วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์เข้ามาที่กระทู้เหล่านี้เพื่อสนทนากันเรื่องที่คุณโจมตีท่านพุทธทาสว่าสอนผิด

ที่ว่าผิดนั้นผิดอย่างไร

ที่ถูกเป็นอย่างไร

อย่าหนีเลย

กล้าทำต้องกล้ารับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31698

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31697

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31671

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ เรื่องคำสอนท่านพุทธทาส ผมก็ได้นำ พระไตรปิฏก อรรถกถา มาอ้างอิงแล้ว

สภาพบ้านเมืองตอนนี้ วุ่นวายมาก ทั้งนี้ ยังมีพระพุทธศาสนาอยู่ และ ขัยอายุของมนุษย์อยู่ที่ ๗๕ ปี แต่ก็อยู่ใน กลียุค

และเมื่อ พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไป ด้วยพุทธบริษัท ยึดถือ อัตตโนมติของอาจารย์ตนเองเป็นใหญ่

พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาทถูกทำลายสูญหายไปในที่สุด

และขัยอายุ อยู่ที่ ๑๐ ปี ( ๑๐๐ ปี ขัยอายุลดลง ๑ ปี) จะเกิดการเข่นฆ่ากันระหว่างมนุษย์

จักกวัตติสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ
------------------------------------------------------------

พุทธทำนาย 16 ประการ

พุทธทำนายของพระบรมศาสดาผู้ยิ่งใหญ่
http://larndham.org/index.php?showtopic=35194&st=0



----------------------------------------------------------

จาก อรรถาธิบาย และ พระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://larndham.org/index.php?showtopic=24348&st=3



..............การถูกทำลาย และการเกิดใหม่ของจักรวาลและโลกธาตุ..............

........................เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วย
ราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ)
ถ้าหนาแน่นด้วย โทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด)
ถ้าหนาแน่นด้วย โมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด)

-------------------------------------------------------------------------

จากหนังสือ พระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ที่จะตรัสรู้ต่อจาก "เจ้าชายสิทธัตถะ โดย อ.บารมี

ยุคในพระพุทธศาสนามี ๔ ยุค

๑. กตยุค มีระยะเวลา ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีทั้งสิ้น
๒.เตฺรตายุค มีระยะเวลา ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีมากถึง ๓ ส่วน และจะมีอันธพาลคนชั่วเพียง ๑ ส่วน
๓. ทฺวาปรยุค มีระยะเวลา ๘๖๔,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีครึ่งหนึ่ง และจะมีอันธพาลคนชั่วครึ่งหนึ่ง
๔. กลิยุค มีระยะเวลา ๔๓๒,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีมากถึง ๑ ส่วน และจะมีอันธพาลคนชั่วเพียง ๓ ส่วน

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อธิบายว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ผ่านกลิยุคมาแล้วเป็นเวลา ๕,๐๗๗ ปี เหลือเวลาอีก ๔๒๖,๙๒๓ ปี จึงจะถึงเวลาสิ้นสุดกลิยุค และจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า "กตยุต" อันเป็นยุคที่มีแต่สัปปบุรุษคนดีทั้งสิ้น
--------------------------------------------------------------------



เรากำลังอยู่ใน กลียุค ครับ

ยุคที่ศีลธรรมในจิตใจของมนุษย์ กำลังเสื่อมถอยลงครับ

อายุขัยเริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ

อากาศเริ่มจะวิปริตขึ้นเรื่อย ๆ


คุณ mes ครับ พระพุทธพจน์ อรรถกถา เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ อาจารย์พุทธทาสของคุณคงไม่เคยนำมาแสดงนะครับ

แต่เรื่องเหล่านี้ก็เกี่ยวกับทุกข์นะครับ

ทุกข์ในวัฏฏะสงสาร ที่ผู้เห็นภัยจะได้เร่งทำความเพียร วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อไม่ต้องเกิดมาพบกับความทุกข์อีกต่อไป

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์อย่าพูดปากพล่อย พูดไม่รับผิดชอบ

ไม่ต้องยกพระสูตร ไม่ต้องยกอรรถกถา

ที่ผมถามตามที่ผมตั้งกระทูไม่เกี่ยวกับกลียุคอะไร

ตอบไม่ได้ก็ปลิ้นปล้อนไปตามนิสัย

ต่อไปนี้ผมจะเรียกเฉลิมศักดิ์ปากพล่อย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=21062

สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็น
พระตถาคตมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้
ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจ
เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียร
โดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้



ขอคุณ mes ได้ชี้แจงเถิดว่า ผมได้ทำการ ดัดแปลงพระสัทธรรมอย่างไร

ดังที่ผมได้ชี้แจงว่า อาจารย์พุทธทาสของคุณ กล่าวตู่พระพุทธพจน์ อย่างไร

เพราะทุกวันนี้ ชาวพุทธทั้งหลายก็เชื่อใน อัตตโนมติของอาจารย์ตนเป็นใหญ่ จนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป

ดูตัวอย่าง อัตตโนมติของอาจารย์คุณ ในเรื่อง การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา

อ้างว่า เป็น อานาปานสติสมบูรณ์แบบ

viewtopic.php?f=2&t=22506&start=183


แต่ขาดเนื้อหาของการ การเจริญสติปัฏฐานนี้เหมาะกับคนจริตเช่นไร ? ทำฌานให้เกิดอย่างไร ? ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร ?

คุณ mes อย่าเอาแต่ด่าผมเลยครับ ไหนบอกว่า นิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้ , ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น, ไม่มีตัวกูของกูแล้ว

แต่ใครมาชี้แจงว่า อัตตโนมติท่านพุทธทาส ไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาทอย่างไร ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เลย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
ขอคุณ mes ได้ชี้แจงเถิดว่า ผมได้ทำการ ดัดแปลงพระสัทธรรมอย่างไร

ดังที่ผมได้ชี้แจงว่า อาจารย์พุทธทาสของคุณ กล่าวตู่พระพุทธพจน์ อย่างไร

เพราะทุกวันนี้ ชาวพุทธทั้งหลายก็เชื่อใน อัตตโนมติของอาจารย์ตนเป็นใหญ่ จนกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูป

ดูตัวอย่าง อัตตโนมติของอาจารย์คุณ ในเรื่อง การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา

อ้างว่า เป็น อานาปานสติสมบูรณ์แบบ

viewtopic.php?f=2&t=22506&start=183


แต่ขาดเนื้อหาของการ การเจริญสติปัฏฐานนี้เหมาะกับคนจริตเช่นไร ? ทำฌานให้เกิดอย่างไร ? ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร ?

คุณ mes อย่าเอาแต่ด่าผมเลยครับ ไหนบอกว่า นิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้ , ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น, ไม่มีตัวกูของกูแล้ว

แต่ใครมาชี้แจงว่า อัตตโนมติท่านพุทธทาส ไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกับพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาทอย่างไร ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เลย


คนที่ใจมืดบอดมักมองไม่เห็นความชั่วตนเอง

ผมโพสต์มาหลายครั้งแล้ว

สรุปสั้นสั้นเป็นตัวอย่างสักสองสามตัวอย่างก็ได้


1.บิดเบือนพระธรรมจากพระไตรปิฎกฝ่ายเถราวาท

สอนว่า สวรรค์มี เทวดามี

พระพุทธเจ้าสอนว่า

สวรรค์ เทวดามี ก็ไม่ใช่

สวรรค์ เทวดาไม่มี ก็ไม่ใช่

สวรรค์ เทวดาก็เป็นอิทัปปัจจยตา

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ

สวรรค์ เทวดามี เป็น สัสสสตทิฐิ

สวรรค์ เทวดาไม่มี เป็น อุจเฉททิฐิ

แดนนิพพาน แดนสวรรค์ แดนพระโพธิสัตว์เป็นความเชื่อของอาจาริยาวาท

และไม่ต้องยกพระสูตรย่อยมาแสดง

เพราะที่ผมยกขึ้นมากล่าวเป็นหลักธรรมใหญ่คือ

ปฏิจจสมุทบาทเปรียบเสมือนรอยเท้าช้าง ที่รอยเท้าสัตว์ทุกชนิดลงได้ในรอยเท้านี้

ตามหลักธรรมานุธรรมะปฏิบัติ

คือหลักธรรมย่อยคล้อยตามหลักธรรมใหญ่

อย่างนี้เป็นสัทธรรมปฏิรูปบิดเบือนพระธรรม


2.อ้างอรรถกถาที่เป็นหลักธรรมย่อยขึ้นมาตรวจสอบหลักธรรมใหญ่อย่างเช่นพระไตรปิฎกที่เฉลิมศักดิ์อ้างถึงว่า

หากไม่อาศัยอรรถกถาจะทำให้เข้าใจหลักธรรมผิด

อย่างนี้สอน้กินและบิดเบือนคำสอนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเช่นนั้น

ไม่เคยสอนให้เชื่อบุคคลหรือตำราโดยไม่พิจารณา

และสมัยพระพุทธเจ้าก็ยังไม่มีพระไตปืฎกไม่มีอรรถกถา

เฉลิมศักดิ์ไปเอาจากที่ไหนมาพูด

พระพุทธเจ้าเคยสอนแต่กาลามสูตร

และมหาประเทส4

อย่างนี้ก็เป็นสัทธรรมปฏิรูป


การยึดติดเสพติดพระสูตรไปไม่พ้นพระสูตร

โดยยกเอาพระสูตรมาแสดงอย่างไม่ใช้ปัญญาเป็นสัทธรรมปฏิรูป

การยึดติดพระสูตรทั้งหลายเป็นหลักการของศาสนาพราหณ์ไม่ใช่พุทธ

พระพุทธเจ้าทรงให้ชาวพุทธสุตะเพื่อปัญญา

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติมิใช่อภิปรัชญา

ชาวพุทธเมื่อสิกขาแล้วต้องก้าวพ้นธรรมไปสู่ปํญญาให้ได้

เพราะสัพเพธรรมาอนัตตาติ



ประการที่เฉลิมศักดิ์หมิ่นท่านพุทธทาส

กล่าวโทษท่านโดยใช้อคติที่คำสอนของท่านพุทธทาสไม่เหมือนกับอาจารย์ที่เฉลิมศักดิ์เชื่อ

ในฐานะชาวพุทธผมอนาถใจมากกับกระกระทำที่ไร้วุฒิภาวะขาดมโนธรรมคุณธรรม

สรุปแปลว่าชั่ว

ผมให้โอกาสตามที่ลิงค์ไว้

ทำไมเฉลิมศักดิ์ขี้ขลาดไม่กล้าเข้าไปชี้ว่าที่พุทธทาสสอนผิดนั้นสอนผิดตรงไหน

ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ไม่ใช้กล่าวหาท่านลอยๆ

โดยยกเอาพระสูตรคนลัเรื่องมาปะไว้เป็นฉาก

แล้วโจมตีท่านอย่างไรเหตุผล

ขาดความรับผิดชอบ


อย่าเก่งแต่ปากพล่อย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 17 พ.ค. 2010, 10:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณเฉลิมศักดิ์เห็นแล้วครับ แต่ไม่เข้าไป เหตุผลดังที่บอกนั่นแหละ

ในเมื่อไม่ไป จะถามคุณเฉลิมศักดิ์ตรงนี้ก็ได้

ที่คุณเฉลิมศักดิ์ว่า


อ้างอิงคำพูด:
คุณ mes หมายถึงคุณกรัชกาย ด้วยหรือไม่ครับ

แต่ผมว่าคุณกรัชกาย อธิบายการปฏิบัติแบบผิด ๆ ปฏิรูปพระสัทธรรม คงจะไม่ใช่อริยะบุคคล


คำถามครับ คำว่า "อริยะ" แปลว่าอะไร มีที่มายังไง ?

อริยะบุคคล ได้แก่บุคคลเช่นไร ?

ดูนะว่า คุณเลลิมศักดิ์จะปลิ้นออกทางไหน


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
http://84000.org/true/543.html

----------------------------------------------------------------
021 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/021.html
-------------------------------------------------------
073 คนเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/073.html
------------------------------------------------------
074 คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
http://www.84000.org/true/074.html
------------------------------------------------------
072 นรกมีจริงหรือ
http://84000.org/true/072.html
---------------------------------------------------
495 ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
http://www.84000.org/true/495.html
----------------------------------------------------
526 พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
http://www.84000.org/true/526.html
-----------------------------------------------------
061 เหตุให้เชื่อชาติหน้า
http://www.84000.org/true/061.html
--------------------------------------------------------
037 โลกหน้ามีจริงหรือไม่
http://www.84000.org/true/037.html
-----------------------------------------------------------
166 เหตุให้เกิดในภพ
http://www.84000.org/true/166.html
------------------------------------------------------------
046 พุทธทำนาย
http://www.84000.org/true/046.html
-------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/083.htm
--------------------------------------------------
กรรมอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/084.htm
-------------------------------------------------------
กรรมนิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/085.htm

-----------------------------------------------------------
คตินิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/086.htm

-----------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
พระพุทธเจ้าสอนว่า

สวรรค์ เทวดามี ก็ไม่ใช่

สวรรค์ เทวดาไม่มี ก็ไม่ใช่

สวรรค์ เทวดาก็เป็นอิทัปปัจจยตา

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ

สวรรค์ เทวดามี เป็น สัสสสตทิฐิ

สวรรค์ เทวดาไม่มี เป็น อุจเฉททิฐิ

แดนนิพพาน แดนสวรรค์ แดนพระโพธิสัตว์เป็นความเชื่อของอาจาริยาวาท

และไม่ต้องยกพระสูตรย่อยมาแสดง

เพราะที่ผมยกขึ้นมากล่าวเป็นหลักธรรมใหญ่คือ

ปฏิจจสมุทบาทเปรียบเสมือนรอยเท้าช้าง ที่รอยเท้าสัตว์ทุกชนิดลงได้ในรอยเท้านี้


คุณ mes ครับ อย่าได้กล่าวตู่ พระพุทธเจ้าเลยครับ

ผู้ที่ไม่เคยสอน สอนเรื่อง เทวดา สัตว์นรก เปรต หรือ นรกภูมิ เทวภูมิ คืออาจารย์พุทธทาสของคุณต่างหาก

ท่านพุทธทาสอาศัยทิฏฐิส่วนตัว แต่อ้างว่าเป็น อิทัปปัจจยตา

นี่ก็คือ หลักอิทัปปัจจยตา ของพระพุทธเจ้าครับ (นอกเหนือจาก พระสูตรที่อยู่ข้างบน)
เพราะทำเหตุใดไว้ จะส่งผลเช่นไรในอนาคต ชาติต่อ ๆ ไป

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ
[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น
อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘. หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
----------------------------


คุณ mes ครับ วางหนังสือของท่านพุทธทาส (เพราะหนังสือของท่าน ไม่เคยนำพระไตรปิฏก ในลักษณะนี้มาลงไว้ในหนังสือเลย แถมปฏิเสธอีกต่างหาก)

แล้วหันไปสอบถามจากคณาจารย์ ท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก (โดยเฉพาะพระอภิธรรม) หมั่นสอบถามจากคณาจารย์เหล่านั้น ให้เกิดศรัทธา ๔ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม มี เรื่อง กรรมและวิบาก เป็นต้น

ไม่แน่นะครับ หากคุณ mes เกิดสัมมาทิฏฐิ แล้ว อาจจะเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด เร่งความเพียร ปฏิบัติวิปัสสนา สั่งสมบารมีเพื่อพ้นจากทุกข์ สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้เร็วชาติขึ้น

ดังพระพุทธพจน์ ที่ว่า

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้


----------------------------------------------------

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=4
อายุของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี
ฝ่ายนางเทพธิดานอกนี้ กำลังประดับอยู่นั่นเอง ตลอดกาลเท่านี้. เทพบุตรเห็นนางนั้น กล่าวว่า "เธอหายหน้าไปตั้งแต่เช้า, เธอไปไหนมา?"
เทพธิดา. ดิฉันจุติค่ะ นาย.
เทพบุตร. เธอพูดอะไร?
เทพธิดา. ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ นาย.
เทพบุตร. เธอเกิดแล้วในที่ไหน?
เทพธิดา. เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกรุงสาวัตถี.
เทพบุตร. เธอดำรงอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้นสิ้นกาลเท่าไร?
เทพธิดา. ข้าแต่นาย ดิฉันออกจากท้องมารดา โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน ในเวลาอายุ ๑๖ ปี ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตร ๔ คน ทำบุญมีทานเป็นต้น ปรารถนาถึงนาย มาบังเกิดแล้วในสำนักของนายตามเดิม.
เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร?
เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี.
เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ?
เทพธิดา. ค่ะ นาย.
เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น?
เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่งถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย.
ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า "ทราบว่า พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาท นอนหลับอยู่, เมื่อไรหนอ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้."
------------------------------------------------

ขณสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๒๕๓ - ๓๒๗๖. หน้าที่ ๑๔๐ - ๑๔๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=214


ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฉผัสสายตนิกานี้ไว้ทำไม.
ตอบว่า ใครๆ ไม่อาจจะอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรกได้ เพราะได้รับแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว และไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในเทวโลกได้ เพราะเกิดความประมาทด้วยสามารถความยินดีในการเล่นโดยส่วนเดียว เพราะได้รับความสุขโดยส่วนเดียว.
ส่วนมนุษยโลกมีความสุขและความทุกข์ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ. นี้ชื่อว่าเป็นกรรมภูมิของมรรคพรหมจรรย์.
กรรมภูมินั้น พวกท่านได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ซึ่งเป็นของมนุษย์ที่พวกเธอได้กันแล้ว จัดเป็นลาภของพวกท่าน และภาวะเป็นมนุษย์ที่พวกเธอได้แล้วนี้ ก็เป็นขณะเป็นสมัยของการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่พวกเธอได้.
สมจริงดังคำที่พระโปราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า.
การเจริญมรรคในที่นี้ นี้ก็เป็นกรรมภูมิ ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความสังเวชเป็นอันมาก ในที่นี้ก็เป็นฐานะอยู่
ท่านเกิดความสังเวชแล้ว ก็จงประกอบความเพียรโดย
แยบคายในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวชเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํเวคา แปลว่า ความสังเวช.

จบอรรถกถาขณสูตรที่ ๒

-------------------------------------------------

คุณ mes ครับ พวกเราทั้งหลายยังประมาทอยู่ ไม่เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด จึงยังไม่เร่งปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

สมดัง เทวดา ที่ได้ต่อว่า มนุษย์ ว่า ตกอยู่ในความประมาท ทำเหมือนไม่ตายง่าย ๆ มีอายุเป็นอสงไขยปี ( เลข ๐ จำนวน ๑๔๐ ตัว)

เสียดายนะครับ ที่ท่านพุทธทาสไปตีความหมาย ขณสูตร ว่า นรก สวรรค์ที่เป็นภพภูมิไม่มี จึงทำให้ผู้ที่เชื่อตามท่านและศิษย์ มีทิฏฐิตามท่านไป

แต่ในความหมายจากพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาทแล้ว ทั้ง นรกภูมิ และ เทวภูมิ มีจริง แต่ไม่เอื้อในการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะ สติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา เท่าโลกมนุษย์ใบนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ นรก-สวรรค์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส

ปัญหา อนาคตของผู้ตายด้วยจิตเศร้าหมองและผ่องใสจะเป็นอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้วย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนที่มีใจเสื่อมเสีย แล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงถึงแก่กรรมในเวลานี้ เขาพึงเกิดในนภาดุจถูกนำมาขังไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเราถูกทำให้เสื่อมเสียเสียแล้ว...เพราะเหตุที่จิตเสื่อมเสีย สัตว์บางพวกในโลกนี้เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก....
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา...ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลผู้นี้พึงถึงแก่กรรมในเวลานี้ พึงตั้งอยู่ในครรภ์....ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขาผ่องใส...”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๔-๔๕)
ตบ. ๒๐ : ๙-๑๐ ตท. ๒๐ : ๘
ตอ. G.S. ๑ : ๖-๗

-------------------------------

เห็นการแสดงความเห็นของคุณ mes แล้ว เต็มไปด้วยความเร่าร้อน รุนแรง คงจะพิมพ์ออกมาด้วยจิตใจที่เศร้าหมอง

คุณ mes ครับ อย่ายึดติดกับ ตัวบุคคล หรือ ทิฏฐิของอาจารย์ มากจนเกินไปเลยครับ

จิตเศร้าหมองมาก ๆ ไม่ดีนะครับ หาก จิตชนิดนี้ ได้เป็น อิทัปปัจจยตา คือ เหตุนำเกิด ผลคือ ไปเกิดในนรกนะครับ

มาลานธรรมแล้ว ไม่สามารถทำใจให้ผ่องใสได้ ควรพิจารณาตนเองให้ดีครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๓
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
(ฉบับไม่เป็นทางการ)


กล่าวคือ จะคิด จะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้า คิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญ จะต้องระลึกรู้ โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคน พึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลัก ในการประพฤติตัว และปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืน แท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับ ทั่วถึงกัน ความสุข ความสวัสดี จักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปราถนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ใช้ลิงค์มากกว่าปัญญา

ที่ถามไปก็ตอบไม่ได้สักอย่างเดียว

ค้านก็แบบหัวชนฝา



ขอให้ความเข้าใจกับท่านผู้ที่เข้ามาอ่านว่า

ในวันเพ็ญเดือนหก

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่พระพทธเจ้าทรงตรัสรู้คืออริยะสัจจสี่

อันได้แก่การเกิดทุกข์ และ การดับทุกข์

อันเป็นวงจรเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

ได้แก่วงจรสมุทยวารคือเหตุแห่งการเกิดทุกข

นิโรธวารคือทางดับทุกข ในทางปฏิบัตินั้นอาศัยอริยมรรคที่มีองค์แปด


หรือเฉลิมศักดิ์เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ดับทุกข์ด้วยการอ้อนวอนเทวดา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 18 พ.ค. 2010, 13:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


มหานิทานสูตร (ปฏิจจสมุปบาท)

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๔๕๕ - ๑๘๘๗. หน้าที่ ๖๐ - ๗๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57
----------------------------------------------------------------------

๒. วิภังคสูตร(ปฏิจจสมุปบาท)

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๓๓ - ๘๗. หน้าที่ ๒ - ๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=4

--------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน

๒ . มหานิทานสูตร
สูตรว่าด้วยต้นเหตุใหญ่

http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/p ... nta/2.html


ในที่สุดตรัสสรุปในชั้นนี้ก่อนว่า ข้อวิญญาณ กับนาม รูป ต่างเป็นปัจจัยของกันและกันนี้ ย่อมเป็นเหตุให้สัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ อุปบัติ ๕ . เป็นเหตุให้มีทางแห่งคำเรียกชื่อ มีทางแห่งการพูดจา มีทางแห่งการบัญญัติ มีการรู้ได้ด้วยปัญญา และมีวัฎฎะ ความหมุ่นเวียน และความเป็นอย่างนี้.

----------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

มหาวรรค ญาณกถา (ปฏิจจสมุปบาทธรรม อาการ ๒๐)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =95&Z=3331


ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=1

------------------------------------------------------------

ศึกษา อาการ ๒๐ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมเพิ่มเติมได้ที่

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา (อาการ ๒๐)
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm
------------------------------------
วิปัสสนาภูมิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/073.htm
วิปัสสนาภูมิ คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มี ๖ ได้แก่
๑.ขันธ์ ๕ ๒.อายตนะ ๑๒ ๓.ธาตุ ๑๘ ๔.อินทรีย ๒๒ ๕.ปฏิจจสมุปปาท ๑๒ ๖.อริยสัจจ ๔ แต่ข้อ๑ ถึงข้อ ๔ และข้อ ๖ รวม ๕ ข้อนี้ ได้แสดงไว้แล้วในคู่มือปริจเฉทที่ ๗ ส่วนข้อ ๕ ปฏิจจสมุปปาทนั้น ก็ได้กล่าวไว้ในคู่มือปริจเฉทที่ ๘ แล้ว จึงไม่ต้องกล่าวซ้ำในที่นี้อีก

วิปัสสนาภูมิ ๖ นี้ เมื่อย่อลงก็ได้แก่ รูป นาม เท่านี้เอง ชั้นต้นต้องพิจารณาให้เห็นรูปนามก่อน แล้วกำหนดดูจนเห็นปัจจัยที่ให้เกิดรูปนาม ต่อจากนั้นจึงเพ่งให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์ว่า รูปนามมีลักษณะที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ บังคับบัญชาว่ากล่าวให้เป็นไปตามใจชอบก็ไม่ได้ เมื่อเพ่งจนเห็นไตรลักษณ์ ก็จะได้ละความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิด ว่ารูปนามเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน ที่พึงบังคับบัญชาได้ ตลอดจนว่าเป็นสิ่งที่สวยงาม การเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดนี้เรียกว่า วิปัลลาสธรรม คือเป็นสิ่งที่วิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

-------------------------------------------------
การแสดงธรรมจากท่านอาจารย์

ปฏิจจสมุปบาท
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... topic=8821

อะไรทำให้ปฏิสนธิ? ( ปฏิสนธิวิญญาณ )


พระธัมมเสนาบดีเป็นผู้ตั้งปุจฉาถามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องปฏิสนธินี้เป็นเรื่องต่อเนื่องกันระหว่างอดีตกับปัจจุบันและปัจจุบันกับอนาคต ชีวิตปัจจุบันเป็นผลที่เกิดมาจากเหตุอดีต อดีตเหตุคือ อวิชชา สังขาร ก่อให้เกิดปัจจุบันผล คือ วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา และผลในปัจจุบันรวมแล้วเป็นเหตุก่อให้เกิดเหตุปัจจุบันขึ้นอีก คือ ตัณหา อุปาทานและภพ และปัจจุบันเหตุก่อให้เกิดผลในอนาคต ได้แก่ ชาติและชรา-มรณะ แต่เรื่องอนาคตนั้นยังมาไม่ถึง


เมื่อผู้ใดก็แล้วแต่ยังไม่สามารถตัดอวิชชาและตัณหาได้ขาด ชีวิตก็ยังต้องดำเนินต่อไปจนหมดอายุหมดกรรม หรือหมดทั้งกรรมทั้งอายุ หรือมีกรรมตัดรอนไปจนตายและตายนั้นก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิสนธิ ปฏิสนธินั้นเป็นการพูดระหว่างอดีตกับปัจจุบันและพูดระหว่างปัจจุบันกับอนาคต

-------------------------------------------
http://larndham.org/index.php?showtopic=30808&st=0

บุคคลผู้ใดไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด บุคคลนั้นมิใช่พุทธศาสนิกชนที่แท้จริง

เพราะแม้ในเส้นทางแห่งการดำเนินสู่การตรัสรู้ เพื่อการบรรลุอมตธรรมนั้น ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะพระมหาบุรุษ ประทับนั่งบนบัลลังก์แก้ว ก่อนที่จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทรงเจริญสมาธิภาวนาทำจิตให้แน่วแน่ จนบรรลุปฐมฌาน จากนั้นทรงเจริญญาณอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูงสุด ยังพระโพธิญาณให้บังเกิดขึ้นตามลำดับตามระยะกาลแห่งยามสามในราตรีนั้น ซึ่งในปฐมยามนั่นเองพระองค์ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อันหมายถึง ญาณที่ทรงสามารถระลึกถึงอดีตชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดมาแล้วทั้งสิ้นได้ ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หมายถึง ญาณที่สามารถหยั่งรู้การเกิด การตาย ตลอดจนการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์อื่นทั้งหลายได้หมด และแล้วในปัจฉิมยาม ได้ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ อันเป็นญาณที่ทรงปรีชาสามารถทำลายอาสวกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไปด้วยพระปัญญาพิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ก็ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทโธ ในเวลาปัจจุสมัยแห่งรุ่งอรุโณทัยในวันวิสาขปุณณมีนั่นเอง

พุทธศาสนิกชนที่แท้จริง หรือผู้ที่กำลังดำเนินตามรอยธรรมแห่งพระพุทธชินสีห์ จึงต้องเป็นผู้ที่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้นผู้ที่จะเป็นพุทธศาสนิกชนที่สมบูรณ์ จึงต้องเรียนรู้ให้เข้าใจว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราต้องเวียนว่ายตายเกิด
กิเลส ( ตัณหา ) นั่นเอง เป็นตัวการที่ทำให้คนเราต้องเกิด
…..ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว ย่อมหนีไม่พ้นซึ่งความตาย
…..จุดหมายปลายทางของทุกชีวิตในแต่ละชาติๆ คือ ความตาย

------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
เฉลิมศักดิ์ใช้ลิงค์มากกว่าปัญญา

ที่ถามไปก็ตอบไม่ได้สักอย่างเดียว

ค้านก็แบบหัวชนฝา

ขอให้ความเข้าใจกับท่านผู้ที่เข้ามาอ่านว่า

ในวันเพ็ญเดือนหก

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่พระพทธเจ้าทรงตรัสรู้คืออริยะสัจจสี่

อันได้แก่การเกิดทุกข์ และ การดับทุกข์

อันเป็นวงจรเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

ได้แก่วงจรสมุทยวารคือเหตุแห่งการเกิดทุกข


คุณ MES ครับ อย่าได้เชื่อ คำสอนของท่านพุทธทาสเพียงอย่างเดียวนะครับ ท่านพุทธทาสกล่าวตู่ปฏิจจสมุปบาทธรรม อย่างมากครับ

อาจจะเนื่องด้วยท่านไม่มี ทิพยจักษุ หรือ อภิญญาจิต ที่เห็นการตาย การเกิด ของสัตว์โลก และ วิบากกรรมต่าง ๆ รวมทั้งวิปัสสนาญาณ จึงทำให้อธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบผิด ๆและมีผู้ที่เชื่อตามท่านอย่างมาก

คุณ mes ครับ ลิงค์ที่ผมนำมาแสดงนั้น ก็ล้วนมาจากพระไตรปิฏก อรรถกถา และคณาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก หากศึกษาและพิจารณาให้ดีแล้วย่อมเกิดปัญญาได้ครับ

นอกจาก อัตตโนมติที่เกิดจากทิฏฐิของท่านพุทธทาสแล้ว คุณ mes จะไม่นำพระสัทธรรมจากพระไตรปิฏก อรรถกถามาลิงค์บ้างหรือครับ ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 19 พ.ค. 2010, 05:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ขอให้ความเข้าใจกับท่านผู้ที่เข้ามาอ่านว่า

ในวันเพ็ญเดือนหก

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่พระพทธเจ้าทรงตรัสรู้คืออริยะสัจจสี่

อันได้แก่การเกิดทุกข์ และ การดับทุกข์

อันเป็นวงจรเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท

ได้แก่วงจรสมุทยวารคือเหตุแห่งการเกิดทุกข


คุณ mes ครับ ปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ มีความสำคัญมาก ๆ เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติวิปัสสนา เมื่อพิจารณาโดยแยบคายแล้ว วิปัสสนาปัญญาย่อมเกิดขึ้น จนกระทั่งข้ามพ้นความสงสัยต่าง ๆ ได้ ย่อมเข้าใกล้สู่ อริยะบุคคล ได้ที่พึ่งอันประเสริฐ

กังขาวิตรณวิสุทธิ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/083.htm
ความสงสัย ๑๖ ประการนี้ เป็นการแสดงตามนัยแห่งพระสูตร ส่วนตามนัยแห่งพระอภิธรรมนั้นแสดงว่า พระโยคีผู้ที่ถึงแล้ว ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ปัจจยปริคคหญาณ ย่อมพ้นจากความสงสัย ๘ ประการ คือ

๑. ความสงสัยในพระพุทธเจ้า คือ สงสัยในพระพุทธคุณ ๙ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่พุทธานุสสติ ข้างต้นนี้

๒. ความสงสัยในพระธรรมเจ้า คือ สงสัยในพระธรรมคุณ ๖ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่ ธัมมานุสสติ ข้างต้นนี้

๓. ความสงสัยในพระสงฆ์เจ้า คือ สงสัยในพระสังฆคุณ ๙ ประการ มีรายละเอียดแจ้งอยู่แล้วที่สังฆานุสสติ ข้างต้นนี้

๔. ความสงสัยในการศึกษา ในข้อปฏิบัติแห่งพระพุทธศาสนา คือ สีล สมาธิ ปัญญา

๕. ความสงสัยในอดีตกาลแต่ชาติปางก่อน

๖. ความสงสัยในอนาคตกาล ที่จะมีมาในชาติหน้า

๗. ความสงสัยในปัจจุบันกาลในชาตินี้

๘. ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาท คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย ซึ่งทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ

สรุปความแล้ว แม้จะมีความสงสัยเอนกประการก็ตาม แต่เมื่อถึงกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว แจ้งใน ปัจจยปริคคหญาณแล้ว ก็พ้นจากการสงสัย ๒ ประการ คือ สงสัยในพระพุทธศาสนา และสงสัยในปัจจัยแห่งรูปนาม

ปัจจยปริคคหญาณ สามารถละ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าไม่มีเหตุ ละ วิสมเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดโดยยึดถือเหตุที่ไม่เหมาะ ไม่สมควรและละ กังขามลทิฏฐิ มลทิน หรือความหม่นหมองอันเกิดจากความสงสัยเหล่านี้เสียได้

ผู้ที่ข้ามพ้นความสงสัย คือได้ปฏิบัติจนได้แจ้ง กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นวิสุทธิ ที่ ๔ ในวิสุทธิทั้ง ๗ ซึ่งตรงกับ ปัจจยปริคคหญาณ อันเป็นญาณ ที่ ๒ แห่งโสฬสญาณนี้แล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นจูฬโสดาบัน ดังที่ วิสุทธิมัคค ภาค ๓ หน้า ๒๒๙ บรรทัดที่ ๑๗ แสดงไว้ว่า อิมินา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฏโฐ นิยตคติโก จูฬโสตาปนฺโน นาม โหติ ฯ

ผู้เจริญวิปัสสนาถึงญาณที่ ๒ นี้แล้ว ได้ความเบาใจ ได้ที่พึ่งที่อาศัยในพระพุทธศาสนา มีคติอันเที่ยง ชื่อว่า จูฬโสดาบัน

---------------------------------------------
วิปัสสนาภูมิ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/073.htm
------------------------------------------------


คุณ mes ครับ ที่คุณชอบอ้างว่า บุคคลนั้น บุคคลนี้ เป็นพระอริยะบุคคลแล้ว พิจารณาดู คำสอนของท่านเหล่านั้นก็ได้ครับ บางครั้งยังมีความสงสัยอยู่มากมาย แสดงธรรมไปตามความรู้สึก บางทีอาจเป็น ปุถุชน ธรรมดาก็ได้นะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ตอบที่ถาม หรือตอบไม่ได้

ตามเคย


ขอเรียกร้องว่า

ถ้าเฉลิมศักดิ์ไม่สามารถชี้แจงข้อโจมตีวิพากวิจารณ์ได้

จงเลิกพฤติกรรมโจมตีผู้อืนเสีย


เพราะกระทำของเฉลิมศักดิ์เป็นคนพาล มิใช่วิญญูชน

ขี้ขลาดขาดความรับผิดชอบ

ลูกผู้ชายต้องกล้าทำกล้ารับ

ที่ลอบกัดมีแต่สุนัข



กระทู้ที่ตั้งไว้รอการชี้แจง


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31618&p=200425

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31698

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31697

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31671

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ออดแอดๆ พึมพำๆ คล้ายๆคนแก่ขี้บ่น นักธรรมพึมพำๆ อะไรนักก็ไม่รู้ :b22:

ถามจริงๆ คุณเฉลิมศักดิ์ คุณจะเอาความเป็นอริยบุคคลไปทำอะไร กลัวตกนรกหรือครับ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ในเวปธรรมจักรแห่งนี้ผมเชื่อว่ามีอริยะบุคคลอยู่หลายท่าน

แต่ละท่านปิดบังตนเองสุดขีด

เฉลิมศักดิ์ทราบไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
ออดแอดๆ พึมพำๆ คล้ายๆคนแก่ขี้บ่น นักธรรมพึมพำๆ อะไรนักก็ไม่รู้

ถามจริงๆ คุณเฉลิมศักดิ์ คุณจะเอาความเป็นอริยบุคคลไปทำอะไร กลัวตกนรกหรือครับ


ที่พูดถึงความเป็น อริยบุคคล เพราะคุณ mes เขาฟันธง แต่งตั้งคุณเป็น อริยบุคคล อ่ะครับ

สำหรับผมยังห่างไกลครับ พึ่งจะเริ่ม ศึกษาแผนที่เอง (คันถธุระ) และฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา

ขาดคุณสมบัติที่จะถึง หลายอย่าง

ต่างจากคุณ mes คงคิดว่าตนเองรู้จักวิธีเดินทางถึงนิพพานแล้ว(โดยผ่านทิฏฐิของอาจารย์พุทธทาส) จึงกล้าประกาศว่า นิพพานที่นี้ เดี๋ยวนี้

-------------------------------------------------

http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=16&

สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้

-------------------------------------------
สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้


-----------------------------------------------------
http://larndham.org/index.php?showtopic=34725&st=0&hl=บรรลุมรรคผลได้

ปัญหา มีบางท่านกล่าวว่า มนุษย์เท่านั้นสามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลได้ เทวดาไม่สามารถ เพราะเห็นที่เสวยสุขอันเป็นทิพย์อย่างเดียว จริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน.... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเธอฟังเสมอ ๆ คล่องปาก เพ่งพิจารณาด้วยใจ และกาย ตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
"ต่อมา เธอมีสติเหลงลืมถึงแก่มรณะ ย่อมไปบังเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง เมื่อเธอมีความสุขอยู่ในภพนั้น บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
“อีกประการหนึ่ง... บทแห่งธรรมย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ มีความชำนาญทางจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอตรึกตรองจนเห็นว่า ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน.... ดุจบุรุษผู้ฉลาดในเสียงกลอง เขาเดินทางไกล เมื่อได้ยินเสียงกลอง ไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า นั่นเสียงกลองหรือไม่ใช่....
“อีกประการหนึ่ง... บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอคิดได้ดังนี้ว่า นี้คือ นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน.... ดุจบุรุษผู้ฉลาดในเสียงสังข์ สติบังเกิดขึ้นช้า เดินทางไกลได้ยินเสียงสังข์เข้า ไม่พึงมีความเคลือบแคลงสงสัย ว่านั่นเสียงสังข์หรือไม่ใช่....

มหาวรรคที่ ๕ จ. อํ. (๑๙๑)
ตบ. ๒๑ : ๒๕๑-๒๕๓ ตท. ๒๑ : ๒๑๔-๒๑๕
ตอ. G.S. II : ๑๙๓-๑๙๕

-----------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
นิโรธวารคือทางดับทุกข ในทางปฏิบัตินั้นอาศัยอริยมรรคที่มีองค์แปด


หรือเฉลิมศักดิ์เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ดับทุกข์ด้วยการอ้อนวอนเทวดา


คุณ mes ครับ พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติ วิปัสสนาเพื่อความพ้นทุกข์ด้วยตนเอง

หากยังไม่บรรลุ บางท่านก็ไปเกิดเป็นเทวดา ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมต่อ บนเทวโลก และเข้าถึงพระนิพพาน ในเทวโลก ก็มีเยอะแยะมากมาย

ต่างจากความเห็นของคุณ mes ที่ไม่เชื่อว่าเทวโลกมีจริง เทวดาคือคนที่เสวยกามสุขอย่างเต็มที่ (ตามทิฏฐิท่านพุทธทาส ที่อ้างว่ามองแบบบุคคลาธิษฐาน)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร