วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

ขออภัยด้วยนะคะ ข้อความเมื่อกี้ นำไปรวมกับอันใหม่แล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 มี.ค. 2009, 06:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามเช้าค่ะคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

คุณนี่ ... ชอบตีความอะไรๆที่ไปไกลเลยนะคะ อย่าเพิ่งไปไหนอีกนะคะ คุณน่ะ ชอบตีความตัวหนังสือผิดๆ เข้าใจอะไรที่ผิดๆไปหลายออย่าง นี่แหละศึกษามาก ปฏิบัติน้อย ธรรมดาค่ะ ไม่ใช่มีแค่คุณคนเดียวที่เป็นแบบนี้ :b1:

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว



อ้างอิงคำพูด:
อันนี้ก็ไม่จริงค่ะ อานาปนสติก็สามารถทำให้เกิดฌานสมาบัติได้


คุณวลัยพรครับ อาจจะเข้าใจผิดนะครับ ท่านพระครูศรีโชติญาณ ท่านก็สรุปว่า อานาปนสติ หรือ การกำหนดลมหายใจ ด้วยประตูใจ นั้น เป็นการทำสมถะ เพื่อให้เกิด ฌานสมาบัติได้

เข้าใจผิดตรงไหน ครั้งต่อไปเวลานำข้อความมาคุณก็นำบทสรุปมาเลยสิคะ ก็คุณอ่านข้อ ๗ ดูสิ แล้วดิฉันแย้งไปน่ะ ผิดตรงไหนคะ

แต่การปฏิบัติวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ด้วยการโยนิโสมนสิการ อารมณ์ตามทวารต่าง ๆ ได้ทั้ง ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ )


เพราะยึดมั่นถือมั่นในภาษา

ค่ะ ขออภัยด้วยค่ะ อ่านไม่ทั่ว :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 22 มี.ค. 2009, 18:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว



วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10073

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10078

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10082




โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอ ๆ ว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย
อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนวคือ

แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น

-------------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ กรรมฐานสังคหวิภาค "สมถะ - วิปัสสนา "

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/043.htm

วสิตา หรือ วสีภาวะ

๗. วสี คือความชำนาญ ความแคล่วคล่องว่องไว

ผู้ที่ได้รูปาวจรฌานดังที่ได้กล่าวแล้ว จะเข้าฌานสมาบัติก็ดีจะเจริญสมถภาวนาต่อเพื่อให้ได้ทุติยฌานก็ดี จะต้องมี วสี ในปฐมฌานนั้นเสียก่อน คือต้องหมั่นเข้าปฐมฌานจนชำนาญ มีความแคล่วคล่องว่องไวถึง ๕ ประการ ได้แก่

(๑) อาวชฺชนวสิตา ชำนาญในการนึกเข้าฌาน อีกนัยหนึ่งว่า ชำนาญในการกำหนดพิจารณาองค์ฌานแต่ละองค์ โดยวิถีจิตที่ติดต่อกันไปตามลำดับ โดยมีภวังคจิตคั่นไม่มากนัก

(๒) สมาปชฺชนวสิตา ชำนาญในการเข้าฌานได้โดยรวดเร็ว

(๓) อธิฏฺฐานวสิตา ชำนาญในการหยุดอยู่ในฌานเป็นเวลาช้าเร็วกี่ชั่วโมง กี่วัน ก็จะอยู่ในฌานสมาบัติได้ตามกำหนดที่ได้ตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าไว้นั้น

(๔) วุฏฺฐานวสิตา ชำนาญในการออกจากฌานได้โดยว่องไว ไม่ให้เกินเวลาที่ตนได้อธิษฐานไว้

(๕) ปจฺจเวกฺขณวสิตา ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌานด้วยชวนจิตอันเกิดในลำดับแห่งมโนทวาราวัชชนะติดต่อกันเป็นลำดับไป โดยมีภวังคคั่นไม่มากนัก

อาวัชชนวสี กับปัจจเวกขณวสี ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องเกิดด้วยกันเสมอ เพราะที่เรียกว่า อาวัชชนวสีนั้นยกเอามโนทวาราวัชชนจิตเป็นประธาน ส่วนปัจจเวกขณวสีนั้น ยกเอาชวนจิตเป็นประธาน ซึ่งก็อยู่ในวิถีจิตเดียวกันนั่นเอง

เมื่อปฐมฌานลาภีบุคคล มีวสีในปฐมฌานแคล่วคล่องว่องไวเป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถจะเข้าฌานสมาบัติ หรือเจริญภาวนาต่อไปเพื่อให้ถึงทุติยฌานได้

๘. ปฐมฌานลาภีบุคคล จะต้องเข้าปฐมฌานบ่อย ๆ จนชำนาญในวสีภาวะทั้ง ๕ ก็จะเห็นโทษของวิตก จึงประสงค์จะละวิตกอันเป็นสิ่งที่หยาบนั้นเสีย เพื่อให้ถึงทุติยฌานซึ่งประณีตกว่า ต้องเริ่มเพ่งปฏิภาคนิมิต ที่ตนเคยได้นั้นแล้ว กระทำให้เป็นอารมณ์อย่างแนบแน่นแน่วแน่ในดวงใจ จนกระทั่งทุติยฌานจิตเกิดขึ้น

๙. ฌานลาภีบุคคล ปรารถนาจะเจริญให้ถึง ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ก็จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ ตามลำดับแห่งฌาน จะข้ามไปลัดไม่ได้

๑๐. กสิณ ๑๐ นี้ใช้เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญสมถภาวนาได้ตั้งแต่ ปฐมฌาน ตลอดไปตามลำดับจนถึงปัญจมฌาน คือถึงรูปฌานได้ทั้ง ๕ ฌาน


-----------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์

ใช่ซะที่ไหนล่ะเนี่ย .. กว่าจะหลุดจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ มันไปทีละฌานนะ ไม่ใช่ จากฌาน 1 ไปถึง ฌาน 4 ในขณะเดียวกัน อ่านเจอมาเยอะละนักวิจัย แต่สภาวะไปไม่ถึง


คุณวลัยพรครับ วสี ในที่นี้ ไม่ใช่ฌาน นะครับ แต่เป็นความชำนาญในการ ฌาน ในแบบต่าง ๆ ในละฌาน ( ฌาน ๑ - ๔ )

เครียด .. อ่านแล้วรู้สึกเครียดมากๆกับบุคคลที่ชอบยกบทความของครูบาฯมาอ้าง แต่สภาวะของผู้ปฏิบัติยังไปไม่ถึง คุยกันชาตินี้ ยังไม่รู้เลยว่าจะสื่อกันเข้าใจไหม ไปพูดเรื่องฌาน ให้ คนที่ยังไม่ได้ฌานฟัง

อย่าเครียดเลยครับ คุณวลัยพร ผมพร้อมที่จะได้รับคำแนะนำ จากผู้มีประสบการณ์ ในเรื่อง ฌาน ขั้นต่าง ๆ อย่างคุณวลัยพร อยู่แล้ว

ว่าแต่ก่อนจะตัดสินว่า หลักการแสดงธรรม ของใครว่าผิดนั้น ควรศึกษาถึงนัยยะที่ท่านแสดงก่อน ให้รอบด้านครับ เป็นห่วงคุณวลัยพร เช่นกัน

อ้างคำพูด:
เอาแนวปฏิบัติคุณมาสนทนาจะดีกว่า อย่ายกเอาของครูบาฯมาอ้างเลยค่ะ นรกจะกินหัวเอา ไม่เอาด้วยหรอกค่ะ แค่วิจารณ์ไปแค่นั้น ตัวเองก็รู้สึกหนาวๆร้อนๆละ ทั้งๆที่จิตไม่ได้คิดละเมิดครูบาฯเลยแม้แต่สักนิดเดียว เพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เรื่องอาจารย์แนบก็ส่วนอาจารย์แนบ การยึดมั่นถือมั่นในครูบาฯที่ตัวเองศรัทธาและเคารพ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ดิฉันเองก็เคยยึดมั่นถือมั่นหลวงพ่อจรัญแบบประมาณว่า ใครอย่าแตะ .. แต่เดี๋ยวนี้วางหมดค่ะ ตอนนี้ยกท่านไว้เหนือศรีษะ ไม่นำท่านลงมาให้วุ่นวายหรอกค่ะ



คุณวลัยพรครับ เมื่อก่อนผมก็เคยฝึกแบบยุบหนอ พองหนอ ครับ

เมื่อก่อน ดีใจ เมื่อนั่งภาวนา จี้ลงไปตรงความปวด ว่า "ปวดหนอ ๆ ๆ ๆ ทุกข์หนอ ๆๆๆๆๆ" จนสมาธิสามารถข่มเวทนาลงได้

แต่บางครั้งก็ เสียใจครับ ที่ทนต่อ เวทนานั้นต่อไปไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาเดินหนอ ๆ ๆ ๆ แทน

แต่การปฏิบัติเพื่อให้ สมาธิ ข่มเวทนา ให้หายไปนี้ อาจารย์แนบได้แสดงความเห็นไว้ว่า

ทุกข์และการกำหนดทุกข์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm

ท่านคงเคยได้ยินบางท่านผู้ปฏิบัติกล่าวว่า เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาก็พยายามปฏิบัติให้ทุกขเวทนานั้นหมดไป อย่างนี้ ท่านผู้นั้นเข้าใจว่าอย่างไร ? ที่จริงทุกขเวทนา เป็นตัวสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งการบรรลุมรรค ผล นิพพาน เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น ท่านผู้นั้นก็กำหนดให้ทุกขเวทนานั้นหายไปด้วย

วิธีกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ อย่างนี้ เวลาที่ภาวนากำหนดทุกข์หนอนั้น ใจก็มุ่งลงไปมนสิการ จะให้ทุกข์เวทนานั้นหมดไป ความเข้าใจอย่างนี้ หรือความรู้สึกอย่างนี้ เป็นการเข้าใจผิด เพราะอนัตตานั้น ท่านกล่าวบังคับไม่ได้

ฉะนั้น ความรู้สึกที่ตั้งใจจะให้ทุกขเวทนาหายไป จึงเป็นอัตตาเต็มที่ เพราะเขาเข้าใจว่า เขาทำให้หายได้ ให้หมดไปได้ เช่นนี้แล้ว เขาจะเข้าถึงทุกขสัจได้อย่างไร ? ทุกขสัจ เป็นของจริง แก้ไม่ได้เลย

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น

ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา

เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง

เมื่อทุกขเวทนาที่บังคับให้หายนั้นหมดไปแล้ว อะไรเล่า ที่จะมีมาแทน ก็สุขเวทนานั่นเอง จะเกิดขึ้นมาแทน ด้วยอำนาจของสมาธิที่มีกำลังมาก เพราะทำให้ผู้นั้น รู้สึกเป็นสุขความพอใจนั้น เช่นนี้แล้ว จะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้อย่างไร ? เรื่องที่เรียนมานี้ ท่านคงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ถ้าหากว่าท่านไปพบอย่างนี้เข้า ก็จะพิจารณาได้ว่า เป็นการถูกต้องตามเหตุผลหรือไม่ ?

“ดิฉันคิดว่า ได้พูดมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ถ้าสงสัยอะไรอีก เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ดีขึ้น ก็โปรดถามได้ เพื่อจะได้ชี้แจงให้ฟังกันต่อไป”

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอาแนวปฏิบัติคุณมาสนทนาจะดีกว่า อย่ายกเอาของครูบาฯมาอ้างเลยค่ะ นรกจะกินหัวเอา ไม่เอาด้วยหรอกค่ะ แค่วิจารณ์ไปแค่นั้น ตัวเองก็รู้สึกหนาวๆร้อนๆละ ทั้งๆที่จิตไม่ได้คิดละเมิดครูบาฯเลยแม้แต่สักนิดเดียว เพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง


ต่อให้ต้องตกนรกหมกไหม้ นานแสนนาน แต่เพื่อให้ เพื่อนผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ในวัฏฏทุกข์ ได้มีแนวทางในการกำหนดทุกข์ ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา

ผมก็พร้อมครับ คุณวลัยพร
---------------------------------------------------------


สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติในหนทางของ “เอกายนมรรค” ซึ่งแปลว่า ทางที่ไปอันเอก ทั้งนี้เพราะ เอกายนมรรคนั้น หมายถึง

- ทางที่ไปของบุคคลผู้เดียว คือต้องไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ จะต้องหลีกเร้นสงัดอยู่แต่ผู้เดียว

- ทางยอดเยี่ยมทางเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

- ทางยอดเยี่ยมที่จะดำเนินไปนี้มีอยู่ในพระธรรมวินัยที่เดียวเท่านั้น

- ทางที่ไปสู่ที่แห่งเดียว คือไปสู่พระนิพพานเท่านั้น

ดังนั้นผู้ใดต้องการปฏิบัติสติปัฏฐานจะต้องศึกษาให้รู้จักหนทางเสียก่อนที่จะเดินทาง นั่นคือจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในปริยัติก่อนลงมือปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้


http://www.geocities.com/toursong1/kam/ch.htm

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณคิดว่า วิปัสสนา คืออะไรคะ

จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรเลย เพียงแต่ไปถกเถียงแค่ตัวหนังสือ

สมถะ ความหมายกันก็บอกตรงๆแล้วคืออะไร

วิปัสสนา คืออะไร ความหมายก้คนละเรื่อง

แต่เพราะผู้พูดยังไม่เข้าใจ เลยทำให้การสื่อวุ่นวาย

คุณวลัยพรครับ วสี ในที่นี้ ไม่ใช่ฌาน นะครับ แต่เป็นความชำนาญในการ ฌาน ในแบบต่าง ๆ ในละฌาน ( ฌาน ๑ - ๔ )

วสี นี่ทราบค่ะว่าหมายถึงชำนาญ ไม่ได้ไปตีความหมายเป็นอื่น แต่คุณยังเข้าใจผิดเรื่อง ฌาน 1 -4

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=21049&start=0

อ้างคำพูด:
เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ ใช่ซะที่ไหนล่ะเนี่ย .. กว่าจะหลุดจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ มันไปทีละฌานนะ ไม่ใช่ จากฌาน 1 ไปถึง ฌาน 4 ในขณะเดียวกัน อ่านเจอมาเยอะละนักวิจัย แต่สภาวะไปไม่ถึง


คุณวลัยพรครับ วสี ในที่นี้ ไม่ใช่ฌาน นะครับ แต่เป็นความชำนาญในการ ฌาน ในแบบต่าง ๆ ในละฌาน ( ฌาน ๑ - ๔ )

อ้างคำพูด:
วสี นี่ทราบค่ะว่าหมายถึงชำนาญ ไม่ได้ไปตีความหมายเป็นอื่น แต่คุณยังเข้าใจผิดเรื่อง ฌาน 1 -4


ก็คุณวลัยพร นำคำสอนจาก อรรถกถา และพระวิปัสสนาจารย์ขึ้นอ้าง แล้วบอกว่า ไม่ถูกต้อง ( ใช่ซะที่ไหนล่ะเนี่ย ) ทำให้ผมคาดเดาว่า คุณวลัยพร คงเข้าใจว่า วสี ไม่ถูกต้อง ผมจึงได้ไปค้นเรื่อง วสี มาลงเพิ่ม

ถ้าคุณวลัยพร จะชี้แนะว่า ผมเข้าใจเรื่อง ฌาน 1 - 4 ตรงไหนก็ชี้แจงด้วยนะครับ และที่ถูกต้อง จากประสบการณ์ของคุณวลัยพร เป็นอย่างไร

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณคิดว่า วิปัสสนา คืออะไรคะ

จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรเลย เพียงแต่ไปถกเถียงแค่ตัวหนังสือ

สมถะ ความหมายกันก็บอกตรงๆแล้วคืออะไร

วิปัสสนา คืออะไร ความหมายก้คนละเรื่อง



เมื่อก่อน เข้าใจว่า เป็นการทำสมถะกรรมฐาน โดยเพ่งบัญญัติอารมณ์ต่าง ๆ แม้กระทั่ง ภาวนาคำว่า ยุบหนอ พองหนอ นั่นก็คือวิปัสสนา ยิ่งอาจารย์ในสายนี้ท่านรับรอง ว่าคือวิปัสสนาก็เชื่อตามนั้นครับ

และอาจารย์สายสมถะ บางท่านก็แนะนำว่า ปฏิบัติสมถะไปเถิด แล้วก็จะถึงขั้นวิปัสสนาเอง

เข้าใจว่า คือการคิดปรุงแต่งเอาเองว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง หรือ ภาวนาว่า ไม่เที่ยงหนอ ๆ ๆ หรือ ไม่มีตัวเรา ของเรา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

จนได้มาพบ คำตอบจาก พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงไตรปิฏก


ก้าวแรกของวิปัสสนา โดยหลวงพ่อเสือ
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/Sua/kawraek.doc

หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป และ ปรมัตถธรรม โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 61&start=0

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา (อาจารย์แนบ มหานีรานนท์)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... cac77b0e03
----------------------------------------------
พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10073
-----------------------------------------------

เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ (ในการปฏิบัติวิปัสสนา) โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/hatpol.doc


วิปัสสนา คืออะไรแน่ โดย พี่ดอกแก้ว
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=134

"วิปัสสนากรรมฐานสำหรับผู้เริ่มต้น
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... topic=8946

"แนะนำการปฏิบัติวิปัสสนาเบื้องต้น (เพิ่มเติม)"
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... topic=8958

"เหตุให้เกิดปัญญา"
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=11057


---------------------------------------------------
viewtopic.php?f=2&t=21049&st=0&sk=t&sd=a&start=0


อ้างคำพูด:
คุณเข้าใจคำว่าวิจัยไหมคะ คือ ผู้นั้นอาจจะปฏิบัติ เมื่อเห็นผลแล้ว จึงนำมาเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ แต่บางคนเพียงศึกษาตำรา แล้วมาวิเคราะห์หาเหตุและผลกันเอาเอง แล้วนำมาสรุปข้อมูลออกมา


มีงานศึกษาของนักศึกษาอภิธรรมท่านหนึ่ง ซึ่งอ้างถึงการปฏิบัติในแบบยุบหนอ พองหนอ ที่คุณปฏิบัติ ( เพราะคุณวลัยพร มักอ้างอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ )

การศึกษาเปรียบเทียบกรรมฐานในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค และวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
http://www.abhidhamonline.org/thesis/menu.htm

ความรู้ก่อนการปฏิบัติวิปัสสนา
http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm

นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ



อ้างคำพูด:
คุณคิดว่า วิปัสสนา คืออะไรคะ

จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรเลย เพียงแต่ไปถกเถียงแค่ตัวหนังสือ

สมถะ ความหมายกันก็บอกตรงๆแล้วคืออะไร

วิปัสสนา คืออะไร ความหมายก้คนละเรื่อง


คุณวลัยพร ครับ ผมยังไม่เข้าใจดีพอในเรื่อง วิปัสสนา จึงต้องศึกษาจากท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก และผ่านการปฏิบัติวิปัสสนามา มาก

แล้วคุณวลัยพร ล่ะครับ มั่นใจแล้วหรือครับ ว่าเข้าใจในเรื่อง สมถะ - วิปัสสนา มากพอแล้ว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณเฉลิมศักดิ์ :b1:

เคยได้ยินไหมคะ แค่ตัวหนังสือ แต่นำมาตีความมากมาย

วิปัสสนาคือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีเท่านั้นเอง

ทำไมครูบาฯทั้งหลายถึงบอกว่า ขณิกสมาธิเหมาะแก่การทำวิปัสสนา

เหมือนที่คุณชอบพูดน่ะ พองหนอ ยุบหนอ กับการเอารูปนาม เป้นอารมณ์ คุณอธิบายได้ไหม ถ้าไม่ได้จะอธิบายให้ฟัง

ดิฉันน่ะไม่ได้ค้นหาความรู้ด้านปริยัติมากมาย แต่อาศัยจากการปฏิบัติ แล้วปริยัติมาผสมกัน ไม่ใช่แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง

สิ่งใดเกิดขึ้น เห็นชัดที่สุด คุณรู้ลงไปนั่นคือการทำวิปัสสนา มันมีแค่นั้นเอง แต่ไปแยกศัพท์กันให้วุ่นวาย

:b32: แหมไปซะละ แค่พองหนอ ยุบหนอ ยังนำมาเขียนสลับกัน ดูแค่นี้ก็รู้ละ

เอานะคุณเฉลิมศักดิ์ เดี๋ยวจะเขียนเรียงลงมาให้ ในสิ่งที่คุณถามมา คุณควรเปิดใจให้กว้างด้วยนะคะ เอาตำรามาแปะมากก็มึนหัวเหมือนกัน

เข้าไปอ่านกระทู้แรกคุณดอกแก้ว อ่านแล้วก็เฮ้อ .. ถามว่าผิดไหม ในหลักการไม่ผิด แต่ทำให้สื่อยุ่งยากในการปฏิบัติ ทั้งๆที่ปฏิบัติมีนิดเดียว

วิปัสสนา คือการดูตามเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีเท่านี้เอง อะไรเกิดขึ้น คุณแค่ดู แล้วรู้ลงไป นี่เป็นการทำวิปัสสนาแล้ว ระหว่างที่คุณเอาจิตจดจ่อรู้ลงไป ขณิกสมาธิอาจจะเกิดขึ้นได้ เช่นเรื่อง เวทนา คุณพูดถูก เวทนามัวไปกำหนดปวดหนอๆๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ สมาธิเกิด เวทนาหายไป นี่เป็นสมาธิไปเสียแล้ว ไปกดข่มไว้แค่นั้นเอง พอหมดอำนาจสมาธิก็ปวดเหมือนเดิม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตนะครับ ในการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน นั้น ต้องออกจากฌาน มาพิจารณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ

ไปนำมาจากไหนคะเนี่ย ว่าการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน ต้องออกมาจากฌาน มาพิจรณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ เพราะคุณไม่เคยสัมผัสกับฌาน คุณจึงไม่รู้ คาดเดาเอาเอง การเข้าสู่ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ต้องมีสติมากพอ ที่จะไม่ดิ่งดับหายไป จนขาดความรู้ตัว ผู้ที่เจริญสติอย่างต่อเนื่อง เมื่อรู้ตัวว่าจะดิ่งเข้าสู่ฌาน เขาจะถอยออกมาจากฌาน ( อัปนนาสมาธิ ) มาอยู่กึ่งกลางระหว่าง อุปจารสมาธิ กับอัปปนาสมาธิ ไม่ทราบว่าคุณเคยได้ยินไหมคะ โห .. ขณิกน่ะ พวกได้ฌานเขาไม่ใช้ในขณะที่ทำสมาธิหรอกค่ะ สมาธิเขามากกว่านั้น เมื่อถอยยออกมาตั้งมั่นระหว่างอุปจารสมาธิ ( อันนี้คุณทราบใช่ไหมคะ ว่าถ้าเป็นอุปจารสมาธิจะเกิดนิมิต ถ้า อัปปนาจะดิ่งเข้าสู่ฌาน ฉะนั้น สมาธิที่ควรแก่งานคือ สมาธิที่ถอยออกมาจากอัปปนา แต่ไม่ตกไปที่อุปจารสมาธิ ตรงนี้ สมาธิ จะตั้งมั่นได้นาน มีความรู้ตัวตลอด เกิดเวทนาก็รู้ เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เห็นไตรลักษณ์ไหม เห็นแน่นอน เพราะมันไม่เที่ยง เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ นี่คือการทำวิปัสสนาแล้ว มีแค่นี้เอง

ซึ่ง แนวทางการทำสมาธิ ของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ไม่ได้ อธิบายถึงรายละเอียดในขั้นตอนของการ ยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา

ทำให้ ผู้ปฏิบัติสมาธิส่วนมาก เข้าใจว่า การเจริญสมาธิ กับ วิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน

เข้าใจว่า รูปฌาน อรูปฌาน คือ วิปัสสนาญาณ

จนเข้าใจว่า ฌานขั้นสูง คือ พระนิพพาน

ทำไมท่านไม่อธิบาย ทราบไหมคะ อธิบายไปลูกศิษย์ก็ไม่เข้าใจหรอกค่ะ ต้องลงมือทำ ทำได้ฌานแล้ว ครูบาฯ ถึงจะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้ ตัวดิฉันเองก็ได้ครูบาฯแก้ไขให้เหมือนกัน เรื่องรูปฌาน อรูปฌานนั่น ยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ใช่ฤาษีนะคะ นี่เราปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน 4 นะคะ อย่าลืม ... ฌานน่ะเขามีไว้พักผ่อนค่ะ เอามาทำอย่างอื่นน่ะไม่ได้หรอก เพราะอะไรรู้ไหมคะ เพราะเมื่อสู่ฌาน มันจะดับสนิท คุณจะมาทำอะไรไม่ได้หรอก แถมตอนดับก็ดับไปทันทีไม่มีการเตือนหรอกว่า นี่เขาสู่ฌานแล้วนะ


ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

เนี่ยตัวหนังสือ ทำให้คนน่ะเข้าใจผิด แล้วมาไขว้เขวว่าควรทำอย่างไร กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน บางคนได้ฌานตั้งแต่เด็กๆ ดิฉันน่ะทำกสิณเตโชตั้งแต่ 11 ปี ทำเอง ถึงบอกว่า ตัวหนังสือทำให้วุ่นวาย ไปเกร็งกับวิปสสนา วิปัสสนาจะมีอะไร เพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง คุณกำลังเดินจงกรม มีเสียงดัง คุณรู้ลงไปกับเสียงดัง นี่คือการทำวิปัสสนาแล้ว ไปตีความให้ยุ่งยาก


เมื่อก่อนก็เข้าใจแบบคุณวลัยพร ที่ว่า การจะเจริญ(ปฏิบัติ)วิปัสสนา นั้น ต้องอาศัยฌานจากสมาธิขั้นสูงเท่านั้น และต้องอยู่ในฌานหรือ อัปปนาสมาธิ เท่านั้น จึงจะเจริญ(ปฎิบัติ) วิปัสสนาได้

นี่ก็คิดเอาเอง ดิฉันไม่เคยพูดเลยสักคำเดียว หาหลักฐานมาด้วยค่ะ

แต่ในเมื่อ ศึกษาในเรื่อง ฌานให้ละเอียด จึงพบว่า ฌาน ที่ประกอบด้วยปัญญา ที่จะนำสู่พระนิพพาน คือ ลักขณูปนิชฌาน

แต่ ผมเข้าใจว่า คุณวลัยพร คงยึดติด กับในรูปแบบ ของ อารัมมณูปนิชฌาน เท่านั้น

นี่ก็เหมือนกันเดาเอาเองทั้งนั้น ว่าไปโน่นเลย ลักขณูปนิชฌาน ไปไกลเลย สมาธินี่แหละค่ะ ฌงฌานที่ไหนกัน แค่ดึงกำลังของอัปปนาสมาธิมาใช้เท่านั้นเอง

คุณวลัยพรครับ คันถธุระ หรือ ปริยัติ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญของนักปฏิบัตินะครับ เหมือนต้องรู้แผนที่ก่อนเดินทาง ไม่งั้นก็เดินหลงทางครับ

แน่ใจหรือคะ อย่าคิดเอาเองสิคะ ครูบาฯที่สอนก็คือปริยัติ อย่าลืมสิคะ ผิดกับผู้เอาแต่ศึกษา แต่ไม่ลงมือทำหรือทำแล้วแต่ยังไม่เห็น แต่ใช้วิธีเทียบเคียงตำรา นี่แหละตัวหลงแท้จริง มันไม่มีอะไรแน่นอนหรอกค่ะ ไม่งั้นป่านนี้พระอรหันต์ที่เอาแต่ศึกษาหน้าคอมฯก็เกิดขึ้นเยอะไปแล้วสิคะ คุณว่าจริงไหมคะ

ท่านผู้นั้นคือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ ครับ

คุณวลัยพร ลองศึกษาปฏิปทาของท่านดูครับ

ครูบาฯของดิฉันท่านก็มากจาอาจารย์แนบ มาจากหลวงพ่อพุทธทาส ท่านเองก็หลายครูบาฯเหมือนกัน ใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการสอนเหมือนกันค่ะ แต่บางสำนัก คุณต้องเข้าใจด้วยนะคะอุบายการสอนของแต่ละสำนักไม่เหมือนกัน กุศลสร้างมาไม่เท่ากัน บางคนก้าวต้องมีที่เกาะ เลยต้องใช้บัญญัติเข้าช่วย เช่นใช้พองหนอ ยุบหนอ ตามอาการท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก เพียงแต่เป็นบัญญัติซ้อนปรมัตถ์อยู่เท่านั้นเอง เมื่อเขาฝึกเจริญสติมากขึ้น วันใดสติ สัมปชัญญะมากพอ เขาย่อมเห็นอาการตามความเป็นจริง คือ จับเอารูปนามเป็นอารมณ์ได้ โดยไม่ต้องใช้บัญญัติช่วย คุณต้องเข้าใจตรงนี้ด้วยนะคะ

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

ว่าไปโน่นเลย สมถะคืออะไร คือผลของทำสมาธิที่ทำให้จิตสงบถูกไหม เขาเรียกว่าพูดกำกรวม รู้จักไหมคะ แสดงว่าผู้เขียน ไม่เคยได้ฌานเลย หรืออาจจะได้ แต่แก้ไขตัวเองไม่ได้ เลยไม่รู้ว่า สามารถดึงเอาอัปปนาสมาธิมาใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องขณิกอย่างเดียวหรอกค่ะที่ทำวิปัสสนาอย่างเดียวน่ะ

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว

ที่กล่าวว่าส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว อันนี้ถูกต้องค่ะ ก็ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นไงคะ เกิดผัสสะตรงไหนดูตรงนั้น นั่นแหละการทำวิปัสสนา

คุณวลัยพรครับ การสรุปของอาจารย์แนบ อาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกส่วนตัว ผมก็เป็นครับเมื่อก่อน เพราะเข้าใจว่า ขณะทำสมาธิ ด้วยการกำหนดลมหายใจ พร้อมคำบริกรรมต่าง ๆ เช่น ยุบหนอ พองหนอ นั้นคือการปฏิบัติวิปัสสนา

นี่เพราะคุณไม่รู้ คุณจึงไปขัดแย้ง ถ้าคุณรู้ คุณจะไม่ไปขัดแย้ง แต่รับรองได้ ดิฉันไม่ไปเถียงกับใครหรอกค่ะ เพราะดิฉันไม่ได้เข้าใจผิดแบบที่คุณเข้าใจ

ดังที่คุณวลัยพร สงสัยเช่นกัน


อ้างอิงคำพูด:
คุณยังคงเข้าใจผิดเหมือนเดิมเลยนะคะเกี่ยวกับเรื่องฌาน ไปนำมาจากไหนคะ หรือวิเคราะห์เอาเอง จากตรงนี้คะที่คุณโพสมา

อันนี้ถามคุณค่ะ ดิฉันน่ะไม่สงสัยอะไรหรอก แหมช่างคาดเดาเอาเองเลยนะคุณนี่

แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์

ไม่เห็นต้องพิจรณาอะไรเลย ถอยออกมาจากฌานได้ ผัสสะเกิดขึ้น ตัวไหนเกิดชัดเจนที่สุด รู้ลงไปแค่นั้นเอง มันก็เห็นความไม่เที่ยงละ นี่ก็คือ วิปัสสนาละ

อะไรที่มันเนื้อหามากเกินไปก็ไปติดกับอยู่แค่เนื้อหา แทนที่จะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง มันก็จะอ่านเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เหมือนเด็กที่ยังไม่ได้เรียนชั้นนี้ แต่เข้าไปเรียนร่วมกับเขา ก็เลยทำให้งงงวย ทั้งๆที่ของจริงมีนิดเดียว เนื้อหาน่ะมีนิดเดียว แต่การปฏิบัตินี่ก็นิดเดียว แต่สิ่งที่ได้ผลนั้นคุณค่ามากเหลือหลาย เพียงลงมือทำก็รู้แล้ว มัวแต่ติดกับแค่ตัวหนังสือก็เลยไม่ไปไหน วนๆๆๆเหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง

หากมีอะไรล่วงเกินกันไปโดยไม่ได้เจตนา ขออโหสิกรรมด้วยค่ะคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

ดิฉันเพียงพูดตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง เอาภาษาชาวบ้านพูดง่ายๆทำได้ทันที ไม่ต้องมาศึกษาอย่างเดียว หรือมัวแต่วุ่นวายกับคำศัพท์กับคำเรียก แต่สภาวะไม่ได้มันก็ไม่มีประโยชน์ และ เรื่องสมาธิ ไม่ได้มีแค่ในตำราเขียน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2009, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติคือองุ่นเปรียวของเฉลิมศักดิ์

ตัวเองปฏิบัติสมถไม่ได้

พอไปเจอแนวทางของคุณแนบตรงกับจินตนาการคาดเดาของตนจึงงมงายแบบโงนหัวไม่ขึ้น

ใครอธิบายถึงแนวทางที่ถูกเฉลิมศักดิ์ก็ไม่กล้าอ่าน

โพสต์ผสมลิงค์ของตัวเองไปเรื่อยๆไม่มีจุดหมาย

ที่ว่าจุดหมายคือพ้นทุกข์

นี่แหละคือการปริยัติแล้วไม่สามารถปฏิบัติจึงไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก

คนประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวหรอกครับ

จึงออกมาสอนชาวบ้านให้เข้าใจผิดตามไปด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิบากกรรมมีจริงๆนะเฉลิมศักดิ์

และกำลังจะตามเฉลิมศักดิ์ทัน

อกุศลกรรมของการว่าร้ายพระอริยะสงฆ์เป็นเช่นไร

เฉลิมศักดิ์หลีกไม่พ้นแน่นอน

สาธุ!!!!!!!!!!!!


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร