วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 20:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 01:15
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งลองนั่งสมาธิได้ไม่นานค่ะ นั่งได้ประมาณ 30 นาที รู้สึกว่าจิตใจสงบขึ้น พยามรักษาศีล 5 แต่รู้สึกว่ายิ่งพยามรักษาศิล ก็ยิ่งมีเรื่องให้ผิดศิล ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเมื่อก่อนไม่ได้คิดว่าจะรักษาศิลหรือเปล่า เลยไม่รู้ว่าตัวเองผิดศิลบ่อย ทั้งตบยุง โกหก (ด้วยเรื่องเล็กน้อยเพื่อความเฮฮา) แต่ตอนนี้คิดตลอดเวลาที่พูดอะไร หรือทำอะไร (1) ไม่ทราบว่ามันเป็นการเคร่งเครียดเกินไปหรือเปล่าค่ะ? เวลาก่อนนั่งสมาธิก็จะสวดมนต์ประมาณห้านาที แล้วจึงนั่ง ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองคิดนั่นคิดนี่ไปเรื่อย พอนึกขึ้นได้ก็กลับมาพุทโธอีกครั้ง (2) ไม่ทราบคนอื่นที่เขานั่งสมาธิกัน นานไหมคะกว่าจะจิตสงบได้นานๆ

.....................................................
"Great minds discuss ideas; Average minds discuss events;
Small minds discuss people."

จิตใจที่ยิ่งใหญ่วิพากย์วิจารณ์ความคิด จิตใจสามัญวิพากวิจารณ์เหตุการณ์ แต่จิตใจที่ต่ำต้อยนั้นวิจารณ์เพียงผู้คน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 16:53
โพสต์: 113

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุญาตช่วยตอบค่ะ
ถูกแล้วค่ะเมื่อก่อนเราไม่เคยเจริญสติ ไม่เคยรักษาศีล เราจึงไม่เห็นสภาวะธรรมต่างๆ
(สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจเราค่ะ)
ไม่ว่ากายหรือใจ เมื่อเราเจริญสติเราจะเห็นสภาวะธรรมต่างๆชัดเจนขึ้น
เลยดูเหมือนมันมากขึ้นแต่จริงๆเป็นเพราะเรามีสติรู้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ
ส่วนเวลานั่งสมาธิแล้วจิตใจเราฟุ้งซ่านคิดนั่นคิดนี่ก็เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ
เพราะจิตมันมีหน้าที่คิด หน้าที่ปรุง เราจะไปห้ามไม่ให้คิดไม่ให้ปรุงไม่ได้
แต่เรามีหน้าที่รู้ อย่างเป็นกลาง ไม่ยินดีไม่ยินร้าย กับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น
เมื่อวันนึงสัมมาสติเกิดขึ้นสภาวะธรรมต่างๆจะดับไปเอง
โดยที่เราไม่ได้มีหน้าที่ไปดึง ไประงับ ไปกดเอาไว้
นี่เป็นหลักคราวๆของการเจริญวิปัสนาค่ะ
แต่ถ้าเป็นการเจริญสมถะ จะต้องดึงใจให้กลับมาอยู่กับสมาธิ เช่น พุธโท ยุบหนอพองหนอ
แล้วแต่ว่าใครใช้หลักอะไร เราจะได้ความสงบ ได้สมาธิค่ะ แต่ยังไม่ได้ปัญญาที่แท้จริง
แต่ทั้ง สมถะและวิปัสนาจำเป็นต้องพึงพากันและกันค่ะ
ถ้าอยากเข้าใจแจ่มแจ้งมากกว่านี้
ลองเข้าไปหาอ่านหรือโหลด ซีดีธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ มาฟังดูนะคะ
จะเข้าใจมากขึ้นแน่ๆค่ะ(ในเว็ปนี้ก็มีค่ะ)
ขออนุโมทนากับทุกๆ การปฎิบัติดีปฎิบัติชอบของคุณค่ะ
:b8: :b4:

.....................................................
คำของหลวงพ่อชา
“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่น คุณ ying_aya พึงเข้าใจวิถีจิต หรือ การทำงานของจิตสักเล็กน้อย
อาจเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ด้วยตัวอย่างนี้



เรียน ทุกท่าน
ดูจิตแต่คิดอกุศล มันคิดไปเองนะคะ ไม่สามารถควบคุมได้ ทำไมต้องสร้างวัดใหญ่ ๆ ทำไมต้องสร้างพระพุทธรูปให้ผู้คนบูชาแพง ๆ ทำไมต้องแข่งกันสร้างอะไรที่ใหญ่กว่าคนอื่น หรือบางทีคิดลามกก็มี ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจคิดจู่ๆ มันก็แวปมา กลัวบาปเหมือนกัน มันไม่ใช่ความคิด เหมือนอุปทานอกุศล
น่ะค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ู หลักในการเจริญสติปัฏฐานหรือสัมมาสติ สั้นๆ แลเห็นง่ายๆ แต่ทำไม่ง่ายนัก ดังนี้


"อานาปานสติ" เป็นวิธี "ฝึกสติ" คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 เม.ย. 2009, 10:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ (สิ่งรบกวนไม่ให้จิตเป็นสมาธิ)


สิ่งที่ไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่าเป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้

สิ่งเหล่านี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์


นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการ
ทำงานของจิต สิ่งที่ขัดขวางความดีงามของจิต สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา หรือแสดงความหมาย
ให้เป็นวิชาการยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ
คุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความ
เจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”
(สํ.ม.19/499/135)

“เป็นอุปกิเลสแห่งจิต - (สนิมใจ หรือ สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง”
(สํ.ม.19/490/133)

และว่า “ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มี
ญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน”
(สํ.ม.19/501/136)

(ดูคำอธิบายนิวรณ์แต่ละตัวๆ)

1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรือ อภิชฌา
ความเพ่งเล็งอยากได้ หมายถึง ความอยากได้กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่น อยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่
คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ
การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด
ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่
เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

3. ถีนมิทธะ (ถีน+มิทธะ) ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม
แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย
ที่เป็นอาการของจิตใจ
กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน โงกง่วง อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน
อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกายจิตที่ถูกอาการทางกาย และ ทางใจอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข้ม
แข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

4. อุทธัจจกุกกุจจะ ( อุทธัจจะ+กุกกุจจะ) ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็น อุทธัจจะ
ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่าย พร่า พล่านไป
กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูก
อุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำ ย่อมพล่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบลงได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ สงสัย เกี่ยวกับพระศาสดา
พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น
พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตัดสินไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ - (สมาธิภาวนานี้ ดีจริงหรือ การปฏิบัติเช่นนี้ได้ผลจริงหรือ เป็นต้น) มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้
ผลหรือไม่ คิดแยกไปสองทาง กำหนดไม่ลง
จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ให้ค้างให้พร่า ลังเลอยู่ ย่อมไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพิ่งลองนั่งสมาธิได้ไม่นานค่ะ นั่งได้ประมาณ 30 นาที รู้สึกว่าจิตใจสงบขึ้น พยามรักษาศีล 5 แต่รู้สึกว่ายิ่งพยามรักษาศิล ก็ยิ่งมีเรื่องให้ผิดศิล ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเมื่อก่อนไม่ได้คิดว่าจะรักษาศิลหรือเปล่า เลยไม่รู้ว่าตัวเองผิดศิลบ่อย ทั้งตบยุง โกหก (ด้วยเรื่องเล็กน้อยเพื่อความเฮฮา) แต่ตอนนี้คิดตลอดเวลาที่พูดอะไร หรือทำอะไร

(1) ไม่ทราบว่ามันเป็นการเคร่งเครียดเกินไปหรือเปล่าค่ะ? เวลาก่อนนั่งสมาธิก็จะสวดมนต์ประมาณห้านาที แล้วจึงนั่ง ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองคิดนั่นคิดนี่ไปเรื่อย พอนึกขึ้นได้ก็กลับมาพุทโธอีกครั้ง


(1)ไม่ใช่เคร่งเครียดหรอกครับ แต่คุณ ying_aya เก็บรายละเอียดสิ่งนั้นจนเกิดทุกข์เกิดอุปาทานขึ้น

ศีลกลาง ๆ สำหรับคนทั่วไป หมายถึงความประพฤติสุจริตและการที่มิได้เบียดเบียนก่อความเสียหายเดือดร้อนแก่ใครๆ (เช่นว่า ฆ่าคนตายแล้วหนีมานั่งทำสมาธิ หรือเป็นโจรหนีไปบวช ใจจะคอยกังวลว่า เออ เรานั่งหลับตา พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธๆๆ อยู่ เจ้าหน้าที่มาตะครุบตัวตอนหลับตาฯลฯ) ซึ่งจะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายใจและเสียความมั่นใจในตนเอง เป็นเสี้ยนหนามคอยทิ่มแทงระคายหรือสะดุดสะกิด
สกัดขัดขวางรบกวนไว้ไม่ให้ใจเข้าสู่ความสงบเรียบได้


ให้เกาะลมหายใจเข้า-ออก คือ ใช้ลมเข้า-ออกนั้น เป็นกรรมฐาน หรือ เป็นอารมณ์แล้วภาวนาไป
ตัวอย่างเช่น
ลมเข้า “พุท” ลมออก “โธ”
ลมเข้า “พุท” ลมออก “โธ”
ฯลฯ
ไม่ใช่ท่องพุทโธๆ ให้บริกรรม พุท-โธ พร้อมๆ กับลมเข้า-ลมออก คือเกาะลมหายใจ หรืออาศัยลมหายใจ
ฝึกสติ

ส่วนผู้ใช้ ท้องพอง-ท้องยุบ เป็นอารมณ์
ก็เกาะท้องที่พองขึ้น - ยุบลง นั้นแลเป็นกรรมฐาน แล้วก็ภาวนาพร้อมๆกับ
ท้องพอง-ท้องยุบ
ท้องพอง “พองหนอ”
ท้องยุบ “ยุบหนอ”
เมื่อจิตแวบไปคิดนั่นคิดนี่ “คิดหนอๆๆ” ตามที่มันเป็น
ดังนี้เป็นตัวอย่าง


อ้างคำพูด:
(2) ไม่ทราบคนอื่นที่เขานั่งสมาธิกัน นานไหมคะกว่าจะจิตสงบได้นานๆ


(2) ประเด็นนี้คงต้องใช้เวลา (เหมือนๆฝึกลิงให้เก็บมะพร้าว) ถึงอย่างนั้น ก็มีผลดีเรื่อยไปตามสมควร
แก่การปฏิบัติของเรา
และการปฏิบัตินั้น ก็มิใช่ใช้ลมหายใจเข้าออก หรือ ท้องพอง-ท้องยุบเพียงอย่างเดียว
ขณะทำงานประจำวัน เช่น หยิบจับสิ่งของเป็นต้น ก็ใช้สิ่งนั้นๆ เป็นกรรมฐานได้ หรือรู้ตัวว่า คิดออก
นอกสิ่งที่เป็นปัจจุบันที่กำลังทำอยู่ ก็กำหนดจิตตามที่มันคิดได้
อุบายวิธีปฏิบัติกว้างครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 18:08
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
จะไม่พูดว่าตนดี เมื่อไรที่ว่าตนดีแปลว่า เราเองนั้นเลวสุดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิเรา ประมาณ 20 นาที... เอง :b9: :b9: :b9:

ใหม่ๆ ไม่ควรจะนั่งสมาธินาน เพราะจะรู้สึกแย่ คือรู้สึกว่า ทำไมตรูถึงฟุ้งซ่านได้ขนาดนี้ เหมือนจะวิ่งออกกำลังกายไง จู่ๆ ก็วิ่ง 10 รอบ แล้วคิดว่า ทำไมมันเหนื่อยยังงี้ฟะ...

ถ้ามือใหม่จริงๆ แนะให้สวดมนต์ (ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้) ถ้าสามารถสวด หรืออ่าน หรือฟัง จนจบบทได้โดยความคิดไม่แว่บ ก็เป็นอันใช้ได้ แต่ต้องดูความยาวด้วยนะ ถ้าชินบัญชร หรือโพชฌังคปริตร ก็รอบเดียวพอ ถ้าจะท่องนะโมตัสสะ ก็สัก 10 รอบ เป็นการปูพื้นไง :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 01:15
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีมากที่ได้รับคำแนะนำค่ะ จะลองนำไปปฏิบัติตามที่กำลังจะทำได้ค่ะ

.....................................................
"Great minds discuss ideas; Average minds discuss events;
Small minds discuss people."

จิตใจที่ยิ่งใหญ่วิพากย์วิจารณ์ความคิด จิตใจสามัญวิพากวิจารณ์เหตุการณ์ แต่จิตใจที่ต่ำต้อยนั้นวิจารณ์เพียงผู้คน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ คุณ ying_aya

มีข้อแนะนำเพิ่มเติม ภาวนามัยมีจุดสำคัญที่พึงปฏิบัติ คือ กำหนดรู้สภาวธรรมคือกายใจนี้ตามเป็นจริงหรือตามที่
มันเป็น กำหนดไปตามนั้น
ตัวอย่างผู้ภาวนาจากบอร์ดหนึ่งมาให้ดู

ขอความเห็นนั่งสมาธิแล้วอาเจียนทำอย่างไรดีคับ

เมื่อภาวะอย่างนี้เกิด จะต้องกำหนดตามที่มันเป็น ไม่คิดเลี่ยงหนี
เมื่อรับรู้สู้หน้าความจริงตามสภาวะนั้นๆแล้ว จะพ้นจากทุกข์ได้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เอาอีกซักตัวอย่างหนึ่งนะครับ แต่จริงๆ ตามบอร์ดธรรมะมีทุกแห่ง ผู้ปฏิบัติไปๆ แล้วสภาวะประมาณนี้
จะปรากฏตามธรรมดาของมัน
แต่ปฏิบัติเลี่ยงความจริง หรือ แนะนำให้หนีความจริงจริงแล้วจะเห็นสัจจธรรมได้อย่างไร



ขอถามผู้รู้ทั้งหลายค่ะ จากมือใหม่หัดนั่งสมาธิค่ะ

2-3 วันมานี้ นั่งสมาธิแล้ว รู้สึกคอมันหมุนไปมา ตอนแรกก็นึกว่าอุปาทานไปเอง
วันต่อมาจากคอหมุน กลายเป็นคอโยกไปซ้ายไปขวา กำหนดรู้ก็ยังเป็นอยู่
เป็นยังนี้เป็นชั่วโมงเลยค่ะ คือถ้าตั้งใจฝืนไว้ มันจะไม่โยกค่ะ แต่คอจะแข็งและปวดเมื่อยมากเลย
ทำไมทำมาจิตเลยไม่สงบอยู่ที่ลมหายใจ เป็นอันต้องเลิกนั่งไปค่ะ
มาวันนี้ นั่งทำงานอย่างมีสมาธิ (กำลังพยายามฝึกดูกาย-ดูจิตระหว่างวันค่ะ) ปรากฎว่า
อาการคอโยกกลับมาอีกแล้วค่ะ
ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไรหรือคะ แล้วควรจะแก้ไขอย่างไรดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ตอนนี้คิดตลอดเวลาที่พูดอะไร หรือทำอะไร
(1) ไม่ทราบว่ามันเป็นการเคร่งเครียดเกินไปหรือเปล่าค่ะ?
ตอบ เขาเรียกกันว่าเป็นการสำรวมอินทรีย์ครับ เป็นสิ่งที่ทำให้การภาวนาก้าวหน้า

เวลาก่อนนั่งสมาธิก็จะสวดมนต์ประมาณห้านาที แล้วจึงนั่ง
ตอบ การสวดมนต์เป็นการเตรียมจิตให้ราบเรียบขึ้นให้เหมาะแก่การเจริญภาวนา

ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองคิดนั่นคิดนี่ไปเรื่อย พอนึกขึ้นได้ก็กลับมาพุทโธอีกครั้ง
ตอบ เป็นธรรมชาติของจิตนะครับเมื่อฝึกไปเรื่อยก็จะสงบเอง

(2) ไม่ทราบคนอื่นที่เขานั่งสมาธิกัน นานไหมคะกว่าจะจิตสงบได้นานๆ
ตอบ ขึ้นอยู่กับ การสำรวมอินทรีย์ กรรมฐานที่เหมาะกับจริต และความเพียรไม่หย่อน
ถ้าองค์ประกอบครบ ลองหาเวลาว่างซัก 7 วัน ทำต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนไม่พูด ไม่ดูทีวี ถ้าจะให้ดีควรไปอยู่วัด รับรองจะรู้สภาวะของจิตที่ราบเรียบ ทั้งนี้ควรมีพระอาจารย์คอยแนะนำด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมไม่ต้องแนะนำอะไรอีกแล้วล่ะครับ....ท่านกรัชกายแนะนำไว้หมดแล้ว :b13: :b13:

ทดลองดูได้เลยครับ..เพราะท่านกรัชกายนั้น...ของจริงครับ.... :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร