วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




b19.jpg
b19.jpg [ 47.45 KiB | เปิดดู 6430 ครั้ง ]
tongue ตามที่ได้สังเกตจากข้อความในกระทู้ต่างๆ จะลงความเห็นกันไว้เป็นส่วนมากว่า สมถะภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา ต้องเจริญไปควบคู่กัน

:b27: เรามาลองฟังอีกทัศนะหนึ่งกันดีใหมครับ

หลังจากที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงใช้พระชนม์ชีพของพระองค์ ทดสอบอยู่กับกามสุขาลิกานุโยโค จนพระชนมายุถึง 29 พรรษา

ทดสอบอยู่กับอัตตกิลมมัตถานุโยค คือการเจริญสมถะภาวนา ตามแบบของพราหมณ์ ฮินดู ฤาษี ชีไพร อยู่อีกเกือบ 6 ปี

ที่สุดพระองค์ก็ได้พบทางสายกลางคือการเจริญปัญญา โดยมี สติ สมาธิ เป็นกองหนุน ค้นคว้าเข้าไปใน รูป - นาม กาย - ใจ จนพบสัจจธรรมความจริง คือสามัญลักษณะทั้ง 3 อริยสัจ 4 จนทรงละมิจฉาทิฐิ อวิชชาได้หมดสิ้น ได้ถึงอรหัตผล พ้นทุกข์และความเวียนว่ายตายเกิด เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทางสายกลางที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั่นคือ มรรค มีองค์ 8 อันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ ปํญญามรรค 2 ศีลมรรค 3 สมาธิมรรค 3

:b20: ชื่อย่อของการเจริญมรรค 8 นั้นคือ วิปัสสนาภาวนา :b8:

พิจารณาจากความเป็นมาของมรรค 8 นั้น จึงเห็นได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มีความพร้อม เบ็ดเสร็จ สมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว เพราะมีทั้ง ปัญญา ศีล ความเพียร สติ สมาธิ ร่วมกันทำงาน เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกัน ถ่วงดุลย์กัน อยู่ในตัวพร้อมมูลแล้ว

ใครผู้ใดก็ตาม ตีความแตก จับประเด็นของวิปัสสนาภาวนาได้ถูกต้องแล้ว จะเจริญวิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และมีอยู่เฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณะของพระพุทธศานา ไม่มีอยู่ในศาสนาอื่นๆ เจริญเพียงวิปัสสนาภาวนาให้ถูกต้องเพียงอย่างเดียวก็จะสามารถนำพาตนให้เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน ได้ ไม่ื่เนิ่นช้าอย่างแน่นอน

ที่พระพุทธองค์จะต้องทรงแสดงเรื่องสมถะภาวนาอยู่หลายที่หลายแห่งในพระสูตรก็เพราะ ลูกศิษย์ของพระองค์สมัยนั้นล้วนแล้วแต่ฤาษี ชี ไพร อเจลกะ นักสมถะทั้งหลายทั้งสิ้น พระองค์จึงต้องทรงเชื่อมโยงความรู้ของท่านเหล่านั้น เข้ามาต่อยอด คือสมาธิดีแล้ว ก็นำมาต่อยอดเจริญปัญญาต่อไป ก็จึงพากันบรรลุนิพพานได้อย่ามากมาย

แต่ในปฐมเทศนา ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้เป็นอันดับแรกก่อนเพื่อนเลยว่า
ดูก่อนปัญจวัคคีย์ สิ่งสุดโต่ง 2 อย่างที่เธอไม่พึงกระทำ คือ กามสุขัลลิกานุโยโค กับ อัตตกิลมถานุโยโค
เธอพึงเดินตามมัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรค มีองค์ 8


สิ่งสำคัญที่สุดคือการมาตีความของคำว่า กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าตีความหมายได้ถูกต้องการปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากเลย

แต่ถ้าตีความหมายผิด การปฏิบัติธรรมให้ถึงมรรค ผล นิพพาน จะกลายเป็นเรื่องที่ยาก ลำบาก ใช้เวลานานแสนนาน

จะตีความ กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโคและมัชฌิมาปฏิปทา อย่างไร จึงจะเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ

ไว้มาติดตามดูกันต่อไปนะครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การภาวนาอย่าไปสนใจเรื่องสมาธิหรือปัญญาของเราอยู่ในระดับไหน
มันจะเป็นการกีดขวางกั้นในขณะเรากำลังภาวนา..
ทำให้เรามัวแต่คอยสังเกตุและวิตกกังวลว่า..ตอนนี้สมาธิหรือปัญญาของเราอยู่ในว่าอยู่ขั้นไหน...
มันไม่มีหลักกิโลเมตรหรือสัญญาณไฟเขียวไฟแดงเป็นเครื่องชี้วัด... แบบทางโลก
มันจะเป็นอารมณ์บัญญัติ..ลงที่ปริยัติธรรม..เสียมากกว่า..ที่จะถูกต้อง

ทั้งๆที่ขณะนี้เรากำลังปฏิบัติ..ไม่ใช่เวลาที่เราจะมานั่งกางตำราอ่านหนังสือปริยัติ
เลิกจากการนั่งปฏิบัติแล้ว..ค่อยมากางหนังสือตำราอ่าน..
เพื่อเทียบเคียง..ก็ไม่เสียเวลาเท่าไหร่หรอก
หรือสอบถามจากท่านผู้รู้ครูอาจารย์..มิดีกว่าหรือ..
มิเช่นนั้น...ปริยัติก็จะเหลว..ปฏิบัติก็จะล่ม..
เพราะเป็นเวลาปฏิบัติไม่ใช่เวลามาทำข้อสอบส่งครูเพื่อเอาคะแนน
ดังนั้นขณะปฏิบัติ..ต้องเป็นปัจจุบันธรรม
ไม่ใช่ธรรมคาดคะเน..ล่วงหน้า..หรือสัณนิฐานเอาเอง
มันจะเป็นธรรมด้นเดา..ตามความรู้สึก..ส่วนตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พิจารณาจากความเป็นมาของมรรค 8 นั้น จึงเห็นได้ว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มีความพร้อม เบ็ดเสร็จ สมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว เพราะมีทั้ง ปัญญา ศีล ความเพียร สติ สมาธิ ร่วมกันทำงาน เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน สนับสนุนกัน ถ่วงดุลย์กัน อยู่ในตัวพร้อมมูลแล้ว


อนุโมทนา สาธุ

ไม่มีพระอรหันต์องค์ไหน...
เจริญแต่ปัญญาทำสมาธิไม่เป็น หรือทำแต่สมาธิเป็นแต่เจริญปัญญาไม่เป็น..

ไม่งั้นในมรรค ๘ ไม่มีคำว่า..สัมมาทิฐิและสัมมาสมาธิหรอก
ใครที่บอกว่า..สมาธิ..ไม่จำเป็น..หลงทางกู่ไม่กลับแล้ว..
ทั้งๆที่..มรรคทั้ง๘ เป็นโซ่คล้องเรียงต่อกัน..ขาดมรรคข้อใดข้อหนึ่งในองค์มรรค..ไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท. ลองหัดเจริญ อานาปานสติ ดูสิครับ

เบื่องต้นของอานาปานสติมีสมาธิเด่น ขั้นต่อๆไปปัญญาจะตามมา เป็น กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญมากที่สุด


แนะนำเว็บ


อานาปานสติ
(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)

http://www.buddhadasa.com/shortbook/anapanasati.html


อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์

http://smartdhamma.googlepages.com/home ... uddhadhasa


การพักผ่อนที่ดีกว่าการนอนหลับ

http://www.oknation.net/blog/surasakc/2 ... 12/entry-1




เรื่อง การเห็นภาพนิมิต นั้น อย่าเพิ่งไปกลัวอะไรเกินเหตุอันควร

มีการวิจัย ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย เรื่อง อานาปานสติกับ ความสามารถในการเรียนรู้ และ การจดจำ.

ทำเพียงวันละ30นาที เป็นเวลาต่อเนื่อง8สัปดาห์.

พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของ

1.ความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญก่อนและหลัง ของงานต่างๆ

2.สามารถจดจ่อกับข้อมูลที่ต้องการทำความเข้าใจมากขึ้น

3.มีความตื่นตัวมากขึ้น ไม่เฉื่อยชา

ๆลๆ



ปล... ไม่เห็นได้ยินว่า ฝรั่งเขาจะเห็นนิมิตอะไรกันมากมายเหมือนคนไทยเลย

ผมว่า อาจจะเป็นเพราะ คนไทยเราไปฟังกัน ปากต่อปาก เรื่อง เห็นนั้น เห็นนี่ กันมากเกินไป เวลาภาวนาก็เลยพาลอุปาทานกันไปเองเสียเยอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




100_2655_resize.JPG
100_2655_resize.JPG [ 85.02 KiB | เปิดดู 6395 ครั้ง ]
tongue กราบเรียนและอ้างอิง ท่านตรงประเด็น
ท่าน จขกท. ลองหัดเจริญ อานาปานสติ ดูสิครับ
:b8:
เบื่องต้นของอานาปานสติมีสมาธิเด่น ขั้นต่อๆไปปัญญาจะตามมา เป็น กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญมากที่สุด
:b8:
ผมได้พบคำแนะนำอันดียิ่งนี้ของท่านตรงประเด็นในหลายกระทู้ หลายแห่ง ในลานธรรมจักร ในลานธรรม หลายๆที่ ต้องอนุโมทนา ด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ

อยากจะเรียนว่าท่านตรงประเด็นจะไม่ลองแนะนำวิปัสสนาภาวนาวิธีธรรมชาติ คือเจริญสติ เจริญปัญญาตามดู ตามเห็น ตสใรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ อย่างเช่นที่ท่านพระอาจารย์ปราโมช ปราโมชโช ท่านทำอยู่ น่าจะมีประโยชน์กับคนยุคปัจจุบันนี้มากขึ้นนะครับ

ที่กล่าวอย่างนี้ เพราะท่านตรงประเด็นมีผลงานเป็นที่เคารพเชื่อถือของชาวลานฯ ทั้งหลายเป็นอย่างมากนะครับ สาธุ ๆ ๆ

ส่วนอานาปานสติ นั้น จะเป็นเรื่องของการกำหนดรู้ลมหายใจ เป็นสตินำหน้าล้วนๆ ถ้าจะให้เป็นวิปัสสนาภาวนาไปด้วยต้องกล่าวว่า

"เจริญอานาปานสติภาวนา" เพราะถ้าเจริญ อานาปานสติภาวนา จะต้องมีการกำหนดลมหายใจ กับสังเกต พิจารณาลมหายใจไปควบคู่กัน จะเกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อัตตา นิโรธ ไปพร้อมๆกันด้วยครับ

ลองสังเกตพิจารณาลมหายใจ แล้วตั้งคำถามตนเองว่า ทำไมจึงต้องหาายใจเข้า - ออก อะไร ทำให้เราต้องหายใจเข้า อะไร ทำให้เราต้องหายใจออก หายใจเข้าแล้วไม่ให้ออก ได้ไหม ออกแล้วไม่ให้เข้าได้ไหม
ถามตัวเองแล้วลงมือพิสูจน์ทันที จะได้ปัญญาทันทีเลย


นี่แหละคือสาระสำคัญที่ซ่อนอยู่ในอานาปานสติภาวนา ที่รอให้ผู้มีปัญญา ทดสอบและพิสูจน์ดู เขาจะได้รู้เห็นธรรมทันที

พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญว่า อานาปานสติภาวนา เป็นมงกุฏกรรมฐาน เป็นยอดแห่งกรรมฐาน ถ้าตีความนัยแตก
:b8: :b27: smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
ลองสังเกตพิจารณาลมหายใจ แล้วตั้งคำถามตนเองว่า ทำไมจึงต้องหาายใจเข้า - ออก อะไร ทำให้เราต้องหายใจเข้า อะไร ทำให้เราต้องหายใจออก หายใจเข้าแล้วไม่ให้ออก ได้ไหม ออกแล้วไม่ให้เข้าได้ไหมถามตัวเองแล้วลงมือพิสูจน์ทันที จะได้ปัญญาทันทีเลย


ทำอย่างนี้มันถูกจริงหรือครับ เป็นความเห็นส่วนตัวหรือว่าเอามาจากไหนขอหลักฐานอ้างอิงด้วยได้ไหมครับ คืออ่านแล้วรู้สึกขัดมากๆ เพราะมันน่าจะเป็นจินตมยปัญญามากกว่าภาวนามยปัญญา

อ้างคำพูด:
อยากจะเรียนว่าท่านตรงประเด็นจะไม่ ลองแนะนำวิปัสสนาภาวนาวิธีธรรมชาติ คือเจริญสติ เจริญปัญญาตามดู ตามเห็น ตสใรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ อย่างเช่นที่ท่านพระอาจารย์ปราโมช ปราโมชโช ท่านทำอยู่ น่าจะมีประโยชน์กับคนยุคปัจจุบันนี้มากขึ้นนะครับ


อันนี้อ่านแล้วก็รู้สึกแปลกๆ ว่ากรรมฐาน 40 อานาปาณสติ สติปัฐฐานสี่ มันไม่เป็นธรรมชาติยังไง สุดท้ายกเข้าไปในกายหรือจิตทั้งนั้นไม่ใช่เหรอ แล้วก็คนในสมัยก่อนกับสมัยนี้แตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงสรุปว่าวิธีการที่ท่านยกมาแนะนำได้ประโยชน์แก่คนสมัยปัจจุบันมากกว่าวิธีอื่น

หมายเหตุ อย่าแนะนำให้ไปฟังเทศน์นะครับ ลองตอบตามที่ท่านเข้าใจมาก่อน

เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 20 ต.ค. 2009, 13:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนาลโยวาทะ (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
อนาลโยวาทะ
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดย อวย-ส่งศรี เกตุสิงห์
เพื่อความสุขปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘

อ้างคำพูด:
คัดมาบางส่วน


อวิชชา (เป็นเหตุ) ให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ท่านว่าให้ดับความโง่อันเดียวเท่านั้น ผลดับหมด เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลาย ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุ คือความโง่ ความไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นตัวเป็นตน ก็ได้รับผลเป็นสุข เป็นทุกข์สืบไป ท่านเรียกว่า วัฏฏะ การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด


นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เห็นรูปมากระทบตา เกิดวิญญาณขึ้นที่นี่ เสียงมากระทบหู เกิดวิญญาณขึ้นที่นี่อีก (ถ้า) รูปดี ก็เกิดความยินดี ชอบใจ เป็นสุขเสทนา อยากได้ (ถ้า) รูปไม่ดี เกลียดชัง เกิดทุกขเวทนา ไม่อยากได้ ก็เป็นทุกขเวทนาขึ้น ตัณหาเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ของตน ตัวของกู กูไปอยู่ที่โน่น ก็ไปอยู่ที่นี่ กูเป็นพระ กูเป็นเณร เมื่อมีอุปาทาน ก็เป็นเหตุให้อยาก เป็นเหตุให้เกิดภพ คือกามเทพ รูปภพ อรูปภพ เกิดภพแล้วเป็นเหตุให้เกิดชาติ เกิดชาติเป็นเหตุให้เกิดชรา มรณะ เกิดโสกะ ประเทวะ ทุกขโทมนัสอุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นตันใจอยู่ในสังขารจักร นี่แหละ (ถ้า) ดับความโง่อันเดียวเท่านั้นแหละ ผลไม่มี ดับเหตุแล้ว ผลก็ดับไปตามกัน


ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ของตน ว่าตัวของกู กูไปอยู่ที่โน่น กูไปอยู่ที่นี่ กูเป็นพระ กูเป็นเณร อุปาทาน เมื่อมีอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นเหตุให้อยากนั่นแหละ เป็นเหตุให้เกิดภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เกิดภพแล้วเป็นเหตุให้เกิดชาติ เกิดชาติ ก็เป็นเหตุให้เกิดชรา มรณะ เกิดโสกปริเทวทุกข โทมนัสสุปายาสา ความคับแค้นอัดอั้นตันใจ อยู่ในสังสารจักร นี่แล ตับความโง่อันเดียวเท่านั้นและ ผลไม่มี ตับเหตุแล้ว ผลก็ดับไปตามกัน ผล (ที่กล่าวนี้) คือได้รับความทุกข์ ความสุขไม่มี (ดับ) คือดับอวิชชาความโง่ นั่นแหละตัวเหตุตัวปัจจัย


ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ อะไรเป็นตัวเหตุ ตัวเหตุคืออวิชชา ความโง่นั่นแหละมันไหลมา อะไรเป็นอวิชชา จิตโง่นั่นแหละเป็นอวิชชา อะไรเป็นสนิมของอวิชชา มันนั่นแหละเป็นสนิมของมันเอง เหมือนกันกับเหล็ก เหมือนกันกับดาบและมีด ครั้นไม่ลับมันอยู่นานๆ ใครเอามาใส่ สนิมน่ะ มันก็เกิดขึ้นของมันเอง มันขนเอามาเอง หมักหมมทำให้เกิดสนิมจนว่าจิตดำจิตมืดน่ะ มันเองแหละเป็นสนิมของมัน เมื่อทำสนิมให้มันออกจากดวงจิตนี่แล้ว จิตตัง ทันตัง สุขสวะหัง ให้เป็นผู้หมั่นพยายามหัดทรมานสั่งสอนมัน อย่าไปปล่อยตามใจมัน (ให้) มีความรู้เท่ามัน อย่าไปตามใจมัน หัดให้มันอยู่ในอำนาจของสติ สติควบคุม ขัดไปขัดมามันก็ขาวหรอก จิตผ่องแผ้วดีแล้ว จะพูดอยู่ก็ตามมีความสุขทั้งนั้น จะทำการทำงานอยู่ก็มีความสุขทั้งนั้น


อันหนึ่งสมถะ อันหนึ่งวิปัสสนา มันถูกกับจริตอันใด การภาวนามันสบายก็ให้เอาอันนั้น ถ้ามันถูกกับจริต จิตก็สงบสบายไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น จิตรวมอยู่ นั่นแหละมันถูกนิสัย ครั้นมันไม่ถูกนิสัยแล้ว นึกพุทโธหรืออันใดมันก็ฟุ้งซ่าน หายใจยาก หายใจฝืดเคือง หมายความว่ามันไม่ถูกจริตของตน อันใดมันถูกจริตมันก็สบายใจ ใจสว่าง จิตไม่ฟุ้งซ่าน เบื้องต้น ใครเอาอันใดก็เอาอันนั้นเสียก่อน พิจารณาอาการสามสิบสอง นี่เรียกว่าวิปัสสนา เรียกว่าค้นคว้า


เรื่องทุกขสัจจ์นี้ให้มันรู้ พิจารณามันทั้งนอกทั้งใน หรือจะออกพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อาการสามสิบสองน่ะ กระจายออกทุกๆ ส่วนแล้ว มันเหลือเป็นคนไหม บ่มีคนแล้ว กำหนดออกไปๆ จนเหลืออายตนะของมัน บัญญัติ ความสมมุติ สมมติคือขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ก็คือธาตุสี่ประชุมกันเป็นรูปขันธ์ ถ้ามีรูปก็มีเวทนาเกิดขึ้น ต่อไปสัมผัสมันต่อกันเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าไม่บอกให้พิจารณาไปอื่น ให้พิจารณาที่นี่ หมดก้อนของเราของเขานี่แหละแม่นก้อนธรรม อย่าไปหาที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น มันไปยึดไปสร้างไปเสีย มันจะเป็นเหตุให้เจ้าของติดอยู่ ให้พิจารณาอันนี้ ทางจะไปพระนิพพานมีเท่านี้แหละ



ที่มา อ้างอิง
อ้างคำพูด:
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A2-211143.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 104.08 KiB | เปิดดู 6344 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณอายะ ผมยกปัญหาที่คุณอายะสงสัยมาทั้งหมดแล้วลองพิจารณาคำตอบดูนะครับ

อโศกะ เขียน:
ลอง สังเกตพิจารณาลมหายใจ แล้วตั้งคำถามตนเองว่า ทำไมจึงต้องหาายใจเข้า - ออก อะไร ทำให้เราต้องหายใจเข้า อะไร ทำให้เราต้องหายใจออก หายใจเข้าแล้วไม่ให้ออก ได้ไหม ออกแล้วไม่ให้เข้าได้ไหมถามตัวเองแล้วลงมือพิสูจน์ทันที จะได้ปัญญาทันทีเลย


ทำอย่างนี้มันถูกจริงหรือครับ เป็นความเห็นส่วนตัวหรือว่าเอามาจากไหนขอหลักฐานอ้างอิงด้วยได้ไหมครับ คืออ่านแล้วรู้สึกขัดมากๆ เพราะมันน่าจะเป็นจินตมยปัญญามากกว่าภาวนามยปัญญา
อโศกะตอบ
*******คุณอายะอาจติดอยู่กับสัญญา ที่เรียนรู้มาเดิมๆ เอาสัญญามาตัดสินความที่ได้อ่าน จึงต้องงงและสงสัย คุณอายะต้องลืมทุกสิ่ง ทิ้งไว้สัก 10 - 20 นาที แล้วกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติเดิมแท้ของคุณ เอาธรรม คือธรรมชาติที่ไม่มีความรู้จากสัญญาใดมาเบี่ยงเบนได้ แล้วลองอ่านคำแนะนำข้างต้นใหม่ พร้อมกับทดลองทำจริงไปด้วยคือ

1.เฝ้าดูและสังเกต พิจารณาลมหายใจของคุณที่กำลังเข้า ออก ผ่านจมูก

2.สังเกตให้ดีว่า เมื่อหายใจเข้าจนสุดแล้ว จะมีอะไรเกิดขึ้นมาทำให้ต้องหายใจออก วิธีที่ดี ครั้งแรกๆ ให้หายใจเข้าจยสุดแล้วกลั้นลมหายใจไว้ พร้อมกับเอาสติ ปัญญา สังเกตดูให้ดีว่า ความรู้สึกอะไรจะมาทำให้คุณต้องหายใจออก

3.กับลมหายใจออกก็ทำคล้ายกัน แล้วสังเกตดูให้ดีว่า อะไรจะมาทำให้คุณต้องหายใจเข้า เก็บข้อมูลไว้ให้ครบ ละเอียดถี่ถ้วน

4.ขั้นขยายปัญญา ให้สังเกต พิจารณาว่า

*****หายใจออกสุดแล้ว ไม่ให้หายใจเข้า ได้ไหม หายใจเข้าสุดแล้ว ไม่ให้หายใจออกได้ไหม ทำไมถึงไม่ได้ นี่ ลมหายใจกำลังแสดงอะไรให้เรารู้


*****การที่ลมหายใจเข้าแล้วเปลี่ยนเป็นออก ออกแล้วเปลี่ยนเป็นเข้า เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลานี้ ลมหายใจเขากำลังแสดงอะไรให้เรารู้

*******จบแบบฝึกหัดปฏิบัติจริงนี้ คุณอายะ จะได้ประสบการณ์จริง จากการทำจริง เป็นวิปัสสนาปัญญาโดยครบถ้วน ทันที ถ้าคุณอายะ มีสติ ปัญญา แอพพลายด์ สังเกต พิจารณาลมหายใจด้วยความแยบยลต่อไป คุณอายะ จะได้พบ ได้รู้ เห็นความจริง จากของจริง อันเป็นประโยชน์ต่อการเจริญธรรม เจริญวิปัสสนาภาวนาของคุณต่อไปเป็นอย่างยิ่ง

********คุณจะได้ทราบซึ้งว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องว่า อานาปานสติภาวนาเป็นมงกุฏกรรมฐาน หรนือสุดยอดกรรมฐาน

*******ต้องลงมือทดสอบด้วยตนเองจริงๆนะครับจึงจะซึ้ง อย่านั่งคิดเอา

*******อานา่ปานสติสูตรตามตำราให้เอาวางไว้ชั่วคราวก่อน ไม่ต้องเอามาเปรียบเทียบ หาความ ถูก - ผิด อะไรนะครับ

*******การรู้และจำหลักทฤษฎี ในพระสูตร หรือคัมภีร์ได้เยอะๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดี

*******แต่การนำเอาหลักทฤษฎี แม้เพียงเรื่องเดียวมาตีความให้แตกจนน้อมนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ด้วยตนเองทันที นั้นเป(็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะจะได้ชิมผลของการทำจริง พิสูจน์รสแห่งธรรมได้ทันทีครับ

อ้างอิงคำพูด:
อยาก จะเรียนว่าท่านตรงประเด็นจะไม่ ลองแนะนำวิปัสสนาภาวนาวิธีธรรมชาติ คือเจริญสติ เจริญปัญญาตามดู ตามเห็น ตสใรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ อย่างเช่นที่ท่านพระอาจารย์ปราโมช ปราโมชโช ท่านทำอยู่ น่าจะมีประโยชน์กับคนยุคปัจจุบันนี้มากขึ้นนะครับ


อันนี้อ่าน แล้วก็รู้สึกแปลกๆ ว่ากรรมฐาน 40 อานาปาณสติ สติปัฐฐานสี่ มันไม่เป็นธรรมชาติยังไง สุดท้ายกเข้าไปในกายหรือจิตทั้งนั้นไม่ใช่เหรอ แล้วก็คนในสมัยก่อนกับสมัยนี้แตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงสรุปว่าวิธีการที่ท่านยกมาแนะนำได้ประโยชน์แก่คนสมัยปัจจุบันมากกว่า วิธีอื่น

หมายเหตุ อย่าแนะนำให้ไปฟังเทศน์นะครับ ลองตอบตามที่ท่านเข้าใจมาก่อน

เจริญธรรม

อโศกะตอบ

กรรมฐาน 40 อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 ถ้าปฏิบัติไปตามตำรา ไม่เป็นธรรมชาติแน่นอน เพราะเป็น"สมถะภาวนา" สมถะทั้งหมด เป็นการทำตามบัญญัติ คำสั่ง คำบอก วิธีการ

กรรมฐานทั้งหมดนั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่จะพัฒนาจิต ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ละเอียดเพียงพอมากขึ้น จนกว่าจะสามารถไปอยู่ปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติ ที่เรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา"

สมถะเหมือนราวบันได เมื่อสาวราวบันไดขึ้นไปถึงชั้นบนแล้ว ก็ต้องปล่อยราวบันได แล้วเดินตามธรรมชาติไปสู่เป้าหมาย ถ้าไม่ทิ้งราวบันได ก็จะก้าวหน้าต่อไปไม่ได้

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208749.gif
m208749.gif [ 23.74 KiB | เปิดดู 6338 ครั้ง ]
ข้อความอ่านยาก อ่านแล้วตาลาย :b23:

ขออนุญาตแนะนำคุณอโศกนะครับ

หากนำข้อความของผู้อื่นที่เราต้องการอ้างอิง กด ที่ Quote (ทำสีคลุ่มก่อนกด)

จากนั้นต่อด้วยความคิดความเห็นของเรา ผู้ที่ติดตามอ่านแยกแยะได้ง่าย ไม่ลายตา ลองทำดูนะขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ เขียน:
1.เฝ้าดูและสังเกต พิจารณาลมหายใจของคุณที่กำลังเข้า ออก ผ่านจมูก
2.สังเกตให้ดีว่า เมื่อหายใจเข้าจนสุดแล้ว จะมีอะไรเกิดขึ้นมาทำให้ต้องหายใจออก วิธีที่ดี ครั้งแรกๆ ให้หายใจเข้าจยสุดแล้วกลั้นลมหายใจไว้ พร้อมกับเอาสติ ปัญญา สังเกตดูให้ดีว่า ความรู้สึกอะไรจะมาทำให้คุณต้องหายใจออก
3.กับลมหายใจออกก็ทำคล้ายกัน แล้วสังเกตดูให้ดีว่า อะไรจะมาทำให้คุณต้องหายใจเข้า เก็บข้อมูลไว้ให้ครบ ละเอียดถี่ถ้วน
4.ขั้นขยายปัญญา ให้สังเกต พิจารณาว่า......


เรียนท่านอโศกะ ครับ
อย่างไงก็ขอรบกวนถามอีกครั้งหนึ่งว่า ข้อ 1- 4 นี้เอามาจากไหน จากหลวงพ่อท่านใด หรือหนังสือเล่มใด ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ดังที่ท่านว่ามาค่อยว่ากันอีกที คงไม่ว่ากันนะที่ผมจะพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจึงเชื่อ แล้วผมจะ แอมพลาย อานาราซิส แล้ว อิมพีแมน อีกทีครับ [ :b1: ตามสำนวนท่านอโศกะ]

อ้างคำพูด:
กรรมฐาน 40 อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 ถ้าปฏิบัติไปตามตำรา ไม่เป็นธรรมชาติแน่นอน เพราะเป็น"สมถะภาวนา" สมถะทั้งหมด เป็นการทำตามบัญญัติ คำสั่ง คำบอก วิธีการ

คำตอบของท่านคือ ทำตามตำรา ไม่เป็นธรรมชาติ
1. อันนี้ฟังเขามาแล้วบอกต่อใช่หรือไม่ครับ
2. ก่อนที่ท่านแนะนำให้เลือกรูปแบบตามที่ท่านกล่าวท่านเคยทำกรรมฐานกองใดมาก่อนบ้าง และถ้ามีบางกองที่ท่านยังไม่เคยทำแล้วท่านสรุปได้อย่างไรว่าไม่ดี ไม่เหมาะกับคนสมัยนี้ หรือไม่เป็นธรรมชาติ
3.ทำไมท่านบอกว่าวิธีการที่ท่านพอสโพสนั้นดีที่สุด
4. ท่านได้ลองศึกษาตามตำราแล้วหรือยังถึงบอกว่าถ้าปฏิบัติไปตามตำรานั้นไม่ถูก ตกลงตำราที่ท่านว่านั้นคือพระไตรปิฎกใช่หรือไม่
5.ถ้าผมทำตามวิธีที่ หลวงพ่อจรัญ ท่านสอน หรือตามวิธีของหลวงตามหาบัว อันนี้เป็นไปตามธรรมชาติหรือไม่หนอ แล้วที่ท่านนิยามว่าเป็นธรรมชาตินะมันเป็นอย่างไร

ถ้าผมยกตัวอย่างท่านจุลปันถกที่พระพุทธองค์ให้ถูผ้าขาว หรือลูกศิษย์พระสารีบุตรที่แพ่งอศุภะแล้วไม่สำเร็จ พระพุทธองค์ก็แนะนำให้ไปเพ่งดอกบัว แผบเดียวก็สำเร็จอรหันต์ คือจะบอกว่ามัีนมีหลายปัจจัย เช่นจริต กรรมฐานที่เคยทำมาในอดีตชาติ ความเพียรในชาติบัจจุบัน ผู้แนะนำ ฯ


อ้างคำพูด:
สมถะเหมือนราวบันได เมื่อสาวราวบันไดขึ้นไปถึงชั้นบนแล้ว ก็ต้องปล่อยราวบันได แล้วเดินตามธรรมชาติไปสู่เป้าหมาย

6. ถ้าตีความไม่ผิดต้องทำสมถะก่อนใช่ไหมคับ อ้าวแล้วตอนแรกท่านบอกไม่ต้องทำ ตกลงต้องทำหรือไม่ทำคับช่วยขยายความด้วย

ผมอาจจะถามท่านเยอะไปหน่อย ถ้าจะถือเป็นธรรมทานแ่ก่ผมช่วยกรุณาตอบทุกข้อด้วยนะครับ

เจริญธรรมคับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 05 พ.ย. 2009, 14:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบพระคุณมากในคำแนะนำของท่านกรัชกายครับ

สำหรับคุณอายะ คุณลองทำดูอย่างที่บอกก่อนซิครับ ไม่มีอะไรเสียหาย อย่าพึ่งไปสงสัย ถามว่ารู้มาจากใคร ๆ สอน หลวงพ่อใด มันผิดหลักกาลามสูตรนะครับ ทดลองดูก่อน แล้วค่อยคุยกันต่อไป ทดลองดูแล้วมันมีความจริง มีสภาวะรองรับแล้วจะคุยกันต่อไปสบายๆครับ

คำแนะนำ คำพูดจากประสบการณ์จริง กับคำพูดจาก การไปจำตำหรับตำรา ครูบาอาจารย์มาพูด มันมีอรรถรสต่างกันมากนะครับ ความหอมหวานของเนื้อความก็ต่างกันเยอะเลย

ธรรมมะจริงๆ นั้น ท้าพิสูจน์ ท้าให้ทดลอง และทดลองดูได้ตลอดเวลาเป็นอกาลิโกจริงๆ :b8:

อย่างผมจะพูดว่า "ถ้าคุณอยากจะเห็นทุกข์ที่ กาย และ จิต อย่างชัดเจน ทันที เดี่ยวนี้ ให้คุณลองหายใจเข้าลึกๆจนเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ขณะเดียวกันนั้นให้เอาสติ เอาปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน กาาย และ จิต ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เก็บข้อมูลมาให้ได้มากที่สุด"

:b12:
ถ้าทำได้ดี คุณจะได้พบเห็น ได้รู้อะไรบ้าง

1.จะเห็นทุกข์ที่กาย

2.จะเห็นทุกข์ที่จิต

3.จะรู้จักคำว่า "ทุกขัง" อันแปลว่า ทนไม่ได้

4.จะได้เห็นสภาวะอนิจจัง คือ ความที่ต้องเปลี่ยนแปลง

5.จะได้เห็นและรู้จักความหมายของ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ถือเอาเป็นเจ้าของไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้

6.จะได้รู้ด้วยว่า "อัตตา" คือคำสั่งที่ไปบังคับลมหายใจไว้ มีอัตตา ไปยุ่งกับธรรมชาติของลมหายใจ ทุกข์เกิดทันที

7.จะได้พบกับ นิโรธจำลอง คือเมื่อปล่อยวางอัตตา หรือคำสั่งที่บังคับลมหายใจไว้ นิโรธ ความสุขอย่างยิ่ง หรือนิพพาน ตัวอย่าง จะเกิดขึ้นให้ได้รู้ทันที

8.จากแบบฝึกหัด ดูลม สังเกต พิจารณาลมหายใจนี้ จะได้ปัญญาที่จะเอาไปแอพพลายด์ใช้ในการภาวนาได้อย่างมหาศาลครับ

นี่คืออานิสงของมงกุฏฺกรรมฐาน วิปัสสนาภาวนา ความรู้เหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์จริง ท้าพิสูจน์ ถ้าใครก็ตาม สามารถ คลายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ ทดลองทำดูได้ เขาจะได้พบทางลัดเข้าสู่พระนิพพานครับ สาธุ อนุโมทนาที่คุณอายะช่วยจุดชนวนให้ต้องมีการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาครับ

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมถะเหมือนราวบันได เมื่อสาวราวบันไดขึ้นไปถึงชั้นบนแล้ว ก็ต้องปล่อยราวบันได แล้วเดินตามธรรมชาติไปสู่เป้าหมาย

6. ถ้าตีความไม่ผิดต้องทำสมถะก่อนใช่ไหมคับ อ้าวแล้วตอนแรกท่านบอกไม่ต้องทำ ตกลงต้องทำหรือไม่ทำคับช่วยขยายความด้วย

ผมอาจจะถามท่านเยอะไปหน่อย ถ้าจะถือเป็นธรรมทานแ่ก่ผมช่วยกรุณาตอบทุกข้อด้วยนะครับ

เจริญธรรมคับ
อ้างคำพูด:


อโศกะตอบ
กรณีผู้ที่ฝึกหัดทำสมถะมาก่อน อย่างบรรดาฤาษี ชีไพร ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าสมัยแรกๆ พระพุทธองค์ก็ทรงเชื่อมต่อความรู้ จากสมถะ ที่ศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นชำนาญ เข้ามาเจริญปัญญาวิปัสสนาภาวนาต่อเนื่องไปอีก ดังตัวอย่างที่องค์มักจะยกมาถามต่อเพื่อเชื่อมให้สาวกรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาต่อไปอีก พระองค์มักถามเสมอว่า

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย รูปนี้เที่ยงหรือไม่ สาวกตอบ ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯลฯ

หรือในอนัตตลักขณสูตรพระองค์ตรัสกับปัญจวรรคคีย์ว่า
"รูปัง อนัตตา" รูปไม่ใช่ตัวตน จริงหรือไม่ ถ้าหากรูปนี้เป็นตัวตนของตน เราย่อมจะพูดสั่้งได้ว่า รูปนี้จงอย่าแก รูปแนี้จงอย่าเจ็บ ฯลฯ.........ได้หรือไม่ สาวกตอบ ไม่ได้พระเจ้าข้า .......ฯลฯ ดังนี้

:b8:
ดังนั้นบรรดาฤาษี ชฏิลทั้งหลายจึงเหมือนคนสาวราวบันไดขึ้นบันได และรู้จักปล่อยราวบันไดเมื่อได้พบมหากัลยาณมิตรคือพระพุทธเจ้ามาทรงให้สติเตือน
:b27:

ส่วนลูกศิษย์ที่ไม่มีพื้นสมถะมาก่อนพระองค์ทรงให้เจริญปัญญาไปทันทีเลย อย่างเช่นท่านพาหิยะซึ่งมีเวลาน้อยมาก พระองค์ทรงตรัสสอนว่า
:b1:
พาหิยะ เมื่อเธอเห็นก็จงสักแต่ว่า เห็น ฯลฯ ดังนี้ ท่านพาหิยะได้รับการจุดชนวนความคิด ปัญญาของท่านก็เจริญงอกงามต่อเนื่องไปทันใดจนตีความแตก ว่าไม่มีใครเห็นอะไร มันเป็นเพียงสภาวะ มันคืออนัตตา อัตตา สักกายะทิฐิก็ดับขาด บรรลุธรรมเป็นชั้นๆโดยรวดเร็วจนถึง อรหัตผลต่อหน้าพระพักตร์ของพระบรมศาสดา นี่ด้วยอำนาจของปัญญาโดบแท้ ดังนี้เป็นต้น
smiley

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่านอโศกะ

ถามไม่เคยตอบเลยนะครับ ได้แต่บอกว่าให้ลองทำดูก่อน ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาของเหตุและผลเหรอครับ ที่ผมถามท่านอย่างนั้นเพราะเห็นว่ามันผิดหลักการทำกรรมฐาน เช่น แนะนำให้กลั้นลมหายใจเป็นต้น ถ้าผมบอกว่าขณะทำสมาธิให้เอามือแคะหูไปด้วยแล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็วให้ไปลองทำดูก่อนแล้วค่อยมาคุย ท่านจะลองทำตามไหม
อ้างคำพูด:
พาหิยะ เมื่อเธอเห็นก็จงสักแต่ว่า
อันนี้ถูก เพราะไม่ไปปรุงแต่งว่าความรู้สึกอะไรที่ทำให้หายใจเข้าออกอย่างที่ท่านแนะนำ แล้วท่านได้ทราบหรือไม่ว่าในอดีตชาตินั้นท่านพาหิยะได้ทำความเพียรจนตาย พอมาชาตินี้พระพุทธองค์แนะนำนิดหน่อยก็สามารถบรรลุได้ ในทางกลับกันถ้าทุกคนทำได้เหมือนท่านพาหิยะ พระอานนท์ที่อยู่กับพระทุทธเจ้าตลอดคงบรรลุธรรมได้เร็วไม่จำเป็นต้องรอให้พระพุทเจ้าปรินิพพานไปก่อน หรือแม้กระทั่งตัวท่านเองที่ได้อ่านธรรมที่ท่านพาหิยะได้ฟังแล้วก็น่าจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ทันที หรือว่าตอนนี้ท่านบรรลุแล้ว?


อ้างคำพูด:
"ถ้าคุณอยากจะเห็นทุกข์ที่ กาย และ จิต อย่างชัดเจน ทันที เดี่ยวนี้ ให้คุณลองหายใจเข้าลึกๆจนเต็มที่แล้วกลั้นลมหายใจไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะ นานได้ ขณะเดียวกันนั้นให้เอาสติ เอาปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณาเข้าไปใน กาาย และ จิต ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เก็บข้อมูลมาให้ได้มากที่สุด"

อันนี้ผมเรียกใช้จิตมยปัญญญาครับ อยากรู้จริงว่าใครแนะนำวิธีแบบนี้ให้กับท่าน หรือว่าคิดเอาเอง บอกมาไม่น่าเสียหายนี่ครับ ทุกคนย่อมมีครูอาจารย์เสมอ ยกเว้นพระปัจเจ กับพระพุทธเจ้า


อ้างคำพูด:
จะได้พบกับ นิโรธจำลอง คือเมื่อปล่อยวางอัตตา หรือคำสั่งที่บังคับลมหายใจไว้ นิโรธ ความสุขอย่างยิ่ง หรือนิพพาน ตัวอย่าง จะเกิดขึ้นให้ได้รู้ทันที

คนที่พูดอย่างนี้ได้ต้องเป็นอริยะบุคคลเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ไปคิดว่าอารมณ์ประมาณนี้คือนิพพานนะครับ

ผมเข้าใจว่าที่ท่านแนะนำ้นั้นเป็นความหวังดีแต่ในทางกลับกันถ้าคำแนะนำนั้นผิดมันก็อาจทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นจึงควรตอบคำถามด้วยเหตุและผล หรือจะมาดิสสะคัส สภาวะธรรมกันก็ได้ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าผู้ที่มีความเข้าใจไม่เหมือนตนนั้นมีโมหะครอบงำจิตใจนะครับ

เจริญธรรมคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...ขออนุโมทนาในบุญทุกบุญของผู้ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อทั้งหลายเจ้าค่ะ... :b8:
...การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง...แต่การให้อภัยทานที่สุดยอดกว่า...
...ทุกคน...ณ...ที่นี้...ล้วนเป็นผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์ทั้งสิ้นจริงเปล่าล่ะ... :b16:

...จิตเป็นสิ่งที่ฝึกได้...ทุกท่านที่ได้โต้ตอบกันในกระทู้นี้...กำลังฝึกจิตอยู่นะเนี่ย...
...ก็ล้วนแต่เป็นผู้มีจิตใจยึดมั่นในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์... :b8: :b8: :b8:
...ขอยกมืออนุโมทนาสาธุการงามๆอีกสักสามรอบนะเจ้าค่ะ...

...ขอให้มองกันด้วยความรักและปรานาดีต่อกันทุกคนเลย...ลดอัตตาลงอีกนิดนึง... :b34:
...ให้มีใจกว้างขวางเป็นแม่น้ำมหาสมุทรต่อกันนะจ๊ะ...อันว่าสัพเพสัตตา... :b9: :b32:
...สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น... :b17:

...ขอให้ท่านอ่านทบทวนอนาลโยวาทะ (หลวงปู่ขาว อนาลโย)จนกว่าจะเข้าใจ...
...นำไปปฏิบัติเพื่อกำจัดอวิชชา...ความไม่รู้...จะได้รู้ธรรมเห็นธรรมของจริง... :b20:

อ้างคำพูด:
ผู้เขียน : วิสุทโธ
อ้างอิงคำพูด:
อนาลโยวาทะ (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
อนาลโยวาทะ
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดย อวย-ส่งศรี เกตุสิงห์
เพื่อความสุขปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘


อวิชชา (เป็นเหตุ) ให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ท่านว่าให้ดับความโง่อันเดียวเท่านั้น ผลดับหมด เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลาย ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุ คือความโง่ ความไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นตัวเป็นตน ก็ได้รับผลเป็นสุข เป็นทุกข์สืบไป ท่านเรียกว่า วัฏฏะ การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด

นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เห็นรูปมากระทบตา เกิดวิญญาณขึ้นที่นี่ เสียงมากระทบหู เกิดวิญญาณขึ้นที่นี่อีก (ถ้า) รูปดี ก็เกิดความยินดี ชอบใจ เป็นสุขเสทนา อยากได้ (ถ้า) รูปไม่ดี เกลียดชัง เกิดทุกขเวทนา ไม่อยากได้ ก็เป็นทุกขเวทนาขึ้น ตัณหาเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ของตน ตัวของกู กูไปอยู่ที่โน่น ก็ไปอยู่ที่นี่ กูเป็นพระ กูเป็นเณร เมื่อมีอุปาทาน ก็เป็นเหตุให้อยาก เป็นเหตุให้เกิดภพ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ เกิดภพแล้วเป็นเหตุให้เกิดชาติ เกิดชาติเป็นเหตุให้เกิดชรา มรณะ เกิดโสกะ ประเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นตันใจอยู่ในสังขารจักร นี่แหละ (ถ้า) ดับความโง่อันเดียวเท่านั้นแหละ ผลไม่มี ดับเหตุแล้ว ผลก็ดับไปตามกัน

ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ของตน ว่าตัวของกู กูไปอยู่ที่โน่น กูไปอยู่ที่นี่ กูเป็นพระ กูเป็นเณร อุปาทาน เมื่อมีอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นเหตุให้อยากนั่นแหละ เป็นเหตุให้เกิดภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เกิดภพแล้วเป็นเหตุให้เกิดชาติ เกิดชาติ ก็เป็นเหตุให้เกิดชรา มรณะ เกิดโสกปริเทวทุกข โทมนัสสุปายาสา ความคับแค้นอัดอั้นตันใจ อยู่ในสังสารจักร นี่แล ตับความโง่อันเดียวเท่านั้นและ ผลไม่มี ตับเหตุแล้ว ผลก็ดับไปตามกัน ผล (ที่กล่าวนี้) คือได้รับความทุกข์ ความสุขไม่มี (ดับ) คือดับอวิชชาความโง่ นั่นแหละตัวเหตุตัวปัจจัย

ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ อะไรเป็นตัวเหตุ ตัวเหตุคืออวิชชา ความโง่นั่นแหละมันไหลมา อะไรเป็นอวิชชา จิตโง่นั่นแหละเป็นอวิชชา อะไรเป็นสนิมของอวิชชา มันนั่นแหละเป็นสนิมของมันเอง เหมือนกันกับเหล็ก เหมือนกันกับดาบและมีด ครั้นไม่ลับมันอยู่นานๆ ใครเอามาใส่ สนิมน่ะ มันก็เกิดขึ้นของมันเอง มันขนเอามาเอง หมักหมมทำให้เกิดสนิมจนว่าจิตดำจิตมืดน่ะ มันเองแหละเป็นสนิมของมัน เมื่อทำสนิมให้มันออกจากดวงจิตนี่แล้ว จิตตัง ทันตัง สุขสวะหัง ให้เป็นผู้หมั่นพยายามหัดทรมานสั่งสอนมัน อย่าไปปล่อยตามใจมัน (ให้) มีความรู้เท่ามัน อย่าไปตามใจมัน หัดให้มันอยู่ในอำนาจของสติ สติควบคุม ขัดไปขัดมามันก็ขาวหรอก จิตผ่องแผ้วดีแล้ว จะพูดอยู่ก็ตามมีความสุขทั้งนั้น จะทำการทำงานอยู่ก็มีความสุขทั้งนั้น

อันหนึ่งสมถะ อันหนึ่งวิปัสสนา มันถูกกับจริตอันใด การภาวนามันสบายก็ให้เอาอันนั้น ถ้ามันถูกกับจริต จิตก็สงบสบายไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น จิตรวมอยู่ นั่นแหละมันถูกนิสัย ครั้นมันไม่ถูกนิสัยแล้ว นึกพุทโธหรืออันใดมันก็ฟุ้งซ่าน หายใจยาก หายใจฝืดเคือง หมายความว่ามันไม่ถูกจริตของตน อันใดมันถูกจริตมันก็สบายใจ ใจสว่าง จิตไม่ฟุ้งซ่าน เบื้องต้น ใครเอาอันใดก็เอาอันนั้นเสียก่อน พิจารณาอาการสามสิบสอง นี่เรียกว่าวิปัสสนา เรียกว่าค้นคว้า

เรื่องทุกขสัจจ์นี้ให้มันรู้ พิจารณามันทั้งนอกทั้งใน หรือจะออกพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อาการสามสิบสองน่ะ กระจายออกทุกๆ ส่วนแล้ว มันเหลือเป็นคนไหม บ่มีคนแล้ว กำหนดออกไปๆ จนเหลืออายตนะของมัน บัญญัติ ความสมมุติ สมมติคือขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ก็คือธาตุสี่ประชุมกันเป็นรูปขันธ์ ถ้ามีรูปก็มีเวทนาเกิดขึ้น ต่อไปสัมผัสมันต่อกันเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าไม่บอกให้พิจารณาไปอื่น ให้พิจารณาที่นี่ หมดก้อนของเราของเขานี่แหละแม่น(ใช่)ก้อนธรรม อย่าไปหาที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น มันไปยึดไปสร้างไปเสีย มันจะเป็นเหตุให้เจ้าของติดอยู่ ให้พิจารณาอันนี้ ทางจะไปพระนิพพานมีเท่านี้แหละ


...เพราะนี่คือคำตอบของหลายๆคำถาม...ข้าพเจ้าอ่านบทความนี้เป็นครั้งแรก.. :b42:
...ในใจข้าพเจ้าบอกได้ทันทีว่าเข้าใจในสิ่งที่ท่านสอน...เพราะทำแบบท่านสอน... :b48:
...ข้าพเจ้าปฏิบัติด้วยตนเอง...แสดงว่าทำมาถูกทางแล้วเจ้าค่ะ...พิจารณาตลอด... :b17:
...และก็เกิดปัญญารู้เห็นตามที่ท่านสอนจริง....หลักใหญ่ใจความของท่านเน้นพิจารณากาย...
...ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง...เป็นอนิจจัง...ทุกขัง...อนัตตา...และเป็นอัตตา...ในตัวเอง... :b1:


...นี่เป็นความรู้ความเห็นของข้าพเจ้า...พยายามอย่าตีความว่าข้าพเจ้าบรรลุแล้ว...
...เพราะผู้รู้เป็นปัจจัตตัง(รู้เฉพาะตน)...เป็นอกาลิโกไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่... :b16: :b16:
...แม้ผ่านมา2500กว่าปีก็รู้แบบเดียวกัน...ข้าพเจ้ารู้ที่ใจในประเทศไทยไม่ใช่ที่อินเดียเจ้าค่ะ... :b17:
...แม้ข้าพเจ้าจะเพิ่งเข้ามาศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมได้ไม่นานก็ตามที...นับได้ประมาณ5ปีนี้


...ธรรมอันเราตถาคตตรัสไว้ชอบแล้วว่า...ผู้ใดเห็นธรรม...ผู้นั้นเห็นเรา...
...ผู้ใดปฏิบัติธรรม...ผู้นั้นปฏิบัติเรา...ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก...

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




002.jpg
002.jpg [ 28.27 KiB | เปิดดู 6247 ครั้ง ]
tongue
อ้างคำพูด:
ผมเข้าใจว่าที่ท่านแนะนำ้นั้นเป็นความหวังดีแต่ในทางกลับกันถ้าคำแนะนำนั้น ผิดมันก็อาจทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นจึงควรตอบคำถามด้วยเหตุและผล หรือจะมาดิสสะคัส สภาวะธรรมกันก็ได้ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าผู้ที่มีความเข้าใจไม่เหมือนตนนั้นมีโมหะครอบงำจิตใจ นะครับ

ฝากข้อความนี้กลับคืนมาให้คุณอายะด้วยนะครับ

อโศกะ สนทนาต่อ
คุณอายะครับ ตอนเรียนหนังสือเคยทำแบบฝึกหัดวิชาต่างๆ ไหมครับ
ที่ยกมาให้คุณลองทำดูก็เป็นแบบฝึกหัดเช่นกันครับ ทำแบบฝึกหัดได้ดีแล้วเวลาเจอโจทย์ของจริงก็จะแก้ไขได้ง่ายขึ้นนะครับ

สมถะกรรมฐานทั้ง 40 กอง ล้วนเป็นแบบฝึกหัดจิตใจทั้งสิ้น เพราะคน กำหนดกรรมฐานทั้งหมดขึ้นมา
เมื่อทำกรรมฐานได้ดี จิตตั้งมั่นควรแก่งานแล้ว พอไปเจอของจริง เช่นโดนด่า หรือโดนสบประมาท ลองดี
ปฏิฆะ ความขุ่นมัว เกิดขึ้นในจิต ทีนี้หละลงสนามรบจริงแล้ว
จะทำอย่างไรกำหราบปฏิฆะ หรือโทสะ จะทำอย่างไร ขุดถอนปฏิฆะนี้

โดยสมถะวิธี ทำอย่างไร

โดยวิปัสสนาวิธี จะทำอย่างไร

ทั้งหมดนี้ก็ต้องเอาหลักทฤษฎีที่จดจำมาทั้งหมดมาเลือกเฟ้น ใช้ให้ถูกกับงานและอาการ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะนั้น
:b8:
ขอให้เรืองปัญญายิ่งๆขึ้นไป อัตตา มานะ ผอมลงๆ จนตายขาดหมดสิ้นนะครับ สาธุ Onion_L :b12: :b27:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 279 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร