่าน เราลูกศิษย์ทั้งหลายก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียนแบบอาจารย์เสียทั้งหมด คือไปฝึกทรมาณกาย อดข้าว อดน้ำ ทำความเพียร ทำสมาธิกันหลายๆปีก่อนแล้วค่อยมาเจริญปัญญาต่อ

พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงพิสูจน์มถะล้วนๆมาด้วยพระองค์เองดีแล้ว จึงมาบอกเตือนปัญจวัคคีย์ ว่าสมถะล้วนไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นความสุดโต่ง และทรมาณตนเอง การมัวแต่ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล โดยไม่ใช้ปัญญา ด้วยหวังจะได้ผลตอบแทนเป็นความกามสุขทั้งหลายนั้นก็เป็นทางย่อหย่อน

พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำปัญจวัคคีย์ ซึ่งคงจะเลยมาถึงชาวพุทธทั้งหมด ให้เดินตามทางสายกลาง คือมรรค มีองค์แปดอันพระองค์พิสูจน์มาแล้ว เป็นคำสอนที่สมบูรณ์พร้อมแล้วในตัว ทั้งสติ สมาธิ ปัญญา วิริยะ ศีล และขันติ ตบะ โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการอย่างที่คุณอินทรีย์ 5 กรุณามาตอกย้ำ


เชิญชวนกันมา ศึกษามรรค 8 ให้ลึกซึ้ง แตกฉานกันเถิด แล้วปฏิบัติ เจริญมรรค 8 กันให้เก่ง ให้ครบองค์ธรรม อย่าไปโด่งสุดโต่งแค่มรรคใดมรรคหนึ่ง จนเกินไป อย่างที่กำลังทำกันอยู่ในปัจจุบัน บ้างเน้นสติ บ้างเน้นสมาธิ แต่คำสอนที่เน้นปัญญา กลับหาได้น้อย

ยิ่งคำสอน อาจารย์ที่สอนให้เจริญมรรค 8 โดยสมบูรณ์ สมดุลย์สัมพันธ์กัน ยิ่งหาได้ยาก น่าแปลก พระพุทธเจ้าทรงย้ำมรรค 8 รับรองมรรค 8 ไว้ชัดเจน แต่ผู้เจริญและสอนมรรค 8 ในแนวแนวปฏิบัติ กลับหายาก ลองพิจารณาดูดีๆ กันนะครับ

:b8:
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ chalermsak มาแต่เมื่อไหร่ครับ เพิ่งสังเกต

สวัสดีขอรับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3467_resize.JPG
100_3467_resize.JPG [ 70.91 KiB | เปิดดู 5704 ครั้ง ]
tongue เจอท่าน Chalermsak ดังปารถนาแล้วนะครับ ท่านกรัชกาย ธรรมมะช่างจัดสรรจริงๆ สาธุ อนุโมทนา คงจะได้สนทนากันเต็มที่หน่อยนะครับ เพราะที่ลานธรรมจักรนี้ คณะผู้บริหารจัดการท่านใจกว้างมีเมตตาและกรุณาสูง เปิดโอกาสให้มีอิสระในการแสดงความเห็นมากพอสมควรเลยครับ ต้องอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่งครับ :b8: :b27: tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เจอท่าน Chalermsak ดังปารถนาแล้วนะครับ ท่านกรัชกาย ธรรมมะช่างจัดสรรจริงๆ สาธุ อนุโมทนา คงจะได้สนทนากันเต็มที่หน่อยนะครับ



แวะมาทักทายในฐานะคนรู้จักกันมาก่อนนะครับ คุณอโศกะ

จะถามเกี่ยวกับคอมฯ สะหน่อยว่า ดูแลเครื่องยังไงไวรัส จึงไม่เข้าเครื่อง ข้อมูลเดิมๆ ทั้งนั้น

ลิงค์ยังอันเก่าของเดิมจำได้หมดแล้ว

ประเด็นเหล่านั้น เคยสนทนากันตั้งแต่บอร์ดเก่าแล้วครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2009, 14:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณเฉลิมศักดิ์ ว่าเนี่ย =>

อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ ลงไปเล่นละครเอง กำกับเอง ในแบบ ยุบหนอ พองหนอ เช่น เดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม ,
เดินให้ได้ 1- 6 จังหวะ , กำหนดปวดหนอ ๆๆๆๆๆ จนหายปวด (สมาธิปิดบังทุกข์)




ไม่เคยได้ยิน สมาธิปิดบังทุกข์

เคยแต่ได้ยินและรู้ๆมาว่า สิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ อิริยาบถ

หลักมีดังนี้


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตา เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย

เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา

แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้

ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ


๑. สันตติ บังอนิจจสักษณะ

๒. อิริยาบถ บังทุกขสักษณะ

๓. ฆนะ บังอนัตตสักษณะ

จำได้ว่า เคยโต้แย้งกันมาแล้วประเด็นนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2009, 14:31, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ ลงไปเล่นละครเอง กำกับเอง ในแบบ ยุบหนอ พองหนอ เช่น เดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม ,
เดินให้ได้ 1- 6 จังหวะ , กำหนดปวดหนอ ๆๆๆๆๆ จนหายปวด (สมาธิปิดบังทุกข์)





อ้างคำพูด:
ไม่เคยได้ยิน สมาธิปิดบังทุกข์

เคยแต่ได้ยินและรู้ๆมาว่า สิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ อิริยาบถ



คุณกรัชกายครับ ถูกต้องแล้วครับ ในสภาวะธรรมทั่วไป หรือ ในชีวิตประจำวัน อิริยาบถ ได้เข้ามาปิดบังทุกข์ไว้

เมื่อวานนั่งพับเพียบ ฟังพระสวดมนต์ ได้ประมาณ 30 นาที รู้สึกปวดชาที่ขาไปหมด จนต้องเปลี่ยนเป็นท่าเทพบุตร สักพักก็ปวดอีก ก็เปลี่ยนเป็นนั่งพับเพียบอีกข้างหนึ่ง

แต่ในแนวทางการปฏิบัติบางแบบ เมื่อ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ขณะนั่งสมาธิ ( ภาวนายุบหนอ พองหนอ) ก็เปลี่ยนคำภาวนามาเป็น ปวดหนอ ๆ ๆ เพ่งจี้ลงไป ( ขณะนี้เป็นการเพิ่มกำลังของสมาธิ) ให้หายปวด


หรือ อาจจะภาวนาอย่างอื่น เช่น พุทโธ , สัมมาอรหัง เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้แหละครับ ที่ผมเรียกว่า สมาธิปิดบังทุกข์

เพราะไม่สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้


ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น

ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา

เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง

--------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ


๑. สันตติ บังอนิจจสักษณะ

๒. อิริยาบถ บังทุกขสักษณะ

๓. ฆนะ บังอนัตตสักษณะ

จำได้ว่า เคยโต้แย้งกันมาแล้วประเด็นนี้


สำหรับแนวทาง ของวิปัสสนายานิกะ ที่พิจารณา รูป นาม ขันธ์ ๕ หรือ อิริยาบถ เพื่อให้กำหนดรู้ในทุกข์ ที่ผมเห็นว่า มี โยนิโสมนสิการ คือ แนวทาง อิริยาบถ บรรพะ ของพระวิปัสสนาจารย์ เหล่านี้ครับ

แต่คุณกรัชกาย น่าจะเห็นว่าไม่ถูกต้องครับ สู้แบบยุบหนอ พองหนอไม่ได้ จนคุณกรัชกายตั้งกระทู้ว่า


แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 44bb202b20

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อโศกะ ชี้แจง

สมถะ แปลว่า สงบนิวรณ์ 5 จนได้ฌาณ ดีอยู่ แต่ถ้าไม่เจริญปัญญาต่อนั้น ไม่ค่อยดี จะทำให้ผู้ปฏิบัติ ติดกัปป์ (เวลาอันยาวนานมากๆ) ชวดเชยโอกาสที่จะได้ถึงนิพพาน ผมเลยต้องเคาะแรงๆ แรงมากไปหน่อยก็กราบขออภัยนะครับ

ครูบาอาาจารย์ทางอีสาณที่ท่านทำสมถะมาเต็มที่ ช่วงท้ายหลังจากท่านยกขึ้นสู่วิปัสสนา เจริญปัญญาต่อแล้ว ส่วนใหญ่ท่านก็สารภาพให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง เรื่องความติดหลงในฌาณของท่าน เราลูกศิษย์ทั้งหลายก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียนแบบอาจารย์เสียทั้งหมด คือไปฝึกทรมาณกาย อดข้าว อดน้ำ ทำความเพียร ทำสมาธิกันหลายๆปีก่อนแล้วค่อยมาเจริญปัญญาต่อ


สวัสดีครับ คุณอโศกะ

มีอาจารย์สายวัดป่า วัดบ้าน ฯลฯ ที่เน้นการทำสมาธิ สำนักใดบ้างครับ ที่สอนวิธีการยกองค์ฌาน ( ฌาน ๑ ถึง ฌาน ๔ ) ขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนา ในแบบที่ปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา แบบนี้บ้างครับ แนะนำด้วย




21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049&p=98655#p98655



ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล.


-----------------------------------------------------------------

คุณอโศกะครับ ประเด็นที่ผมอ้างอิงคุณ เนื่องจาก คุณเน้นหนักการปฏิบัติแบบ วิปัสสนายานิกะ ที่ไม่อาศัยองค์ฌานจากสมาธิ (ตามความเข้าใจส่วนตัวของคุณ )

แล้วคุณกลับเห็นว่า การทำสมาธิ เป็นทางสุดโต่ง เน้นไปในทางการทรมานตนเอง ทำนองนี้ (ที่ลานธรรมเสวนา ถ้าผมจำไม่ผิดคนนะ)

คุณอโศกะ ลองนำอัตตโนมติของคุณ มาลงไว้ที่นี้ด้วยก็ได้นะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ ลงไปเล่นละครเอง กำกับเอง ในแบบ ยุบหนอ พองหนอ เช่น เดิน 1 ชม. นั่ง 1 ชม ,
เดินให้ได้ 1- 6 จังหวะ , กำหนดปวดหนอ ๆๆๆๆๆ จนหายปวด (สมาธิปิดบังทุกข์)





อ้างคำพูด:
ไม่เคยได้ยิน สมาธิปิดบังทุกข์

เคยแต่ได้ยินและรู้ๆมาว่า สิ่งที่ปิดบังทุกข์ คือ อิริยาบถ



คุณกรัชกายครับ ถูกต้องแล้วครับ ในสภาวะธรรมทั่วไป หรือ ในชีวิตประจำวัน อิริยาบถ ได้เข้ามาปิดบังทุกข์ไว้

เมื่อวานนั่งพับเพียบ ฟังพระสวดมนต์ ได้ประมาณ 30 นาที รู้สึกปวดชาที่ขาไปหมด จนต้องเปลี่ยนเป็นท่าเทพบุตร สักพักก็ปวดอีก ก็เปลี่ยนเป็นนั่งพับเพียบอีกข้างหนึ่ง

แต่ในแนวทางการปฏิบัติบางแบบ เมื่อ ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ขณะนั่งสมาธิ ( ภาวนายุบหนอ พองหนอ) ก็เปลี่ยนคำภาวนามาเป็น ปวดหนอ ๆ ๆ เพ่งจี้ลงไป ( ขณะนี้เป็นการเพิ่มกำลังของสมาธิ) ให้หายปวด


หรือ อาจจะภาวนาอย่างอื่น เช่น พุทโธ , สัมมาอรหัง เป็นต้น


การปฏิบัติแบบนี้แหละครับ ที่ผมเรียกว่า สมาธิปิดบังทุกข์

เพราะไม่สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้


ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น

ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา

เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง

--------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ


๑. สันตติ บังอนิจจสักษณะ

๒. อิริยาบถ บังทุกขสักษณะ

๓. ฆนะ บังอนัตตสักษณะ

จำได้ว่า เคยโต้แย้งกันมาแล้วประเด็นนี้


สำหรับแนวทาง ของวิปัสสนายานิกะ ที่พิจารณา รูป นาม ขันธ์ ๕ หรือ อิริยาบถ เพื่อให้กำหนดรู้ในทุกข์ ที่ผมเห็นว่า มี โยนิโสมนสิการ คือ แนวทาง อิริยาบถ บรรพะ ของพระวิปัสสนาจารย์ เหล่านี้ครับ

แต่คุณกรัชกาย น่าจะเห็นว่าไม่ถูกต้องครับ สู้แบบยุบหนอ พองหนอไม่ได้ จนคุณกรัชกายตั้งกระทู้ว่า


แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 44bb202b20



คุณเฉลิมศักดิ์ cool

คือยังเขียนไม่จบ แต่นำมาให้อ่านไปพรางๆก่อนค่ะ

รู้ กับ กำหนดรู้ ต่างกันคือ

ก. รู้ ได้แก่ การรู้ของวิญญาณ ของสัญญา มิได้รู้ด้วยปัญญา การรู้อย่างนี้ ไม่ละความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสัตว์
บุคคล ตัว ตน เรา เขา ได้ มีแต่จะเพิ่มความยึดมั่นถือมั่นเข้าไปอีก

ข. การกำหนดรู้ ได้แก่ รู้เพราะอำนาจแห่งกรรมฐาน รู้เพราะอำนาจแห่งการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
ความเพียร สติ สัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็ได้แก่ปัญญานั่นเอง การรู้อย่างนี้จึงละ
จึงจะเพิกถอนความสำคัญผิดคิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ได้



ในเรื่องของการกำหนด " หนอ " บางครั้ง เราจำเป็นต้องนำมาใช้ เมื่อสติที่มีอยู่นั้น
ไม่มากพอที่จะทันการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้น เช่น กรณีความคิดอกุศลเกิดขึ้น หากเกิดขึ้นแล้ว
ไม่สามารถกำหนดรู้ให้หายไปได้ ให้ใช้ " หนอ " เข้ามาช่วย เช่น คิดหนอๆๆๆ ตามสำทับด้วย รู้หนอๆๆๆ
แต่ถ้าเกิดไวมาก กำหนดไม่ทัน ให้ตามสำทับด้วยรู้หนอๆๆๆ ทุกครั้ง เพื่อให้จิตบันทึกไว้
ครั้งต่อไปเกิดอีก สติจะทันมากขึ้น


กรณีเกิดความคิดอกุศลในปัจจุบัน คือ ในขณะนั้นๆ สามารถรูตัวทันให้กำหนดคิดหนอๆๆๆ
สำทับด้วย รู้หนอๆๆๆ ตรงนี้ใช้ได้ เพราะเป็นปัจจุบัน ถ้ากรณีเกิดผ่านไปแล้ว
กำหนดไม่ทัน ให้ใช้ รู้หนอๆๆๆ สำทับตาม อย่าปล่อยให้ผ่านไป ไม่ให้ใช้คิดหนอ
เพราะนั่นคือ อดีต ผ่านไปแล้ว เท่ากับเราไปเอาสัญญามาจดจำไว้ ...


ในการกำหนด ไม่ต้องรอให้ความคิดดับถึงจะเลิกกำหนด คือ ให้คิดหนอ สำทับด้วย รู้หนอ
มันจะดับหรือไม่ดับ ไม่เป็นไร เราไม่ต้องไปสนใจในความคิด ให้เอาสติกลับมารู้อยู่ที่กาย
ถ้าเดินจงกรม ให้มารู้กับเดินจงกรม ไม่ต้องไปเฝ้าดูมันว่ามันจะดับเมื่อไหร่ การที่เราไปเฝ้าดูมัน
เท่ากับเราไปให้ความสำคัญต่อมัน จากที่มันไม่มีตัวตน มันจะกลายเป็นมีตัวตนขึ้นมาจริงๆ
ตามอุปทานที่เราเฝ้าดูมัน ในแง่ของการกำหนดนั้น ที่ไม่ได้ให้รอจนมันดับ
เพราะว่าเมื่อเราทำต่อเนื่อง สติจะมีกำลังมากขึ้น จะทันต่อการปรุงแต่งของจิตเอง


ในการกำหนดทุกๆครั้งจะเกิดขณิกสมาธิร่วมด้วย จากขณิกเมื่อได้รับการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
จะกลายเป็นอัปนาสมาธิได้

มองดูเหมือนว่า สมาธิจะมาช่วยกดข่มความคิดนั้นไว้ด้วย พอหมดอำนาจสมาธิ
ความคิดอกุศลก็ยังคงเกิดขึ้นได้อีก

ตรงนี้โยคีไม่ต้องไปวิตกกังวล เพราะการกำหนดจะมีสมาธิเกิดร่วมด้วยทุกครั้งจริงอยู่
แต่กำลังของสติที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะมากตามเหมือนกัน จนสุดท้ายความคิดอกุศลนั้นจะเบาบางลง
จนหายไปในที่สุด ต้องทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงจะได้ผล คือ หายแล้วหายเลย
ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างเด็ดขาด หรือถ้ามีเล็ดลอดเกิดขึ้นมาตามสิ่งที่มากระทบ
สติมันจะไวมากขึ้น มันแค่แว่บขึ้นมาแล้วหายไปทันที ไม่มีการปรุงแต่งต่อเหมือนทุกๆครั้ง


เมื่อมีสติ สัมปชัญญะที่ดีแล้ว การกำหนด " หนอ " ที่ใช้อยู่จะหายไปเอง คือ
เมื่อเกิดความคิดอกุศล มันจะดับทันที

ไม่ปรุงต่อยืดยาว บางคนหนักไปทางปัญญา จะใช้การพิจรณา ตรงนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆๆ
เพราะกุศลแต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน บางคนพิจรณาแล้ว
สามารถทำให้ความคิดอกุศลนั้นๆดับหายสิ้นไปได้ ....

การกำหนดแบบไหนจึงจะเรียกว่า เป็นการแทรกแซงสภาวะ


บางครั้งการกำหนดอาจจะดูเหมือนเป็นการแทรกแซงสภาวะ
แต่เราก็จำเป็นต้องใช้ในบางสถานการณ์ เช่น ความคิดอกุศลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
ขณะที่ สติ สัมปชัญญะเรายังไม่มากพอ ยังไม่สามารถทันความคิดอกุศลที่เกิดขึ้น

หากเรามัวแต่แค่ดู แค่รู้ แต่พิจรณาไม่เป็น มันก็สามารถทำให้จิตสะสมพฤติกรรม
ความคิดอกุศลนี้ได้ ( บางคน ) เมื่อความคิดอกุศลแรงมากขึ้น ย่อมสามารถก่อให้เกิด
การกระทำอกุศลโดยไม่รู้สึกผิดขึ้นมาได้ ...


ขณะที่นั่งสมาธิ เกิดเวทนา เราควรดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ดูลมหายใจเข้าออก
เมื่อเวลาจิตเกิดเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดมากขึ้น เหมือนลมหายใจหายไป จับไม่ได้เลย
แล้วมีความรู้สึกว่าเหลือแต่กาย ตรงนี้ถ้าสติไม่ทัน จะหลง คือ จะไปติดนิ่ง โยคีพึงกลับมารู้ที่กาย
เช่นการเคลื่อนไหวของกาย ท้องพองยุบ หรือตรงส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของกาย หรือ ให้รู้ว่า นั่ง
หรือให้รู้ที่ก้นย้อยซ้ายขวา ที่สัมผัสอยู่กับพื้น หรือที่ทรวงอกที่เคลื่อนไหวขึ้นลงตามลมหายใจเข้าออก
หรือจะรู้ตรงส่วนไหนของกายก็ได้ที่รู้สึกชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้จิตอยู่กับองค์กรรมฐาน

สักพักลมหายใจจะกลับมาชัดขึ้น ให้ไปจับที่ลมหายใจต่อ ทำสลับไปมาแบบนี้ แล้วจิตจะไม่ไปติดนิ่ง
สมาธิก็จะเจริญมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น สติ สัมปชัญญะก็จะมีกำลังมากขึ้นตามตัว

เมื่อเกิดเวทนา ขณะที่นั่งสมาธิ บางครั้งเกิดความเจ็บปวด ชา คัน ฯลฯ แรกๆ เราดูตามความเป็นจริงไปก่อน
แต่ถ้าดูแล้วอาการจะมากขึ้น นั่นคือการปรุงแต่งของสังขารที่มีมากขึ้น เนื่องจากสติเรายังมีกำลังไม่มากพอ
ให้เราใช้การกำหนด " หนอ " เข้ามาช่วย เช่น ปวดหนอๆ ตามสำทับด้วย รู้หนอๆ หายใจยาวๆช่วย
เพื่อดึงสติให้เกิดเร็วขึ้น อาจจะเป็นการกดหรือข่มเอาไว้ด้วยกำลังสมาธิและสติทำงานร่วมกัน
บางครั้ง ถ้าสติดี และสมาธิดี ไม่ว่าจะมีกำหนด " หนอ " หรือไม่มีก็ตาม เวทนาตรงนี้จะดับหายไป
เราจะเห็นว่า กายส่วนกาย จิตส่วนจิต แยกการทำงานขาดออกจากกัน หรือ
ภาษาที่เรียกว่า ผู้รู้ เกิดขึ้น ( จิต )

ตรงจุดนี้ ถ้าโยคีไม่ได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง อาจจะหลงทางได้ คิดว่าตัวเองพบธรรมอันวิเศษ
จริงๆแล้วไม่ใช่ เพียงแต่เพราะ สมาธิดี สติดี นั่นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 08:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 5634 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์



คุณเฉลิมศักดิ์ ถามจริงๆ เมื่อไหร่คุณจะปล่อยให้ อ. แนบ ของคุณไปผุดไปเกิดสะทีนะ :b32:

อ้อ อ.บุญมีด้วย :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร