วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์แห่งฌาน ใน อานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


สำหรับการฝึกที่ใช้ลมหายใจเป็นหลัก หรือ อารมณ์ ในที่นี้มีแนวย่อๆ คือ

ขั้นแรกที่สุด การที่สติกำหนดลงตรงลมหายใจ ดุจว่าบุคคลจดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าที่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง เราเรียกว่า”วิตก” ภาวะที่เรียกว่า วิตก ในที่นี้ มิได้หมายถึงความตริตรึก หรือ คิดแส่อย่างหนึ่งอย่างใด แต่ หมายถึง อาการที่สติกำหนดแน่วแน่เฉยๆ อยู่ในอารมณ์ที่ไม่มีความหมาย (หรือ ไม่ทำความหมายในการพิจารณาหาเหตุผล) อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น

ส่วน การที่ จิตต้องเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์กล่าวคือ ลมหายใจ ด้วยอำนาจสัมปชัญญะอยู่ไปมานั้น เรียกว่า “วิจาร” ภาวะที่เรียกว่า วิจารณ์ ในที่นี้ มิได้หมายถึงการพิจารณาหาเหตุผล หรือ หมายถึงการใช้ปัญญาพิจารณาแต่อย่างใด หมายเพียง ลักษณะที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์อย่างทั่วถึงไม่ออกห่าง . เมื่อเปรียบกับการผูกลิงแล้ว วิตกได้แก่การที่มันถูกผูกติดอยู่กับหลักโดยเฉพาะ .ส่วน วิจาร หมายถึง การที่มันเต้นอยู่รอบๆหลัก จะ ไปๆ มาๆ ขึ้นๆ ลงๆ อย่างไร ก็เคล้ากันอยู่กับหลักนั่นเอง. ในขณะที่ยังเป็นเพียงวิตก วิจาร ล้วนๆนี้ เราเรียกว่าขณะแห่งบริกรรม หรือ การบริกรรม. .

เมื่อการบริกรรมเป็นไปด้วยดี และ ถ้ากฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควรอย่างไรสืบไปแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกว่าจิตยอมอยู่ในอำนาจ และ เกิด ความซาบซ่านหรืออิ่มใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ปิติ” เป็นความอิ่มใจที่เกิดซาบซ่าน .ในขณะที่เริ่มรู้สึกว่า ร่างกายได้เบาสบายไปทั่วตัว ไม่รู้สึกติดขัด หรือ อึดอัด ความร้อนในร่างกายได้สงบลง จนรู้สึกราวกับว่า มันไม่มีอยู่เลย ลมหายใจค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น จนคล้ายกับไม่มีการหายใจ ความตื่นเต้นของประสาทไม่มีแม้แต่น้อย คงอยู่แต่ความเบาสบาย อันเรียกว่า ปิติ ซึ่งในภาษาแห่งธรรมย่อมหมายถึง ความเย็นใจ อันซาบซ่านอยู่ภายในเท่านั้น ไม่หมายถึงความฟุ้งซ่าน หรือเต้นแร้งเต้นกา.

และ พร้อมๆกันกับปิตินี้ ก็มีความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ความปลอดโปร่งใจ รวมอยู่อย่างแนบแน่นด้วย โดยไม่ต้องมีเจตนา และ เรียกความรู้สึกอันนี้ว่า “สุข”.

ต่อจากนี้ ก็มีหน้าที่ ที่จะควบคุมความรู้สึกอันนี้ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอด้วยดี เพราะเหตุว่า ลิงได้หยุดเต้นแล้ว เชือกหรือสติไม่ถูกกระชากอีกต่อไปแล้ว.เพียงแต่รักษาภาวะอันนี้ให้คงที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแท้ที่จริงก็ได้เริ่มมีความกลมเกลียวกันมาตั้งแต่แรกแล้ว ให้เป็นลักษณะที่เด่นชัดยิ่งขึ้น จนปรากฏว่าจิตได้อยู่ในอารมณ์เดียว เสมอต้นเสมอปลายแล้วจริงๆ ยิ่งขึ้นกว่าตอนต้นๆ .ก็เป็นอันว่า สมาธินั้นได้ลุถึงผลสำเร็จของมันแล้วอย่างเต็มเปี่ยมชั้นหนึ่ง และ เรียกความมั่นคงเป็นอันเดียวนี้ว่า “เอกัคคตา” และ พึงทราบว่า ในขณะนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา ได้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน พร้อมกันอยู่ตลอดเวลาที่มั่นในสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นแทรกแซง จนกระทั่งถึงเวลาที่ผู้นั้นออกจากสมาธิ .

การฝึกขั้นต่อไป ก็มีการฝึกให้เข้าสมาธิได้เร็ว อยู่ได้นานตลอดเวลาที่ต้องการ ตื่นหรืออกจากสมาธิได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ คือ มีความชำนาญคล่องแคล่ว จนกลายเป็นของชินหรือเคยตัว จนกระทั่งเวลาธรรมดาทั่วไป ก็รู้สึกว่าจิตยังได้อาบรดอยู่ ด้วยปิติและสุขในภายในอยู่เสมอ ทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะไป หรือ อยู่ในสถานที่ไหน เหมือนกับคนที่มีลาภใหญ่หลวง มีความดีอกดีใจซาบซ่านอยู่ในที่ทุกแห่ง ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. เมื่อลุถึงขั้นนี้ สิ่งที่เรียกว่า การฝึกจิต ก็กล่าวได้ว่า ลุถึงผลอันสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้ว และเรียกว่า ขั้นปฐมฌาน ความเพ่งจิตอันเป็นบทเรียนขั้นต้นได้ลุถึงแล้ว .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการเจริญอานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


นี่เป็นผลอย่างแรกของสมาธิ ซึ่ง เรียกตามโวหารศาสนาว่า “การเสวยสุขในทิฏฐธรรม”ชนิดหนึ่ง. ซึ่งแม้ว่าความพากเพียรของตน จะมาหมดกำลังสิ้นสุดลงเสียเพียงขั้นนี้ ก็ยังนับได้ว่า การกระทำของตนไม่เสียหลายอยู่มากแล้ว

ผลประการที่สองก็คือว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิด้วยดีแล้ว วิปัสสนาญาณจักเป็นไปด้วยดี และ มองเห็นความจริงในสรรพสังขารได้แจ่มแจ้ง เพราะว่า สมาธินั้นเป็นเหมือนการลับมีดให้คม หรือ การเช็ดแว่นกระจกให้ใส. มีดที่คมแล้วใช้ตัดฟันได้ แว่นที่ใสแล้วใช้ส่องดูได้ และ ได้ผลตามที่ต้องการ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุครับพี่หมอ...

การอธิบายถึงสภาพสภาวะธรรมในองค์ฌาน
ของท่านอ.พุทธทาส น้อยท่านนักปฏิบัติภาวนาทั้งหลาย จะได้ยินได้ฟังกัน...ครับ

เป็นการอธิบายสภาพสภาวะธรรมได้แจ่มชัดเจนยิ่งนัก
องค์ฌานที่ถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเป็นที่พักจิตได้อย่างเยี่ยมยอด...

แม้นภาระกิจในหน้าที่การงานจะหนักหนาสาหัสสักปานใดก็ตาม
ด้วยสภาพสภาวะของโลกสมมุติในปัจจุบันที่กำลังปรากฏไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่นี้นั้น
เมื่อจิตได้มีโอกาสเข้าถึงหยุดพักอยู่ในองค์ฌานไม่ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม
ก็ย่อมที่จะหยุดชลอดับกระแสพลังแห่งโลกสมมุติ ให้ทุเลาเบาลางลงไปได้บ้าง...

ขอให้พี่หมอเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เรียกความมั่นคงเป็นอันเดียวนี้ว่า “เอกัคคตา” และ พึงทราบว่า ในขณะนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา ได้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน พร้อมกันอยู่ตลอดเวลาที่มั่นในสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นแทรกแซง จนกระทั่งถึงเวลาที่ผู้นั้นออกจากสมาธิ .

:b20: การฝึกขั้นต่อไป ก็มีการฝึกให้เข้าสมาธิได้เร็ว อยู่ได้นานตลอดเวลาที่ต้องการ ตื่นหรืออกจากสมาธิได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ คือ มีความชำนาญคล่องแคล่ว จนกลายเป็นของชินหรือเคยตัว จนกระทั่งเวลาธรรมดาทั่วไป ก็รู้สึกว่าจิตยังได้อาบรดอยู่ ด้วยปิติและสุขในภายในอยู่เสมอ ทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะไป หรือ อยู่ในสถานที่ไหน เหมือนกับคนที่มีลาภใหญ่หลวง มีความดีอกดีใจซาบซ่านอยู่ในที่ทุกแห่ง ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. เมื่อลุถึงขั้นนี้ สิ่งที่เรียกว่า การฝึกจิต ก็กล่าวได้ว่า ลุถึงผลอันสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้ว และเรียกว่า ขั้นปฐมฌาน ความเพ่งจิตอันเป็นบทเรียนขั้นต้นได้ลุถึงแล้ว .

:b49: เจริญในธรรมจ้า ท่านตรงประเด็น อนุโมทนาบุญ ด้วยนะจ๊ะ :b49:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2009, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/057.htm

องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕ ประการนั้น มีอธิบายไว้ดังนี้

๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า ใช้ดินมาทำเป็นดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือ เพ่งดวงกสิณนี้ ไม่ให้จิตใจไปคิดอะไรอื่น ถ้าจิตไปคิดอะไรอื่นก็หมายความว่า มีถีนมิทธ คือ จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง คลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่ง เป็นจิตที่ตกไปจากดวงกสิณแล้ว ต้องยกจิตให้กลับมาที่ดวงกสิณใหม่ คือให้เพ่งดวงกสิณอีก จนไม่เคลื่อนไปจากดวงกสิณอีกเลย เช่นนี้เป็นอันว่ามีวิตกโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตมี วิตกอยู่เฉพาะดวงกสิณ ก็ได้ชื่อว่าเผาหรือข่มถีนมิทธได้แล้ว เพราะจิตไม่ท้อถอยคลาดเคลื่อนไปจากดวงกสิณเลย

๒. วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ไม่ให้ลังเลใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น จิตก็จะหน่ายในการประคองจิต ก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ความลังเลใจเป็นวิจิกิจฉา เมื่อประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่งโดยปราศจากความลังเลใจ ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์ เผาหรือข่มวิจิกิจฉานิวรณ์ แล้ว

๓. ปิติ คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในการกระทำเช่นนั้น ขณะที่จิตมีปิติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่ ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งจะทำร้ายขุ่นเคืองใครจึงได้ชื่อว่า ปิติ นี้เผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ ได้แล้ว

ปิติที่เป็นองค์ฌาน สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงขั้น ผรณาปิติ ส่วนปิติ อีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่

๔. สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง ความสุขใจ คือ โสมนัสเวทนา เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตจนตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ ถึงกับเกิดปิติแล้ว ย่อมเป็นสุขใจยิ่งนัก ความสุขก็คือ ความสงบ ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นธรรมดา จึงได้ชื่อว่า สุขนี้เผาหรือข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ได้แล้ว

๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งดังที่กล่าวมาเป็นลำดับเช่นนี้แล้ว ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย หมายความว่า ขณะนั้นไม่ได้คิดคำนึงถึง รูป เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัส แต่ประการใด ๆ ทั้งสิ้น แน่วแน่แต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น จึงได้ชื่อว่า เอกัคคตา นี้เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์ ได้แล้ว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2009, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านคำอธิบายของ ท่านพุทธทาสแล้ว ยังขาดองค์ธรรม แต่หากศึกษาจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาทแล้ว จะได้เหตุผลมากกว่า

สมดั่งที่ ท่านพระครูศรีโชติญาณ ได้แสดงความเห็น เกี่ยวกับเรื่อง จิตเดิม ของท่านพุทธทาส ที่ไปอ้างอิงจากนิกายมหายาน


พุทธวิทยาน่ารู้(๑๐)
โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง "จิตเดิม"
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10126


http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10128



"ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺติ" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ก็จิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา"


ในเอกนิบาตอังคุตตรนิกาย อรรถกถา ภาค ๑ หน้า ๔๕ ข้อ ๕๐ ท่านแก้ว่า จิตก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง


พระดำรัสที่ว่า "หลุดพ้นแล้ว" หมายถึง เป็นจิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลที่สัมปยุตด้วยญาณมีเหตุ ๓ เป็นต้น ได้รับการสรรเสริญ มีชื่อเสียง สืบเนื่องมาจากบุตรเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระ ก็เพราะเหตุที่บุตรเป็นต้นของตนเหล่านั้นั่นแหละ เป็นคนดีงาม ด้วยเหตุที่ได้รับการศึกษาได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน ฉันใด


ภวังคจิตดวงนี้ที่พระมหามุนีตรัสว่า "หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา" ก็ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต ซึ่งเกิดขึ้นในขณะของชวนะฉันนั้นฯ




ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร


แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


ยึดพระพุทธเจ้าเป็นหลักดีกว่าครับ

อรรถกถาใดๆก็เป็นปัญญาของอรรถกถาจารย์

เป็นปัจเจกบุคคลขึ้นอยู่กับว่าท่านอรรถกถาจารย์ท่านนั้นบรรลุธรรมขั้นไหน

เอาพระสูตรเป็นที่ตั้งจะถูกต้องที่สุด

และหากคุณเฉลิมศักดิ์จะมาอาศัยเวปนี้โจมตีใส่ร้ายท่านพุทธทาสเหมือนที่เคยกระทำ

ท่านเวปมาสเตอร์จะสนองตอบอย่างไร

จะจับตาคอยมอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ่านคำอธิบายของ ท่านพุทธทาสแล้ว ยังขาดองค์ธรรม แต่หากศึกษาจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาทแล้ว จะได้เหตุผลมากกว่า


ทั้งนี้ต้องขึ้นกับทิฐิผู้อ่านด้วยว่า

เป็นสัมมาทิฐิ

หรือมิจฉทิฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามเฉลิมศักดิ์

การแสดงธรรมต้องอาศัยการโจมตีบุคคลอื่นด้วยหรือครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ

เมื่อการบริกรรมเป็นไปด้วยดี และ ถ้ากฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควรอย่างไรสืบไปแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกว่าจิตยอมอยู่ในอำนาจ และ เกิด ความซาบซ่านหรืออิ่มใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ปิติ” เป็นความอิ่มใจที่เกิดซาบซ่าน .ในขณะที่เริ่มรู้สึกว่า ร่างกายได้เบาสบายไปทั่วตัว ไม่รู้สึกติดขัด หรือ อึดอัด ความร้อนในร่างกายได้สงบลง จนรู้สึกราวกับว่า มันไม่มีอยู่เลย ลมหายใจค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น จนคล้ายกับไม่มีการหายใจ ความตื่นเต้นของประสาทไม่มีแม้แต่น้อย คงอยู่แต่ความเบาสบาย อันเรียกว่า ปิติ ซึ่งในภาษาแห่งธรรมย่อมหมายถึง ความเย็นใจ อันซาบซ่านอยู่ภายในเท่านั้น ไม่หมายถึงความฟุ้งซ่าน หรือเต้นแร้งเต้นกา.

------------------------------------------------------------------


พระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/056.htm

ปิติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจนี้มีถึง ๕ ประการ คือ

๑. ขุทฺทกาปิติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก

๒. ขณิกาปิติ " ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อย ๆ

๓. โอกฺกนฺติกปิติ " ถึงกับตัวโยกตัวโคลง

๔. อุพฺเพงฺคาปิติ " จนตัวลอย

๕. ผรณาปิติ " จนอิ่มอาบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ



องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕ ประการนั้น มีอธิบายไว้ดังนี้

http://abhidhamonline.org/aphi/p1/057.htm


๓. ปิติ คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในการกระทำเช่นนั้น ขณะที่จิตมีปิติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่ ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งจะทำร้ายขุ่นเคืองใครจึงได้ชื่อว่า ปิติ นี้เผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ ได้แล้ว

ปิติที่เป็นองค์ฌาน สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงขั้น ผรณาปิติ ส่วนปิติ อีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่

--------------------------------------------------------

ประเภทแห่งฌาน ๕
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/058.htm


----------------------------------------------


อ้างคำพูด:
ยึดพระพุทธเจ้าเป็นหลักดีกว่าครับ

อรรถกถาใดๆก็เป็นปัญญาของอรรถกถาจารย์

เป็นปัจเจกบุคคลขึ้นอยู่กับว่าท่านอรรถกถาจารย์ท่านนั้นบรรลุธรรมขั้นไหน

เอาพระสูตรเป็นที่ตั้งจะถูกต้องที่สุด


คุณ mes ครับ บางครั้งศึกษาจากพระสูตรแล้ว อาศัยอัตตโนมติ ของ อาจารย์รุ่นหลัง อาจจะคลาดเคลื่อนไปได้

ควรศึกษาเป็นลำดับ คือ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ของเถรวาท ค่อยศึกษาจากอาจริยวาท ดีกว่าครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ บางครั้งศึกษาจากพระสูตรแล้ว อาศัยอัตตโนมติ ของ อาจารย์รุ่นหลัง อาจจะคลาดเคลื่อนไปได้

ควรศึกษาเป็นลำดับ คือ พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา ของเถรวาท ค่อยศึกษาจากอาจริยวาท ดีกว่าครับ


พระสูตรไม่มีคลาดเคลื่อน

ที่คลาดเคลื่อนคืออัตโนมัติของอถรรกถาจารย์รุ่นหลังบางท่านที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์อธิบายพระสัทธรรมผิดๆ

การสนทนาธรรมควรเพื่อการเจริญธรรม

ไม่ใช่เพื่อการแสดงความอวดรู้ครับ

ผมนับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาทเฉลิมศักดิ์อย่าพยายามกล่าวหาว่าผมเป็นอาจาริยวาท ผิดทั้งศีลทั้งจริยธรรม ทั้งมารยาท

และเฉลิมศักดิ์ก็ไม่มีสิทธิ์ไปดูแคลนอาจาริยวาท

ผมดูหนังฉายซ้ำของคุณมาหลายรอบ

เหมือนละครหลังข่าวเต็มที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ นี่ก็อีกความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน ของชาวพุทธ ที่ศึกษา อัตตโนมติของท่านพุทธทาส นอกจากเรื่อง นรก สวรรค์แล้ว ในกระทู้ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทของคุณตรงประเด็น ที่เชื่อตามท่านพุทธทาส ว่า ชาติคือ การเกิดขึ้นของความรู้สึก ตัวกู - ของกู ( อุปาทาน )

----------------------------------------------
อ้างคำพูด:
กระทู้ สวรรค์ - นรก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 1eaf943022

ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

ผมได้อ่านบทความของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่า สวรรค์ อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ น่าจะเป็นแก่นหรือสาระสำคัญในแง่ของศาสนาพุทธที่แท้จริง

ใครสนใจบทความของท่านพุทธทาส สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/heaven92.html

จากคุณ ysri123

--------------------------------

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ นี่ก็อีกความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน ของชาวพุทธ ที่ศึกษา อัตตโนมติของท่านพุทธทาส นอกจากเรื่อง นรก สวรรค์แล้ว ในกระทู้ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทของคุณตรงประเด็น ที่เชื่อตามท่านพุทธทาส ว่า ชาติคือ การเกิดขึ้นของความรู้สึก ตัวกู - ของกู ( อุปาทาน )


เคยถามเฉลิมศักดิ์ที่ลานธรรมเสวนาว่า

เฉลิมศักดิ์สำเร็จอรหันต์แล้วหรือจึงรู้แจ้งแห่งปฏิจจสมุปบาท

จึงสามารถตัดสินว่าใครถูกใครคลาดเคลื่อน

เรื่องสวรรค์นรกเฉลิมศักดิ์ลองหาพยานวัตถุมาแสดงดูตามความเชื่อของเฉลิมศักดิ์แต่อย่าอ้างจากพระไตรปิฎกเพราะอ่านกันทุกคนแล้ว เอาของจริงเลย

ท่านพุทธทาสท่านสอนเรื่องสภาวะธรรม

เฉลิมศักดิ์คุยโม้เรื่องสมมุติธรรมซึ่งเป็นเรื่องของภาษา

ขอถามว่าเฉลิมศักดิ์บรรลุธรรมขั้นไหนแล้วจึงมาเที่ยวตัดสินสภาวะธรรมผู้อื่น

อย่าอ้างปริยัติธรรมที่เรียนมา

คนละเรื่องกัน

พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของการทุ่มเถียง

ลานธรรมเสวนาไม่ยอมให้โจมตีพระพุทธทาสมาที่ลานธรรมจักร์โจมตีท่านพุทธทาสต่อหรือครับ

สนุกดีไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์ค่ะ :b8:

ตรงนี้หยุดไว้ก่อนดีกว่าไหมคะ ขอเชิญที่กระทู้นี้ดีกว่าค่ะ

viewtopic.php?f=2&t=21049

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธทาส ท่านแสดงอานาปานสติ แบบที่สืบทอดมาจากพระสูตรดั้งเดิมได้ด้วยภาษาง่ายๆ ที่คนรุ่นใหม่อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก

ปัจจุบันเมื่อพูดถึงอานาปานสติ ไม่ว่าจะในเมืองไทยหรือต่างประเทศ ก็มักจะมีการกล่าวถึง คู่มืออานาปานสติของท่านพุทธทาส ในลักษณะหนังสือที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เพราะ ท่านนำมาจากในพระสูตรโดยตรงนั่นเอง และ สิ่งนี้ เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวงการพระพุทธศาสนา. ไม่ใช่เฉพาะทางเถรวาทที่ตื่นตัวในอานาปานสติ แม้นแต่ ทางเซน เช่น ท่านติช นัท ฮันห์ ท่านก็สอนอานาปานสติบ่อยๆเช่นกัน

ปัจจุบัน วงการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษาศาสตร์ นักจิตวิทยาทั่วโลก มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอานาปานสติกันกว้างขวาง. ที่มหาวิทยาลัยในตะวันตก ได้เคยทดลองนำอานาปานสติ ไปให้นักศึกษาปฏิบัติแบบshort course ปรากฏว่า นักศึกษากลุ่มที่ฝึกอานาปานสติสามารถมีประสิทธิภาพในการเรียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน .ในปัจจุบัน วงการศึกษาศาสตร์ กำลังสนใจภาวะ RELAX ALERTNESS (ภาวะผ่อนคลายแต่ตื่นตัว)กันมาก ด้วยพบว่าภาวะนี้(คลื่นสมอง high band alfa-wave)ซึ่งเป็นลักษณะเรียนรู้แบบสบายๆ เป็นภาวะที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การคิดที่เป็นระบบระเบียบ สูงสุด.... ซึ่ง พระพุทธองค์ก็ทรงใช้อานาปานสติเป็นบาทในการตรัสรู้เมื่อ2500กว่าปีก่อน เช่นกัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร